Dictionary : English, Thai, Pali. Link : Lexitron, RoyDict, BudDict, ETipitaka, PpmDict, Longdo.
Search: พระพุทธเจ้า , then พรพทธจา, พระพุทธเจ้า .

Budhism Thai-Thai Dict : พระพุทธเจ้า, 333 found, display 1-50
  1. พระพุทธเจ้า : พระผู้ตรัสรู้เองโดยชอบแล้วสอนให้ผู้อื่นรู้ตาม, ท่านผู้รู้ดีรู้ชอบด้วยตนเองก่อนแล้วสอนประชุมชนให้ประพฤติชอบด้วยกาย วาจา ใจ; พระพุทธเจ้า ๗ พระองค์ที่ใกล้กาลปัจจุบันที่สุดและคัมภีร์กล่าวถึงบ่อยๆ คือ พระวิปัสสี พระสิขี พระเวสสภู พระกกุสันธะ พระโกนาคมนะ พระกัสสปะ และพระโคดม; พระพุทธเจ้า ๕ พระองค์แห่งภัทรกัปป์ปัจจุบันนี้ คือ พระกกุสันธะ พระโกนาคมนะ พระกัสสปะ พระโคดม และพระเมตเตยยะ (เรียกกันสามัญว่า พระศรีอาริย์ หรือ พระศรีอารยเมตไตรย); พระพุทธเจ้า ๒๕ พระองค์นับแต่พระองค์แรกที่พระโคตมพุทธเจ้า (พระพุทธเจ้าองค์ปัจจุบัน) ได้ทรงพบและทรงได้รับการพยากรณ์ว่าจะได้สำเร็จเป็นพระพุทธเจ้า (รวม ๒๔ พระองค์) จนถึงพระองค์เองด้วย คือ ๑.พระทีปังกร ๒.พระโกณฑัญญะ ๓.พระมังคละ ๔.พระสุมนะ ๕.พระเรวตะ ๖.พระโสภิตะ ๗.พระอโนมทัสสี ๘.พระปทุมะ ๙.พระนารทะ ๑๐.พระปทุมุตตระ ๑๑.พระสุเมธะ ๑๒.พระสุชาตะ ๑๓.พระปิยทัสสี ๑๔.พระอัตถทัสสี ๑๕.พระธัมมทัสสี ๑๖.พระสิทธัตถะ ๑๗.พระติสสะ ๑๘.พระปุสสะ ๑๙.พระวิปัสสี ๒๐.พระสิขี ๒๑.พระเวสสภู ๒๒.พระกกุสันธะ ๒๓.พระโกนาคมน์ ๒๔.พระกัสสปะ ๒๕.พระโคตมะ (เรื่องมาในคัมภีร์พุทธวงส์ แห่งขุททกนิกาย พระสุตตันตปิฎก); ดู พุทธะ ด้วย
  2. มเหสี : 1.ผู้แสวงหาคุณอันยิ่งใหญ่, ฤษีใหญ๋, พระพุทธเจ้า 2.ชายาของพระเจ้าแผ่นดิน
  3. สัมพุทธะ : ท่านผู้ตรัสรู้เอง, พระพุทธเจ้า
  4. อาการที่พระพุทธเจ้าทรงสั่งสอน : มี ๓ อย่างคือ ๑) ทรงรู้ยิ่งเห็นจริงเองแล้ว จึงทรงสั่งสอนผู้อื่น เพื่อให้รู้ยิ่งเห็นจริงตามในธรรมที่ควรรู้ควรเห็น ๒) ทรงสั่งสอนมีเหตุผลซึ่งผู้ฟังอาจตรองตามให้เห็นจริงได้ ไม่เลื่อนลอย ๓) ทรงสั่งสอนเป็นอัศจรรย์ ทำให้ผู้ฟังยอมรับ และนำไปปฏิบัติตาม ได้รับผลจริง บังเกิดประโยชน์สมควรแก่การปฏิบัติ
  5. กัสสปะ : 1.พระนามพระพุทธเจ้าพระองค์หนึ่งในอดีต ดู พระพุทธเจ้า๕2.ชื่อของพระมหากัสสปเถระเมื่อเรียกตามโคตร ท่านมีชื่ออีกอย่างหนึ่งว่า ปิปผลิ หรือ ปิปผลิมาณพ 3.หมายถึงกัสสป ๓ พี่น้อง คยากัสสปะ เป็นนักบวชประเภทชฎิล ถือลัทธิบูชาไฟ เป็นที่เคารพนับถือของชาวราชคฤห์ ภายหลังได้เป็นพระอรหันต์พร้อมกันทั้ง ๓ พี่น้องและบริวารหนึ่งพัน ด้วยได้ฟังเทศนาอาทิตตปริยายสูตร จากพระพุทธเจ้า
  6. กุมมาส : ขนมสด คือขนมที่เก็บไว้นานเกินไปจะบูด เช่น ขนมด้วง ขนมครก ขนมถ้วย ขนมตาล เป็นต้น พระพุทธเจ้า หลังจากเลิกบำเพ็ญทุกรกิริยาก็เสวยข้าวสุกและกุมมาส
  7. โกนาคมน์ : พระนามพระพุทธเจ้าพระองค์หนึ่งในอดีต ดู พระพุทธเจ้า
  8. ไตรรัตน์ : แก้ว ๓ ประการ หมายถึง พระพุทธเจ้า พระธรรม พระสงฆ์
  9. ไตรสรณคมน์ : การถึงสรณะ ๓, การถึงรัตนะ ๓ คือ พระพุทธเจ้า พระธรรม พระสงฆ์ เป็นที่พึ่ง
  10. ไตรสรณะ : ที่พึ่ง ๓ คือ พระพุทธเจ้า พระธรรม พระสงฆ์
  11. เทพ : เทพเจ้า, ชาวสรรค์, เทวดา; ในทางพระศาสนา ท่านจัดเป็น ๓ คือ ๑.สมมติเทพ เทวดาโดยสมมติ = เทวดาในสวรรค์และพรหมทั้งหลาย ๒.อุปปัติเทพ เทวดาโดยกำเนิด = เทวดาในสวรรค์และพรหมทั้งหลาย ๓.วิสุทธิเทพ เทวดาโดยความบริสุทธิ์ = พระพุทธเจ้า พระปัจเจกพุทธเจ้า และพระอรหันต์ทั้งหลาย
  12. บรมศาสดา : ศาสดาที่ยอดเยี่ยม, พระผู้เป็นครูที่สูงสุด, พระบรมครู หมายถึง พระพุทธเจ้า
  13. พุทธเจ้า : ดู พระพุทธเจ้า และ พุทธะ
  14. โลกนาถ : ผู้เป็นที่พึ่งของโลก หมายถึง พระพุทธเจ้า
  15. วิปัสสี : พระนามของพระพุทธเจ้าพระองค์หนึ่งในอดีต ดู พระพุทธเจ้า
  16. เวสสภู : พระนามของพระพุทธเจ้าพระองค์หนึ่งในอดีต ดู พระพุทธเจ้า
  17. ศรีอารยเมตไตรย : พระนามของพระพุทธเจ้าพระองค์หนึ่ง ซึ่งจะอุบัติขึ้นในภายหน้า หลังจากสิ้นศาสนาพระโคดมแล้ว ในคราวที่มนุษย์มีอายุยืน ๘๐,๐๐๐ ปี นับเป็นพระพุทธเจ้าพระองค์ที่ ๕ แห่งภัทรกัปนี้ ดู พระพุทธเจ้า
  18. สิขี : พระนามของพระพุทธเจ้าพระองค์หนึ่งในอดีต, ดู พระพุทธเจ้า
  19. อรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า : พระอรหันต์ผู้ตรัสรู้ชอบด้วยพระองค์เอง หมายถึง พระพุทธเจ้า
  20. คุณของพระรัตนตรัย : คุณของรัตนะ ๓ คือ ๑.พระพุทธเจ้า รู้ดีรู้ชอบด้วยพระองค์เองก่อนแล้วทรงสอนผู้อื่นให้รู้ตามด้วย ๒.พระธรรม เป็นหลักแห่งความจริงและความดีงาม ย่อมรักษาผู้ปฏิบัติตามไม่ให้ตกไปในที่ชั่ว ๓.พระสงฆ์ ปฏิบัติชอบตามคำสอนของพระพุทธเจ้าแล้ว สอนผู้อื่นให้กระทำตามด้วย
  21. ถูปารหบุคคล : บุคคลผู้ควรแก่สถูป คือ บุคคลที่ควรนำกระดูกบรรจุสถูปไว้บูชา มี ๔ คือ ๑.พระพุทธเจ้า ๒.พระปัจเจกพุทธเจ้า ๓.พระอรหันตสาวก ๔.พระเจ้าจักรพรรดิ
  22. พุทธะ : ท่านผู้ตรัสรู้แล้ว, ผู้รู้อริยสัจ ๔ อย่างถ่องแท้ ตามอรรถกถาท่านแบ่งเป็น ๓ คือ ๑.พระพุทธเจ้า ท่านผู้ตรัสรู้เองและสอนให้ผู้อื่นรู้ตาม (บางทีเรียกพระสัมมาสัมพุทธะ) ๒.พระปัจเจกพุทธะ ท่านผู้ตรัสรู้เองจำเพาะผู้เดียว ๓.อนุพุทธะ ท่านผู้ตรัสรู้ตามพระพุทธเจ้า (เรียกอีกอย่างว่า สาวกพุทธะ); บางแห่งจัดเป็น ๔ คือ สัพพัญญูพุทธะ ปัจเจกพุทธะ จตุสัจจพุทธะ (=พระอรหันต์) และ สุตพุทธะ (=ผู้เป็นพหูสูต)
  23. ปัจเจกพุทธะ : พระพุทธเจ้าประเภทหนึ่งซึ่งตรัสรู้เฉพาะตัว มิได้สั่งสอนผู้อื่น ดู พุทธะ
  24. สุคตประมาณ : ขนาดหรือประมาณของพระสุคต คือ พระพุทธเจ้า, เกณฑ์หรือมาตราวัดของพระสุคต
  25. กกุธานที : แม่น้ำที่พระอานนท์ทูลเชิญเสด็จพระพุทธเจ้าให้ไปเสวยและสรงชำระพระกาย ในระหว่างเดินทางไปเมืองกุสินารา ในวันปรินิพพาน
  26. กฐิน : ตามศัพท์แปลว่า ไม้สะดึง คือไม้แบบสำหรับขึงเพื่อตัดเย็บจีวร; ในทางพระวินัยใช้เป็นชื่อเรียกสังฆกรรมอย่างหนึ่งที่พระพุทธเจ้าทรงอนุญาตแก่สงฆ์ผู้จำพรรษาแล้ว เพื่อแสดงออกซึ่งความสามัคคีของภิกษุที่ได้จำพรรษาอยู่ร่วมกัน โดยให้พวกเธอพร้อมใจกันยกมอบผ้าผืนหนึ่งที่เกิดขึ้นแก่สงฆ์ ให้แก่ภิกษุรูปใดรูปหนึ่งในหมู่พวกเธอ ที่เป็นผู้มีคุณสมบัติสมควร แล้วภิกษุรูปนั้นนำผ้าที่ได้รับมอบไปทำเป็นจีวร (จะทำเป็นอันตรวาสก หรืออุตตราสงค์ หรือสังฆาฏิก็ได้ และพวกเธอทั้งหมดจะต้องช่วยภิกษุนั้นทำ) ครั้นทำเสร็จแล้ว ภิกษุรูปนั้นแจ้งให้ที่ประชุมสงฆ์ซึ่งได้มอบผ้าแก่เธอนั้นทราบเพื่ออนุโมทนา เมื่อสงฆ์คือที่ประชุมแห่งภิกษุเหล่านั้นอนุโมทนาแล้ว ก็ทำให้พวกเธอได้สิทธิพิเศษที่จะขยายเขตทำจีวรให้ยาวออกไป (เขตทำจีวรตามปกติ ถึงกลางเดือน ๑๒ ขยายต่อออกไปถึงกลางเดือน ๔); ผ้าที่สงฆ์ยกมอบให้แก่ภิกษุรูปหนึ่งนั้น เรียกว่า ผ้ากฐิน (กฐินทุสสะ); สงฆ์ผู้ประกอบกฐินกรรมต้องมีจำนวนภิกษุอย่างน้อย ๕ รูป; ระยะเวลาที่พระพุทธเจ้าทรงอนุญาตให้ประกอบกฐินกรรมได้ มีเพียง ๑ เดือน ต่อจากสิ้นสุดการจำพรรษา เรียกว่า เขตกฐิน คือตั้งแต่แรม ๑ ค่ำ เดือน ๑๑ ถึงขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๑๒
  27. กตัญญูกตเวที : ผู้รู้อุปการะที่ท่านทำแล้วและตอบแทน แยกออกเป็น ๒ คือ กตัญญู รู้คุณท่าน กตเวที ตอบแทนหรือสนองคุณท่าน; ความกตัญญูกตเวทีว่าโดยขอบเขต แยกได้เป็น ๒ ระดับ คือ กตัญญูกตเวทีต่อบุคคลผู้มีคุณความดีหรืออุปการะต่อตนเป็นส่วนตัว อย่างหนึ่ง กตัญญูกตเวทีต่อบุคคลผู้ได้บำเพ็ญคุณประโยชน์หรือมีคุณความดีเกื้อกูลแก่ส่วนรวม เช่นที่พระเจ้าปเสนทิโกศลทรงแสดงความกตัญญูกตเวทีต่อพระพุทธเจ้าโดยฐานที่ได้ทรงประกาศธรรมยังหมู่ชนให้ตั้งอยู่ในกุศลกัลยาณธรรม เป็นต้น อย่างหนึ่ง (ข้อ ๒ ในบุคคลหาได้ยาก ๒) - one who is thankful for benefits received and reciprocates them.
  28. กปิสีสะ : ไม้ที่ทำเป็นรูปหัวลิง ในวันที่พระพุทธเจ้าจะปรินิพพาน พระอานนทเถระยืนเหนี่ยวไม้นี้ร้องไห้ เสียใจว่าตนยังไม่สำเร็จพระอรหัตพระพุทธเจ้าก็จักปรินิพพานเสียแล้ว
  29. กัจจายนปุโรหิต : ปุโรหิตชื่อกัจจายนะ เป็นปุโรหิตของพระเจ้าจัณฑปัชโชติ กรุงอุชเชนี ได้ฟังพระธรรมเทศนาของพระพุทธเจ้า บรรลุพระอรหัตแล้วขออุปสมบท มีชื่อในพระศาสนา ว่าพระมหากัจจายนะ พระพุทธเจ้าทรงยกย่องว่าเป็นเอตทัคคะในทางอธิบายความของคำย่อให้พิสดาร
  30. กัณฑกสามเณร : ชื่อสามเณรรูปหนึ่งในครั้งพุทธกาล ผู้กล่าวตู่พระธรรมเป็นต้นเหตุให้พระพุทธเจ้าทรงบัญญัติสิกขาบทที่ ๑๐ แห่งสัปปาณกวรรคในปาจิตติยกัณฑ์ และทรงให้สงฆ์นาสนะเธอเสีย เขียนเป็น กัณฏกะ ก็มี
  31. กัปปิยะ : สมควร, ควรแก่สมณะบริโภค, ของที่สมควรแก่ภิกษุบริโภคใช้สอย คือพระพุทธเจ้าอนุญาตให้ภิกษุให้หรือฉันได้ เช่น ข้าวสุก จีวร ร่ม ยาแดง เป็นกัปปิยะ แต่สุรา เสื้อ กางเกง หมวก น้ำอบ ไม่เป็นกัปปิยะ สิ่งที่ไม่เป็นกัปปิยะ เรียกว่า อกัปปิยะ
  32. กัลลวาลมุตตคาม : ชื่อหมู่บ้าน อยู่ในแคว้นมคธ พระโมคคัลลานะอุปสมบทได้ ๗ วัน ไปทำความเพียรจนอ่อนใจ นั่งโงกงวงอยู่ พระพุทธเจ้าเสด็จไปเทศนาโปรด จนได้สำเร็จพระอรหัตที่หมู่บ้านนี้
  33. กาลทาน : ทานที่ให้ตามกาล, ทานที่ให้ได้เป็นครั้งคราวภายในระยะเวลาที่กำหนด ไม่ใช่ให้ได้ตลอดเวลา เช่น การถวายผ้ากฐิน การถวายผ้าอาบน้ำฝน เป็นต้น ซึ่งทายกจะถวายได้ตามกำหนดเวลาที่พระพุทธเจ้าทรงอนุญาตเท่านั้น ก่อนหรือเลยเขตกำหนดไปทำไม่ได้
  34. กาลามสูตร : สูตรหนึ่งในคัมภีร์ติกนิบาต อังคุตตรนิกาย พระพุทธเจ้าตรัสสอนชนชาวกาลามะแห่งเกสปุตตนิคมใน แคว้นโกศล ไม่ให้เชื่อถืองมงายไร้เหตุผล ตามหลัก ๑๐ ข้อ คือ อย่าปลงใจเชื่อ ด้วยการฟังตามกันมา, ด้วยการถือสืบๆ กันมา, ด้วยการเล่าลือ, ด้วยการอ้างตำราหรือคัมภีร์, ด้วยตรรก, ด้วยการอนุมาน, ด้วยการคิดตรองตามแนวเหตุผล, เพราะเข้ากันได้กับทฤษฎีของตน, เพราะมองเห็นรูปลักษณะน่าเชื่อ, เพราะนับถือว่าท่านสมณะนี้ เป็นครูของเรา; ต่อเมื่อใด พิจารณาเห็นด้วยปัญญาว่า ธรรมเหล่านั้นเป็นอกุศล เป็นกุศล มีโทษ ไม่มีโทษ เป็นต้นแล้ว จึงควรละหรือถือปฏิบัติตามนั้น เรียกอีกอย่างว่าเกสปุตติยสูตร หรือเกสปุตตสูตร.
  35. กาฬสิลา : สถานที่สำคัญแห่งหนึ่งในแคว้นมคธ อยู่ข้างภูเขาอิสิคิลิ พระนครราชคฤห์ ณ ที่นี้พระพุทธเจ้าเคยทำนิมิตโอภาสแก่พระอานนท์และเป็นที่ที่พระโมคคัลลานะ ถูกคนร้ายซึ่งรับจ้างจากพวกเดียรถีย์ไปลอบฆ่าด้วยการทุบตีจนร่างแหลก
  36. กุณฑธานะ : พระเถระผู้เป็นมหาสาวกองค์หนึ่ง เป็นบุตรพราหมณ์ในพระนครสาวัตถี เรียนจบไตรเพทตามลิทธิพราหมณ์ ต่อมา เมื่อสูงอายุแล้ว ได้ฟังพระธรรมเทศนาของพระพุทธเจ้า เกิดความเลื่อมใสจึงบวชในพระพุทธศาสนา ตั้งแต่นั้นมา ก็มีรูปหญิงคนหนึ่งติดตามตัวตลอดเวลาจนกระทั่งได้บรรลุพระอรหัต รูปนั้นจึงหายไป ท่านได้รับยกย่อง จากพระศาสดาว่า เป็นเอตทัคคะในการถือเอาสลากเป็นปฐม
  37. กุสินารา : เมืองหลวงแห่งหนึ่งของแคว้นมัลละ (อีกแห่งหนึ่งคือ ปาวา) สมัยพุทธกาล กุสินารา เป็นเมืองเล็กๆ มีมัลลกษัตริย์เป็นผู้ปกครอง พระพุทธเจ้าเสด็จดับขันธปรินิพพานที่เมืองนี้
  38. กูฏทันตสูตร : สูตรหนึ่งในคัมภีร์ทีฆนิกายสีลขันธวรรค สุตตันตปิฎก พระพุทธเจ้าทรงแสดงแก่กูฏทันตพราหมณ์ ผู้กำลังเตรียมพิธีบูชายัญ ว่าด้วยวิธีบูชายัญตามความหมายในแบบของพระพุทธศาสนา ซึ่งไม่ต้องมีการฆ่าฟันเบียดเบียนสัตว์ มีแต่การเสียสละทำทาน และการทำความดีอื่นๆ เริ่มด้วยการตระเตรียมพิธีโดยจัดการบ้านเมืองให้สงบเรียบร้อยก่อนตามธรรมวิธี มีการส่งเสริมกสิกรรม พาณิชยกรรม สัมมาชีพ และบำรุงส่งเสริมข้าราชการที่ดี ซึ่งจะทำให้ประชาชนขวนขวาย ขะมักเขม้นในหน้าที่การงานของตนๆ จนบ้านเมืองมีความเกษมปลอดภัย พลเมืองมีความสุข ราชทรัพย์บริบูรณ์ดีแล้ว จึงกระทำพิธีบูชายัญ ด้วยการบริจาคทรัพย์ทำทานเป็นต้น ผลของพระธรรมเทศนานี้ คือ กูฏทันตพราหมณ์ล้มเลิกพิธีบูชายัญของตน ปล่อยสัตว์ทั้งหลาย และประกาศตนเป็นอุบาสก
  39. เกตุมาลา : รัศมีซึ่งเปล่งอยู่เหนือพระเศียรของพระพุทธเจ้า
  40. โกณฑัญญะ : พราหมณ์หนุ่มที่สุดในบรรดาพราหมณ์ ๘ คน ผู้ทำนายลักษณะของพระสิทธัตถกุมาร ต่อมาออกบวชตามปฏิบัติพระสิทธัตถะ ขณะบำเพ็ญทุกรกิริยา เป็นหัวหน้าพระปัญจวัคคีย์ ฟังพระธรรมเทศนาธัมมจักกัปปวัตตนสูตรแล้วได้ดวงตาเห็นธรรม ขอบรรพชาอุปสมบทเป็นปฐมสาวกของพระพุทธเจ้า มีชื่อเรียกกันภายหลังว่า พระอัญญาโกณฑัญญะ
  41. โกสัมพิกขันธกะ : ชื่อขันธกะที่ ๑๐ (สุดท้าย) แห่งคัมภีร์มหาวรรค วินัยปิฎกว่าด้วยเรื่องภิกษุชาวเมืองโกสัมพีทะเลาะวิวาทกัน จนเป็นเหตุให้พระพุทธเจ้าเสด็จไปจำพรรษาในป่ารักขิตวัน ตำบลปาริไลยกะ ในที่สุด พระภิกษุเหล่านั้น ถูกมหาชนบีบคั้นให้ต้องกลับปรองดองกัน บังเกิดสังฆสามัคคีอีกครั้งหนึ่ง
  42. เขมา : พระเถรีมหาสาวิการูปหนึ่งประสูติในราชตระกูลแห่งสาคลนครในมัททรัฐ ต่อมาได้เป็นพระอัครมเหสีของพระเจ้าพิมพิสาร มีความมัวเมาในรูปสมบัติของตน ได้ฟังพระพุทธเจ้าแสดงพระธรรมเทศนาเรื่องราคะ และการกำจัดราคะ พอจบพระธรรมเทศนาก็ได้บรรลุพระอรหัต แล้วบวชเป็นภิกษุณี ได้รับยกย่องว่าเป็นเอตทัคคะในทางมีปัญญามาก และเป็นอัครสาวิกาฝ่ายขวา
  43. คยา : จังหวัดที่พระพุทธเจ้าเคยเสด็จเมื่อครั้งโปรดนักบวชชฎิล และได้ทรงแสดงพระธรรมเทศนาอาทิตตปริยายสูตรที่ตำบลคยาสีสะในจังหวัดนี้ ปัจจุบันตัวเมืองคยาอยู่ห่างจากพุทธคยาสถานที่ตรัสรู้พระพุทธเจ้าประมาณ ๗ ไมล์
  44. คยาสีสะ : ชื่อตำบล ซึ่งเป็นเนินเขาแห่งหนึ่งในจังหวัดคยา พระพุทธเจ้าเทศนาอาทิตตปริยายสูตร โปรดภิกษุสงฆ์ปุราณชฎิลทั้งหมดให้สำเร็จพระอรหัตที่ตำบลนี้
  45. คันธกุฎี : กุฎีอบกลิ่นหอม, ชื่อเรียกพระกุฎีที่ประทับของพระพุทธเจ้า เช่น พระคันธกุฎีที่อนาถบิณฑิกเศรษฐีสร้างถวายที่พระเชตวัน ในนครสาวัตถี เป็นต้น พระกุฎีที่ประทับของพระพุทธเจ้าพระองค์อื่นๆ ก็เรียกว่าคันธกุฎีเช่นเดียวกัน (เช่น ขุ.อป.๓๒/๑๘/๘๕; ๑๗๒/๒๗๒; ๓๓/๑๓๑/๒๒๐) อย่างไรก็ตาม คำเรียกที่ประทับของพระพุทธเจ้าพระองค์ปัจจุบันว่าคันธกุฎีนั้น มีใช้แต่ในคัมภีร์ชั้นอรรถกถาลงมา (ไม่มีในพระไตรปิฎก)
  46. คารวะ : ความเคารพ, ความเอื้อเฟือ, ความใส่ใจมองเห็นความสำคัญที่จะต้องปฏิบัติต่อสิ่งนั้นๆ ให้ถูกต้องเหมาะสม มี ๖ อย่างคือ ๑.พุทฺธคารวตา ความเคารพในพระพุทธเจ้า ๒.ธมฺมคารวตา ความเคารพในพระธรรม ๓.สงฺฆคารวตา ความเคารพในพระสงฆ์ ๔.สิกฺขาคารวตา ความเคารพในการศึกษา ๕.อปฺปมาทคารวตา ความเคารพในความไม่ประมาท ๖.ปฏิสนฺถารคารวตา ความเคารพในปฏิสันถาร คือ การต้อนรับปราศรัย
  47. โคดม : ชื่อตระกูลของพระพุทธเจ้า มหาชนเรียกพระพุทธเจ้าตามพระโคตรว่า พระโคดม พระโคตมะ หรือ พระสมณโคดม
  48. โคตมกเจดีย์ : ชื่อเจดียสถานแห่งหนึ่ง อยู่ทางทิศใต้ของเมืองเวสาลี เป็นที่ที่พระพุทธเจ้าเคยประทับหลายครั้ง และเคยทรงทำนิมิตโอภาสแก่พระอานนท์
  49. โคตมโคตร : ตระกูลโคตมะ เป็นชื่อตระกูลของพระพุทธเจ้า
  50. โคตมนิโครธ : ตำบลที่พระพุทธเจ้าเคยทำนิมิตโอภาสแก่พระอานนท์ อยู่ที่พระนครราชคฤห์
  51. [1-50] | 51-100 | 101-150 | 151-200 | 201-250 | 251-300 | 301-333

(0.0839 sec)