Dictionary : English, Thai, Pali. Link : Lexitron, RoyDict, BudDict, ETipitaka, PpmDict, Longdo.
Search: มนุษย์ , then มนษย, มนุษย์ .

Budhism Thai-Thai Dict : มนุษย์, 44 found, display 1-44
  1. มนุษย์ : “ผู้มีใจสูง” ได้แก่คนผู้มีมนุษย์ธรรม เช่น เมตตา กรุณา เป็นต้น, สัตว์ที่รู้จักคิดเหตุผล, สัตว์ที่มีใจสูง, คน
  2. มนุษย์วิบัติ : มีความเป็นมนุษย์บกพร่อง เช่น คนที่ถูกตอน เป็นต้น
  3. คติ : 1.การไป, ทางไป, ความเป็นไป, ทางดำเนิน, วิธี, แนวทาง, แบบอย่าง 2.ที่ไปเกิดของสัตว์, ภพที่สัตว์ไปเกิด, แบบการดำเนินชีวิต มี ๕ คือ ๑.นิรยะ นรก ๒.ติรัจฉานโยนิ กำเนิดดิรัจฉาน ๓.เปตติวิสัย แดนเปรต ๔.มนุษย์ สัตว์มีใจสูงรู้คิดเหตุผล ๕.เทพ ชาวสวรรค์ตั้งแต่ชั้นจาตุมหาราชิกา ถึงอกนิฏฐพรหม (ท่านว่าในที่นี้ จัดอสูรเข้าในเปตตวิสัยด้วย) ๓ คติแรกเป็น ทุคติ (ที่ไปเกิดอันชั่วหรือแบบดำเนินชีวิตที่ไม่ดี) ๒ คติหลังเป็นสุคติ (ที่ไปเกิดอันดี หรือแบบดำเนินชีวิตที่ดี)
  4. สัตว์ : “ผู้ติดข้องในรูปารมณ์เป็นต้น”, สิ่งที่มีความรู้สึกและเคลื่อนไหวไปได้เอง รวมตลอดทั้งเทพ มาร พรหม มนุษย์ เปรต อสุรกาย ดิรัจฉาน และสัตว์นรก ในบาลีเพ่งเอามนุษย์ก่อนอย่างอื่น, ไทยมักเพ่งเอาดิรัจฉาน
  5. กามสุคติภูมิ : กามาวจรภูมิที่เป็นสุคติ คือ มนุษย์และสวรรค์ ๖ (จะแปลว่าสุคติภูมิที่ยังเกี่ยวข้องกับกาม ก็ได้)
  6. ชลาพุชะ : สัตว์เกิดในครรภ์ ได้แก่มนุษย์ และสัตว์เดรัจฉาน ที่ออกลูกเป็นตัว ดู โยนิ
  7. ชลามพุชะ : สัตว์เกิดในครรภ์ ได้แก่มนุษย์ และสัตว์เดรัจฉาน ที่ออกลูกเป็นตัว ดู โยนิ
  8. ดิรัจฉาน : สัตว์มีร่างกายเจริญโดยขวาง, สัตว์เว้นจากมนุษย์ (เดียรัจฉานก็ใช้)
  9. เดียรฉาน : สัตว์อื่นจากมนุษย์, สัตว์ผู้มีร่างกายเจริญขวางออกไป คือไม่เจริญตั้งขึ้นไปเหมือนคนหรือต้นไม้
  10. เดียรัจฉาน : สัตว์อื่นจากมนุษย์, สัตว์ผู้มีร่างกายเจริญขวางออกไป คือไม่เจริญตั้งขึ้นไปเหมือนคนหรือต้นไม้
  11. ตถาคต : พระนามอย่างหนึ่งของพระพุทธเจ้า เป็นคำที่พระพุทธเจ้าทรงเรียกหรือตรัสถึงพระองค์เอง แปลได้ความหมาย ๘ อย่าง คือ ๑.พระผู้เสด็จมาแล้วอย่างนั้น คือ เสด็จมาทรงบำเพ็ญพุทธจริยา เพื่อประโยชน์แก่ชาวโลก เป็นต้น เหมือนอย่างพระพุทธเจ้าพระองค์ก่อนๆ อย่างไรก็อย่างนั้น ๒.พระผู้เสด็จไปแล้วอย่างนั้น คือทรงทำลายอวิชชาสละปวงกิเลสเสด็จไปเหมือนอย่างพระพุทธเจ้าพระองค์ก่อนๆ อย่างไรก็อย่างนั้น ๓.พระผู้เสด็จมาถึงตถลักษณะ คือ ทรงมีพระญาณหยั่งรู้เข้าถึงลักษณะที่แท้จริงของสิ่งทั้งหลายหรือของธรรมทุกอย่าง๔.พระผู้ตรัสรู้ตถธรรมตามที่มันเป็น คือ ตรัสรู้อริยสัจ ๔ หรือปฏิจจสมุปบาทอันเป็นธรรมที่จริงแท้แน่นอน ๕.พระผู้ทรงเห็นอย่างนี้ คือ ทรงรู้เท่าทันสรรพอารมณ์ที่ปรากฏแก่หมู่สัตว์ทั้งเทพและมนุษย์ ซึ่งสัตวโลกตลอดถึงเทพถึงพรหมได้ประสบและพากันแสวงหา ทรงเข้าใจสภาพที่แท้จริง ๖.พระผู้ตรัสอย่างนั้น (หรือมีพระวาจาที่แท้จริง) คือ พระดำรัสทั้งปวงนับแต่ตรัสรู้จนเสด็จดับขันธปรินิพพาน ล้วนเป็นสิ่งแท้จริงถูกต้อง ไม่เป็นอย่างอื่น ๗.พระผู้ทำอย่างนั้น คือ ตรัสอย่างใดทำอย่างนั้น ทำอย่างใด ตรัสอย่างนั้น ๘.พระผู้เป็นเจ้า (อภิภู) คือ ทรงเป็นผู้ใหญ่ยิ่งเหนือกว่าสรรพสัตว์ตลอดถึงพระพรหมที่สูงสุด เป็นผู้เห็นถ่องแท้ ทรงอำนาจ เป็นราชาที่พระราชาทรงบูชา เป็นเทพแห่งเทพ เป็นอินทร์เหนือพระอินทร์ เป็นพรหมเหนือประดาพรหม ไม่มีใครจะอาจวัดหรือจะทดเทียมพระองค์ด้วยศีล สมาธิ ปัญญา วิมุตติ และวิมุตติญาณทัสสนะ
  12. ทิพย์ : เป็นของเทวดา, วิเศษ, เลิศกว่าของมนุษย์
  13. เทพเจ้า : พระเจ้าบนสวรรค์ ลัทธิพราหมณ์ถือว่าเป็นผู้บันดาลสุขทุกข์ให้แก่มนุษย์
  14. เทโวโรหณะ : “การลงจากเทวโลก” หมายถึงการที่พระพุทธเจ้าเสด็จลงจากเทวโลก ตำนานเล่าว่าในพรรษาที่ ๗ แห่งการบำเพ็ญพุทธกิจ พระพุทธเจ้าเสด็จไปประทับจำพรรษาในดาวดึงสเทวโลก ทรงแสดงพระอภิธรรมโปรดพระพุทธมารดาพร้อมทั้งหมู่เทพ ณ ที่นั้น เมื่อถึงเวลาออกพรรษาในวันมหาปวารณา (วันขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๑๑) ได้เสด็จลงมาจากสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ กลับคืนสู่โลกมนุษย์ ณ ประตูเมืองสังกัสสะ โดยมีเทวดาและมหาพรหมทั้งหลายแวดล้อม ลงมาส่งเสด็จ ฝูงชนจำนวนมากมายก็ได้ไปคอยรับเสด็จ กระทำมหาบูชาเป็นการเอิกเกริกมโหฬารและพระพุทธเจ้าได้ทรงแสดงธรรม มีผู้บรรลุคุณวิเศษจำนวนมาก ชาวพุทธในภายหลังได้ปรารภเหตุการณ์พิเศษครั้งนี้ ถือเป็นกาลกำหนดสำหรับบำเพ็ญการกุศล ทำบุญตักบาตรคราวใหญ่แด่พระสงฆ์ เป็นประเพณีนิยมสืบมา ดังปรากฏในประเทศไทย เรียกกันว่า ตักบาตรเทโวโรหณะ หรือนิยมเรียกสั้นๆ ว่า ตักบาตรเทโว บางวัดก็จัดพิธีในวันออกพรรษา คือวันมหาปวารณา ขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๑๑ บางวัดจัดถัดจากนั้น ๑ วัน คือในวันแรม ๑ ค่ำ เดือน ๑๑
  15. บอกวัตร : บอกข้อปฏิบัติในพระพุทธศาสนา เมื่อทำวัตรเย็นเสร็จแล้ว ภิกษุรูปเดียวเป็นผู้บอก อาจใช้วิธีหมุนเวียนกันไปทีละรูป ข้อความที่บอกว่าเป็นภาษาบาลี กล่าวถึงปฏิบัติบูชา คาถาโอวาทปาฏิโมกข์ คุณานิสงส์แห่งขันติธรรม คำเตือนให้ใส่ใจในธรรมในเมื่อได้มีโอกาสเกิดมาเป็นมนุษย์พบพระพุทธศาสนา ความไม่ประมาท เร่งเพียรพยายามในทางธรรมเพื่อน้อมไปสู่พระนิพพาน และพ้นจากทุคติ แล้วกล่าวถึงพุทธกิจประจำวัน ๕ ประการ ลำดับกาลใจพระพุทธประวัติ สิ่งแทนพระองค์ภายหลังพุทธปรินิพพาน ชื่อ วัน เดือน ปี และดาวนักษัตร ๒๗ จบลงด้วยคำเชื้อเชิญให้ตั้งอยู่ในพระพุทธโอวาท บำเพ็ญปฏิบัติบูชา เพื่อบรรลุสมบัติทั้งที่เป็นโลกิยะและโลกุตตระ; ธรรมเนียมนี้ บัดนี้ เลือนลางไปแล้ว
  16. ปาราชิก : เป็นชื่ออาบัติหนักที่ภิกษุต้องเข้าแล้วขาดจากความเป็นภิกษุ, เป็นชื่อบุคคลผู้ที่พ่ายแพ้ คือ ต้องอาบัติปาราชิกที่ทำให้ขาดจากความเป็นภิกษุ, เป็นชื่อสิกขาบท ที่ปรับอาบัติหนักขั้นขาดจากความเป็นภิกษุมี ๔ อย่าง คือ เสพเมถุน ลักของเขา ฆ่ามนุษย์ อวดอุตริมนุสธรรมที่ไม่มีในตน
  17. พุทธคุณ : คุณของพระพุทธเจ้า มี ๙ คือ ๑.อรหํ เป็นพระอรหันต์ ๒.สมฺมาสมฺพุทฺโธ ตรัสรู้เองโดยชอบ ๓.วิชฺชาจรณสมฺปนฺโน ถึงพร้อมด้วยวิชชาและจรณะ ๔.สุคโต เสด็จไปดีแล้ว ๕.โลกวิทู เป็นผู้รู้แจ้งโลก ๖.อนุตฺตโร ปุริสทมฺมสารถิ เป็นสารถีฝึกคนที่ฝึกได้ไม่มีใครยิ่งกว่า ๗.สตฺถาเทวมนุสฺสานํ เป็นศาสดาของเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย ๘.พุทฺโธ เป็นผู้ตื่นและเบิกบานแล้ว ๙.ภควา เป็นผู้มีโชค พุทธคุณทั้งหมดนั้น โดยย่อ มี ๒ คือ ๑.พระปัญญาคุณ พระคุณคือพระปัญญา ๒.พระกรุณาคุณ พระคุณคือพระมหากรุณา หรือตามที่นิยมกล่าวกันในประเทศไทย ย่อเป็น ๓ คือ ๑.พระปัญญาคุณ พระคุณคือพระปัญญา ๒.พระวิสุทธิคุณ พระคุณคือความบริสุทธิ์ ๓.พระกรุณาคุณ พระคุณคือพระมหากรุณา
  18. มนุษยชาติ : เหล่าคน, มวลมนุษย์
  19. มนุษยธรรม : ธรรมที่ทำคนให้เป็นมนุษย์ ได้แก่ ศีล ๕ และคุณธรรม เช่น เมตตา กรุณา เป็นต้น
  20. มนุษยโลก : โลกมนุษย์ คือ โลกที่เราอาศัยอยู่นี้
  21. มนุสสโลก : โลกมนุษย์ คือ โลกที่เราอาศัยอยู่นี้
  22. มหาวิโลกนะ : “การตรวจดูอันยิ่งใหญ่”, ขอตรวจสอบพิจารณาที่สำคัญ หมายถึง สิ่งที่พระโพธิสัตว์ทรงพิจารณาตรวจดู ก่อนจะตัดสินพระทัยประทานปฏิญาณรับอาราธนาของเทพยดาทั้งหลาย ว่าจะจุติจากดุสิตเทวโลกไปบังเกิดในพระชาติสุดท้ายที่จะตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้า มี๕อย่าง (นิยมเรียกว่า ปัญจมหาวิโลกนะ) คือ ๑.กาล คืออายุกาลของมนุษย์จะต้องอยู่ระหว่าง ๑๐๐ ถึง ๑ แสนปี (ไม่สั้นกว่าร้อยปี ไม่ยาวเกินแสนปี) ๒.ทีปะ คือทวีป จะอุบัติแต่ในชมพูทวีป ๓.เทสะ คือประเทศ หมายถึงดินแดนจะอุบัติในมัธยมประเทศ และทรงกำหนดเมืองกบิลพัสดุ์เป็นที่พึงบังเกิด ๔.กุละ คือ ตระกูล จะอุบัติเฉพาะในขัตติยสกุลหรือในพราหมณสกุล และทรงกำหนดว่าเวลานั้นโลกสมมติว่าตระกูลกษัตริย์ประเสริฐกว่าตระกูลพราหมณ์ จึงจะอุบัติในตระกูลกษัตริย์ โดยทรงเลือกพระเจ้าสุทโธทนะเป็นพุทธบิดา ๕.ชเนตติอายุปริจเฉท คือมารดา และกำหนดอายุของมารดา มารดาจะต้องมีศีล ๕ บริสุทธิ์ ไม่โลเลในบุรุษ ไม่เป็นนักดื่มสุรา ได้บำเพ็ญบารมีมาตลอดแสนกัลป์ ทรงกำหนดได้พระนางมหามายา และทรงทราบว่าพระนางจะมีพระชนม์อยู่เกิน ๑๐ เดือนไปได้ ๗ วัน (สรุปตามแนวอรรถกถาชาดก)
  23. มิจฉาวณิชชา : การค้าขายไม่ชอบธรรม, การค้าขายที่ผิดศีลธรรม หมายถึง อกรณียวณิชชา (การค้าขายที่ อุบาสก ไม่ควรทำ) ๕ อย่าง คือ ๑.สัตถวณิชชา ค้าอาวุธ ๒.สัตตวณิชชา ค้ามนุษย์ ๓.มังสวณิชชา ค้าสัตว์สำหรับฆ่าเป็นอาหาร ๔.มัชชวณิชชา ค้าของเมา ๕.วิสวณิชชา ค้ายาพิษ
  24. เมรุ : 1.ชื่อภูเขาที่เป็นศูนย์กลางของจักรวาล บางทีเรียกพระสุเมรุ ตามคติของศาสนาฮินดู ถือว่าเป็นบริเวณที่มีสวรรค์อยู่โดยรอบ เช่น สวรรค์ของพระอินทร์อยู่ทางทิศเหนือ ไวกูณฐ์แดนสถิตของพระวิษณุหรือพระนารายณ์อยู่ทางทิศใต้ ไกลาสที่สถิตของพระศิวะหรืออิศวรก็อยู่ทางทิศใต้เหนือยอดเขาพระสุเมรุนั้น คือ พรหมโลก เป็นที่สถิตของพระพรหม, ภูเขานี้เรียกชื่อเป็นภาษาบาลีว่า สิเนรุ และตามคติฝ่ายพระพุทธศาสนา ในชั้นอรรถกถา ยอดเขาสิเนรุเป็นที่ตั้งของสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ ซึ่งเป็นที่สถิตของพระอินทร์ เชิงเขาสิเนรุ ซึ่งหยั่งลึกลงไปในมหาสมุทรเป็นอสูรพิภพ สูงขึ้นไปกึ่งทางระหว่างแดนทั้ง๒นั้น เป็นสวรรค์ของท้าวจาตุมหาราช สวรรค์ชั้นอื่นๆ และโลกมนุษย์ เป็นต้น ก็เรียงรายกันอยู่สูงบ้างต่ำบ้าง รอบเขาสิเนรุนี้ (ในวรรณคดีบาลียุดหลัง เช่น จูฬวงส์ พงศาวดารลังกา เรียก เมรุ และสุเมรุ อย่างสันสกฤตก็มี) 2.ที่เผาศพ หลังคาเป็นยอด มีรั้วล้อมรอบ ซึ่งคงได้คติจากภูเขาเมรุนั้น
  25. ยักษ์ : มีความหมายหลายอย่าง แต่ที่ใช้บ่อยหมายถึงอมนุษย์พวกหนึ่งเป็นบริวารของท้าวกุเวร หรือเวสสวัณ, ตามที่ถือกันมาว่ามีรูปร่างใหญ่โตน่ากลัวมีเขี้ยวงอกโง้ง ชอบกินมนุษย์กินสัตว์ โดยมากมีฤทธิ์เหาะได้ จำแลงตัวได้
  26. โลก : แผ่นดินเป็นที่อาศัย, หมู่สัตว์ผู้อาศัย; โลก ๓ คือ ๑.สังขารโลก โลกคือสังขาร ๒.สัตวโลก โลกคือหมู่สัตว์ ๓.โอกาสโลก โลกคือแผ่นดิน; อีกนัยหนึ่ง ๑.มนุษยโลก โลกมนุษย์ ๒.เทวโลก โลกสวรรค์ ทั้ง ๖ ชั้น ๓.พรหมโลก โลกของพระพรหม
  27. โลกบาลธรรม : ธรรมคุ้มครองโลก คือ ปกครองควบคุมใจมนุษย์ไว้ให้อยู่ในความดี มิให้ละเมิดศีลธรรม และให้อยู่กันด้วยความเรียบร้อยสงบสุข ไม่เดือนร้อนสับสนวุ่นวาย มี ๒ คือ ๑.หิริ ความละอายบาป ละอายใจต่อการทำความชั่ว ๒.โอตตัปปะ ความกลัวบาป เกรงกลัวต่อความชั่วและผลของกรรมชั่ว
  28. โลกวัชชะ : อาบัติที่เป็นโทษทางโลก คือ คนสามัญที่มิใช่ภิกษุทำเข้าก็เป็นความผิดความเสียหาย เช่น โจรกรรม ฆ่ามนุษย์ ทุบตีกัน ด่ากัน เป็นต้น; บางทีว่าเป็นข้อเสียหายที่ชาวโลกเขาติเตียน ถือว่าไม่เหมาะสมกับสมณะ เช่น ดื่มสุรา เป็นต้น
  29. วัตถุสมบัติ : ความถึงพร้อมแห่งวัตถุ, ความสมบูรณ์โดยบุคคลหรือวัตถุซึ่งเป็นที่ตั้งแห่งการทำสังฆกรรมนั้นๆ มีคุณสมบัติถูกต้อง ทำให้สังฆกรรมใช้ได้ไม่บกพร่องในด้านนี้ เช่น ในการอุปสมบท ผู้ขอบวชเป็นชายมีอายุครบ ๒๐ ปี ไม่เป็นมนุษย์วิบัติเช่นถูกตอน ไม่ได้ทำความผิดร้ายแรงเช่นฆ่าบิดามารดา ไม่ใช่คนทำความเสียหายในพระพุทธศาสนาอย่างหนัก เช่น ปาราชิก เมื่อบวชคราวก่อน ดังนี้เป็นต้น
  30. วิญญาณฐิติ : ภูมิเป็นที่ตั้งของวิญญาณ มี ๗ คือ ๑.สัตว์เหล่าหนึ่ง มีกายต่างกัน มีสัญญาต่างกัน เช่น พวกมนุษย์ พวกเทพบางหมู่ พวกวินิปาติกะ บางหมู่ ๒.สัตว์เหล่าหนึ่งมีกายต่างกัน มีสัญญาอย่างเดียวกัน เช่น พวกเทพผู้อยู่ในจำพวกพรหมผู้เกิดในภูมิปฐมฌาน ๓.สัตว์เหล่าหนึ่ง มีกายอย่างเดียวกัน มีสัญญาต่างกัน เช่น พวกเทพอาภัสสระ ๔.สัตว์เหล่าหนึ่ง มีกายอย่างเดียวกัน มีสัญญาอย่างเดียวกัน เช่น พวกเทพสุภกิณหะ ๕.สัตว์เหล่าหนึ่ง ผู้เข้าถึงชั้นอากาสานัญจายตนะ ๖.สัตว์เหล่าหนึ่ง ผู้เข้าถึงชั้นวิญญาณัญจายตนะ ๗.สัตว์เหล่าหนึ่ง ผู้เข้าถึงชั้นอากิญจายตนะ
  31. ศรีอารยเมตไตรย : พระนามของพระพุทธเจ้าพระองค์หนึ่ง ซึ่งจะอุบัติขึ้นในภายหน้า หลังจากสิ้นศาสนาพระโคดมแล้ว ในคราวที่มนุษย์มีอายุยืน ๘๐,๐๐๐ ปี นับเป็นพระพุทธเจ้าพระองค์ที่ ๕ แห่งภัทรกัปนี้ ดู พระพุทธเจ้า
  32. สตฺถา เทวมนุสฺสานํ : ทรงเป็นศาสดาของเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย, ทรงเป็นครูของบุคคลทั้งชั้นสูงและชั้นต่ำ, ทรงประกอบด้วยคุณสมบัติของครูและทรงทำหน้าที่ของครูเป็นอย่างดี คือทรงพร่ำสอนด้วยมหากรุณาหวังให้ผู้อื่นได้ความรู้อย่างแท้จริง, ทรงสอนมุ่งความจริงและประโยชน์เป็นที่ตั้ง ทรงแนะนำเวไนยสัตว์ด้วยประโยชน์ทั้งทิฏฐธัมมิกัตถะ สัมปรายิกัตถะ และปรมัตถะ, ทรงรู้จริงและปฏิบัติด้วยพระองค์เองแล้ว จึงทรงสอนผู้อื่นให้รู้และปฏิบัติตาม ทรงทำกับตรัสเหมือนกัน ไม่ใช่ตรัสสอนอย่างหนึ่งทำอย่างหนึ่ง, ทรงฉลาดในวิธีสอน, และทรงเป็นผู้นำหมู่ดุจนายกองเกวียน (ข้อ ๗ ในพุทธคุณ ๙)
  33. สมบัติ : ๑ ความถึงพร้อม, สิ่งที่ได้ที่ถึงด้วยดี, เงินทองของมีค่า, สิ่งที่มีอยู่ในสิทธิอำนาจของตน, ความพรั่งพร้อมสมบูรณ์, สมบัติ ๓ ได้แก่ มนุษยสมบัติ สมบัติในขั้นมนุษย์ สวรรคสมบัติ สมบัติในสวรรค์ (เทวสมบัติ หรือทิพยสมบัติ ก็เรียก) และนิพพานสมบัติ สมบัติ คือนิพพาน
  34. สมมติเทพ : เทวดาโดยสมมติ คือ โดยความตกลงหรือยอมรับร่วมกันของมนุษย์ ได้แก่พระราชา พระราชเทวี พระราชกุมาร (ข้อ ๑ ในเทพ ๓)
  35. สมมติสัจจะ : จริงโดยสมมติ คือ โดยความตกลงหมายรู้ร่วมกันของมนุษย์ เช่น นาย ก.นาย ข.ช้าง ม้า มด โต๊ะ หนังสือ พ่อ แม่ ลูก เพื่อน เป็นต้น ซึ่งเมื่อกล่าวตามสภาวะ หรือโดยปรมัตถ์แล้ว ก็เป็นเพียงสังขาร หรือนามรูป หรือขันธ์ ๕ เท่านั้น; คู่กับ ปรมัตถสัจจะ
  36. สุคติ : คติดี, ทางดำเนินที่ดี, สถานที่ที่ดีที่สัตว์โลกซึ่งทำกรรมดีตามแล้วไปเกิด ได้แก่ มนุษย์และเทพ ดู คติ, ทุคติ
  37. อกรณียะ : กิจอันบรรพชิตไม่ควรทำ ๔ อย่าง ทำแล้วขาดจากความเป็นภิกษุ คือ ๑) เสพเมถุน ๒) ลักของเขาตั้งแต่ ๕ มาสกขึ้นไป ๓) ฆ่ามนุษย์ ๔) อวดคุณพิเศษ (อุตริมนุสธรรม) ที่ไม่มีในตน (สำหรับภิกษุณี มี ๘) ดู อนุศาสน์
  38. อนุศาสน์ : การสอน, คำชี้แจง; คำสอนที่อุปัชฌาย์หรือกรรมวาจาจารย์บอกแก่ภิกษุใหม่ ในเวลาอุปสมบทเสร็จประกอบด้วย นิสสัย ๔ และ อกรณียกิจ ๔ นิสสัย คือ ปัจจัยเครื่องอาศัยของบรรพชิต มี ๔ อย่าง ได้แก่ ๑) เที่ยวบิณฑบาต ๒) นุ่งห่มผ้าบังสุกุล ๓) อยู่โคนไม้ ๔) ฉันยาดองด้วยน้ำมูตรเน่า (ท่านบอกไว้เป็นทางแสวงหาปัจจัย ๔ พร้อมทั้งอตเรกลาภของภิกษุ) อกรณียกิจ กิจที่ไม่ควรทำ หมายถึง กิจที่บรรพชิตทำไม่ได้ มี ๔ อย่าง ได้แก่ ๑) เสพเมถุน ๒) ลักของเขา ๓) ฆ่าสัตว์ (ที่ให้าดจากความเป็นภิกษุหมายเอาฆ่ามนุษย์) ๔) พูดอวดคุณวิเศษที่ไม่มีในตน
  39. อวตาร : การลงมาเกิด, การแบ่งภาคมาเกิด, เป็นความหมายในศาสนาพราหมณ์หรือฮินดู เช่น พระนารายณ์อวตาร คือแบ่งภาคลงมาจากสวรรค์มาเกิดเป็นมนุษย์ เป็นต้น
  40. อัคคัญญสูตร : ชื่อสูตรที่ ๔ แห่งทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค พระสุตตันตปิฎก ทรงแสดงแก่สามเณรวาเสฏฐะ และสามเณรภารัทวาชะ ผู้ออกบวชจากตระกูลพราหมณ์ ทรงคัดค้านคำกล่าวอ้างของพวกพราหมณ์ ที่ถือว่าพราหมณ์เป็นวรรณะประเสริฐที่สุด และถือว่าชาติกำเนิดเป็นเครื่องตัดสินความประเสริฐ และความต่ำทรามของมนุษย์ ทรงแสดงให้เห็นว่าความประเสริฐหรือต่ำทรามนั้นอยู่ที่ความประพฤติ โดยมีธรรมเป็นเครื่องตัดสิน คนวรรณะต่างๆ ออกบวชในพระพุทธศาสนาแล้ว ย่อมชื่อว่าเป็นผู้เกิดจากธรรมเสมอกันหมด แล้วทรงแสดงความเป็นมาของสังคมมนุษย์ เริ่มแต่เกิดมีสัตว์ขึ้นในโลกแล้วเปลี่ยนแปลงตามลำดับ จนเกิดมีมนุษย์ที่อยู่รวมกันเป็นหมู่เป็นพวก เกิดความจำเป็นต้องมีการปกครอง และมีการประกอบอาชีพ การงานต่างๆ กัน วรรณะทั้ง ๔ ก็เกิดจากความเปลี่ยนแปลงเหล่านี้ มิใช่เป็นเรื่องของพรหมสร้างสรรค์ แต่เกิดจากธรรม (ธรรมดา, กฎธรรมชาติ) ทุกวรรณะประพฤติชั่วก็ไปอบายได้ ปฏิบัติธรรมก็บรรลุนิพพานได้ ธรรมเป็นเครื่องตัดสิน และธรรมเป็นของประเสริฐสูงสุด ผู้ที่สิ้นอาสวกิเลสแล้ว เป็นผู้ประเสริฐสุดในวรรณะทั้ง ๔ ผู้ที่สมบูรณ์ด้วยวิชชาและจรณะ เป็นผู้ประเสริฐสุดในบรรดาเทวะ และมนุษย์ทั้งปวง
  41. อัปปมัญญา : ธรรมที่แผ่ไปไม่มีประมาณหมายถึง เมตตา กรุณา มุทิตา อุเบกขา ที่แผ่ทั่วไปในมนุษย์และสัตว์ทั้งหลายอย่างกว้างขวางสม่ำเสมอกัน ไม่จำกัดขอบเขต มี ๔ คือ เมตตา กรุณา มุทิตา อุเบกขา ที่กล่าวแล้วนั้น ดู พรหมวิหาร
  42. อุตตริมนุสสธรรม : ธรรมยวดยิ่งของมนุษย์, ธรรมของมนุษย์ผู้ยอดยิ่ง, ธรรมล้ำมนุษย์ ได้แก่ ฌาน วิโมกข์ สมาธิ สมาบัติ มรรคผล, บางทีเรียกให้ง่ายว่า ธรรมวิเศษ บ้าง คุณวิเศษ หรือ คุณพิเศษ บ้าง (พจนานุกรมเขียน อุตริมนุสธรรม)
  43. เอกเสสนัย : อาการกำหนดด้วยเหลือศัพท์เดียว, เป็นวิธีการอย่างหนึ่งในไวยากรณ์บาลี กล่าวคือ บุคคล วัตถุ หรือภาวะบางอย่าง เป็นของควบคู่กันมาด้วยกันเสมอ เมื่อเห็นอย่างหนึ่งก็เป็นอันรู้ถึงอีกอย่างหนึ่งด้วย หรือเป็นของชุดเดียวกัน จำพวกเดียวกัน เมื่อเรียกอย่างหนึ่ง จะหมายถึงอย่างหนึ่งอย่างใดในชุดหรือในจำพวกนั้นก็ได้ ในกรณีเช่นนี้ บางทีท่านกล่าวถึงหรือออกชื่อไว้อย่างใดอย่างหนึ่ง แต่เพียงอันเดียวให้ผู้อ่านหรือผู้ฟังหมายรู้อีกอย่างหนึ่งด้วย หรือให้เข้าใจเอาเอง จากข้อความแวดล้อมว่า ในที่นั้น หมายถึงอย่างไหนข้อใดในชุดหรือในจำพวกนั้น จึงเรียกว่า เหลือไว้อย่างเดียว หรือเหลือไว้ศัพท์เดียว เช่น พูดอย่างคำบาลีว่า พระสารีบุตรทั้งหลาย ก็หมายถึง พระสารีบุตรและพระมหาโมคคัลลานะ หรือในหลักปฏิจจสมุปบาท คำว่า นามรูป เป็นเอกเสสหมายถึง นามหรือรูป หรือทั้งนามและรูป คำว่า สฬายตนะ ก็เป็นเอกเสส หมายถึง อายตนะที่ ๖ ก็ได้ อายตนะทั้ง ๖ ก็ได้ ดังนั้น เมื่อพูดว่านามรูปเป็นปัจจัยให้เกิดสฬายตนะ ถ้าหมายถึงอรูปภพก็ต้องแปลความว่า นามเป็นปัจจัยให้เกิดอายตนะที่ ๖ (คือมโน) อนึ่ง เมื่อสิ่งอื่นในชุดเดียวกัน มีคำเฉพาะระบุชัดอยู่แล้ว คำที่เป็นชื่อรวมๆ ของชุด ก็ย่อมหมายถึงสิ่งที่ยังไม่ถูกระบุด้วยคำอื่น เช่น ในคำว่า สุคติ (และ) โลกสวรรค์ สวรรค์เป็นสุคติ แต่มีคำเฉพาะระบุไว้แล้ว ดังนั้น คำว่าสุคติในกรณีนี้จึงหมายถึง โลกมนุษย์ ซึ่งเป็นสุคติอย่างเดียวที่เหลือนอกจากสวรรค์
  44. โอปปาติกะ : สัตว์เกิดผุดขึ้น คือ เกิดผุดขึ้นมาและโตเต็มตัวในทันใด ตายก็ไม่ต้องมีเชื้อหรือซากปรากฏ เช่น เทวดาและสัตว์นรก เป็นต้น (ข้อ ๔ ในโยนิ ๔); บาลีว่า รวมทั้งมนุษย์บางพวก
  45. [1-44]

(0.0216 sec)