Dictionary : English, Thai, Pali. Link : Lexitron, RoyDict, BudDict, ETipitaka, PpmDict, Longdo.
Search: ภาษา , then ภาษ, ภาษา, ภาสา .

Budhism Thai-Thai Dict : ภาษา, 80 found, display 1-50
  1. ภาษา : เสียงหรือกิริยาอาการซึ่งทำความเข้าใจซึ่งกันและกันได้, ถ้อยคำที่ใช้พูดจากัน, คำพูด
  2. ภาษามคธ : ภาษาที่ใช้พูดในแคว้นมคธ, ภาษาของชาวแคว้นมคธ หมายถึง ภาษาบาลี
  3. มคธภาษา : ภาษาของชนชาวมคธ, ภาษาของชนผู้อยู่ในแคว้นมคธ
  4. ปฏิสัมภิทา : ความแตกฉาน, ความรู้แตกฉาน, ปัญญาแตกฉาน มี ๔ คือ ๑.อัตถปฏิสัมภิทา ปัญญาแตกฉานในอรรถ ๒.ธัมมปฏิสัมภิทา ปัญญาแตกฉานในธรรม ๓.นิรุตติปฏิสัมภิทา ปัญญาแตกฉานในนิรุกติ คือ ภาษา ๔.ปฏิภาณปฏิสัมภิทา ปัญญาแตกฉานในปฏิภาณ
  5. กามารมณ์ : 1.อารมณ์ที่น่าใคร่ น่าปรารถนา หมายถึง รูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ ได้แก่กามคุณ ๕ นั่นเอง 2.ภาษาไทย มักหมายถึงความรู้สึกทางกาม
  6. กิริยากิตก์ : เป็นชื่อกิริยาศัพท์ประเภทหนึ่งในภาษาบาลี ใช้เป็นกิริยาสำคัญในประโยคบ้าง ใช้เป็นกิริยาในระหว่างของประโยคบ้าง และใช้เป็นคุณบทบ้าง เช่น ปรินิพฺพุโต (ดับรอบแล้ว) ปพฺพชิตฺวา (บวชแล้ว) เป็นต้น
  7. กิริยากิตกะ : เป็นชื่อกิริยาศัพท์ประเภทหนึ่งในภาษาบาลี ใช้เป็นกิริยาสำคัญในประโยคบ้าง ใช้เป็นกิริยาในระหว่างของประโยคบ้าง และใช้เป็นคุณบทบ้าง เช่น ปรินิพฺพุโต (ดับรอบแล้ว) ปพฺพชิตฺวา (บวชแล้ว) เป็นต้น
  8. กิริยาอาขยาต : เป็นชื่อกิริยาศัพท์ประเภทหนึ่งในภาษาบาลี ใช้เป็นกริยาสำคัญในประโยค อันแสดงถึงการกระของประธาน เช่น คจฺฉติ (ย่อมไป) ปรินิพฺพายิ (ดับรอบแล้ว) เป็นต้น
  9. คาถา : 1.คำประพันธ์ประเภทร้อยกรอง ในภาษาบาลี คาถาหนึ่งๆ มี ๔ บาท
  10. คำไวยากรณ์ : คำร้อยแก้ว ตรงข้ามกับคำว่า คาถา คือ คำร้อยกรองแห่งภาษาบาลี
  11. ฆราวาส : การอยู่ครองเรือน, ชีวิตชาวบ้าน; ในภาษาไทย มักใช้หมายถึงผู้ครองเรือน คือ คฤหัสถ์
  12. จริยธรรม : “ธรรมคือความประพฤติ”, “ธรรมคือการดำเนินชีวิต”, หลักความประพฤติ, หลักการดำเนินชีวิต; คำ “จริยธรรม” นี้ นักปราชญ์ในประเทศไทยได้บัญญัติให้ใช้สำหรับคำภาษาอังกฤษว่า ethics หมายถึง ธรรมที่เป็นข้อประพฤติปฏิบัติ ศีลธรรม หรือกฎศีลธรรม; จริยะ หรือพรหมจริยะ (พรหมจริยธรรม หรือ พรหมจรรย์) แปลว่า ความประพฤติอันประเสริฐ หมายถึง มรรคมีองค์ ๘ หรือ ศีล สมาธิ ปัญญา เทียบ ศีลธรรม
  13. จิตตสันดาน : การสืบต่อมาโดยไม่ขาดสายของจิต; ในภาษาไทยหมายถึง พื้นความรู้สึกนึกคิดหรืออุปนิสัยใจคอที่ฝังอยู่ในส่วนลึกของจิตใจมาแต่กำเนิด (ความหมายนัยหลังนี้ มิใช่มาในบาลี)
  14. จีวร : ผ้าที่ใช้นุ่งห่มของพระในพระพุทธศาสนาผืนใดผืนหนึ่งก็ได้ ในจำนวน ๓ ผืนที่เรียกว่า ไตรจีวร คือผ้าทาบ (สังฆาฏิ) ผ้าห่ม (อุตราสงค์) และผ้านุ่ง (อันตรวาสก); แต่ในภาษาไทย นิยมเรียกเฉพาะผ้าห่มคืออุตราสงค์ ว่า จีวร ดู ไตรจีวร ด้วย
  15. ฉายา : 1.เงา, อาการที่เป็นเงาๆ คือ ไม่ชัดออกไป, อาการเคลือบแฝง 2.ชื่อที่พระอุปัชฌายะตั้งให้แก่ผู้ขอบวชเป็นภาษาบาลี เรียกว่าชื่อฉายา ที่เรียกเช่นนี้เพราะเดิมเมื่อเสร็จการบวชแล้ว ต้องมีการวัดฉายาคือเงาแดดด้วยการสืบเท้าว่าเงาหดหรือเงาขยายแค่ไหน ชั่วกี่สืบเท้า การวัดเงาด้วยเท้านั้นเป็นมาตรานับเวลา เรียกว่า บาท เมื่อวัดแล้วจดเวลาไว้และจดสิ่งอื่นๆ เช่นชื่อพระอุปัชฌายะ พระกรรมวาจาจารย์ จำนวนสงฆ์ และชื่อผู้อุปสมบท ทั้งภาษาไทยและมคธ ลงในนั้นด้วย ชื่อใหม่ที่จดลงตอนวัดฉายานั้น จึงเรียกว่าชื่อฉายา
  16. ไตรจีวร : จีวร ๓, ผ้า ๓ ผืนที่พระวินัยอนุญาตให้ภิกษุมีไว้ใช้ประจำตัว คือ ๑.สังฆาฏิ ผ้าทาบ ๒.อุตราสงค์ ผ้าห่ม เรียกสามัญในภาษาไทยว่าจีวร ๓.อันตรวาสก ผ้านุ่ง เรียกสามัญว่า สบง
  17. ทวิช : ชื่อหนึ่งสำหรับเรียกพราหมณ์ในภาษาไทยเป็นทิชาจารย์หรือทวิชาจารย์ก็มี แปลว่าเกิด ๒ หน หมายถึงเกิดโดยกำเนิดครั้งหนึ่ง เกิดโดยได้รับครอบเป็นพราหมณ์ครั้งหนึ่ง เปรียบเหมือนนกซึ่งเกิด ๒ หนเหมือนกัน คือเกิดจากท้องแม่ออกเป็นไข่หนหนึ่ง เกิดจากไข่เป็นตัวอีกหนหนึ่ง นกจึงมีชื่อเรียกว่า ทวิช หรือ ทิช ซึ่งแปลว่า เกิด ๒ หนอีกชื่อหนึ่งด้วย
  18. ทิฏฐิ : ความเห็น, ทฤษฎี; ความเห็นผิดมี ๒ คือ ๑.สัสสตทิฏฐิ ความเห็นว่าเที่ยง ๒.อุจเฉททิฏฐิ ความเห็นว่าขาดสูญ; อีกหมวดหนึ่ง มี ๓ คือ ๑.อกิริยทิฏฐิ ความเห็นว่าไม่เป็นอันทำ ๒.อเหตุกทิฏฐิ ความเห็นว่าไม่มีเหตุ ๓.นัตถิกทิฏฐิ ความเห็นว่าไม่มี คือถืออะไรเป็นหลักไม่ได้ เช่น มารดาบิดาไม่มีเป็นต้น; ในภาษาไทยมักหมายถึงการดื้อดึงในความเห็น (พจนานุกรมเขียน ทิฐิ)
  19. นิบาต : ศัพท์ภาษาบาลีที่วางไว้ระหว่างข้อความในประโยคเพื่อเชื่อมข้อความหรือเสริมความเป็นอัพยยศัพท์อย่างหนึ่ง
  20. นิรฺวาณมฺ : ความดับ เป็นคำสันสกฤต เทียบกับภาษาบาลี ก็ได้แก่ศัพท์ว่า “นิพพาน” นั่นเอง
  21. นิรุตติปฏิสัมภิทา : ปัญญาแตกฉานในภาษา คือเข้าใจภาษา รู้จักใช้ถ้อยคำให้คนเข้าใจ ตลอดทั้งรู้ภาษาต่างประเทศ (ข้อ ๓ ในปฏิสัมภิทา ๔)
  22. บรรพชิต : ผู้บวช, นักบวช เช่น ภิกษุสมณะ ดาบส ฤษี เป็นต้น แต่เฉพาะในพระพุทธศาสนา ได้แก่ ภิกษุและสามเณร (และภิกษุณี สิกขมานา สามเณรี) มักใช้คู่กับ คฤหัสถ์ (ในภาษาไทยปัจจุบัน ให้ใช้หมายเฉพาะนักบวชในพระพุทธศาสนา ไม่ว่าในฝ่ายเถรวาท หรือฝ่ายมหายาน)
  23. บริกรรม : 1.(ในคำว่า “ถ้าผ้ากฐินนั้นมีบริกรรมสำเร็จด้วยดี”) การตระเตรียม, การทำความเรียบร้อยเบื้องต้น เช่น ซัก ย้อม กะ ตัด เย็บ เสร็จแล้ว 2.สถานที่เขาลาดปูน ปูไม้ ขัดเงา หรือชักเงา โบกปูน ทาสี เขียนสี แต่งอย่างอื่น เรียกว่าที่ทำบริกรรม ห้ามภิกษุถ่มนำลาย หรือนั่งพิง 3.การนวดฟั้นประคบ หรือถูตัว 4.การกระทำขั้นต้นในการเจริญสมถกรรมฐาน คือ กำหนดใจโดยเพ่งวัตถุ หรือนึกถึงอารมณ์ที่กำหนดนั้น ว่าซ้ำๆ อยู่ในใจ อย่างใดอย่างหนึ่ง เพื่อทำใจให้สงบ 5.เลือนมาเป็นความหมายในภาษาไทย หมายถึงท่องบ่น, เสกเป่า
  24. บอกวัตร : บอกข้อปฏิบัติในพระพุทธศาสนา เมื่อทำวัตรเย็นเสร็จแล้ว ภิกษุรูปเดียวเป็นผู้บอก อาจใช้วิธีหมุนเวียนกันไปทีละรูป ข้อความที่บอกว่าเป็นภาษาบาลี กล่าวถึงปฏิบัติบูชา คาถาโอวาทปาฏิโมกข์ คุณานิสงส์แห่งขันติธรรม คำเตือนให้ใส่ใจในธรรมในเมื่อได้มีโอกาสเกิดมาเป็นมนุษย์พบพระพุทธศาสนา ความไม่ประมาท เร่งเพียรพยายามในทางธรรมเพื่อน้อมไปสู่พระนิพพาน และพ้นจากทุคติ แล้วกล่าวถึงพุทธกิจประจำวัน ๕ ประการ ลำดับกาลใจพระพุทธประวัติ สิ่งแทนพระองค์ภายหลังพุทธปรินิพพาน ชื่อ วัน เดือน ปี และดาวนักษัตร ๒๗ จบลงด้วยคำเชื้อเชิญให้ตั้งอยู่ในพระพุทธโอวาท บำเพ็ญปฏิบัติบูชา เพื่อบรรลุสมบัติทั้งที่เป็นโลกิยะและโลกุตตระ; ธรรมเนียมนี้ บัดนี้ เลือนลางไปแล้ว
  25. บอกศักราช : เป็นธรรมเนียมของพระสงฆ์ไทยแต่โบราณ มีการบอกกาลเวลา เรียกว่าบอกศักราช ตอนท้ายสวดมนต์ และก่อนจะแสดงพระธรรมเทศนา (หลังจากให้ศีลจบแล้ว) ว่าทั้งภาษาบาลีและคำแปลภาษาไทย การบอกอย่างเก่า บอกปี ฤดู เดือน วัน ทั้งที่เป็นปัจจุบัน อดีต และอนาคต คือบอกว่าล่วงไปแล้วเท่าใด และยังจะมีมาอีกเท่าใด จึงจะครบจำนวนอายุพระพุทธศาสนา๕พันปี แต่ประมาณ พ.ศ.๒๔๘๔ ที่รัฐบาลประกาศใช้วันที่ ๑ มกราคม เป็นวันขึ้นปีใหม่ เป็นต้นมา ได้มีวิธีบอกศักราชอย่างใหม่ขึ้นใช้แทน บอกเฉพาะปี พ.ศ.เดือน วันที่ และวันในปัจจุบัน ทั้งบาลีและคำแปล บัดนี้ไม่นิยมกันแล้ว คงเป็นเพราะมีปฏิทินและเครื่องบอกเวลาอย่างอื่น ใช้กันดื่นทั่วไป
  26. บังสุกุล : ผ้าบังสุกุล หรือ บังสุกุลจีวร; ในภาษาไทยปัจจุบัน มักใช้เป็นคำกริยา หมายถึงการที่พระสงฆ์ชักเอาผ้าซึ่งเขาทอดวางไว้ที่ศพ ที่หีบศพหรือที่สายโยงศพ
  27. บาลี : 1.“ภาษาอันรักษาไว้ซึ่งพุทธพจน์”, ภาษาที่ใช้ทรงจำและจารึก รักษาพุทธพจน์แต่เดิมมา อันเป็นหลักในพระพุทธศาสนาฝ่ายเถรวาท ถือกันว่าได้แก่ภาษามคธ 2.คัมภีร์พระพุทธศาสนาต้นเดิมที่เป็นพระพุทธวจนะ อันพระสังคีติกาจารย์รวบรวมได้ คือ คัมภีร์พระไตรปิฎกที่พระอรหันต์ ๕๐๐ องค์ประชุมกันรวบรวมจัดสรรให้เป็นหมวดหมู่ในคราวปฐมสังคายนาพระพุทธพจน, ข้อความที่มาในพระไตรปิฎก
  28. บิณฑบาต : อาหารที่ใส่ลงในบาตรพระ, อาหารถวายพระ; ในภาษาไทยใช้ในความหมายว่า รับของใส่บาตร เช่นที่ว่า พระไปบิณฑบาต คือ ไปรับอาหารที่เขาจะใส่ลงในบาตร
  29. ปฏิสัมภิทามรรค : ทางแห่งปฏิสัมภิทา, ข้อปฏิบัติที่ทำให้มีความแตกฉาน; ชื่อคัมภีร์หนึ่งแห่งขุททกนิกาย ในพระสุตตันตปิฎก เป็นภาษาของพระสารีบุตร
  30. ปณามคาถา : คาถาน้อมไหว้, คาถาแสดงความเคารพพระรัตนตรัย เรียกกนง่ายๆ ว่า คาถาไหว้ครู ซึ่งตามปกติ พระอาจารย์ผู้แต่งคัมภีร์ภาษาบาลี เช่น อรรถกถา ฎีกา เป็นต้น ถือเป็นธรรมเนียมที่จะเรียบเรียงไว้เป็นเบื้องต้น ก่อนขึ้นเนื้อความของคัมภีร์นั้นๆ ประกอบด้วยคำสรรเสริญคุณพระรัตนตรัย คำบอกความมุ่งหมายในการแต่ง คำอ้างถึงบุคคลที่เกี่ยวข้อง เช่น ผู้อาราธนาให้แต่ง และข้อควรทราบอื่นๆ เป็นอย่างคำนำ หรือคำปรารภ
  31. ปปัญจสูทนี : ชื่อคัมภีร์อรรถกถาที่อธิบายความในมัชฌิมนิกาย แห่งพระสุตตันตปิฎก พระพุทธโฆษาจารย์เรียบเรียงจากอรรถกถาภาษาสิงหฬ เมื่อ พ.ศ.ใกล้จะถึง ๑๐๐๐
  32. ประหาน : ละ, กำจัด; การละ, การกำจัด; ตามหลักภาษาควรเขียน ปหาน หรือ ประหาณ
  33. ปาริเลยยกะ : ชื่อแดนบ้านแห่งหนึ่งใกล้เมืองโกสัมพีที่พระพุทธเจ้าเสด็จเข้าไปอาศัยอยู่ในป่ารักขิตวันด้วยทรงปลีกพระองค์ จากพระสงฆ์ผู้แตกกันในกรุงโกสัมพี; ช้างที่ปฏิบัติพระพุทธเจ้าที่ป่านั้น ก็ชื่อ ปาริเลยยกะ; เราเรียกกันในภาษาไทยว่า ปาเลไลยก์ก็มี ป่าเลไลยก์ ก็มี ควรเขียน ปาริไลยก์ หรือปาเรไลยก์
  34. ปุริสสัพพนาม : คำทางไวยากรณ์ หมายถึงคำแทนชื่อเพื่อกันความซ้ำซาก ในภาษาบาลีหมายถึง ต, ตุมฺห, อมฺห, ศัพท์ในภาษาไทย เช่น ฉัน, ผม, ท่าน, เธอ, เขา, มัน เป็นต้น
  35. แผ่เมตตา : ตั้งจิตปรารถนาดีขอให้ผู้อื่นมีความสุข; คำแผ่เมตตาที่ใช้เป็นหลักว่า สพฺเพ สตฺตา อเวรา อพฺยาปชฺฌา อนีฆา สุขี อตฺตานํ ปริหรนฺตุ แปลว่า ขอสัตว์ทั้งหลาย, (ที่เป็นเพื่อนทุกข์ เกิด แก่ เจ็บ ตาย ด้วยกัน) หมดทั้งสิ้น, (จงเป็นสุขเป็นสุขเถิด) อย่าได้มีเวรแก่กันและกันเลย, (จงเป็นสุขเป็นสุขเถิด) อย่าได้เบียดเบียนซึ่งกันและกันเลย, (จงเป็นสุขเป็นสุขเถิด) อย่าได้มีทุกข์กายทุกข์ใจเลย, จงมีความสุขกายสุขใจ, รักษาตน (ให้พ้นจากทุกข์ภัยทั้งสิ้น) เถิด.ข้อความในวงเล็บ เป็นส่วนที่เพิ่มเข้ามาในคำแปลเป็นภาษาไทย
  36. พยาบาท : ความขัดแค้นเคืองใจ, ความเจ็บใจ, ความคิดร้าย, ตรงข้ามกับเมตตา; ในภาษาไทยหมายถึง ผูกใจเจ็บและคิดแก้แค้น
  37. ภาวนา : การทำให้มีขึ้นเป็นขึ้น, การทำให้เกิดขึ้น, การเจริญ, การบำเพ็ญ 1.การฝึกอบรม ตามหลักพระพุทธศาสนา มี ๒ อย่าง คือ ๑.สมถภาวนา ฝึกอบรมจิตให้เกิดความสงบ ๒.วิปัสสนาภาวนา ฝึกอบรมปัญญาให้เกิดความรู้เข้าใจตามเป็นจริง, อีกนัยหนึ่ง จัดเป็น ๒ เหมือนกันคือ ๑.จิตตภาวนา การฝึกอบรมจิตใจให้เจริญงอกงามด้วยคุณธรรม มีความเข้มแข็งมั่นคง เบิกบาน สงบสุขผ่องใส พร้อมด้วยความเพียร สติ และสมาธิ ๒.ปัญญาภาวนา การฝึกอบรมเจริญปัญญา ให้รู้เท่าทันเข้าใจสิ่งทั้งหลายตามความเป็นจริง จนมีจิตใจเป็นอิสระ ไม่ถูกครอบงำด้วยกิเลสและความทุกข์ 2.การเจริญสมถกรรมฐานเพื่อให้เกิดสมาธิ มี ๓ ขั้น คือ ๑.บริกรรมภาวนา ภาวนาขั้นตระเตรียม คือกำหนดอารมณ์กรรมฐาน ๒.อุปจารภาวนา ภาวนาขั้นจวนเจียน คือเกิดอุปจารสมาธิ ๓.อัปปนาภาวนา ภาวนาขั้นแน่วแน่ คือเกิดอัปปนาสมาธิเข้าถึงฌาน 3.ในภาษาไทย ความหมายเลือนมาเป็น การท่องบ่นหรือว่าซ้ำๆ ให้ขลัง ก็มี
  38. มคธ : 1.ชื่อแคว้นหนึ่งในบรรดา ๑๖ แคว้นใหญ่แห่งชมพูทวีปครั้งพุทธกาล ตั้งอยู่ฝั่งใต้ของแม่น้ำคงคาตอนกลาง เป็นแคว้นที่มีอำนาจมากแข่งกับแคว้นโกศล และเป็นที่พระพุทธเจ้าทรงประดิษฐานพระพุทธศาสนา ในสมัยพุทธกาล มคธมีนครหลวงชื่อ ราชคฤห์ ราชาผู้ปกครองพระนามว่าพิมพิสาร ตอนปลายพุทธกาล พระเจ้าพิมพิสาร ถูกโอรสชื่ออชาตศัตรูปลงพระชนม์และขึ้นครองราชย์สืบแทน ต่อมาในสมัยพระเจ้ากาลาโศก หรือก่อนนั้น เมืองหลวงของมคธ ย้ายไปตั้งที่เมืองปาฏลีบุตร บนฝั่งแม่น้ำคงคา เหนือเมืองราชคฤห์ขึ้นไป มคธรุ่งเรืองถึงที่สุดในสมัยพระเจ้าอโศกมหาราช ซึ่งแคว้นใหญ่อื่นทั้งหมดได้รวมเข้าอยู่ภายในมหาอาณาจักรของพระองค์ทั้งหมดแล้ว บัดนี้ บริเวณที่เคยเป็นแคว้นมคธในสมัยพุทธกาล เรียกว่า แคว้นพิหาร 2.เรียกภาษาที่ใช้พูดในแคว้นมคธ หรือภาษาของชาวแคว้นมคธว่า ภาษามคธ และถือกันว่า ภาษาบาลีที่ใช้รักษาพระพุทธพจน์สืบมา จนบัดนี้ คือ ภาษามคธ
  39. มโนรถปูรณี : ชื่อคัมภีร์อรรถกถาอธิบายความในอังคุตตรนิกาย แห่งพระสุตตันตปิฎก พระพุทธโฆษาจารย์เรียบเรียงจากอรรถกถาภาษาสิงหฬ เมื่อ พ.ศ.ใกล้จะถึง ๑๐๐๐
  40. มิลินท์ : มหากษัตริย์เชื้อชาติกรีก แห่งสาคลประเทศในชมพูทวีป ผู้เป็นปราชญ์ยิ่งใหญ่ โต้วาทะชนะนักปราชญ์ทั้งหลายในสมัยนั้น จนในที่สุดได้โต้กับพระนาคเสน ยอมเลื่อมใสหันมานับถือพระพุทธศาสนา และเป็นองค์อุปถัมภกสำคัญ พระนามภาษากรีกว่า พระเจ้าเมนานเดอร์ ครองราชย์ พ.ศ.๔๒๓ สวรรคต พ.ศ.๔๕๓
  41. เมรุ : 1.ชื่อภูเขาที่เป็นศูนย์กลางของจักรวาล บางทีเรียกพระสุเมรุ ตามคติของศาสนาฮินดู ถือว่าเป็นบริเวณที่มีสวรรค์อยู่โดยรอบ เช่น สวรรค์ของพระอินทร์อยู่ทางทิศเหนือ ไวกูณฐ์แดนสถิตของพระวิษณุหรือพระนารายณ์อยู่ทางทิศใต้ ไกลาสที่สถิตของพระศิวะหรืออิศวรก็อยู่ทางทิศใต้เหนือยอดเขาพระสุเมรุนั้น คือ พรหมโลก เป็นที่สถิตของพระพรหม, ภูเขานี้เรียกชื่อเป็นภาษาบาลีว่า สิเนรุ และตามคติฝ่ายพระพุทธศาสนา ในชั้นอรรถกถา ยอดเขาสิเนรุเป็นที่ตั้งของสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ ซึ่งเป็นที่สถิตของพระอินทร์ เชิงเขาสิเนรุ ซึ่งหยั่งลึกลงไปในมหาสมุทรเป็นอสูรพิภพ สูงขึ้นไปกึ่งทางระหว่างแดนทั้ง๒นั้น เป็นสวรรค์ของท้าวจาตุมหาราช สวรรค์ชั้นอื่นๆ และโลกมนุษย์ เป็นต้น ก็เรียงรายกันอยู่สูงบ้างต่ำบ้าง รอบเขาสิเนรุนี้ (ในวรรณคดีบาลียุดหลัง เช่น จูฬวงส์ พงศาวดารลังกา เรียก เมรุ และสุเมรุ อย่างสันสกฤตก็มี) 2.ที่เผาศพ หลังคาเป็นยอด มีรั้วล้อมรอบ ซึ่งคงได้คติจากภูเขาเมรุนั้น
  42. โมโห : โกรธ, ขุ่นเคือง; ตามรูปศัพท์เป็นคำภาษาบาลี ควรแปลว่า ความหลง แต่ที่ใช้กันมาในภาษาไทย ความหมายเพี้ยนไปเป็นอย่างข้างต้น
  43. รัศมี : แสงสว่าง, แสงที่เห็นกระจายออกเป็นสายๆ, แสงสว่างที่พวยพุ่งออกจากจุดกลาง; เขียนอย่างบาลีเป็น รังสี แต่ในภาษาไทยใช้ในความหมายที่ต่างกันออกไปบ้าง
  44. รูป : 1.สิ่งที่จะต้องสลายไปเพราะปัจจัยต่างๆ อันขัดแย้ง, สิ่งที่เป็นรูปร่างพร้อมทั้งลักษณะอาการของมัน, ส่วนร่างกาย จำแนกเป็น ๒๘ คือ มหาภูต หรือ ธาตุ ๔ และ อุปาทายรูป ๒๔ (= รูปขันธ์ในขันธ์ ๕) 2.อารมณ์ที่รู้ได้ด้วยจักษุ, สิ่งที่ปรากฏแก่ตา (ข้อ ๑ ในอารมณ์ ๖ หรือในอายตนะภายนอก ๖) 3.ลักษณนาม ใช้เรียกพระภิกษุสามเณร เช่น ภิกษุรูปหนึ่ง สามเณร ๕ รูป ; ในภาษาพูดบางแห่งนิยมใช้ องค์
  45. วาสนา : อาการกายวาจา ที่เป็นลักษณะพิเศษของบุคคล ซึ่งเกิดจากกิเลสบางอย่าง และได้สั่งสมอบรมมาเป็นเวลานานจนเคยชินติดเป็นพื้นประจำตัว แม้จะละกิเลสนั้นได้แล้ว แต่ก็อาจจะละอาการกายวาจาที่เคยชินไม่ได้ เช่น คำพูดติดปาก อาการเดินที่เร็ว หรือเดินต้วมเตี้ยม เป็นต้น ท่านขยายความว่า วาสนา ที่เป็นกุศล ก็มี เป็นอกุศล ก็มี เป็นอัพยากฤต คือ เป็นกลางๆ ไม่ดีไม่ชั่ว ก็มี ที่เป็นกุศลกับอัพยากฤตนั้น ไม่ต้องละ แต่ที่เป็นอกุศลซึ่งควรจะละนั้น แบ่งเป็น ๒ ส่วน คือ ส่วนที่จะเป็นเหตุให้เกิดอาการแสดงออกทางกายวาจาแปลกๆ ต่างๆ ส่วนแรก พระอรหันต์ทุกองค์ละได้ พระอรหันต์อื่นละไม่ได้ จึงมีคำกล่าวว่า พระพุทธเจ้าเท่านั้นละกิเลสทั้งหมดได้ พร้อมทั้งวาสนา; ในภาษาไทย คำว่า วาสนา มีความหมายเพี้ยนไป กลายเป็นอำนาจบุญเก่า หรือกุศลที่ทำให้ได้รับลาภยศ
  46. วิจารณ์ : 1.พิจารณา, ไตร่ตรอง 2.สอบสวน, ตรวจตรา 3.คิดการ, กะการ, จัดเตรียม, จัดแจง, ดูแล, จัดดำเนินการ 4.ในภาษาไทย มักหมายถึง ติชม, แสดงความคิดเห็นในเชิงตัดสินคุณค่า ชี้ข้อดีข้อด้อย
  47. วิภัตติ : ชื่อวิธีไวยากรณ์ภาษาบาลีและสันสฤกต สำหรับแจกศัพท์โดยเปลี่ยนท้ายคำให้มีรูปต่างๆ กันเพื่อบอกการก ท้ายคำให้มีรูปต่างๆ กันเพื่อบอกการกและกาลเป็นต้น เช่นคำนาม โลโก ว่า โลก, โลกํ ซึ่งโลก, โลกา จากโลก, โลเก ในโลก; คำกิริยา เช่น นมติ ย่อมน้อม, นมตุ จงน้อม, นมิ น้อมแล้ว เป็นต้น
  48. วิสุทธิมรรค : ปกรณ์พิเศษอธิบายศีล สมาธิ ปัญญา ตามแนววิสุทธิ ๗ พระพุทธโฆษาจารย์ พระอรรถกถาจารย์ชาวอินเดียเป็นผู้แต่งที่มหาวิหารในเกาะลังกา; พระพุทธโฆสาจารย์ผู้นี้เป็นบุตรพราหมณ์ เกิดที่หมู่บ้านแห่งหนึ่งใกล้พุทธคยา อันเป็นสถานที่ตรัสรู้ของพระพุทธเจ้า ในแคว้นมคธ เมื่อประมาณ พ.ศ.๙๕๖ เรียนจบไตรเพทมีความเชี่ยวชาญมาก ต่อมาพบกับพระเรวตเถระ ได้โต้ตอบปัญหากัน สู้พระเรวตเถระไม่ได้ จึงขอบวชเพื่อเรียนพุทธวจนะ มีความสามารถมาก ได้รจนาคัมภีร์ญาโณทัย เป็นต้น พระเรวตเถระจึงแนะนำให้ไปเกาะลังกา เพื่อแปลอรรถกถาสิงหฬ กลับเป็นภาษามคธ ท่านเดินทางไปที่มหาวิหาร เกาะลังกา เมื่อขออนุญาตแปลคัมภีร์ ถูกพระเถระแห่งมหาวิหารให้คาถามา ๒ บท เพื่อแต่งทดสอบความรู้ พระพุทธโฆส จึงแต่งคำอธิบายคาถาทั้ง ๒ นั้นขึ้นเป็นคัมภีร์วิสุทธิมรรค จากนั้นก็ได้รับอนุญาตให้ทำงาน แปลอรรถกถาได้ตามประสงค์ เมื่อทำงานเสร็จสิ้นแล้ว ท่านก็เดินทางกลับสู่ชมพูทวีป พระพุทธโฆสาจารย์ เป็นพระอรรถกถาจารย์ผู้ยิ่งใหญ่ที่สุด มีผลงานมากที่สุด
  49. เวทนา : ความเสวยอารมณ์, ความรู้สึก, ความรู้สึกสุขทุกข์ มี ๓ อย่าง คือ ๑.สุขเวทนา ความรู้สึกสุขสบาย ๒.ทุกขเวทนา ความรู้สึกไม่สบาย ๓.อทุกขมสุขเวทนา ความรู้สึกไม่สุข ไม่ทุกข์ คือ เฉยๆ เรียกอีกอย่างว่า อุเบกขาเวทนา; อีกหมวดหนึ่งจัดเป็น เวทนา ๕ คือ ๑.สุข สบายกาย ๒.ทุกข์ ไม่สบายกาย ๓.โสมนัส สบายใจ ๔.โทมนัส ไม่สบายใจ ๕.อุเบกขา เฉยๆ; ในภาษาไทย ใช้หมายความว่าเจ็บปวดบ้าง สงสารบ้าง ก็มี
  50. เวร : ความแค้นเคือง, ความปองร้ายกัน, ความแก้เผ็ด, ความคิดร้ายตอบแก่ผู้ทำร้าย; ในภาษาไทยใช้อีกความหมายหนึ่งด้วยว่าคราว, รอบ, การผลักกันเป็นคราวๆ, ตรงกับ วาร หรือวาระ ในภาษาบาลี
  51. [1-50] | 51-80

(0.0324 sec)