Dictionary : English, Thai, Pali. Link : Lexitron, RoyDict, BudDict, ETipitaka, PpmDict, Longdo.
Search: ผู้รับเคราะห์, เคราะห์, ผู้รับ , then คราห, เคราะห์, ผรบคราห, ผู้รับ, ผู้รับเคราะห์ .

Budhism Thai-Thai Dict : ผู้รับเคราะห์, 23 found, display 1-23
  1. ดาวเคราะห์ : ดู ดาวพระเคราะห์
  2. ดาวพระเคราะห์ : ในทางโหราศาสตร์ หมายถึงดาวทั้ง ๙ ที่เรียกว่า นพเคราะห์ คืออาทิตย์ จันทร์ อังคาร พุธ พฤหัสบดี ราหู ศุกร์ เกตุ; แต่ในทางดาราศาสตร์เรียก ดาวเคราะห์ หมายถึงดาวที่ไม่มีแสงสว่างในตัวเอง ต้องได้รับแสงสว่างจากดวงอาทิตย์ และเป็นบริวารโคจรรอบดวงอาทิตย์ มี ๙ ดวง คือ พุธ ศุกร์ โลก อังคาร พฤหัสบดี เสาร์ มฤตยู (ยูเรนัส) เกตุ หรือพระสมุทร (เนปจูน) พระยม (พลูโต)
  3. นพเคราะห์ : ดู ดาวพระเคราะห์
  4. จีวรปฏิคคาหก : ผู้รับจีวร คือ ภิกษุที่สงฆ์สมมติให้เป็นเจ้าหน้าที่รับจีวร เป็นตำแหน่งหนึ่งในบรรดาเจ้าอธิการแห่งจีวร
  5. ปฏิคาหก : ผู้รับทาน, ผู้รับของถวาย
  6. เจ้าอธิการแห่งจีวร : คือ ภิกษุผู้มีหน้าที่เกี่ยวกับจีวร ๓ อย่างคือ ผู้รับจีวร (จีวรปฏิคาหก) ผู้เก็บจีวร (จีวรนิทหก) ผู้แจกจีวร (จีวรภาชก)
  7. ธรรมทายาท : ทายาทแห่งธรรม, ผู้รับมรดกธรรม, ผู้รับเอาธรรมของพระพุทธเจ้ามาเป็นสมบัติด้วยการประพฤติปฏิบัติให้เข้าถึง; โดยหมายถึงรับเอาโลกุตตรธรรม ๙ ไว้ได้ด้วยการบรรลุเอง โดยอ้อมหมายถึง รับปฏิบัติกุศลธรรม จะเป็นทาน ศีล หรือภาวนาก็ตาม ตลอดจนการบูชา ที่เป็นไปเพื่อบรรลุซึ่งโลกุตตรธรรมนั้น เทียบ อามิสทายาท
  8. นิสัย : 1.ที่พึ่ง, ที่อาศัย เช่น ขอนิสัยในการอุปสมบท (คือกล่าวคำขอร้องต่ออุปัชฌาย์ในพิธีอุปสมบท ขอให้ท่านเป็นที่พึ่ง ที่อาศัยของตน ทำหน้าที่ปกครองสั่งสอนให้การศึกษาอบรมต่อไป) อาจารย์ผู้ให้นิสัย (อาจารย์ผู้รับที่จะทำหน้าที่เป็นที่พึ่ง ที่อาศัยปกครองแนะนำในการศึกษาอบรม) 2.ปัจจัยเครื่องอาศัยของบรรพชิต ๔ อย่าง คือ จีวร บิณฑบาต เสนาสนะ คิลานเภสัช 3.ความประพฤติที่เคยชิน เช่น ทำจนเป็นนิสัย
  9. บริวาร : 1.ผู้แวดล้อม, ผู้ห้อมล้อม ติดตาม, ผู้รับใช้ 2.สิ่งแวดล้อม, ของสมบท, สิ่งประกอบร่วม เช่น ผ้าบริวาร บริวารกฐิน เป็นต้น 3.ชื่อคัมภีร์พระวินัยปิฎก หมวดสุดท้ายใน ๕ หมวด คือ อาทิกัมม์ ปาจิตตีย์ มหาวรรค จุลวรรค บริวาร
  10. ปฏิคม : ผู้ต้อนรับ, ผู้รับแขก, ผู้ดูแลต้อนรับ
  11. ปฏิญญาตกรณะ : ทำตามรับ ได้แก่รับอาบัติตามปฏิญญาของจำเลยผู้รับเป็นสัตย์ การแสดงอาบัติก็จัดเข้าในข้อนี้
  12. พุทธมามกะ : “ผู้ถือพระพุทธเจ้าว่าเป็นของเรา”, ผู้รับเอาพระพุทธเจ้าเป็นของตน, ผู้ประกาศตนว่าเป็นผู้นับถือพระพุทธศาสนา
  13. ยัญ : การเซ่น, การบูชา, การบวงสรวงชนิดหนึ่งของพราหมณ์ เช่น ฆ่าสัตว์บูชาเทพเจ้าเพื่อให้ตนพ้นเคราะห์ร้าย เป็นต้น
  14. ราศรี : 1.ชื่อมาตราวัดจักรราศีคือ ๓๐ องศาเป็น ๑ ราศรี และ ๑๒ ราศรีเป็น ๑ รอบจักรราศี (อาณาเขตโดยรอบดวงอาทิตย์ที่ดาวพระเคราะห์เดิน) ; ราศี ๑๒ นั้น คือ ราศีเมษ (แกะ), พฤษภ (วัว), เมถุน (คนคู่), กรกฏ (ปู), สิงห์ (ราชสีห์), กันย์ (หญิงสาว) ตุล (คันชั่ง), พฤศจิก (แมลงป่อง), ธนู (ธนู), มกร (มังกร), กุมภ์ (หม้อน้ำ), มีน (ปลา ๒ ตัว) 2.อาการที่รุ่งเรือง, ลักษณะที่ดีงาม 3.กอง เชน บุญราศี ว่ากองบุญ
  15. สมผุส : เป็นคำเฉพาะในโหราศาสตร์ หมายถึงการคำนวณชนิดหนึ่ง เกี่ยวกับโลกและดาวนพเคราะห์เล็งร่วมกัน และ ดู มัธยม
  16. สัปปุริสธรรม : ธรรมของสัตบุรุษ, ธรรมของคนดี, ธรรมที่ทำให้เป็นสัตบุรุษ มี ๗ อย่างคือ ๑.ธัมมัญญุตา รู้หลักหรือรู้จักเหตุ ๒.อัตถัญญุตา รู้ความมุ่งหมายหรือรู้จักผล ๓.อัตตัญญุตา รู้จักตน ๔.มัตตัญญุตา รู้จักประมาณ ๕.กาลัญญุตา รู้จักกาล ๖.ปริสัญญุตา รู้จักชุมชน ๗.ปุคคลัญญุตา รู้จักบุคคล; อีกหมวดหนึ่งมี ๘ อย่างคือ ๑.ประกอบด้วย สัทธรรม ๗ ประการ ๒.ภักดีสัตบุรษ (คบหาผู้มีสัทธรรม ๗) ๓.คิดอย่างสัตบุรุษ ๔.ปรึกษาอย่างสัตบุรุษ ๕.พูดอย่างสัตบุรุษ ๖.ทำอย่างสัตบุรุษ (๓-๔-๕-๖ คือ คิดปรึกษา พูด ทำ มิใช่เพื่อเบียดเบียนตน และผู้อื่น) ๗.มีความเห็นอย่างสัตบุรุษ (คือเห็นชอบว่า ทำดีมีผลดี ทำชั่วมีผลชั่วเป็นต้น) ๘.ให้ทานอย่างสัตบุรุษ (คือให้โดยเคารพ เอื้อเฟื้อ แก่ของและผู้รับทาน เป็นต้น)
  17. ให้ทานโดยเคารพ : ตั้งใจให้อย่างดี เอื้อเฟื้อแก่ของที่ตัวให้และผู้รับทานไม่ทำอาการดุจทิ้งเสีย
  18. อเหตุกทิฏฐิ : ความเห็นว่าไม่มีเหตุ คือ ความเห็นผิดว่า คนเราจะได้ดีหรือชั่วตามคราวเคราะห์ ถึงคราวจะดี ก็ดีเอง ถึงคราวจะร้าย ก็ร้ายเอง ไม่มีเหตุอื่นจะทำให้คนดีคนชั่วได้ (ข้อ ๒ ในทิฏฐิ ๓)
  19. อันเตวาสิก : ผู้อยู่ในสำนัก, ภิกษุผู้ขออยู่ร่วมสำนัก, ศิษย์ (ภิกษุผู้รับให้อยู่ร่วมสำนักเรียกอาจารย์); อันเตวาสิกมี ๔ ประเภทคือ ๑) ปัพพชันเตวาสิก อันเตวาสิกในบรรพชา ๒) อุปสัมปทันเตวาสิก อันเตวาสิกในอุปสมบท ๓) นิสสยันเตวาสิก อันเตวาสิกผู้ถือนิสัย ๔) ธัมมันเตวาสิก อันเตวาสิกผู้เรียนธรรม
  20. อามิสทายาท : ทายาทแห่งอามิส, ผู้รับมรดกอามิส, ผู้รับเอาสมบัติทางวัตถุ เช่น ปัจจัย ๔ จากพระพุทธเจ้ามาเสพเสวย ด้วยอาศัยผลแห่งพุทธกิจ ที่ได้ทรงบำเพ็ญไว้; โดยตรง หมายถึง รับเอาปัจจัย ๔ มาบริโภค โดยอ้อมหมายถึง ทำกุศลที่นำไปสู่วัฏฏะเช่นให้ทานบำเพ็ญฌานสมาบัติ ด้วยมงหมายมนุษยสมบัติและเทวสมบัติ; พระพุทธเจ้าตรัสสอนภิกษุทั้งหลาย ให้เป็นธรรมทายาท มิให้เป็นอามิสทายาท เทียบ ธรรมทายาท
  21. อุปัชฌาย์ : “ผู้เพ่งโทษน้อยใหญ่” หมายถึงผู้รับรองกุลบุตรเข้ารับการอุปสมบทในท่ามกลางภิกษุสงฆ์, เป็นทั้งผู้นำเข้าหมู่ และเป็นผู้ปกครองคอยดูแลผิดและชอบ ทำหน้าที่ฝึกสอนอบรมให้การศกษาต่อไป; อุปัชฌาย์ในฝ่ายภิกษุณี เรียกว่า ปวัตตินี
  22. อุปัชฌายะ : ผู้เพ่งโทษน้อยใหญ่ หมายถึงผู้รับรองกุลบุตรเข้ารับการอุปสมบทในท่ามกลางภิกษุสงฆ์, เป็นทั้งผู้นำเข้าหมู่ และเป็นผู้ปกครองคอยดูแลผิดและชอบ ทำหน้าที่ฝึกสอนอบรมให้การศกษาต่อไป; อุปัชฌาย์ในฝ่ายภิกษุณี เรียกว่า ปวัตตินี
  23. อุปัฏฐาก : ผู้บำรุง, ผู้รับใช้, ผู้ดูแลความเป็นอยู่, ผู้อุปถัมภ์บำรุงพระภิกษุสามเณร; อุปฐาก ก็เขียน
  24. [1-23]

(0.0169 sec)