Dictionary : English, Thai, Pali. Link : Lexitron, RoyDict, BudDict, ETipitaka, PpmDict, Longdo.
Search: พยาบาล , then พยาบาล, พยาปาล, พฺยาปาล .

Royal Institute Thai-Thai Dict : พยาบาล, 25 found, display 1-25
  1. พยาบาล : [พะยาบาน] ก. ดูแลคนไข้, ปรนนิบัติคนไข้; (โบ) เอื้อเฟื้อเลี้ยงดู. น. ผู้ดูแลคนไข้.
  2. รถพยาบาล : น. รถยนต์ของสถานพยาบาลที่ใช้รับส่งผู้ป่วยในกรณีฉุกเฉิน ระหว่างวิ่งเพื่อนำผู้ป่วยส่งสถานพยาบาลจะเปิดไซเรนขอทางให้ยวดยาน อื่นหลีกทางให้; รถยนต์ขนาดใหญ่ มีแพทย์ พยาบาล และเวชภัณฑ์พร้อม สำหรับไปรักษาพยาบาลผู้ป่วยในท้องถิ่นต่าง ๆ คล้ายโรงพยาบาลเคลื่อนที่.
  3. โรงพยาบาล : น. สถานที่ให้บริการเกี่ยวกับสุขภาพอนามัย คือทั้งตรวจ รักษา และป้องกันโรคให้แก่ประชาชน และมีเตียงสำหรับรับคนไข้เข้า พักรักษาตัวด้วย.
  4. คนไข้นอก : น. คนไข้ที่มารับการตรวจรักษาที่โรงพยาบาล แต่ไม่ได้ นอนพักรักษาตัวในโรงพยาบาล, ผู้ป่วยนอก ก็ว่า.
  5. คนไข้ใน : น. คนไข้ที่พักรักษาตัวอยู่ในโรงพยาบาล, ผู้ป่วยใน ก็ว่า.
  6. คลินิก : น. สถานรักษาพยาบาล โดยมากเป็นของเอกชน มักไม่รับผู้ป่วยให้พัก รักษาตัวประจํา; แผนกของโรงพยาบาลที่รักษาโรคเฉพาะทาง. (อ. clinic).
  7. ดับจิต : ก. ตาย. (ปาก) น. เรียกห้องเก็บศพของโรงพยาบาลว่า ห้องดับจิต.
  8. ธง : น. ผืนผ้าโดยมากเป็นสีและบางอย่างมีลวดลายเป็นรูปต่าง ๆ ที่ทําด้วย กระดาษและสิ่งอื่น ๆ ก็มี สําหรับ (๑) ใช้เป็นเครื่องหมายบอกชาติ ตําแหน่งในราชการ โดยมีกําหนดกฎเกณฑ์เป็นต้น เช่น ธงชาติ ธงแม่ทัพ นายกอง. (๒) ใช้เป็นเครื่องหมายตามแบบสากลนิยม เช่น ธงกาชาด บอก ที่ตั้งกองบรรเทาทุกข์, ธงขาว บอกความจํานนขอหย่าศึกหรือยอมแพ้, ธงเหลือง บอกเป็นเรือพยาบาลคนป่วยหรือเรือที่มีโรคติดต่ออันตราย, ธงแดง บอกเหตุการณ์อันเป็นภัย. (๓) ใช้เป็นเครื่องหมายเรือเดินทะเล คณะ สมาคม อาคารการค้า และอื่น ๆ. (๔) ใช้เป็นอาณัติสัญญาณ. (๕) ใช้เป็นเครื่องตกแต่งสถานที่ในงานรื่นเริงหรือถือเข้ากระบวนแห่ เป็นต้น; ชื่อดาวหมู่หนึ่งตามที่กล่าวว่า โน่นดาวธงตรงหน้าอาชาไนย. (อภัย); ชื่อคันเบ็ดที่ปักประจําล่อปลา, กิริยาที่เอาเบ็ดนั้นไปปักเรียกว่า ธง; ข้อความที่อธิบายนําไว้เป็นตัวอย่าง.
  9. ปฐมพยาบาล : [ปะถมพะยาบาน] น. การปฏิบัติขั้นต้นยามฉุกเฉิน ตามวิธีแพทย์ก่อนลงมือรักษาพยาบาล.
  10. ผู้ป่วยนอก : (น. ผู้ป่วยที่มารับการตรวจรักษาที่โรงพยาบาล แต่ไม่ได้ นอนพักรักษาตัวในโรงพยาบาล, คนไข้นอก ก็ว่า.
  11. ผู้ป่วยใน : น. ผู้ป่วยที่พักรักษาตัวอยู่ในโรงพยาบาล, คนไข้ใน ก็ว่า.
  12. ฝากไข้ : ก. มอบหมายให้รักษาพยาบาลเมื่อเจ็บไข้.
  13. เฝ้าไข้ : ก. คอยดูแล ปรนนิบัติ พยาบาลผู้ป่วยไข้.
  14. พ่อบ้าน : น. ชายที่เป็นหัวหน้าครอบครัว, ชายผู้จัดการงานธุรการ ในสถานที่เช่นโรงพยาบาลเป็นต้น.
  15. แม่บ้าน : น. ภรรยาของพ่อบ้าน, หญิงผู้จัดการงานในบ้านเป็นต้น, หญิงผู้จัดการงานธุรการในสถานที่เช่นโรงพยาบาลเป็นต้น, คู่กับ พ่อบ้าน.
  16. เยื้อง : ก. เอี้ยว, ย้ายไป, เดินอย่างไว้ท่าทาง, เช่น เดินเยื้องตัวแล้วซัดแขนอย่าง ละครรำ. ว. เฉียงจากจุดตรงข้ามเล็กน้อย เช่น มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ อยู่เยื้องกับโรงพยาบาลศิริราช.
  17. รถฉุกเฉิน : (กฎ) น. รถดับเพลิงและรถพยาบาลของราชการบริหาร ส่วนกลางราชการบริหารส่วนภูมิภาค และราชการบริหารส่วนท้องถิ่น หรือรถอื่นที่ได้รับอนุญาตจากผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติให้ใช้ไฟ สัญญาณแสงวับวาบ หรือให้ใช้เสียงสัญญาณไซเรนหรือเสียงสัญญาณ อย่างอื่น ตามที่ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติกําหนด.
  18. รถหวอ : (ปาก) น. รถดับเพลิง รถตำรวจ หรือรถพยาบาลเป็นต้นที่ติดตั้ง ไซเรนเพื่อเตือนให้ยวดยานอื่นหลีกทางให้.
  19. เรียก : ก. เปล่งเสียงเพื่อให้มาหรือให้ไปเป็นต้น เช่น แม่เรียกให้มาทำการบ้าน ช่วยเรียกสุนัขไปเสียที, ออกชื่อ เช่น ครูเรียกมาลีให้มาหา, เชิญ เช่น เรียกประชุม เรียกหมอ เรียกน้ำ เรียกลม; ให้ชื่อ เช่น น้ำที่ทำให้แข็ง เรียกว่าน้ำแข็ง ภาชนะอย่างนี้เรียกว่าถ้วย; กำหนดเอา, ร้องเอา, เช่น หมอเรียกค่ารักษาพยาบาล โจทก์เรียกค่าเสียหาย รัฐบาลเรียกเก็บภาษี; (ปาก) ชวนให้มีอาการเช่นนั้น เช่น เรียกน้ำตา เรียกเสียงตบมือ.
  20. สถาน ๑ : [สะถาน] น. ที่ตั้ง เช่น สถานเสาวภา สถานพยาบาล สถานพักฟื้น สถานบริบาลทารก, ถ้าใช้ประกอบคำอื่นหมายถึง ที่, แหล่ง, เช่น โบราณสถาน ศาสนสถาน ฌาปนสถาน ปูชนียสถาน สังเวชนียสถาน; ประการ เช่น มีความผิดหลายสถาน. (ส.; ป. ?าน).
  21. สภากาชาด : น. องค์การพยาบาลและบรรเทาทุกข์.
  22. สวัสดิการ : น. การให้สิ่งที่เอื้ออํานวยให้ผู้ทํางานมีชีวิตและสภาพ ความเป็นอยู่ที่ดีและสะดวกสบาย เช่น มีสถานพยาบาล ให้ที่พักอาศัย จัดรถรับส่ง.
  23. สัตตาหกรณียะ : [สัดตาหะกะระนียะ, สัดตาหะกอระนียะ] น. กิจที่ พึงทำเป็นเหตุให้ภิกษุออกจากวัดไปพักแรมในที่อื่นในระหว่างพรรษา ได้ไม่เกิน ๗ วัน เช่นเพื่อไปพยาบาลภิกษุสามเณรหรือบิดามารดาที่ ป่วยไข้หรือเพื่อบำรุงศรัทธาของทายก.
  24. เอกชน : [เอกกะ] น. บุคคลคนหนึ่ง ๆ. ว. ส่วนบุคคล, ไม่ใช่ ของรัฐ, เช่น โรงพยาบาลเอกชน.
  25. แอบ, แอบ ๆ : ก. ทําโดยไม่ให้ผู้อื่นรู้เห็นโดยอาการต่าง ๆ เช่น แอบทำ; เข้าไปชิด เช่น รถพยาบาลมาให้รถอื่นแอบเข้าข้างทาง. ว. อาการที่ยืน เดิน หรือวางสิ่งใดสิ่งหนึ่งเป็นต้นไม่ให้เกะกะหรือกีดขวางทาง เช่น เดินแอบข้างทาง วางของแอบ ๆ หน่อย.
  26. [1-25]

(0.0625 sec)