Dictionary : English, Thai, Pali. Link : Lexitron, RoyDict, BudDict, ETipitaka, PpmDict, Longdo.
Search: ศิษย์ .

Budhism Thai-Thai Dict : ศิษย์, 43 found, display 1-43
  1. สัทธิงวิหาริก : ศิษย์, ผู้อยู่ด้วย เป็นคำเรียกผู้ที่ได้รับอุปสมบท ถ้าอุปสมบทต่อพระอุปัชฌายะองค์ใดก็เป็นสัทธิวิหาริกของพระอุปัชฌายะองค์นั้น
  2. สัทธิวิหาริก : ศิษย์, ผู้อยู่ด้วย เป็นคำเรียกผู้ที่ได้รับอุปสมบท ถ้าอุปสมบทต่อพระอุปัชฌายะองค์ใดก็เป็นสัทธิวิหาริกของพระอุปัชฌายะองค์นั้น
  3. สาวก : ผู้ฟัง, ผู้ฟังคำสอน, ศิษย์
  4. อันเตวาสิก : ผู้อยู่ในสำนัก, ภิกษุผู้ขออยู่ร่วมสำนัก, ศิษย์ (ภิกษุผู้รับให้อยู่ร่วมสำนักเรียกอาจารย์); อันเตวาสิกมี ๔ ประเภทคือ ๑) ปัพพชันเตวาสิก อันเตวาสิกในบรรพชา ๒) อุปสัมปทันเตวาสิก อันเตวาสิกในอุปสมบท ๓) นิสสยันเตวาสิก อันเตวาสิกผู้ถือนิสัย ๔) ธัมมันเตวาสิก อันเตวาสิกผู้เรียนธรรม
  5. กัปปมาณพ : ศิษย์คนหนึ่งในจำนวน ๑๖ คนของพราหมณ์พาวรี ที่ไปทูลถามปัญหากะพระศาสดา ที่ปาสาณเจดีย์
  6. ชตุกัณณีมาณพ : ศิษย์คนหนึ่งในจำนวน ๑๖ คน ของพราหมณ์พาวรี ที่ไปทูลถามปัญหากะพระศาสดา ที่ปาสาณเจดีย์
  7. ติสสเมตเตยยมาณพ : ศิษย์คนหนึ่งในจำนวน ๑๖ คน ของพราหมณ์พาวรี ที่ไปทูลถามปัญหากะพระศาสดาที่ปาสาณเจดีย์
  8. โตเทยยมาณพ : ศิษย์คนหนึ่งในจำนวน ๑๖ คน ของพราหมณ์พาวรีที่ไปทูลถามปัญหากะพระศาสดา ที่ปาสาณเจดีย์
  9. โธตกมาณพ : ศิษย์คนหนึ่งในจำนวน ๑๖ คน ของพราหมณ์พาวรี ที่ไปทูลถามปัญหากะพระศาสดา ที่ปาสาณเจดีย์
  10. นันทมาณพ : ศิษย์คนหนึ่งในจำนวน ๑๖ คน ของพราหมณ์พาวรี ที่ไปทูลถามปัญหากะพระศาสดา ที่ปาสาณเจดีย์
  11. นิสิต : ศิษย์ผู้เล่าเรียนอยู่ในสำนัก, ผู้อาศัย, ผู้ถือนิสัย
  12. ปิงคิยมาณพ : ศิษย์คนหนึ่งในจำนวน ๑๖ คนของพราหมณ์พาวรี ที่ไปทูลถามปัญหากะพระศาสดา ที่ปาสาณเจดีย์
  13. ปุณณกมาณพ : ศิษย์คนหนึ่งในจำนวน ๑๖ คน ของพราหมณ์พาวรี ที่ไปทูลถามปัญหากะพระศาสดา ที่ปาสาณเจดีย์
  14. โปสาลมาณพ : ศิษย์คนหนึ่งในจำนวน ๑๖ คน ของพราหมณ์พาวรี ที่ไปทูลถามปัญหากะพระศาสดา ที่ปาสาณเจดีย์
  15. ภัทราวุธมาณพ : ศิษย์คนหนึ่งในจำนวน ๑๖ คน ของพราหมณ์พาวรี ที่ไปทูลถามปัญหากะพระศาสดา ที่ปาสาณเจดีย์
  16. เมตตคูมานพ : ศิษย์คนหนึ่งในจำนวน ๑๖ คน ของพราหมณ์พาวรีที่ไปทูลถามปัญหากะพระศาสดา ณ ปาสาณเจดีย์
  17. โมฆราชมาณพ : ศิษย์คนหนึ่งในจำนวน ๑๖ คน ของพราหมณ์พาวรี ที่ไปทูลถามปัญหากะพระศาสดา ที่ปาสาณเจดีย์ ได้บรรลุพระอรหัตตผลแล้วอุปสมบทเป็นพระมหาสาวกองค์หนึ่ง และได้รับยกย่องเป็นเอตทัคคะในทางทรงจีวรเศร้าหมอง
  18. เหมกมาณพ : ศิษย์คนหนึ่งในจำนวน ๑๖ คน ของพราหมณ์พาวรี ที่ไปทูลถามปัญหากะพระศาสดา ที่ปาสาณเจดีย์
  19. อุทยมานพ : ศิษย์คนหนึ่งในจำนวน ๑๖ คนของพราหมณ์พาวรี ที่ไปทูลถามปัญหากะพระศาสดา ที่ปาสาณเจดีย์
  20. อุปสีวมาณพ : ศิษย์คนหนึ่งในจำนวน ๑๖ คน ของพราหมณ์พาวรี ที่ไปทูลถามปัญหากะพระศาสดา ที่ปาสาณเจดีย์
  21. ต่อหนังสือค่ำ : วิธีที่ใช้สอนให้จำ ในยุคที่ยังไม่ได้ใช้หนังสือ โดยอาจารย์สอนให้ว่าทีละคำหรือทีละวรรค ศิษย์ก็ว่าตามว่าซ้ำหลายๆ ครั้งเพื่อให้จำได้ เมื่อศิษย์จำได้แล้ว อาจารย์ก็สอนต่อไปทุกๆ วัน วันละมากหรือน้อยแล้วแต่ความสามารถของศิษย์ นี่เรียกว่า ต่อหนังสือ และมักต่อในเวลาค่ำ จึงเรียกว่าต่อหนังสือค่ำ
  22. ธรรมันเตวาสิก : อันเตวาสิกผู้เรียนธรรมวินัย, ศิษย์ผู้เรียนธรรมวินัย
  23. ปลิโพธ : เครื่องผูกพันหรือหน่วงเหนี่ยวเป็นเหตุให้ใจพระวักพะวนห่วงกังวล, เหตุกังวล, ข้อติดข้อง; ปลิโพธที่ผู้จะเจริญกรรมฐานพึงตัดเสียให้ได้ เพื่อให้เกิดความปลอดโปร่งพร้อมที่จะเจริญกรรมฐานให้ก้าวหน้าไปได้ดี มี ๑๐ อย่าง คือ ๑.อาวาสปลิโพธ ความกังวลเกี่ยวกับวัดหรือที่อยู่ ๒.กุลปริโพธ ความกังวลเกี่ยวกับตระกูลญาติหรืออุปัฏฐาก ๓.ลาภปลิโพธ ความกังวลเกี่ยวกับลาภ ๔.คณปลิโพธ ความกังวลเกี่ยวกับคณะศิษย์หรือหมู่ชนที่ตนต้องรับผิดชอบ ๕.กรรมปริโพธ ความกังวลเกี่ยวกับการงาน เช่น การก่อสร้าง ๖.อัทธานปลิโพธ ความกังวลเกี่ยวกับการเดินทางไกลเนื่องด้วยกิจธุระ ๗.ญาติปริโพธ ความกังวลเกี่ยวกับญาติหรือคนใกล้ชิดที่จะต้องเป็นห่วงซึ่งกำลังเจ็บป่วยเป็นต้น ๘.อาพาธปริโพธ ความกังวลเกี่ยวกับความเจ็บไข้ของตนเอง ๙.คันถปริโพธ ความกังวลเกี่ยวกับการศึกษาเล่าเรียน ๑๐.อิทธิปลิโพธ ความกังวลเกี่ยวกับฤทธิ์ของปุถุชนที่จะต้องคอยรักษาไม่ให้เสื่อม (ข้อท้ายนี้เป็นปลิโพธสำหรับผู้จะเจริญวิปัสสนาเท่านั้น)
  24. ปาสาณเจดีย์ : เจดียสถานแห่งหนึ่งอยู่ในแคว้นมคธ มาณพ ๑๖ คนซึ่งเป็นศิษย์ของพราหมณ์พาวรี ได้เฝ้าพระศาสดาและทูลถามปัญหา ณ ที่นี้
  25. ปุกกุสะ : บุตรของกษัตริย์มัลละ เป็นศิษย์ของอาฬารดาบส กาลามโคตร ได้ถวายผ้าสิงคิวรรณแด่พระพุทธเจ้า ในวันปรินิพพาน
  26. ปุณณมันตานีบุตร : พระมหาสาวกองค์หนึ่ง ได้ชื่ออย่างนี้ เพราะเดิมชื่อปุณณะ เป็นบุตรของนางมันตานี ท่านเกิดในตระกูลพราหมณ์มหาศาลในหมู่บ้านพราหมณ์ชื่อโทณวัตถุ ไม่ไกลจากเมืองกบิลพัสดุ์ เป็นหลานของพระอัญญาโกณทัญญะ ได้บรรพชาเมื่อพระเถระผู้เป็นลุงเดินทางมายังเมืองกบิลพัสดุ์ บวชแล้วไม่นานก็บรรลุอรหัตตผล เป็นผู้ปฏิบัติตนตามหลักกถาวัตถุ ๑๐ และสอนศิษย์ของตนให้ปฏิบัติเช่นนั้นด้วย ท่านได้รับยกย่องเป็นเอตทัคคะ ในบรรดาพระธรรมกถึก หลักธรรมเรื่องวิสุทธิ ๗ ก็เป็นภาษิตของท่าน
  27. พรหมายุ : ชื่อพราหมณ์คนหนึ่ง อายุ ๑๒๐ ปี เป็นผู้เชี่ยวชาญไตรเพท อยู่ ณ เมืองมิถิลา ในแคว้นวิเทหะ ได้ส่งศิษย์มาตรวจดูมหาบุรุษลักษณะของพระพุทธเจ้า ต่อมาได้พบกับพระพุทธเจ้า ทูลถามปัญหาต่างๆ มีความเลื่อมใส และได้บรรลุเป็นพระอนาคามี
  28. พระสาวก : ผู้ฟังคำสอน, ศิษย์ของพระพุทธเจ้า ดู สาวก
  29. พาวรี : พราหมณ์ผู้เป็นอาจารย์ใหญ่ตั้งอาศรมสอนไตรเพทแก่ศิษย์อยู่ฝั่งแม่น้ำโคธาวรี ณ สุดเขตแดนแคว้นอัสสกะ ได้ส่งศิษย์ ๑๖ คนไปถามปัญหาพระศาสดา เพื่อจะทดสอบว่าพระองค์เป็นพระสัมมาสัมพุทธะจริงหรือไม่ ภายหลังได้รับคำตอบแล้ว ศิษย์ชื่อปิงคิยะซึ่งเป็นหลานของท่านได้กลับมาเล่าเรื่องและแสดงคำตอบปัญหาของพระศาสดา ทำให้ท่านได้บรรลุธรรมเป็นพระอนาคามี
  30. พุทธสาวก : สาวกของพระพุทธเจ้า, ศิษย์ของพระพุทธเจ้า
  31. มหากัปปินะ : พระมหาสาวกองค์หนึ่ง เป็นกษัตริย์ครองราชสมบัติในนครกุกกุฏวดีในปัจจันตประเทศ ได้ทราบข่าวการอุบัติของพระพุทธเจาแล้ว บังเกิดปีติศรัทธา สละราชสมบัติทรงม้าเดินทางไกลถึง ๓๐๐ โยชน์มาเฝ้าพระพุทธเจ้า สดับธรรมกถา บรรลุพระอรหัตแล้วได้รับอุปสมบท ส่วนพระอัครมเหสีชื่ออโนชา เมื่อทราบข่าวการอุบัติของพระพุทธเจ้าก็เกิดปีติและศรัทธาเช่นเดียวกัน พระนาง ทรงรถเสด็จมาเฝ้าพระพุทธเจ้า ฟังธรรมบรรลุโสดาปัตติผลแล้ว รับบรรพชาจากพระอุบลวรรณาเถรีไปอยู่ในสำนักภิกษุณี ฝ่ายมหากัปปินเถระชอบอยู่สงบสงัดและมักอุทานว่า สุขจริงหนอ ท่านสามารถแสดงธรรมให้ศิษย์บรรลุอรหัตตผลได้พร้อมคราวเดียวถึง ๑,๐๐๐ องค์ พระบรมศาสดายกย่องท่านว่าท่านเป็นเอตทัคคะในทางให้โอวาทแก่ภิกษุ
  32. สรภังคะ : นามของศาสดาคนหนึ่งในอดีต เป็นพระโพธิสัตว์ มีคุณสมบัติ คือ เป็นผู้ปราศจากราคะในกามทั้งหลาย ได้ประกาศคำสอน มีศิษย์จำนวนมากมาย
  33. สหชีวินี : คำเรียกแทนคำว่า สัทธิวิหารินีของภิกษุณี ทั้ง ๒ คำนี้แปลว่าผู้อยู่ร่วมตรงกับสัทธิวิหาริกในฝ่ายภิกษุ; ศิษย์ของ ปวัตตินี
  34. สัญชัย : ชื่อปริพาชกผู้เป็นอาจารย์ใหญ่คนหนึ่ง ในพุทธกาล ตั้งสำนักสอนลัทธิอยู่ในกรุงราชคฤห์ มีศิษย์มาก พระสารีบุตรและพระโมคคัลลานะเคยบวชอยู่ในสำนักนี้ ภายหลัง เมื่อพระพุทธเจ้าอุบัติขึ้นในโลกพระสารีบุตรและพระโมคคัลลานะพร้อมด้วยศิษย์ ๒๕๐ คนพากันไปสู่สำนักพระพุทธเจ้า สัญชัยเสียใจเป็นลมและอาเจียนเป็นโลหิต; นิยมเรียกว่า สญชัยปริพาชก เป็นคนเดียวกับ สัญชัยเวลัฏฐบุตร คนหนึ่งใน ติตถกร หรือครูทั้ง ๖
  35. สารีบุตร : พระอัครสาวกเบื้องขวาของพระพุทธเจ้า เกิดที่หมู่บ้านนาลกะ (บางแห่งเรียกนาลันทะ) ไม่ไกลจากเมืองราชคฤห์ เป็นบุตรแห่งตระกูลหัวหน้าหมู่บ้านนั้น บิดาชื่อวังคันตพราหมณ์ มารดาชื่อ สารี จึงได้นามว่าสารีบุตร แต่เมื่อยังเยาว์เรียกว่า อุปติสสะ มีเพื่อนสนิทชื่อ โกลิตะ ซึ่งต่อมาคือ พระมหาโมคคัลลานะ มีน้องชาย ๓ คนชื่อ จุนทะ อุปเสนะ และเรวตะ น้องหญิง ๓ คน ชื่อจาลา อุปจาลา และสีสุปจาลา ซึ่งต่อมาได้บวชในพระธรรมวินัยทั้งหมด เมื่ออุปติสสะและโกลิตะจะบวชนั้น ทั้ง ๒ คนไปเที่ยวดูมหรสพที่ยอดเขาด้วยกัน คราวหนึ่งไปดูแล้วเกิดความสลดใจ คิดออกแสวงหาโมกขธรรม และต่อมาได้บวชอยู่ในสำนักของสัญชัยปริพาชกแต่ก็ไม่บรรลุจุดมุ่งหมาย จนวันหนึ่งอุปติสสปริพาชก พบพระอัสสชิเถระขณะท่านบิณฑบาต เกิดความเลื่อมใสติดตามไปสนทนาขอถามหลักคำสอนได้ฟังความย่อเพียงคาถาเดียวก็ได้ดวงตาเห็นธรรม กลับไปบอกข่าวแก่โกลิตะแล้วพากันไปเฝ้าพระพุทธเจ้า มีปริพาชกที่เป็นศิษย์ตามไปด้วยถึง ๒๕๐ คน ได้รับเอหิภิกขุอุปสมบททั้งหมดที่เวฬุวัน เมื่อบวชแล้วได้ ๑๕ วัน พระสารีบุตรได้ฟังพระธรรมเทศนาเวทนาปริคคหสูตรที่พระพุทธเจ้าทรงแสดงแก่ทีฆนขปริพาชก ณ ถ้ำสุกรขาตา เขาคิชฌกูฏ ก็ได้บรรลุพระอรหัต ได้รับยกย่องเป็น เอตทัคคะ ในทางมีปัญญามาก และเป็น พระอัครสาวกฝ่ายขวา ท่านได้เป็นกำลังสำคัญของพระพุทธเจ้าในการประกาศพระศาสนา และได้รับยกย่องเป็น พระธรรมเสนาบดี คำสอนของท่านปรากฏอยู่ในพระไตรปิฏกเป็นอันมาก เช่น สังคีติสูตร และทสุตตรสูตร ที่เป็นแบบอย่างแห่งการสังคายนา เป็นต้น ท่านปรินิพพานก่อนพระพุทธเจ้าไม่กี่เดือนเมื่อจวนจะปรินิพพาน ท่านเดินทางไปโปรดมารดาของท่านซึ่งยังเป็นมิจฉาทิฐิให้มารดาได้เป็นพระโสดาบันแล้ว ปรินิพพานที่บ้านเกิด ด้วยปักขันทิกาพาธ หลังจากปลงศพแล้วพระจุนทะน้องชายของท่านนำอัฐิธาตุไปถวายพระบรมศาสดา พระองค์ตรัสว่าให้ก่อสถูปบรรจุอัฐิธาตุของท่านไว้ ณ พระเชตวัน เมืองสาวัตถี (อรรถกถาว่าท่านปรินิพพานในวันเพ็ญเดือน ๑๒ จึงเท่ากับ ๖ เดือนก่อนพุทธปรินิพพาน)
  36. สาวิกา : หญิงผู้ฟังคำสอน, สาวกหญิง, ศิษย์ผู้หญิง คู่กับ สาวก
  37. สุเนตตะ : นามของพระศาสดาองค์หนึ่งในอดีต มีคุณสมบัติ คือ กาเมสุ วีตราโค (มีราคะไปปราศแล้วในกามทั้งหลาย) มีศิษย์จำนวนมาก ได้เจริญเมตตาจิตถึง ๗ ปี แต่ก็ไม่อาจพ้นจากชาติ ชรา มรณะ เพราะไม่รู้อริยศีล อริยสมาธิ อริยปัญญา และอริยวิมุตติ
  38. เสละ : พระมหาสาวกองค์หนึ่ง เกิดในตระกูลพราหมณ์ ในอังคุตตราปะเรียนจบไตรเพท เป็นคณาจารย์สอนศิษย์ ๓๐๐ คน ได้พบพระพุทธเจ้าที่อาปณนิคม เห็นว่าพระองค์สมบูรณ์ด้วยมหาปุริสลักษณะครบถ้วนและได้ทูลถามปัญหาต่าง ๆ เมื่อฟังพระดำรัสตอบแล้ว มีความเลื่อมใส ขอบวชต่อมาไม่ช้าก็ได้บรรลุพระอรหัต
  39. องคุลิมาล : พระมหาสาวกองค์หนึ่งของพระพุทธเจ้า เคยเป็นมหาโจรโด่งดังเป็นบุตรของภัคควพราหมณ์ ผู้เป็นปุโรหิตของพระเจ้าโกศล มารดาชื่อนางมันตานีพราหมณ์ เดิมชื่ออหิงสกะ (แปลว่าผู้ไม่เบียดเบียน) ไปศึกษาศิลปศาสตร์ในสำนักอาจารย์ทิศาปาโมกข์ เมืองตักสิลา มีความรู้และความประพฤติดี เพื่อนศิษย์ด้วยกันริษยา ยุอาจารย์ให้กำจัดเสีย อาจารย์ลวงด้วยอุบายให้ไปฆ่าคนครบหนึ่งพัน แล้วจะมอบวิชาวิเศษอย่างหนึ่งให้ จึงกลายเป็นมหาโจรผู้โหดร้ายทารุณ ตัดนิ้วมือคนที่ตนฆ่าตายแล้ว ร้อยเป็นพวงมาลัย จึงได้ชื่อว่า องฺคุลิมาล (แปลว่ามีนิ้วเป็นมาลัย) ภายหลังพระพุทธเจ้าเสด็จไปโปรดกลับใจได้ ขอบวช ต่อมาก็ได้สำเร็จพระอรหัต ท่านเป็นต้นแห่งพุทธบัญญัติไม่ให้บวชโจรที่ขึ้นชื่อโด่งดัง
  40. อชิตมาณพ : หัวหน้าศิษย์ ๑๖ คนของพราหมณ์พาวรี ที่ไปทูลถามปัญหากะพระศาสดา ที่ปาสาณเจดีย์
  41. อภิธัมมัตถวิภาวินี : ชื่อคัมภีร์ฎีกาอธิบายความในคัมภีร์อภิธัมมัตถสังคหะ พระสุมังคละผู้เป็นศิษย์ของพระอาจารย์สารีบุตร ซึ่งเป็นปราชญ์ในรัชกาลของพระเจ้าปรักกมพาหุที่ ๑ (พ) ศ) ๑๖๙๖-๑๗๒๙) รจนาขึ้นในลังกาทวีป
  42. อรรคสาวก : สาวกผู้เลิศ, สาวกผู้ยอดเยี่ยม, ศิษย์ผู้เลิศกว่าศิษย์อื่นของพระพุทธเจ้า หมายถึง พระสารีบุตรและพระมหาโมคคัลลานะ ดู อัครสาวก
  43. อุปเสน วังคันตบุตร : พระมหาสาวกองค์หนึ่ง เป็นบุตรพราหมณ์ชื่อ วังคันตะ มารดาชื่อนางสารี เป็นน้องชายของพระสารีบุตร เกิดที่หมู่บ้านนาลกะ เติบโตขึ้น เรียนไตรเพทจบแล้ว ต่อมาได้ฟังธรรม มีความเลื่อมใส จึงบวชในพระพุทธศาสนา หลังจากบวชได้ ๒ พรรษา จึงได้สำเร็จพระอรหัต ท่านออกบวชจากตระกูลใหญ่ มีคนรู้จักมากทั้งเป็นนักเทศก์ที่สามารถ จึงมีกุลบุตรเลื่อมใสมาขอบวชด้วยเป็นจำนวนมาก ตัวท่านเองเป็นผู้ถือธุดงค์ และสอนให้สัทธิวิหาริกถือธุดงค์ด้วย ปรากฏว่าทั้งตัวท่านและบริษัทของท่านเป็นที่เลื่อมใสของคนทั่วไปหมด จึงได้รับยกย่องว่าเป็นเอตทัคคะในทางทำให้เกิดความเลื่อมในทั่วทุกด้าน (คือไม่เฉพาะตนเองน่าเลื่อมใส แม้คณะศิษย์ก็น่าเลื่อมใสไปหมด)
  44. [1-43]

(0.0173 sec)