Dictionary : English, Thai, Pali. Link : Lexitron, RoyDict, BudDict, ETipitaka, PpmDict, Longdo.
Search: รู้ , then รุ้, รู้ .

Royal Institute Thai-Thai Dict : รู้, 619 found, display 1-50
  1. รู้ : ก. แจ้ง, เข้าใจ, ทราบ.
  2. รู้กัน : ก. รู้เป็นนัยกันเฉพาะในกลุ่มของตน เช่น เรื่องนี้เขารู้กัน.
  3. รู้กันอยู่ในที : ก. รู้เรื่องดีอยู่แล้วระหว่างกันโดยไม่ต้องพูดออกมา เช่น เขารู้กันอยู่ในทีแล้วว่าจะยกมรดกให้แก่ผู้ใด.
  4. รู้การรู้งาน : ก. ทำงานเก่ง เช่น คนรู้การรู้งาน ทำงานอะไร ๆ ก็เรียบร้อย.
  5. รู้แกว : ก. รู้เบาะแส, รู้ระแคะระคาย, เช่น รู้แกวว่าจะมายืมเงินเลยหลบ หน้าไปก่อน.
  6. รู้เค้า : ก. รู้ร่องรอย เช่น รู้เค้าว่าใครเป็นฆาตกร เก็บเงินไว้ให้ดีอย่าให้ใคร รู้เค้า.
  7. รู้งาน : ก. ทำงานเป็น, เข้าใจลักษณะงาน, เช่น แม้ว่าเขาจะเข้าใหม่ แต่ก็ รู้งานดี.
  8. รู้งู ๆ ปลา ๆ : (สํา) ก. รู้เล็ก ๆ น้อย ๆ, รู้ไม่จริง.
  9. รู้จำ : ก. รู้แล้วจำได้, รู้จักจำ.
  10. รู้แจ้ง : ก. เข้าใจตลอด, รู้ตามเหตุผลอย่างชัดเจน, รู้แจ้งแทงตลอด ก็ว่า.
  11. รู้ใจ : ก. รู้อัธยาศัยใจคอว่าเป็นอย่างไร หรือชอบอะไร ไม่ชอบอะไร เช่น ลูกน้องรู้ใจนาย, รู้เส้น ก็ว่า.
  12. รู้ฉลาด : ก. เอารัดเอาเปรียบ เช่น เขารู้ฉลาดกินแต่ของเพื่อน ของตัวเก็บไว้.
  13. รู้ชั้นเชิง, รู้ชั้นรู้เชิง : ก. รู้เล่ห์เหลี่ยม, รู้กลอุบาย, เช่น เขารู้ชั้นเชิงของคู่ต่อสู้ ฉันรู้ชั้นเชิงไม่ยอมให้ใครมาหลอกง่าย ๆ ตำรวจรู้ชั้นเชิงของผู้ร้าย.
  14. รู้เช่นเห็นชาติ : (สํา) ก. รู้กําพืด, รู้นิสัยสันดาน, เช่น เขาชอบหักหลังคนอื่น เพื่อน ๆ รู้เช่นเห็นชาติมานานแล้ว.
  15. รู้เชิง : ก. รู้กระบวนท่า, รู้ท่าที, รู้กลเม็ด, เช่น มวยคู่นี้ต่างก็รู้เชิงกัน.
  16. รู้ดี : ก. อวดรู้, สู่รู้, เช่น อย่ารู้ดีไปหน่อยเลย.
  17. รู้ดีรู้ชั่ว : ก. รู้ผลขั้นสุดท้าย, รู้ผลขั้นแตกหัก, เช่น หลังการชกพรุ่งนี้ ก็จะรู้ดีรู้ชั่วว่าใครจะชนะ.
  18. รู้ตื้นลึกหนาบาง : ก. รู้ความเป็นไปของผู้อื่นอย่างละเอียด.
  19. รู้เต็มอก : ก. รู้ความเป็นไปอย่างดี แต่ไม่อาจพูดออกมาได้ เช่น รู้เต็มอก ว่าเขาไม่ซื่อสัตย์ แต่ก็บอกใครไม่ได้, รู้อยู่แก่ใจ รู้อยู่เต็มใจ หรือ รู้อยู่ เต็มอก ก็ว่า.
  20. รู้ไต๋ : ก. รู้ความลับ, รู้ความในใจ, เช่น พอเขามาตีสนิทก็รู้ไต๋แล้วว่า ต้องการอะไร.
  21. รู้ถึงหู : ก. รู้เพราะมีคนบอก เช่น เรื่องนี้อย่าให้รู้ถึงหูเขานะ.
  22. รู้ท่า : ก. รู้ทันความคิด, รู้ว่าอีกฝ่ายหนึ่งคิดอย่างไร, เช่น เห็นหน้าน้อง ก็รู้ท่าว่าจะมาขอเงิน.
  23. รู้เท่า : ก. รู้สึกสภาพที่เป็นจริง, รู้ตามความเป็นจริง, เช่น รู้เท่าสังขาร; รู้ทัน เช่น รู้เท่าความคิดของผู้อื่น, รู้เท่าทัน ก็ว่า.
  24. รู้เท่าไม่ถึงการ : ก. รู้ไม่ถึงว่าอะไรควรทำอะไรไม่ควรทำ.
  25. รู้เท่าไม่ถึงการณ์ : ก. เขลา, คาดไม่ถึงว่าจะเกิดเหตุร้ายขึ้น, เช่น รับฝาก ของโจรไว้โดยรู้เท่าไม่ถึงการณ์ว่าของนั้นเป็นของโจร.
  26. รู้น้อยพลอยรำคาญ : (สํา) ก. รู้น้อยไม่เข้าใจ ทําให้เกิดความรําคาญใจ, มักพูดเข้าคู่กับ รู้มากยากนาน เป็น รู้มากยากนาน รู้น้อยพลอยรําคาญ.
  27. รู้เนื้อรู้ตัว : ก. รู้ตัว เช่น ก่อนจะเข้าไปพบเขา ต้องบอกให้รู้เนื้อรู้ตัว เสียก่อน ผู้ร้ายเข้ามาโดยไม่รู้เนื้อรู้ตัว.
  28. รู้ไม่จริง : ก. รู้ไม่ถ่องแท้, รู้ไม่มากพอ, เช่น เขาชอบเล่าเรื่องส่วนตัวของ เพื่อน ๆ ทั้ง ๆ ที่รู้ไม่จริง.
  29. รู้ไม่ถึง : ก. รู้ไม่ลึกซึ้งพอ เช่น หลักธรรมะขั้นสูงเช่นนี้ ฉันยังรู้ไม่ถึง.
  30. รู้รส : ก. รู้สึกถึงผลที่ได้รับ (มักใช้ในทางไม่ดี) เช่น ถ้าเด็กดื้อต้องตีเสีย บ้าง จะได้รู้รสไม้เรียว ฉันเพิ่งรู้รสความหิว.
  31. รู้เรื่อง : ก. เข้าใจเรื่อง (มักใช้ในความปฏิเสธ) เช่น พูดเท่าไร ๆ ก็ไม่ รู้เรื่อง.
  32. รู้แล้วรู้รอด : ก. เสร็จสิ้นกันที เช่น เรื่องนี้จะว่าอย่างไรก็ว่ากัน จะได้ รู้แล้วรู้รอดไปเสียที.
  33. รู้ไว้ใช่ว่า ใส่บ่าแบกหาม : (สํา) ก. เรียนรู้ไว้ไม่หนักเรี่ยวหนักแรงหรือ เสียหายอะไร.
  34. รู้เส้น : ก. รู้ใจ เช่น เขารู้เส้นนายดี ลูกเขยรู้เส้นพ่อตาว่าชอบกินเหล้า.
  35. รู้หนเหนือหนใต้ : ก. รู้ทิศทาง, รู้จักหนทาง, (มักใช้ในความปฏิเสธ) เช่น เดี๋ยวนี้บ้านเมืองเปลี่ยนแปลงไปมากแล้วไม่รู้หนเหนือหนใต้, โดยปริยายหมายความว่า ไม่รู้เรื่อง เช่น ทำงานใหม่ ๆ ไม่รู้หนเหนือ หนใต้, รู้เหนือรู้ใต้ ก็ว่า.
  36. รู้เห็น : ก. รู้และเห็นเหตุการณ์ด้วยตนเอง เช่น เขาเป็นพยานที่รู้เห็น.
  37. รู้เห็นเป็นใจ : ก. รู้เห็นเหตุการณ์และให้ความร่วมมือร่วมใจด้วย เช่น เขารู้เห็นเป็นใจกับโจร.
  38. รู้เหนือรู้ใต้ : ก. รู้ทิศทาง, รู้จักหนทาง, (มักใช้ในความปฏิเสธ) เช่น เดี๋ยวนี้บ้านเมืองเปลี่ยนแปลงมาก ไปแล้วไม่รู้เหนือรู้ใต้, โดยปริยาย หมายความว่าไม่รู้เรื่อง เช่น ทำงานใหม่ ๆ ไม่รู้เหนือรู้ใต้, รู้หนเหนือ หนใต้ ก็ว่า.
  39. รู้อย่างเป็ด : (สํา) ก. รู้ไม่จริงสักอย่างเดียว.
  40. รู้อยู่ : ว. เลี้ยงง่าย, ไม่อ้อน, ใช้แก่เด็กเล็ก ๆ ว่า เด็กรู้อยู่; (ปาก) โดย ปริยายหมายความถึงคนหรือสัตว์เลี้ยงบางชนิดที่ไม่ชอบเที่ยวเตร่.
  41. รู้อยู่แก่ใจ : ก. รู้ซึ้งอยู่ในใจของตน เช่น รู้อยู่แก่ใจว่าเพื่อนเป็นคนโกง แล้วยังคบกันอยู่ได้.
  42. รู้เขารู้เรา : ก. รู้จักขอบเขตความสามารถของตนเองและผู้อื่น.
  43. รู้ความ : ก. เข้าใจภาษา (ใช้แก่เด็ก).
  44. รู้มลัก, รู้มลาก : [–มะ–] ก. รู้มากอย่าง, เข้าใจมาก.
  45. รู้ยาวรู้สั้น : (สํา) ก. รู้จักผ่อนสั้นผ่อนยาว.
  46. รู้สำนึก : ก. รู้สึกตัวว่าผิด เช่น ถูกลงโทษอย่างหนักแล้วยังไม่รู้สำนึก.
  47. รู้หลบเป็นปีก รู้หลีกเป็นหาง : (สํา) ก. รู้จักเอาตัวรอดหรือปรับตัวให้เข้า กับเหตุการณ์.
  48. รู้หาญรู้ขลาด : (สํา) ก. กล้าในที่ควรกล้า กลัวในที่ควรกลัว.
  49. รู้เองเป็นเอง : ก. ว่าแต่ผู้อื่น ตัวเองก็ทําเช่นนั้น, ทํานองเดียวกับ ว่าแต่ เขาอิเหนาเป็นเอง.
  50. ความรู้ : น. สิ่งที่สั่งสมมาจากการศึกษาเล่าเรียน การค้นคว้า หรือประสบการณ์ รวมทั้งความสามารถเชิงปฏิบัติและทักษะ; ความเข้าใจหรือสารสนเทศ ที่ได้รับมาจากประสบการณ์; สิ่งที่ได้รับมาจากการได้ยิน ได้ฟัง การคิด หรือการปฏิบัติ; องค์วิชาในแต่ละสาขา เช่น ความรู้เรื่องเมืองไทย ความรู้เรื่องสุขภาพ.
  51. [1-50] | 51-100 | 101-150 | 151-200 | 201-250 | 251-300 | 301-350 | 351-400 | 401-450 | 451-500 | 501-550 | 551-600 | 601-619

(0.1427 sec)