Dictionary : English, Thai, Pali. Link : Lexitron, RoyDict, BudDict, ETipitaka, PpmDict, Longdo.
Search: พระยา .

Royal Institute Thai-Thai Dict : พระยา, 31 found, display 1-31
  1. พระยา : น. บรรดาศักดิ์ข้าราชการผู้ใหญ่สูงกว่าพระ ตํ่ากว่าเจ้าพระยา เช่น พระยาอนุมานราชธน.
  2. พระยาโต๊ะทอง : น. ข้าราชการที่ได้รับพระราชทานบรรดาศักดิ์เป็น พระยา และได้รับพระราชทานโต๊ะทอง (พานก้นตื้น) เป็นเครื่อง สำหรับยศ, ผู้ที่ได้รับพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ตระกูล จุลจอมเกล้า ชั้นตติยจุลจอมเกล้าวิเศษ มีบรรดาศักดิ์เสมอตำแหน่ง ที่ได้รับโต๊ะทอง.
  3. พระยาพานทอง : น. ข้าราชการที่ได้รับพระราชทานบรรดาศักดิ์เป็น พระยา และได้รับพระราชทานพานทอง เป็นเครื่องสำหรับยศ, ผู้ที่ ได้รับพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ตระกูลจุลจอมเกล้าชั้น ทุติยจุลจอมเกล้าขึ้นไป มีบรรดาศักดิ์เสมอตำแหน่งที่ได้รับพานทอง.
  4. พระยาเทครัว : (ปาก) น. ชายที่ได้หญิงเป็นภรรยาทั้งแม่ทั้งลูกหรือ ทั้งพี่ทั้งน้อง.
  5. พระยาวัน : น. วันขึ้นจุลศักราชใหม่หรือวันเถลิงศก ตรงกับวันที่ ๑๕ เมษายน.
  6. ท้าวพญา, ท้าวพระยา : (กลอน) น. กษัตริย์.
  7. กรม ๓ : [กฺรม] น. (ก) หมู่เหล่าอันเป็นที่รวมกําลังไพร่พลของ แผ่นดินตามลักษณะปกครองสมัยโบราณ เพื่อประโยชน์ ในเวลาเกิดศึกสงคราม จะได้เรียกระดมคนได้ทันท่วงที บรรดาชายฉกรรจ์ต้องเข้าอยู่ในกรมหรือในหมู่เหล่าใด เหล่าหนึ่ง เรียกว่า สังกัดกรม มีหัวหน้าควบคุมเป็น เจ้ากรม ปลัดกรม ตามลําดับ ซึ่งเมื่อพระเจ้าแผ่นดินทรงตั้งให้ เจ้านายครอบครองเป็นองค์ ๆ เรียกว่า ตั้งกรม แล้ว เจ้านายพระองค์นั้นก็ ทรงกรม เป็น เจ้าต่างกรม เพราะมีกรม ขึ้นต่างออกไปเป็นกรมหนึ่ง มีพระอิสริยศักดิ์ตั้งเจ้ากรม ปลัดกรม เป็น หมื่น ขุน หลวง พระ พระยา ได้ และเรียกชื่อกรมนั้น ๆ ตามศักดิ์เจ้ากรมว่า กรมหมื่น กรมขุน กรมหลวง กรมพระ กรมสมเด็จพระ และ กรมพระยา หรือ กรมสมเด็จ เมื่อจะทรงกรม สูงขึ้นกว่าเดิม ก็โปรดให้ เลื่อนกรม ขึ้น โดยเจ้ากรมมีศักดิ์เลื่อนขึ้น เช่นจากหมื่นเป็นขุน, มาในปัจจุบันชื่อกรมเหล่านี้มีความหมาย กลายเป็นพระอิสริยยศและพระนามเจ้านายเท่านั้น. (ข) แผนกใหญ่ในราชการ ตามลักษณะปกครองในสมัยโบราณ ซึ่งในปัจจุบัน เรียกว่า กระทรวง เช่น กรมพระกลาโหม คือ กรมฝ่ายทหาร เป็นกระทรวงกลาโหม, กรมมหาดไทย คือ กรมฝ่ายพลเรือน เป็น กระทรวงมหาดไทย, กรมเมือง หรือ กรมนครบาล รวมอยู่ในกระทรวงมหาดไทย, กรมวัง แยกเป็นกระทรวงวัง และกระทรวงยุติธรรม (ปัจจุบันกระทรวงวังไม่มีแล้ว), กรมพระคลัง แยกเป็น กระทรวงการคลัง และกระทรวงการต่างประเทศ, กรมนา เป็นกระทรวงเกษตราธิการ (ปัจจุบัน คือ กระทรวงเกษตร และสหกรณ์). (ค) (กฎ) ส่วนราชการในราชการบริหารส่วนกลาง รองจากกระทรวงและทบวง.
  8. บรรดาศักดิ์ : [บันดา-] น. ฐานันดรศักดิ์ที่พระราชทานแก่ข้าราชการหรือบุคคล ทั่วไป แบ่งออกเป็น เจ้าพระยา พระยา พระ หลวง ขุน หมื่น พัน และทนาย โดยมีราชทินนามต่อท้าย เช่น เจ้าพระยายมราช พระยาพลเทพ.
  9. ปากน้ำ : น. บริเวณที่แควไหลลงมาบรรจบลำน้ำใหญ่ เช่น ปากน้ำโพ หรือบริเวณที่ลำน้ำใหญ่ไหลลงสู่ทะเลหรือทะเลสาบ เช่น ปากน้ำเจ้า พระยา ปากน้ำบางปะกง, บางทีก็ใช้เรียกทางเข้าอ่าวจากมหาสมุทร หรือทะเลสู่ฝั่งด้วย.
  10. กฎ : [กด] (โบ) ก. จดไว้เป็นหลักฐาน เช่น ให้นายยกกระบัตรกฎปาก หลากคําไว้. (กฎหมายอายัดทาส), ตรา เช่น ตรัสแก่ขุนศรีภูริปรีชา ให้กฎเป็นตําราไว้. (อัยการเบ็ดเสร็จ), ''พระมหาธรรมราชาก็ตรัส ให้กฎลงมาให้เอาพระยารามเป็นพระยาพิชัย.'' (พงศ. ๑๑๓๖). (เทียบ ข. กต่ ว่า จด). น. คําบังคับ เช่น จึ่งสมเด็จพระมหินทราธิราช เจ้าแผ่นดินก็ตรัสให้ทําตามกฎให้ลงมานั้นทุกประการ. (พ.ศ. ๑๑๓๖); (กฎ) ข้อกําหนดหรือข้อบัญญัติที่บังคับให้ต้องมีการปฏิบัติตาม เช่น กฎกระทรวง กฎหมาย; (วิทยา) ข้อกําหนดในเรื่องธรรมชาติ ตามที่ค้นคว้าได้. (อ. law).
  11. กระหย่อน : (โบ) ก. ขย้อน คือ อาการขยับขึ้นขยับลง เช่น พระยานั่งอยู่ แลกระหย่อนองค์โลดขึ้นทั้งนั้นก็ดี ขึ้นสูงได้ ๑๘ ศอก. (ไตรภูมิ; สรรพสิทธิ์; พงศ. เหนือ), กระย่อน ก็ว่า.
  12. กล่อม ๓ : [กฺล่อม] น. ชื่อเพลงเครื่องปี่พาทย์ ทําตอนพระเข้าหานาง ซึ่งเรียกว่า โลม หรือตอนขับบําเรอ เรียกว่า กล่อมมโหรี อันใช้เป็นเครื่องสายประสมในภายหลัง และมีชื่อเป็นชนิดต่าง ๆ คือ กล่อมช้าง กล่อมพระยา กล่อมนารี และกล่อมในพิธีพราหมณ์ เรียกว่า ช้าหงส์ หรือ ช้าเจ้าหงส์, ชาวบ้านมักเรียกว่า กล่อมหงส์. ก. ร้องเป็นทํานองเพื่อเล้าโลมใจหรือให้เพลิน, โดยปริยายหมาย ความว่า พูดให้น้อมใจตาม หรือ ทําให้เพลิดเพลิน เช่น กล่อมใจ กล่อมอารมณ์.
  13. กำตาก : น. สิทธิพิเศษในค่าภาษีอากรขนอนตลาดที่พระเจ้าแผ่นดิน ยกให้แก่พระยาแรกนาขวัญในระหว่างพิธี ๓ วันในครั้งโบราณ.
  14. โขยด : [ขะโหฺยด] ว. วิ่งอย่างกระโดด เช่น ทั้งพระยากาสรตัวกล้าก็ลับเขา โขยดโลดลองเชิง. (ม. ร่ายยาว กุมาร).
  15. คลี : [คฺลี] (โบ) น. ลูกกลม เช่น เล่นคลี โยนคลี, (โบ) การเล่นแข่งขันอย่างหนึ่ง ผู้เล่นขี่ม้าตีลูกกลมด้วยไม้ เช่น ให้พระยาสามนต์คนดี มาตีคลีพนันในสนาม. (สังข์ทอง); (ถิ่น-อีสาน) การเล่นแข่งขันอย่างหนึ่งแต่ละฝ่ายใช้ไม้ตีลูกกลม ซึ่งทำด้วยไม้ขนาดลูกมะนาวหรือโตกว่าเล็กน้อย ฝ่ายที่ตีลูกไปสู่ที่หมาย ทางฝ่ายของตนได้ก่อนเป็นฝ่ายชนะ; การเล่นลูกกลมด้วยลีลาเยื้องกรายเพื่อ บูชาเทพเจ้า เช่น นางเริ่มเดาะคลีบูชาพระศรีเทวี. (กามนิต). (เทียบ ส. คุฑ, คุล, โคล; ป. คุฬ ว่า ลูกกลม).
  16. คำพ้องเสียง : น. คำที่ออกเสียงเหมือนกันแต่เขียนต่างกันและมี ความหมายต่างกัน เช่น ใส-ไส-ไสย กาน-กาล-การ-การณ์, (โบ) ในหนังสือแบบเรียนภาษาไทยของพระยาศรีสุนทรโวหาร (น้อย อาจารยางกูร) เรียกคำพ้องเสียงว่า ไวพจน์.
  17. คุณหญิง : น. คํานําหน้าชื่อสตรีที่สมรสแล้วและได้รับพระราชทาน เครื่องราชอิสริยาภรณ์ตั้งแต่ชั้นจตุตถจุลจอมเกล้าถึงชั้นทุติยจุลจอมเกล้า; (โบ) คำนำหน้าชื่อสตรีที่เป็นเอกภรรยาของพระยา; (ปาก) คำที่ใช้เรียก หม่อมราชวงศ์ที่เป็นหญิง.
  18. จังเก : น. สะเอว เช่น มือนวดแนบจังเก แกะพลิ้ว. (โคลงพระยาตรัง). (ข. จงฺเกะ).
  19. เจ้าคุณ : (โบ) บรรดาศักดิ์ฝ่ายในที่ทรงแต่งตั้ง; (โบ; ปาก) คำเรียกผู้มี บรรดาศักดิ์ตั้งแต่ชั้นพระยาขึ้นไป; (ปาก) คำเรียกพระภิกษุที่เป็น พระราชาคณะ.
  20. เจ้าพระยา : น. บรรดาศักดิ์ข้าราชการผู้ใหญ่ สูงกว่าพระยา ต่ำกว่าสมเด็จ เจ้าพระยาเช่น เจ้าพระยาธรรมศักดิ์มนตรี.
  21. ถึงแก่อนิจกรรม : ก. ตาย (ใช้แก่พระยาพานทองหรือเทียบเท่า).
  22. แถก : ก. ถ่าง, กาง, เช่น ปลาแถกเหงือก; เสือกไป, ไถไป, ดิ้นรน, เช่น บพิตรพณเกล้า ข้าเห็นพราหมณ์เถ้าแถกมาถึง ชาวกาลึงคราษฎร์ฦๅ. (ม. คำหลวงกุมาร); ถาก, ปาด, เช่น นกเอ๋ยนกแสก จับจ้องร้องแจ๊ก เพียงแถกขวัญ. (กลอนดอกสร้อยรำพึงในป่าช้า พระยาอุปกิตศิลปสาร); กัดถลาก ๆ เช่น หมาแถกเอา; แทะด้วยหน้าฟัน เช่น หมาแถกกะลา มะพร้าว; โกนผมโดยใช้มีดกดลงอย่างแรงและลากไปเป็นทางยาว อย่างไม่ประณีตในคําว่า แถกผม; กระเสือกกระสน เช่น ปลาช่อนก็ดิ้น แถกโผล่ขึ้นมาอาศัยอยู่ในหนองน้ำนั้นต่อไปใหม่. (สารคดีชีวิตสัตว์ ของนายแพทย์บุญส่ง เลขะกุล).
  23. เทครัว : ก. ยกครอบครัวไป, กวาดครอบครัวไป; โดยปริยายเรียก ชายที่ได้หญิงเป็นภรรยาทั้งแม่ทั้งลูกหรือทั้งพี่ทั้งน้องว่า พระยาเทครัว.
  24. นาง ๑ : น. คําประกอบหน้าคําเพื่อแสดงว่าเป็นเพศหญิง เช่น นางฟ้า นางบําเรอ นางละคร นางพระกํานัล; คําแทนชื่อหญิง เช่น นางก็ร้อยพวงมาลัย; (กฎ) คํานําหน้าชื่อหญิงผู้มีสามีแล้ว, คํานําหน้าชื่อภรรยาที่เรียกตามราช ทินนามของสามีที่มีบรรดาศักดิ์ตํ่ากว่าพระยาลงมา; คำเรียกสัตว์ตัวเมีย โดยสุภาพ เช่น นางช้าง นางม้า; ชื่อหนึ่งของดาวฤกษ์เรวดี มี ๑๖ ดวง, ดาวปลาตะเพียน ก็เรียก.
  25. บ่าวขุน ๑ : น. ชื่อวิธีนุ่งผ้า นุ่งห้อยชายข้างหนึ่งอย่างพระยายืนชิงช้านุ่ง. (สิบสองเดือน).
  26. พระ : [พฺระ] น. คำใช้แทนชื่อเรียกภิกษุสงฆ์ เช่น วัดนี้มีพระกี่องค์ พระลง โบสถ์, พระพุทธรูป เช่น ชักพระ ไหว้พระในโบสถ์, พระพุทธเจ้า หรือ เนื่องด้วยพระพุทธเจ้า เช่น เมืองพระ คําพระ พระมาตรัส, ชื่อวันประชุมถือศีลฟังธรรมในพระพุทธศาสนา เดือนหนึ่งมี ๔ วัน คือ วันขึ้น ๘ ค่ำ ขึ้น ๑๕ ค่ำ แรม ๘ ค่ำ และแรม ๑๕ ค่ำ ถ้าเป็น เดือนขาดก็แรม ๑๔ ค่ำ เรียกว่า วันพระ; พระเจ้า, พระเยซู, (ตามที่ คริสต์ศาสนิกชนในเมืองไทยใช้อนุโลมเรียก) เช่น พระลงโทษ แม่พระ; นักบวช, นักพรต, เช่น พระไทยพระแขก พระฝรั่ง พระจีน พระญวน; ตัวเอกในเรื่องละคร เช่น ตัวพระตัวนาง; ใช้ประกอบ หน้าคําอื่นแสดงความยกย่อง ๑. เทพเจ้าหรือเทวดาผู้เป็นใหญ่ เช่น พระอิศวรพระนารายณ์ พระพิรุณ ๒. พระเจ้าแผ่นดินหรือของที่ เกี่ยวข้องกับพระเจ้าแผ่นดินและเจ้านายชั้นสูง เช่น พระมหากษัตริย์ พระราชวงศ์ ๓. สมณศักดิ์ชั้นราชาคณะ เช่น พระราชเวที พระเทพ เมธี ๔. นักบวช เช่น พระแดง ๕. สิ่งศักดิ์สิทธิ์ เช่น พระภูมิ; อิสริยยศ เจ้านาย เช่น พระรามคําแหง พระนเรศวร พระเทียรราชา; บรรดาศักดิ์ ข้าราชการสูงกว่าหลวง ต่ำกว่าพระยา เช่น พระสารประเสริฐ พระธรรมนิเทศทวยหาญ, ใช้ประกอบหน้าชื่อบรรดาศักดิ์พระสนม; โดยปริยายหมายถึงผู้ที่มีเมตตากรุณาทรงคุณงามความดีเหมือนพระ เช่น ใจพระ พ่อแม่เป็นพระของลูก. ส. คําใช้แทนผู้ที่เราพูดถึง ใช้กับ ผู้เป็นใหญ่ เช่น พระเสด็จโดยแดนชล, เป็นสรรพนามบุรุษที่ ๓.
  27. เพลง : [เพฺลง] น. สําเนียงขับร้อง, ทํานองดนตรี, กระบวนวิธีรําดาบรําทวน เป็นต้น, ชื่อการร้องแก้กัน มีชื่อต่าง ๆ เช่น เพลงปรบไก่ เพลงฉ่อย; โดยปริยายหมายถึง แบบอย่าง เช่น ต่างกันไปคนละเพลง. (พระราชหัตถเลขา ร. ๕ ถึงสมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยา วชิรญาณวโรรส), ชั้นเชิง เช่น ร้อยภาษามาสู่เคยรู้เพลง. (อภัย).
  28. ยืนชิงช้า : (โบ) น. เรียกข้าราชการที่เป็นประธานในพิธีโล้ชิงช้าแทน พระเจ้าแผ่นดินว่า พระยายืนชิงช้า.
  29. ไวพจน์ : น. คําที่เขียนต่างกันแต่มีความหมายเหมือนกันหรือใกล้เคียงกันมาก เช่น มนุษย์กับคน บ้านกับเรือน รอกับคอย ป่ากับดง, คําพ้องความ ก็ว่า, (ป. เววจน); (โบ) ในหนังสือแบบเรียนภาษาไทย ของพระยา ศรีสุนทรโวหาร (น้อย อาจารยางกูร) หมายถึง คําที่ออกเสียง เหมือนกันแต่เขียนต่างกันและมีความหมายต่างกัน เช่น ใสกับไส โจทก์กับโจทย์ พานกับพาล, ปัจจุบันเรียกว่า คําพ้องเสียง.
  30. สัปทน : [สับปะทน] น. (โบ) ร่มทำด้วยผ้ามีระบายรอบ คันยาว เป็นเครื่อง แสดงยศขุนนางโบราณชั้นสูงกว่าพระยา; ร่มขนาดใหญ่ทำด้วยผ้า หรือแพรสีต่าง ๆ มีระบายรอบ มีด้ามยาว ใช้กั้นนาค ผ้าไตร หรือ พระพุทธรูป เป็นต้น.
  31. อุปฮาด : [อุปะ, อุบปะ] น. (โบ; ถิ่นอีสาน) ตำแหน่งรองจากเจ้าเมืองใน ภาคอีสานสมัยต้นรัตนโกสินทร์ เช่น พระยาก่ำได้ตั้งให้ท้าวแก้ว ผู้น้องชายเป็นอุปฮาดอยู่บ้านหนึ่งต่างหาก. (ลัทธิธรรมเนียมต่าง ๆ : ว่าด้วยชนชาติภูไทย); (โบ; ถิ่นพายัพ) ตำแหน่งเจ้าชั้นสูงรองจาก ตำแหน่งเจ้านครในภาคเหนือ เรียกว่า พระยาอุปราช หรือ เจ้าอุปราช แต่ชาวไทยในภาคเหนือออกเสียงเป็น อุปฮาด.
  32. [1-31]

(0.0125 sec)