Dictionary : English, Thai, Pali. Link : Lexitron, RoyDict, BudDict, ETipitaka, PpmDict, Longdo.
Search: มาตรา , then มาตร, มาตรา .

Budhism Thai-Thai Dict : มาตรา, 24 found, display 1-24
  1. มาตรา : กิริยากำหนดประมาณ, เครื่องวัดต่างๆ เช่นวัดขนาด จำนวน เวลา ระยะทางเป็นต้น, มาตราที่ควรรู้ ดังนี้
  2. กุฑวะ : ชื่อมาตราตวงแปลว่า ฟายมือ คือ เต็มอุ้มมือหนึ่ง ดู มาตรา
  3. คาวุต : ซื่อมาตราวัดระยะทางเท่ากับ ๘๐ อุสภะ หรือ ๑๐๐ เส้น (๔ คาวุต เป็น ๑ โยชน์) ดู มาตรา
  4. เดือน : ดวงจันทร์, ส่วนของปี คือปีหนึ่งมี ๑๒ เดือนบ้าง ๑๓ เดือนบ้าง (อย่างจันทรคติ); การที่นับเวลาเป็นเดือนและเรียกเวลาที่นับนั้นว่าเดือนก็เพราะกำหนดเอาข้างขึ้นข้างแรมของเดือน คือดวงจันทร์เป็นหลักมาตั้งแต่ตั้งเดิม ดูชื่อเดือนที่ มาตรา
  5. นาฬี : ชื่อมาตราตวง แปลว่า ทะนาน ดู มาตรา
  6. มุฏฐิ : กำมือ ดู มาตรา
  7. ฤดู : คราว, สมัย, ส่วนของปีซึ่งแบ่งเป็น ๓ คราวขึ้นไป เช่น ฤดูฝน ฤดูหนาว ฤดูร้อน ดู มาตรา
  8. วัสสานฤดู : ฤดูฝน ดู มาตรา
  9. วัสสานะ : ฤดูฝน ดู มาตรา
  10. ธนู : มาตราวัดระยะทางเท่ากับ ๑ วา คือ ๔ ศอก
  11. อัพภันดร : มาตราวัดในภาษามคธ เทียบไทยได้ ๒๘ ศอก หรือ ๗ วา
  12. กหาปณะ : ชื่อมาตราเงินในสมัยโบราณ ๑ กหาปณะ เท่ากับ ๒๐ มาสก หรือ ๔ บาท
  13. โกฏิ : ชื่อมาตรานับ เท่ากับสิบล้าน
  14. คืบพระสุคต : ชื่อมาตราวัด ตามอรรถกถานัยว่า เท่ากับ ๓ คืบของคนปานกลาง คือ เท่ากับศอกคืบช่างไม้ แต่มตินี้ไม่สมจริง ปัจจุบันยุติกันว่าให้ถือตามไม้เมตร คือ เท่ากับ ๒๕ เซนติเมตร ประมาณกันกับคืบช่างไม้ ซึ่งเป็นการสะดวก และถ้าหากจะสั้นกว่าขนาดจริง ก็ไม่เสีย เพราะจะไม่เกินกำหนด ไม่เสียทางวินัย
  15. ฉายา : 1.เงา, อาการที่เป็นเงาๆ คือ ไม่ชัดออกไป, อาการเคลือบแฝง 2.ชื่อที่พระอุปัชฌายะตั้งให้แก่ผู้ขอบวชเป็นภาษาบาลี เรียกว่าชื่อฉายา ที่เรียกเช่นนี้เพราะเดิมเมื่อเสร็จการบวชแล้ว ต้องมีการวัดฉายาคือเงาแดดด้วยการสืบเท้าว่าเงาหดหรือเงาขยายแค่ไหน ชั่วกี่สืบเท้า การวัดเงาด้วยเท้านั้นเป็นมาตรานับเวลา เรียกว่า บาท เมื่อวัดแล้วจดเวลาไว้และจดสิ่งอื่นๆ เช่นชื่อพระอุปัชฌายะ พระกรรมวาจาจารย์ จำนวนสงฆ์ และชื่อผู้อุปสมบท ทั้งภาษาไทยและมคธ ลงในนั้นด้วย ชื่อใหม่ที่จดลงตอนวัดฉายานั้น จึงเรียกว่าชื่อฉายา
  16. นหุต : ชื่อมาตรานับ เท่ากับหนึ่งหมื่น
  17. ปละ : (ปะละ) ชื่อมาตราสำหรับชั่งน้ำหนักประมาณ ๕ ชั่ง
  18. มาส : เดือน ดู มาตรา, เดือน
  19. มาสก : ชื่อมาตราเงินในครั้งโบราณ ๕ มาสก เป็นหนึ่งบาท
  20. โยชน์ : ชื่อมาตราวัดระยะทาง เท่ากับ ๔ คาวุต หรือ ๔๐๐ เส้น
  21. ราศรี : 1.ชื่อมาตราวัดจักรราศีคือ ๓๐ องศาเป็น ๑ ราศรี และ ๑๒ ราศรีเป็น ๑ รอบจักรราศี (อาณาเขตโดยรอบดวงอาทิตย์ที่ดาวพระเคราะห์เดิน) ; ราศี ๑๒ นั้น คือ ราศีเมษ (แกะ), พฤษภ (วัว), เมถุน (คนคู่), กรกฏ (ปู), สิงห์ (ราชสีห์), กันย์ (หญิงสาว) ตุล (คันชั่ง), พฤศจิก (แมลงป่อง), ธนู (ธนู), มกร (มังกร), กุมภ์ (หม้อน้ำ), มีน (ปลา ๒ ตัว) 2.อาการที่รุ่งเรือง, ลักษณะที่ดีงาม 3.กอง เชน บุญราศี ว่ากองบุญ
  22. วัฑฒกีประมาณ : ประมาณของช่างไม้, เกณฑ์หรือมาตราวัดของช่างไม้
  23. สุคตประมาณ : ขนาดหรือประมาณของพระสุคต คือ พระพุทธเจ้า, เกณฑ์หรือมาตราวัดของพระสุคต
  24. อนุพยัญชนะ : ลักษณะน้อยๆ, พระลักษณะข้อปลีกย่อยของพระมหาบุรุษ (นอกเหนือจากมหาบุรุษลักษณะ ๓๒) อีก ๘๐ ประการ คือ ๑) มีนิ้วพระหัตถ์และนิ้วพระบาทอันเหลืองงาม, ๒) นิ้วพระหัตถ์และนิ้วพระบาทเรียวออกไป โดยลำดับแต่ต้นจนปลาย, ๓) นิ้วพระหัตถ์ แลนิ้วพระบาทกลมดุจนายช่างกลึงเป็นอันดี, ๔) พระนขาทั้ง ๒๐ มีสีอันแดง, ๕) พระนขาทั้ง ๒๐ นั้น งอนงามช้อนขึ้นเบื้องบนมิได้ค้อมลงเบื้องต่ำ ดุจเล็บแห่งสามัญชนทั้งปวง, ๖) พระนขานั้นมีพรรณอันเกลี้ยงกลม สนิทมิได้เป็นริ้วรอย, ๗) ข้อพระหัตถ์และข้อพระบาทซ่อนอยู่ในพระมังสะ มิได้สูงขึ้นปรากฏออกมาภายนอก, ๘) พระบาททั้งสองเสมอกันมิได้ย่อมใหญ่กว่ากันมาตรว่าเท่าเมล็ดงา, ๙) พระดำเนินงานดุจอาการเดินแห่งกุญชรชาติ, ๑๐) พระดำเนินงามดุจสีหราช, ๑๑) พระดำเนินงามดุจดำเนินแห่งหงส์, ๑๒) พระดำเนินงามดุจอุสภราชดำเนิน, ๑๓) ขณะเมื่อยืนจะย่างดำเนินนั้น ยกพระบาทเบื้องขวาย่างไปก่อน พระกายเยื้องไปข้างเบื้องขวาก่อน, ๑๔) พระชานุมณฑลเกลี้ยงกลมงามบริบูรณ์ บ่มิได้เห็นอัฏฐิสะบ้าปรากฏออกมาภายนอก, ๑๕) มีบุรุษพยัญชนะบริบูรณ์คือมิได้มีกิริยามารยาทคล้ายสตรี ๑๖) พระนาภีมิได้บกพร่อง กลมงามมิได้วิกลในที่ใดที่หนึ่ง, ๑๗) พระอุทรมีสัณฐานอันลึก, ๑๘) ภายในพระอุทรมีรอยเวียนเป็นทักขิณาวัฏฏ, ๑๙) ลำพระเพลาทั้งสองกลมงามดุจลำสุวรรณกัททลี, ๒๐) ลำพระกรทั้งสองงามดุจงวงแห่งเอราวัณเทพยหัตถี, ๒๑) พระอังคาพยใหญ่น้อยทั้งปวงจำแนกเป็นอันดี คือ งามพร้อมทุกสิ่งหาที่ตำหนิบ่มิได้, ๒๒) พระมังสะที่ควรจะหนาก็หนา ที่ควรจะบางก็บางตามที่ทั่วทั้งประสรีรกาย, ๒๓) พระมังสะมิได้หดหู่ในที่ใดที่หนึ่ง ๒๔) พระสรีรกายทั้งปวงปราศจากต่อมและไฝปาน มูลแมลงวันมิได้มีในที่ใดที่หนึ่ง, ๒๕) พระกายงามบริสุทธิ์พร้อมสมกันโดยตามลำดับทั้งเบื้องบนแลเบื้องล่าง, ๒๖) พระกายงามบริสุทธิ์พร้อมสิ้นปราศจากมลทินทั้งปวง, ๒๗) ทรงพระกำลังมาก เสมอด้วยกำลังแห่งกุญชรชาติ ประมาณถึงพันโกฏิช้าง ถ้าจะประมาณด้วยกำลังบุรุษก็ได้ถึงแสนโกฏิบุรุษ, ๒๘) มีพระนาสิกอันสูง, ๒๙) สัณฐานนาสิกงามแฉล้ม ๓๐) มีพระโอษฐ์เบื้องบนเบื้องต่ำมิได้เข้าออกกว่ากัน เสมอเป็นอันดี มีพรรณแดงงามดุจสีผลตำลึงสุก, ๓๑) พระทนต์บริสุทธิ์ปราศจากมูลมลทิน, ๓๒) พระทนต์ขาวดุจดังสีสังข์, ๓๓) พระทนต์เกลี้ยงสนิทมิได้เป็นริ้วรอย, ๓๔) พระอินทรีย์ทั้ง ๕ มีจักขุนทรีย์เป็นอาทิงามบริสุทธิ์ทั้งสิ้น, ๓๕) พระเขี้ยวทั้ง ๔ กลมบริบูรณ์, ๓๖) ดวงพระพักตร์มีสัณฐานยาวสวย ๓๗) พระปรางค์ทั้งสองดูเปล่งงามเสมอกัน, ๓๘) ลายพระหัตถ์มีรอยอันลึก, ๓๙) ลายพระหัตถ์มีรอยอันยาว ๔๐) ลายพระหัตถ์มีรอยอันตรง บ่มิได้ค้อมคด ๔๑) ลายพระหัตถ์มีรอยอันแดงรุ่งเรือง, ๔๒) รัศมีพระกายโอภาสเป็นปริมณฑลโดยรอบ ๔๓) กระพุ้งพระปรางค์ทั้งสองเคร่งครัดบริบูรณ์ ๔๔) กระบอกพระเนตรกว้างแลยาวงามพอสมกัน ๔๕) ดวงพระเนตรกอปรด้วยประสาททั้ง ๕ มีขาวเป็นอาทิผ่องใสบริสุทธิ์ทั้งสิ้น ๔๖) ปลายเส้นพระโลมาทั้งหลายมิได้งอมิได้คด ๔๗) พระชิวหามีสัณฐานอันงาม ๔๘) พระชิวหาอ่อนบ่มิได้กระด้างมีพรรณอันแดงเข้ม ๔๙) พระกรรณทั้งสองมีสัณฐานอันยาวดุจกลีบปทุมชาติ ๕๐) ช่องพระกรรณมีสัณฐานอันกลมงาม ๕๑) ระเบียบพระเส้นทั้งปวงนั้นสละสลวยบ่มิได้หดหู่ในที่อันใดอันหนึ่ง ๕๒) แถวพระเส้นทั้งหลายซ่อนอยู่ในพระมังสะทั้งสิ้น บ่มิได้เป็นคลื่นฟูขึ้นเหมือนสามัญชนทั้งปวง ๕๓) พระเศียรมีสัณฐานงามเหมือนฉัตรแก้ว ๕๔) ปริมณฑลพระนลาฏโดยกว้างยาวพอสมกัน ๕๕) พระนลาฏมีสัณฐานอันงาม ๕๖) พระโขนงมีสัณฐานอันงามดุจคันธนูอันก่งไว้ ๕๗) พระโลมาที่พระโขนงมีเส้นอันละเอียด ๕๘) เส้นพระโลมาที่พระโขนงงอกขึ้นแล้วล้มราบไปโดยลำดับ ๕๙) พระโขนงนั้นใหญ่ ๖๐) พระโขนงนั้นยาวสุดหางพระเนตร ๖๑) ผิวพระมังสะละเอียดทั่วทั้งพระกาย ๖๒) พระสรีรกายรุ่งเรืองไปด้วยสิริ ๖๓) พระสรีรกายมิได้มัวหมอง ผ่องใสอยู่เป็นนิตย์ ๖๔) พระสรีรกายสดชื่นดุจดวงดอกปทุมชาติ ๖๕) พระสรีรสัมผัสอ่อนนุ่มสนิท บ่มิได้กระด้างทั่วทั้งพระกาย ๖๖) กลิ่นพระกายหอมฟุ้งดุจกลิ่นสุคนธกฤษณา ๖๗) พระโลมามีเส้นเสมอกันทั้งสิ้น ๖๘) พระโลมามีเส้นละเอียดทั่วทั้งพระกาย ๖๙) ลมอัสสาสะและปัสสาสะลมหายพระทัยเข้าออกก็เดินละเอียด ๗๐) พระโอษฐมีสัณฐานอันงามดุจแย้ม ๗๑) กลิ่นพระโอษฐหอมดุจกลิ่นอุบล ๗๒) พระเกสาดำเป็นแสง ๗๓) กลิ่นพระเกสาหอมฟุ้งขจรตลบ ๗๔) พระเกสาหอมดุจกลิ่นโกมลบุบผชาติ ๗๕) พระเกสามีสัณฐานเส้นกลมสลวยทุกเส้น ๗๖) พระเกสาดำสนิททั้งสิ้น ๗๗) พระเกสากอปรด้วยเส้นอันละเอียด ๗๘) เส้นพระเกสามิได้ยุ่งเหยิง ๗๙) เส้นพระเกสาเวียนเป็นทักขิณาวัฏฏทุกๆ เส้น ๘๐) วิจิตรไปด้วยระเบียบพระเกตุมาลา กล่าวคือถ่องแถวแห่งพระรัศมีอันโชตนาการขึ้น ณ เบื้องบนพระอุตมังคสิโรตม์ฯ นิยมเรียกว่า อสีตยานุพยัญชนะ; ดู มหาบุรุษลักษณะ
  25. [1-24]

(0.0165 sec)