Dictionary : English, Thai, Pali. Link : Lexitron, RoyDict, BudDict, ETipitaka, PpmDict, Longdo.
Search: พูด , then พด, พุด, พูด, วูด .

Royal Institute Thai-Thai Dict : พูด, 901 found, display 1-50
  1. พูด : ก. เปล่งเสียงออกเป็นถ้อยคํา, พูดจา ก็ว่า.
  2. พูดคล่องเหมือนล่องน้ำ : (สํา) ก. พูดไม่ติดขัด เช่น สารพัดพูดคล่อง เหมือนล่องนํ้า. (ไกรทอง), พูดคล่องเป็นล่องนํ้า ก็ว่า.
  3. พูดจนลิงหลับ : (ปาก) ก. พูดจนผู้ฟังเคลิบเคลิ้มไปตาม.
  4. พูดจริงทำจริง : ก. ทําได้อย่างที่พูดไว้, รักษาคําพูด.
  5. พูดดีเป็นศรีแก่ปาก : (สํา) น. พูดดีเป็นที่นิยมชมชอบ.
  6. พูดเป็นต่อยหอย : (สํา) ก. พูดฉอด ๆ ไม่หยุดปาก.
  7. พูดเป็นนัย : (สํา) ก. พูดอ้อม ๆ โดยไม่บอกเรื่องราวตรง ๆ.
  8. พูดเป็นน้ำไหลไฟดับ, พูดเป็นไฟ : ก. พูดคล่องเหลือเกิน.
  9. พูดไปสองไพเบี้ย นิ่งเสียตำลึงทอง : (สํา) ก. พูดไปไม่มีประโยชน์ นิ่งเสียดีกว่า.
  10. พูดสด : ก. พูดโดยมิได้เตรียมมาก่อน.
  11. พูดอย่างมะนาวไม่มีน้ำ : (สํา) ก. พูดห้วน ๆ.
  12. กระพอก ๒ : ก. พรอก, พูด, เช่น ฟังเสียงกากระพอก บอกข่าวท้าวเสด็จดล. (ลอ).
  13. กล่าว : [กฺล่าว] ก. บอก, แจ้ง, พูด, เช่น กล่าวคําเท็จ; แสดง เช่น กล่าวเกลาอรรถเอมอร. (ม. คําหลวง ทานกัณฑ์); ขับร้อง เช่น จะกล่าวกลอนแก้ไข. (อิเหนา); สู่ขอ เช่น ถึงจรกามากล่าวนางไว้. (อิเหนา); แต่งงาน เช่น ฝรั่งกล่าวแหม่ม. (ประเพณีของชาวคริสเตียน), คํานี้ใช้เป็นปรกติในภาษาเขียน แต่ใช้เป็นภาษาพูดก็มีในบางลักษณะ เช่น กล่าวสุนทรพจน์.
  14. ขาน ๑ : ก. กล่าว, เรียก, เอ่ย, พูด, ตอบ, เช่น ขานรับ ขานยาม.
  15. จับเข่าคุยกัน, จับหัวเข่าพูด : (ปาก) ก. พูดปรับความเข้าใจกันอย่างใกล้ชิด.
  16. จับหัวเข่าพูด, จับเข่าคุยกัน : (ปาก) ก. พูดปรับความเข้าใจกันอย่างใกล้ชิด.
  17. จำนรรจ์, จำนรรจา : [-นัน, -นันจา] (กลอน) ก. เจรจา, พูด, กล่าว.
  18. ผิดคำพูด : ว. ไม่รักษาคำพูด, ผิดวาจา ก็ว่า.
  19. พรอก : [พฺรอก] ก. บอก, พูด, เช่น บัดบอกพรอกพราง.
  20. ภณะ : [พะ–] (แบบ) ก. กล่าว, พูด, บอก. (ป., ส.).
  21. รักษาคำพูด : ก. ทำตามถ้อยคำที่พูดให้สัญญาไว้.
  22. ละครพูด : น. ละครแบบหนึ่ง รับอิทธิพลจากละครแบบยุโรป ตัวละครพูดบทของตนในการดำเนินเรื่อง อาจพูดเป็นถ้อยคำ ธรรมดา คำกลอน คำฉันท์ มีการจัดฉากและแต่งกายตามสมัย ที่ปรากฏในเรื่อง เช่น ละครพูดเรื่องหัวใจนักรบ ละครพูดคำ กลอนเรื่องพระร่วง ละครพูดคำฉันท์เรื่องมัทนะพาธา.
  23. สอนพูด : ว. เรียกเด็กที่เริ่มหัดพูดว่า เด็กสอนพูด.
  24. อมพระมาพูด : (สำ) ใช้ในการพูดโดยอ้างพระหรือสิ่งศักดิ์สิทธิ์มา ประกอบเป็นพยาน มักใช้ในความปฏิเสธ เช่น ต่อให้อมพระมาพูด ก็ไม่เชื่อ.
  25. พุด : น. (๑) ชื่อไม้พุ่มหรือไม้ต้นหลายชนิดในสกุล Gardenia วงศ์ Rubiaceae เช่น พุด หรือ ข่อยด่าน (G. collinsae Craib) ดอกสีขาว กลิ่นหอม เนื้อไม้ละเอียด สีนวล ใช้แกะสลัก, พุดจีน หรือ พุดซ้อน (G. jasminoides Ellis) ดอกสีขาว กลิ่นหอม พันธุ์กลีบดอกซ้อน ไม่ติดผล พันธุ์กลีบดอกไม่ซ้อนผลใช้แต่งสีให้สีเหลือง. (๒) ชื่อ ไม้พุ่มหลายชนิดในสกุล Taberneamontana วงศ์ Apocynaceae เช่น พุดจีบ หรือ พุดสวน [T. divaricata (L.) Roem. et Schult.] ดอกสีขาว ใช้ดอกตูมร้อยพวงมาลัย.
  26. พด : ว. คด, งอ, ขด.
  27. ไม่พูดพร่ำทำเพลง : (สํา) ว. ไม่รอให้ชักช้า, ทันทีทันใด.
  28. ละครพูดสลับลำ : น. ละครสังคีต.
  29. แกล้ง : [แกฺล้ง] ก. ทําให้เดือดร้อนรําคาญ เช่น เขาแกล้งฉัน, แสร้ง เช่น เขาแกล้งทําเป็นปวดฟัน, จงใจทํา พูด หรือแสดงอาการอย่างใดอย่างหนึ่งเพื่อให้เขาเสียหาย อาย เดือดร้อน ขัดข้อง เข้าใจผิด เป็นต้น เช่น ข้าพเจ้าไม่ได้ทําผิดเลยแต่เขาแกล้งใส่ร้าย; (โบ) ตั้งใจ, จงใจ, เช่น แกล้งประกาศแก่สงฆ์. (ม. คําหลวง วนปเวสน์).
  30. ดำรัส : [-หฺรัด] น. คําพูดของเจ้านาย ใช้ว่า พระดํารัส, คําพูดของพระมหากษัตริย์ ใช้ว่า พระราชดํารัส. ก. พูด (ใช้แก่เจ้านาย). (แผลงมาจาก ตรัส).
  31. ตรัส : (ราชา) ก. พูด. ว. แจ้ง, สว่าง, ชัดเจน.
  32. ประภาษ : [ปฺระพาด] ก. ตรัส, บอก, พูด. (ส. ปฺรภาษ; ป. ปภาส).
  33. ปาก : น. ส่วนหนึ่งของร่างกายคนและสัตว์ อยู่ที่บริเวณใบหน้า มีลักษณะ เป็นช่องสําหรับกินอาหารและใช้สําหรับเปล่งเสียงได้ด้วย; โดย ปริยายหมายถึงส่วนต่าง ๆ ที่อยู่ในบริเวณปาก เช่น ปากเปื่อย; ขอบ ช่องแห่งสิ่งต่าง ๆ เช่น ปากหม้อ ปากไห; ต้นทางสําหรับเข้าออก เช่น ปากช่อง ปากตรอก; กลีบดอกกล้วยไม้คล้ายรูปกรวยหรือหลอดที่อยู่ ตรงกลางเป็นที่อยู่ของเกสร, กระเป๋า ก็เรียก; ใช้เป็นลักษณนามของสิ่ง บางอย่างเช่นแหอวนหรือพยานบุคคล เช่น แหปากหนึ่ง อวน ๒ ปาก พยาน ๓ ปาก. ก. พูด เช่น ดีแต่ปาก.
  34. พร่ำเพรื่อ : ว. เกินขอบเขต, บ่อย ๆ ไม่เป็นกิจจะลักษณะ, เช่น พูด พร่ำเพรื่อ, เพรื่อ ก็ว่า.
  35. พูดจา : ก. พูด.
  36. โพล่ง : [โพฺล่ง] ว. ใช้ประกอบกับคํา พูด เป็น พูดโพล่ง หมายความว่า พูดอย่างไม่ยับยั้ง; เสียงดังอย่างเสียงกระโดดลงไปในนํ้า.
  37. โยเย : ว. เกเร, เกะกะ; ร้องไห้งอแง, ขี้อ้อน, (มักใช้แก่เด็กเล็ก ๆ). ก. พูด รวนเร.
  38. ละเมอ : ก. พูด ทํา หรือแสดงในเวลาหลับ, (ปาก) โดยปริยายหมายความว่า หลงเพ้อ เช่น เขากลับไปนานแล้วยังละเมอว่าเขายังอยู่, มะเมอ ก็ว่า.
  39. ลุกลน : ก. ทําโดยรีบร้อนไม่เป็นระเบียบ เช่น ทำอะไรอย่าลุกลนของจะ หล่นแตก. ว. ไม่สุภาพเรียบร้อย เช่น เขาแสดงกิริยาลุกลน พูด ลุกลนฟังไม่เป็นศัพท์.
  40. หวานนอกขมใน : (สำ) ก. พูด ทำ หรือแสดงให้เห็นว่าดีแต่ภายนอก แต่ในใจกลับตรงข้าม.
  41. ภูต, ภูต– : [พูด, พูตะ–] น. ผี, มักใช้เข้าคู่กันเป็น ภูตผี. ว. ซึ่งเกิดแล้ว, ซึ่งเป็นแล้ว. (ป., ส.).
  42. พจน, พจน์ ๑ : [พดจะนะ, พด] น. คําพูด, ถ้อยคํา. (ป. วจน).
  43. พจนา : [พดจะ] น. การเปล่งวาจา, การพูด; คําพูด. (ป.).
  44. พจนารถ : [พดจะนาด] น. เนื้อความของคําพูด. (ส.).
  45. พจมาน : [พดจะมาน] น. คําพูด.
  46. ข้าพระพุทธเจ้า : [ข้าพฺระพุดทะเจ้า] ส. คําใช้แทนตัวผู้พูด กราบบังคม ทูลพระเจ้าแผ่นดินหรือกราบทูลเจ้านายชั้นสูง, เป็นสรรพนามบุรุษที่ ๑.
  47. กรวม : [กฺรวม] ก. สวม เช่น วงแหวนกรวมหัวเสา, ครอบ เช่น เอากรวยกรวมพนมดอกไม้, คร่อม เช่น ปลูกเรือนกรวม ตอ ปลูกเรือนกรวมทาง; รวมความหมายหลายอย่าง เช่น กรวมความ; กํากวม เช่น พูดกรวมข้อ. (ปาเลกัว).
  48. กรอก ๑ : [กฺรอก] ก. เทลงในช่องแคบ เช่น กรอกหม้อ กรอกขวด, หรือใช้ โดยปริยายก็ได้ เช่น พูดกรอกหู; ลงข้อความหรือจํานวนเลข เช่น กรอกบัญชี. ว. แห้งจนคลอน, ใช้แก่หมากและฝักมะขาม ว่า หมากกรอก มะขามกรอก.
  49. กระจุ๋งกระจิ๋ง : ก. พูดกันเบา ๆ ทําเสียงเล็กเสียงน้อยน่าเอ็นดู, จุ๋งจิ๋ง ก็ว่า. ก. อาการที่พูดกันเบา ๆ ทำเสียงเล็กเสียงน้อยน่าเอ็นดู, จุ๋งจิ๋ง ก็ว่า.
  50. กระจู๋กระจี๋ : ก. พูดกันเบา ๆ ด้วยอาการสนิทสนม, จู๋จี๋ ก็ว่า. ว. อาการที่พูดกันเบา ๆ ด้วยความสนิทสนม, จู๋จี๋ ก็ว่า.
  51. [1-50] | 51-100 | 101-150 | 151-200 | 201-250 | 251-300 | 301-350 | 351-400 | 401-450 | 451-500 | 501-550 | 551-600 | 601-650 | 651-700 | 701-750 | 751-800 | 801-850 | 851-900

(0.0650 sec)