Dictionary : English, Thai, Pali. Link : Lexitron, RoyDict, BudDict, ETipitaka, PpmDict, Longdo.
Search: ราชาศัพท์ .

Royal Institute Thai-Thai Dict : ราชาศัพท์, 90 found, display 1-50
  1. ราชาศัพท์ : น. คําเฉพาะใช้สําหรับเพ็ดทูลพระเจ้าแผ่นดินและเจ้านาย, ต่อมาหมายรวมถึงคําที่ใช้กับพระภิกษุสงฆ์ ข้าราชการ และสุภาพชนด้วย.
  2. กรรณ, กรรณ- : [กัน, กันนะ-] น. หู, ใบหู, กลอน ใช้เป็น กรรณา ก็มี เช่น กรรณาคือกลีบกาญจ- นปัทม์. (สมุทรโฆษ), ราชาศัพท์ ใช้ว่า พระกรรณ. (ส. กรฺณ).
  3. เครา : [เคฺรา] น. ขนที่ขึ้นตามแก้มหรือขากรรไตร, ราชาศัพท์ ว่า พระทาฐิกะ. (ทมิฬ เค-รา).
  4. บุ้ง ๒ : น. ชื่อไม้เถาชนิด Ipomoea aquatica Forssk. ในวงศ์ Convolvulaceae ทอดเลื้อยตามพื้นดินหรือบนผิวนํ้า ดอกสีขาวหรือม่วงอ่อน ลําต้น กลวง ยอดกินได้ เรียก ผักบุ้ง, พันธุ์ดอกขาวเรียก ผักบุ้งจีน, ราชาศัพท์ เรียก ผักทอดยอด.
  5. ไม้เกาหลัง : น. ไม้ด้ามยาว ปลายด้านหนึ่งมักทำเป็นรูปมือ สำหรับใช้เกาหลัง, ราชาศัพท์ ใช้ว่า ฉลองได.
  6. ศอ : น. คอ, ราชาศัพท์ ว่า พระศอ.
  7. จัณฑ-, จัณฑ์ : [จันทะ-, จัน] ว. ดุร้าย, หยาบช้า, เกรี้ยวกราด, ฉุน, ฉุนเฉียว; ราชาศัพท์. ใช้เรียกสุราหรือเมรัยว่า นํ้าจัณฑ์. (ป., ส.)
  8. ล้นกระเพาะ : ว. ลักษณะที่กินมากจนแน่น เช่น กินจนล้นกระเพาะ. ล้นเกล้าล้นกระหม่อม น. คําเรียกพระเจ้าแผ่นดินโดยความเคารพ นับถือมาก เช่น ล้นเกล้าล้นกระหม่อมของปวงชนชาวไทย. ว. ใช้เป็น ราชาศัพท์ หมายความว่า มากล้นพ้นประมาณ, ใช้เขียนย่อว่าล้นเกล้าฯ ก็ได้ เช่น นับเป็นพระมหากรุณาธิคุณล้นเกล้าฯ หาที่สุดมิได้.
  9. กรรบิด : [กัน-] น. มีด, ราชาศัพท์ว่า พระกรรบิด. (ข. กำบิต ว่า มีด).
  10. กระจกเงา : น. แผ่นกระจกฉาบด้านหลังด้วยแผ่นบาง ๆ ของโลหะเงินหรือโลหะเจือปรอทแล้วทาสีทับ ใช้สําหรับส่องหน้า เป็นต้น, มักเรียกสั้น ๆ ว่า กระจก, ลักษณนามว่า บาน, ราชาศัพท์ว่า พระฉาย; (วิทยา) วัตถุที่มีผิวมันสามารถส่งภาพหรือแสงสะท้อน กลับได้.
  11. กลด ๑ : [กฺลด] น. ร่มขนาดใหญ่ชนิดหนึ่ง ขอบร่มมีระบาย คันยาวกว่าก้านร่ม ใช้ถือกั้นเจ้านาย หรือพระภิกษุที่ ได้รับพระราชทานสมณศักดิ์, ราชาศัพท์ว่า พระกลด, เรียกร่มขนาดใหญ่มีด้าม สำหรับพระธุดงค์โดยเฉพาะ, เรียกดวงอาทิตย์หรือดวงจันทร์ที่มีแสงสีรุ้งเป็นวงกลมล้อมรอบว่า ดวงอาทิตย์ทรงกลด ดวงจันทร์ทรงกลด. (ข. กฺลส).
  12. กันแสง : (ราชา) ก. ร้องไห้, ราชาศัพท์ใช้ว่า ทรงพระกันแสง หรือ ทรงกันแสง. (ข. กนฺแสง ว่า ผ้าเช็ดปาก, ผ้าเช็ดมือ, ผ้าเช็ดหน้า).
  13. เกี้ยว ๑ : น. เครื่องประดับลักษณะเป็นวงคล้ายพวงมาลัยสําหรับสวมจุก, ราชาศัพท์ว่า พระเกี้ยว; เครื่องประดับที่มีลักษณะคล้ายคลึงเช่นนั้น เช่น เกี้ยวลอมพอก เกี้ยวชฎา; ผ้าคาดพุงสำหรับขุนนาง เรียกว่า ผ้าเกี้ยว เช่น เกี้ยวลาย คือผ้าคาดพุงที่มีลาย (บางทีเข้าใจกันว่าเป็นผ้านุ่ง อย่างหนึ่ง) .ก. รัด, พันแน่น, ติดแน่น, เช่น เพราะประพฤติมันเกี้ยว เกี่ยงร้ายแกมดี. (โลกนิติ); พูดให้รักในเชิงชู้สาว, พูดแทะโลม, พูดเลียบเคียงเพื่อให้สมปรารถนา.
  14. เกือก : (ปาก) น. รองเท้า, ลักษณนามว่า คู่ หรือ ข้าง, ราชาศัพท์ว่า รองพระบาท หรือ ฉลองพระบาท.
  15. แก้ม : น. บริเวณหน้าทั้ง ๒ ข้างถัดตาลงมา, ราชาศัพท์ว่า พระปราง, โดยปริยายหมายถึงสิ่งที่มีรูปเช่นนั้น เช่น เฉือนมะม่วงเอาแต่ ๒ แก้ม = เฉือนเอา ๒ ส่วนที่มีลักษณะเหมือนแก้ม.
  16. โกรธ : [โกฺรด] ก. ขุ่นเคืองใจอย่างแรง, ไม่พอใจอย่างรุนแรง, ราชาศัพท์ว่า ''ทรงพระโกรธ'' ก็ใช้ เช่น ก็จะทรงพระโกรธ ดั่งเพลิงกาล. (อิเหนา). (ส. โกฺรธ).
  17. ขน ๑ : น. สิ่งที่เป็นเส้นขึ้นตามผิวหนังคนและสัตว์ เช่น ขนตา ขนนก ขนเม่น และใช้ตลอดไปจนถึงที่ขึ้นบนผิวต้นไม้ ผลไม้ ใบไม้ และอื่น ๆ, ราชาศัพท์ว่า พระโลมา.
  18. ขนง : [ขะหฺนง] น. คิ้ว, ใช้เป็นราชาศัพท์ว่า พระขนง.
  19. ขนอง : [ขะหฺนอง] น. หลัง, ใช้เป็นราชาศัพท์ว่า พระขนอง, ปฤษฎางค์ ก็ว่า. (ข. ขฺนง).
  20. ของเคียง : น. ของกินที่เอามาตั้งเทียบข้างเพื่อกินประกอบกับอาหาร บางชนิด, ราชาศัพท์ว่า เครื่องเคียง.
  21. ของว่าง : น. ของกินนอกเวลากินอาหารตามปรกติ มักกินในเวลาบ่าย, อาหารว่าง ก็ว่า, ราชาศัพท์ว่า เครื่องว่าง.
  22. ของ้าว : น. อาวุธด้ามยาวมีง้าวอยู่ตรงปลาย ใต้คอของด้ามมีขอ สําหรับสับบังคับช้างได้, ราชาศัพท์ว่า พระแสงของ้าว
  23. ขี้ : ก. กิริยาที่ถ่ายกากอาหารออกทางทวารหนัก, ถ่ายอุจจาระ, ราชาศัพท์ว่า ลงพระบังคนหนัก. น. กากอาหารที่ร่างกายไม่ต้องการแล้วขับถ่ายออก ทางทวารหนัก, อุจจาระ, สิ่งที่ร่างกายขับถ่ายออกมาเกรอะกรังอยู่ เช่น ขี้ไคล ขี้รังแค ขี้หู ขี้ตา, โดยปริยายหมายความถึงสิ่งที่ไม่ต้องการ เช่น ขี้ตะกั่ว, เศษหรือกากที่ออกมาจากสิ่งนั้น ๆ เช่น ขี้กบ ขี้เลื่อย. ว. ใช้ ประกอบหน้าคําที่แสดงความหมายในทางที่ไม่ดี เช่น ขี้เกียจ ขี้เหนียว, หรือมักเป็นเช่นนั้น เช่น ขี้หัวเราะ ขี้ขอ.
  24. ขี้แมลงวัน : น. จุดดําเล็ก ๆ ที่ขึ้นตามร่างกาย, ราชาศัพท์ว่า พระปิลกะ.
  25. ขุดเพ็ด : น. รูปจำลองอวัยวะเพศชาย ใช้เป็นเครื่องรางของขลัง, ปลัดขิก ไอ้ขิก หรือ อ้ายขิก ก็เรียก, ถ้าใช้เป็นเครื่องบูชาตามศาลเจ้า เรียกว่า ดอกไม้เจ้า, ราชาศัพท์ว่า ทองพระขุน.
  26. เขนย : [ขะเหฺนย] (กลอน) น. หมอนหนุน, ราชาศัพท์ว่า พระเขนย. (ข. เขฺนิย).
  27. เขฬะ : [เข-ละ] น. นํ้าลาย, ราชาศัพท์ว่า พระเขฬะ. (ป.).
  28. เข่า : น. ส่วนที่ต่อระหว่างขาส่วนบนกับขาส่วนล่าง สําหรับคู้ขาเข้าและ เหยียดขาออก เช่น คุกเข่า ตีเข่า ขึ้นเข่า, ราชาศัพท์ว่า พระชานุ.
  29. เข้าที่ : ก. นั่งภาวนากรรมฐาน (ทางพระศาสนา); กลับเหมือนเดิม เช่น ซ้อมจนเข้าที่; นอน ใช้ในราชาศัพท์ พูดเต็มว่า เข้าที่บรรทม.
  30. เขี้ยว : น. ฟันแหลมคมสําหรับฉีกเนื้อและอาหาร อยู่ระหว่างฟันหน้ากับกราม, ราชาศัพท์ว่า พระทาฐะ หรือ พระทาฒะ, (ถิ่น-พายัพ) ฟัน.
  31. แข้ง : น. ส่วนหน้าของขา ใต้เข่าลงไปถึงข้อเท้า, หน้าแข้งก็ว่า, ราชาศัพท์ว่า พระชงฆ์.
  32. คม ๑ : ก. ก้ม, คํานับ, ไหว้, ราชาศัพท์ใช้ว่า ทรงคมในความหมายว่า ทรงไหว้. (กร่อนมาจาก บังคม). (ข.).
  33. คลอด : [คฺลอด] ก. ออกลูก, ออกจากครรภ์, ราชาศัพท์ว่า ประสูติ; (ปาก) ออก เช่น กฎหมายใหม่ยังไม่คลอด.
  34. คอ : น. ส่วนของร่างกายที่ต่อศีรษะกับตัว, ราชาศัพท์ว่า พระศอ; ส่วนของ ภาชนะที่คอดอยู่ระหว่างตัวกับปาก เช่น คอหม้อ; เรียกส่วนลําต้นของ พรรณไม้วงศ์ปาล์มที่อยู่ระหว่างใบล่างสุดกับยอด เช่น คอมะพร้าว คอตาล; โดยปริยายหมายความว่า ความมีใจชอบเสพสิ่งใดสิ่งหนึ่ง เป็นอาจิณ เช่น คอเหล้า คอเบียร์ คอหนัง คอละคร.
  35. คาง ๑ : น. ส่วนของร่างกายที่สุดขากรรไตร อยู่ใต้ปาก, ราชาศัพท์ว่า พระหนุ.
  36. เครื่องมือ : น. สิ่งของสําหรับใช้ในการงาน, โดยปริยายหมายถึงคน หรือสิ่งที่ใช้ทําประโยชน์อย่างเครื่องมือ เช่น อย่าตกเป็นเครื่องมือ ของโจรผู้ร้าย, ส่วนเครื่องมือที่มีคม ราชาศัพท์ว่า พระแสง เช่น พระแสงสิ่ว พระแสงกบ พระแสงเลื่อย. (ลัทธิ).
  37. เครื่องสำอาง : น. สิ่งเสริมแต่งหรือบํารุงใบหน้า ผิวพรรณ ผม ฯลฯ ให้ดูงาม เช่น แป้ง ลิปสติก ดินสอเขียนคิ้ว, ราชาศัพท์ว่า เครื่อง พระสําอาง; (กฎ) วัตถุที่มุ่งหมายสําหรับใช้ทา ถู นวด โรย พ่น หยอด ใส่ อบ หรือกระทําด้วยวิธีอื่นใดต่อส่วนหนึ่งส่วนใดของ ร่างกาย เพื่อความสะอาด ความสวยงาม หรือส่งเสริมให้เกิดความ สวยงาม และรวมตลอดทั้งเครื่องประทินผิวต่าง ๆ ด้วย.
  38. โคปผกะ : [โคบผะกะ] (แบบ) น. ตาตุ่ม, ข้อเท้า, ราชาศัพท์ว่า พระโคปผกะ. (ป.).
  39. ไคล ๑ : [ไคฺล] น. เหงื่อที่ปนกับฝุ่นละอองติดกรังอยู่กับหนังกําพร้า, (ปาก) ขี้ไคล, ราชาศัพท์ว่า พระเมโท; ตะไคร่น้ำ เช่น ปูกินไคล.
  40. จะงอย : น. ปลายหรือที่สุดที่มีลักษณะโค้งหรืองุ้มลง เช่น จะงอยปากนกแก้ว จะงอยบ่า, ราชาศัพท์เรียก จะงอยบ่า ว่า พระอังสกุฏ.
  41. จุก ๑ : น. ผมเด็ก ๆ ที่ขมวดเอาไว้ตรงขม่อม, ผมจุก หรือ หัวจุก ก็เรียก, ราชาศัพท์ว่า พระเมาลี หรือ พระโมลี; กลุ่ม, ขมวด, หมวด, (ใช้แก่หัวหอมหัวกระเทียม เรียกว่า จุกหอม จุกกระเทียม); ลักษณนามเรียกสิ่งที่มัดรวมกันเป็นจุก เช่น ผูกผม ๒ จุก จุกหอม ๓ จุก.
  42. จุฑามณี : น. ปิ่น, ราชาศัพท์ว่า พระจุฑามณี; มวยผมของพระพุทธเจ้า; ชื่อพระธาตุเจดีย์บรรจุพระเกศธาตุของพระพุทธเจ้าอยู่ที่ดาวดึงส์ เรียกว่า จุฑามณีเจดีย์, จุฬามณี ก็ว่า. (ส.; ป. จูฬามณี).
  43. เจ็บ : ก. ป่วยไข้, ราชาศัพท์ว่า ประชวร; รู้สึกทางกายเมื่อถูกทุบตีหรือ เป็นแผลเป็นต้น.
  44. ฉาย ๑ : น. เงา, ที่ร่ม; ราชาศัพท์เรียกกระจกส่องหน้าว่า พระฉาย. (ป., ส. ฉายา).
  45. ชงฆ, ชงฆ์, ชงฆา : [ชงคะ] (กลอน; แบบ) น. แข้ง, ราชาศัพท์ว่า พระชงฆ์. (ป. ชงฺฆ; ส. ชงฺฆา).
  46. ช้อน : น. เครื่องใช้สําหรับตักของกิน มีที่จับยื่นออกมา, ลักษณนาม ว่า คัน, ราชาศัพท์ว่าฉลองพระหัตถ์ช้อน; เรียกเครื่องใช้ที่มีรูป คล้ายคลึงเช่นนั้น เช่น ช้อนรองเท้า; เครื่องจับปลาชนิดหนึ่ง ใหญ่กว่าสวิง ถักเป็นร่างแห ขอบเป็นรูปสามเหลี่ยมหรือ วงกลม มีด้ามจับ. ก. ตักเอาสิ่งที่อยู่ในนํ้าหรือในของเหลว เช่น ช้อนปลา ช้อนลูกนํ้า ช้อนแหน ช้อนผง; โดยปริยาย หมายถึงอาการที่คล้ายคลึงเช่นนั้น เช่น ช้อนหุ้น; เอามือ เป็นต้นสอดลงไปข้างล่างแล้วยกขึ้น เช่น ช้อนศีรษะ; เหลือบขึ้น เช่น ช้อนตา.
  47. ดรรชนี ๑ : [ดัดชะนี] น. นิ้วชี้, ราชาศัพท์ใช้ว่า พระดรรชนี, ดัชนี ก็ใช้. (ส. ตรฺชนี; ป. ตชฺชนี).
  48. ดัชนี ๑ : [ดัดชะนี] น. นิ้วชี้, ราชาศัพท์ใช้ว่า พระดัชนี, ดรรชนี ก็ใช้. (ป. ตชฺชนี; ส. ตรฺชนี).
  49. ดำเนิน ๑ : ก. เดิน, ราชาศัพท์ใช้ว่า ทรงพระดําเนิน; ให้เป็นไป เช่น ดําเนินงาน ดําเนินชีวิต. (ข. ฎํเณีร).
  50. ตกเลือด : ก. แท้งลูก, อาการที่เลือดออกผิดธรรมดาเนื่องจากแท้งลูก เป็นต้น, ราชาศัพท์ว่า ตกพระโลหิต.
  51. [1-50] | 51-90

(0.0163 sec)