Dictionary : English, Thai, Pali. Link : Lexitron, RoyDict, BudDict, ETipitaka, PpmDict, Longdo.
Search: สบายใจ .

Royal Institute Thai-Thai Dict : สบายใจ, 30 found, display 1-30
  1. สบายใจ : ว. ไม่มีทุกข์มีร้อน เช่น ลูก ๆ เรียนจบหมดแล้วก็สบายใจ ทำงานเสร็จเรียบร้อยแล้วสบายใจ.
  2. นอนตีพุง : (ปาก) ก. ได้ผลประโยชน์โดยไม่ต้องทําอะไร; สบายใจ, หมดกังวล.
  3. อิ่มใจ, อิ่มอกอิ่มใจ : ก. ปลื้มใจ, สบายใจ, ภูมิใจ, ปีติยินดี.
  4. อุ่นกายสบายใจ : ว. มีความรู้สึกสุขสบายทั้งกายและใจ.
  5. ตระอาล : [ตฺระอาน] (กลอน) ว. หวั่นไหว เช่น พยงแผ่นดินบตระอาล. (ม. คําหลวง กุมาร). (ข. ตรฺอาล ว่า ยินดี, สบายใจ).
  6. รวยรื่น : ว. ชื่นใจ, สบายใจ.
  7. หัฏฐะ ๑ : [หัดถะ] ว. ร่าเริง, ยินดี, สบายใจ. (ป.; ส. หฺฤษฺฏ).
  8. ข่อน : ว. ปั่นป่วน, ไม่สบายใจ, โดยมากใช้เป็นคําคู่ เช่น อกใจมันให้ข่อน ๆ จะนั่งนอนก็ไม่หลับสนิท. (ม. ร่ายยาว ทานกัณฑ์).
  9. เขม-, เขมา ๑ : [เขมะ-, เข-มา] น. เกษม, ความสบายใจ, ความพ้นภัย. (ป.; ส. เกฺษม).
  10. เขษม : [ขะเสม] น. เกษม, ความสบายใจ, ความพ้นภัย. (ป. เขม; ส. เกษม).
  11. คับที่อยู่ได้ คับใจอยู่ยาก : (สำ) น. ที่อยู่แม้จะคับแคบก็อยู่ได้ถ้าสบายใจ แต่ถ้าอึดอัดใจ ที่อยู่จะกว้างขวางใหญ่โตอย่างไรก็อยู่ไม่ได้.
  12. เฉิบ, เฉิบ ๆ : ว. คําร้องบอกจังหวะในการเต้นหรือรํา, มีท่าทางเนิบ ๆ เป็นจังหวะ เช่น รําเฉิบ ๆ เดินเฉิบ ๆ พายเรือเฉิบ ๆ, ใช้ประกอบคําอื่นมีความหมายไป ในทางที่มีอาการประหนึ่งว่าเป็นเช่นนั้น เช่น นั่งสบายใจเฉิบ.
  13. ฌาน : [ชาน] น. ภาวะที่จิตสงบแน่วแน่เนื่องมาจากการเพ่งอารมณ์, การเพ่ง อารมณ์จนจิตแน่วแน่เป็นสมาธิ, เรียกลักษณะการทําจิตให้สงบตาม หลักทางศาสนาว่า เข้าฌาน เช่น พระเข้าฌาน ฤษีเข้าฌาน, โดย ปริยายหมายถึงนั่งหลับหรือนั่งเหม่อใจลอยไม่รับรู้อะไร เรียกว่า เข้าฌาน, ฌานนั้นจัดเป็น ๔ ชั้น เรียกชื่อตามลําดับที่ประณีตขึ้นไป กว่ากัน คือ ปฐมฌาน ได้แก่ ฌานที่ ๑ มีองค์ ๕ คือ ยังมีตรึก ซึ่งเรียก ว่า วิตก มีตรอง ซึ่งเรียกว่า วิจาร เหมือนอารมณ์แห่งจิตของคนสามัญ มีปีติ คือความอิ่มใจ มีสุข คือความสบายใจอันเกิดแต่วิเวกคือความ เงียบ และประกอบด้วยจิตมีอารมณ์เป็นหนึ่งลงไปซึ่งเรียกว่า เอกัคตา, ทุติยฌาน ได้แก่ ฌานที่ ๒ มีองค์ ๓ คือ ละวิตกวิจารเสียได้ คงอยู่แต่ปีติและสุขอันเกิดแต่สมาธิกับเอกัคตา, ตติยฌาน ได้แก่ ฌานที่ ๓ มีองค์ ๒ คือ ละปีติเสียได้ คงอยู่แต่สุขกับเอกัคตา, จตุตถฌาน ได้แก่ ฌานที่ ๔ มีองค์ ๒ เหมือนกัน ละสุขเสียได้ กลายเป็นอุเบกขาคือเฉย ๆ กับเอกัคตา, ฌานทั้ง ๔ นี้จัดเป็นรูปฌาน เป็นรูปสมาบัติ มีรูปธรรมเป็นอารมณ์ สงเคราะห์เข้าในรูปาวจรภูมิ. (ป.; ส. ธฺยาน).
  14. ทุกข-, ทุกข์ : [ทุกขะ-, ทุก] น. ความยากลําบาก, ความไม่สบายกายไม่สบายใจ. (ป.; ส. ทุะข).
  15. ทุกขเวทนา : [ทุกขะเวทะนา] น. ความรู้สึกไม่สบายกายไม่สบายใจ, ความรู้สึกเจ็บปวดทรมาน. (ป.).
  16. ทุกขารมณ์ : น. ความรู้สึกเจ็บปวด, ความรู้สึกไม่สบายกายไม่สบายใจ.
  17. เป็นสุข : ก. มีความสบายกายสบายใจ เช่น เขาถูกลอตเตอรี่รางวัล ที่ ๑ เวลานี้จึงเป็นสุขมาก ประชาชนในประเทศนี้อยู่เย็นเป็นสุข เสมอหน้ากัน, โดยปริยายหมายความว่า ตาย เช่น ไหน ๆ เขาก็ เป็นสุขไปแล้ว อโหสิให้เขาเถิด.
  18. เย็นใจ : ก. สบายใจ, ไม่ยุ่งใจ, ไม่ต้องกังวลใจ, ไม่ร้อนใจ, เช่น เรื่องนี้ เย็นใจได้ สำเร็จแน่.
  19. เย็นตา : ว. ชื่นตา, สบายตา, ดูแล้วสบายใจ, เช่น สีเขียวอ่อนเย็นตา.
  20. เย็นหู : ว. รื่นหู, ไม่ขัดหู, ฟังแล้วสบายใจ, เช่น พูดจาไพเราะนุ่มนวล ฟังแล้วเย็นหู เสียงเขาฟังแล้วเย็นหู.
  21. ร้อนหู : ก. เดือดร้อนเพราะได้ยินได้ฟังเรื่องราวที่ทำให้ไม่สบายใจ.
  22. รื่นรมย์ : ว. สบายใจ, บันเทิง, เช่น สวนสาธารณะปลูกต้นไม้ไว้สวยงาม น่ารื่นรมย์.
  23. โล่งใจ : ก. รู้สึกสบายใจ, หายอึดอัดใจ, เช่น สอบไล่เสร็จ ค่อยโล่ง ใจหน่อย.
  24. โล่งหู : ก. รู้สึกสบายอกสบายใจเพราะไม่ได้ยินเสียงที่เคยทำให้ รำคาญหูอยู่เป็นประจำ.
  25. หม่นหมอง : ว. ไม่ผ่องใส, ไม่สบายใจ, ไม่เบิกบาน, เช่น หน้าตาหม่น หมอง จิตใจหม่นหมอง, หมองหม่น ก็ว่า.
  26. หมองหม่น : ว. ไม่ผ่องใส, ไม่สบายใจ, ไม่เบิกบาน, หม่นหมอง ก็ว่า.
  27. หายใจไม่ทั่วท้อง : (ปาก) ก. ไม่สบายใจเพราะเป็นกังวล เช่น เขาหายใจ ไม่ทั่วท้องขณะต้องเสี่ยงขับรถไปบนสะพานชำรุด.
  28. อิ่มเอิบ : ว. แช่มชื่น, สดชื่น, เช่น หน้าตาอิ่มเอิบ; ปลาบปลื้ม, สบายใจมาก, เช่น จิตใจอิ่มเอิบ.
  29. อุ่นใจ : ว. มีความรู้สึกสบายใจขึ้น, มีความมั่นใจ, ไม่มีกังวล, เช่น มีเงินมากอยู่ในกระเป๋าทำให้อุ่นใจ.
  30. อุ่นอกอุ่นใจ : ว. มีความรู้สึกสบายอกสบายใจและมีความมั่นใจขึ้น เช่น อยู่ใกล้ ๆ ผู้ใหญ่รู้สึกอุ่นอกอุ่นใจ.
  31. [1-30]

(0.0068 sec)