Dictionary : English, Thai, Pali. Link : Lexitron, RoyDict, BudDict, ETipitaka, PpmDict, Longdo.
Search: ยอม .

Royal Institute Thai-Thai Dict : ยอม, 188 found, display 1-50
  1. ยอม : ก. อาการที่แสดงออกบอกให้รู้ว่าเห็นด้วย ไม่ขัด ตกลงปลงใจ เช่น ยอม ตามที่สั่ง ยอมนั่ง ยอมตาย, ผ่อนผันให้ เช่น ยอมให้ทําได้ ยอมให้ไป, ไม่สู้ เช่น เรื่องนี้ผมยอมเขา.
  2. ยอมความ : (กฎ) ก. ตกลงระงับคดีอาญาที่เป็นความผิดต่อส่วนตัวก่อน คดีถึงที่สุด.
  3. ประนีประนอมยอมความ : (กฎ) น. ชื่อสัญญาซึ่งผู้เป็นคู่สัญญาทั้ง ๒ ฝ่าย ระงับข้อพิพาทอันใดอันหนึ่งซึ่งมีอยู่หรือจะมีขึ้นนั้นให้เสร็จ ไปด้วยต่างยอมผ่อนผันให้แก่กัน.
  4. ย่อม ๑ : คําช่วยกริยา แสดงว่าเป็นไปตามปรกติ ตามธรรมดา หรือ เป็นสามัญทั่ว ๆ ไป เช่น สัตว์ทั้งหลายเกิดมาแล้วย่อมตาย.
  5. ย่อม ๒ : ว. มีขนาดค่อนข้างเล็กเมื่อเปรียบเทียบกับสิ่งที่ใหญ่กว่า เช่น นี่ขนาดใหญ่ นั่นขนาดย่อม, เบา (ใช้แก่ราคา); ลดลง, หย่อน.
  6. ยิน ๑ : ก. รู้เสียงด้วยหู (มักใช้ว่า ได้ยิน), ฟัง, ใช้ประกอบกับคําอื่นหมายความว่า รู้สึก, ชอบ, ยอม ก็มี.
  7. ลง : ก. ไปสู่เบื้องตํ่าหรือไปสู่เบื้องที่ถือว่าตรงข้ามกับขึ้น เช่น นํ้าลง เครื่องบินลง, ไปสู่พื้นดินและพื้นอื่น ๆ เช่น ลงดิน ลงบันได ลงเรือ; เอาเครื่องมือจับสัตว์นํ้าวางขึง หรือปัก เพื่อจับสัตว์นํ้า เช่น ลงข่าย ลงลอบ ลงอวน ลงเบ็ด; จด เช่น ลงบัญชี; ทําพิธี จารึกมนตร์หรือสิ่งศักดิ์สิทธิ์ เช่น ลงเลขลงยันต์ ลงนะหน้าทอง ลงกระหม่อม; ยอม เช่น ผู้น้อยต้องลงผู้ใหญ่; ตีพิมพ์ออกเผยแพร่ เช่น เอาข่าวไปให้หนังสือพิมพ์ลง ลงแจ้งความ; ตกลงปลงใจ แล้วก็ปักใจถือเอาเป็นแน่ เช่น ลงได้ทําเป็นไม่ทิ้ง ลงสู้แล้วไม่ถอย; ปลูก เช่น ลงมะพร้าว ลงลิ้นจี่; ลด เช่น ราคาทองลง ค่าเงินดอลลาร์ลง; ตก เช่น นํ้าค้างลง ฝนลง หมอกลง; เฆี่ยน เช่น ลงไม้ เอาหวายลงหลัง; ท้องเดิน เช่น ทั้งลงทั้งราก. ว. อาการที่ไปสู่เบื้องตํ่า เช่น ไหลลง เลื่อนลง ถอยลง; มากกว่าเดิม เช่น เลวลง ผอมลง ถูกลง สั้นลง.
  8. ก็ ๑ : สัน. แล้ว, จึง, ย่อม, เช่น พอหันหน้ามาก็พบเขา ทำดีก็ได้ดี.
  9. กฎหมายปิดปาก : (กฎ) น. หลักกฎหมายที่ไม่ยอมให้อ้าง หรือพิสูจน์ข้อเท็จจริงให้ผิดไปจากข้อเท็จจริงที่ปรากฏ ตามพฤติการณ์ ไม่ว่าข้อเท็จจริงที่ปรากฏนั้นจะเป็นจริง หรือไม่ก็ตาม. (อ. estoppel).
  10. ก้นหนัก : ว. ไปนั่งคุยอยู่นาน ไม่ยอมกลับง่าย ๆ.
  11. ก้มหัว : ก. น้อมหัวลงเพื่อแสดงกิริยาเคารพ, โดยปริยายหมายความ ว่า ยอมอ่อนน้อม (มักใช้ในความปฏิเสธ) เช่น ไม่ยอมก้มหัวให้ใคร.
  12. กรรโชก : [กัน-] ก. ขู่เอาด้วยกิริยาหรือวาจาให้กลัว, เขียนเป็น กันโชก หรือ กําโชก ก็มี. (แผลงมาจาก กระโชก). (กฎ) น. ชื่อความผิดอาญาฐานข่มขืนใจผู้อื่นให้ยอมให้หรือ ยอมจะให้ตนหรือผู้อื่นได้ประโยชน์ในลักษณะที่เป็น ทรัพย์สิน โดยใช้กําลังประทุษร้ายหรือโดยขู่เข็ญว่าจะทํา อันตรายต่อชีวิต ร่างกาย เสรีภาพ ชื่อเสียง หรือทรัพย์สิน ของผู้ถูกขู่เข็ญ หรือของบุคคลที่สาม จนผู้ถูกข่มขืนใจยอม เช่นว่านั้น เรียกว่า ความผิดฐานกรรโชก.
  13. กระด้างกระเดื่อง : ก. แข็ง เช่น หนึ่งโสดฝุ่นทรายตรึงตรา นอนแนบหินผา กระด้างกระเดื่องทั้งตัว. (ดุษฎีสังเวย). ว. ไม่อ่อนน้อม, เอาใจออกหากไม่ยอมอ่อนน้อมอย่างเคย.
  14. กระเป๋าหนัก : (ปาก) ว. มีเงินมาก, ร่ำรวย, เช่น วันนี้ยอมเป็น เจ้ามือเลี้ยงข้าว สงสัยจะกระเป๋าหนัก.
  15. กาหลงรัง : (สํา) น. ผู้ที่ไปหลงติดอยู่ ณ บ้านใดบ้านหนึ่งแล้ว ไม่ยอมกลับบ้านของตน, ผู้เร่ร่อนไปไม่มีที่พักพิงเป็นหลักแหล่ง.
  16. กินน้ำใต้ศอก : (สํา) ก. จําต้องยอมเป็นรองเขา, ไม่เทียมหน้าเทียมตาเท่า, (มักหมายถึงเมียน้อยที่ต้องยอมลงให้แก่เมียหลวง).
  17. เก : ว. ไม่ตรงตามแนว, ไม่เป็นระเบียบ, (ใช้แก่ของที่เป็นซี่เป็นลํา) เช่น ฟันเก ขาเก; ไม่ยอมปฏิบัติตามระเบียบ; เกะกะ, เกเร; (ปาก) ท้าพนันด้วยการเสนอเงินเดิมพันสูงขึ้นเรื่อย ๆ.
  18. เกลือจิ้มเกลือ : (สํา) ว. ไม่ยอมเสียเปรียบกัน, แก้เผ็ดให้สาสมกัน. น. คนเค็มต่อคนเค็มมาพบกัน.
  19. เกี่ยง : ก. อาการที่ต่างฝ่ายต่างไม่ยอมทําเพราะกลัวจะเสียเปรียบกันเป็นต้น.
  20. เกี่ยงตาย : ก. เลี่ยงไปทางตาย, ยอมตาย, เช่น หวั่นฤทธิ์คิดครั่นสงคราม จักยุทธพยายาม คือขวัญสกนธ์เกี่ยงตาย. (สรรพสิทธิ์).
  21. โกง : ก. ใช้อุบายหรือเล่ห์เหลี่ยมหลอกลวง เช่น โกงเงิน, แสดงอาการดื้อไม่ยอมทําตาม เช่น เด็กโกง ม้าโกง. ว. โค้ง, ไม่ตรง, เช่น หลังโกง.
  22. ขวนขวาย : [-ขฺวาย] ก. หมั่นเสาะแสวงหาเพิ่มเติมโดยไม่ยอมอยู่นิ่ง, ขวายขวน ก็ว่า.
  23. ของ้อ : ก. อ่อนเข้าหาเพื่อขอคืนดีด้วย, อ่อนเข้าหาเพื่อให้ยอม หรือช่วยเหลือ.
  24. ขัดข้อง : ก. ไม่ยอมให้ทํา, ไม่ตกลงด้วย, ติดขัด.
  25. ขัดใจ : ก. โกรธเพราะทําไม่ถูกใจ, ไม่ยอมให้ทําตามใจ.
  26. ขาย : ก. เอาของแลกเงินตรา, โอนกรรมสิทธิ์แห่งทรัพย์สินให้แก่กันโดย ตกลงกันว่าผู้รับโอนจะใช้ราคาแห่งทรัพย์สินนั้น มีหลายลักษณะ คือ ชําระเงินในขณะที่ซื้อขายกัน เรียกว่า ขายเงินสด, ขายโดยยอม เก็บเงินอันเป็นราคาของในวันหลัง เรียกว่า ขายเชื่อ, (เลิก) เอาเงินเขา มาโดยยอมตนเข้ารับใช้การงานของเจ้าเงิน เรียกว่า ขายตัวลงเป็นทาส.
  27. ขายเงินเชื่อ, ขายเชื่อ : ก. ขายโดยยอมเก็บเงินอันเป็นมูลค่าในวันหลัง.
  28. ขายผ้าเอาหน้ารอด : (สํา) ก. ยอมเสียสละแม้แต่ของจําเป็นที่ตนมีอยู่ เพื่อรักษาชื่อเสียงของตนไว้, ทําให้สําเร็จลุล่วงไป เพื่อรักษาชื่อเสียง ของตนไว้.
  29. ขิงก็รา ข่าก็แรง : (สํา) ต่างก็จัดจ้านพอ ๆ กัน, ต่างก็มีอารมณ์ร้อนพอ ๆ กัน, ต่างไม่ยอมลดละกัน.
  30. ขีน : ก. ยั้งไว้หรือบังคับไว้ไม่ให้เป็นไปตาม เช่น ขืนตัว ขืนเรือ; ไม่ควรทํา แต่ยังกล้าทํา เช่น ขืนกิน ขืนสู้, ไม่ยอมทําตาม เช่น ขืนคําสั่ง.
  31. ขืนใจ : ก. บังคับให้ยอมทําตาม เช่น ขืนใจเด็กให้กินยา; ข่มขืน.
  32. ขูดรีด : ก. แสวงหาประโยชน์โดยวิธีบีบบังคับเอา, แสวงหาประโยชน์ โดยวิธีบีบบังคับให้จํายอม.
  33. แข็ง : ว. กระด้าง เช่น ลิ้นแข็ง; ไม่อ่อน, ไม่นิ่ม, เช่น เนื้อแข็ง ของแข็ง; กล้า เช่น แดดแข็ง; ไม่ยอมง่าย ๆ, ไม่รู้สึกสงสาร, เช่น ใจแข็ง; แรง เช่น วันแข็ง ชะตาแข็ง, เข้มแข็ง, ทนทาน, เก่ง, เช่น ทํางานแข็ง วิ่งแข็ง; ว่ายาก เช่น เด็กคนนี้แข็ง; นิ่งไม่ไหวติง, ไม่กระดิกกระเดี้ย, เช่น ขาแข็ง ตัวแข็ง.
  34. แข็งข้อ : ก. ไม่ยอมตาม, ตั้งข้อสู้.
  35. แข่งดี : ก. มุ่งเอาชนะชิงดีชิงเด่นโดยไม่ยอมลดราวาศอกให้แก่กัน, มุ่งเอาชนะชิงดีชิงเด่นโดยไม่ยอมผ่อนปรนให้แก่กัน.
  36. แข็งเมือง : ก. กลับตั้งเป็นอิสระ, ไม่ยอมเป็นเมืองขึ้นอีกต่อไป.
  37. คว่ำบาตร : (สํา) ก. ไม่ยอมคบค้าสมาคมด้วย, เดิมหมายถึงสังฆกรรมที่ พระสงฆ์ประกาศลงโทษคฤหัสถ์ผู้ประทุษร้ายต่อศาสนาด้วยการไม่คบ ไม่รับบิณฑบาต เป็นต้น.
  38. คอเป็นเอ็น : (สํา) ว. ขึ้นเสียงเถียงโต้อย่างไม่ยอมลดละ, เถียงเก่ง, เช่น หวงแหนหึงผัวตัวเป็นเกลียว จนเสียงขุ่นเสียงเขียวคอเป็นเอ็น. (คาวี).
  39. คิดเล็กคิดน้อย : ก. คิดละเอียดถี่ถ้วนเกินไป ไม่ยอมเสียเปรียบใคร.
  40. เค้น : ก. บีบเน้นลงไปโดยแรง เช่น เค้นผลไม้ให้น่วม เค้นฝีให้หนองออก เค้นคอให้ยอมหรือให้ตาย, โดยปริยายหมายถึงบีบบังคับหรือฝืนทำ สิ่งใดสิ่งหนึ่ง เช่น เค้นเอาความลับออกมา เค้นหัวเราะ.
  41. โค่ง ๒ : น. คําเรียกผู้บรรพชาเป็นสามเณรมาจนอายุครบอุปสมบทเป็นภิกษุ แต่ไม่ยอมอุปสมบทว่า เณรโค่ง.
  42. ง้องอน : ก. อ้อนวอนขอคืนดีด้วย, อ่อนเข้าหาเพื่อให้ยอมหรือช่วยเหลือ, งอนง้อ ก็ว่า.
  43. งอนง้อ : ก. อ้อนวอนขอคืนดีด้วย, อ่อนเข้าหาเพื่อให้ยอมหรือช่วยเหลือ, ง้องอน ก็ว่า.
  44. เงินเชื่อ : น. เงินค่าสิ่งของที่ยอมให้ชำระภายหลังเมื่อซื้อขาย, เงินแห้ง ก็เรียก.
  45. จ๊อก : ว. เสียงร้องของไก่เมื่อเวลาเจ็บหรือใกล้จะตาย, เสียงร้องของไก่ชนตัวที่แพ้, โดยปริยายหมายความว่า ยอมแพ้, ใช้ตามสํานวนนักเลงไก่ เพราะไก่ตัวใด ร้องจ๊อก ก็แสดงว่าไก่ตัวนั้นแพ้; เสียงท้องร้องเวลาหิว, จ๊อก ๆ ก็ว่า.
  46. จาว ๓ : ว. ตามกันไป, ประสานกันไป, เช่น ชลธารนทีเจือ จาวหลั่ง ไหลนา. (ทวาทศมาส). (ไทยขาว จาว ว่า ตกลง, ยอมตาม; จ่าว ว่า คล้อย ตามคำแนะนำ).
  47. ใจแข็ง : ว. ไม่ยอมง่าย ๆ, ไม่รู้สึกสงสาร, อดกลั้นความเจ็บปวดหรือ ทุกข์โศกไว้ได้.
  48. ใจหิน : ว. มีใจโหดเหี้ยม, มีใจที่แข็งมากไม่ยอมโอนอ่อน เช่น โจรใจหิน.
  49. ใจอ่อน : ว. ยอมง่าย, สงสารง่าย.
  50. ชักสองแถว : ก. ยอมแพ้ (ใช้แก่ปลากัดซึ่งมีตัวซีด มีเส้นดํา ขึ้นที่ตัวเป็น ๒ แถว).
  51. [1-50] | 51-100 | 101-150 | 151-188

(0.0255 sec)