Dictionary : English, Thai, Pali. Link : Lexitron, RoyDict, BudDict, ETipitaka, PpmDict, Longdo.
Search: ฟาด , then ฝาด, ฟาด .

Royal Institute Thai-Thai Dict : ฟาด, 50 found, display 1-50
  1. ฟาด : ก. หวด, เหวี่ยง, เช่น ฟาดด้วยไม้เรียว ฟาดผ้า จระเข้ฟาดหาง; (ปาก) กินอย่างเต็มที่เช่น ฟาดข้าวเสีย ๓ ชาม.
  2. ฟาดเคราะห์ : ก. ทําพิธีปัดสิ่งชั่วร้ายให้ไปจากตัว, สละสิ่งใด สิ่งหนึ่งเพื่อให้เคราะห์สูญหายไป; (ปาก) ตัดใจยอมเสียสิ่งใด สิ่งหนึ่งไปเพื่อให้หมดเคราะห์ หรือตัดใจคิดว่าสิ่งที่เสียไปแล้ว เป็นการทำให้หมดเคราะห์ ในความเช่น นึกว่าฟาดเคราะห์.
  3. ฟาดหัวฟาดหาง : ก. อาละวาด.
  4. ฟืดฟาด : ว. เสียงอย่างเสียงหายใจแรง ๆ เวลาเหนื่อยมาก ๆ, ฟูดฟาด ก็ว่า.
  5. ฟะฟัด : [กลอน] ก. ฟัด, ฟาด.
  6. กรับพวง : น. กรับชนิดหนึ่ง ทำด้วยไม้แผ่นบาง ๆ หรือ แผ่นทองเหลืองหรือแผ่นงาช้างหลาย ๆ อัน และมีไม้แก่น หรืองาประกับ ๒ ข้างอย่างด้ามพัด ตอนหัวข้างหนึ่งเจาะรู ร้อยเชือก เวลาตีใช้มือข้างหนึ่งจับตรงหัวทางเชือกร้อย แล้วฟาดข้างหนึ่งลงบนฝ่ามืออีกข้างหนึ่ง สำหรับตีเป็น จังหวะประกอบการฟ้อนรำและขับร้อง หรือใช้ตีรัวเป็น อาณัติสัญญาณ.
  7. เคราะห์ ๑ : [เคฺราะ] (โหร) น. เรียกดาวเฉพาะ ๙ ดวง เรียงตามลำดับมหาทักษา คือ อาทิตย์ จันทร์ อังคาร พุธ เสาร์ พฤหัสบดี ราหู ศุกร์ เกตุ ซึ่งถือกันว่า มีเทวดาประจําแต่ละดวง ว่า ดาวพระเคราะห์, เรียกดาวพระเคราะห์ทั้ง ๙ ดวงอย่างรวม ๆ ว่า ดาวนพเคราะห์ ถือว่าเป็นดาวที่ยึดโชคของคน; สิ่งที่นําผลมาให้โดยไม่ได้คาดหมาย เช่น เคราะห์ดี เคราะห์ร้าย, มัก นิยมใช้ในทางไม่ดี เช่น มีเคราะห์ ฟาดเคราะห์. (ป. คห; ส. คฺรห ว่า ยึด).
  8. เง้ : ก. เงื้อไม้ มีดเป็นต้น จนสุดกําลังแขนแล้วฟาดลงเต็มแรง.
  9. ดิ้น ๑ : ก. อาการที่สะบัดหรือฟาดตัวไปมาอย่างแรง เช่น ดิ้นให้หลุด นอนดิ้น ชักดิ้นชักงอ, สั่นไหวกระดุกกระดิก เช่น หางจิ้งจกขาดยังดิ้นได้, ไม่ตายตัว เช่น คําพูดดิ้นได้; โดยปริยายหมายความว่า แก้ข้อหา, ปลดเปลื้องข้อหา, ในคําว่า ดิ้นไม่หลุด.
  10. เดียง ๒ : (โบ) ก. ตีลง, ทุบลง, ฟาดลง.
  11. ตะกวด : น. ชื่อสัตว์เลื้อยคลานชนิด Varanus bengalensis ในวงศ์ Varanidae ตัวสี นํ้าตาลเหลืองปากแหลม ลิ้นยาวแยกเป็น ๒ แฉก หางยาวใช้ฟาดเพื่อต่อสู้ป้องกันตัว อาศัยตามป่าโปร่งมากกว่าป่าทึบหากินตามพื้นดิน ขึ้นต้นไม้เก่ง พาดตัวนอนผึ่งแดด ตามกิ่งไม้, แลน หรือ จะกวด ก็เรียก.
  12. ปะเตะ : ก. เตะ, ฟาดด้วยหลังเท้า.
  13. ผ่า : ก. ทําให้แยกออกจากกันตามยาวด้วยมีดหรือขวานอย่างผ่าฟืน, โดยปริยายหมายถึงกิริยาที่ทําให้แยกออก เช่น ผ่าฝี ผ่าปากม้า; แหวกเข้าไป เช่น ผ่าเข้าไป; ฟาดฟันลงไป; (ปาก) ทำสิ่งที่ไม่น่า จะทำหรือในลักษณะที่ไม่ควรจะเป็นเช่นนั้น เช่น วิ่งผ่าเข้าไป กลางวงแทนที่จะเล่นกันอยู่ข้างล่าง ผ่าขึ้นไปอยู่บนยอดไม้.
  14. ฝาด ๑ : น. ชื่อไม้ต้นในสกุล Lumnitzera วงศ์ Combretaceae ขึ้นตามป่าชายเลน ใช้ทําฟืน เปลือกใช้ฟอกหนัง มี ๒ ชนิด คือ ฝาดขาว (L. racemosa Willd.) ดอกสีขาว และ ฝาดแดง (L. littorea Voigt) ดอกสีแดง.
  15. ฟัน ๑ : ก. เอาของมีคมเช่นดาบฟาดลงไป, โดยปริยายหมายถึงอาการที่ คล้ายคลึงเช่นนั้น เช่น เอาสันมือฟันอิฐ.
  16. ฟาง ๑ : น. ต้นข้าวที่เกี่ยว นวด หรือฟาดเอาเมล็ดออกแล้ว.
  17. ฟูดฟาด : ว. เสียงอย่างเสียงหายใจแรง ๆ เวลาเหนื่อยมาก ๆ, ฟืดฟาด ก็ว่า.
  18. วิสัญญี : ว. หมดความรู้สึก, สิ้นสติ, สลบ, เช่น นางก็ถึงวิสัญญีสลบลงตรงหน้า ฉานปานประหนึ่งว่าพุ่มฉัตรทองอันต้องสายอัสนีฟาด (ม. ร่ายยาว มัทรี). (ป.).
  19. แว้ง : ก. อาการที่เอี้ยวหัวหรืออวัยวะบางส่วนโดยเร็วเพื่อกัดหรือทําร้าย เป็นต้น เช่น ควายแว้งขวิดจระเข้แว้งหางฟาดเรือล่ม, โดยปริยาย หมายถึงอาการที่คล้ายคลึงเช่นนั้น เช่น เตือนดี ๆ มาแว้งเอาได้.
  20. หวด ๒ : ก. ฟาด, ตีแรง ๆ, โบย.
  21. ห้ำหั่น : ก. เข้าฟาดฟันให้แหลกไป.
  22. ฝาด ๒ : ว. รสชนิดหนึ่งอย่างรสหมากดิบทําให้ฝืดคอ กลืนไม่ลง นํ้าลายแห้ง.
  23. น้ำฝาด : น. น้ำที่มีรสฝาด เกิดจากการเอาเปลือกไม้แก่นไม้เป็นต้นของ ไม้บางชนิดเช่นขนุนมาต้ม ใช้ย้อมสบงจีวร, ฝาด ก็ว่า เช่น ผ้าย้อมฝาด. น้ำพระพิพัฒน์สัตยา น. นํ้าที่ดื่มในเวลาถวายสัตย์ต่อพระเจ้าแผ่นดิน.
  24. เลือดฝาด : น. เลือดที่แสดงออกทางผิวพรรณ เช่น มีเลือดฝาดดี หมายความว่ามีผิวพรรณเปล่งปลั่งมีน้ำมีนวล.
  25. หมากหน้าแก่, หมากหน้าฝาด : น. ผลหมากอย่างดี เมื่อผ่าสดจะเห็น ว่ามีเนื้อมาก สีออกส้มหรือน้ำตาลแดง มีวุ้นน้อย หน้าหมากมียางเยิ้ม เป็นมัน มีลายเส้นในเนื้อมาก รสฝาด.
  26. หูฝาด, หูเฝื่อน : ก. ได้ยินเสียงเพี้ยนไป.
  27. อมเลือดอมฝาด : ว. มีผิวพรรณผุดผ่อง.
  28. กะลุมพี : น. ชื่อปาล์มชนิด Eleiodoxa conferta (Griff.) Burr. ในวงศ์ Palmae ขึ้นเป็นกอในป่าพรุและที่ชื้นแฉะทางภาคใต้ ผลเป็นช่อใหญ่และแน่น ปลายผลตัด ผิวเหลืองเกลี้ยงเป็นมัน ไม่มีหนาม เยื่อหุ้มเมล็ดขาว รสเปรี้ยว ๆ ฝาด ๆ กินได้ ยางในลําต้นเหนียวใช้ติดกระดาษแทน กาวได้, ลุมพี ก็เรียก, ปักษ์ใต้เรียก หลุมพี. (มลายู ว่า กะลุมปี).
  29. ขยัน ๒ : [ขะหฺยัน] น. ชื่อไม้เถาชนิด Bauhinia strychnifolia Craib ในวงศ์ Leguminosae เปลือกมีรสหวาน ๆ ฝาด ๆ ใช้กินกับหมาก.
  30. กาสาว, กาสาวะ : [กาสาวะ-] น. ผ้าย้อมฝาด, เขียนเป็น กาสาว์ ก็มี. (ป.).
  31. กาสาวพัสตร์ : น. ผ้าย้อมฝาด คือผ้าเหลืองพระ. (ป. กาสาว + ส. วสฺตร = ผ้า).
  32. กำจาย ๒ : น. (๑) ชื่อไม้พุ่มชนิด Caesalpinia digyna Rottler ในวงศ์ Leguminosae ขึ้นในป่าเบญจพรรณ ต้นมีหนาม ดอกสีเหลือง ออกเป็นช่อตามง่ามใบ ฝักพองหนา มีรสฝาด ใช้ย้อมหนังได้ เมล็ดสีดําให้น้ามันจุดไฟ. (๒) ดู ขี้อ้าย(๑).
  33. ขี้อ้าย : น. (๑) ชื่อไม้ต้นขนาดกลางชนิด Terminalia triptera Stapf. ในวงศ์ Combretaceae เปลือกชั้นในสีแสด รสฝาด ใช้เคี้ยวกับหมาก, กําจาย ก็เรียก, จันทบุรีเรียก หอมกราย. (๒) ชื่อไม้ต้น ๓ ชนิดในสกุล Walsura วงศ์ Meliaceae คือ ชนิด W. robusta Roxb., W. trichostemon Miq. และ W. villosa Wall.
  34. ขื่น ๑ : ว. รสฝาดเฝื่อนชวนให้คลื่นไส้ ไม่ชวนกิน; (ถิ่น-พายัพ) ฉุน.
  35. จืด : ว. มีรสไม่เค็มไม่เปรี้ยวเป็นต้น เช่น นํ้าจืด ไข่จืด; ไม่เข้ม เช่น หน้าจืด, ไม่ฝาด เช่น หมากจืด, ไม่ฉุน เช่น ยาจืด; ไม่สนุก, ไม่ครึกครื้น, เช่น งานนี้จืด; หมด เช่น อันสมรรถมือผจญ จืดเสี้ยน. (ตะเลงพ่าย).
  36. ชำมะเลียง : น. ชื่อไม้ต้นชนิด Lepisanthes fruticosa Leenh. ในวงศ์ Sapindaceae ใบยาว ผลสุกสีม่วงดํา กินได้ รสหวาน ปนฝาด, พุมเรียง ก็เรียก.
  37. ซีดเซียว : ว. ไม่แจ่มใส, ไม่สดชื่น; ไม่มีเลือดฝาด.
  38. ด่าง ๑ : น. นํ้าขี้เถ้าที่เกรอะหรือแช่ไว้ มีรสกร่อย ๆ สําหรับทํายาและกัดสิ่งของ; (วิทยา) สารประกอบจําพวกไฮดรอกไซด์ของโลหะแอลคาไล ซึ่งละลาย นํ้าได้ดี มีรสฝาด ถูกมือลื่นคล้ายสบู่.
  39. ตะครอง : [-คฺรอง] น. ชื่อไม้ต้นขนาดเล็กชนิด Ziziphus cambodiana Pierre ในวงศ์ Rhamnaceae กิ่งมีหนาม ผลกลม รสฝาด.
  40. เบญกานี ๑ : น. ชื่อเรียกก้อนแข็ง ๆ ที่เกิดตามใบของไม้ก่อชนิด Quercus infectoria Oliv. ในวงศ์ Fagaceae เกิดจากการวางไข่ของแมลง ชนิด Cynips tinctoria ในวงศ์ Cynipidae รสฝาดจัด ใช้ทํายาได้ เรียกว่า ลูกเบญกานี.
  41. เฝื่อน : ว. รสที่เจือฝาดและขื่นอย่างรสดีเกลือ; วางหน้าไม่สนิทเหมือนกิน ของมีรสเฝื่อน.
  42. มะกอก : น. ชื่อไม้ต้นขนาดใหญ่ชนิด Spondias pinnata (L.f.) Kurz ในวงศ์ Anacardiaceae ใบอ่อนมีรสเปรี้ยว ใช้เป็นผักดิบ ผลขนาดลูกหมากดิบ เมื่อสุกมีรสเปรี้ยวเจือฝาด ใช้ปรุงอาหาร รากและเมล็ดใช้ทํายาได้, มะกอกบ้าน หรือ มะกอกป่า ก็เรียก.
  43. มะกอกน้ำ : น. ชื่อไม้ต้นขนาดเล็กชนิด elaeocarpus hygrophilus Kurz ในวงศ์ Elaeocarpaceae มักขึ้นริมนํ้า ผลเล็กรี รสเปรี้ยวฝาด ใช้ดองเป็นอาหาร.
  44. มะขามป้อม : น. ชื่อไม้ต้นขนาดกลางชนิด Phyllanthus emblica L. ในวงศ์ Euphorbiaceae ผลกลม รสเปรี้ยวฝาด เมล็ดแข็ง ผลใช้ทํายาได้.
  45. มังคุด : น. ชื่อไม้ต้นชนิด Garcinia mangostana L. ในวงศ์ Guttiferae ผลกลม เมื่อแก่สีแดงคลํ้า เปลือกมีรสฝาดใช้ทํายาได้ เนื้อในขาว รสหวานอมเปรี้ยว.
  46. รกฟ้า : น. ชื่อไม้ต้นขนาดใหญ่ชนิด Terminalia alata Heyne ex. Roth ในวงศ์ Combretaceae ขึ้นตามป่าเต็งรัง เปลือกให้นํ้าฝาดสีแดงใช้ย้อมสี ใช้ ทํายาได้, กอง ก็เรียก.
  47. รส : น. สิ่งที่รู้ได้ด้วยลิ้น เช่น เปรี้ยว หวาน เค็ม ฝาด, โดยปริยายหมายถึง ความไพเราะ เช่น กลอนบทนี้ไม่มีรส. (ป., ส.).
  48. หน้าแดง : น. หน้าเต็มไปด้วยเลือดฝาดเพราะความกระดากอายหรือโกรธ เป็นต้น.
  49. หมาก ๑ : น. ชื่อเรียกปาล์มหลายชนิดหลายสกุลในวงศ์ Palmae โดยเฉพาะชนิด Areca catechu L. ผลมีรสฝาด ใช้เคี้ยวกินกับปูน พลู ซึ่งรวมเรียกว่า กินหมาก และใช้ฟอกหนัง, ผลที่ยังไม่แก่เรียก หมากดิบ, ผลที่แก่จัด เรียก หมากสง, เนื้อหมากที่ฝานบาง ๆ ตากแห้ง ลักษณะคล้ายอีแปะ เรียก หมากอีแปะ, ผลแก่จัดที่เก็บไว้ทั้งเปลือกเพื่อไว้กินนาน ๆ เรียก หมากยับ.
  50. หมากหน้าหวาน, หมากหน้าอ่อน : น. ผลหมากอ่อน เมื่อผ่าสดจะเห็นว่า เนื้อมีสีเหลืองซีดหรือเกือบขาว มีวุ้นสีขุ่น ๆ อยู่ตรงกลางมาก มีลายเส้น ในเนื้อน้อย รสไม่ฝาด.
  51. [1-50]

(0.0510 sec)