Dictionary : English, Thai, Pali. Link : Lexitron, RoyDict, BudDict, ETipitaka, PpmDict, Longdo.
Search: ราคะ , then ราค, ราคะ, ราคา .

Royal Institute Thai-Thai Dict : ราคะ, 132 found, display 1-50
  1. ราค–, ราคะ : น. ความกําหนัดยินดีในกามารมณ์, ความใคร่ในกามคุณ. (ป., ส.).
  2. ราคา : น. มูลค่าของสิ่งของที่คิดเป็นเงินตรา; จํานวนเงินซึ่งได้มีการชําระหรือ ตกลงจะชําระในการซื้อขายทรัพย์สิน, โดยปริยายหมายความว่า ค่า, คุณค่า, มักใช้ในความปฏิเสธเช่น เขาทำตัวเป็นคนไม่มีราคา.
  3. กามราค, กามราคะ : [กามมะราก, กามมะ-] น. ความกําหนัดในกาม. (ป., ส.).
  4. ไฟกิเลส : น. กิเลสที่เปรียบเสมือนไฟเพราะทำให้จิตใจเร่าร้อน ได้แก่ ราคะโทสะ และโมหะ.
  5. ยั่ว : (โบ) น. ยาน, เครื่องพาตัวไป, เช่น วอ เสลี่ยง รถ, บางทีใช้ควบกับคํา ยาน เป็น ยั่วยาน, ต่อมาใช้เลือนเป็น ยวดยาน. ก. พูดหรือทําให้เกิดอารมณ์ใน ทางใดทางหนึ่งรุนแรงขึ้น เช่น ยั่วราคะ ยั่วโทสะ ยั่วโมโห ยั่วกิเลส.
  6. วิราคะ : น. ความปราศจากราคะ, ความหน่าย, ความไม่ไยดี; พระนิพพาน. (ป., ส.).
  7. วีต : [วีตะ] ว. ไปแล้ว, หมดแล้ว, ปราศจาก, มักใช้ประกอบหน้าศัพท์อื่น เช่น วีตราคะ ว่า หมดราคะ วีตโลภะ ว่า หมดความโลภ. (ป., ส.).
  8. อนุสัย : น. กิเลสที่สงบนิ่งอยู่ในสันดาน, กิเลสอย่างละเอียด มี ๗ อย่าง ได้แก่ ๑. กามราคะ = ความกำหนัดในกาม ๒. ปฏิฆะ = ความ ขัดใจคือโทสะ ๓. ทิฏฐิ = ความเห็นผิด ๔. วิจิกิจฉา = ความลังเล สงสัย ๕. มานะ = ความถือตัว ๖. ภวราคะ = ความกำหนัดในภพ ๗. อวิชชา = ความไม่รู้แจ้งคือโมหะ. (ป. อนุสย; ส. อนุศย).
  9. ราคาตลาด : (กฎ) น. ราคาที่ซื้อขายกันทั่วไปในท้องที่ใดท้องที่หนึ่ง และในขณะใดขณะหนึ่ง, ราคาท้องตลาด ก็เรียก.
  10. ราคจริต : น. แนวโน้มไปในทางกำหนัดยินดีในกามารมณ์, ความใคร่ ในกามคุณ, ความมีใจเอนเอียงไปในทางรักสวยรักงาม.
  11. ประกวดราคา : ก. เสนอราคาแข่งขันกัน.
  12. ประทุมราค : [ปฺระทุมมะราก] น. ปัทมราค, พลอยสีแดง, ทับทิม, เช่น แขกเต้าตาก ปีกปาก ประทุมราคแดงฉัน. (เสือโค). (ป. ปทุมราค; ส. ปทฺมราค).
  13. ผุสราคา : [ผุดสะ] น. บุษปราค.
  14. สอบราคา : ก. สอบดูราคาสิ่งของตามร้านค้าต่าง ๆ ว่าแตกต่างกัน อย่างไร, ตรวจสอบราคาที่ขายว่าถูกต้องตามที่ทางราชการกำหนด ไว้หรือไม่, สอบถามราคาในการพิมพ์หรือการซื้อเป็นต้นจากแหล่ง ต่าง ๆ เพื่อหาราคาต่ำสุด.
  15. หักราคา : ก. ตัดราคาให้ตํ่าลง เช่น พ่อค้าหักราคาข้าวเพราะมีความชื้นสูง และคุณภาพต่ำ.
  16. อุปราคา : [อุปะราคา, อุบปะราคา] น. การทําให้ดํา, การทําให้มีมลทิน, ใน คําว่า จันทรุปราคา สุริยุปราคา.
  17. เงื้อง่าราคาแพง : (สํา) ก. จะทําอะไรก็ไม่กล้าตัดสินใจทําลงไป ดีแต่ทําท่า หรือวางท่าว่าจะทําเท่านั้น.
  18. ได้ราคา : ก. ขายได้เงินมากกว่าที่คาดไว้.
  19. บุษบราค : [-ราก] น. บุษราคัม, ทับทิม, บุษย์นํ้าทอง, พลอยสีเหลือง. (ส. ปุษฺปราค).
  20. บุษปราค : [บุดสะปะราก] น. บุษย์นํ้าทอง.
  21. ปัทมราค, ปัทมราช : น. พลอยสีแดง, ทับทิม.
  22. ตราภูมิ : (โบ) น. หนังสือประจำตัวสำหรับคุ้มค่าน้ำค่าตลาดสมพัตสรได้เพียง ราคา ๑ ตำลึง. (ประกาศ ร. ๔), มักใช้เข้าคู่กับคำ คุ้มห้าม เป็น ตราภูมิคุ้มห้าม.
  23. ทองคำ : น. ธาตุลําดับที่ ๗๙ สัญลักษณ์ Au เป็นโลหะ ลักษณะเป็น ของแข็งสีเหลือง หลอมละลายที่ ๑๐๖๓?ซ. เนื้ออ่อนมาก บุให้เป็น แผ่นจนมีความหนาน้อยกว่า ๐.๐๐๐๑ มิลลิเมตรได้ ใช้ทํารูปพรรณ ต่าง ๆ และทําเงินตรา ปัจจุบันกําหนดความบริสุทธิ์ของทองคําด้วย หน่วยกะรัต โดยกําหนดว่า ทองคํา ๒๔ กะรัตเป็นทองคําบริสุทธิ์ที่สุด, โบราณกําหนดคุณภาพของเนื้อ ตั้งแต่เนื้อสี่ถึงเนื้อเก้า โดยตั้งพิกัด ราคาตามเนื้อทอง เช่น ทองเนื้อหก คือ ทองหนัก ๑ บาท ราคา ๖ บาท ทองเนื้อเก้า คือ ทองหนัก ๑ บาท ราคา ๙ บาท. (ประกาศ ร. ๔), ทองเนื้อเก้านี้เป็นทองแท้เป็นทองบริสุทธิ์ เรียกว่า ทองธรรมชาติ ทองเนื้อแท้ ทองนพคุณ หรือบางทีเรียกว่า ทองชมพูนุท เช่นว่า ดังทองชมพูนุทเนื้อเก้า. (สังข์ทอง ตอนตีคลี). (อ. gold).
  24. ทองเนื้อเก้า : น. ทองคำบริสุทธิ์ โบราณกำหนดคุณภาพของเนื้อ ตั้งแต่เนื้อสี่ถึงเนื้อเก้า โดยตั้งพิกัดราคาตามเนื้อทอง คือ ทองหนัก ๑ บาท ราคา ๙ บาท, ทองธรรมชาติ ทองเนื้อแท้ ทองนพคุณ หรือ ทองชมพูนุท ก็เรียก.
  25. สนนราคา : [สะหฺนน] น. ราคา.
  26. อรรฆ : [อัก] น. ค่า, ราคา. (ส. อรฺฆ; ป. อคฺฆ).
  27. กด ๔ : ก. บังคับลง, ข่ม, ใช้กําลังดันให้ลง, โดยปริยายหมายความว่า แกล้ง กักไว้ เช่น กดคดี; ทำให้มีค่าน้อยลงกว่าที่ควรจะเป็น เช่น กดราคา กดคะแนน; (กลอน) สะกด, ขืน, เช่น อย่ากดใจฟั้นย่า นานนัก. (ลอ).
  28. กระเบื้องถ้วยกะลาแตก : น. เศษภาชนะดินเผาที่แตกออกเป็น ชิ้นเล็กชิ้นน้อย, โดยปริยายหมายถึงของเล็ก ๆ น้อย ๆ ไม่เป็นชิ้นเป็นอันที่ชํารุดหรือขาดชุดหมดราคา.
  29. กระพัด : น. เชือกหรือลวดหนังตีเป็นเกลียวหุ้มผ้าแดง ปรกติคล้องผูกอยู่ รอบคอช้าง เมื่อตั้งสัปคับหรือกูบอย่างใดอย่างหนึ่ง ใช้ปลาย ทั้ง ๒ ข้างผูกสัปคับหรือกูบเพื่อรั้งมิให้เลื่อนไปทางท้ายช้างขณะ เดินขึ้นที่ชัน, เขียนเป็น กระพัตร ก็มี เช่น และกระพัตรรัตคนควร. (ดุษฎีสังเวย). ก. ผูก, คาด, ล้อม, เช่น เหตุกระพัดรัดตาด้วยไฟราค. (ม. ร่ายยาว ชูชก).
  30. กวีนิพนธ์ : น. คําประพันธ์ที่กวีแต่ง. [กะสะหฺนะ] (กลอน) น. ครู่, ครั้ง, คราว. (ส.; ป. ขณ). [กะสะ-] (แบบ) น. ความอดกลั้น, ความอดโทษ, เช่น พระกษมาเสมอหล้า สี่แดน. (ยวนพ่าย). ก. กล่าวคําขอโทษ, โดยมากใช้ว่า ษมา. (ส. กฺษมา; ป. ขมา). [กะสะ-] (แบบ) น. แผ่นดิน. (ส. กฺษฺมา; ป. ฉมา). [กะสัด] (โบ) น. พระเจ้าแผ่นดิน, เจ้านาย. (ส. กฺษตฺร; ป. ขตฺต). [กะสัดตฺรา] (กลอน) น. กษัตริย์ เช่น คือพรหมทัตกษัตรา. (กฤษณา). กษัตราธิราช น. พระเจ้าแผ่นดิน. [กะสัด] น. พระเจ้าแผ่นดิน, ใช้เต็มว่า พระมหากษัตริย์, คนในวรรณะที่ ๒ แห่งสังคมฮินดู ซึ่งมีอยู่๔วรรณะ ได้แก่ วรรณะพราหมณ์ วรรณะกษัตริย์ วรรณะแพศย์ และวรรณะศูทร. (ส. กฺษตฺริย ว่า ผู้ป้องกันภัย, ชาตินักรบ, ป. ขตฺติย). ว. แท้ไม่มีอื่นปน เช่น ทองเนื้อกษัตริย์, เรียกรูปพรรณที่ทําด้วยโลหะมีราคา เช่น ถ้าทําด้วยเงิน ทอง นาก สลับกัน เรียกว่า สามกษัตริย์.
  31. กษัตริย์ : [กะสัด] น. พระเจ้าแผ่นดิน, ใช้เต็มว่า พระมหากษัตริย์, คนในวรรณะที่ ๒ แห่งสังคมฮินดู ซึ่งมีอยู่๔วรรณะ ได้แก่ วรรณะพราหมณ์ วรรณะกษัตริย์ วรรณะแพศย์ และวรรณะศูทร. (ส. กฺษตฺริย ว่า ผู้ป้องกันภัย, ชาตินักรบ, ป. ขตฺติย). ว. แท้ไม่มีอื่นปน เช่น ทองเนื้อกษัตริย์, เรียกรูปพรรณที่ทําด้วยโลหะมีราคา เช่น ถ้าทําด้วยเงิน ทอง นาก สลับกัน เรียกว่า สามกษัตริย์.
  32. กันเอง : ว. เป็นพวกเดียวกัน, สนิทสนมกัน, เช่น ราคากันเอง.
  33. กินนอกกินใน : ก. เอากําไรในการซื้อขาย ทั้งในราคาและ นอกราคาที่กําหนด.
  34. กุย ๑ : น. ชื่อสัตว์เคี้ยวเอื้องชนิด Saiga tatarica ในวงศ์ Bovidae มีถิ่นกําเนิดในแถบไซบีเรียตอนใต้มองโกเลียตะวันตก และจีนตะวันตกเฉียงเหนือ เขามีราคาแพง ใช้ทํายาได้.
  35. เก๊ : ว. ปลอมหรือเลียนแบบเพื่อให้หลงผิดว่าเป็นของแท้, ไม่ใช่ของแท้, ไม่ใช่ของจริง, โดยปริยายหมายความว่า ไม่มีราคา, ใช้การไม่ได้. (จ.).
  36. โก่ง : ก. ทำให้งอเป็นรูปโค้ง, ทําให้โค้ง, เช่น โก่งศร โก่งคอ, ก่ง ก็ว่า; บอกราคาเกินสมควร เช่น โก่งราคา. ว. โค้ง เช่น คิ้วโก่ง, ก่ง ก็ว่า.
  37. ขัด ๔ : (โบ; กลอน) ก. คาด เช่น มีพิกัดขัดค่าเป็นราคาน้อยมาก. (ม. ร่ายยาว มหาราช).
  38. ขา ๒ : น. พวก, ฝ่าย, เช่น ขานักเลง ขาเจ้าชู้; เรียกผู้ร่วมเล่นการพนันเช่นไพ่ ว่า ขา; คราว, เที่ยว, เช่น ขากลับ ขาเข้า ขาออก; (โบ) สลึง, ใช้เฉพาะ ราคาทองคำที่คิดเป็นราคาเงินบาท เศษที่เป็นสลึงเรียกว่า ขา เช่น ทองคำหนัก ๑ บาท เป็นราคาเงิน ๘ บาท ๒ สลึง เรียกว่า ทองเนื้อแปด สองขา ถ้าเป็นราคาเงิน ๘ บาท ๓ สลึง เรียกว่า ทองเนื้อแปดสามขา
  39. ขาดค่า : ก. จํากัดราคาตายตัว.
  40. ขาดตัว : ว. จํากัดราคาคงที่ไม่เพิ่มไม่ลด, จํากัดราคาตายตัว.
  41. ขาย : ก. เอาของแลกเงินตรา, โอนกรรมสิทธิ์แห่งทรัพย์สินให้แก่กันโดย ตกลงกันว่าผู้รับโอนจะใช้ราคาแห่งทรัพย์สินนั้น มีหลายลักษณะ คือ ชําระเงินในขณะที่ซื้อขายกัน เรียกว่า ขายเงินสด, ขายโดยยอม เก็บเงินอันเป็นราคาของในวันหลัง เรียกว่า ขายเชื่อ, (เลิก) เอาเงินเขา มาโดยยอมตนเข้ารับใช้การงานของเจ้าเงิน เรียกว่า ขายตัวลงเป็นทาส.
  42. ขายทอดตลาด : (กฎ) น. การขายทรัพย์สินที่กระทําโดยเปิดเผยแก่บุคคล ทั่วไปด้วยวิธีเปิดโอกาสให้ผู้ซื้อสู้ราคากัน ผู้ใดให้ราคาสูงสุดและผู้ทอด ตลาดแสดงความตกลงด้วยเคาะไม้หรือด้วยกิริยาอย่างอื่นตามจารีต ประเพณีในการขายทอดตลาด ผู้นั้นเป็นผู้ซื้อทรัพย์สินนั้น.
  43. ขายเหมา : [-เหฺมา] ก. ขายเป็นจํานวนรวมทั้งหมด. (กฎ) น. การขายซึ่งผู้ซื้อตกลงซื้อทรัพย์สินที่ผู้ขายเสนอขายหมด ทั้งจํานวนในราคาตามที่ตกลงกัน ซึ่งผู้ซื้อต้องผูกพันชําระราคา และผู้ขายต้องส่งมอบทรัพย์สินทั้งหมดตามที่ตกลงกันไว้ ทั้งนี้ ไม่ว่า ทรัพย์สินที่ซื้อขายจะมีปริมาณมากหรือน้อยกว่าที่คิดคํานวณไว้.
  44. ขี้หมูขี้หมา : (ปาก) ว. ไร้สาระ, ไม่สำคัญ, ไม่มีค่า, ไม่มีราคา.
  45. ขึ้น ๑ : ก. ไปสู่เบื้องบน เบื้องสูง หรือ เบื้องหน้า, ไปสู่เบื้องที่ถือว่าตรงข้าม กับลง; เพิ่มหรือทําให้เพิ่ม เช่น ขึ้นราคา ขึ้นภาษี ราคาขึ้น ภาษีขึ้น; เริ่ม เช่น ขึ้นหนุ่ม ขึ้นบรรทัดใหม่; เอาเข้าไว้เป็นหลักฐาน เช่น ขึ้นทะเบียน ขึ้นทําเนียบ; เอ่ยคําหยาบออกมาด้วยความโกรธ เช่น ขึ้นมึง ขึ้นกู; เกิด, มี, เช่น ฝีขึ้น สนิมขึ้น; นิยมนับถือ,เลื่อมใส, เช่น อาจารย์คนนี้มีคนขึ้นมาก; อยู่ในสังกัด เช่น กรมศิลปากรขึ้นกับ กระทรวงศึกษาธิการ; อืดพอง เช่น ศพขึ้น ท้องขึ้น; ฟู เช่น ขนมขึ้น; แรกปรากฏจากขอบฟ้า เช่น ตะวันขึ้น; งอก เช่น ต้นไม้ขึ้น; มีโชค จะทําอะไรก็ประสบผล เช่น มือขึ้น ชะตาขึ้น; ก่ง เช่น ขึ้นธนู; ขึง เช่น ขึ้นกลอง ขึ้นฆ้อง; เริ่มเดินเป็นครั้งแรก เช่น ขึ้นขุน ขึ้นโคน; ทําให้เป็น รูปร่าง เช่น ขึ้นรูป ขึ้นกระบุง; เอาเช็คเป็นต้นไปขอรับเป็นตัวเงินจาก ธนาคาร เรียกว่า ขึ้นเงิน; เอาเข้าเก็บไว้ เช่น ขึ้นคลัง; (ปาก) แล่นไปตาม ทางจากใต้ไปเหนือ เช่น รถขึ้น ขาขึ้น. น. ข้างขึ้น เช่น ขึ้นคํ่าหนึ่ง ขึ้น ๒ คํ่า.
  46. ขึ้นโต๊ะ : ว. เรียกลักษณะของสิ่งที่ดีมีราคา, (ปาก) เรียกลักษณะของสิ่ง ที่ไม่มีราคาแต่ยกย่องให้เป็นสิ่งที่มีราคา.
  47. ขูดเลือด, ขูดเลือดขูดเนื้อ : ก. เรียกเอาราคาหรือดอกเบี้ยเกินสมควร.
  48. แขนง ๒ : [ขะแหฺนง] ก. แหนง, แคลง, เช่น และแขนงหฤทัยนาง. (ม. คําหลวง มัทรี); ใช้ในการต่อของให้ราคาตํ่า ถือเป็นลางบอกว่าจะขายไม่ได้ราคาดีต่อไป.
  49. คอสูง : ว. ชอบกินหรือใช้ของดีราคาแพง.
  50. ค่า : น. มูลค่าหรือราคาของสิ่งใด ๆ ทั้งที่เป็นรูปธรรมและนามธรรม ที่มีประโยชน์ในทางใช้สอย แลกเปลี่ยน หรือทางจิตใจเป็นต้น บางอย่างก็ประเมินเป็นเงินได้ บางอย่างก็ประเมินเป็นเงินไม่ได้ เช่น ทองคำเป็นของมีค่า เวลามีค่ามาก; จำนวนเงินที่เป็นราคาสิ่งของหรือบริการ เป็นต้น เช่น ค่าจ้าง ค่าเช่า ค่าโดยสาร ค่าอาหาร; (คณิต) จำนวนหรือ ตัวเลขที่ระบุปริมาณหรือขนาดของตัวแปร; (สำ) เรียกสิ่งใดสิ่งหนึ่ง ที่มีคุณค่ามากจนไม่อาจประเมินเป็นเงินได้ว่า เป็นสิ่งที่หาค่ามิได้.
  51. [1-50] | 51-100 | 101-132

(0.0679 sec)