Dictionary : English, Thai, Pali. Link : Lexitron, RoyDict, BudDict, ETipitaka, PpmDict, Longdo.
Search: ร่วมสมัย, สมัย, ร่วม , then รวม, ร่วม, รวมสมย, ร่วมสมัย, สมย, สมัย .

Royal Institute Thai-Thai Dict : ร่วมสมัย, 895 found, display 1-50
  1. ร่วมสมัย : ว. สมัยปัจจุบัน เช่น ประวัติศาสตร์ร่วมสมัย ศิลปะร่วมสมัย; รุ่นราวคราวเดียวกัน, สมัยเดียวกัน, เช่น ลุงกับพ่อเป็นคนร่วมสมัยกัน.
  2. ร่วม : ก. มีส่วนรวมอยู่ด้วยกัน เช่น ร่วมกิน ร่วมนอน, มีส่วนรวมเป็นอันหนึ่ง อันเดียวกัน เช่น ร่วมใจ ร่วมสามัคคี, มีส่วนรวมในที่แห่งเดียวกัน เช่น ร่วมโรงเรียน ร่วมบ้านร่วมห้อง ร่วมหอ, มีส่วนรวมในภาวะหรือสถานะ เดียวกัน เช่น เพื่อนร่วมชาติมีศัตรูร่วมกัน ทำบุญร่วมญาติ ร่วมเป็นร่วมตาย ร่วมทุกข์ร่วมสุข ร่วมชะตากรรม. ว. ล่วงไปมากจวนถึงที่หมาย, เกือบ, เกือบถึง, เช่น ร่วมถึง ร่วมเสร็จ ทํามาร่วมเดือนแล้ว ซากสัตว์นี้มีอายุร่วม ๑,๐๐๐ ปี.
  3. สมัย : [สะไหฺม] น. เวลา, คราว, เช่น สมัยโบราณ สมัยกลาง สมัยปัจจุบัน, มักใช้เข้าคู่กับคำ กาล เป็น กาลสมัย. (ป., ส.).
  4. ร่วมรัก : (ปาก) ก. เสพสังวาส, ร่วมรส หรือ ร่วมรสรัก ก็ว่า.
  5. ร่วมวงศ์ไพบูลย์ : ก. ร่วมเป็นพวกเดียวกัน เช่น ร่วมวงศ์ไพบูลย์มหาเอเชีย บูรพา; (ปาก) ร่วมทำด้วย.
  6. ร่วมสังฆกรรม : ก. อาการที่พระสงฆ์ทำสังฆกรรมร่วมกัน, (ปาก) ทำงาน ร่วมกัน เช่น ฉันเข้าร่วมสังฆกรรมกับเขา.
  7. ร่วมหัวงาน : ก. เกือบเสร็จงานแล้ว เช่น การซ่อมท่อน้ำประปาร่วม หัวงานแล้ว.
  8. สมัยเก่า : น. สมัยโบราณ เช่น ถ้วยชามชุดนี้เป็นของสมัยเก่า. ว. พ้นสมัย, ไม่ใช่สมัยใหม่, ก่อนเวลาปัจจุบัน, เช่น เขามีความคิดอย่างคนสมัยเก่า. สมัยนิยม
  9. สมัยใหม่ : น. สมัยปัจจุบัน เช่น ประวัติศาสตร์สมัยใหม่ ปรัชญาสมัยใหม่. ว. ทันสมัย เช่น แม้เขาจะอายุมาก แต่เขามีความคิดอย่างคนสมัยใหม่.
  10. ร่วมชายคา : ก. อยู่บ้านเดียวกัน.
  11. ร่วมชีวิต : ก. อยู่กินกันฉันผัวเมีย.
  12. ร่วมท้อง, ร่วมอุทร : ว. มีแม่เดียวกัน.
  13. ร่วมประเวณี : ก. เสพสังวาส, เป็นผัวเมียกัน.
  14. ร่วมเพศ : ก. เสพสังวาส.
  15. ร่วมมือ : ก. พร้อมใจช่วยกัน.
  16. ร่วมเรียงเคียงหมอน, ร่วมหอลงโรง : (สํา) ก. อยู่กินกันฉันผัวเมีย, แต่งงานกัน.
  17. รัฐมนตรี : [รัดถะมนตฺรี] น. ผู้เป็นสมาชิกของคณะรัฐมนตรีหรือคณะ รัฐบาลรับผิดชอบร่วมกับคณะรัฐมนตรีในนโยบายทั่วไปของรัฐบาล ในการบริหารราชการแผ่นดิน, ถ้าเป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงหรือ ทบวง ก็เป็นผู้บังคับบัญชาสูงสุดในกระทรวงหรือทบวงที่ตนว่าการ และรับผิดชอบในการบริหารราชการกระทรวงหรือทบวงนั้นด้วย อีกฐานะหนึ่ง; (โบ) ที่ปรึกษาราชการบ้านเมืองในสมัยสมบูรณาญา สิทธิราชย์.
  18. กลอย ๒ : [กฺลอย] ก. คล้อย, ร่วม, เช่น กลอยใจ กลอยสวาท.
  19. จวบ : น. พบ, ประสบ, ร่วม, ถึง.
  20. สห : [สะหะ] ว. ด้วยกัน, พร้อม, ร่วม, ร่วมกัน, (ใช้ประกอบหน้าคําอื่น) เช่น สหประชาชาติ สหพันธ์สหรัฐ. (ป., ส.).
  21. รวม : ก. บวกเข้าด้วยกัน, ผสมเข้าด้วยกัน, เช่น รวมคะแนน รวมเงิน, เข้าร่วมกัน, คละปนกัน, เช่น รวมกันเราอยู่ แยกกันเราตาย อยู่รวมกัน, ผนึกเข้าด้วยกัน เช่น รวมนํ้าใจ รวมพลัง.
  22. คู่ความร่วม : (กฎ) น. บุคคลตั้งแต่ ๒ คนขึ้นไป ซึ่งเป็นคู่ความในคดีเดียวกัน คือเป็นโจทก์ร่วมหรือจําเลยร่วม โดยบุคคลเหล่านั้นมีผลประโยชน์ร่วมกัน ในมูลความแห่งคดี.
  23. จีวรทานสมัย : (แบบ) น. สมัยถวายจีวรในจีวรกาล. (ป.).
  24. ชั่ว ๑ : น. ระยะ เช่น นํ้าลึก ๓ ชั่วคน สูง ๓ ชั่วลําตาล, ระยะเวลา, สมัย, ครั้ง, เช่น ชั่วปู่ย่าตายาย ชั่วพ่อชั่วแม่.
  25. เด็ดดอกไม้ร่วมต้น : (สํา) ก. เคยทําบุญกุศลร่วมกันมาแต่ชาติก่อน จึงมาอยู่ ร่วมกันในชาตินี้, เก็บดอกไม้ร่วมต้น ก็ว่า.
  26. ทันสมัย : ว. ตามสมัยที่นิยมกัน.
  27. ปาง ๑ : น. ครั้ง, คราว, เมื่อ, เช่น ปางก่อน ปางหลัง, ยุค, สมัย, เช่น นารายณ์ ๑๐ ปาง; ท่าของพระพุทธรูปที่แสดงถึงอิริยาบถต่าง ๆ เช่น พระพุทธรูปปางห้ามญาติ; ที่พักกลางป่าชั่วคราว เช่น ตั้งปาง.
  28. ยุค ๓ : น. คราว, สมัย, เช่น ยุคมืด ยุคหิน; กําหนดเวลาของโลก มี ๔ ยุค. (ดู จตุรยุค). (ป., ส.).
  29. รถร่วม : น. รถโดยสารเอกชนที่เข้ามาร่วมกับบริษัทหรือองค์การที่ได้รับ สัมปทานในการเดินรถ เช่น รถร่วม บขส.
  30. ฤดู : [รึ] น. ส่วนของปีซึ่งแบ่งโดยถือเอาภูมิอากาศเป็นหลัก มักแบ่งออกเป็น ๓ ช่วง คือ ฤดูฝน ฤดูหนาว และฤดูร้อน หรือเป็น ๔ ช่วง คือ ฤดูใบไม้ผลิ ฤดูร้อน ฤดูใบไม้ร่วง และฤดูหนาว ที่แบ่งเป็น ๒ ช่วง คือ ฤดูแล้งกับฤดูฝน ก็มี, เวลาที่กําหนดสําหรับงานต่าง ๆ เช่น ฤดูเก็บเกี่ยว ฤดูทอดกฐิน ฤดู ถือบวช, เวลาที่เหมาะ เช่น ฤดูสัตว์ผสมพันธุ์, คราว, สมัย, เช่น ฤดูนํ้าหลาก.(ส. ฤตุ, ป. อุตุ).
  31. ล้าสมัย : ว. ไม่ทันหรือไม่เป็นไปตามสมัยที่กําลังนิยมกัน เช่น เขาเป็นคนล้าสมัย.
  32. ล้ำยุค, ล้ำสมัย : ว. ที่ก้าวหน้าเกินยุคเกินสมัยของตน เช่น นักเขียน มีความคิดล้ำยุค.
  33. ส่วนร่วม : น. ส่วนได้ส่วนเสียในกิจกรรมร่วมกับผู้อื่น เช่น มีส่วนร่วม ในการบำเพ็ญกุศล มีส่วนร่วมในการทุจริต มีส่วนร่วมในการลงทุน บริษัท.
  34. หัวสมัยใหม่ : ว. นิยมของใหม่, นิยมตามแบบใหม่, ตรงข้ามกับ หัวเก่า; ทันสมัย ตรงข้ามกับ หัวโบราณ, หัวใหม่ ก็ว่า.
  35. บุพพัณหสมัย : [-พันหะสะไหฺม] น. เวลาเบื้องต้นแห่งวัน, เวลาเช้า. (ป. ปุพฺพณฺหสมย; ส. ปูรฺวาหณ + สมย).
  36. จีวรการสมัย : (แบบ) น. คราวที่พระทําจีวร คือตัดเย็บอยู่. (ป.).
  37. จีวรกาลสมัย : (แบบ) น. คราวที่เป็นฤดูถวายจีวร (งวดที่ ๑ ตั้งแต่วัน มหาปวารณา คือ วันแรมคํ่าหนึ่งเดือน ๑๑ ถึงวันเพ็ญเดือน ๑๒, งวดที่ ๒ ตั้งแต่วันมหาปวารณาไปจนหมดฤดูหนาว, งวดที่ ๑ เป็นของพระที่ มิได้กรานกฐิน, งวดที่ ๒ เป็นของพระที่กรานกฐินแล้ว). (ป.).
  38. แนวร่วม : น. ประชาชนที่มีแนวความคิดคล้อยตามและให้การสนับสนุน แก่พวกที่มีความคิดเห็นในแนวเดียวกัน.
  39. บุพพัณหสมัย : ดู บุพ-, บุพพ-.
  40. มัชฌันติกสมัย : น. เวลาเที่ยงวัน. (ป.).
  41. อดีตกาล, อดีตสมัย : [อะดีดตะกาน, ตะสะไหฺม] น. เวลาที่ล่วงแล้ว.
  42. อักษรสมัย : [อักสอนสะไหฺม] น. วิชาหนังสือว่าด้วยการอ่าน การเขียน. (ส.).
  43. โดยเสด็จ : (ราชา) ก. ตามไปด้วย; ร่วม เช่น โดยเสด็จพระราชกุศล.
  44. ขณะ : [ขะหนะ] น. ครู่, ครั้ง, คราว, เวลา, สมัย. (ป.; ส. กษณ).
  45. ชำนัน : ก. เหยียบ. (ข. ชัน ว่า เหยียบ; ชาน่, ชํนาน่ ว่า คราว, สมัย).
  46. อวัสดา : [อะวัดสะดา] น. ฐานะ, ความเป็นอยู่; เวลา, สมัย. (ส. อวสฺถา; ป. อวตฺถา).
  47. สบ : ก. พบ, ปะ, เช่น สบโชค สบตา สบเหมาะ ฟันบนสบฟันล่าง, ถูก, ต้อง, เช่น สบใจ สบปาก สบอารมณ์. น. บริเวณที่แม่นํ้าตั้งแต่ ๒ สาย ขึ้นไปมาบรรจบกัน เช่น สามสบ คือบริเวณที่ แม่น้ำบีคี่ใหญ่ ห้วย ซองกะเลีย และแม่น้ำรันตี รวม ๓ สาย มาสบกัน แล้วไหลลงสู่แม่น้ำ แควน้อย. ว. ทุก ๆ, เสมอ, เช่น สบไถง ว่า ทุกวัน, สบสมัย ว่า ทุกสมัย. (ข.).
  48. ส่วนรวม : น. หมู่คณะ เช่น เห็นแก่ส่วนรวม ทำเพื่อส่วนรวม, ส่วน ที่ใช้ร่วมกัน เช่น ห้องน้ำส่วนรวม ของใช้ส่วนรวม.
  49. กรม ๓ : [กฺรม] น. (ก) หมู่เหล่าอันเป็นที่รวมกําลังไพร่พลของ แผ่นดินตามลักษณะปกครองสมัยโบราณ เพื่อประโยชน์ ในเวลาเกิดศึกสงคราม จะได้เรียกระดมคนได้ทันท่วงที บรรดาชายฉกรรจ์ต้องเข้าอยู่ในกรมหรือในหมู่เหล่าใด เหล่าหนึ่ง เรียกว่า สังกัดกรม มีหัวหน้าควบคุมเป็น เจ้ากรม ปลัดกรม ตามลําดับ ซึ่งเมื่อพระเจ้าแผ่นดินทรงตั้งให้ เจ้านายครอบครองเป็นองค์ ๆ เรียกว่า ตั้งกรม แล้ว เจ้านายพระองค์นั้นก็ ทรงกรม เป็น เจ้าต่างกรม เพราะมีกรม ขึ้นต่างออกไปเป็นกรมหนึ่ง มีพระอิสริยศักดิ์ตั้งเจ้ากรม ปลัดกรม เป็น หมื่น ขุน หลวง พระ พระยา ได้ และเรียกชื่อกรมนั้น ๆ ตามศักดิ์เจ้ากรมว่า กรมหมื่น กรมขุน กรมหลวง กรมพระ กรมสมเด็จพระ และ กรมพระยา หรือ กรมสมเด็จ เมื่อจะทรงกรม สูงขึ้นกว่าเดิม ก็โปรดให้ เลื่อนกรม ขึ้น โดยเจ้ากรมมีศักดิ์เลื่อนขึ้น เช่นจากหมื่นเป็นขุน, มาในปัจจุบันชื่อกรมเหล่านี้มีความหมาย กลายเป็นพระอิสริยยศและพระนามเจ้านายเท่านั้น. (ข) แผนกใหญ่ในราชการ ตามลักษณะปกครองในสมัยโบราณ ซึ่งในปัจจุบัน เรียกว่า กระทรวง เช่น กรมพระกลาโหม คือ กรมฝ่ายทหาร เป็นกระทรวงกลาโหม, กรมมหาดไทย คือ กรมฝ่ายพลเรือน เป็น กระทรวงมหาดไทย, กรมเมือง หรือ กรมนครบาล รวมอยู่ในกระทรวงมหาดไทย, กรมวัง แยกเป็นกระทรวงวัง และกระทรวงยุติธรรม (ปัจจุบันกระทรวงวังไม่มีแล้ว), กรมพระคลัง แยกเป็น กระทรวงการคลัง และกระทรวงการต่างประเทศ, กรมนา เป็นกระทรวงเกษตราธิการ (ปัจจุบัน คือ กระทรวงเกษตร และสหกรณ์). (ค) (กฎ) ส่วนราชการในราชการบริหารส่วนกลาง รองจากกระทรวงและทบวง.
  50. กรรมการ ๑ : [กำมะกาน] น. บุคคลที่ได้รับเลือกหรือได้รับแต่งตั้ง เข้าเป็นคณะร่วมกันทำงานหรือกระทำกิจการบางอย่างซึ่งได้รับ มอบหมาย, เมื่อรวมกันเป็นคณะ เรียกว่า คณะกรรมการ เช่น คณะกรรมการกฤษฎีกา. (ส. กรฺม + การ; ป. กมฺม + การ).
  51. [1-50] | 51-100 | 101-150 | 151-200 | 201-250 | 251-300 | 301-350 | 351-400 | 401-450 | 451-500 | 501-550 | 551-600 | 601-650 | 651-700 | 701-750 | 751-800 | 801-850 | 851-895

(0.1948 sec)