Dictionary : English, Thai, Pali. Link : Lexitron, RoyDict, BudDict, ETipitaka, PpmDict, Longdo.
Search: รำ .

Royal Institute Thai-Thai Dict : รำ, 61 found, display 1-50
  1. รำ : ก. แสดงท่าเคลื่อนไหวโดยมีลีลาและแบบท่าเข้ากับจังหวะเพลงร้องหรือ เพลงดนตรี เช่น รำฉุยฉายพราหมณ์ รำกฤดาภินิหาร รำสีนวล, ถ้าถืออาวุธ ประกอบก็เรียกชื่อตามอาวุธที่ถือเช่น รำดาบ รำทวน รำกริช, ถ้าถือสิ่งของ ใดประกอบก็เรียกชื่อตามสิ่งของนั้น เช่น รำพัด รำดอกไม้เงินดอกไม้ทอง, อาการที่แสดงท่าคล้ายคลึงเช่นนั้น, ฟ้อน.
  2. รำ : น. ผงเยื่อหรือละอองเมล็ดข้าวสาร.
  3. รำมะร่อ : ว. ในระยะทางหรือเวลาอันใกล้จวนเจียน เช่น จะสำเร็จการศึกษาอยู่ รำมะร่อ จะถึงบ้านอยู่รำมะร่อ, รอมร่อ ก็ว่า.
  4. รำลาวแพน : น. การจับระบำชนิดหนึ่ง ใช้ผู้แสดงชายหญิงคู่หนึ่งหรือ มากกว่าแต่งกายอย่างไทยภาคเหนือ รำออกท่าหยอกเอินประกอบคำร้อง และดนตรี, ฟ้อนแพน หรือ ฟ้อนลาวแพน ก็เรียก.
  5. รำชั่วโทษพากย์ : (สํา) ก. ทําไม่ดีหรือทําผิดแล้วไม่รับผิด กลับโทษผู้อื่น, รําไม่ดีโทษปี่โทษกลอง ก็ว่า.
  6. รำมะนาด : น. ชื่อโรคชนิดหนึ่งเกิดตามรากฟัน ทําให้เหงือกบวมเป็นหนอง.
  7. รำไม่ดีโทษปี่โทษกลอง : (สํา) ก. ทําไม่ดีหรือทําผิดแล้วไม่รับผิด กลับ โทษผู้อื่น, รําชั่วโทษพากย์ ก็ว่า.
  8. กินแกลบกินรำ : [-แกฺลบ-] (สํา) ว. โง่ เช่น ฉันไม่ได้กินแกลบกินรำนี่ จะได้ไม่รู้เท่าทันคุณ.
  9. ร่ายรำ : ก. เดินหรือจับระบำไปตามจังหวะดนตรีของละครรำ.
  10. ละครรำ : น. ละครแบบเดิมของไทย ตัวละครแต่งเครื่องและแสดง บทบาทโดยวิธีร่ายรำไปตามเพลงที่ต้นเสียงและลูกคู่ขับร้อง ใช้ดนตรี ปี่พาทย์ประกอบ แบ่งออกเป็น ละครชาตรี ละครนอก ละครใน.
  11. กินนรรำ : น. ชื่อท่าละครชนิดหนึ่ง; ชื่อเพลงปี่พาทย์ชนิดหนึ่ง. (ดึกดําบรรพ์); ชื่อกลบทชนิดหนึ่งตัวอย่างว่า ชะจิตใจไฉนนางระคางเขิน ปะพบพักตร์จะทักทายชม้ายเมิน ละเลิงเหลือจะเชื้อเชิญเผอิญอาย.
  12. ช้อยช่างรำ, ช้อยนางรำ : ดู กระช้อยนางรํา.
  13. พม่ารำขวาน : น. ชื่อเพลงไทยทํานองหนึ่ง.
  14. ยุให้รำตำให้รั่ว : (สํา) ก. ยุให้แตกกัน, ยุให้ผิดใจกัน.
  15. ร่ำ ๑ : ก. พูดซํ้า ๆ, พรํ่า, เช่น ร่ำว่า ร่ำสั่ง ร่ำสอน; ตีแรง ๆ เช่น รํ่าด้วยไม้.
  16. ร่ำ ๒ : ก. อบ, ปรุง, เช่น ร่ำแป้ง ร่ำผ้า.
  17. หงส์ร่อนมังกรรำ : น. ชื่อพิธีกรรมทางไสยศาสตร์อย่างหนึ่งที่หญิงทําเพื่อ ให้ผัวหลงรักตัวคนเดียว.
  18. ฝัด : ก. อาการที่แยกของเบาออกจากของหนักโดยกระดกภาชนะเช่น กระด้งขึ้น ๆ ลง ๆ ค่อนข้างเร็ว เพื่อสะบัดแกลบ รำ หรือผงออก จากข้าวเป็นต้น. ว. เรียกกุ้งแห้งที่เอาเปลือกออกแล้วว่า กุ้งฝัด, กุ้งฟัด ก็ว่า.
  19. กรับคู่ : น. กรับชนิดหนึ่ง ทำด้วยไม้ไผ่ซีกหรือไม้แก่นเป็นคู่ สำหรับตีเป็นจังหวะในการฟ้อนรำขับร้อง.
  20. กรับพวง : น. กรับชนิดหนึ่ง ทำด้วยไม้แผ่นบาง ๆ หรือ แผ่นทองเหลืองหรือแผ่นงาช้างหลาย ๆ อัน และมีไม้แก่น หรืองาประกับ ๒ ข้างอย่างด้ามพัด ตอนหัวข้างหนึ่งเจาะรู ร้อยเชือก เวลาตีใช้มือข้างหนึ่งจับตรงหัวทางเชือกร้อย แล้วฟาดข้างหนึ่งลงบนฝ่ามืออีกข้างหนึ่ง สำหรับตีเป็น จังหวะประกอบการฟ้อนรำและขับร้อง หรือใช้ตีรัวเป็น อาณัติสัญญาณ.
  21. กราว ๓ : [กฺราว] น. ชื่อเพลงหน้าพาทย์ ใช้ในเวลายกทัพหรือแสดงอาการร่าเริง, ครั้นมีเพลงกราวอื่น ๆ ด้วย เพลงนี้เรียกว่า กราวใน, ต่อนี้ทําบทเชิด, ถ้ามีการพากย์ เช่น พากย์รถก่อนยกทัพออก ทําเพลงกราวในหยุด หมายความว่าสุดเจรจาแล้วใช้กราวในพอหยุดป้องหน้าแล้วจึงพากย์, สําหรับบทของมนุษย์ ลิง หรือเทวดา เปลี่ยนเป็น กราวนอก ใช้เป็นเพลงประจํากัณฑ์มหาราชในเวลามีเทศน์มหาชาติ และเรียกว่า กราวเขน ก็ได้ เพราะเมื่อยกกองทัพ พวกเขนออกก่อน, ถ้าเกี่ยวกับการรําเยาะเย้ยใช้เพลง กราวรำ, อาณัติสัญญาณลาโรง ก็ใช้เพลงนี้, เมื่อประสมลูกฆ้องมอญเป็น กราวรำมอญ, นอกนี้ถ้าประสมลูกฆ้องใน ๑๒ ภาษา ก็มีชื่อตามภาษานั้น ๆ คือ กราวกระแซ เจือไปข้างเพลงลาว ๆ, กราวเขมร มีเนื้อร้อง เป็นเพลงเขมร, กราวจีน ทําในเวลาเข้าเฝ้าหรือเดินเล่นหรือ เล่นสนุกกัน ทํานองเป็นเพลงจีน ๒ ชั้น.
  22. กรีด ๒ : [กฺรีด] ก. มีท่วงท่าที่มีลีลางดงามอย่างละครรำ.
  23. กรีดน้ำตา : ว. เช็ดน้ำตาด้วยนิ้วอย่างละครรำ, โดยปริยาย เป็นคำแสดงความหมั่นไส้ว่าแสร้งร้องไห้ทำให้ดูน่าสงสาร เช่น เรื่องแค่นี้มานั่งกรีดน้ำตาอยู่ได้.
  24. กลม ๑ : [กฺลม] น. ชื่อเพลงไทยของเก่าที่ใช้เครื่องปี่พาทย์ ทําตอนตัวละครรำออกจากที่หนึ่งไปยังอีกที่หนึ่งโดยตัวคนเดียว จะเหาะหรือเดินก็ได้, และใช้เป็นเพลงประจํากัณฑ์สักบรรพ ในเวลามีเทศน์มหาชาติ.
  25. กินนรเลียบถ้ำ : น. ชื่อท่ารำแม่บทท่าหนึ่ง, กินรินเลียบถ้ำ ก็ว่า.
  26. กินรินเลียบถ้ำ : น. ชื่อท่ารำแม่บทท่าหนึ่ง, กินนรเลียบถ้ำ ก็ว่า.
  27. ข้าวแดง, ข้าวเมล็ดแดง : น. เมล็ดข้าวที่มีปลอกรำสีแดงหุ้มอยู่ร้อยละ ๒๕ ของเนื้อที่เมล็ดข้าวหรือมากกว่า.
  28. ขี่ม้าตีคลี : น. ชื่อท่ารำท่าหนึ่ง.
  29. ขี่ม้าเลียบค่าย : น. ชื่อท่ารำท่าหนึ่ง.
  30. ควักกะปิ : (ปาก) ก. อาการที่รำเอามือวักไปวักมาอย่างคนรำไม่เป็น.
  31. จับมือ : ก. ทักทายตามธรรมเนียมตะวันตกโดยบุคคล ๒ คน ประสานมือขวา ของกันและกันแล้วเขย่า, เรียกอาการที่ครูสอนโดยจับมือผู้เริ่มเรียนให้ทำตาม ในการสอนบางวิชาเช่น ฟ้อนรำ ดนตรี หรืองานฝีมือบางอย่าง เช่น จับมือรำ, จับมือตีระนาด, โดยปริยายหมายถึงร่วมมือกัน เช่น ชาวบ้านจับมือกันพัฒนา แหล่งน้ำ.
  32. จำแทง : (โบ) ก. เผ่นขึ้น, โผขึ้น, ตั้งขึ้น, ชูขึ้น, งอกขึ้น; ถืออาวุธร่ายรําท่าแทง, เช่น ชดกรกระลึงกุมแสง รำจำแทงองอาจ เผ่นผงาดขับสารสีห์. (ลอ).
  33. ชาตรี : [ตฺรี] น. ผู้ที่มีศิลปะวิชาอาคมหรือมีฝีไม้ลายมือในการต่อสู้ เช่น ชายชาตรี; ละครต้นแบบของละครรำ เล่นกันเป็นพื้นบ้าน ทั่วไป มีตัวละครน้อยเดิมเป็นชายล้วน ตัวละครที่ไม่สำคัญมัก ไม่แต่งตัวยืนเครื่อง กระบวนรำไม่สู้งดงามประณีตนัก เรียกว่า ละครชาตรี; ชื่อเพลงบทละครและเพลงอื่น ๆ มีคํา ชาตรี นําหน้า คือ ชาตรีตะลุง ชาตรีใน. (เงาะป่า; บทแผ่นเสียง; ศกุนตลา).
  34. ตระเวนเวหา : น. วิธีรำละครท่าหนึ่ง อยู่ในอันดับว่า สารถีชักรถ กลดพระสุเมรุ ตระเวนเวหา. (ฟ้อน).
  35. ประเท้า : ก. กิริยาที่ผู้รำใช้ส่วนหน้าของฝ่าเท้าแตะพื้นและยกขึ้นทันที, เป็นท่ารำท่าหนึ่ง.
  36. ปะเลง : น. การรำเบิกโรงอย่างโบราณ ผู้แสดงแต่งเครื่องละครตัวพระคู่หนึ่ง สวมหน้าเทพบุตรศีรษะโล้น มือทั้ง ๒ ถือหางนกยูงข้างละกำ รำออก ท่าประกอบดนตรี.
  37. ฟ้อนแพน : น. การจับระบำชนิดหนึ่ง ใช้ผู้แสดงชายหญิงคู่หนึ่ง หรือมากกว่า แต่งกายอย่างไทยภาคเหนือ รำออกท่าหยอกเอิน ประกอบคำร้องและดนตรี, ฟ้อนลาวแพน หรือ รำลาวแพน ก็เรียก.
  38. ฟ้อนลาวแพน : น. การจับระบำชนิดหนึ่ง ใช้ผู้แสดงชายหญิงคู่หนึ่ง หรือมากกว่า แต่งกายอย่างไทยภาคเหนือ รำออกท่าหยอกเอิน ประกอบคำร้องและดนตรี, ฟ้อนแพน หรือ รำลาวแพน ก็เรียก.
  39. มอญ ๒ : น. ชื่อเพลงไทยจำพวกหนึ่ง มีชื่อขึ้นต้นด้วยคำว่า มอญ เช่น มอญรำดาบ มอญชมจันทร์ มอญครวญ.
  40. แม่ท่า : น. แม่บท ท่าที่เป็นหลักของการรำ.
  41. แม่ไม้ : น. ท่ารำและท่าต่อสู้ที่เป็นหลักในวิชากระบี่กระบองหรือมวย.
  42. แม่ศรี : น. ชื่อการละเล่นสมัยโบราณอย่างหนึ่ง โดยเชิญผีแม่ศรีมาเข้าทรงหญิงสาว หญิงสาวที่ถูกผีเข้าทรงจะรำได้อย่างสวยงาม นิยมเล่นในเทศกาลสงกรานต์.
  43. ยักคอ : ก. เอียงคอไปในทางตรงกันข้ามกับยักเอว เป็นท่าประกอบการ รำไทยอย่างหนึ่ง.
  44. ยักเอว : ก. เอียงตัวท่อนบนไปข้างใดข้างหนึ่ง ส่วนลำตัวท่อนล่างตั้งตรง เป็นท่าประกอบการรำไทยท่าหนึ่ง.
  45. ยุบ : ก. ทรุด เช่น ดั้งจมูกยุบ, บุบเข้าไป เช่น หัวกะโหลกยุบ หน้าหม้อรถยนต์ ยุบ, ลด, ลดลง, เช่น พุงยุบ ฝียุบ, เรียกจังหวะรำของโขนละครเมื่อทำตัว ให้เตี้ยลงหลังจากยืดตัวขึ้นก่อนแล้ว; เลิก, ยกเลิก, เช่น ยุบกระทรวง ยุบ ตำแหน่ง; ทำให้หลอมละลายเพื่อทำให้เป็นอีกอย่างหนึ่ง เช่น ยุบกำไล ทำแหวน.
  46. เยื้อง : ก. เอี้ยว, ย้ายไป, เดินอย่างไว้ท่าทาง, เช่น เดินเยื้องตัวแล้วซัดแขนอย่าง ละครรำ. ว. เฉียงจากจุดตรงข้ามเล็กน้อย เช่น มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ อยู่เยื้องกับโรงพยาบาลศิริราช.
  47. ระบำ : น. การแสดงที่ใช้ท่าฟ้อนรำ ไม่เป็นเรื่องราว มุ่งความสวยงามหรือความ บันเทิง จะแสดงคนเดียวหรือหลายคนก็ได้ เช่น ระบำนพรัตน์ ระบำกอย ระบำฉุยฉาย. ก. ฟ้อนรำที่แสดงไม่เป็นเรื่องราว มุ่งความสวยงามหรือ ความบันเทิง จะแสดงคนเดียวหรือหลายคนก็ได้.
  48. รัดเครื่อง : ก. แต่งเครื่องละครรำตัวพระ นาง ยักษ์ และลิง โดยเย็บผ้า ให้กระชับเข้ากับตัวผู้แสดง.
  49. รำแพน : ก. แผ่หางกระดกขึ้นหรือแผ่ปีกแล้วเดินกรีดกรายไปมา (ใช้แก่ นกยูง นกหว้า และนกแว่น). น. การเล่นอย่างโบราณชนิดหนึ่งในการ พระราชพิธี ผู้เล่นนุ่งผ้าหยักรั้งสวมเสื้อคอกลม มือทั้ง ๒ ถือหางนกยูง ข้างละกำ รำออกท่าต่าง ๆ เลี้ยงตัวอยู่บนราวลวด.
  50. ละครชาตรี : น. ละครต้นแบบของละครรำ เล่นกันเป็นพื้นบ้าน ทั่วไป มีตัวละครน้อย เดิมเป็นชายล้วน ตัวละครที่ไม่สำคัญมัก ไม่แต่งตัวยืนเครื่อง กระบวนรำไม่สู้งดงามประณีตนัก.
  51. [1-50] | 51-61

(0.0160 sec)