Dictionary : English, Thai, Pali. Link : Lexitron, RoyDict, BudDict, ETipitaka, PpmDict, Longdo.
Search: ศิษย์ .

Royal Institute Thai-Thai Dict : ศิษย์, 40 found, display 1-40
  1. ศิษย, ศิษย์ : [สิดสะยะ, สิด] น. ผู้ศึกษาวิชาความรู้จากครูหรืออาจารย์, คู่กับ ครู หรืออาจารย์, ผู้อยู่ในความคุ้มครองดูแลของอาจารย์ เช่น ศิษย์วัด, โดยปริยายหมายถึงผู้ที่ศึกษาหาความรู้จากตำราของผู้ใดผู้หนึ่งแล้ว นับถือผู้นั้นเป็นเสมือนครูบาอาจารย์ของตน. (ส.).
  2. ศิษย์ก้นกุฏิ : [กุติ] น. ศิษย์คนโปรดที่อยู่รับใช้ใกล้ชิดอาจารย์ที่กุฏิ ตลอดเวลาและเป็นผู้ที่อาจารย์ไว้วางใจมาก, โดยปริยายหมายถึง ศิษย์คนโปรดของครูบาอาจารย์เพราะเคยรับใช้ใกล้ชิดและเป็นที่ ไว้วางใจของครูบาอาจารย์ มักจะเรียนเก่งด้วย.
  3. ศิษย์เก่า : น. ผู้ที่เคยศึกษาในสถาบันการศึกษาแห่งใดแห่งหนึ่ง เช่น งานชุมนุมศิษย์เก่าโรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย.
  4. ศิษย์คิดล้างครู : (สำ) น. ศิษย์เนรคุณที่มุ่งคิดจะทำลายล้าง ครูบาอาจารย์.
  5. ศิษย์นอกครู : (สำ) น. ศิษย์ที่ประพฤติไม่ตรงตามคำสั่งสอนของ ครูบาอาจารย์, โดยปริยายหมายถึงผู้ที่ประพฤติไม่ตรงตามแบบ ฉบับที่นิยมกันมา.
  6. ศิษย์หัวแก้วหัวแหวน : น. ศิษย์ที่ครูบาอาจารย์รักใคร่เอ็นดูมาก.
  7. ศิษย์เอก : น. ศิษย์ที่มีความรู้ความสามารถเป็นเลิศเหนือศิษย์ทั้งปวง หรือเหนือศิษย์แต่ละรุ่น.
  8. ศิษย์มีครู : (สำ) น. คนเก่งที่มีครูเก่ง.
  9. ลูกศิษย์ : น. ผู้ศึกษาเล่าเรียนหรือผู้เยาว์วัยซึ่งอยู่ในความดูแลคุ้มครอง ของอาจารย์, ศิษย์ หรือลูกศิษย์ลูกหา ก็ว่า.
  10. ลูกศิษย์ลูกหา : น. ลูกศิษย์. ลูกสมภารหลานเจ้าวัด
  11. ธรรมันเตวาสิก : [ทํามัน] น. อันเตวาสิก (ศิษย์) ผู้เรียนธรรมวินัย. (ส.; ป. ธมฺมนฺเตวาสิก).
  12. ศราพก, ศราวก : [สะราพก, วก] น. สาวก, ศิษย์. (ส. ศฺราวก; ป. สาวก).
  13. ศิษยานุศิษย์ : ดู ศิษย, ศิษย์.
  14. ข้าวก้นบาตร : (สำ) น. อาหารเหลือจากพระฉันแล้วที่ศิษย์วัดได้อาศัยกิน.
  15. ครอบ ๒ : [คฺรอบ] ก. ประสิทธิ์ประสาทวิชาให้, ถ่ายทอดความรู้ให้; ทําพิธีรับรอง ความรู้ เช่น ครูครอบศิษย์ (อย่างครูครอบศิษย์ด้วยหัวโขน).
  16. ครอบครู : น. พิธีตั้งครูโขนเพื่อให้ผู้นั้นสามารถเป็นผู้ครอบศิษย์ต่อไป.
  17. ครู ๑ : [คฺรู] น. ผู้สั่งสอนศิษย์, ผู้ถ่ายทอดความรู้ให้แก่ศิษย์. (ป. ครุ, คุรุ; ส. คุรุ).
  18. ต่อ ๒ : ก. เพิ่มให้ยืดออกไป เช่น ต่อเวลาออกไป ต่อหนังสือสัญญา, เพิ่มให้ยาว ออกไป เช่น; ต่อเชือก ทําให้ติดกันเป็นอันเดียว เช่น ต่อสะพาน, เชื่อมให้ ติดต่อกัน เช่น ต่อคำ ต่อความ; เอาวัตถุเช่นไม้มาประกอบเข้าเป็นรูป เช่น ต่อกรง ต่อเรือ, เรียกเรือชนิดที่ทําด้วยไม้กระดานโดยนํามาต่อขึ้นเป็นรูป เรืออาศัยกงหรือมือลิงเป็นเครื่องยึด ตัวเรือป่อง หัวและท้ายเรือเรียวเชิด ขึ้นตามส่วนเช่นเรือสําปั้น เรือบด เรืออีแปะ ว่า เรือต่อ; ทําให้ติดอย่างไฟ เช่น ต่อไฟ; ต่อเทียน; ขอลดราคาให้น้อยลง เช่น ต่อราคา ต่อของ; ท้าพนัน โดยยอมลดเปรียบให้ เช่น ต่อให้, ฝ่ายเห็นว่าได้เปรียบเป็นฝ่ายต่อ ฝ่าย เห็นว่าสู้ได้เป็นฝ่ายรอง; นําสัตว์เลี้ยงไปล่อสัตว์ป่าในคำว่า ต่อนก ต่อไก่. น. เท่าตัว, เท่าทุน, เช่น กิน ๒ ต่อ ใช้ ๒ ต่อ, ทอด เช่น ขึ้นรถ ๒ ต่อ. ว. ลูกตอด ก็ว่า. สืบไป, ติดต่อกันไป, เช่น ต่อนี้ไป ต่อไป อ่านต่อ วิ่งต่อ, เพิ่มขึ้น เช่น เรียนต่อ; เรียกสัตว์เลี้ยงที่นําไปล่อสัตว์ป่า เช่น ไก่ต่อ นกต่อ ช้างต่อ; เรียกสิ่งที่เชื่อม เข้าด้วยกัน เช่น คําต่อ (คือ คําบุรพบทและคําสันธาน) ข้อต่อ. บ. เฉพาะ, ประจันหน้า, เช่น ต่อหน้า ยื่นต่ออําเภอ; เมื่อถึง เช่น มาต่อปีหน้า; แต่ละ, undefined แก่ศิษย์เป็นการเฉพาะ เช่น ครูต่อหนังสือให้ นักเรียนเพลงต่อเพลงให้ศิษย์, เรียนวิชาบางอย่างจากครูเป็นการเฉพาะ เช่น นักเรียนไปต่อหนังสือกับครู ศิษย์ไปต่อเพลงกับครูเพลง.
  19. เธอ : ส. คําใช้แทนผู้ที่เราพูดด้วย มักใช้ในระหว่างเพื่อนผู้หญิงด้วยกัน หรือใช้ กับผู้มีศักดิ์ตํ่ากว่า เช่นครูพูดกับศิษย์, เป็นสรรพนามบุรุษที่ ๒, คําใช้แทน ผู้ที่เราพูดถึง ใช้กับผู้มีศักดิ์ตํ่ากว่าด้วยความยกย่องหรือเอ็นดูเป็นต้น, เป็น สรรพนามบุรุษที่ ๓.
  20. นิสิต : น. ผู้ที่ศึกษาอยู่ในมหาวิทยาลัยบางแห่ง เช่น นิสิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย นิสิตมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์; ศิษย์ที่เล่าเรียนอยู่ในสํานัก, ผู้อาศัย. (ป. นิสฺสิต).
  21. ภาร, ภาร–, ภาระ ๑ : [พาน, พาระ–] น. ของหนัก, นํ้าหนัก; ธุระที่หนัก, การงานที่หนัก; หน้าที่ ที่ต้องรับผิดชอบ เช่น พ่อแม่มีภาระในการเลี้ยงดูลูก ครูมีภาระในการ อบรมสั่งสอนศิษย์, ความรับผิดชอบ เช่น พ่อแม่ตายหมด พี่ต้องรับภาระ ส่งเสียเลี้ยงดูน้อง. ว. หนัก. (ป.).
  22. มหาศาล : น. ผู้ยิ่งใหญ่ในวรรณะนั้น ๆ, ถ้าเป็นพราหมณ์ก็หมายความว่า มีศิษย์มาก, ถ้าเป็นกษัตริย์ก็หมายความว่า มีอํานาจมาก, ถ้าเป็นแพศย์ก็หมายความว่า มีทรัพย์มาก. ว. มีทรัพย์สมบัติมากมาย เช่น เศรษฐีมหาศาล, (ปาก) อย่างยิ่ง, มากมาย, เช่น เขามีที่ดินมหาศาล. (ส.).
  23. แม่พิมพ์ : น. สิ่งที่เป็นต้นแบบ เช่น แม่พิมพ์ตัวหนังสือ, โดยปริยายหมายถึง ครูอาจารย์ซึ่งถือว่าเป็นแบบอย่างความประพฤติของศิษย์.
  24. ยกครู : ก. ทําพิธีบูชาครูเป็นประจําปี กล่าวคือ นําขันล้างหน้า ผ้าขาว เงิน ไปบูชาครูเป็นการคํานับ, ทำพิธีมอบตัวให้เป็นศิษย์ของครู กล่าวคือ นำ ดอกไม้ ธูป เทียน หญ้าแพรก ดอกมะเขือ ไปบูชาครู.
  25. รับใช้ : ก. รับว่าจะใช้เงินให้; คอยปรนนิบัติพ่อแม่ครูอาจารย์เป็นต้นด้วย ความเต็มใจ เช่น ลูกรับใช้พ่อแม่ ศิษย์รับใช้ครู, ปฏิบัติหน้าที่ตามที่นาย หรือผู้มีอำนาจเหนือสั่งหรือใช้ เช่น พลทหารอยู่รับใช้ผู้บังคับบัญชา.
  26. รู้คุณ : ก. ระลึกถึงความดีที่ผู้อื่นทำให้แก่ตน เช่น ลูกศิษย์รู้คุณอาจารย์ ลูกรู้คุณพ่อแม่.
  27. วัดรอยตีน, วัดรอยเท้า : (สํา) ก. เทียบดูว่าพอสู้ได้หรือไม่ เช่น ลูกศิษย์วัดรอยเท้าครู, คอยเทียบตัวเองกับผู้ที่เหนือกว่าเพื่อชิงดี ชิงเด่น เช่น ลูกน้องวัดรอยตีนหัวหน้า.
  28. วิชาอาคม : น. เวทมนตร์, คาถาอาคม, เช่น อาจารย์ถ่ายทอดวิชา อาคมให้ศิษย์, วิทยาคม ก็ว่า.
  29. วิทยาคม : น. เวทมนตร์, คาถาอาคม, เช่น อาจารย์ถ่ายทอดวิทยาคม ให้ศิษย์, วิชาอาคม ก็ว่า. (ส.).
  30. ไว้หน้า : ก. รักษาเกียรติฐานะของผู้อื่นไม่ให้ต้องได้รับความอับอาย ขายหน้า เช่น ไม่ว่าจะพูดจะทำอะไรควรต้องไว้หน้าผู้หลักผู้ใหญ่บ้าง ติเตียนศิษย์ต้องไว้หน้าครู.
  31. ศิษยานุศิษย์ : [สิดสะยานุสิด] น. ศิษย์น้อยใหญ่.
  32. สมาคม : [สะมา] น. การประชุม, การเข้าร่วมพวกร่วมคณะ, การคบค้า; แหล่งหรือที่ประชุมของบุคคลหลายคนมาร่วมกันด้วยมีจุดประสงค์ เพื่อประโยชน์บางประการ เช่น เข้าสมาคม สมาคมศิษย์เก่า; (กฎ) นิติบุคคลที่ก่อตั้งขึ้นเพื่อกระทําการใด ๆ อันมีลักษณะต่อเนื่องร่วมกัน และมิใช่เป็นการหาผลกําไรหรือรายได้มาแบ่งปันกัน สมาคมต้องมี ข้อบังคับและจดทะเบียนตามบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายแพ่ง และพาณิชย์. (ป., ส.). ก. คบค้า, คบหา, เช่น อย่าสมาคมกับคนพาล ให้สมาคมกับนักปราชญ์.
  33. สมาชิก ๑ : [สะมา] น. ผู้มีสิทธิและมีส่วนร่วมในสมาคม องค์การ หรือกิจกรรม ใด ๆ เช่น สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร สมาชิกสมาคมศิษย์เก่า สมาชิก วารสาร, (ปาก) ลูกค้า, ขาประจำ, เช่น หมู่นี้สมาชิกไม่ค่อยมาอุดหนุน ที่ร้านเลย. (ป., ส.).
  34. สรวลสันหรรษา : ก. หัวเราะร่าเริงยินดี, หัวเราะอย่างชอบอกชอบใจ, เช่น บรรดาศิษย์เก่ามาร่วมสรวลสันหรรษาในงานชุมนุมศิษย์เก่า ประจำปี.
  35. สังสรรค์ : ก. พบปะวิสาสะกันเป็นครั้งคราวด้วยความสนิทสนม เช่น จัดงาน สังสรรค์กันในหมู่พนักงาน เพื่อน ๆ ได้พบปะสังสรรค์กันในงาน ชุมนุมศิษย์เก่า. ว. ที่พบปะวิสาสะกันเป็นครั้งคราวด้วยความ สนิทสนม เช่น งานสังสรรค์. (ส. สํสรฺค).
  36. หมดพุง, หมดไส้หมดพุง : ว. หมดความรู้ เช่น ครูสอนศิษย์จนหมดพุง; อาการที่เปิดเผยโดยมิได้ปิดบังอำพราง เช่น สารภาพจนหมดไส้หมดพุง, สิ้นไส้สิ้นพุง ก็ว่า.
  37. หมดไส้หมดพุง : ว. หมดความรู้ เช่น ครูสอนศิษย์จนหมดพุง; อาการที่ เปิดเผยโดยมิได้ปิดบังอำพราง เช่น สารภาพจนหมดไส้หมดพุง, สิ้นไส้ สิ้นพุง ก็ว่า.
  38. หัวแก้วหัวแหวน : ว. ที่รักใคร่เอ็นดูมาก, ที่โปรดปรานมาก, เช่น ลูกศิษย์ หัวแก้วหัวแหวน.
  39. หัวรักหัวใคร่ : ว. ที่รักมาก เช่น ศิษย์หัวรักหัวใคร่.
  40. อันเตวาสิก : น. ''ชนผู้อยู่ในภายใน'' หมายถึง ศิษย์ที่อยู่ในปกครอง หรือที่อาศัยอยู่กับอาจารย์ จะเป็นบรรพชิตหรือคฤหัสถ์ก็ได้, คู่กับ อาจารย์. (ป.).
  41. [1-40]

(0.0148 sec)