Dictionary : English, Thai, Pali. Link : Lexitron, RoyDict, BudDict, ETipitaka, PpmDict, Longdo.
Search: พุทธศักราช .

Royal Institute Thai-Thai Dict : พุทธศักราช, 16 found, display 1-16
  1. พุทธศักราช : [พุดทะสักกะหฺราด] น. ปีนับตั้งแต่พระพุทธเจ้าเสด็จ ปรินิพพานมา.
  2. คริสต์ศักราช : น. ปีนับตั้งแต่วันสมภพของพระเยซู เริ่มตั้งภายหลัง พุทธศักราช ๕๔๓ ปี (พุทธศักราชลบด้วย ๕๔๓ เท่ากับคริสต์ศักราช).
  3. จุลศักราช : น. ศักราชน้อย เริ่มตั้งภายหลังพุทธศักราช ๑๑๘๑ ปี (พุทธศักราช ลบด้วย ๑๑๘๑ เท่ากับจุลศักราช).
  4. รัฐธรรมนูญ : [รัดถะทํามะนูน, รัดทํามะนูน] น. บทกฎหมายสูงสุดที่ จัดระเบียบการปกครองประเทศ โดยกำหนดรูปแบบของรัฐว่าเป็นรัฐ เดียวหรือรัฐรวม ระบอบการปกครองของรัฐรวมทั้งสถาบันและองค์กร การใช้อำนาจอธิปไตยในการปกครองรัฐ เช่น รัฐธรรมนูญแห่ง ราชอาณาจักรไทย (พุทธศักราช ๒๕๔๐). (อ. constitution).
  5. ศักราช : [สักกะหฺราด] น. อายุเวลาซึ่งกําหนดตั้งขึ้นเป็นทางการ เริ่มแต่ จุดใดจุดหนึ่ง ซึ่งถือว่าเป็นที่หมายเหตุการณ์สําคัญ เรียงลําดับกัน เป็นปี ๆ ไป เช่น พุทธศักราช ๑, ๒, ๓, .. จุลศักราช ๑, ๒, ๓, ... (ตามความนิยมที่ใช้เป็นธรรมเนียมกันมา, คํา ศักราชในคํา เช่น พุทธศักราช คริสต์ศักราชจะใช้ว่า ศก เป็น พุทธศก คริสต์ศก ก็ได้ แต่คํา เช่น มหาศักราช จุลศักราช ไม่นิยมใช้ว่า มหาศก จุลศก ส่วนคําว่า รัตนโกสินทรศกไม่นิยมใช้ว่า รัตนโกสินทรศักราช), (ปาก) โดยปริยายหมายความว่า ช่วงใดช่วงหนึ่งซึ่งเริ่มต้น เหตุการณ์สำคัญในชีวิตบุคคล เช่น เริ่มศักราชแห่งชีวิตใหม่ พอเรียนหนังสือจบก็เริ่มศักราชของการทำงาน.
  6. สภาผู้แทนราษฎร : (กฎ) น. สภานิติบัญญัติสภาหนึ่ง ซึ่งเมื่อรวมกับ วุฒิสภาแล้วประกอบเป็นรัฐสภา ตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (พุทธศักราช ๒๕๔๐) สภาผู้แทนราษฎรประกอบด้วยสมาชิกจำนวน ๕๐๐ คน ซึ่งมาจากการเลือกตั้งแบบบัญชีรายชื่อที่พรรคการเมืองจัดทำขึ้น จำนวน ๑๐๐ คน และสมาชิกซึ่งมาจากการเลือกตั้งแบบแบ่งเขตเลือกตั้ง จำนวน ๔๐๐ คน มีหน้าที่ในทางนิติบัญญัติ และมีอำนาจควบคุมการ บริหารราชการแผ่นดินตามระบบการปกครองแบบรัฐสภา.
  7. สังฆนายก : (กฎ; เลิก) น. ตําแหน่งหัวหน้าคณะสังฆมนตรีตาม พระราชบัญญัติคณะสงฆ์ พุทธศักราช ๒๔๘๔.
  8. สังฆมนตรี : (กฎ; เลิก) น. ตําแหน่งพระเถระผู้รับผิดชอบในองค์การ ของคณะสงฆ์ตามพระราชบัญญัติคณะสงฆ์ พุทธศักราช ๒๔๘๔ เช่น สังฆมนตรีว่าการองค์การปกครอง.
  9. สังฆสภา : (กฎ; เลิก) น. สภาของคณะสงฆ์ตั้งขึ้นตามพระราชบัญญัติ คณะสงฆ์ พุทธศักราช ๒๔๘๔.
  10. สังฆาณัติ : (กฎ; เลิก) น. กฎข้อบังคับของคณะสงฆ์ ซึ่งสมเด็จพระ สังฆราชทรงบัญญัติขึ้นโดยคําแนะนําของสังฆสภา ตามพระราชบัญญัติ คณะสงฆ์ พุทธศักราช ๒๔๘๔, ปัจจุบันเรียกว่า พระบัญชาสมเด็จ พระสังฆราช. (ป.).
  11. กลียุคศักราช : น. ศักราชที่เริ่มตั้งก่อนพุทธศักราช ๒๕๕๘ ปี (กลียุคศักราชลบด้วย ๒๕๕๘ เท่ากับพุทธศักราช).
  12. กสิกรรม : น. การทําไร่ไถนา. [กะสิน] น. สมถกรรมฐานหมวดหนึ่งว่าด้วยอารมณ์ที่กําหนดธาตุ ๔ คือ ปฐวี (ดิน) อาโป (น้า) เตโช (ไฟ) วาโย (ลม), ว่าด้วยวรรณะ (สี) ๔ คือ นีล (สีเขียว) ปีต (สีเหลือง) โลหิต (สีแดง) โอทาต (สีขาว), ว่าด้วยอากาศ (ที่ว่าง) และ อาโลก (แสงสว่าง) รวมเป็น ๑๐ อย่าง. (ป.). [กะ-] น. เกณฑ์สําหรับลบพุทธศักราชเป็นจุลศักราช ตรงกับเลข ๑๑๘๑. [กะหาปะนะ] (แบบ) น. เงินตรามีพิกัดเท่ากับ ๒๐ มาสก หรือ ๑ ตําลึง คือ ๔ บาท. (ป.). [กะเลวะราก] (กลอน) น. ซากศพ, บางทีใช้เข้าคู่กันเป็น กเฬวรากซากศพ, เขียนเป็น กเฬวราก์ ก็มี เช่น เผากเฬวราก์ผู้อนาถ. (มาลัยคําหลวง). น. กลุ่มแห่งต้นไม้ที่เกิดจากเหง้าเดียวกัน เช่น กอหญ้า กอแขม กอไผ่, ต้นไม้ที่ขึ้นเป็นกลุ่ม เช่น กอข้าว, ใช้เข้าคู่กับคํา เหล่า ว่า เหล่ากอ หมายความว่า เชื้อสาย. (ถิ่น-ปักษ์ใต้) น. ต้นก่อ. (ดู ก่อ๒). ดู หนอนกอ ที่ หนอน๑. ก. ทําให้เกิดขึ้น มีขึ้น หรือเป็นรูปขึ้น เช่น ก่อไฟ ก่อสงคราม ก่อตึก.
  13. กหังปายา : [กะ-] น. เกณฑ์สําหรับลบพุทธศักราชเป็นจุลศักราช ตรงกับเลข ๑๑๘๑.
  14. มหาศักราช : น. ศักราชที่ไทยใช้ในสมัยสุโขทัย เริ่มตั้งภายหลังพุทธศักราช ๖๒๑ ปี (พุทธศักราชลบด้วย ๖๒๑ เท่ากับ มหาศักราช).
  15. รัตนโกสินทรศก : [รัดตะนะโกสินสก] น. ปีนับตั้งแต่วันตั้งกรุงรัตนโกสินทร์ เริ่มตั้งภายหลังพุทธศักราช ๒๓๒๔ ปี (พุทธศักราชลบด้วย ๒๓๒๔ เท่ากับ รัตนโกสินทรศก).
  16. อัญชนะศักราช : น. ศักราชที่เริ่มตั้งก่อนพุทธศักราช ๑๔๗ ปี (อัญชนะศักราช ลบด้วย ๑๔๗ เท่ากับพุทธศักราช).

(0.0142 sec)