Dictionary : English, Thai, Pali. Link : Lexitron, RoyDict, BudDict, ETipitaka, PpmDict, Longdo.
Search: ศัตรู , then ศตร, ศัตรู .

Royal Institute Thai-Thai Dict : ศัตรู, 46 found, display 1-46
  1. ศัตรู : [สัดตฺรู] น. ข้าศึก, ปรปักษ์, เช่น ศัตรูจากภายนอกประเทศ เพลี้ย เป็นศัตรูพืช, ผู้จองเวร เช่น ๒ ตระกูลนี้เป็นศัตรูกันมาหลายชั่วคน แล้ว. (ส. ศตฺรุ; ป. ตฺตุ).
  2. คู่ศัตรู : (โหร) น. ผู้ที่มีชะตาไม่ถูกกัน เป็นศัตรูกัน, ผู้ที่เป็นภัยแก่กัน, ตรงข้ามกับ คู่มิตร.
  3. ปร-ปักษ์ : [ปอระ-] น. ข้าศึก, ศัตรู, ฝ่ายตรงข้าม.
  4. วิปักษ์ : น. ฝ่ายตรงกันข้าม, ข้าศึก, ศัตรู, ปรปักษ์. (ส.; ป. วิปกฺข).
  5. ปฏิปักษ์ : น. ฝ่ายตรงกันข้าม, ข้าศึก, ศัตรู. ว. ที่ตรงกันข้าม เช่น ฝ่ายปฏิปักษ์. (ส. ปรฺติปกฺษ; ป. ปฏิปกฺข).
  6. ปัจจามิตร : น. ข้าศึก, ศัตรู. (ส. ปจฺจามิตฺร; ป. ปจฺจามิตฺต).
  7. ปัจนึก : [ปัดจะหฺนึก, ปัดจะนึก] (แบบ) น. ข้าศึก, ศัตรู. (ป. ปจฺจนีก).
  8. เวรี : น. คนจองเวรกัน, ศัตรู. (ป.; ส. ไวรี).
  9. อมิตร : [อะมิด] ว. ไม่ใช่เพื่อน. น. ข้าศึก, ศัตรู. (ส.; ป. อมิตฺต).
  10. อุปสรรค : [อุปะสัก, อุบปะสัก] น. เครื่องขัดข้อง, ความขัดข้อง, เครื่อง ขัดขวาง. (ส. อุปสรฺค; ป. อุปสคฺค); คำสำหรับใช้เติมข้างหน้า คำนามหรือคำกริยาที่เป็นรูปคำบาลีหรือสันสกฤตให้มีความหมาย แผกเพี้ยนไปจากเดิม หรือมีความหมายตรงข้ามกับความหมายเดิม เป็นต้น และถือเป็นคำเดียวกับคำนามหรือคำกริยานั้น เพราะตาม ปรกติจะไม่ใช้ตามลำพัง เช่น วัฒน์ = เจริญ อภิวัฒน์ = เจริญยิ่ง ปักษ์ = ฝ่ายปฏิปักษ์ = ฝ่ายตรงข้าม, ข้าศึก, ศัตรู.
  11. กลาย : [กฺลาย] ก. เปลี่ยนไป, แปรปรวนไป, เช่น หน้าหนาวกลายเป็นหน้าร้อน, เป็นอื่นไป, แปลงไป, เช่น ศรกลายเป็นทิพย์กระยาหาร เปรี้ยวหวานตกลงตรงหน้า. (รามเกียรติ์ ร. ๒), (โบ; กลอน) ใช้ในความว่า กราย ก็มี เช่น ไปกลายบ๋านของตนก็ดี. (จารึกสยาม), จักเจริญสวัสดิภาพศักดิศรี ศัตรูไพรี บห่อนจะใกล้กลายตน. (โชค-โบราณ). ว. ที่แปลงไป เช่น แผลกลาย; เรียกปีที่ล่วงหรือเปลี่ยนไปแล้วปีหนึ่งว่า ปีกลาย.
  12. ข่มนาม : ก. ทําพิธีข่มชื่อศัตรูก่อนยกทัพ.
  13. ขายชาติ : ก. ขยายความลับประเทศชาติของตนแก่ศัตรูหรือเอาใจ ออกหากไปเข้ากับศัตรู เพราะเห็นแก่สินจ้างหรือสิ่งตอบแทนเพื่อ ทําลายล้างประเทศชาติของตน, ขายบ้านขายเมือง ก็ว่า.
  14. ข้าศึก : น. ศัตรูของบ้านเมือง, คู่สงคราม, โดยปริยายหมายความว่า ผู้ขัดขวางหรือทําลาย.
  15. คู่ปรปักษ์ : น. ผู้ที่เป็นศัตรูกัน.
  16. คู่มิตร : (โหร) น. ผู้ที่มีชะตาถูกกัน เป็นมิตรกัน, ผู้ที่รักใคร่กัน ไม่เป็นภัยแก่กัน ตรงข้ามกับ คู่ศัตรู.
  17. คู่อริ : น. ผู้ที่เป็นหรือเคยเป็นศัตรูกัน.
  18. จะกละ ๒ : น. ชื่อผีชนิดหนึ่ง เชื่อกันว่ามีรูปเป็นแมว อยู่ในจําพวกผีป่า หมอผี ชาวป่าเลี้ยงไว้ใช้ไปทําร้ายศัตรู. (สยามสมาคม).
  19. ชักน้ำเข้าลึก ชักศึกเข้าบ้าน : (สํา) ก. นําศัตรูเข้าบ้าน.
  20. ตโมไพรี : น. ไฟ. (ส. ตโมไพรี ว่า ศัตรูของความมืด).
  21. ทุ่นระเบิด : น. เครื่องกีดขวางที่มีอํานาจระเบิด ผูกโซ่ถ่วงให้ลอย ประจําอยู่ใต้นํ้าเพื่อทําลายหรือต่อต้านการบุกรุกของฝ่ายศัตรูทาง ทะเล, ถ้าใช้ฝังพรางไว้บนบก เรียกว่า ทุ่นระเบิดบก, เรียกอาณา บริเวณที่วางทุ่นระเบิดไว้เพื่อป้องกันปิดล้อม หรือจํากัดการ เคลื่อนไหวของฝ่ายศัตรูทั้งทางทะเลและทางบกว่า สนามทุ่น ระเบิด, เรียกลักษณะการทําลายทุ่นระเบิดที่ศัตรูวางไว้ในทะเลว่า กวาดทุ่นระเบิด.
  22. ธงชัย ๒ : น. กาลโยคอย่างหนึ่งในโหราศาสตร์ คือ เวลาประกอบด้วยโชคคราวชนะ เข้าไปถึงที่ซึ่งศัตรูจะตั้งอยู่ไม่ได้.
  23. แนวที่ห้า : น. ผู้เอาใจฝักใฝ่และช่วยเหลือศัตรู.
  24. แนวหน้า : น. แนวหรือเขตแบ่งกําลังทัพทางบกส่วนหน้าซึ่งพร้อมที่จะ ปะทะกับฝ่ายศัตรู.
  25. ประหัต : [ปฺระหัด] ก. ประหาร เช่น ประหัตศัตรูออก. (สมุทรโฆษ). (ส. ปฺรหฺฤต; ป. ปหต).
  26. ปล่อยของ : ก. ทําพิธีทางไสยศาสตร์ให้ของไปทําร้ายผู้อื่น เช่น เสกหนังควายเข้าท้องศัตรู.
  27. ปล่อยปลาลงน้ำ : (สํา) ก. ปล่อยศัตรูไปแล้วเขาจะไม่นึกถึงบุญคุณ, มักใช้เข้าคู่กับ ปล่อยเสือเข้าป่า เป็น ปล่อยเสือเข้าป่า ปล่อยปลาลงนํ้า.
  28. ปล่อยเสือเข้าป่า : (สํา) ก. ปล่อยศัตรูไปอาจกลับมาทําร้ายภายหลังอีก, มักใช้เข้าคู่กับ ปล่อยปลาลงนํ้า เป็น ปล่อยเสือเข้าป่า ปล่อยปลาลงนํ้า.
  29. แผ่พังพาน, แผ่แม่เบี้ย : ก. อาการที่งูเห่าหรืองูจงอางเป็นต้นชูและ แผ่คอให้แบนเพื่อเตรียมฉกศัตรูเป็นต้น.
  30. มวน ๑ : น. ชื่อแมลงหลายชนิดในหลายวงศ์ เมื่อโตเต็มที่มีปีก ๒ คู่ ปีกคู่หน้าค่อนข้างยาว แคบ เนื้อปีกบริเวณโคนแข็ง ปลายเป็นแผ่นบางอ่อน ปีกคู่หลังอ่อนเป็นแผ่นบางตลอด เมื่อพับปีกจะแบนราบไปตามสันหลัง แต่บางชนิดก็ไม่มีปีก ปากเป็นท่อยาวคล้ายเข็ม โผล่ทางด้านล่างบริเวณปลายหัว หลายชนิดปล่อยกลิ่นเหม็นได้และเป็นศัตรูพืชพวกที่อยู่ ในวงศ์ Pentatomidae เช่น มวนเขียว (Rhynchocoris humeralis) ทําลายส้ม, แมงแกง (Tessaratoma javanica) ทําลายลําไย, ที่อยู่ในวงศ์ Pyrrhocoridae เช่น มวนแดงฝ้าย (Dysdercus cingulatus)ทําลายทุกส่วนของฝ้าย.
  31. ไม้เด็ด, ไม้ตาย : น. ท่าสําคัญในการต่อสู้กระบี่กระบองหรือมวยซึ่งทําให้ฝ่ายปรปักษ์ ไม่สามารถจะสู้ได้อีก, ตรงข้ามกับ ไม้เป็น, โดยปริยายหมายถึงวิธีการที่จะเอาชนะ ศัตรูได้ เช่น เขาใช้ไม้ตาย เขามีไม้ตาย.
  32. ยาหยัง : [หฺยัง] ก. ชนะศัตรู. (ช.).
  33. รบทัพจับศึก : ก. รบราฆ่าฟันกับข้าศึกศัตรู.
  34. ร่วม : ก. มีส่วนรวมอยู่ด้วยกัน เช่น ร่วมกิน ร่วมนอน, มีส่วนรวมเป็นอันหนึ่ง อันเดียวกัน เช่น ร่วมใจ ร่วมสามัคคี, มีส่วนรวมในที่แห่งเดียวกัน เช่น ร่วมโรงเรียน ร่วมบ้านร่วมห้อง ร่วมหอ, มีส่วนรวมในภาวะหรือสถานะ เดียวกัน เช่น เพื่อนร่วมชาติมีศัตรูร่วมกัน ทำบุญร่วมญาติ ร่วมเป็นร่วมตาย ร่วมทุกข์ร่วมสุข ร่วมชะตากรรม. ว. ล่วงไปมากจวนถึงที่หมาย, เกือบ, เกือบถึง, เช่น ร่วมถึง ร่วมเสร็จ ทํามาร่วมเดือนแล้ว ซากสัตว์นี้มีอายุร่วม ๑,๐๐๐ ปี.
  35. ราบ : ว. เรียบเสมอพื้นไม่มีลุ่ม ๆ ดอน ๆ เช่น ที่ราบ ราบเป็นหน้ากลอง, โดยปริยายหมายความว่า หมดสิ้น เช่น หญ้าตายราบ ปราบศัตรูเสียราบ; undefined undefined
  36. ลาดตระเวน : ก. เที่ยวตรวจไปทั่วเพื่อป้องกันข้าศึกศัตรูเป็นต้น เช่น หน่วยลาดตระเวน เครื่องบินออกลาดตระเวน ตำรวจทหารลาด ตระเวนไปตามชายแดน. น. เรียกเรือรบขนาดใหญ่ประเภทหนึ่ง มีหน้าที่ลาดตระเวนเพื่อค้นหา ทำลายเรือรบข้าศึก และให้ความ คุ้มกันสนับสนุนกองเรือลำเลียงของฝ่ายตนว่า เรือลาดตระเวน.
  37. เลี้ยงลูกเสือลูกจระเข้ : (สำ) ก. บำรุงเลี้ยงดูลูกศัตรูหรือลูกคนพาล จะได้รับความเดือดร้อนในภายหลัง.
  38. วินาศกรรม : [วินาดสะกำ] น. การลอบทําลายหรือเผาผลาญ ทรัพย์สินโรงงานอุตสาหกรรมเป็นต้น ของนายจ้างหรือของศัตรู เช่น ในกรณีที่เกิดพิพาทกันขึ้นระหว่างนายจ้างกับลูกจ้าง หรือเพื่อ ตัดกําลังฝ่ายศัตรูเมื่อทําสงครามกันโดยตรงหรือโดยปริยาย.
  39. เวท, เวท : [เวด, เวทะ] น. ความรู้, ความรู้ทางศาสนา; ถ้อยคําศักดิ์สิทธิ์ที่ผูก ขึ้นเป็นมนตร์หรือคาถาอาคมเมื่อนํามาเสกเป่าหรือบริกรรมตาม ลัทธิวิธีที่มีกําหนดไว้ สามารถให้ร้ายหรือดี หรือป้องกันอันตราย ต่าง ๆ ตามคติไสยศาสตร์ได้ เช่น ร่ายเวท, บางทีก็ใช้เข้าคู่กับคำ มนตร์ เป็น เวทมนตร์; ชื่อคัมภีร์ภาษาสันสกฤตโบราณซึ่งเป็น พื้นฐานของศาสนาพราหมณ์ยุคแรก มี ๔ คัมภีร์ได้แก่ ๑. ฤคเวท ว่าด้วยบทสวดสรรเสริญเทพเจ้าทั้งหลาย ตอนท้ายกล่าวถึงการ สร้างโลกซึ่งต่อมาได้กลายเป็นต้นแบบความเชื่อของชาวอินเดีย ๒. ยชุรเวท ว่าด้วยรายละเอียดการประกอบยัญพิธีและลำดับมนตร์ ที่นำมาจากคัมภีร์ฤคเวทเพื่อสวดในขั้นตอนต่าง ๆ ของพิธี ๓. สามเวท ว่าด้วยบทขับที่คัดเลือกมาจากประมาณหนึ่งในหก ของฤคเวท และใช้เฉพาะในพิธีที่บูชาด้วยน้ำโสม ๔. อถรรพเวท หรือ อาถรรพเวท เป็นเวทมนตร์คาถาเพื่อให้เกิดผลดีแก่ฝ่ายตน หรือผลร้ายแก่ฝ่ายศัตรู ตลอดจนการบันดาลสิ่งที่เป็นมงคล หรืออัปมงคล การทำเสน่ห์ การรักษาโรค และอื่น ๆ สามคัมภีร์แรก เรียกว่า ไตรเวท หรือ ไตรเพท ต่อมารับอถรรพเวทหรืออาถรรพเวท เข้ามารวมเป็นสี่คัมภีร์เรียกว่า จตุรเวท หรือ จตุรเพท, เรียกยุคแรก ของศาสนาพราหมณ์จนถึงประมาณสมัยพุทธกาลว่า ยุคพระเวท มีวรรณกรรมหลักประกอบด้วยคัมภีร์พระเวท คัมภีร์พราหมณะ คัมภีร์อารัณยกะและคัมภีร์อุปนิษัทรุ่นแรก. (ป., ส.).
  40. สร้าง ๑ : [ส้าง] ก. เนรมิต, บันดาลให้มีให้เป็นขึ้นด้วยฤทธิ์อำนาจ, เช่น พระพรหมสร้างโลก, ทำให้มีให้เป็นขึ้นด้วยวิธีต่าง ๆ กัน (ใช้ทั้ง ทางรูปธรรมและนามธรรม) เช่น สร้างบ้าน สร้างเมือง สร้างศัตรู สร้างชื่อเสียง.
  41. หอกข้างแคร่ : (สํา) น. คนใกล้ชิดที่อาจคิดร้ายขึ้นมาเมื่อไรก็ได้ มักใช้แก่ ลูกเลี้ยงที่ติดมากับพ่อหรือแม่, ศัตรูที่อยู่ข้างตัว.
  42. หัน ๑ : ก. ผันร่างไปทางใดทางหนึ่ง เช่น หันซ้าย คือ ผันร่างไปทางซ้าย หันขวา คือ ผันร่างไปทางขวา, ผินไปทางใดทางหนึ่ง เช่น นิยมสร้างโบสถ์หันหน้า ไปทางทิศตะวันออก, หมุน เช่น หันหน้ามาทางนี้; เปลี่ยนใจ เช่น หันไปเข้า กับศัตรู.
  43. ห้ำหัก : ก. เข้าทําร้ายศัตรูให้แตกหักยับเยิน.
  44. เห : ก. เบนไป เช่น เหหัวเรือ, เขว เช่น เขาเหไปเข้าข้างศัตรู, เฉ เช่น รถยนต์ เหออกนอกทาง.
  45. อรินทร์ : น. ผู้เป็นใหญ่ฝ่ายข้าศึกหรือฝ่ายศัตรู มักหมายถึงพระราชา หรือเจ้าเมืองใหญ่ของฝ่ายตรงกันข้าม. (ส.).
  46. อสุร : [อะสุระ] น. อมนุษย์พวกหนึ่งเป็นศัตรูต่อเทวดา, แทตย์, ยักษ์, มาร, ผี. (ป., ส. อสุร).
  47. [1-46]

(0.0617 sec)