Dictionary : English, Thai, Pali. Link : Lexitron, RoyDict, BudDict, ETipitaka, PpmDict, Longdo.
Search: ผู้รับจ้าง, ผู้รับ, จ้าง , then จาง, จ้าง, ผู้รับ, ผู้รับจ้าง .

Royal Institute Thai-Thai Dict : ผู้รับจ้าง, 142 found, display 1-50
  1. จ้าง : ก. ให้ทํางานหรือทําของโดยให้ค่าตอบแทน, ผู้ให้ทํางานเรียก นายจ้าง หรือผู้ว่าจ้าง, ผู้รับทํางานเรียก ลูกจ้าง หรือ ผู้รับจ้าง, ผู้ให้ทําของเรียก ผู้ว่าจ้าง, ผู้รับทําของเรียก ผู้รับจ้าง.
  2. จ้าง : น. ชื่อขนมของจีนชนิดหนึ่ง ทำด้วยข้าวเหนียวที่แช่น้ำด่างแล้วล้าง ให้สะอาด นำมาผึ่งให้สะเด็ดน้ำ ห่อด้วยใบไผ่แล้วต้มให้สุก. (จ. จัง).
  3. ผู้รับรอง : น. ผู้รับประกัน; ผู้ต้อนรับ.
  4. ผู้รับตราส่ง : (กฎ) น. บุคคลผู้ซึ่งผู้ตราส่งส่งของไปถึง. (อ. consignee).
  5. ผู้รับบุตรบุญธรรม : (กฎ) น. ผู้ที่ได้จดทะเบียนรับบุตรของบุคคลอื่น มาเป็นบุตรของตน.
  6. ผู้รับประกันภัย : (กฎ) น. คู่สัญญาฝ่ายซึ่งตกลงจะใช้ค่าสินไหมทดแทน หรือใช้เงินจํานวนหนึ่งให้ตามสัญญาประกันภัย.
  7. ผู้รับประโยชน์ : (กฎ) น. บุคคลผู้จะพึงได้รับค่าสินไหมทดแทน หรือรับจํานวนเงินใช้ให้ตามสัญญาประกันภัย.
  8. ผู้รับพินัยกรรม : (กฎ) น. บุคคลผู้มีสิทธิรับมรดกโดยพินัยกรรม.
  9. ผู้รับเรือน : (กฎ) น. บุคคลที่เข้าทําสัญญาคํ้าประกันผู้คํ้าประกัน อีกชั้นหนึ่ง.
  10. ผู้รับเหมาก่อสร้าง : น. บุคคลที่รับจ้างก่อสร้างอาคารหรือสิ่งก่อสร้าง ต่าง ๆ โดยวิธีเหมา.
  11. การิตวาจก : [การิดตะ-] (ไว) ก. กริยาที่บอกว่าประธานเป็นการิตการกหรือผู้รับใช้, กริยาของประโยคที่แสดงว่าประธานทําหน้าที่เป็นการิตการก คือ เป็นผู้ถูกใช้ กริยาของการิตวาจกใช้กริยานุเคราะห์ ''ถูก'' ''ถูก-ให้'' หรือ ''ถูกให้'' เช่น ลูกจ้างถูกนายจ้างให้ทํางาน.
  12. จับกัง : น. กรรมกร, ผู้ใช้แรงงาน, ใช้เรียกผู้รับจ้างทำงานต่าง ๆ. (จ.).
  13. ค่าจ้าง : (กฎ) น. เงินที่นายจ้างและลูกจ้างตกลงกันจ่ายเป็นค่าตอบแทน ในการทำงานตามสัญญาจ้างสำหรับระยะเวลาการทำงานปรกติเป็น รายชั่วโมง รายวัน รายสัปดาห์ รายเดือน หรือ ระยะเวลาอื่น หรือจ่าย ให้โดยคำนวณตามผลงานที่ลูกจ้างทำได้ในเวลาทำงานปรกติของวันทำงาน และหมายความรวมถึงเงินที่นายจ้างจ่ายให้แก่ลูกจ้างในวันหยุดและวัน ลาที่ลูกจ้างมิได้ทำงาน แต่ลูกจ้างมีสิทธิได้รับตามกฎหมาย; เงินทุก ประเภทที่นายจ้างจ่ายให้แก่ลูกจ้างเป็นค่าตอบแทนการทำงานในวันและ เวลาทำงานปรกติ ไม่ว่าจะคำนวณตามระยะเวลาหรือคำนวณตามผลงานที่ ลูกจ้างทำได้ และหมายความรวมถึงเงินที่นายจ้างจ่ายให้แก่ลูกจ้างใน วันหยุดและวันลาซึ่งลูกจ้างไม่ได้ทำงานด้วย ทั้งนี้ ไม่ว่าจะกำหนด คำนวณ หรือจ่ายในลักษณะใดหรือโดยวิธีการใด และไม่ว่า จะเรียกชื่ออย่างไร.
  14. ว่า : ก. พูด, บอก, เช่น เขาว่า ที่นี่ฝนตกทุกวัน; ดุ เช่น อย่าเอะอะไป เดี๋ยวครูว่าเอา, ติ เช่น ดีแต่ว่าเขา; ดุด่าว่ากล่าว เช่น ว่าไม่ได้ ก็เลี้ยง ไม่ได้; ร้อง เช่น ว่าเพลง; จ้าง, ตกลงให้ทำการสิ่งใดสิ่งหนึ่งโดยให้ ค่าจ้าง, เช่น ไปว่าขนมมาเลี้ยงแขก, ว่าจ้าง ก็ว่า; ใช้เป็นสันธาน เชื่อมประโยค เช่น พูดว่า คิดว่า หมายความว่า มีความเห็นว่า. (ปาก) ก. เป็นคำใช้แทนกริยาอื่นบางคำได้ เป็นต้นว่าใช้แทนคำว่า กิน เช่น ว่าเสียเรียบ ว่าเสียเต็มคราบ ใช้แทนคำว่า ทำ เช่น ว่าเสียเอง.
  15. ว่าจ้าง : ก. จ้าง, ตกลงให้ทําการสิ่งใดสิ่งหนึ่งโดยให้ค่าจ้าง, เช่น เขาว่าจ้างช่างให้มาทำรั้วบ้าน, ว่า ก็ว่า.
  16. จาง : ว. น้อยไป, ลดไป, ไม่เข้ม, (โดยมากใช้แก่สี รส กลิ่น).
  17. เรือจ้าง : น. เรือที่แจวหรือพายรับจ้างข้ามฟาก ปรกติใช้เรือสำปั้น.
  18. ประกันภัย : (กฎ) น. ชื่อสัญญาซึ่งบุคคลคนหนึ่ง เรียกว่า ผู้รับ ประกันภัย ตกลงจะใช้ค่าสินไหมทดแทนหรือใช้เงินจํานวนหนึ่ง ให้ในกรณีที่หากมีวินาศภัยขึ้น หรือในเหตุอย่างอื่นในอนาคตดัง ได้ระบุไว้ในสัญญา และการนี้บุคคลอีกคนหนึ่ง เรียกว่า ผู้เอา ประกันภัย ตกลงจะส่งเงินซึ่งเรียกว่า เบี้ยประกันภัย, สัญญา ประกันภัย ก็เรียก.
  19. ให้ : ก. มอบ เช่น ให้ช่อดอกไม้เป็นรางวัล, สละ เช่น ให้ชีวิตเป็นทาน, อนุญาต เช่น ฉันให้เขาไปเที่ยว; เป็นคำช่วยกริยา บอกความบังคับหรืออวยชัยให้พร เป็นต้น เช่น แม่บอกให้ลูกไปนอน ขอให้เจริญรุ่งเรือง ขอให้เดินทางโดย สวัสดิภาพ แต่งตัวให้สวย ๆ นะ. (กฎ) น. ชื่อสัญญาซึ่งบุคคลคนหนึ่ง เรียกว่า ผู้ให้โอนทรัพย์สินของตนให้โดยเสน่หาแก่บุคคลอีกคนหนึ่ง เรียกว่า ผู้รับ และผู้รับยอมรับเอาทรัพย์สินนั้น.
  20. อาทาตา : น. ผู้ถือเอา, ผู้รับ. (ป.; ส. อาทาตฺฤ).
  21. กรมธรรม์ประกันภัย : (กฎ) น. ตราสารที่มีลายมือชื่อของ ผู้รับประกันภัยและมีรายการแสดงวัตถุที่เอาประกันภัย จำนวนงินเอาประกันภัย ชื่อผู้เอาประกันภัย ชื่อผู้รับประกันภัย วันที่สัญญาเริ่มต้นและสิ้นสุด และอื่น ๆ ตามที่กฎหมายบังคับ ตลอดจนเงื่อนไขเกี่ยวกับประโยชน์ สิทธิ และหน้าที่ของ ผู้เอาประกันภัย และผู้รับประกันภัย, มักเรียกสั้น ๆ ว่า กรมธรรม์. (อ. policy of insurance).
  22. กรรมการ ๒ : (โบ; กลอน) น. ผู้รับใช้ เช่น ข้าขอภักดีภูบาล เป็นทาสกรรมการ ไปกว่าจะสิ้นสุดสกนธ์. (เสือโค).
  23. กรรมาชีพ : [กํา-] น. คําเรียกชนชั้นกรรมกรหรือลูกจ้างผู้หาเลี้ยงชีพด้วย ค่าจ้างแรงงานว่า ชนกรรมาชีพ. (อ. proletariat).
  24. กะ ๒ : ว. ใช้รวมกับคําวิเศษณ์ เช่น เหมือนกะ ราวกะ ถึงกะ. บ. ใช้นําหน้าผู้รับพูดหรือรับบอก เช่นพี่พูดกะน้อง เขากล่าวกะฉัน เขาบอกกะท่าน. สัน. ใช้แทนคําว่า กับ เช่น ยายกะตา, ใช้แทนคําว่าแก่ เช่น มีกะใจ. (เป็นคําเสียงกร่อนมาจาก กับ หรือ แก่).
  25. การิตการก : [การิดตะ-] (ไว) น. ผู้ถูกใช้ให้ทํา, เป็นประธานของประโยค เรียงไว้หน้ากริยา ''ถูก-ให้'' เช่น คนงานถูกนายจ้างให้ทํางาน ทั้งกลางวันและกลางคืน, ถ้ามิได้เป็นประธานก็เรียงไว้หลังบุรพบท ''ยัง'' หรือ กริยานุเคราะห์ ''ให้'' เช่น นายจ้างยังลูกจ้างให้ทํางาน นายจ้างให้ลูกจ้างทํางาน.
  26. กำเหน็จ : [-เหฺน็ด] น. ค่าจ้างทําเครื่องเงินหรือทองรูปพรรณ.
  27. กินปิ่นโต : ก. ว่าจ้างให้ทำอาหารใส่ปิ่นโตส่งให้ตามที่ตกลงกัน, ผูกปิ่นโต ก็ว่า, (ปาก) ว่าปิ่นโต.
  28. กุลี ๑ : น. คนรับจ้างทํางานหนักมีหาบหามเป็นต้น.
  29. ขาย : ก. เอาของแลกเงินตรา, โอนกรรมสิทธิ์แห่งทรัพย์สินให้แก่กันโดย ตกลงกันว่าผู้รับโอนจะใช้ราคาแห่งทรัพย์สินนั้น มีหลายลักษณะ คือ ชําระเงินในขณะที่ซื้อขายกัน เรียกว่า ขายเงินสด, ขายโดยยอม เก็บเงินอันเป็นราคาของในวันหลัง เรียกว่า ขายเชื่อ, (เลิก) เอาเงินเขา มาโดยยอมตนเข้ารับใช้การงานของเจ้าเงิน เรียกว่า ขายตัวลงเป็นทาส.
  30. ขายชาติ : ก. ขยายความลับประเทศชาติของตนแก่ศัตรูหรือเอาใจ ออกหากไปเข้ากับศัตรู เพราะเห็นแก่สินจ้างหรือสิ่งตอบแทนเพื่อ ทําลายล้างประเทศชาติของตน, ขายบ้านขายเมือง ก็ว่า.
  31. คนสวน : น. ลูกจ้างที่มีหน้าที่ดูแลรักษาต้นไม้, ลูกจ้างทําสวน.
  32. ค่า : น. มูลค่าหรือราคาของสิ่งใด ๆ ทั้งที่เป็นรูปธรรมและนามธรรม ที่มีประโยชน์ในทางใช้สอย แลกเปลี่ยน หรือทางจิตใจเป็นต้น บางอย่างก็ประเมินเป็นเงินได้ บางอย่างก็ประเมินเป็นเงินไม่ได้ เช่น ทองคำเป็นของมีค่า เวลามีค่ามาก; จำนวนเงินที่เป็นราคาสิ่งของหรือบริการ เป็นต้น เช่น ค่าจ้าง ค่าเช่า ค่าโดยสาร ค่าอาหาร; (คณิต) จำนวนหรือ ตัวเลขที่ระบุปริมาณหรือขนาดของตัวแปร; (สำ) เรียกสิ่งใดสิ่งหนึ่ง ที่มีคุณค่ามากจนไม่อาจประเมินเป็นเงินได้ว่า เป็นสิ่งที่หาค่ามิได้.
  33. ค่าชดเชย : (กฎ) น. เงินที่นายจ้างจ่ายให้แก่ลูกจ้างเมื่อเลิกจ้าง นอกเหนือ จากเงินประเภทอื่นซึ่งนายจ้างตกลงจ่ายให้แก่ลูกจ้าง.
  34. ค้าประเวณี : ก. กระทำการใด ๆ เพื่อสำเร็จความใคร่ในทางกามารมณ์ ของผู้อื่นอันเป็นการสำส่อนเพื่อสินจ้างหรือประโยชน์อื่นใด.
  35. คำขึ้นต้น : น. คำใช้เขียนขึ้นต้นจดหมายถึงผู้รับตามฐานะของผู้รับ แต่ละคน เช่น นมัสการ ใช้เป็นคำขึ้นต้นจดหมายถึงพระภิกษุ เรียน ใช้เป็นคำขึ้นต้นจดหมายถึงบุคคลธรรมดา; คำใช้ขึ้นต้นสำหรับ ร้อยกรองบางประเภท เช่น บัดนั้น เมื่อนั้น ครานั้น สักวา.
  36. เงินรายปี : น. จํานวนเงินที่บริษัทประกันชีวิตจ่ายให้แก่ผู้รับเงินรายปี ตามเงื่อนไขกรมธรรม์ประกันชีวิตแบบเงินรายปี ซึ่งผู้รับประกันภัย สัญญาว่า ตราบใดที่ผู้เอาประกันชีวิตยังทรงชีพอยู่ บริษัทจะจ่ายเงิน ให้ตลอดไปจนกว่าจะเสียชีวิต หรือจะจ่ายให้ชั่วระยะเวลาหนึ่งตามที่ ตกลงไว้ เงินรายปีนี้อาจจะจ่ายเป็นงวด รายปี รายครึ่งปี หรือรายเดือนก็ได้ จํานวนเงินที่จ่ายอาจจะคงที่ เพิ่มขึ้น หรือเปลี่ยนแปลงก็ได้. (อ. annuity).
  37. เจ้าไข้ : น. เจ้าของคนไข้, ผู้รับผิดชอบในตัวคนไข้.
  38. เจ้าภาพ : น. เจ้าของงานพิธีหรือผู้รับเป็นเจ้าของงานพิธี เช่น เจ้าภาพงาน แต่งงาน เจ้าภาพสวดพระอภิธรรม; (ปาก) เจ้ามือ เช่น เย็นนี้ฉันขอเป็น เจ้าภาพเลี้ยงข้าวเอง.
  39. เจ้ามือ : น. ผู้ตั้งต้นในวงการพนันเช่นวงไพ่, ผู้รับกินรับใช้ในการเล่น การพนันเช่นถั่ว โป หวย; (ปาก) ผู้รับออกเงินในการเลี้ยง, เจ้าภาพ ก็ว่า.
  40. ช่วงบาท : น. ผู้อยู่ในระยะเท้า ''คือ ใกล้เท้า หมายความ ว่า ผู้รับใช้''.
  41. เช็ค : (กฎ) น. หนังสือตราสาร ซึ่งบุคคลคนหนึ่ง เรียกว่า ผู้สั่งจ่าย สั่งธนาคารให้ใช้เงินจํานวนหนึ่งเมื่อทวงถามให้แก่บุคคล อีกคนหนึ่งหรือให้ใช้ตามคําสั่งของบุคคลอีกคนหนึ่ง เรียกว่า ผู้รับเงิน. (อ. cheque).
  42. ซองขาว : น. จดหมายให้ออกจากงานโดยไม่มีความผิด; ซองบรรจุ เงินสินบนหรือค่าสินจ้างเพื่อให้ทำสิ่งใดสิ่งหนึ่ง มักจะเป็นไป ในทางมิชอบ.
  43. ดราฟต์ : จ่ายเงินจํานวนหนึ่งแก่ผู้รับตามที่ได้ระบุชื่อไว้หรือตามคําสั่ง ของผู้รับ. (อ. draft).
  44. ตกทอด : ก. ตกสืบกันมาเป็นทอด ๆ, สืบจากผู้หนึ่งไปยังอีกผู้หนึ่ง, เช่น มรดกตกทอด; เรียกบําเหน็จบํานาญที่ตกแก่ทายาทของผู้รับ บําเหน็จบํานาญว่า บําเหน็จตกทอด หรือ บํานาญตกทอด.
  45. ตราจอง : (กฎ; เลิก) น. ใบอนุญาตให้จับจองที่ดิน ซึ่งกําหนดให้ผู้รับอนุญาตต้อง ทําประโยชน์ในที่ดินให้แล้วภายใน ๓ ปี.
  46. ตั๋ว : น. บัตรบางอย่างที่แสดงสิทธิของผู้ใช้ เช่น ตั๋วรถ ตั๋วหนัง. (จ.). ตั๋วเงิน (กฎ) น. หนังสือตราสารซึ่งสั่งให้จ่ายเงินหรือสัญญาว่าจะจ่ายเงิน ตามกฎหมาย มี ๓ ประเภท คือ ตั๋วแลกเงิน ตั๋วสัญญาใช้เงิน และเช็ค. ตั๋วเงินคลัง น. ตั๋วเงินซึ่งออกโดยกระทรวงการคลัง เพื่อเป็นหลักฐานการ กู้เงินระยะสั้นของรัฐบาล. ตั๋วเงินจ่าย (บัญชี) น. ตั๋วแลกเงินของฝ่ายลูกหนี้ที่ต้องใช้เงินตามสัญญา ลงบัญชีในช่องหนี้สิน. ตั๋วเงินรับ (บัญชี) น. ตั๋วแลกเงินของฝ่ายเจ้าหนี้ที่จะได้รับเงินตามสัญญา ลงบัญชีในช่องทรัพย์สิน. ตั๋วรูปพรรณ (กฎ) น. เอกสารแสดงตำหนิรูปพรรณสัตว์พาหนะ. ตั๋วแลกเงิน (กฎ) น. หนังสือตราสารซึ่งบุคคลคนหนึ่ง เรียกว่า ผู้สั่งจ่าย สั่งบุคคลอีกคนหนึ่ง เรียกว่า ผู้จ่าย ให้ใช้เงินจํานวนหนึ่งแก่บุคคลคนหนึ่ง หรือให้ใช้ตามคําสั่งของบุคคลคนหนึ่ง เรียกว่า ผู้รับเงิน. ตั๋วสัญญาใช้เงิน (กฎ) น. หนังสือตราสารซึ่งบุคคลคนหนึ่งเรียกว่า ผู้ออกตั๋ว ให้คํามั่นสัญญาว่าจะใช้เงินจํานวนหนึ่งให้แก่บุคคลอีกคนหนึ่ง หรือใช้ให้ ตามคําสั่งของบุคคลอีกคนหนึ่ง เรียกว่า ผู้รับเงิน.
  47. ทนาย : [ทะ-] น. ผู้รับใช้, ผู้แทนนาย, (ใช้แก่ผู้มีอํานาจ); คำเรียกทนายความ อย่างสั้น ๆ.
  48. ทนายหน้าหอ : (ปาก) น. หัวหน้าคนรับใช้ที่ใช้ออกหน้าออกตา, ผู้รับหน้าแทนนาย.
  49. ทายาท : ฐานะที่จะรับตําแหน่งหน้าที่ต่อจากบุคคลอื่น เช่น ทายาททาง การเมือง; (กฎ) บุคคลรวมทั้งทารกในครรภ์มารดาซึ่งมีสิทธิได้ รับมรดกของผู้ตาย ถ้าสิทธินั้นเกิดขึ้นตามกฎหมาย เรียกว่า ทายาทโดยธรรม ถ้าสิทธินั้นเกิดขึ้นตามพินัยกรรม เรียกว่า ผู้รับพินัยกรรม. (ป., ส.).
  50. ทูต : น. ผู้นําข้อความไปแจ้งทั้ง ๒ ฝ่าย, ผู้รับใช้ไปเจรจาแทน, ผู้สื่อสาร, ผู้ที่ได้รับมอบหมายให้เป็นผู้แทนไปยังต่างประเทศ เพื่อเจรจาหรือ เจริญสันถวไมตรีเป็นทางราชการ. (ป.).
  51. [1-50] | 51-100 | 101-142

(0.1203 sec)