Dictionary : English, Thai, Pali. Link : Lexitron, RoyDict, BudDict, ETipitaka, PpmDict, Longdo.
Search: ผู้ชาย .

Royal Institute Thai-Thai Dict : ผู้ชาย, 76 found, display 1-50
  1. ผู้ชาย : น. ชาย.
  2. ผู้ชายพายเรือ : (สํา) น. ผู้ชายทั่วไป เช่น ผู้ชายพายเรืออยู่เต็มไป. (ขุนช้างขุนแผน), ผู้ชายรายเรือ ก็ว่า เช่น ดิฉันเป็นผู้หญิงสาว ไม่เหมือนผู้ชายรายเรือ. (มิตรสภา).
  3. ลูกผู้ชาย : น. เรียกผู้ชายที่มีความยุติธรรม ความซื่อสัตย์ เข้มแข็ง เด็ดเดี่ยว กล้าหาญ และมีความรับผิดชอบ เป็นต้น.
  4. ชาย ๑ : น. คนที่ไม่มีมดลูก, ผู้ชาย ก็ว่า.
  5. ตอม : ก. กิริยาที่แมลงตัวเล็ก ๆ เช่นแมลงวันเป็นต้นมาเกาะหรือจับหรือบินวนเวียน อยู่ใกล้ ๆ, โดยปริยายหมายถึงกิริยาอาการที่คล้ายคลึงเช่นนั้น เช่น ผู้ชาย ตอมผู้หญิง.
  6. ปั่ว : (โบ) น. พลเมือง; ผู้ชาย.
  7. กรอ ๒ : ก. แสดงกิริยาเลียบเคียงกันในเชิงชู้สาว มักเป็นอาการที่ ผู้ชายหนุ่ม ๆ แต่งตัวแล้วชวนเพื่อนกันเที่ยวเกี้ยวผู้หญิง เช่น นักเลงหนุ่มหนุ่มนั้น เที่ยวกรอ. (พิธีทวาทศมาส), บางที ก็ใช้ว่า กรอผู้หญิง. ว. อาการที่ติดพันกันในเชิงชู้สาว เช่น หนุ่มคนนี้มีผู้หญิงติดกรอทีเดียว.
  8. กระดังงาลนไฟ : (สํา) น. หญิงที่เคยแต่งงานหรือผ่านผู้ชายมาแล้ว ย่อมรู้จักชั้นเชิงทางปรนนิบัติและเอาอกเอาใจผู้ชายได้ดีกว่าหญิง ที่ยังไม่ได้แต่งงาน.
  9. กระเดือก ๑ : น. ส่วนของกล่องเสียง มีลักษณะโปนออกมากลางลำคอเหนือท่อลม เห็นได้ชัดในผู้ชาย เรียกว่า ลูกกระเดือก.
  10. กระต่ายหมายจันทร์ : (สํา) น. ผู้ชายหมายปองผู้หญิงที่มีฐานะดีกว่า.
  11. กระทาชาย : (โบ) น. คนผู้ชาย, กระไทชาย ก็ว่า.
  12. กระไทชาย : (โบ; มาจาก กระทาชาย) น. คนผู้ชาย เช่น อันว่ากระไทชายผู้หนึ่ง. (ม. คําหลวง กุมาร; มหาราช), กระทาชาย ก็ว่า.
  13. กระหม่อม : น. ส่วนของกะโหลกอยู่ตรงแนวศีรษะแต่ต่ำกว่าส่วนสูงสุด ลงมาใกล้หน้าผาก ในเด็กแรกเกิดจนถึง ๒ ขวบส่วนนี้จะมี เนื้อเยื่ออ่อนปิดรอยประสานกะโหลกที่ยังเปิดอยู่ หลังจากนั้น เนื้อเยื่ออ่อนนี้จะกลายเป็นกระดูก, โดยปริยายหมายรวม ๆ ว่า หัว เช่น เป่ากระหม่อม ลงกระหม่อม, ขม่อม ก็ว่า; คําสําหรับใช้ควบ กับคําที่ขึ้นต้น ว่า ``เกล้า'' เช่น ทราบเกล้าทราบกระหม่อม ทูลเกล้าทูลกระหม่อม ในการเขียนหนังสือใช้ไปยาลน้อยแทน เช่น ทราบเกล้าฯ ทูลเกล้าฯ. ส. คําใช้แทนตัวผู้พูด เพศชาย เพ็ดทูลเจ้านายชั้นหม่อมเจ้า และพระวรวงศ์เธอที่มิได้ทรงกรม, เป็นสรรพนามบุรุษที่ ๑. (ราชา) ว. คำรับหรือคำลงท้ายที่ผู้ชาย ใช้เพ็ดทูลเจ้านายชั้นหม่อมเจ้า. (ย่อมาจาก ขอรับกระหม่อม). (แผลงมาจาก ขม่อม).
  14. กระหัง : น. ผีชนิดหนึ่งที่ถือว่าเข้าสิงในตัวผู้ชาย เชื่อกันว่าเดิมเป็นผู้ชาย ที่เรียนวิชาอาคมแก่กล้าเข้าก็มีปีกมีหาง จะไปไหนก็ใช้กระด้ง ต่างปีก สากตําข้าวต่างขา สากกะเบือต่างหาง ชอบกินของโสโครก, คู่กับ กระสือ ซึ่งเป็นผีผู้หญิง, ใช้ว่า กระหาง ก็มี เช่น ถ้าเปนสัจว่าเปนกระสือกระหางจะกละจริงไซร้. (สามดวง).
  15. เกชา, เกอิชา : น. ผู้หญิงญี่ปุ่นที่มีศิลปะและวิชาชีพในการปรนนิบัติผู้ชาย. (ญิ.).
  16. แกละ : [แกฺละ] น. ผมเด็กผู้ชายที่เอาไว้เป็นแหยมตรงแง่ศีรษะ เรียกว่า ผมแกละ.
  17. ขอเฝ้า : น. ข้าพึ่งบุญเจ้า เป็นผู้ชายสำหรับเจ้านายฝ่ายในใช้สอย; เครื่องแบบสำหรับผู้ที่มีตำแหน่งเฝ้า แต่ไม่อยู่ในฐานะที่จะแต่ง เครื่องแบบราชการ.
  18. ขัดลำกล้อง : (ปาก) ก. ถ่ายปัสสาวะไม่ค่อยออก (ใช้แก่ผู้ชาย).
  19. ครับ : [คฺรับ] ว. คํารับหรือคําลงท้ายอย่างสุภาพที่ผู้ชายใช้.
  20. คู่ผสม : น. คําเรียกผู้เล่นกีฬาบางประเภทเช่นแบดมินตัน เทนนิส ที่ใช้ผู้ชายกับผู้หญิงเข้าคู่กัน.
  21. ชันนะตุ : น. ชื่อโรคผิวหนังชนิดหนึ่ง เป็นที่ศีรษะ เกิดจากเชื้อรา บนผิวหนังศีรษะก่อนแล้วลุกลามกินลึกลงไปถึงรากผม ทําให้ผมร่วง (มักเกิดแก่เด็กผู้ชาย).
  22. โซ่ง : น. ชาวไทยพวกหนึ่ง ผู้ชายนุ่งกางเกงสีดําหรือสีครามแก่ขาสั้นใต้เข่า เล็กน้อยและแคบ ผู้หญิงนุ่งซิ่นสีดําหรือสีครามแก่มีลายขาวเป็น ทาง ๆ ลงมา, ซ่ง ซงดํา หรือ ไทยดํา ก็เรียก.
  23. ดิฉัน : ส. คําใช้แทนตัวผู้พูด เพศหญิง เป็นคําสุภาพ, ดีฉัน ก็ว่า, ตามแบบผู้ชาย ใช้ว่า ดีฉัน ผู้หญิงใช้ว่า อีฉัน, เป็นสรรพนามบุรุษที่ ๑.
  24. ดีฉัน : ส. คําใช้แทนตัวผู้พูด เพศหญิง เป็นคําสุภาพ, ดิฉัน ก็ว่า, ตามแบบผู้ชาย ใช้ว่า ดีฉัน ผู้หญิงใช้ว่า อีฉัน, เป็นสรรพนามบุรุษที่ ๑.
  25. ดีฉาน : (โบ) ส. ดิฉัน, ดีฉัน, เป็นคําที่เจ้านายผู้ชายมักใช้กับพระสงฆ์ผู้ทรง สมณศักดิ์, เป็นสรรพนามบุรุษที่ ๑.
  26. เด็กชาย : (กฎ) น. คํานําหน้าชื่อเด็กผู้ชายที่มีอายุไม่ถึง ๑๕ ปีบริบูรณ์.
  27. ท้าว ๑ : น. ผู้เป็นใหญ่, พระเจ้าแผ่นดิน, (โดยมากใช้ในบทกลอน); ตําแหน่ง บรรดาศักดิ์ข้าราชการฝ่ายใน; (ถิ่น-อีสาน) คําประกอบชื่อผู้ชายที่ เป็นเชื้อสายเจ้าหรือขุนนาง.
  28. ทาส, ทาส- : [ทาด, ทาดสะ-] น. ผู้ที่อุทิศตนแก่สิ่งที่เลื่อมใสศรัทธา เช่น เป็นทาส ความรู้, ผู้ที่ยอมตนให้ตกอยู่ในอํานาจสิ่งใดสิ่งหนึ่ง เช่น เป็นทาส การพนัน เป็นทาสยาเสพติด เป็นทาสความรัก เป็นทาสเงิน; บ่าว ทั่วไป, ผู้ที่ขายตัวลงเป็นคนรับใช้หรือที่นายเงินไถ่ค่าตัวมา เรียกว่า ทาสนํ้าเงิน, ผู้ที่เป็นลูกของทาสนํ้าเงิน เรียกว่า ทาสเรือนเบี้ย หรือ ทาสในเรือนเบี้ย, ทาสที่เอาเงินไปซื้อมา เรียกว่าทาสสินไถ่, ผู้ที่ เป็นคนเชลย เรียกว่า ทาสเชลย, ถ้าใช้คู่กันว่า ทาสทาสี ก็หมายความ ว่า ทาส เป็นบ่าวผู้ชาย และ ทาสี เป็นบ่าวผู้หญิง. (ป., ส.).
  29. เทพบุตร : [เทบพะบุด] น. เทวดาผู้ชาย. (ส.).
  30. นม ๑ : น. ส่วนของร่างกาย อยู่บริเวณหน้าอก มี ๒ เต้า, ของผู้หญิงมีต่อม สำหรับผลิตน้ำนมเป็นอาหารสำหรับลูกอ่อน ส่วนของผู้ชายมีขนาด เล็กและไม่มีน้ำนม, นมของสัตว์บางชนิด เช่น ลิง ค่าง ก็มี ๒ เต้า เช่นเดียวกับคน ส่วนของสัตว์บางชนิด เช่น สุนัข วัว ควาย มีหลาย เต้าเรียงอยู่ที่ท้องเป็น ๒ แถว; แม่นม, ราชาศัพท์ว่า พระนม; น้ำนม เช่น เลี้ยงลูกด้วยนม; ชื่อสิ่งที่เป็นเต้าเป็นปุ่มคล้ายนม เช่น นมทอง หลาง นมจะเข้; เรียกสิ่งที่มีลักษณะเป็นปุยขาวห่อหุ้มต้นผักกระเฉด ว่า นมผักกระเฉด,เรียกสิ่งที่มีลักษณะเป็นปุยขาวห้อยติดอยู่ตามข้อ พังพวยว่า นมพังพวย.
  31. บริพาชก : [บอริพาชก] (แบบ) น. ปริพาชก, นักบวชผู้ชายนอกพระพุทธศาสนา ประเภทหนึ่งในอินเดีย. (ป. ปริพฺพาชก).
  32. บัก ๒ : (ถิ่น) น. ของลับผู้ชาย.
  33. บิตุละ, บิตุลา : (แบบ) น. ลุง, อา, (พี่น้องผู้ชายข้างพ่อ). (ป. ปิตุล).
  34. บุรุษ, บุรุษ- : [บุหฺรุด, บุหฺรุดสะ-] น. ผู้ชาย, เพศชาย, คู่กับ สตรี, ใช้ในลักษณะ ที่สุภาพ; (ไว) คําบอกผู้พูด เรียกว่า บุรุษที่ ๑, คําบอกผู้ที่พูดด้วย เรียกว่า บุรุษที่ ๒, คําบอกผู้ที่พูดถึง เรียกว่า บุรุษที่ ๓. (ส. ปุรุษ; ป. ปุริส).
  35. ประสก : (ปาก) น. ชายผู้แสดงตนเป็นคนถือพระพุทธศาสนา, คําที่บรรพชิต เรียกคฤหัสถ์ผู้ชาย, คู่กับ สีกา. (ตัดมาจาก อุบาสก).
  36. ปริพาชก : [ปะริ-] น. นักบวชผู้ชายในอินเดีย นอกพระพุทธศาสนา, เพศหญิง ใช้ว่า ปริพาชิกา หรือ ปริพาชี. (ป. ปริพฺพาชก).
  37. ปิตุละ, ปิตุลา : น. ลุง, อา, (พี่น้องผู้ชายข้างพ่อ). (ป.).
  38. ปู่ : น. พ่อของพ่อ, ผัวของย่า, ญาติผู้ชายหรือชายที่นับถือชั้นปู่.
  39. ผ้าม่วง : น. ผ้าไหมสำหรับผู้ชายนุ่ง มีสีม่วงครามหรือม่วงชาด เป็นต้น.
  40. ผีกระสือ : น. ผีชนิดหนึ่งที่ถือว่าเข้าสิงในตัวผู้หญิง ชอบกินของ โสโครก, คู่กับ ผีกระหังซึ่งเป็นผีผู้ชาย. (ดู กระสือ๑).
  41. ผีกระหัง : น. ผีชนิดหนึ่งที่ถือว่าเข้าสิงในตัวผู้ชาย เชื่อกันว่าเดิม เป็นผู้ชายที่เรียนวิชาอาคมแก่กล้าเข้าก็มีปีกมีหาง จะไปไหนก็ใช้ กระด้งต่างปีก สากตำข้าวต่างขา สากกะเบือต่างหาง ชอบกินของ โสโครก, คู่กับ ผีกระสือ ซึ่งเป็นผีผู้หญิง.
  42. ฝากบำเรอ : (โบ) น. ประเพณีที่หญิงชายได้เสียกันเองในเวลาที่ผู้ชาย ยังอยู่ในระหว่างฝากตัวรับใช้พ่อแม่ผู้หญิง. ฝากประจำ
  43. พ่อ : น. ชายผู้ให้กําเนิดแก่ลูก; คําที่ลูกเรียกชายผู้ให้กําเนิดหรือเลี้ยง; ดูตนคําที่ผู้ใหญ่เรียกผู้ชายที่มีอายุน้อยกว่าด้วยความสนิทสนม หรือรักใคร่เป็นต้นว่า พ่อนั่น พ่อนี่; คําใช้นําหน้านามเพศชาย แปลว่า ผู้เป็นหัวหน้า เช่น พ่อเมือง; ผู้ชายที่กระทํากิจการหรือ งานอย่างใดอย่างหนึ่ง เช่น ค้าขาย เรียกว่า พ่อค้า ทําครัว เรียกว่า พ่อครัว; เรียกสัตว์ตัวผู้ ที่มีลูก เช่น พ่อม้า พ่อวัว.
  44. พ่อคุณ : ว. คําพูดเอาใจ (ใช้แก่ผู้ชาย).
  45. พ่อเจ้าประคุณ : คำเรียกแสดงความรักใคร่หรือประชดประชัน แล้วแต่น้ำเสียง (ใช้แก่ผู้ชาย) เช่น โถ! พ่อเจ้าประคุณของย่า เจ็บไหม ทำไมไม่นอนที่โรงละครเลยล่ะพ่อเจ้าประคุณ.
  46. พ่อเล้า : (ปาก) น. ผู้ชายผู้เป็นหัวหน้าเลี้ยงหญิงสาวไว้บำเรอชาย.
  47. พ่ะย่ะค่ะ : ว. คํารับหรือคําลงท้ายที่ผู้ชายใช้เพ็ดทูลพระราชวงศ์ที่ดํารงพระยศ เจ้าฟ้า.
  48. มด ๒ : น. หมอเวทมนตร์, หมอผี, ถ้าเป็นผู้ชาย เรียกว่า พ่อมด, ถ้าเป็นผู้หญิง เรียกว่า แม่มด; ใช้เป็นคําประกอบกับคํา หมอ เป็น มดหมอ หมายความว่า หมอทั่ว ๆ ไป.
  49. ม่วง ๑ : ว. สีน้ำเงินปนแดง, ถ้าออกครามเรียก สีม่วงคราม, ถ้าออกแดงเรียก สีม่วงชาด, ถ้าเจือขาวเรียก สีม่วงอ่อน, เรียกผ้าไหมสําหรับผู้ชายนุ่งที่มีสีอย่างนั้นหรือสีอย่างอื่นว่า ผ้าม่วง.
  50. รองทรง : น. ทรงผมผู้ชายที่ตัดข้างล่างสั้นข้างบนยาว; หนังสือสำคัญและสมุดไทย ที่พระมหากษัตริย์ทรงใช้เป็นการส่วนพระองค์ เช่น กฎหมายตรา ๓ ดวง ฉบับรองทรง.
  51. [1-50] | 51-76

(0.0216 sec)