Dictionary : English, Thai, Pali. Link : Lexitron, RoyDict, BudDict, ETipitaka, PpmDict, Longdo.
Search: ศก , then ศก, ษก, สก .

Budhism Thai-Thai Dict : ศก, 40 found, display 1-40
  1. จุลศักราช : ศักราชน้อย ตั้งขึ้นโดยกษัตริย์พม่าองค์หนึ่งใน พ.ศ.๑๑๘๒ ภายหลังมหาศักราช, เป็นศักราชที่เราใช้กันมาก่อนใช้รัตนโกสินทรศก, นับรอบปีตั้งแต่ ๑๖ เมษายน ถึง ๑๕ เมษายน เขียนย่อว่า จ.ศ.(พ.ศ.๒๕๒๒ ตรงกับ จ.ศ.๑๓๔๐-๑๓๔๑)
  2. ลุมพินีวัน : ชื่อสวนเป็นที่ประสูติของพระพุทธเจ้า เป็นสังเวชนียสถานหนึ่งใน ๔ แห่ง ตั้งอยู่ระหว่างกรุงกบิลพัสดุ์ และกรุงเทวทหะ บัดนี้เรียก รุมมินเด อยู่ที่ปาเดเรีย ในเขตประเทศเนปาล ห่างจากเขตแดนประเทศอินเดียไปทางเหนือ ประมาณ ๖ กิโลเมตรครึ่ง พระสิทธัตถะประสูติที่สวนนี้ เมื่อวันเพ็ญเดือน ๖ ก่อนพุทธศก ๘๐ ปี (มีปราชญ์คำนวณว่าตรงกับวันศุกร์ ปีจอ เวลาใกล้เที่ยง) ดู สังเวชนียสถาน
  3. สกทาคามิผล : ผลที่ได้รับจากการละสักกายทิฏฐิ วิจิกิจฉา สีลัพพตปรามาส กับทำราคะ โทสะ โมหะ ให้เบาบางลง ซึ่งสืบเนื่องมาแต่สกทาคามิมรรค, สกิทาคามิผล ก็เขียน
  4. สกทาคามิมรรค : ทางปฏิบัติเพื่อบรรลุผล คือความเป็นพระสกทาคามี, ญาณ คือความรู้เป็นเหตุละสังโยชน์ได้ ๓ คือ สักกายทิฏฐิ วิจิกิจฉา สีลัพพตปรามาส กับทำราคะ โทสะ โมหะ ให้เบาบางลง, สกิทาคามิมรรค ก็เขียน
  5. สกทาคามี : พระอริยบุคคลผู้ได้บรรลุสกทาคามิผล, สกิทาคามี ก็เขียน
  6. สกสัญญา : ความสำคัญว่าเป็นของตน, นึกว่าเป็นของตนเอง
  7. วิเหสกกรรม : กรรมที่จะพึงกระทำแก่ภิกษุผู้ทำสงฆ์ให้ลำบาก คือ ภิกษุประพฤติอนาจาร สงฆ์เรียกตัวมาถาม นิ่งเฉยเสียไม่ตอบ เรียกว่าเป็นผู้ทำสงฆ์ให้ลำบาก, สงฆ์ยกวิเหสกกรรมขึ้น คือสวดประกาศการที่เธอทำตัวเช่นนั้น ด้วยญัตติทุติยกรรม เมื่อสงฆ์สวดประกาศแล้วเธอยังขืนทำอย่างนั้นอยู่อีก ย่อมต้องอาบัติปาจิตตีย์ (สิกขาบทที่ ๒ ในภูตคามวรรคที่ ๒) คู่กับ อัญญวาทกกรรม
  8. กัมมัสสกตาสัทธา : ความเชื่อว่า สัตว์มีกรรมเป็นของตัว ทำดีได้ดี ทำชั่วได้ชั่ว ดู สัทธา
  9. กุลทูสก : ผู้ประทุษร้ายตระกูล หมายถึง ภิกษุผู้ประจบคฤหัสถ์ เอาใจเขาต่างๆ ด้วยอาการผิดวินัย มุ่งเพื่อให้เขาชอบตนเป็นส่วนตัว เป็นเหตุให้เขาคลายศรัทธาในพระศาสนาและเสื่อมจากกุศลธรรม เช่นให้ของกำนัลเหมือนอย่างคฤหัสถ์เขาทำกัน ยอมตัวให้เขาใช้ เป็นต้น
  10. มิสสกสโมธาน : การประมวลครุกาบัติระคนกัน, เป็นชื่อปริวาสสำหรับภิกษุผู้ปวารณาจะออกจากอาบัติสังฆาทิเสสต่างวัตถุกัน หมายความว่าต้องอาบัติสังฆาทิเสสหลายตัวต่างสิกขาบทกัน ซึ่งมีวันปิดเท่ากันบ้าง ไม่เท่ากันบ้าง ภิกษุผู้ต้องอาบัติสังฆาทิเสสเหล่านั้น ขอปริวาสจากสงฆ์เพื่ออยู่กรรม ชดใช้ทั้งหมด
  11. อันตรวาสก : ผ้านุ่ง, สบง, เป็นผืนหนึงในไตรจีวร
  12. กฐิน : ตามศัพท์แปลว่า ไม้สะดึง คือไม้แบบสำหรับขึงเพื่อตัดเย็บจีวร; ในทางพระวินัยใช้เป็นชื่อเรียกสังฆกรรมอย่างหนึ่งที่พระพุทธเจ้าทรงอนุญาตแก่สงฆ์ผู้จำพรรษาแล้ว เพื่อแสดงออกซึ่งความสามัคคีของภิกษุที่ได้จำพรรษาอยู่ร่วมกัน โดยให้พวกเธอพร้อมใจกันยกมอบผ้าผืนหนึ่งที่เกิดขึ้นแก่สงฆ์ ให้แก่ภิกษุรูปใดรูปหนึ่งในหมู่พวกเธอ ที่เป็นผู้มีคุณสมบัติสมควร แล้วภิกษุรูปนั้นนำผ้าที่ได้รับมอบไปทำเป็นจีวร (จะทำเป็นอันตรวาสก หรืออุตตราสงค์ หรือสังฆาฏิก็ได้ และพวกเธอทั้งหมดจะต้องช่วยภิกษุนั้นทำ) ครั้นทำเสร็จแล้ว ภิกษุรูปนั้นแจ้งให้ที่ประชุมสงฆ์ซึ่งได้มอบผ้าแก่เธอนั้นทราบเพื่ออนุโมทนา เมื่อสงฆ์คือที่ประชุมแห่งภิกษุเหล่านั้นอนุโมทนาแล้ว ก็ทำให้พวกเธอได้สิทธิพิเศษที่จะขยายเขตทำจีวรให้ยาวออกไป (เขตทำจีวรตามปกติ ถึงกลางเดือน ๑๒ ขยายต่อออกไปถึงกลางเดือน ๔); ผ้าที่สงฆ์ยกมอบให้แก่ภิกษุรูปหนึ่งนั้น เรียกว่า ผ้ากฐิน (กฐินทุสสะ); สงฆ์ผู้ประกอบกฐินกรรมต้องมีจำนวนภิกษุอย่างน้อย ๕ รูป; ระยะเวลาที่พระพุทธเจ้าทรงอนุญาตให้ประกอบกฐินกรรมได้ มีเพียง ๑ เดือน ต่อจากสิ้นสุดการจำพรรษา เรียกว่า เขตกฐิน คือตั้งแต่แรม ๑ ค่ำ เดือน ๑๑ ถึงขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๑๒
  13. คันธาระ : ชื่นแคว้นหนึ่งในบรรดา ๑๖ แคว้นใหญ่แห่งชมพูทวีป ตั้งอยู่แถบลุ่มแม่น้ำสินธูตอนเหนือ ตรงกับแคว้นปัญจาบภาคเหนือในปัจจุบัน นครหลวง ชื่อตักสิลา เป็นนครที่รุ่งเรืองด้วยศิลปวิทยาต่างๆ แคว้นคันธาระอยู่ติดกันกับแคว้นกัษมีระ (เขียนอย่าสันสกฤตเป็นกัศมีระ) หรือแคชเมียร์ พระราชาผู้ปกครองคันธาระในสมัยพุทธกาล มีพระนามว่าปุกกุสาติ
  14. จีวร : ผ้าที่ใช้นุ่งห่มของพระในพระพุทธศาสนาผืนใดผืนหนึ่งก็ได้ ในจำนวน ๓ ผืนที่เรียกว่า ไตรจีวร คือผ้าทาบ (สังฆาฏิ) ผ้าห่ม (อุตราสงค์) และผ้านุ่ง (อันตรวาสก); แต่ในภาษาไทย นิยมเรียกเฉพาะผ้าห่มคืออุตราสงค์ ว่า จีวร ดู ไตรจีวร ด้วย
  15. เจ้าอธิการแห่งอาราม : ภิกษุผู้มีหน้าที่เกี่ยวกับงานวัด แยกเป็น ๓ คือ ผู้ใช้คนงานวัด (อารามิกเปสก) ผู้ใช้สามเณร (สามเณรเปสก) และผู้ดูแลปลูกสร้าง (นวกัมมิกะ)
  16. ไตรจีวร : จีวร ๓, ผ้า ๓ ผืนที่พระวินัยอนุญาตให้ภิกษุมีไว้ใช้ประจำตัว คือ ๑.สังฆาฏิ ผ้าทาบ ๒.อุตราสงค์ ผ้าห่ม เรียกสามัญในภาษาไทยว่าจีวร ๓.อันตรวาสก ผ้านุ่ง เรียกสามัญว่า สบง
  17. ไตรลิงค์ : ๓ เพศ หมายถึง คำศัพท์ที่เป็นได้ทั้ง ๓ เพศในทางไวยากรณ์ กล่าวคือ ปุํลิงค์ เพศชาย อิตถีลิงค์ เพศหญิง นปุํสกลิงค์ มิใช่เพศชายและหญิง; คำบาลีที่เป็นไตรลิงค์ เช่น นิพฺพุโต นิพฺพุตา นิพฺพุตํ เป็น ปุํลิงค์ อิตถีลิงค์ และนปุํสกลิงค์ ตามลำดับ
  18. ทัพพมัลลบุตร : พระเถระมหาสาวกองค์หนึ่งในอสีติมหาสาวก เป็นพระราชโอรสของพระเจ้ามัลลราช เมื่อพระชนม์ ๗ พรรษา มีความเลื่อมใส ในพระพุทธศาสนา ได้บรรพชาเป็นสามเณร เวลาปลงผม พอมีดโกนตัดกลุ่มผมครั้งที่ ๑ ได้บรรลุโสดาปัตติผล ครั้งที่ ๒ ได้บรรลุสกทาคามิผล ครั้งที่ ๓ ได้บรรลุอนาคามิผล พอปลงผมเสร็จก็ได้บรรลุพระอรหัต ท่านรับภาระเป็นเจ้าหน้าที่ทำการสงฆ์ในตำแหน่งเสนาสนปัญญาปกะ (ผู้ดูแลจัดสถานที่พักอาศัยของพระ) และภัตตุเทสก์ ได้รับยกย่องว่าเป็นเอตทัคคะในบรรดา เสนาสนปัญญาปกะ
  19. นกุลบิดา : “พ่อของนกุล”, คฤหบดี ชาวเมืองสุงสุมารคีรี ในแคว้นภัคคะ มีภรรยาชื่อ นกุลมารดา สมัยหนึ่ง พระพุทธเจ้าเสด็จมายังเมืองสุงสุมารคีรี ประทับที่ป่าเภสกลาวัน ท่านคฤหบดีและภรรยาไปเฝ้าพร้อมกับชาวเมืองคนอื่นๆ พอได้เห็นครั้งแรก ทั้ง ๒ สามีภรรยาก็เกิดความรู้สึกสนิทหมายใจเหมือนว่าพระพุทธเจ้าเป็นบุตรของตน ได้เข้าไปถึงพระองค์และแสดงความรู้สึกนั้น พระพุทธเจ้าได้แสดงธรรมโปรด ทั้ง ๒ ท่านได้บรรลุธรรมเป็นพระโสดาบัน ท่านนกุลบิดาและนกุลมารดานี้ เป็นคู่สามีภรรยาตัวอย่าง ผู้มีความจงรักภักดีต่อกันอย่างบริสุทธิ์และมั่นคงยั่งยืน ตราบเท่าชรา ทั้งยังปรารถนาจะพบกันทั้งชาตินี้และชาติหน้า เคยทูลขอให้พระพุทธเจ้าแสดงหลักธรรมที่จะทำให้สามีภรรยาครองรักกันยั่งยืนตลอดไปทั้งภพนี้และภพหน้า เมื่อท่านนกุลบิดาเจ็บป่วยออดแอดร่างกายอ่อนแอ ไม่สบายด้วยโรคชรา ท่านได้ฟังพระธรรมเทศนาครั้งหนึ่ง ที่ท่านประทับใจมากคือ พระดำรัสที่แนะนำให้ทำใจว่า “ถึงแม้ร่างกายของเราจะป่วย แต่ใจของเราจะไม่ป่วย” ท่านนกุลบิดาได้รับยกย่องจากพระพุทธเจ้าให้เป็นเอตทัคคะในบรรดาอุบาสกผู้สนิทสนมคุ้นเคย (วิสสาสิกะ)
  20. ประทุษร้ายสกุล : ดู กุลทุสก
  21. ปัญญาขันธ์ : กองปัญญา, หมวดธรรมว่าด้วยปัญญา เช่น ธรรมวิจยะ การเลือกเฟ้นธรรม กัมมัสสกตาญาณ ความรู้ว่าสัตว์มีกรรมเป็นของตัวเป็นต้น (ข้อ ๓ ในธรรมขันธ์ ๕)
  22. ปานะ : เครื่องดื่ม, น้ำสำหรับดื่ม ที่คั้นจากลูกไม้ (น้ำคั้นผลไม้) จัดเป็นยามกาลิก ท่านแสดงไว้ ๘ ชนิด คือ ๑.อมฺพปานํ น้ำมะม่วง ๒.ชมฺพุปานํ น้ำชมพู่หรือน้ำหว้า ๓.โจจปานํ น้ำกล้วยมีเม็ด ๔.โมจปานํ น้ำกล้วยไม่มีเม็ด ๕.มธุกปานํ น้ำมะม่วง (ต้องเจือน้ำจึงจะควร) ๖.มุทฺทิกปานํ น้ำลูกจันทร์หรือองุ่น ๗.สาลุกปานํ น้ำเหง้าอุบล ๘.ผารุสกปานํ น้ำมะปรางหรือลิ้นจี่ นิยมเรียกว่า อัฏฐบาล หรือ น้ำอัฏฐบาน (ปานะ ๘ อย่าง)
  23. ปาปสมาจาร : ความประพฤติเหลวไหลเลวทราม ชอบสมคบกับคฤหัสถ์ด้วยการอันมิชอบ ที่เรียกว่าประทุษร้ายสกุล ดู กุลทูสก
  24. ผล : สิ่งที่เกิดจากเหตุ, ประโยชน์ที่ได้; ชื่อแห่งโลุตตรธรรมคู่กับมรรค และเป็นผลแห่งมรรค มี ๔ ชั้น คือ โสดาปัตติผล ๑ สกทาคามิผล ๑ อนาคามิผล ๑ อรหัตตผล ๑
  25. มรรค : ทาง, หนทาง 1.มรรค ว่าโดยองค์ประกอบ คือ ข้อปฏิบัติให้ถึงความดับทุกข์ เรียกเต็มว่า อริยอัฏฐังคิกมรรค แปลว่าทางมีองค์ ๘ ประการอันประเสริฐ เรียกสามัญว่า มรรคมีองค์ ๘ คือ ๑.สัมมาทิฏฐิ เห็นชอบ ๒.สัมมาสังกัปปะ ดำริชอบ ๓.สัมมาวาจา เจรจาชอบ ๔.สัมมากัมมันตะ ทำการชอบ ๕.สัมมาอาชีวะ เลี้ยงชีพชอบ ๖.สัมมาวายามะ เพียรชอบ ๗.สัมมาสติ ระลึกชอบ ๘.สัมมาสมาธิ ตั้งจิตมั่นชอบ 2.มรรค ว่าโดยระดับการให้สำเร็จกิจ คือ ทางอันให้ถึงความเป็นอริยบุคคลแต่ละขั้น, ญาณที่ทำให้ละสังโยชน์ได้ขาด เป็นชื่อแห่งโลกุตตรธรรม คู่กับผล มี ๔ ชั้นคือ โสดาปัตติมรรค ๑ สกทาคามิมรรค ๑ อนาคามิมรรค ๑ อรหัตตมรรค ๑
  26. ลิงค์ : เพศ, ในบาลีไวยากรณ์มี ๓ อย่าง คือ ปุํลิงค์ เพศชาย, อิตถีลิงค์ เพศหญิง นปุํสกลิงค์ มิใช่เพศชายมิใช่เพศหญิง
  27. สบง : ผ้านุ่งของภิกษุสามเณร, คำเดิม เรียก อันตรวาสก; ดู ไตรจีวร
  28. สโมธานปริวาส : ปริวาสแบบประมวลเข้าด้วยกัน คือ ปริวาสที่ภิกษุผู้ต้องอาบัติสังฆาทิเสสต่างคราว มีจำนวนวันปิดต่างกันบ้าง ไม่ต่างบ้าง ปรารถนาจะออกจากอาบัตินั้น จึงอยู่ปริวาสโดยประมวลอาบัติและราตรีเข้าด้วยกันจำแนกเป็น ๓ อย่างคือ ๑.โอธานสโมธาน สำหรับอาบัติมากกว่าหนึ่ง แต่ปิดไว้นานเท่ากัน เช่น ต้องอาบัติ ๒ คราว ปิดไว้คราวละ ๕ วัน ประมวลเข้าด้วยกัน อยู่ปริวาส ๕ วัน ๒.อัคฆสโมธาน สำหรับอาบัติมากกว่าหนึ่งและปิดไว้นานไม่เท่ากัน เช่น ต้องอาบัติ ๓ คราว ปิดไว้ ๓ วัน ๕ วันบ้าง ๗ วันบ้าง ประมวลเข้าด้วยกันอยู่ปริวาสเท่าจำนวนวันที่มากที่สุด (คือ ๗ วัน) ๓.มิสสกสโมธาน สำหรับอาบัติที่ต่างวัตถุกัน (เช่น กายสังสัคคะก็มี ทุฏฐุลลวาจาก็มี สัญจริตตะก็มี) มีวันปิดเท่ากันบ้าง ไม่เท่ากันบ้าง ประมวลเข้าด้วยกัน อยู่ปริวาสรวมเป็นคราวเดียว
  29. สังกิจฉิกะ : ผ้ารัดหรือโอบรักแร้ เป็นจีวรอย่างหนึ่งในจีวร ๕ ของภิกษุณี คือ สังฆาฏิ ผ้าทาบ ๑ อุตตราสงค์ ผ้าห่ม ๑ อันตรวาสก สบง ๑ สังกิจฉิกะ ผ้ารัดหรือผ้าโอบรักแร้ ๑ อุทกสาฏิกา ผ้าอาบ ๑ (มากกว่าของภิกษุซึ่งมีจำนวนเพียง ๓ อย่างข้างต้น)
  30. สัทธา : ความเชื่อ; ในทางธรรม หมายถึง เชื่อสิ่งที่ควรเชื่อ, ความเชื่อที่ประกอบด้วยเหตุผล, ความมั่นใจในความจริงความดีสิ่งดีงามและในการทำความดีไม่ลู่ไหลตื่นตูมไปตามลักษณะอาการภายนอก ท่านแสดงสืบ ๆ กันมาว่า ๔ อย่างคือ ๑.กัมมสัทธา เชื่อกรรม ๒.วิปากสัทธา เชื่อผลของกรรม ๓.กัมมัสสกตาสัทธา เชื่อว่าสัตว์มีกรรมเป็นของตัว ทำดีได้ดี ทำชั่วได้ชั่ว ๔.ตถาคตโพธิสัทธา เชื่อปัญญาตรัสรู้ของพระตถาคต; เขียนอย่างสันสกฤตเป็นศรัทธา
  31. สุภัททะ วุฒบรรพชิต : “พระสุภัททะผู้บวชเมื่อแก่” ซึ่งเป็นต้นเหตุแห่งการปรารภที่จะทำสังคายนาครั้งที่ ๑ ก่อนบวช เป็นช่างตัดผมในเมืองอาตุมา มีบุตรชาย ๒ คน เมื่อบวชแล้วคราวหนึ่งได้ข่าวว่าพระพุทธเจ้าพร้อมด้วยสงฆ์หมู่ใหญ่จะเสด็จมายังเมืองอาตุมา จึงให้บุตรทั้ง ๒ เอาเครื่องมือตัดผมออกไปเที่ยวขอตัดผมตามบ้านเรือนทุกแห่ง แลกเอาเครื่องปรุงยาคูมาได้มากมาย แล้วบัญชาการให้ผู้คนจัดเตรียมข้าวยาคูไว้เป็นอันมาก เมื่อพระพุทธเจ้าเสด็จมาถึง ก็นำเอาข้าวยาคูนั้นเข้าไปถวาย พระพุทธเจ้าตรัสถาม ทรงทราบความว่าพระสุภัททะได้ข้าวนั้นมาอย่างไรแล้ว ไม่ทรงรับและทรงติเตียน แล้วทรงบัญญัติสิกขาบท ๒ ข้อ คือ บรรพชิตไม่พึงชักชวนคนทำในสิ่งที่เป็นอกัปปิยะ และภิกษุผู้เคยเป็นช่างกัลบกไม่พึงเก็บรักษาเครื่องตัดโกนผมไว้ประจำตัว จากการที่ได้ถูกติเตียนและเสียของเสียหน้าเสียใจ ในเหตุการณ์ครั้งนั้น พระสุภัททะก็ได้ผูกอาฆาตไว้ ต่อมา เมื่อพระพุทธเจ้าเสด็จดับขันธปรินิพพานแล้วได้ ๗ วัน พระสุภัททะร่วมอยู่ในคณะของพระมหากัสสปเถระ ซึ่งกำลังเดินทางจากเมืองปาวาสู่เมืองกุสินารา ระหว่างทางนั้น คณะได้ทราบข่าวพุทธปรินิพพานจากอาชีวกผู้หนึ่ง ภิกษุทั้งหลายที่ยังไม่สิ้นราคะ (คือพระปุถชน โสดาบัน และสกทาคามี) พากันร้องไห้คร่ำครวญเป็นอันมาก ในขณะนั้นเอง พระสุภัททะวุฒบรรพชิต ก็ร้องห้ามขึ้นว่า “อย่าเลย ท่านผู้มีอายุ พวกท่านอย่าเศร้าโศก อย่าร่ำไห้ไปเลย พวกเราพ้นดีแล้ว พระมหาสมณะนั้นคอยเบียดเบียนพวกเราว่าสิ่งนี้ควรแก่เธอ สิ่งนี้ไม่ควรแก่เธอ บัดนี้พวกเราปรารถนาสิ่งใด ก็จักกระทำสิ่งนั้น” พระมหากัสสปเถระได้ฟังแล้วเกิดธรรมสังเวช ดำริว่า พระพุทธเจ้าปรินิพพานเพียง ๗ วัน ก็ยังเกิดเสี้ยนหนามขึ้นแล้วในพระศาสนา หากต่อไปคนชั่วได้พวกพ้องมีกำลังเติบกล้าขึ้น ก็จะทำพระศาสนาให้เสื่อมถอย ดังนั้น หลังจากเสร็จงานถวายพระเพลิงพระพุทธสรีระแล้ว ท่านจึงได้ยกถ้อยคำของสุภัททะวุฒบรรพชิต นี้ขึ้นเป็นข้อปรารภ ชักชวนพระเถระทั้งหลายร่วมกันทำสังคายนาครั้งแรก
  32. เสขะ : ผู้ยังต้องศึกษา ได้แก่ พระอริยบุคคลที่ยังไม่บรรลุอรหัตตผล โดยพิสดารมี ๗ คือ ท่านผู้ตั้งอยู่ในโสดาปัตติมรรค ในโสดาปัตติผล ในสกทาคามิมรรค ในสกทาคามิผล ในอนาคามิมรรค ในอนาคามิผล และในอรหัตตมรรค, พูดเอาแต่ระดับเป็น ๓ คือ พระโสดาปัน พระสกทาคามี พระอนาคามี
  33. ให้ลำบาก : ดู วิเหสกกรรม
  34. อธิษฐาน : 1) ในทางพระวินัย แปลว่า การตั้งเอาไว้หรือตั้งใจกำหนดเอาไว้ คือ ตั้งเอาไว้เป็นของนั้นๆ หรือตั้งใจกำหนดเอาไว้ว่าจะใช้เป็นของประจำ ตัวชนิดนั้นๆ เช่น ได้ผ้ามาผืนหนึ่ง ตั้งใจว่าจะใช้เป็นอะไร คือจะเป็นสังฆาฏิ อุตตราสงค์ อันตรวาสก ก็อธิษฐานเป็นอย่างนั้นๆ เมื่ออธิษฐานแล้ว ของนั้นเรียกว่าเป็นของอธิษฐาน เช่น เป็นสังฆาฏิอธิษฐาน จีวรอธิษฐาน (นิยมเรียกกันว่า จีวรครอง) ตลอดจนบาตรอธิษฐาน ส่วนของชนิดนั้น ที่ได้เพิ่มมาอีกหรือเกินจากนั้นไปก็เป็นอติเรก เช่น เป็นอติเรกจีวร อติเรกบาตร, คำอธิษฐาน เช่น “อิมํ สงฺฆาฏึ อธิฏฺามิ” (ถ้าอธิษฐานของอื่น ก็เปลี่ยนไปตามชื่อของนั้น เช่น เป็น อุตฺตราสงฺคํ, อนฺตรวาสกํ เป็นต้น) 2) ความตั้งใจมั่น, การตัดสินใจเด็ดเดี่ยว, ความมั่นคง เด็ดเดี่ยว แน่วแน่ในทางดำเนินและจุดมุ่งหมายของตน (ข้อ ๘ ในบารมี ๑๐), ในภาษาไทยมักใช้ในความหมายว่า ความตั้งใจมุ่งผลอย่างใดอย่างหนึ่ง, ความตั้งจิตปรารถนา
  35. อนุปุพพิกถา : เทศนาที่แสดงไปโดยลำดับ เพื่อฟอกอัธยาศัยของสัตว์ให้หมดจดเป็นชั้นๆ จากง่ายไปหายากเพื่อเตรียมจิตของผู้ฟังให้พร้อมที่จะรับฟังอริยสัจ มี ๕ คือ ๑) ทานกถา พรรณนาทาน ๒) สีลกถา พรรณนาศีล ๓) สัคคกถา พรรณนาสวรรค์ คือ ความสุขที่พรั่งพร้อมด้วยกาม ๔) กามาทีนวกถา พรรณนาโทษของกาม ๕) เนกขัมมานิสังสกถา พรรณาอานิสงส์แห่งการออกจากกาม
  36. อริยบุคคล : บุคคลผู้เป็นอริยะ, ท่านผู้บรรลุธรรมวิเศษมีโสดาปัตติมรรค เป็นต้น มี ๔ คือ ๑) พระโสดาบัน ๒) พระสกทาคามี (หรือสกิทาคามี) ๓) พระอนาคามี ๔) พระอรหันต์; แบ่งพิสดารเป็น ๘ คือ พระผู้ตั้งอยู่ในโสดาปัตติมรรค และพระผู้ตั้งอยู่ในโสดาปัตติผลคู่ ๑, พระผู้ตั้งอยู่ในสกทาคามมิมรรค และพระผู้ตั้งอยู่ในสกทาคามิผล คู่ ๑, พระผู้ตั้งอยู่ในอนาคามิมรรค และพระผู้ตั้งอยู่ในอนาคามิผล คู่๑, พระผู้ตั้งอยู่ในอรหัตตมรรค และพระผู้ตั้งอยู่ในอรหัตตผล คู่ ๑
  37. อริยผล : ผลอันประเสริฐ มี ๔ ชั้น คือ โสดาปัตติผล สกทาคามิผล อนาคามิผล และอรหัตตผล
  38. อริยมรรค : ทางอันประเสริฐ, ทางดำเนินของพระอริยะ, ญาณอันให้สำเร็จความเป็นพระอริยะ มี ๔ คือ โสดาปัตติมรรค สกทาคามิมรรค อนาคามิมรรค และอรหัตตมรรค; บางทีเรียกมรรคมีองค์ ๘ ว่า อริยมรรคก็มี แต่ควรเรียกเต็มว่า อริยอัฏฐังคิกมรรค
  39. อัญญาวาทกรรม : กรรมที่จะพึงกระทำแก่ภิกษุผู้กล่าวคำอื่น คือภิกษุประพฤติอนาจาร สงฆ์เรียกตัวมาถาม แกล้งยกเรื่องอื่นๆ มาพูดกลบเกลื่อนเสีย ไม่ให้การตามตรง, สงฆ์สวดประกาศความนั้นด้วยญัตติทุติยกรรม เรียกว่า ยกอัญญวาทกรรมขึ้น, เมื่อสงฆ์ประกาศเช่นนี้แล้ว ภิกษุนั้นยังขืนทำอย่างเดิมอีก ต้องอาบัติปาจิตตีย์ (สิกขาบทที่ ๒ แห่งภูตคามวรรค ปาจิตติยกัณฑ์), คู่กับ วิเหสกกรรม
  40. อุปปถกิริยา : การทำนอกรีตนอกรอยของสมณะ, ความประพฤตินอกแบบแผนของภิกษุสามเณร ท่านจัดรวมไว้เป็น ๓ ประเภท คือ ๑) อนาจาร ประพฤติไม่ดีไม่งาม และเล่นไม่เหมาะสมต่างๆ ๒) ปาปสมาจาร ความประพฤติเลวทราม คือ คบหากับคฤหัสถ์ในทางที่ไม่สมควร ทำตนเป็นกุลทูสก ๓) อเนสนา หาเลี้ยงชีพในทางที่ไม่สมควร เช่น เป็นหมอเสกเป่า ให้หวย เป็นต้น
  41. [1-40]

(0.0112 sec)