Dictionary : English, Thai, Pali. Link : Lexitron, RoyDict, BudDict, ETipitaka, PpmDict, Longdo.
Search: ภาระหน้าที่, หน้าที่, ภาระ , then ภาร, ภารหนาท, ภาระ, ภาระหน้าที่, ภารา, หนาท, หน้าที่ .

Royal Institute Thai-Thai Dict : ภาระหน้าที่, 376 found, display 1-50
  1. หน้าที่ : น. กิจที่จะต้องทําด้วยความรับผิดชอบ.
  2. ภาร, ภาร–, ภาระ : [พาน, พาระ–] น. ของหนัก, นํ้าหนัก; ธุระที่หนัก, การงานที่หนัก; หน้าที่ ที่ต้องรับผิดชอบ เช่น พ่อแม่มีภาระในการเลี้ยงดูลูก ครูมีภาระในการ อบรมสั่งสอนศิษย์, ความรับผิดชอบ เช่น พ่อแม่ตายหมด พี่ต้องรับภาระ ส่งเสียเลี้ยงดูน้อง. ว. หนัก. (ป.).
  3. ภาระ ๒, ภารา ๑ : น. ชื่อมาตราชั่งนํ้าหนักมคธ ๒๐ ตุลา เป็น ๑ ภาระ. (ส. ภาร).
  4. ภาระ : ดู ภาร, ภาร–.
  5. หน้าที่นั่ง, หน้าฉาน : น. ที่เฉพาะพระพักตร์พระเจ้าอยู่หัวหรือพระราชินี เช่น แสดงหน้าที่นั่ง อย่าเดินตัดหน้าฉาน.
  6. ภาระจำยอม : (กฎ) น. ข้อผูกพันอันเป็นเหตุให้เจ้าของอสังหาริมทรัพย์ จําต้องยอมรับกรรมบางอย่างซึ่งกระทบถึงทรัพย์สินของตน หรือต้อง งดเว้นการใช้สิทธิบางอย่างอันมีอยู่ในกรรมสิทธิ์ทรัพย์สินนั้น เพื่อ ประโยชน์แก่อสังหาริมทรัพย์อื่น เช่น ทางภาระจํายอม.
  7. ภาระติดพัน : น. ความผูกพันที่จะต้องกระทําการอย่างใดอย่างหนึ่ง.
  8. ตกหนัก : ก. รับทุกข์, รับเคราะห์, รับภาระหรือหน้าที่หนัก.
  9. กงการ : (ปาก) น. กิจการ, หน้าที่, ธุระ, เช่น กงการอะไรของคุณ ไม่ใช่กงการของฉัน.
  10. การ ๑ : น. งาน, สิ่งหรือเรื่องที่ทํา, มักใช้เข้าคู่กับคํา งาน เช่น การงาน เป็นการเป็นงาน ได้การได้งาน, ถ้าอยู่หน้านาม หมายความว่า เรื่อง, ธุระ, หน้าที่, เช่น การบ้าน การครัว การคลัง การเมือง, ถ้าอยู่หน้ากริยา ทํากริยาให้เป็นนาม เช่น การกิน การเดิน.
  11. เจ้าหน้าที่ : น. ผู้มีหน้าที่, ผู้ปฏิบัติหน้าที่.
  12. หน้าฉาน, หน้าที่นั่ง : น. ที่เฉพาะพระพักตร์พระเจ้าอยู่หัวหรือพระราชินี เช่น อย่าเดินตัดหน้าฉาน แสดงหน้าที่นั่ง.
  13. ปัพภาระ : น. เงื้อมเขา. (ป.).
  14. พนักงานเจ้าหน้าที่ : (กฎ) น. บุคคลผู้มีหน้าที่ปฏิบัติการตามที่ กฎหมายกําหนด.
  15. สกฏภาระ : [พาระ] น. ของบรรทุกเกวียน.
  16. อังสภาระ : น. ของแบก.
  17. วัตร, วัตร : [วัด, วัดตฺระ] น. กิจพึงกระทํา เช่น ทำวัตรเช้า ทำวัตรเย็น, หน้าที่ เช่น ข้อวัตรปฏิบัติ, ธรรมเนียม เช่น ศีลาจารวัตร; ความประพฤติ เช่น พระราชจริยวัตร, การปฏิบัติ เช่น ธุดงควัตรอุปัชฌายวัตร, การจำศีล. (ป. วตฺต; ส. วฺฤตฺต).
  18. นักงาน : (กลอน; ตัดมาจาก พนักงาน) น. หน้าที่ เช่น อันการสงครามครั้งนี้ ไว้นักงานพี่จะช่วยหัก. (รามเกียรติ์ ร. ๑).
  19. พนักงาน : น. หน้าที่ เช่น เรื่องนี้เป็นพนักงานของฉัน; ผู้มีหน้าที่ปฏิบัติงาน เช่น พนักงานรัฐวิสาหกิจ.
  20. มรดก : [มอระ-] น. สิ่งที่ตกทอดมาจากบรรพบุรุษหรือที่สืบทอดมาแต่บรรพกาล; (กฎ) ทรัพย์สินทุกชนิด ตลอดทั้งสิทธิ หน้าที่ และความรับผิดต่าง ๆ ของผู้ตาย เว้นแต่ตามกฎหมายหรือโดยสภาพแล้ว เป็นการเฉพาะตัวของผู้ตาย เรียกรวม ๆ ว่า กองมรดก.
  21. รายงานตัว : ก. รายงานต่อผู้บังคับบัญชาตามแบบพิธี โดยบอกชื่อ นามสกุล ยศ ตำแหน่ง หน้าที่ และภารกิจที่ต้องรับผิดชอบ.
  22. ทำงน : ก. ห่วงใย, ยุ่งใจ. น. ภาระ. (ข. ทํงน่ ว่า หนัก).
  23. บัญชา : น. คําสั่งของผู้มีอํานาจบังคับในการปกครอง. ก. สั่งการตามอํานาจ หน้าที่.
  24. บัล : (แบบ) น. ชื่อมาตรานํ้าหนักมคธ ๑๐ บัล เป็น ๑ ตุลา, ๒๐ ตุลา เป็น ๑ ภาระ. (ป., ส. ปล).
  25. ปละ ๑ : [ปะละ] น. ชื่อมาตรานํ้าหนักมคธ ๑๐๐ ปละ เป็น ๑ ตุลา, ๒๐ ตุลา เป็น ๑ ภาระ. (ป., ส.).
  26. ฤณ : [ริน] น. หนี้, หนี้สิน; ภาระ. (ส.; ป. อิณ).
  27. ภารยทรัพย์ : [พาระยะซับ] (กฎ) น. อสังหาริมทรัพย์ที่ผู้เป็นเจ้าของจะต้องรับภาระ บางอย่างที่เกิดจากภาระจํายอม, คู่กับ สามยทรัพย์.
  28. การย์ : [กาน] (แบบ) น. หน้าที่, กิจ, ธุระ, งาน. (ส.).
  29. ประจำการ : ว. อยู่ในตําแหน่งหน้าที่ประจํา, ยังอยู่ในระหว่างปฏิบัติ หน้าที่, เช่น ทหารประจําการ.
  30. กงสุล : (กฎ) น. ชื่อตําแหน่งของบุคคลซึ่งรัฐบาลของประเทศหนึ่งแต่งตั้ง ให้เป็นผู้แทนประจําอยู่ในเมืองต่าง ๆ ของอีกประเทศหนึ่ง เพื่อทํา หน้าที่ช่วยเหลือคนชาติของประเทศผู้แต่งตั้งกงสุลที่ไปอยู่ในเมือง ต่างประเทศนั้น ๆ และเพื่อดูแลผลประโยชน์ทั่วไปของประเทศ ผู้แต่งตั้ง โดยเฉพาะอย่างยิ่งในด้านการพาณิชย์ กงสุล มี ๒ ประเภท คือ (๑) กงสุลโดยอาชีพ ได้แก่ ผู้ที่เป็นข้าราชการของ ประเทศผู้แต่งตั้ง และ (๒) กงสุลกิตติมศักดิ์ได้แก่ ผู้ได้รับแต่งตั้ง ซึ่งมิใช่ข้าราชการและไม่ได้รับเงินเดือน ซึ่งอาจเป็นคนชาติของ ประเทศผู้แต่งตั้ง หรือคนชาติอื่นก็ได้ กงสุลที่มีตําแหน่งเป็นหัวหน้า สถานกงสุลมี ๔ ระดับ คือ กงสุลใหญ่ กงสุล รองกงสุล และตัวแทน ฝ่ายกงสุล. ว. เกี่ยวกับกงสุล เช่น สถานกงสุล เขตกงสุล พนักงาน ฝ่ายกงสุล. (ฝ. consul).
  31. กฎบัตร : (กฎ) น. ตราสารที่จัดตั้ง จัดระเบียบ และกําหนด อํานาจหน้าที่ขององค์การ.
  32. กฎหมายแพ่ง : (กฎ) น. กฎหมายที่วางระเบียบความเกี่ยวพัน ระหว่างบุคคลเกี่ยวกับสถานภาพ สิทธิ และหน้าที่ของบุคคล ตามกฎหมาย เช่น กฎหมายว่าด้วยนิติกรรม ละเมิดทรัพย์สิน ครอบครัว มรดก. (อ. civil law).
  33. กฎหมายเอกชน : (กฎ) น. กฎหมายที่วางระเบียบความเกี่ยวพัน ระหว่างเอกชนหรือระหว่างเอกชนกับรัฐ ในฐานะที่รัฐดำเนินการ อย่างเอกชนเกี่ยวกับสถานภาพของบุคคลตามกฎหมาย สิทธิและ หน้าที่ของเอกชน รวมทั้งวางระเบียบเกี่ยวกับทรัพย์สินของเอกชน เช่น กฎหมายแพ่ง กฎหมายพาณิชย์. (อ. private law).
  34. กฎอัยการศึก : (กฎ) น. กฎหมายซึ่งได้ตราขึ้นไว้สําหรับประกาศใช้ เมื่อมีเหตุจําเป็น เพื่อรักษาความสงบเรียบร้อยในบ้านเมือง เช่น ในกรณีเกิดสงคราม การจลาจล ในเขตที่ประกาศใช้กฎอัยการศึก เจ้าหน้าที่ฝ่ายทหารมีอํานาจหน้าที่เหนือเจ้าหน้าที่ฝ่ายพลเรือน ในส่วนที่เกี่ยวกับการยุทธ์ การระงับปราบปราม หรือการรักษา ความสงบเรียบร้อย และศาลทหารมีอํานาจพิจารณาพิพากษา คดีอาญาบางอย่างที่ประกาศระบุไว้แทนศาลพลเรือน.
  35. กบ ๘ : น. สลักไม้ที่ใส่ไว้ด้านในส่วนล่างตอนกลางของบานหน้าต่าง หรือประตู ทําหน้าที่คล้ายกลอน เมื่อปิดหน้าต่างหรือประตู ใช้กบนี้สอดเข้าในช่องเจาะตัวไม้ธรณี.
  36. กรณียกิจ : น. กิจที่พึงทำ, หน้าที่อันพึงทํา.
  37. กรมการนอกทำเนียบ : (กฎ; โบ) น. กรมการเมืองพวกหนึ่ง เป็นตำแหน่งกิตติมศักดิ์ ทำหน้าที่ให้คำปรึกษาแก่ผู้ว่าราชการเมือง ในการบริหารราชการในเมืองนั้น ๆ แต่งตั้งจากบุคคลผู้ทรงคุณวุฒิ หรือคหบดีในเมืองนั้น ๆ โดยไม่จำกัดจำนวน และถือว่าเป็น กรมการชั้นผู้ใหญ่, กรมการพิเศษ ก็ว่า.
  38. กรมการพิเศษ : (กฎ; โบ) น. กรมการเมืองพวกหนึ่ง เป็น ตำแหน่งกิตติมศักดิ์ ทำหน้าที่ให้คำปรึกษาแก่ผู้ว่าราชการ เมืองในการบริหารราชการในเมืองนั้น ๆ แต่งตั้งจาก บุคคลผู้ทรงคุณวุฒิหรือคหบดีในเมืองนั้น ๆ โดยไม่จำกัดจำนวน และถือว่าเป็นกรมการชั้นผู้ใหญ่, กรมการนอกทำเนียบ ก็ว่า.
  39. กรมธรรม์ประกันภัย : (กฎ) น. ตราสารที่มีลายมือชื่อของ ผู้รับประกันภัยและมีรายการแสดงวัตถุที่เอาประกันภัย จำนวนงินเอาประกันภัย ชื่อผู้เอาประกันภัย ชื่อผู้รับประกันภัย วันที่สัญญาเริ่มต้นและสิ้นสุด และอื่น ๆ ตามที่กฎหมายบังคับ ตลอดจนเงื่อนไขเกี่ยวกับประโยชน์ สิทธิ และหน้าที่ของ ผู้เอาประกันภัย และผู้รับประกันภัย, มักเรียกสั้น ๆ ว่า กรมธรรม์. (อ. policy of insurance).
  40. กรรแซง : [กัน-] (เลิก) น. กองทําหน้าที่แซงในกระบวนพยุหยาตรา เพื่อป้องกันจอมทัพ, คู่กันกับ กรรแทรก คือ กองทําหน้าที่ แทรกเพื่อป้องกันจอมทัพ. (ดู กันแซง ที่ กัน๓).
  41. กรรตุวาจก : [กัดตุ-] (ไว) ก. กริยาที่บอกว่าประธานเป็นกรรตุการก คือผู้ทำหรือผู้ใช้ให้ทำ, เช่น กริยาของประโยคที่แสดงว่าประธานทํา หน้าที่เป็นกรรตุการกคือเป็นผู้ทําหรือผู้ใช้ให้ทํา เช่น ครูเขียนหนังสือ (ประธานเป็นผู้ทํา) ครูให้นักเรียนเขียนหนังสือ (ประธานเป็นผู้ใช้ให้ทํา). (ป., ส. วาจก ว่า ผู้กล่าว).
  42. กรรแทรก : [กันแซก] (เลิก) น. กองทําหน้าที่แทรกในกระบวนพยุหยาตรา เพื่อป้องกันจอมทัพ, คู่กันกับ กรรแซง คือ กองทำหน้าที่แซงเพื่อ ป้องกันจอมทัพ. (ดู กันแทรก ที่ กัน๓).
  43. กรรมวาจก : [กํามะ-] (ไว) ก. กริยาที่บอกว่าประธานเป็นกรรมการก หรือผู้ถูกทํา, กริยาของประโยคที่แสดงว่าประธานทําหน้าที่เป็น กรรมการก คือ ผู้ถูกทํา, กริยาของประโยคกรรมวาจกต้องใช้ สกรรมกริยา คือ กริยาที่ต้องมีกรรมรับ บางทีก็มีกริยานุเคราะห์ ''ถูก'' นำ และใช้หมายไปในทางไม่ดี เช่น เด็กถูกตี ผู้ทำความผิด ถูกลงโทษ, แต่บางทีก็ไม่ปรากฏกริยานุเคราะห์ ''ถูก'' เช่น หนังสือ เล่มนี้แต่งดีมาก.
  44. กรรมสัมปาทิก : [กํามะสําปาทิก] น. ผู้ยังการงานให้ถึงพร้อม; (กฎ; เลิก) บุคคลที่ได้รับเลือกหรือแต่งตั้งให้ทําหน้าที่กรรมการ ของสมาคม. (ส. กรฺม + สมฺปาทิก = ผู้ให้ถึงพร้อม).
  45. กรรมาธิการ : [กํา-] น. บุคคลที่สภาผู้แทนราษฎรหรือวุฒิสภาเลือกและตั้ง เป็นคณะกรรมาธิการ เพื่อกระทำกิจการ พิจารณาสอบสวน หรือศึกษาเรื่องใด ๆ อันอยู่ในอำนาจหน้าที่ของแต่ละสภา แล้วรายงานต่อสภาคณะกรรมาธิการมี ๒ ประเภท คือ คณะกรรมาธิการสามัญ และคณะกรรมาธิการวิสามัญ คณะกรรมาธิการสามัญประกอบด้วยบุคคลซึ่งเป็นสมาชิก ของสภาล้วน ๆ คณะกรรมาธิการวิสามัญประกอบด้วยบุคคล ผู้เป็นสมาชิกและบุคคลที่มิได้เป็นสมาชิกของสภารวมกัน หรือ บุคคลที่มิได้เป็นสมาชิกของสภาทั้งหมดที่สภาเลือกและตั้งเป็น คณะกรรมาธิการวิสามัญ.
  46. กระดูกสันหลัง : น. กระดูกที่อยู่ในแนวกึ่งกลางทางด้านหลังของ ลําตัว เป็นแกนของร่างกาย มีลักษณะเป็นข้อ ๆ ต่อกันเป็นแนวตั้งแต่ บริเวณคอต่อจนถึงบริเวณด้านหลังของทวารหนัก ทําหน้าที่ป้องกัน อันตรายให้แก่ไขสันหลัง, โดยปริยายหมายถึงส่วนที่สําคัญ, ส่วนที่เป็นพลังค้าจุน, เช่น ชาวนาเป็นกระดูกสันหลังของชาติ.
  47. กระแตไต่ไม้ ๒ : น. ชื่อเฟินอิงอาศัยชนิด Drynaria quercifolia (L.) J. Smith ในวงศ์ Polypodiaceae ขึ้นเกาะตามต้นไม้ใหญ่ในป่าที่ชุ่มชื้น เหง้ามีขนเป็นปุยสีน้ำตาลแก่คล้ายกระแต ใบมี ๒ ชนิด คือใบสร้างอับสปอร์ ยาวประมาณ ๑ เมตร เว้าเป็นแฉกลึก เกือบถึงเส้นกลางใบ และมีอับสปอร์เป็นจุด ๆ สีน้ำตาล เข้มใต้ใบ ใบไม่สร้างอับสปอร์ ขนาดประมาณฝ่ามือ ขอบจักหยาบ ๆ สีน้ำตาล แข็งติดอยู่กับเหง้าจนผุ ไม่หล่นเหมือนใบสร้างอับสปอร์ ทําหน้าที่กักปุ๋ย, กระปรอกว่าว ใบหูช้าง สไบนาง สะโมง หรือ หัวว่าว ก็เรียก.
  48. กรุ ๑ : [กฺรุ] น. ห้องที่ทําไว้ใต้ดิน ใต้พระเจดีย์ เป็นต้น สำหรับเก็บพระพุทธรูปและสิ่งอื่น ๆ,โดยปริยาย หมายถึงกระทรวง ทบวง กรม ที่ข้าราชการใน สังกัดถูกเรียกตัวเข้ามาอยู่ประจำโดยมิได้มี ตำแหน่งหน้าที่ใด ๆ เพื่อเป็นการลงโทษหรือ ก่อนเกษียณอายุราชการ ในความว่า เรียกเก็บเข้ากรุ.
  49. กรุงเขมา : หมายถึงกระทรวง ทบวง กรม ที่ข้าราชการใน สังกัดถูกเรียกตัวเข้ามาอยู่ประจำโดยมิได้มี ตำแหน่งหน้าที่ใด ๆ เพื่อเป็นการลงโทษหรือ ก่อนเกษียณอายุราชการ ในความว่า เรียกเก็บเข้ากรุ. [กฺรุ] ก. ปิดกันช่องโหว่หรือที่ว่าง เช่น กรุฝา, รองไว้ข้างล่าง เช่น กรุก้นชะลอม, ปิดกั้น เช่น กรุบ่อ, กรองกรุฉลุกรเม็ด ช่อช้อย. (เพชรมงกุฎ). น. เรียกบ่อซึ่งมีสิ่งรองไว้ที่ก้นว่า บ่อกรุ หรือ กรุ. [กฺรุก] ก. ขลุก, ขลุกขลุ่ย, ง่วนอยู่, เช่น พรรษาหนึ่งสองพรรษาไม่ผาสุก เข้าบ้านกรุกเลยลาสิกขาบท. (นิ. เดือน). ว. เสียงดังกุก เช่น ได้ยินเสียงกรุกลุกขึ้นมอง. (คาวี).
  50. กลไก : [กน-] น. ตัวจักรต่าง ๆ, โดยปริยายหมายความว่า บุคคลผู้เป็นเจ้าหน้าที่ปฏิบัติงานในระดับ ต่าง ๆ, ระบบหรือองค์การ ที่บุคคลผู้เป็นเจ้าหน้าที่ในระดับต่าง ๆ ปฏิบัติงานร่วมกันดุจเครื่องจักร, ระบบที่จะให้งานสําเร็จตามประสงค์, เช่น กลไกการปกครอง; (วิทยา) กระบวนการต่อเนื่องที่ก่อให้เกิดปฏิกิริยา เช่น กลไก การย่อยอาหาร กลไกของการสร้างอาหารของพืชโดยการ สังเคราะห์ด้วยแสง. (อ. mechanism).
  51. [1-50] | 51-100 | 101-150 | 151-200 | 201-250 | 251-300 | 301-350 | 351-376

(0.1530 sec)