Dictionary : English, Thai, Pali. Link : Lexitron, RoyDict, BudDict, ETipitaka, PpmDict, Longdo.
Search: พอดี , then พอด, พอดี .

Eng-Thai Lexitron Dict : พอดี, more than 7 found, display 1-7
  1. just : (ADV) ; พอดี ; Related:ทีเดียว ; Syn:exactly, precisely
  2. trim : (ADJ) ; พอดี ; Related:พอเหมาะ
  3. fit 1 : (VI) ; พอดี (ขนาด) ; Related:พอเหมาะ ; Syn:match, suit
  4. fit on : (PHRV) ; สวมดูว่าพอดีกับ ; Related:สวมได้พอดีกับ ; Syn:put on
  5. fit on : (PHRV) ; ใส่ได้พอดีกับ ; Related:วางได้พอดีกับ ; Syn:get on, go on, put on
  6. fitted : (ADJ) ; กระชับ ; Related:เข้ารูป, พอดี ; Syn:tailored
  7. aliquot : (ADJ) ; เป็นตัวหารได้พอดี
  8. Eng-Thai Lexitron Dict : พอดี, more results...

Thai-Eng Lexitron Dict : พอดี, more than 7 found, display 1-7
  1. พอดี : (ADV) ; fit ; Syn:เหมาะเจาะ, พอดิบพอดี ; Samp:หางเสือนี้จะบิดไปในทางที่จะทำให้เครื่องบินเลี้ยวเข้าวงพอดี
  2. พอดิบพอดี : (ADV) ; exactly ; Related:just right ; Syn:พอดี ; Def:ไม่ขาดไม่เกิน ; Samp:ร้านวีดีโอเกมกับร้านหนังสืออยู่ตรงกันพอดิบพอดี
  3. ได้ที่ : (V) ; be suitable ; Related:be appropriate, be fitting ; Syn:พอดี ; Def:ถึงที่กะไว้, ถึงที่เหมาะ
  4. ถ้วน : (DET) ; only ; Related:exact ; Syn:พอดี ; Def:เป็นจำนวนนั้น ไม่ขาดไม่เกิน, ไม่มีเศษ ; Samp:เช็คใบนี้ระบุจำนวนเงินไว้สองแสนบาทถ้วน
  5. ลงตัว : (ADV) ; divisibly ; Related:without a remainder ; Syn:พอดี ; Def:ไม่มีเศษ ; Samp:ตัวเลข prime คือ ตัวเลขที่สามารถถูกหารได้ลงตัวด้วยตัวมันเอง และเลข 1 เท่านั้น
  6. คับ : (V) ; close ; Related:firm, compact, restrict, crowd, oppress, confine ; Ant:พอดี ; Def:มีลักษณะหรือปริมาณเกินพอดี ; Samp:หนอนมีผนังลำตัวห่อหุ้มอยู่ภายนอกเมื่อเติบโตขึ้นเรื่อยๆ จะเต็มและคับผนังลำตัวที่หุ้มอยู่
  7. คับ : (ADJ) ; tight ; Related:close, compact, tight-fitting, close-fitting, small, firm ; Syn:แคบ, แน่น, ตึง ; Ant:พอดี ; Def:มีขนาดไม่พอดีกัน ; Samp:นี่เป็นเอกลักษณ์อันคงเส้นคงวาเป็นอย่างยิ่งของบุรุษเสื้อคับ หยัดร่างตรงดั่งปลายทวน
  8. Thai-Eng Lexitron Dict : พอดี, more results...

Royal Institute Thai-Thai Dict : พอดี, more than 5 found, display 1-5
  1. พอดี : ว. กำลังดี, พอเหมาะพอเจาะ, เช่น เสื้อใส่ได้พอดี, พอดิบพอดี ก็ว่า; พอเหมาะกับเวลา เช่น พอสิ้นเดือนเงินก็หมดพอดี เขามาถึง ที่ทำงาน ๘.๓๐ น. พอดี.
  2. พอดีกัน : ว. เสมอกัน (มักใช้ในทางไม่ดี) เช่น มันก็พอดีกันนั่นแหละ.
  3. พอดีพอร้าย : ว. ปานกลาง, ไม่ดีนัก, ไม่เลวนัก; บางที (แสดงความ ไม่แน่นอน) เช่น พอดีพอร้ายไม่ได้ไป.
  4. พอดิบพอดี : ว. กำลังดี, พอเหมาะพอเจาะ, เช่น มีเงินไปเท่ากับราคา ของพอดิบพอดี กางเกงตัวนี้ใส่ได้พอดิบพอดี, พอดี ก็ว่า.
  5. มัธย- : [มัดทะยะ-] ว. กลาง, ปานกลาง, พอดี, เป็นกลาง, ระหว่างกลาง. (ส.; ป. มชฺฌิม).
  6. Royal Institute Thai-Thai Dict : พอดี, more results...

Budhism Thai-Thai Dict : พอดี, 10 found, display 1-10
  1. จูฬปันถกะ : พระมหาสาวกองค์หนึ่ง ในอสีติมหาสาวก เป็นบุตรของธิดาเศรษฐีกรุงราชคฤห์ และเป็นน้องชายของมหาปันถกะ ออกบวชในพระพุทธศาสนา ปรากฏว่ามีปัญญาทึบอย่างยิ่ง พี่ชายมอบถาคาเพียง ๑ คาถาให้ ท่องตลอดเวลา ๔ เดือน ก็ท่องไม่ได้จึงถูกพี่ชายขับไล่ เสียใจคิดจะสึก พอดีพอพระพุทธเจ้า พระองค์ตรัสปลอบแล้วประทานผ้าขาวบริสุทธิ์ให้ไปลูบคลำพร้อมทั้งบริกรรมสั้นๆ ว่า “รโชหรณํ ๆๆ” ผ้านั้นหมองเพราะมือคลำอยู่เสมอ ทำให้มองเห็นไตรลักษณ์และได้สำเร็จพระอรหัต ท่านมีความชำนาญ แคล่วคล่อง ในอภิญญา ๖ ได้รับยกย่องเป็นเอตทัคคะในบรรดาผู้ฉลาดในเจโตวิวัฏฏ์; ชื่อท่านเรียกว่าง่ายๆ ว่าจูฬบันถก, บางแห่งเขียนเป็นจุลลบันถก
  2. ชีวิตสมสีสี : ผู้สิ้นกิเลสพร้อมกับสิ้นชีวิต, ผู้ได้บรรลุธรรมวิเศษแล้วก็ดับจิตพอดี
  3. ปฏิสันถาร : การทักทายปราศรัย, การต้อนรับแขก มี ๒ อย่างคือ ๑.อามิสปฏิสันถาร ต้อนรับด้วยธรรม คือ กล่าวแนะนำในทางธรรม อีกนัยหนึ่งว่า ต้อนรับโดยธรรม คือ การต้อนรับที่ทำพอดีสมควรแก่ฐานะของแขก มีการลุกรับเป็นต้น หรือช่วยเหลือสงเคราะห์ขจัดปัญหาข้อติดขัด ทำกุศลกิจให้ลุล่วง
  4. ภัททวัคคีย์ : พวกเจริญ, เป็นชื่อคณะสหาย ๓๐ คนที่พากันเข้ามาในไร่ฝ้ายแห่งหนึ่งเพื่อเที่ยวตามหาหญิงแพศยาผู้ลักห่อเครื่องประดับหนีไป และได้พบพระพุทธเจ้าซึ่งพอดีเสด็จแวะเข้าไปประทับพักอยู่ที่ไร่ฝ้ายนั้น ได้ฟังเทศนาอนุปุพพีกถา และอริยสัจ ๔ ได้ดวงตาเห็นธรรมแล้วขออุปสมบท
  5. มัชฌิมาปฏิปทา : ทางสายกลาง, ข้อปฏิบัติเป็นกลางๆ ไม่หย่อนจนเกินไป และไม่ตึงจนเกินไป ไม่ข้องแวะที่สุด ๒ อย่างคือ กามสุขัลลิกานุโยค และ อัตตกิลมถานุโยค, ทางแห่งปัญญา (เริ่มด้วยปัญญา, ดำเนินด้วยปัญญา นำไปสู่ปัญญา) อันพอดีที่จะให้ถึงจุดหมาย คือ ความดับกิเลสและความทุกข์ หรือความหลุดพ้นเป็นอิสระสิ้นเชิง ได้แก่มรรคมีองค์ ๘ มีสัมมาทิฏฐิ เป็นต้น สัมมาสมาธิเป็นที่สุด
  6. มัตตัญญุตา : ความเป็นผู้รู้จักประมาณ คือความพอเหมาะพอดี เช่น รู้จักประมาณในการแสวงหา รู้จักประมาณในการใช้จ่ายพอเหมาะพอควร เป็นต้น ดู สัปปุริสธรรม
  7. วิปัสสนูปกิเลส : อุปกิเลสแห่งวิปัสสนา, สภาพน่าชื่นชมแต่ที่แท้เป็นโทษเครื่องเศร้าหมองแห่งวิปัสสนาซึ่งเกิดแก่ผู้ได้วิปัสสนาอ่อนๆ ทำให้เข้าใจผิดว่าตนบรรลุมรรคผลแล้ว จึงไม่ดำเนินก้าวหน้าต่อไปในวิปัสสนาญาณ มี ๑๐ คือ ๑.โอภาส แสงสว่าง ๒.ปีติ ความอิ่มใจ ๓.ญาณ ความรู้ ๔.ปัสสัทธิ ความสงบกายและจิต ๕.สุข ความสบายกาย สบายจิต ๖.อธิโมกข์ ความน้อมใจเชื่อ ๗.ปัคคาหะ ความเพียรที่พอดี ๘.อุปัฏฐาน สติชัด ๙.อุเบกขา ความวางจิตเป็นกลาง ๑๐.นิกันติ ความพอใจ
  8. วิสมปริหารชา อาพาธา : ความเจ็บไข้ที่เกิดจากบริหารร่างกายไม่สม่ำเสมอ คือ ผลัดเปลี่ยนอิริยาบถไม่พอดี
  9. สมชีวิตา : มีความเป็นอยู่พอเหมาะพอดี คือเลี้ยงชีวิตตามสมควรแก่กำลังทรัพย์ที่หาได้ ไม่ฝืดเคืองนัก ไม่ฟูมฟายนัก (ข้อ ๔ ในทิฏฐธัมมิกัตถะ)
  10. อโศกมหาราช : พระราชาผู้ยิ่งใหญ่ที่สุดพระองค์หนึ่งของชมพูทวีป และเป็นพุทธศาสนูปถัมภกที่สำคัญยิ่ง เป็นกษัตริย์พระองค์ที่ ๓ แห่งราชวงศ์ โมริยะ ครองราชสมบัติ ณ พระนคร ปาฎลีบุตร ตั้งแต่ พ) ศ) ๒๑๘ ถึง พ) ศ) ๒๖๐ (นักประวัติศาสตร์ปัจจุบันส่วนมากกว่า พ) ศ) ๒๗๐-๓๒๑) เมื่อครองราชย์ได้ ๘ พรรษา ทรงยกทัพไปปราบแคว้นกลิงคะที่เป็นชนชาติเข้มแข็งลงได้ ทำให้อาณาจักรของพระองค์กว้างใหญ่ที่สุดในประวัติชาติอินเดีย แต่ในการสงครามนั้น มีผู้คนล้มตายและประสบภัยพิบัติมากมาย ทำให้พระองค์สลดพระทัย พอดีได้ทรงสดับคำสอนในพระพุทธศาสนา ทรงเลื่อมใสได้ทรงเลิกการสงคราม หันมาทำนุบำรุงพระศาสนาและความรุ่งเรืองในทางสงบของประเทศ ทรงสร้างมหาวิหาร ๘๔,๐๐๐ แห่ง ทรงอุปถัมภ์การสังคายนาครั้งที่ ๓ และการส่งศาสนทูตออกไปเผยแพร่พระพุทธศาสนาในนานาประเทศ เช่น พระมหินถเถระ ไปยังลังกาทวีป และพระโสณะพระอุตตระมายังสุวรรณภูมิ เป็นต้น ชาวพุทธไทยมักเรียกพระองค์ว่าพระเจ้าศรีธรรมาโศกราช

ETipitaka Pali-Thai Dict : พอดี, 7 found, display 1-7
  1. รมติ : ก. ยินดี, พอดี, รักใคร่
  2. สม : (วิ.) คล้าย, เหมือน, เหมือนกัน, เช่นกัน, เช่นกับ, เรียบ, เสมอ, เสมอกัน, รวมกัน, ร่วมกัน, ครบ, พอดี, เหมาะ, ควร, ชอบ, สมฺ เวลมฺเพ อ. ส. สม.
  3. มตฺตญฺญุตา : (อิต.) ความเป็นแห่งบุคคลผู้รู้ซึ่งประมาณ, ความเป็นผู้รู้ประมาณ, ความเป็นผู้รู้จักประมาณ, ความเป็นคนรู้จักประมาณ, ความเป็นคนผู้รู้จักพอดี, ความรู้จักประมาณ.
  4. มตฺตญฺญู : (วิ.) ผู้รู้ซึ่งประมาณ, ผู้รู้จักพอดี, ผู้รู้ซึ่งประมาณโดยปกติ, ฯลฯ. ดู ธมฺมจารี.
  5. มตฺตภาณี : (วิ.) ผู้พูดพอ ประมาณ, ผู้พูดพอดี, ผู้กล่าวแต่พอประมาณ, ฯลฯ.
  6. สมตุล : (นปุ.) ความเสมอกัน, ความเท่ากัน, ความพอดีกัน, ความสมส่วนกัน, สมดุล. สม+ตูล.
  7. ปสฺสิตุ : อ. (ปฐ., จตุ) การเห็น, การดู, การพบ; เพื่อเห็น, เพื่อดู, เพื่อพบ

Pramaha Prasert Mantasevi's Thai-Pali Dict : พอดี, not found

(0.1211 sec)