Dictionary : English, Thai, Pali. Link : Lexitron, RoyDict, BudDict, ETipitaka, PpmDict, Longdo.
Search: ระมัดระวัง .

Royal Institute Thai-Thai Dict : ระมัดระวัง, 27 found, display 1-27
  1. ระมัดระวัง : ก. ดูแลให้ปลอดภัย, ดูแลอย่างรอบคอบไม่ให้พลั้งพลาด, เช่น ระมัดระวัง ให้ดีเวลาข้ามถนน ระมัดระวังเรื่องสายไฟฟ้ารั่วให้มาก. ว. ประหยัด, ไม่สุรุ่ยสุร่าย, เช่นใช้จ่ายอย่างระมัดระวัง.
  2. ประหยัด : ก. ยับยั้ง, ระมัดระวัง, เช่น ประหยัดปาก ประหยัดคํา; ใช้จ่ายแต่ พอควรแก่ฐานะ.
  3. ประคอง : ก. พยุงให้ทรงตัวอยู่ เช่น ประคองตัวเอง, ช่วยพยุงไม่ให้เซไม่ให้ล้ม เป็นต้น เช่น ประคองคนเจ็บให้ลุก ประคองคนแก่เดิน, ระมัดระวัง ไม่ให้หกหรือพลั้งพลาด เช่น ประคองชามแกงให้ดี, โอบรัดเบา ๆ เช่น หนุ่มสาวเดินประคองกันไป; โดยปริยายหมายถึงอาการที่ คล้ายคลึงเช่นนั้น เช่น ประคองสถานการณ์บ้านเมืองไว้ให้ดี.
  4. กระทำโดยประมาท : (กฎ) ก. กระทำความผิดมิใช่โดยเจตนา แต่กระทำโดยปราศจากความระมัดระวังซึ่งบุคคลในภาวะเช่นนั้น จักต้องมีตามวิสัยและพฤติการณ์ และผู้กระทำอาจใช้ความ ระมัดระวังเช่นว่านั้นได้ แต่หาได้ใช้ให้เพียงพอไม่.
  5. กระผลีกระผลาม : [-ผฺลี-ผฺลาม] ว. รีบร้อนเกินไปโดยไม่ระมัดระวังหรือไม่ถูกกาลเทศะ.
  6. กระเหม็ดกระแหม่ : [-แหฺม่] ก. เขม็ดแขม่, ใช้จ่ายอย่างระมัดระวัง เพราะเกรงว่าจะไม่พอใช้.
  7. กะเปิ๊บกะป๊าบ : (ปาก) ว. พูดเสียงดังเอะอะและไม่ระมัดระวังวาจาหรือท่าทาง, มีกิริยาท่าทางหรือแต่งตัวรุงรังไม่เรียบร้อย.
  8. กำแพงเจ็ดชั้น ๑ : น. ชื่อมนตร์. กำแพงมีหูประตูมีช่อง, กำแพงมีหูประตูมีตา (สํา) น. การที่จะพูด หรือทําอะไร ให้ระมัดระวัง แม้จะเป็นความลับเพียงไร ก็อาจมีคนล่วงรู้ได้.
  9. เขม็ดแขม่ : [ขะเหฺม็ดขะแหฺม่] ก. กระเหม็ดกระแหม่, ใช้จ่ายอย่างระมัดระวัง เพราะเกรงว่าจะไม่พอใช้.
  10. ไข่ในหิน : (สํา) น. ของที่ต้องระมัดระวังทะนุถนอมอย่างยิ่ง.
  11. ซุ่มซ่าม : ว. กิริยาที่กระทำไปโดยไม่ใช้ความระมัดระวังหรือไม่ถูกกาลเทศะ เช่น เดินซุ่มซ่ามชนสิ่งของจนเสียหาย ซุ่มซ่ามเข้าไปในสถานที่ ที่ไม่ควรจะเข้าไป.
  12. ถนอม : [ถะหฺนอม] ก. คอยระวังประคับประคองไว้ให้ดี เช่น ถนอมนํ้าใจ, ใช้อย่างระมัดระวังเพื่อไม่ให้เสียหรือหมดเร็ว เช่น ถนอมของกิน ของใช้ ถนอมแรง, เก็บไว้อย่างดี เช่น ถนอมเอาไว้ก่อน, สนอม ก็ว่า. (ข. ถฺนม). ถนอมอาหาร ก. เก็บผัก ผลไม้ หรือเนื้อสัตว์ไว้ให้ อยู่ได้นาน ๆ ด้วยกรรมวิธีบางอย่างเพื่อกันเสียหรือเสื่อมคุณภาพ.
  13. เถลือกถลน : [ถะเหฺลือกถะหฺลน] ว. ลุกลน, ลนลาน, รีบร้อนจนขาดความระมัดระวัง, ถลีถลํา ก็ว่า.
  14. ทะเล่อทะล่า : ว. อาการที่ทำสิ่งใดสิ่งหนึ่งอย่างพรวดพราดโดยไม่ถูกกาลเทศะ หรืออย่างไม่ระมัดระวัง เช่น เดินทะเล่อทะล่าเข้าไปในที่ประชุม วิ่งทะเล่อทะล่าออกไปที่ถนนเลยถูกรถชน.
  15. ทื่อ : ว. ไม่คม (ใช้แก่ของแบน ๆ ที่มีคมแต่ไม่คม) เช่น มีดทื่อ; ไม่ เฉียบแหลม เช่น ปัญญาทื่อ; ไม่มีลับลมคมใน เช่น พูดทื่อ ๆ; นิ่งเฉยอยู่ไม่กระดุกกระดิกเหมือนสิ่งไม่มีชีวิต เช่น แข็งทื่อ, ซื่อ ก็ว่า. ก. รี่เข้าใส่โดยไม่ระมัดระวัง เช่น ทื่อเข้าใส่.
  16. บรรจง : [บัน-] ก. ตั้งใจทํา เช่น บรรจงเขียน, ทําโดยระมัดระวัง เช่น มีน้อย ใช้น้อยค่อยบรรจง. ว. อย่างประณีต เช่น เขียนบรรจง, ตัวบรรจง.
  17. เบามือ, เบาไม้เบามือ : ก. ทําเบา ๆ หรือค่อย ๆ ด้วยความระมัดระวัง, ทําไม่ให้หนักมือหรือรุนแรง; ช่วยให้ไม่ต้องทํางานมาก. ว. ที่ออก แรงน้อยในการจับถือหรือยกเป็นต้น เช่น ไม้เท้าเบามือ กระเป๋าเบามือ.
  18. ประคับประคอง : ก. คอยระมัดระวังพยุงไว้, คอยบํารุงรักษา, ทะนุถนอมอย่างดี.
  19. ประมาท : [ปฺระหฺมาด] ก. ขาดความรอบคอบ, ขาดความระมัดระวังเพราะ ทะนงตัว, เช่น เวลาขับรถอย่าประมาท; ดูหมิ่น เช่น ประมาทฝีมือ. น. ความเลินเล่อ, การขาดความระมัดระวัง, เช่น ขับรถโดยประมาท; (กฎ) กระทําโดยปราศจากความระมัดระวังซึ่งบุคคลในภาวะเช่นนั้น จักต้องมีตามวิสัยและพฤติการณ์ และผู้กระทําอาจใช้ความระมัดระวัง เช่นว่านั้นได้ แต่หาได้ใช้ให้เพียงพอไม่. (ส. ปฺรมาท; ป. ปมาท).
  20. ประมาทเลินเล่อ : ก. กระทำโดยปราศจากความระมัดระวังหรือ ละเลยในสิ่งที่ควรกระทำ.
  21. โป้ง : ว. อาการที่พูดโพล่งออกมาโดยไม่ระมัดระวังปาก หรือพูดเปิดเผย สิ่งที่ไม่สมควรออกมาโดยไม่คํานึงถึงความผิดพลาดเสียหาย; ใหญ่ เช่น หัวโป้ง; เสียงดังอย่างเสียงปืนเป็นต้น.
  22. ผลีผลาม : [ผฺลีผฺลาม] ว. รีบร้อนเกินไปโดยไม่ระมัดระวังหรือไม่ถูกกาลเทศะ.
  23. พลั้งปากเสียศีล พลั้งตีนตกต้นไม้ : (สํา) ก. พูดหรือทําอะไรโดยไม่ ระมัดระวังย่อมเกิดความเสียหาย.
  24. มือห่างตีนห่าง : (สํา) ว. สุรุ่ยสุร่าย; เลินเล่อ, สะเพร่า, ไม่ระมัดระวัง.
  25. สงวนท่าที, สงวนทีท่า : ก. ไม่แสดงท่าทีให้ปรากฏชัดแจ้งเพื่อไม่ให้ ผู้อื่นรู้ความคิดของตน เช่น เขาสงวนท่าทีไม่ยอมแสดงความคิดเห็น ในที่ประชุม, ระมัดระวังกิริยาวาจาไม่ให้ใครดูถูก เช่น ก่อนจะทักทาย ใคร ควรสงวนทีท่าไว้บ้าง.
  26. สงวนปากสงวนคำ : ก. พูดด้วยความระมัดระวัง, ระมัดระวังคำพูด, เช่น จะพูดจาอะไร รู้จักสงวนปากสงวนคำไว้บ้าง ผู้อื่นจะรู้ความคิด.
  27. เหนียวแน่น : ว. มีความระมัดระวังมากในการใช้จ่าย เช่น เขาเป็นคน เหนียวแน่น; แน่นแฟ้น เช่น มิตรภาพระหว่างประเทศทั้งสองนี้ เหนียวแน่นมาก.
  28. [1-27]

(0.0115 sec)