Dictionary : English, Thai, Pali. Link : Lexitron, RoyDict, BudDict, ETipitaka, PpmDict, Longdo.
Search: ภรรยา .

Royal Institute Thai-Thai Dict : ภรรยา, 50 found, display 1-50
  1. ภรรยา : [พันยา, พันระยา] น. ภริยา, เมีย, หญิงที่เป็นคู่ครองของชาย, คู่กับ สามี. (ส. ภารฺยา; ป. ภริยา).
  2. ภารยา : [พาระ–, พานระ–] น. ภรรยา. (ส.).
  3. อันโตชน : น. ''คนภายใน'' หมายถึง คนในตระกูล เช่น บุตร ภรรยา คนใช้. (ป.).
  4. กระลูน : (กลอน) น. ความเศร้าโศก. ว. น่ากรุณา, น่าสงสาร, เช่น อ่อนจิตสวามีอันพูนกระลูนนุกูลภรรยายิ่งยอด กว่าอันภิปราย. (สรรพสิทธิ์). (ป. กลูน).
  5. เกลือเป็นหนอน : (สํา) น. ญาติมิตร สามีภรรยา บุตรธิดา เพื่อนร่วมงาน หรือคนในบ้าน คิดคดทรยศ, ไส้เป็นหนอน ก็ว่า.
  6. ข่มขืนกระทำชำเรา : (กฎ) น. ชื่อความผิดอาญาฐานขืนใจกระทําการ ร่วมประเวณีกับหญิงซึ่งมิใช่ภรรยาของตนโดยขู่เข็ญด้วยประการใด ๆ หรือใช้กําลังประทุษร้ายหญิงซึ่งอยู่ในภาวะที่ไม่สามารถขัดขืนได้ หรือ ทำให้หญิงเข้าใจผิดว่าตนเป็นบุคคลอื่น.
  7. ขวัญ : [ขฺวัน] น. ผมหรือขนที่ขึ้นเวียนเป็นก้นหอย; มิ่งมงคล, สิริ, ความดี, เช่น ขวัญข้าว ขวัญเรือน; สิ่งที่ไม่มีตัวตน เชื่อกันว่ามีอยู่ประจําชีวิตของคน ตั้งแต่เกิดมา ถ้าขวัญอยู่กับตัวก็เป็นสิริมงคล เป็นสุขสบายจิตใจมั่นคง ถ้าคนตกใจหรือเสียขวัญ ขวัญก็ออกจากร่างไป ซึ่งเรียกว่า ขวัญหาย ขวัญหนี ขวัญบิน เป็นต้น ทําให้คนนั้นได้รับผลร้ายต่าง ๆ, เรียกผู้ตกใจ ง่ายคือ เด็กหรือหญิงซึ่งมักจะขวัญหายบ่อย ๆ ว่า ขวัญอ่อน, และอนุโลม ใช้ไปถึงสัตว์หรือสิ่งของบางอย่าง เช่น ช้าง ม้า ข้าว เรือน ฯลฯ ว่ามีขวัญ เช่นเดียวกับคนเหมือนกัน, โดยปริยายหมายความว่า ยอดกำลังใจเช่น ขวัญเมือง ว่า ยอดกําลังใจของเมือง; กําลังใจดี เช่น ขวัญดี; ผู้รู้พิธีทําขวัญ เรียกว่า หมอขวัญ; การทําพิธีเชิญขวัญหมายความว่า เรียกขวัญ มาอยู่กับตัว; การเสียเงินค่าปรับให้แก่ผู้ถูกทําร้ายหรือถูกหมิ่นประมาท เรียกว่า ทำขวัญ; เอาเส้นด้ายผูกข้อมือเด็กแล้วกล่าวเรียก ขวัญว่า ``ขวัญเอ๋ย มาอยู่กับเนื้อกับตัว'' แล้วกล่าวให้พรต่อไปตามควร เรียกว่า ผูกขวัญ; เรียกขวัญหรือเชิญขวัญ เรียกว่า รับขวัญ; ทําพิธี เช่น รดนํ้ามนตร์ให้ เสกเป่าให้ หรือกล่าวปลุกใจต่าง ๆ เพื่อให้ขวัญดีมีใจกล้าหาญ เรียกว่า บำรุงขวัญ; สิ่งของที่ให้แก่เจ้าของขวัญ เมื่อเสร็จพิธีทําขวัญแล้ว หรือสิ่งของที่ให้กันในเวลาอื่นเป็นการถนอมขวัญ หรือเพื่ออัธยาศัยไมตรี เรียกว่า ของขวัญ; ข้าวบายศรี เรียกว่า ข้าวขวัญ; ไข่ปอกที่เสียบไม้ปักไว้บนยอดบายศรี เรียกว่า ไข่ขวัญ, ไข่ข้าว ก็เรียก; ลูกคนที่รักมากที่สุด เรียกว่า ลูกขวัญ; ผู้ที่เป็นมิ่งขวัญอย่างยอดเยี่ยมหมายถึง หญิงที่รัก เรียกว่า จอมขวัญ; คำยกย่องเรียกภรรยาอันเป็นที่รักว่า เมียขวัญ; กําลังใจเสีย เรียกว่า เสียขวัญ.
  8. ข้าวใหม่ปลามัน : (สํา) น. อะไรที่เป็นของใหม่ก็ถือว่าดี, นิยมเรียก ช่วงเวลาที่สามีภรรยาเพิ่งแต่งงานกันใหม่ ๆ ว่า ระยะข้าวใหม่ปลามัน.
  9. ครอบครัว : [คฺรอบคฺรัว] น. สถาบันพื้นฐานของสังคมที่ประกอบด้วยสามีภรรยา และหมายความรวมถึงลูกด้วย.
  10. คฤหปัตนี : [คะรึหะปัดตะนี] (แบบ) น. หญิงที่เป็นเจ้าบ้าน, ภรรยาของ คฤหบดี, คหปตานี ก็ว่า. (ส. คฺฤหปตฺนี; ป. คหปตานี).
  11. คหปตานี : น. หญิงที่เป็นเจ้าบ้าน, ภรรยาของคหบดี, คฤหปัตนี ก็ว่า. (ป.).
  12. คุณนาย : น. คํายกย่อง ใช้เรียกภรรยาข้าราชการชั้นสัญญาบัตรที่ยัง มิได้เป็นคุณหญิง, ในปัจจุบันใช้เรียกยกย่องสตรีทั่ว ๆ ไปที่ผู้เรียกนับถือ.
  13. คุณหญิง : น. คํานําหน้าชื่อสตรีที่สมรสแล้วและได้รับพระราชทาน เครื่องราชอิสริยาภรณ์ตั้งแต่ชั้นจตุตถจุลจอมเกล้าถึงชั้นทุติยจุลจอมเกล้า; (โบ) คำนำหน้าชื่อสตรีที่เป็นเอกภรรยาของพระยา; (ปาก) คำที่ใช้เรียก หม่อมราชวงศ์ที่เป็นหญิง.
  14. คู่ชีวิต : น. ผู้ร่วมเป็นร่วมตาย, ผู้ร่วมทุกข์ร่วมสุข, สามีหรือภรรยา.
  15. คู่เวรคู่กรรม : น. สามีภรรยาที่ต้องทนอยู่ร่วมกันด้วยความทุกข์ความ เดือดร้อนโดยเชื่อกันว่าเป็นเพราะเวรกรรมที่เขาได้เคยกระทำร่วมกัน มาแต่ชาติก่อน.
  16. คู่สร้าง, คู่สร้างคู่สม : น. ชายหญิงที่ถือกันว่าเคยอยู่ร่วมเป็นสามีภรรยา กันมาแต่ชาติก่อน, ชายหญิงที่สมเป็นคู่ครองกัน, เนื้อคู่ ก็ว่า.
  17. ชายา ๑ : (ราชา) น. หม่อมเจ้าหญิงซึ่งเป็นภรรยาของพระราชวงศ์, ถ้าพระองค์เจ้าหญิงซึ่งเป็นภรรยาของพระราชวงศ์ เรียกว่า พระชายา.
  18. เถ้าแก่เนี้ย : น. เรียกหญิงจีนที่เป็นเจ้าของกิจการหรือเป็นภรรยาของเถ้าแก่.
  19. ท่านผู้หญิง : น. เดิมใช้เป็นคำนำหน้าชื่อสตรีที่เป็นภรรยาเอกของ เจ้าพระยาและเป็นผู้ที่ได้รับพระราชทานเครื่องยศท่านผู้หญิง, ปัจจุบันใช้เป็นคำนำหน้าชื่อสตรีที่สมรสแล้วและได้รับพระราชทาน เครื่องราชอิสริยาภรณ์จุลจอมเกล้าฝ่ายในชั้นทุติยจุลจอมเกล้าวิเศษ ขึ้นไป, ถ้ายังไม่ได้สมรสเรียกว่า คุณ.
  20. ท้ายครัว : (ปาก) ว. ทางภรรยา เช่น เข้าท้ายครัว หมายความว่า เข้าทางภรรยา.
  21. เทครัว : ก. ยกครอบครัวไป, กวาดครอบครัวไป; โดยปริยายเรียก ชายที่ได้หญิงเป็นภรรยาทั้งแม่ทั้งลูกหรือทั้งพี่ทั้งน้องว่า พระยาเทครัว.
  22. แท่ง : น. ลักษณะของสิ่งที่ตันและกลมยาวหรือแบนหนา เช่น แท่งทอง แท่งเหล็ก แท่งหิน, ลักษณนามเรียกของเช่นนั้น เช่น ชอล์กแท่งหนึ่ง ดินสอ ๒ แท่ง; เรียกชายที่หนุ่มแน่นยังไม่มีภรรยาว่า หนุ่มทั้งแท่ง.
  23. นหาดก : [นะหาดก] น. ผู้อาบแล้ว, ผู้ล้างแล้ว, คําบัญญัติในลัทธิพราหมณ์สําหรับ เรียกผู้ใหญ่ในวรรณะ เช่น พราหมณ์ผู้ได้กระทําพิธีอาบนํ้า ซึ่งจําต้อง กระทําเมื่อเสร็จกิจศึกษาจากสํานักอาจารย์ และตั้งต้นเป็น ผู้ครองเรือน คฤหัสถ์ คือ ผู้มีภรรยาและครอบครัว), ในพระพุทธศาสนา หมายเอา ท่านที่ชําระกิเลสมลทินสิ้นแล้ว. (ป. นหาตก; ส. สฺนาตก).
  24. นอกใจ : ว. ไม่ซื่อตรงต่อสามีหรือภรรยาด้วยการคบชู้สู่สาว.
  25. นาง ๑ : น. คําประกอบหน้าคําเพื่อแสดงว่าเป็นเพศหญิง เช่น นางฟ้า นางบําเรอ นางละคร นางพระกํานัล; คําแทนชื่อหญิง เช่น นางก็ร้อยพวงมาลัย; (กฎ) คํานําหน้าชื่อหญิงผู้มีสามีแล้ว, คํานําหน้าชื่อภรรยาที่เรียกตามราช ทินนามของสามีที่มีบรรดาศักดิ์ตํ่ากว่าพระยาลงมา; คำเรียกสัตว์ตัวเมีย โดยสุภาพ เช่น นางช้าง นางม้า; ชื่อหนึ่งของดาวฤกษ์เรวดี มี ๑๖ ดวง, ดาวปลาตะเพียน ก็เรียก.
  26. นางบำเรอ : น. หญิงที่ปรนเปรอเฉพาะชายคนใดคนหนึ่งในทางกามารมณ์ โดยมิได้อยู่ในฐานะภรรยา.
  27. นางห้าม : น. หญิงสามัญที่เป็นภรรยาของเจ้านายที่ไม่ใช่สะใภ้หลวง.
  28. ปเวณี : [ปะ-] น. ขนบธรรมเนียม, แบบแผน; เชื้อสาย, การเป็นสามีภรรยากัน ตามธรรมเนียม. (ป.; ส. ปฺรเวณิ).
  29. พระชายา : (ราชา) น. พระองค์เจ้าหญิงซึ่งเป็นภรรยาของพระราชวงศ์.
  30. พระยาเทครัว : (ปาก) น. ชายที่ได้หญิงเป็นภรรยาทั้งแม่ทั้งลูกหรือ ทั้งพี่ทั้งน้อง.
  31. แฟน : (ปาก) น. ผู้นิยมชมชอบ เช่น แฟนเพลง แฟนภาพยนตร์ แฟนมวย, ผู้เป็นที่ชอบพอรักใคร่, คู่รัก, สามีหรือภรรยา.
  32. ภริยา : [พะริ–] น. ภรรยา, เมีย, หญิงที่เป็นคู่ครองของชาย, คู่กับ สามี. (ป.; ส. ภารฺยา).
  33. เมีย : น. ภรรยา, หญิงที่เป็นคู่ครองของชาย, คู่กับ ผัว. ว. คําบอกเพศ หมายความว่า ตัวเมีย เช่น ไก่เมีย ม้าเมีย.
  34. เมียน้อย : (ปาก) น. หญิงที่ชายเลี้ยงดูอย่างภรรยา แต่ไม่มีศักดิ์ศรีเท่าเมียหลวง หรือไม่ได้จดทะเบียน.
  35. แม่บ้าน : น. ภรรยาของพ่อบ้าน, หญิงผู้จัดการงานในบ้านเป็นต้น, หญิงผู้จัดการงานธุรการในสถานที่เช่นโรงพยาบาลเป็นต้น, คู่กับ พ่อบ้าน.
  36. แม่สื่อแม่ชัก ไม่ได้เจ้าตัว เอาวัวพันหลัก : (สำ) น. หญิงที่ไปติดต่อระหว่างชายหญิง แต่ไม่สำเร็จในที่สุดก็ตกเป็นภรรยาของชายนั้นแทน.
  37. ล่มหัวจมท้าย : ก. ร่วมโชคชะตาเดียวกัน เช่น สามีภรรยาต้อง ล่มหัวจมท้ายด้วยกัน.
  38. ลิ้นกับฟัน : (สำ) น. การกระทบกระทั่งกันบ้างแต่ไม่รุนแรงของคน ที่ใกล้ชิดกัน เช่น ระหว่างสามีกับภรรยาหรือคนที่ทำงานร่วมกัน.
  39. เลี้ยงต้อย : ก. เลี้ยงมาตั้งแต่เล็กแต่น้อยจนเติบโตแล้วก็ยกฐานะขึ้น เป็นสามีหรือภรรยาของผู้เลี้ยงเอง.
  40. วัวพันหลัก : (สํา) ว. อาการที่วกหรือย้อนกลับไปหาจุดเริ่มต้น เช่น ให้การเป็นวัวพันหลัก, ลักษณะที่วกหรือย้อนกลับไปหาบุคคลที่ เป็นต้นตอผู้รับผิดชอบ (มักใช้ในทางชู้สาว) มาจากสำนวนเต็มว่า แม่สื่อแม่ชัก ไม่ได้เจ้าตัว เอาวัวพันหลัก หมายความว่า ชายที่ใช้แม่ สื่อไปติดต่อหญิงที่ตนชอบ แล้วไม่ได้ตัวหญิงคนนั้น เลยเอาแม่สื่อ นั้นเองเป็นภรรยา หรือผู้หญิงทำทีรับอาสาไปติดต่อหญิงคนใด คนหนึ่งให้แก่ชาย แต่ในที่สุดก็เอาตัวเองเข้าพัวพันจนได้ชายคน นั้นเป็นสามี.
  41. ว่าอะไรว่าตามกัน : (สำ) ก. ปรองดองกัน, ไม่ขัดคอกัน, พูดเต็มว่า ว่าอะไรว่าตามกัน ได้เงินหม้อทองหม้อ หมายความว่า ว่าอะไร ว่าตามกัน จะเกิดความเจริญมั่งคั่ง (มักใช้แก่คู่สามีภรรยา).
  42. วิสย, วิสัย : [วิสะยะ, วิไส] น. ความสามารถ เช่น อยู่ในวิสัยที่จะเลี้ยงดูบุตร ภรรยาได้ เป็นเรื่องเหลือวิสัยที่จะทำได้; ขอบ, เขต, เช่น คามวิสัย โคจรวิสัย อยู่ในทัศนวิสัย. (ป.).
  43. หนักนิดเบาหน่อย : ว. เกินพอดีไปบ้างหรือน้อยกว่าพอดีไปบ้าง เช่น เป็นสามีภรรยากัน หนักนิดเบาหน่อยก็ควรอภัยให้กัน.
  44. หนุ่มทั้งแท่งมากินแตงเถาตาย : (สำ) น. หนุ่มบริสุทธิ์ได้แม่ม่ายอายุมาก เป็นภรรยา.
  45. หม่อม : น. หญิงสามัญที่เป็นภรรยาของเจ้าฟ้า พระองค์เจ้า หรือหม่อมเจ้า, บุตร ชายหญิงของพระองค์เจ้าหรือหม่อมเจ้า, (โบ) เจ้าฟ้า พระองค์เจ้า หรือ หม่อมเจ้า ที่ต้องโทษถูกถอดจากบรรดาศักดิ์, คํานําหน้าชื่อราชนิกุล ราชินีกุลชั้นผู้ใหญ่ทั้งชายหญิงที่ไม่มีตําแหน่ง, คํานําหน้าชื่อหญิงสามัญ ซึ่งไม่มีบรรดาศักดิ์ได้เป็นภรรยาของเจ้าคุณราชพันธ์ในตระกูลบุนนาค ทั้ง ๓ ชั้น เช่น หม่อมปาน หม่อมรอด, คํานําหน้านามบุคคลที่เป็นผู้ดีมี ตระกูลทั้งชายหญิง เช่น เจ้าพระยาอรรคมหาเสนา สมัยธนบุรี เรียกว่า หม่อมบุนนาค.
  46. หลวง : ว. ที่เป็นของพระเจ้าแผ่นดิน เช่น ศาลหลวง วังหลวง; เป็นใหญ่ เช่น ภรรยาหลวง, ใหญ่ เช่น เขาหลวง ผึ้งหลวง; สาธารณะ เช่น ทางหลวง. น. บรรดาศักดิ์ข้าราชการ สูงกว่าขุน ต่ำกว่าพระ เช่น หลวงวิจิตรวาทการ; (ปาก) คําเรียกพระภิกษุโดยความเคารพ เช่น หลวงปู่ หลวงพี่ หลวงน้า, คําเรียกพระจีน พระญวน ว่า หลวงจีน หลวงญวน.
  47. หลังบ้าน : (ปาก) น. ภรรยาของผู้มีอำนาจในวงราชการบ้านเมือง.
  48. ห้าม : ก. ให้เว้นกระทํา, ไม่ให้ทําตามที่กําหนดไว้. น. เรียกภรรยาของเจ้านายที่ ไม่ใช่สะใภ้หลวง ว่า นางห้าม, เรียกหญิงสามัญที่เป็นเมียของเจ้านาย ว่า หม่อมห้าม.
  49. อ้อมกอด : น. วงแขนที่โอบรัดไว้ เช่น สามีโอบภรรยาไว้ในอ้อมกอด.
  50. อี ๑ : น. คําประกอบคําอื่นบอกให้รู้ว่าเป็นเพศหญิงหรือสัตว์ตัวเมีย เช่น อีสาว อีเหมียว, คําประกอบหน้าชื่อผู้หญิงที่มีฐานะตํ่ากว่า, คําใช้ ประกอบหน้าชื่อผู้หญิงแสดงความดูหมิ่นเหยียดหยาม, คําประกอบ คําบางคําที่ผู้ใหญ่ใช้เรียกเด็กผู้หญิงหรือผู้หญิงที่อายุน้อยกว่ามาก ด้วยความเอ็นดูหรือสนิทสนมเป็นกันเอง เช่น อีหนู, คําประกอบ หน้าคําบางคําเพื่อเน้น เช่น อีทีนี้จะเอาอะไรกินกันล่ะ อีตอนนั้น ไม่สบายเลยไม่ได้ไป, คําประกอบหน้าคําบางคําเพื่อเน้นในเชิง บริภาษ เช่น อีบ้า อีงั่ง อีควาย, คําใช้แทนสิ่งที่กล่าวถึงและเป็นที่ เข้าใจกัน เช่น เอาอีนี่ออกไปซิ, (โบ) คํานําหน้าชื่อผู้หญิงสามัญชน ทั่วไป เช่น อีอยู่อีคงทาษภรรยาพระเสนานน. (สามดวง), ถ้าใช้ใน ทางเสียหายโดยเฉพาะทางด้านชู้สาวมักใช้ว่า อี่ เช่น หย่างไอ้ดีบวด อยู่วัดโพเสพเมถุนธรรมด้วยอี่ทองมาก อี่เพียน อี่พิ่ม อี่บุนรอด อี่หนู อี่เขียว. (สามดวง).
  51. [1-50]

(0.0158 sec)