Dictionary : English, Thai, Pali. Link : Lexitron, RoyDict, BudDict, ETipitaka, PpmDict, Longdo.
Search: สนิท , then สนท, สนิท .

Royal Institute Thai-Thai Dict : สนิท, 139 found, display 1-50
  1. สนิท : [สะหฺนิด] ว. อย่างใกล้ชิด, ชิดชอบ, เช่น เพื่อนสนิท คนสนิท เขา สนิทกันมาก, แนบชิด เช่น เข้าปากไม้ได้สนิท; กลมกล่อม, กลมกลืน, ในลักษณะที่เข้ากันได้ดีไม่มีอะไรบกพร่อง ซึ่งดูประหนึ่งว่าเป็น เนื้อเดียวหรือเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน เช่น ประตูปิดสนิท สีเข้ากันสนิท เป็นเนื้อเดียวกัน ผนังห้องแต่ละด้านแม้จะทาสีต่างกันแต่สีก็เข้ากันได้ สนิท; อย่างแท้จริง หรือทั้งหมดโดยไม่มีอะไรแทรกหรือเจือปน เช่น มะปรางหวานสนิท เชื่อสนิท ตีหน้าสนิท. (ป. สินิทฺธ ว่า เสน่หา, รักใคร่; ส. สฺนิคฺธ).
  2. สนิทใจ : ว. ไม่มีอะไรต้องแคลงใจหรือสงสัย เช่น เชื่ออย่างสนิทใจ, ถ้าใช้ในความปฏิเสธว่า ไม่สนิทใจ หมายความว่า มีลักษณะพึง รังเกียจ เช่น พื้นสกปรกนั่งแล้วไม่สนิทใจ ผ้าเช็ดมือในห้องน้ำรวม ใช้ได้ไม่สนิทใจเลย.
  3. สนิทปาก : ว. ไม่รู้สึกกระดากใจหรือตะขิดตะขวงใจ เช่น พูดเท็จได้ สนิทปาก พูดคำหยาบโลนได้สนิทปาก, สนิทปากสนิทคอ ก็ว่า.
  4. สนิทสนม : ก. ชอบพอ, คุ้นเคยกันดี, เช่น สองคนนี้สนิทสนมกันมา
  5. กระเสียน : ว. ชิด, สนิท, แนบเนียน, เช่น ชฎากลีบจีบเวียนกระเสียนพระศก. (อภัย), เขาเข้าไม้ปะที่ตรงนี้ดีนัก พอดีกระเสียนกันทีเดียว; (โบ) อาการที่ของสิ่งใดสิ่งหนึ่งสอดเสียดลงไปในช่องในรูไม่คับ ไม่หลวมพอครือ ๆ กัน. (ปรัดเล).
  6. ชะชิด : ก. ชิด, สนิท, ใกล้, เคียง.
  7. ทอดสนิท : ก. ผูกไมตรี, สร้างความสัมพันธ์, เช่น ซื้อของ มาฝากบ่อย ๆ เพื่อทอดสนิทให้เขารัก.
  8. มิดหมี : ว. มาก, สนิท, ใช้ประกอบหลังคํา ดํา เป็น ดํามิดหมี.
  9. ญาติสนิท : [ยาดสะหฺนิด] น. ญาติที่ใกล้ชิดกันมาก.
  10. ศีลมหาสนิท : น. พิธีดื่มเหล้าองุ่นแดงและกินขนมปังที่เสกแล้ว ซึ่งถือเป็นเครื่องหมายแทนเลือดและเนื้อที่พระเยซูทรงเสียสละ ไถ่บาปให้มนุษย์และมีเลือดเนื้อเดียวกับพระองค์.
  11. มิด : ว. อาการที่ลับหายไปหรือทำให้ลับหายไปจนหมดสิ้นอย่างปิดมิด จมมิด บังมิดเป็นต้น, สนิท เช่น ปิดประตูให้มิด; ใช้เป็นกริยาหมายถึง อาการอย่างนั้น เช่น มิดนํ้า มิดหัว.
  12. สนิธ : [สะหฺนิด] (โบ) ว. สนิท.
  13. ก้นกุฏิ : [-กุดติ] (ปาก) ว. ที่สนิทเป็นที่ไว้วางใจได้.
  14. กร่อย : [กฺร่อย] ว. ไม่จืดสนิทหรือไม่หวานสนิท เพราะมีรสเค็มเจือ, โดยปริยายหมายความว่า หมดรสสนุกหรือหมดความ ครึกครื้น เช่น การแสดงที่ไม่สนุกทำให้คนดูรู้สึกกร่อย.
  15. กระจู๋กระจี๋ : ก. พูดกันเบา ๆ ด้วยอาการสนิทสนม, จู๋จี๋ ก็ว่า. ว. อาการที่พูดกันเบา ๆ ด้วยความสนิทสนม, จู๋จี๋ ก็ว่า.
  16. กระชับ ๒ : ก. แน่น, แนบแน่น, แนบกันสนิท, พอเหมาะ, แต่มีความหมาย บอกว่า มีลักษณะที่ยิ่งขึ้นหรือทีเดียว เช่น กระชับแน่น กระชับตัว กระชับความ กระชับมือ. (ข. ขฺชาบ่).
  17. กระซี้กระซ้อ : ว. อาการที่พูดสนิทชิดเชื้อเพื่อความเสน่หา.
  18. กระดาก ๑ : ก. รู้สึกขวยเขิน, วางหน้าไม่สนิท, ตะขิดตะขวงใจไม่กล้าพูด หรือไม่กล้าทําเพราะเกรงจะได้รับความอับอาย.
  19. กระเดิด ๒ : ก. ลงกันไม่สนิท, กระดกสูงกว่าพื้น, เช่น กระดานกระเดิด.
  20. กระบูนเลือด : น. ชื่อว่านชนิดหนึ่ง หัวและต้นดั่งขมิ้นอ้อย ต้นและใบเขียว หัวขนาดหัวเผือก กลมเกลี้ยงเป็นมัน มีปล้องห่าง ๆ เนื้อขาว ฉุนร้อน ถ้าเคี้ยวจะทําให้ฟันโยก เชื่อกันว่าใช้ฝนกับน้ำปูนใส หรือต้มเสียก่อนก็ได้ กินแก้ดานเลือด ดานลม และกระชับมดลูก ให้แห้งสนิท. (กบิลว่าน).
  21. กรุ่น : [กฺรุ่น] ว. อาการของไฟที่ยังไม่ดับแต่ไม่ถึงกับลุกโพลง เช่น ไฟติดกรุ่นอยู่, โดยปริยายหมายความว่า ยังเหลืออยู่บ้าง, มีเรื่อย ๆ อยู่, เช่น ควันกรุ่น หอมกรุ่น; ยังไม่ดับสนิท, ร้อนรุ่มอยู่ภายใน, เช่น โกรธกรุ่น.
  22. กลบเกลี่ย : ก. ปิดให้เรียบสนิท.
  23. กลืน : [กฺลืน] ก. อาการที่ทําให้อาหารหรือสิ่งอื่น ๆ ที่อยู่ในปากล่วงลําคอ ลงไป, โดยปริยายใช้หมายถึงอาการที่มีลักษณะคล้ายคลึงเช่นนั้น ก็ใช้ว่า กลืน ได้ในความหมายเช่นทําให้หายหรือให้สูญไป เช่น ถูกกลืนชาติ, อดกลั้นไม่สําแดงให้ปรากฏออกมา เช่น กลืนทุกข์ กลืนโศก, ประสานกันหรือเข้ากันได้สนิทดี เช่น สีกลืนกัน.
  24. กะเรี่ยกะราด : ว. เรี่ยราย, กระจัดกระจาย, หกเรี่ยราด; วางหน้าไม่สนิท.
  25. กันเอง : ว. เป็นพวกเดียวกัน, สนิทสนมกัน, เช่น ราคากันเอง.
  26. กินเกลียว : ก. เข้ากันได้สนิท, มักใช้ในความปฏิเสธว่า ไม่กินเกลียวกัน.
  27. กุมารลฬิตา : [กุมาระละลิตา] น. ชื่อฉันท์วรรณพฤติแบบหนึ่ง กําหนดด้วย ๒ คณะ คือ ช คณะ และ ส คณะ และเติมครุข้างท้ายอีก ๑ คำ หรือ ๑ พยางค์ จึงมีบาทละ ๗ คำ หรือ ๗ พยางค์ (ตามแบบว่า กุมารลฬิตาชฺสฺคา) ตัวอย่างว่า อนึ่งนุชมีจิต สนิทกรุณะเปรมปรี ดิสวามิมะนะภักดี ภิบาลบมิอนาทร. (ชุมนุมตำรากลอน).
  28. เกลอ : [เกฺลอ] น. เพื่อนสนิท.
  29. เก้อเขิน : ว. อาการที่วางหน้าไม่สนิท, รู้สึกกระดากอาย.
  30. เกี่ยวก้อย : (สำ) ก. อาการที่แสดงความคุ้นเคยสนิทสนมกัน เช่น เขาเกี่ยวก้อยกันไปเที่ยวเชียงใหม่.
  31. แก ๒ : ส. คําใช้แทนผู้ที่เราพูดด้วยซึ่งเป็นผู้ที่สนิทสนม หรือผู้น้อย, เป็นสรรพนามบุรุษที่ ๒; (ปาก) คําใช้แทนผู้ที่เราพูดถึง, เป็นสรรพนามบุรุษที่ ๓.
  32. ขบ ๑ : ก. เอาฟันเน้นเพื่อให้แตก เช่น ขบเมล็ดแตงโม, เอาฟันเน้นกัน เช่น ขบฟัน; กัด เช่น หมาใดตัวร้ายขบบาทา. (โลกนิติ); อาการที่เมื่อยปวด เหมือนมีอะไรบีบหรือกดอยู่ที่ตรงนั้น เรียกว่า เมื่อยขบ, ลักษณะของสิ่ง ที่ยังเข้ากันได้ไม่สนิท ยังปีนหรือเกยกันอยู่ เช่น บานประตูขบกัน; อาการที่เล็บมือเล็บเท้ายาวจนกดเนื้อข้างเล็บ เรียกว่า เล็บขบ.
  33. ข่อน : ว. ปั่นป่วน, ไม่สบายใจ, โดยมากใช้เป็นคําคู่ เช่น อกใจมันให้ข่อน ๆ จะนั่งนอนก็ไม่หลับสนิท. (ม. ร่ายยาว ทานกัณฑ์).
  34. ข้างเคียง : ว. ที่อยู่ใกล้ ๆ, ที่สนิทชิดชอบกันมาก, เช่น คนข้างเคียง.
  35. ขาดเม็ด : ก. หายสนิท, หยุดตก, (ใช้แก่ฝน).
  36. เข้าถึง : ก. เข้าใจอย่างซาบซึ้ง เช่น เข้าถึงบท เข้าถึงวรรณคดี, เข้าใกล้ชิด สนิทสนมเพื่อจะได้รู้ซึ้งถึงชีวิตจิตใจและความต้องการเป็นต้น เช่น เข้าถึงประชาชน.
  37. เข้านอกออกใน : ก. สนิทสนมกับเจ้าของสถานที่เป็นพิเศษ จนสามารถ เข้าไปถึงข้างในได้ตลอดเวลา.
  38. เข้ามุม : ก. นำไม้ ๒ ชิ้นมาประกอบเป็นมุม โดยตกแต่งอันหนึ่งให้เป็น เดือยรูปสามเหลี่ยม ๒ เดือย ส่วนอีกอันหนึ่งเจาะให้เป็นช่องรูปสามเหลี่ยม ๒ ช่อง มีขนาดพอที่จะสวมกันได้สนิท.
  39. เข้ารางลิ้น : ก. นำไม้อันหนึ่งที่ทำให้เป็นร่องยาวมาประกบกับไม้อีกอันหนึ่ง ที่ทำให้เป็นลิ้นยาวไปตามตัวไม้ให้เข้ากันสนิทพอดี, พูดสั้น ๆ ว่า เข้าลิ้น.
  40. เข้าลิ้น : ก. นำไม้อันหนึ่งที่ทำให้เป็นร่องยาวมาประกบกับไม้อีกอันหนึ่ง ที่ทำให้เป็นลิ้นยาวไปตามตัวไม้ให้เข้ากันสนิทพอดี, พูดเต็มว่า เข้ารางลิ้น.
  41. เขิน ๓, เขิน ๆ : ว. วางหน้าไม่สนิท, รู้สึกกระดากอาย; เข้ากันไม่สนิท เช่น ข้อความ ตอนนี้ฟังเขิน ๆ อยู่.
  42. เขี้ยวตะขาบ : น. เหล็กที่ทําเป็นหมุดแหลมโค้งอย่างเขี้ยวของตะขาบ สําหรับตอกเพลาะกระดานยึดให้แน่นสนิท, ตะปลิง ตัวปลิง หรือ ปลิง ก็เรียก; ชายผ้าสังฆาฏิของพระพุทธรูปในสมัยเชียงแสนและสุโขทัย มีลักษณะปลายผ้าย้อยต่ำแหลมลงมา ๒ ด้าน ปลายขมวดเข้าหากัน คล้ายเขี้ยวของตะขาบ มีช่องตอนกลางยกสูง.
  43. เขี้ยวหมา : น. ไม้หรือเหล็กทําคล้ายเดือยสําหรับเพลาะกระดาน ๒ แผ่นให้สนิท.
  44. คลอ : [คฺลอ] ก. เคียงคู่กันไปอย่างคู่รักหรืออย่างสนิทสนม; ปริ่ม, ใกล้จะไหล, ในคำว่า น้ำตาคลอ หรือ น้ำตาคลอหน่วย; ทําเสียงดนตรีหรือร้องเพลง เบา ๆ ตามไปให้อยู่ในระดับใกล้เคียงกัน เช่น ร้องคลอเสียงดนตรี.
  45. ควง : ก. แกว่งหรือทําให้หมุนไปโดยรอบ เช่น ควงกระบอง ควงดาบ ควงจาน, เดินเข้าคู่คลอเคลียกันไป เรียกว่า เดินควงกัน; รวมหรือโยงเข้าในกลุ่ม เดียวกัน เช่น เครื่องหมายปีกกาใช้ควงคำหรือข้อความซึ่งอยู่คนละบรรทัด เข้าด้วยกัน; โดยปริยายหมายถึงคบหาสนิทสนมในเชิงคู่รัก เช่น คู่นี้ควงกัน มาหลายปีแล้ว; เข้าคู่ไปด้วยกัน เช่น ควงกันไปเที่ยว. น. เรียกตะปูที่มีเกลียวว่า ตะปูควง, เรียกเครื่องมือที่ใช้ไขตะปูควงว่า ไขควง; เครื่องมือสำหรับอัด ใบลานเป็นต้นให้แน่น; บริเวณ เช่น ในควงไม้ศรีมหาโพธิ์.
  46. คุ้นเคย : ก. รู้จักชอบพอสนิทสนมเป็นกันเอง เช่น พวกเขาทำงานด้วยกัน มานาน เลยคุ้นเคยกัน, เคยเห็นเคยทําบ่อย ๆ จนชิน เช่น เขาเดินในที่มืด ได้เพราะคุ้นเคยกับสถานที่แห่งนี้.
  47. คู่คิด : น. ผู้ร่วมคิดหรือร่วมปรึกษาหารือที่สนิทสนมและรู้ใจกันดี.
  48. คู่ใจ : น. คนสนิทที่รู้ใจและไว้วางใจได้.
  49. เคลิ้ม : [เคฺลิ้ม] ว. เผลอตัว, หลงไป, จวนหลับ, หลับยังไม่สนิท.
  50. งับ : ก. ปิดอย่างไม่สนิทหรือปิดอย่างไม่ลงกลอน เช่น งับประตู; อาการที่ อ้าปากคาบหรือกัดโดยเร็ว.
  51. [1-50] | 51-100 | 101-139

(0.0617 sec)