Dictionary : English, Thai, Pali. Link : Lexitron, RoyDict, BudDict, ETipitaka, PpmDict, Longdo.
Search: สบ , then สบ, สป .

Royal Institute Thai-Thai Dict : สบ, 43 found, display 1-43
  1. สบ : ก. พบ, ปะ, เช่น สบโชค สบตา สบเหมาะ ฟันบนสบฟันล่าง, ถูก, ต้อง, เช่น สบใจ สบปาก สบอารมณ์. น. บริเวณที่แม่นํ้าตั้งแต่ ๒ สาย ขึ้นไปมาบรรจบกัน เช่น สามสบ คือบริเวณที่ แม่น้ำบีคี่ใหญ่ ห้วย ซองกะเลีย และแม่น้ำรันตี รวม ๓ สาย มาสบกัน แล้วไหลลงสู่แม่น้ำ แควน้อย. ว. ทุก ๆ, เสมอ, เช่น สบไถง ว่า ทุกวัน, สบสมัย ว่า ทุกสมัย. (ข.).
  2. สบประมาท : ก. แสดงกิริยาวาจาดูถูกดูหมิ่นซึ่ง ๆ หน้า เช่น เขาถูก สบประมาทในที่ประชุม, ประมาทหน้า.
  3. สบสังวาส : ว. อยู่ร่วมกัน เช่น พระสงฆ์ที่มีศีลเสมอกันร่วมทําสังฆกรรม ด้วยกันได้ เรียกว่า สงฆ์สบสังวาส.
  4. สบู่ ๑ : [สะ] น. ชื่อไม้พุ่ม ๒ ชนิดในสกุล Jatropha วงศ์ Euphorbiaceae คือ สบู่ขาว หรือ สบู่ดํา (J. curcas L.) ก้านใบและใบอ่อนสีเขียว และ สบู่แดง (J. gossypifolia L.) ก้านใบและใบสีแดง, ทั้ง ๒ ชนิด มียางใส เมล็ดนําไปหีบได้นํ้ามันใช้เป็นเชื้อเพลิงและหล่อลื่น ทุกส่วนเป็นพิษ.
  5. สบู่ ๒ : [สะ] น. สิ่งที่ผลิตขึ้นโดยนําไขสัตว์เช่นไขวัว หรือนํ้ามันพืชเช่น นํ้ามันมะพร้าวนํ้ามันมะกอกไปต้มกับด่างโซเดียมไฮดรอกไซด์ จะได้สบู่แข็ง หรือนําไปต้มกับด่างโพแทสเซียมไฮดรอกไซด์ จะได้ สบู่อ่อน ใช้ชําระล้างและซักฟอก. (โปรตุเกส sapu).
  6. นิราศรพ : [สบ] (แบบ) ว. ไม่มีเครื่องหมักหมมในสันดาน, หมดมลทิน, หมายถึงพระอรหันต์. (ส. นิราศรฺว).
  7. เกศพ, เกศวะ : [-สบ, เกสะวะ] ว. ผู้มีผมงาม, ใช้เป็นนามของพระนารายณ์ หรือพระกฤษณะซึ่งเป็นอวตารปางหนึ่งของพระนารายณ์. (ส.).
  8. กษัยเลือด : น. กษัยเนื่องจากเลือด น้ำเหลือง และเสมหะเป็นพิษ. [กะสาบ] (แบบ) น. กระษาปณ์, เงินตราที่ทําด้วยโลหะ, ตําลึง (= ๒๐ มาสก) เช่น ได้ถึงร้อยกษาปณ์. (ม. ร่ายยาว ชูชก). [กะสิดิ, กะสีดิ] (แบบ) น. แผ่นดิน. (ส. กฺษิติ), ในบทกลอนใช้เป็นส่วนหน้าสมาส แปลว่า พระเจ้าแผ่นดิน เช่น กษิดินทรทายทานแล้ว. (ส. กฺษิติ + อินฺทฺร),. อนนว่ากษีดิศรสุริยทงงหลาย (ส. กฺษิติ + อีศฺวร), อนนว่า พระแพศยันดรกษิดิศวร์. (ส. กฺษิติ + อีศฺวร). (ม. คําหลวง ทานกัณฑ์, วนปเวสน์). [กะสีนาสบ] (แบบ) น. ขีณาสพ, พระผู้สิ้นอาสวะ, พระอรหันต์, เขียนเป็น กษีณาศรพ กษิณาศรพย และ กษิณาสยพ ก็มี เช่น อันว่าพระโลกยเชษฐาจารย์ ก็มีพุทธโองการพระคาถา ให้กษิณาศรพทงงหลายฟงง ดังนี้. (ม. คําหลวง นครกัณฑ์), อันว่าพระสาศดาบพิตร จะปกาสิตคาถา แก่กษิณาศรพยทงงหลาย ด่งงนี้. (ม. คําหลวง ฉกษัตริย์). (ส. กฺษีณ + อาสฺรว). [กะสีระ] (แบบ) น. น้ำนม เช่น กษีรสุทธมฤธู. (เสือโค). (ส.).
  9. กษีณาศรพ : [กะสีนาสบ] (แบบ) น. ขีณาสพ, พระผู้สิ้นอาสวะ, พระอรหันต์, เขียนเป็น กษีณาศรพ กษิณาศรพย และ กษิณาสยพ ก็มี เช่น อันว่าพระโลกยเชษฐาจารย์ ก็มีพุทธโองการพระคาถา ให้กษิณาศรพทงงหลายฟงง ดังนี้. (ม. คําหลวง นครกัณฑ์), อันว่าพระสาศดาบพิตร จะปกาสิตคาถา แก่กษิณาศรพยทงงหลาย ด่งงนี้. (ม. คําหลวง ฉกษัตริย์). (ส. กฺษีณ + อาสฺรว).
  10. ขษีณาศรพ : [ขะสีนาสบ] (โบ; กลอน) น. พระขีณาสพ, พระอรหันต์, เช่น ดูกร ขษีณาศรพทั้งหลาย. (ม. คําหลวง สักบรรพ).
  11. ขีณาสพ : [ขีนาสบ] (แบบ) น. พระผู้สิ้นอาสวะ, พระอรหันต์. (ป. ขีณ + อาสว).
  12. งาบ ๆ : ว. อาการที่อ้าปากแล้วหุบปาก, อาการที่หายใจทางปาก (เป็นอาการ ของคนและสัตว์ที่เหนื่อยหอบหรือใกล้จะตาย), พะงาบ พะงาบ ๆ ปะงาบ หรือ ปะงาบ ๆ ก็ว่า. [ไทยขาว งาบ ว่า อ้า, งาบสบ ว่า อ้าปาก (เพื่อหายใจ)].
  13. จระลุง, จะลุง : [จะระ-] (กลอน) น. เสาตะลุง, โบราณเขียนเป็น จรลุง หรือ จลุง ก็มี เช่น แท่นที่สถิตย์ จรลุงโสภิต พื้นฉลักฉลุทอง. (ดุษฎีสังเวย), จลุงอาศน์เบญพาศเกลี้ยงเกลา พเนกพนักน่าเนา จะนอนก็ศุขสบไถง. (ดุษฎีสังเวย).
  14. ชำแระ : น. ที่แฉะ, ที่เลน, เช่น ชายชําแระข้างในตรงร่องนํ้า. (เชมสบรุก).
  15. โซเดียมคาร์บอเนต : น. เกลือปรกติชนิดหนึ่ง มีสูตร Na2CO3 เมื่อเป็นผลึกมีสูตร Na2CO3•10H2O ลักษณะเป็นผลึกสีขาว ละลายนํ้าได้ ใช้ประโยชน์ในอุตสาหกรรมทําแก้ว สบู่ กระดาษ ทําลายความกระด้างของนํ้า. (อ. sodium carbonate).
  16. ดลบันดาล : ก. ให้มีให้เป็นหรือไม่ให้มีไม่ให้เป็น เช่น ขอสิ่งศักดิ์สิทธิ์ จงดลบันดาลให้ประสบความสําเร็จหรือให้แคล้วคลาดจากภัยอันตราย.
  17. ตราหน้า : ก. หมายหน้าไว้; หยามหน้า, สบประมาท.
  18. ตะเกียกตะกาย : ก. พยายามป่ายปีนไป, พยายามทุกทางเพื่อให้ประสบความสําเร็จ.
  19. บรรจวบ : [บัน-] ก. ประจวบ, ประสบ, พบปะ, สบเหมาะ, บังเอิญพบ.
  20. บาดตา : ก. สะดุดตาเพราะเห็นสีฉูดฉาด; ขัดตาทําให้ไม่สบอารมณ์.
  21. บาดหู : ก. ขัดหู, ระคายหู, ทําให้ไม่สบอารมณ์, (ใช้แก่คําพูดหรือ กริยาพูด).
  22. ประจวบ : ก. จําเพาะพอดี, สบเหมาะ, บังเอิญพบ, เช่น นํ้าเหนือหลากมา ประจวบกับนํ้าทะเลหนุน นํ้าเลยท่วม.
  23. ประมาทหน้า : ก. ดูถูกว่าทําไม่ได้หรือไม่มีทางที่จะทําได้, หยามนํ้าหน้า, สบประมาท.
  24. ประสบการณ์ : [ปฺระสบกาน] น. ความจัดเจนที่เกิดจากการกระทํา หรือได้พบเห็นมา.
  25. ประสบการณ์นิยม : [ปฺระสบกาน-] น. ลัทธิทางปรัชญาที่ถือว่า ประสบการณ์เป็นบ่อเกิดของความรู้ทุกอย่าง; การปฏิบัติที่เน้น ประสบการณ์; การแสวงหาความรู้โดยอาศัยการสังเกต การทดลอง และวิธีอุปนัย, ประจักษนิยม ก็ว่า. (อ. empiricism).
  26. ประสพ : [ปฺระสบ] น. การเกิดผล. (ส. ปฺรสว; ป. ปสว).
  27. ปสพ : [ปะสบ] (แบบ) น. สัตว์เลี้ยง; ของที่เกิดขึ้น, ของที่มีขึ้น; ดอกไม้, ลูกไม้. (ป. ปสุ, ปสว).
  28. ปากห่าง : น. ชื่อนกขนาดใหญ่ชนิด Anastomus oscitans ในวงศ์ Ciconiidae ซึ่งเป็นวงศ์เดียวกับนกกาบบัวแต่ตัวเล็กกว่า ลําตัวสีเทาอมขาว แต่ จะเป็นสีเทาเข้มในฤดูผสมพันธุ์ ปากหนาแหลมตรง เมื่อจะงอยปาก สบกัน ส่วนกลางของปากบนและปากล่างแยกห่างจากกัน ทั้งนี้เพื่อ สะดวกในการคาบเหยื่อ กินหอยเป็นอาหารหลักโดยเฉพาะหอยโข่ง มีที่วัดไผ่ล้อม จังหวัดปทุมธานี เป็นจํานวนมาก.
  29. พฤษภ : [พฺรึสบ, พฺรึดสบ] น. วัว; ชื่อกลุ่มดาวรูปวัวเรียกว่า ราศีพฤษภ เป็น ราศีที่ ๑ ในจักรราศี. (ส.วฺฤษฺภ; ป. อุสภ).
  30. โพสพ : [โพสบ] น. ชื่อเทพธิดาประจําข้าว, เจ้าแม่แห่งข้าว, ใช้ว่า ไพสพ ก็มี.
  31. มหรสพ : [มะหอระสบ] น. การเล่นรื่นเริงมีโขนละครเป็นต้น. (ป. มหุสฺสว; ส. มโหตฺสว).
  32. มโหรสพ : [มะโหระสบ] น. มหรสพ. (ป. มหสฺสว; ส. มโหตฺสว).
  33. ฤษภ : [รึสบ] น. วัวตัวผู้. (ส.; ป. อุสภ).
  34. ลบรอย : ก. สบประมาท.
  35. ล่วงเกิน : ก. แสดงอาการเกินสมควรต่อผู้อื่นโดยล่วงจารีตประเพณี หรือจรรยามารยาทด้วยการลวนลาม ดูหมิ่น สบประมาท เป็นต้น เช่น ไม่ควรล่วงเกินพ่อแม่ด้วยกิริยาวาจาที่ไม่สุภาพ.
  36. วฤษภ : [วฺรึสบ] (แบบ) น. พฤษภ. (ส. วฺฤษภ; ป. วสภ).
  37. วาสพ : [วาสบ] น. พระอินทร์. (ส., ป. วาสว).
  38. สไบ : [สะ] น. ผ้าแถบ, ผ้าคาดอกผู้หญิง. (ข. ไสฺบ).
  39. หงุบหงับ : ว. สัปหงก, อาการที่นั่งโงกหัวหงุบลงแล้วเงยขึ้น; อาการที่เคี้ยว อาหารด้วยฟันปลอมที่สบกันไม่สนิท มักมีเสียงดังเช่นนั้น.
  40. หน้าบูด : ว. มีสีหน้าแสดงอาการเบื่อหน่ายหรือไม่พอใจ เช่น เขาทำหน้าบูด เพราะเจอเรื่องที่ไม่สบอารมณ์, หน้าบูดหน้าเบี้ยว หรือ หน้าเบี้ยวหน้าบูด ก็ว่า.
  41. อุสภ ๑ : [อุสบ] น. วัวผู้ (เป็นเครื่องหมายแสดงความสามารถของบุรุษ ผู้นักรบ), เขียนเป็น อุสุภ ก็มี. (ป.; ส. ฤษภ, วฺฤษฺภ).
  42. อุสภ ๒ : [อุสบ] น. ชื่อมาตราวัดความยาวของอินเดียโบราณเท่ากับ ๑ เส้น ๕ วา, ๘๐ อุสภ เป็น ๑ คาวุต. (ป.).
  43. สรีสฤบ : [สะรีสฺริบ] น. สัตว์เลื้อยคลาน, งู. (ส.; ป. สิรึสป).
  44. [1-43]

(0.0546 sec)