Dictionary : English, Thai, Pali. Link : Lexitron, RoyDict, BudDict, ETipitaka, PpmDict, Longdo.
Search: ภาคี , then ภาค, ภาคิ, ภาคี .

Royal Institute Thai-Thai Dict : ภาคี, 154 found, display 1-50
  1. ภาคี : น. ผู้มีส่วน, ผู้เป็นฝ่าย. (ป.; ส. ภาคินฺ).
  2. ภาค, ภาค– : [พาก, พากคะ–] น. ส่วน เช่น ภาคทฤษฎี ภาคปฏิบัติ, ฝ่าย เช่น ภาครัฐบาล ภาคเอกชน ภาคเหนือ ภาคใต้, บั้น, ตอน, เช่น หนังสือภูมิศาสตร์ ภาคต้น หนังสือประวัติศาสตร์ภาคปลาย พงศาวดารภาค ๑, คราว เช่น การศึกษา ภาคฤดูร้อน, ส่วนของประเทศที่แบ่งออกเป็นส่วนย่อยเพื่อสะดวกในด้าน การปกครอง การศึกษา การทหาร เป็นต้น เช่น เจ้าคณะภาค แม่ทัพภาค. (ป.).
  3. ภาคยานุวัติ : [พากคะยานุวัด] (การทูต) น. การเข้าเป็นภาคีในสัญญาหลายฝ่ายหรือ พหุภาคี หรือในสนธิสัญญาระหว่างชาติ. (อ. accession).
  4. ภาคทฤษฎี : น. ภาคที่เกี่ยวกับความคิดเห็นอันเนื่องด้วยหลักวิชา, คู่กับ ภาคปฏิบัติ.
  5. ภาคปฏิบัติ : น. ภาคลงมือทดลองทําจริง ๆ, คู่กับ ภาคทฤษฎี.
  6. ภาคพื้น : น. พื้นแผ่นดิน, แผ่นดินใหญ่ เช่น ภาคพื้นยุโรป ภาคพื้นเอเชีย.
  7. ภาคภูมิ : [พากพูม] ว. มีสง่า, ผึ่งผาย, เช่น เขาแต่งตัวภาคภูมิ ท่าทางเขาภาคภูมิ.
  8. ภาคภูมิใจ : ก. กระหยิ่มใจ, รู้สึกว่ามีเกียรติยศ, เช่น เขาภาคภูมิใจใน ความสำเร็จ.
  9. ภาคเรียน : น. ช่วงเวลาที่สถานศึกษาเปิดทําการสอนติดต่อกัน ตามปรกติ ปีการศึกษาหนึ่ง ๆ จะแบ่งออกเป็น ๒–๓ ภาคเรียน.
  10. ภาคสนาม : น. ภาคปฏิบัติ.
  11. ค่าภาคหลวง : (กฎ) น. ค่าสิทธิซึ่งกฎหมายกําหนดให้ผู้ได้รับอนุญาต ให้ทําการหาประโยชน์จากทรัพยากรของชาติต้องชําระให้แก่รัฐ เช่น ค่าภาคหลวงแร่ ค่าภาคหลวงไม้หวงห้าม.
  12. บรรพ, บรรพ- ๑ : [บับ, บับพะ-] น. ข้อ, ปล้อง, เล่ม, หมวด, ภาค, ตอน, กัณฑ์; ขั้น บันได; ระยะหรือเวลาที่กําหนด. (ป. ปพฺพ; ส. ปรฺวนฺ).
  13. แบ่งภาค : ก. แยกส่วนของร่างเดิมออกเป็นอีกร่างหนึ่งหรือหลาย ร่างโดยเอกเทศ เช่น พระนารายณ์แบ่งภาคมาเกิด, โดยปริยายเป็น คําเปรียบเทียบหมายถึงอาการคล้ายคลึงเช่นนั้น เช่น ใครจะแบ่ง ภาคไปทําได้ ไม่สามารถแบ่งภาคไปทําได้.
  14. เภท : น. การแบ่ง, การแตกแยก, การทำลาย, มักใช้เป็นส่วนท้ายของสมาส, เช่น สามัคคีเภท สังฆเภท; ส่วน, ภาค; ความแตกต่าง, ความแปลก; ชนิด, อย่าง. ก. แตก, หัก, ทําลาย, พัง. (ป., ส.).
  15. มหัพภาค : [มะหับพาก] น. เครื่องหมายวรรคตอนรูปดังนี้ .; ภาคใหญ่.
  16. อังส, อังสะ : [อังสะ] น. เรียกผ้าที่พระภิกษุสามเณรใช้ห้อยเฉวียงบ่าว่า ผ้าอังสะ; ส่วน, ภาค; ส่วนของมุม. (ป. อํส).
  17. ทิวสภาค : น. ส่วนของวัน. (ป.).
  18. บรรพภาค : (แบบ) น. ข้อมือ. (ส.).
  19. ปัจฉิมภาค : [ปัดฉิมมะพาก] น. ส่วนเบื้องปลาย.
  20. ศาลอุทธรณ์ภาค : (กฎ) ดู ศาลอุทธรณ์.
  21. อรรธภาค : [อัดทะพาก] น. ครึ่งหนึ่ง.
  22. อัปฏิภาค : [อับปะติพาก] ว. ไม่มีเปรียบ, เทียบไม่ได้. (ป. อปฺปฏิภาค).
  23. อุปริภาค : น. ส่วนบน, ข้างบน. (ป., ส.).
  24. บก : น. ส่วนของผิวพื้นโลกที่ไม่ใช่ทะเลหรือแม่นํ้าลําคลองเป็นต้น, ภาค พื้นดิน เช่น ทหารบก ทางบก, ที่ที่แห้ง, ที่ที่พ้นจากนํ้า, เช่น ขึ้นบก
  25. กระจอนหู : (ถิ่น) น. ตุ้มหู. (ลัทธิ. ภาค ๑๘ ตอน ๑).
  26. กระชอก : (โบ; กลอน) ก. กระฉอก เช่น กระชอกชอกชล กระมลมลมาลย์. (ประชุมหนังสือเก่า ภาค ๒). (ไทยเหนือ ซอก ว่า ตำ, กระทุ้ง).
  27. กระผีก : น. มาตราตวง มีพิกัดเท่ากับ ๑ ภาค (คือ ๑ ใน ๔) ของกระเพาะ. ว. เล็กน้อย.
  28. กระหยัง : (ถิ่น-อีสาน) น. สมุกใส่เครื่องนุ่งห่ม. (ลัทธิ. ภาค ๑๘ ตอน ๑); ภาชนะชนิดหนึ่งคล้ายตะกร้าสําหรับใส่ของ.
  29. จีโบ : น. หมวกโบราณชนิดหนึ่ง ทําด้วยขนสัตว์ ข้าง ๆ ยาวลงมาปกหูกัน ความหนาว เวลาไม่ใช้ม้วนขึ้น. (ประชุมพงศ. ภาค ๕๐); ชื่อเครื่อง ถ้วยชาชุดชนิดหนึ่ง. (รูปภาพ หมวกจีโบ)
  30. ห้อม ๑ : ก. แวดล้อม ในคำว่า แห่ห้อม; (โบ) ระวังรักษา เช่น คนผู้ดังนี้ คือว่า พระราชภักดีจักช่อยห้อมบ้านห้อมเมือง (จารึกหลักที่ ๓๘ ประชุมพงศ. ภาค ๓).
  31. กรรมการก : [กํามะ-] (ไว) น. ผู้ถูกทํา เป็นส่วนสําคัญส่วนหนึ่ง ใน ๓ ส่วนของประโยคที่กริยาต้องมีกรรมรับ เช่น ตํารวจยิงผู้ร้าย ผู้ร้าย เป็น กรรมการก ถ้าต้องการให้ผู้ถูกทําเด่น ก็เรียงเป็นภาค ประธานของประโยค เช่น ผู้ร้ายถูกตํารวจยิง.
  32. กระโจม ๑ : น. สิ่งที่ตามปรกติมียอดเป็นลอมอย่างซุ้ม ใช้เป็นเครื่องกําบังแดดลม เป็นต้น, โดยปริยายหมายถึง (๑) สิ่งที่รวมกันเข้าเป็นลอม เช่น กระโจมปืน. (๒) สิ่งที่ผูกรวบยอดให้รวมกัน เช่น ปากผูกกระโจม. (๓) ผ้าที่ทําเป็นลอมเพื่อเข้าไปอยู่ให้เหงื่อออก เช่น เข้ากระโจม; กูบที่มีด้านเปิดโล่ง ๔ ด้าน, โจม ก็ว่า; (ถิ่น) เครื่องสวมศีรษะอย่างหนึ่ง เช่น กระจอนหูแปงประดับแก้วเครื่องเลิศอุดมกระโจมคำสุบเก้าเกษ. (ม. ภาคอีสาน นครกัณฑ์).
  33. กระดูกค่าง : น. ชื่อไม้ต้นชนิด Diospyros undulata Wall. ex G. Don var. cratericalyx (Craib) Bakh. ในวงศ์ Ebenaceae ขึ้นในป่าดิบ มีมากทางภาคใต้ สูงได้ถึง ๒๐ เมตร ไม่ผลัดใบ, จะเพลิง ชะเพลิง คําดีควาย ดูกค่าง ตะโกดํา พลับเขา ไหม้ หม้าย หรือ สะลาง ก็เรียก.
  34. กระหน่อง ๒ : (ถิ่น-อีสาน) น. อวัยวะส่วนหลังของลำแข้ง ตั้งแต่ขาพับลงไป ถึงส้นเท้า เช่น ตัวหนึ่งกัดเอ็นกระหน่อง. (ม. ภาคอีสาน ชูชก), กระน่อง ขะน่อง หรือ ขาน่อง ก็เรียก.
  35. กระอาน : (ถิ่น-ปักษ์ใต้) น. ชื่อเต่าน้ำกร่อยชนิด Batagur baska ในวงศ์ Emydidae สามารถปรับตัวอยู่ในน้ำจืดได้ พบเฉพาะทางภาคใต้, กะอาน ก็เรียก.
  36. กวน ๑ : (ถิ่น-อีสาน) (ปาก) น. กวาน, ชื่อตําแหน่งขุนนางในภาคอีสาน สมัยโบราณ แต่ชาวอีสานบางถิ่นออกเสียงเป็น กวน เช่น บ้านเมืองข้อนขุนกวน ยาดไพร่.
  37. กอและ ๑ : (ถิ่น-ปักษ์ใต้) น. ชื่อเรือประมงตามชายฝั่งทะเลทางภาคใต้ รูปร่างยาวเพรียว หัวและท้ายเรือแหลมสูง เขียนลวดลาย สีสันต่าง ๆ ไว้อย่างสวยงาม.
  38. กะโซ่, กะโซ้ ๑ : น. เผ่าข่าโซ้ เป็นชาวป่าทางภาคอีสานของไทย มีลักษณะคล้ายเขมร. (วิทยาจารย์).
  39. กะทอ : น. ภาชนะสานด้วยไม้ไผ่ตาโปร่งอย่างชะลอม รูปร่างเป็นกระบอก สําหรับใส่เสื้อผ้าและของอื่น ๆ ใช้กันมากในภาคอีสาน.
  40. กะลุมพี : น. ชื่อปาล์มชนิด Eleiodoxa conferta (Griff.) Burr. ในวงศ์ Palmae ขึ้นเป็นกอในป่าพรุและที่ชื้นแฉะทางภาคใต้ ผลเป็นช่อใหญ่และแน่น ปลายผลตัด ผิวเหลืองเกลี้ยงเป็นมัน ไม่มีหนาม เยื่อหุ้มเมล็ดขาว รสเปรี้ยว ๆ ฝาด ๆ กินได้ ยางในลําต้นเหนียวใช้ติดกระดาษแทน กาวได้, ลุมพี ก็เรียก, ปักษ์ใต้เรียก หลุมพี. (มลายู ว่า กะลุมปี).
  41. กะโล่ : น. ภาชนะสานของโบราณ ทารัก รูปแป้น ปากคลุ่ม ใช้ใส่ของมีเครื่องตัดผมเป็นต้น; ภาชนะสานคล้ายกระด้ง มีหลายขนาด แต่ชนิดที่ทาชันเพื่อไม่ให้น้ารั่วออก สําหรับหมักขี้ไต้นั้น มีขนาดใหญ่กว่ากระด้งมาก; เรียกสีหน้าที่แสดงความดีใจหรือภาคภูมิใจมากว่า หน้าบานเป็นกะโล่; ชื่อหมวกกันแดดชนิดหนึ่ง ทรงคลุ่ม มีปีกแข็งโดยรอบ โครงทําด้วยไม้ฉําฉาหรือไม้ก๊อกเป็นต้น แล้วหุ้มผ้าหรือทําด้วยใบลาน เรียกว่า หมวกกะโล่. (รูปภาพ กะโล่)
  42. กัลปพฤกษ์ : [กันละปะพฺรึก] น. ชื่อไม้ต้นชนิด Cassia bakeriana Craib ในวงศ์ Leguminosae มีมากทางภาคอีสานและภาคเหนือ ดอกสีชมพูอ่อนออกเป็นช่อในระหว่างทิ้งใบหรือผลิใบใหม่ ฝักมีขนนุ่ม.
  43. กาซะลองคำ : น. ชื่อไม้ต้นชนิด Radermachera ignea (Kurz) Steenis ในวงศ์ Bignoniaceae ชอบขึ้นตามที่ค่อนข้างชุ่มชื้น ทางภาคเหนือ เปลือกเรียบสีเทา ดอกสีเหลืองทอง, อ้อยช้าง ก็เรียก.
  44. กาฐ : [กาด] (แบบ) น. ไม้ฟืน เช่น คือโกยกาฐอันกองแลนองธรณิภาค กลาดกล่นถกลหลาก อนันต์. (สรรพสิทธิ์), กาษฐะ ก็ใช้. (ป. กฏฺ?; ส. กาษฺ?).
  45. กานท, กานท์ : (โบ) น. บทกลอน เช่น สารสยามภาคพร้อง กลกานท นี้ฤๅ. (ยวนพ่าย).
  46. กุบ : น. ซองหนังชนิดหนึ่ง เมื่อตัดทองคําใบชิ้นสี่เหลี่ยมเล็ก ๆ สอดในกระดาษแก้วหนาแผ่นเล็กซ้อนกันเป็นตั้งแล้วใส่ใน ซองหนังนั้น ตีซองแผ่ทองคำให้บางออกไป; ชาวภาคพายัพบางถิ่น และพวกเงี้ยวเรียกหมวกชนิดต่าง ๆ ว่า กุบ; (ถิ่น-ปักษ์ใต้) กลัก, กล่อง.
  47. แกรไฟต์ : [แกฺร-] น. อัญรูปหนึ่งของธาตุคาร์บอน ชื่อสามัญเรียกว่า พลัมเบโก (plumbago) หรือแร่ดินสอดํา ลักษณะเป็นของแข็ง มีรูปผลึกเป็นแผ่นบาง ๆ ทึบแสง อ่อนนุ่ม สีเทาเข้มถึงดํา เนื้ออ่อน เป็นตัวนําความร้อนและไฟฟ้าได้ดี มักใช้ทําไส้ดินสอดํา เบ้าหลอมโลหะ น้ามันหล่อลื่นบางชนิด ไส้ถ่านไฟฉาย ไส้ไฟอาร์ก ใช้เป็นตัวลดความเร็วช่วยควบคุมจํานวนอนุภาคนิวตรอนใน เครื่องปฏิกรณ์นิวเคลียร์. (อ. graphite).
  48. ขลาย : [ขฺลาย] น. ชื่อไม้ต้นขนาดย่อมถึงขนาดกลาง ขึ้นอยู่ตามป่าตํ่าทาง ภาคกลางของไทย ไม้ใช้ทําฟืนกันมาก เช่น คุดคุยขลู่ขลาย. (สมุทรโฆษ).
  49. ขัณฑ- : [ขันทะ-] น. ภาค, ตอน, ท่อน, ส่วน, ก้อน, ชิ้น. (ป., ส. ขณฺฑ).
  50. ข้าวบาร์เลย์ : น. ชื่อไม้ล้มลุกชนิด Hordeum vulgare L. ในวงศ์ Gramineae เป็นพรรณไม้ต่างประเทศ ปลูกกันบ้างในภาคเหนือ เมล็ดใช้ในอุตสาหกรรมผลิตเบียร์ และเป็นอาหารสัตว์. (อ. barley).
  51. [1-50] | 51-100 | 101-150 | 151-154

(0.0632 sec)