Dictionary : English, Thai, Pali. Link : Lexitron, RoyDict, BudDict, ETipitaka, PpmDict, Longdo.
Search: สมบัติพัสถาน, สมบัติ, พัสถาน , then พัสถาน, สมบตพสถาน, สมบัติ, สมบัติพัสถาน .

Budhism Thai-Thai Dict : สมบัติพัสถาน, 53 found, display 1-50
  1. สมบัติ : ๑ ความถึงพร้อม, สิ่งที่ได้ที่ถึงด้วยดี, เงินทองของมีค่า, สิ่งที่มีอยู่ในสิทธิอำนาจของตน, ความพรั่งพร้อมสมบูรณ์, สมบัติ ๓ ได้แก่ มนุษยสมบัติ สมบัติในขั้นมนุษย์ สวรรคสมบัติ สมบัติในสวรรค์ (เทวสมบัติ หรือทิพยสมบัติ ก็เรียก) และนิพพานสมบัติ สมบัติ คือนิพพาน
  2. จักรพรรดิราชสมบัติ : สมบัติ คือความเป็นพระเจ้าจักรพรรดิ, ความพรั่งพร้อมสมบูรณ์แห่งพระเจ้าจักรพรรดิ
  3. สมบัติของอุบาสก ๕ : คือ ๑.มีศรัทธา ๒.มีศีลบริสุทธิ์ ๓.ไม่ถือมงคลตื่นข่าว เชื่อกรรม ไม่เชื่อมงคล ๔.ไม่แสวงหาเขตบุญนอกหลักพระพุทธศาสนา ๕.ขวนขวายในการอุปถัมภ์บำรุงพระพุทธศาสนา (ข้อ ๕ ตามแบบเรียนว่าบำเพ็ญบุญแต่ในพุทธศาสนา)
  4. สีมาสมบัติ : ความพร้อมมูลโดยสีมา, ความสมบูรณ์แห่งเขตชุมชน, สีมาซึ่งสงฆ์สมมติแล้วโดยชอบ ไม่วิบัติ ทำให้สังฆกรรมซึ่งทำในสีมานั้นมีผลสมบูรณ์ กล่าวคือ สีมาปราศจากข้อบกพร่องต่าง ๆ ที่เป็นเหตุให้สีมาวิบัติ (ดู สีมาวิบัติ) สังฆกรรมซึ่งทำ ณ ที่นั้นจึงชื่อว่าทำในสีมา จึงใช้ได้ในข้อนี้ ดู สมบัติ(ของสังฆกรรม)
  5. กามสมบัติ : สมบัติกามารมณ์, ความถึงพร้อมด้วยกามารมณ์
  6. ฆราวาสสมบัติ : สมบัติของการครองเรือน, ความพรั่งพร้อมสมบูรณ์ของชีวิตชาวบ้าน
  7. ราชสมบัติ : สมบัติของพระราชา, สมบัติคือความเป็นพระราชา
  8. สุขสมบัติ : สมบัติคือความสุข, ความถึงพร้อมด้วยความสุข
  9. อัตตหิตสมบัติ : ดู อัตตัตถสมบัติ
  10. อัตตัตถสมบัติ : ความถึงพร้อมด้วยประโยชน์ตน เป็นพุทธคุณอย่างหนึ่ง คือ การที่ได้ทรงบำเพ็ญพระบารมีธรรม กำจัดอาสวกิเลสทั้งปวงและทำศีล สมาธิ ปัญญาให้บริบูรณ์ สมบูรณ์ด้วยพระญาณทั้งหลาย เพียบพร้อมด้วยพระคุณสมบัติมากมาย เป็นทีพึ่งของพระองค์เองได้ และเป็นผู้พรั่งพร้อมที่จะบำเพ็ญกิจเพื่อประโยชน์แก่ชาวโลกต่อไป มักเขียนเป็น อัตตหิตสัมบัติ ซึ่งแปลเหมือนกัน; เป็นคู่กันกับ ปรัตถปฏิบัติ หรือ ปรหิตปฏิบัติ
  11. กรรมวาจาสมบัติ : ความสมบูรณ์แห่งกรรมวาจา, คำสวดประกาศถูกต้อง ใช้ได้
  12. ได้รับสมบัติ : ได้รับแต่งตั้งให้เป็นเจ้าหน้าที่ หรือทำกิจที่สงฆ์มอบหมายอย่างใดอย่างหนึ่ง
  13. วัตถุสมบัติ : ความถึงพร้อมแห่งวัตถุ, ความสมบูรณ์โดยบุคคลหรือวัตถุซึ่งเป็นที่ตั้งแห่งการทำสังฆกรรมนั้นๆ มีคุณสมบัติถูกต้อง ทำให้สังฆกรรมใช้ได้ไม่บกพร่องในด้านนี้ เช่น ในการอุปสมบท ผู้ขอบวชเป็นชายมีอายุครบ ๒๐ ปี ไม่เป็นมนุษย์วิบัติเช่นถูกตอน ไม่ได้ทำความผิดร้ายแรงเช่นฆ่าบิดามารดา ไม่ใช่คนทำความเสียหายในพระพุทธศาสนาอย่างหนัก เช่น ปาราชิก เมื่อบวชคราวก่อน ดังนี้เป็นต้น
  14. ธนสมบัติ : สมบัติ คือ ทรัพย์สินเงินทอง
  15. ของสังฆกรรม : มี ๔ คือ ๑.วัตถุวิบัติ เสียโดยวัตถุ เช่น อุปสมบทคนอายุต่ำกว่า ๒๐ ปี ๒.สีมาวิบัติ เสียโดยสีมา เช่น สีมาไม่มีนิมิต ๓.ปริสวิบัติ เสียโดยบริษัทคือที่ประชุม เช่น ภิกษุเข้าประชุมไม่ครบองค์สงฆ์ ๔.กรรมวาจาวิบัติ เสียโดยกรรมวาจา เช่น สวดผิดพลาดตกหล่น สวดแต่อนุสาวนาไม่ได้ตั้งญัตติ เป็นต้น (ข้อกรรมวาจาวิบัติบางกรณีแยกเป็นญัตติวิบัติและอนุสาวนาวิบัติ กลายเป็นวิบัติ ๕ ก็มี) เทียบ สมบัติ
  16. เขมา : พระเถรีมหาสาวิการูปหนึ่งประสูติในราชตระกูลแห่งสาคลนครในมัททรัฐ ต่อมาได้เป็นพระอัครมเหสีของพระเจ้าพิมพิสาร มีความมัวเมาในรูปสมบัติของตน ได้ฟังพระพุทธเจ้าแสดงพระธรรมเทศนาเรื่องราคะ และการกำจัดราคะ พอจบพระธรรมเทศนาก็ได้บรรลุพระอรหัต แล้วบวชเป็นภิกษุณี ได้รับยกย่องว่าเป็นเอตทัคคะในทางมีปัญญามาก และเป็นอัครสาวิกาฝ่ายขวา
  17. คหปติมหาสาล : คฤหบดีผู้มั่งคั่ง หมายถึงคฤหบดีผู้ร่ำรวย มีสมบัติมาก
  18. จัณฑปัชโชต : พระเจ้าแผ่นดินแคว้นอวันตี ครองราชสมบัติอยู่ที่กรุงอุชเชนี
  19. ตระกูลอันมั่งคั่ง : จะตั้งอยู่นานไม่ได้ เพราะเหตุ ๔ คือ ๑.ไม่แสวงหาพัสดุที่หายแล้ว ๒.ไม่บูรณะพัสดุที่คร่ำคร่า ๓.ไม่รู้จักประมาณในการบริโภคสมบัติ ๔.ตั้งสตรีหรือบุรุษทุศีล ให้เป็นแม่บ้านพ่อเรือน
  20. ติสสเถระ : ชื่อพระเถระองค์หนึ่งในเกาะลังกา เคยอุปการะพระเจ้าวัฏฏคามินีอภัย คราวเสียราชสมบัติแก่ทมิฬ ภายหลังทรงกู้ราชสมบัติคืนได้แล้ว ได้สร้างวัดอภัยคีรีวิหารถวาย
  21. ทมิฬ : ชื่อชนเผ่าหนึ่งในเกาะลังกา เคยชิงราชสมบัติพระเจ้าวัฏฏคามินีอภัยได้
  22. ทีฆาวุ : พระราชโอรสของพระเจ้าทีฆีติราชาแห่งแคว้นโกศล ซึ่งถูกพระเจ้าพรหมทัต กษัตริย์แห่งแคว้นกาสีชิงแคว้นจับได้ และประหารชีวิตเสีย ทีฆาวุกุมารดำรงอยู่ในพระโอวาทของพระบิดาที่ตรัสก่อนจะถูกประหาร ภายหลังได้ครองราชสมบัติทั้ง ๒ แคว้น คือ แคว้นกาสีกับแคว้นโกศล
  23. ทุลลภธรรม : สิ่งที่ได้ยาก, ความปรารถนาของคนในโลกที่ได้สมหมายโดยยาก มี ๔ คือ ๑.ขอโภคสมบัติจงเกิดมีแก่เราโดยทางชอบธรรม ๒.ขอยศจงเกดมีแก่เรากับญาติพวกพ้อง ๓.ขอเราจงรักษาอายุอยู่ได้ยืนนาน ๔.เมื่อสิ้นชีพแล้ว ขอเราจงไปบังเกิดในสวรรค์ ; ดู ธรรมเป็นเหตุให้สมหมาย ด้วย
  24. ธรรมทายาท : ทายาทแห่งธรรม, ผู้รับมรดกธรรม, ผู้รับเอาธรรมของพระพุทธเจ้ามาเป็นสมบัติด้วยการประพฤติปฏิบัติให้เข้าถึง; โดยหมายถึงรับเอาโลกุตตรธรรม ๙ ไว้ได้ด้วยการบรรลุเอง โดยอ้อมหมายถึง รับปฏิบัติกุศลธรรม จะเป็นทาน ศีล หรือภาวนาก็ตาม ตลอดจนการบูชา ที่เป็นไปเพื่อบรรลุซึ่งโลกุตตรธรรมนั้น เทียบ อามิสทายาท
  25. บอกวัตร : บอกข้อปฏิบัติในพระพุทธศาสนา เมื่อทำวัตรเย็นเสร็จแล้ว ภิกษุรูปเดียวเป็นผู้บอก อาจใช้วิธีหมุนเวียนกันไปทีละรูป ข้อความที่บอกว่าเป็นภาษาบาลี กล่าวถึงปฏิบัติบูชา คาถาโอวาทปาฏิโมกข์ คุณานิสงส์แห่งขันติธรรม คำเตือนให้ใส่ใจในธรรมในเมื่อได้มีโอกาสเกิดมาเป็นมนุษย์พบพระพุทธศาสนา ความไม่ประมาท เร่งเพียรพยายามในทางธรรมเพื่อน้อมไปสู่พระนิพพาน และพ้นจากทุคติ แล้วกล่าวถึงพุทธกิจประจำวัน ๕ ประการ ลำดับกาลใจพระพุทธประวัติ สิ่งแทนพระองค์ภายหลังพุทธปรินิพพาน ชื่อ วัน เดือน ปี และดาวนักษัตร ๒๗ จบลงด้วยคำเชื้อเชิญให้ตั้งอยู่ในพระพุทธโอวาท บำเพ็ญปฏิบัติบูชา เพื่อบรรลุสมบัติทั้งที่เป็นโลกิยะและโลกุตตระ; ธรรมเนียมนี้ บัดนี้ เลือนลางไปแล้ว
  26. ปรัตถปฏิบัติ : การปฏิบัติเพื่อประโยชน์แก่ผู้อื่น เป็นพุทธคุณอย่างหนึ่ง คือ การทรงบำเพ็ญพุทธกิจเพื่อประโยชน์แก่สัตว์ทั้งหลาย เป็นที่พึงของชาวโลก (โลกนาถ) ซึ่งสำเร็จด้วยพระมหากรุณาคุณเป็นสำคัญ มักเขียนเป็นปรหิตปฏิบัติ ซึ่งแปลเหมือนกัน; เป็นคู่กันกับ อัตตัตถสมบัติ หรือ อัตตหิตสมบัติ
  27. ปเสนทิ : พระเจ้าแผ่นดินแคว้นโกศลครองราชสมบัติอยู่ที่พระนครสาวัตถี
  28. พละ : กำลัง 1.พละ ๕ คือธรรมอันเป็นกำลัง ซึ่งเป็นเครื่องเกื้อหนุนแก่อริยมรรค จัดอยู่ในจำพวกโพธิปักขิยธรรม มี ๕ คือ สัทธา วิริยะ สติ สมาธิ ปัญญา; ดู อินทรีย์๕2.พละ ๔ คือธรรมอันเป็นพลังทำให้ดำเนินชีวิตด้วยความมั่นใจ ไม่ต้องหวาดหวั่นกลัวภัยต่างๆ ได้แก่ ๑.ปัญญาพละ กำลังปัญญา ๒.วิริยพละ กำลังความเพียร ๓.อนวัชชพละ กำลังคือการกระทำที่ไม่มีโทษ (กำลังความสุจริตและการกระทำแต่กิจกรรมที่ดีงาม) ๔.สังคหพละ กำลังการสงเคราะห์ คือช่วยเหลือเกื้อกูลอยู่ร่วมกับผู้อื่นด้วยดี ทำตนให้เป็นประโยชน์แก่สังคม 3.พละ ๕ หรือ ขัตติยพละ ๕ ได้แก่กำลังของพระมหากษัตริย์ หรือกำลังที่ทำให้มีความพร้อมสำหรับความเป็นกษัตริย์ ๕ ประการ ดังแสดงในคัมภีร์ชาดกคือ ๑.พาหาพละ หรือ กายพละ กำลังแขนหรือกำลังกาย คือแข็งแรงสุขภาพดี สามารถในการใช้แขนใช้มือใช้อาวุธ มีอุปกรณ์พรั่งพร้อม ๒.โภคพละ กำลังโภคสมบัติ ๓.อมัจจพละ กำลังข้าราชการที่ปรึกษาและผู้บริหารที่สามารถ ๔.อภิชัจจพละ กำลังความมีชาติสูง ต้องด้วยความนิยมเชิดชูของมหาชนและได้รับการศึกษาอบรมมาดี ๕.ปัญญาพละ กำลังปัญญา ซึ่งเป็นข้อสำคัญที่สุด
  29. พิมพิสาร : พระเจ้าแผ่นดินมคธครองราชสมบัติอยู่ที่พระนครราชคฤห์ เป็นผู้ถวายพระราชอุทยานเวฬุวันเป็นสังฆาราม นับเป็นวัดแรกในพระพุทธศาสนา ต่อมาถูกพระราชโอรสนามว่าอชาตศัตรู ปลงพระชนม์
  30. พุทธธรรม : 1.ธรรมของพระพุทธเจ้า, พระคุณสมบัติของพระพุทธเจ้า คัมภีร์มหานิทเทศระบุจำนวนไว้ว่ามี ๖ ประการ แต่ไม่ได้จำแนกข้อไว้ อรรถกถาโยงความให้ว่าได้แก่ ๑.กายกรรมทุกอย่างของพระพุทธเจ้าเป็นไปตามพระญาณ (จะทำอะไรก็ทำด้วยปัญญา ด้วยความรู้เข้าใจ) ๒.วจีกรรมทุกอย่าง เป็นไปตามพระญาณ ๓.มโนกรรมทุกอย่างเป็นไปตามพระญาณ ๔.ทรงมีพระญาณไม่ติดขัดในอดีต ๕.ทรงมีพระญาณไม่ติดขัดในอนาคต ๖.ทรงมีพระญาณไม่ติดขัดในปัจจุบัน
  31. ภัททา กุณฑลเกสา : พระมหาสาวิกาองค์หนึ่ง เป็นธิดาของเศรษฐีในพระนครราชคฤห์ เคยเป็นภรรยาโจรผู้เป็นนักโทษประหารชีวิต โจรคิดจะฆ่านางเพื่อเอาทรัพย์สมบัติ แต่นางใช้ปัญญาคิดแก้ไขกำจัดโจรได้ แล้วบวชในสำนักนิครนถ์ ต่อมาได้พบกับพระสารีบุตร ได้ถามปัญหากันและกัน จนนางมีความเลื่อมใสในพระพุทธศาสนา ต่อมาได้ฟังพระธรรมเทศนาที่พระศาสดาทรงแสดงได้สำเร็จพระอรหัต แล้วบวชในสำนักนางภิกษุณี ได้รับยกย่องว่าเป็นเอตทัคคะในทางขิปปาภิญญา คือ ตรัสรู้ฉับพลัน
  32. ภัททิยะ : ๑. ชื่อภิกษุรูปหนึ่งในคณะปัญจวัคคีย์ เป็นพระอรหันต์รุ่นแรก ๒. กษัตริย์ศากยวงศ์ โอรสของนางกาฬิโคธา สละราชสมบัติที่มาถึงตามวาระแล้วออกบวชพร้อมกับพระอนุรุทธะ สำเร็จอรหัตตผล ได้รับยกย่องว่าเป็นเอตทัคคะในบรรดาภิกษุผู้มาจากตระกูลสูง และจัดเป็นมหาสาวกองค์หนึ่งในจำนวน ๘๐
  33. มรดก : ทรัพย์สมบัติของผู้ตาย
  34. มหากัปปินะ : พระมหาสาวกองค์หนึ่ง เป็นกษัตริย์ครองราชสมบัติในนครกุกกุฏวดีในปัจจันตประเทศ ได้ทราบข่าวการอุบัติของพระพุทธเจาแล้ว บังเกิดปีติศรัทธา สละราชสมบัติทรงม้าเดินทางไกลถึง ๓๐๐ โยชน์มาเฝ้าพระพุทธเจ้า สดับธรรมกถา บรรลุพระอรหัตแล้วได้รับอุปสมบท ส่วนพระอัครมเหสีชื่ออโนชา เมื่อทราบข่าวการอุบัติของพระพุทธเจ้าก็เกิดปีติและศรัทธาเช่นเดียวกัน พระนาง ทรงรถเสด็จมาเฝ้าพระพุทธเจ้า ฟังธรรมบรรลุโสดาปัตติผลแล้ว รับบรรพชาจากพระอุบลวรรณาเถรีไปอยู่ในสำนักภิกษุณี ฝ่ายมหากัปปินเถระชอบอยู่สงบสงัดและมักอุทานว่า สุขจริงหนอ ท่านสามารถแสดงธรรมให้ศิษย์บรรลุอรหัตตผลได้พร้อมคราวเดียวถึง ๑,๐๐๐ องค์ พระบรมศาสดายกย่องท่านว่าท่านเป็นเอตทัคคะในทางให้โอวาทแก่ภิกษุ
  35. มหาบริจาค : การสละอย่างใหญ่ของพระโพธิสัตว์ตามที่อรรถกถาแสดงไว้มี ๕ อย่างคือ ๑.ธนบริจาค สละทรัพย์สมบัติเป็น ๒.อังคบริจาค สละอวัยวะเป็นทาน ๓.ชีวิตบริจาค สละชีวิตเป็นทาน ๔.บุตรบริจาค สละลูกเป็นทาน ๕.ทารบริจาค สละเมียเป็นทาน
  36. มหาสุทัศน์ : พระเจ้าจักรพรรดิผู้ครองราชสมบัติอยู่ที่กุสาวดีราชธานีในอดีตกาล ก่อนพุทธกาลช้านาน เมืองกุสาวดีนี้ในสมัยพุทธกาลมีชื่อว่าเมืองกุสินารา, เรื่องมาในมหาสุทัสสนสูตร แห่งคัมภีร์ทีฆนิกาย มหาวรรค พระสุตตันตปิฎก
  37. มุนี : นักปราชญ์, ผู้สละเรือนและทรัพย์สมบัติแล้ว มีจิตใจตั้งมั่นเป็นอิสระไม่เกาะเกี่ยวติดพันในสิ่งทั้งหลาย สงบเย็น ไม่ทะเยอทะยานฝันใฝ่ ไม่แส่พร่านหวั่นไหว มีปัญญาเป็นกำลัง และมีสติรักษาตน, พระสงฆ์หรือนักบวชที่เข้าถึงธรรมและดำเนินชีวิตอันบริสุทธิ์
  38. ยุพราช : พระราชกุมารที่ได้รับอภิเษกหรือแต่งตั้งให้อยู่ในตำแหน่งที่จะสืบราชสมบัติเป็นพระเจ้าแผ่นดินสืบไป
  39. รัชกาล : เวลาครองราชสมบัติแห่งพระราชาองค์หนึ่งๆ
  40. รัชทายาท : ผู้จะสืบราชสมบัติ, ผู้จะได้ครองราชสมบัติสืบต่อไป
  41. ราชคฤห์ : นครหลวงของแคว้นมคธเป็นนครที่มีความเจริญรุ่งเรือง เต็มไปด้วยคณาจารย์เจ้าลัทธิ พระพุทธเจ้าทรงเลือกเป็นภูมิที่ประดิษฐานพระพุทธศาสนาเป็นปฐม พระเจ้าพิมพิสารราชาแห่งแคว้นมคธ ครองราชสมบัติ ณ นครนี้
  42. ราชาภิเษก : พระราชพิธีในการขึ้นสืบราชสมบัติ
  43. ราหุล : พระมหาสาวกองค์หนึ่ง เป็นโอรสของเจ้าชายสิทธัตถะ คราวพระพุทธเจ้าเสด็จนครกบิลพัสดุ์ ราหุลกุมารเข้าเฝ้าทูลขอทายาทสมบัติตามคำแนะนำของพระมารดา พระพุทธเจ้าจะประทานอริยทรัพย์ จึงให้พระสารีบุตรบวชราหุลเป็นสามเณร นับเป็นสามเณรองค์แรกในพระพุทธศาสนา ต่อมาได้อุปสมบทเป็นภิกษุได้รับยกย่องว่าเป็นเอตทัคคะในทางเป็นผู้ใคร่ต่อการศึกษา อรรถกถาว่าพระราหุลปรินิพพานในสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ก่อนพุทธปรินิพพาน และก่อนการปรินิพพานของพระสารีบุตร
  44. วัฏฏคามณีอภัย : ชื่อพระเจ้าแผ่นดินแห่งเกาะลังกาพระองค์หนึ่ง ครองราชย์ประมาณ พ.ศ.๕๑๕-๕๒๗ ถูกพวกทมิฬแย่งชิงราชสมบัติ เสด็จไปซ่อนพระองค์อยู่ในป่า และได้รบความช่วยเหลือจากพระเถระรูปหนึ่ง ต่อมาพระองค์กู้ราชสมบัติคืนมา ได้ทรงสร้างอภัยคีรีวิหารและอาราธนาพระเถระรูปนั้นมาอยู่ครอง กับทั้งได้ทรงทำนุบำรุงพระพุทธศาสนาอีกเป็นอันมาก การสังคายนาครั้งที่ ๕ ที่จารึกพุทธพจน์ลงในใบลาน ก็จัดทำในรัชกาลนี้
  45. สมบัติ : ความถึงพร้อม, ความสมบูรณ์, ความครบถ้วนของสังฆกรรม เช่น อุปสมบท เป็นต้น ที่จะทำให้สังฆกรรมนั้นถูกต้อง ใช้ได้ มีผลสมบูรณ์ มี ๔ คือ ๑.วัตถุสมบัติ วัตถุถึงพร้อม เช่น ผู้อุปสมบทเป็นชายอายุครบ ๒๐ ปี ๒.ปริสสมบัติ บริษัทคือที่ประชุมถึงพร้อม สงฆ์ครบองค์กำหนด ๓.สีมาสมบัติ เขตชุมนุมถึงพร้อม เช่น สีมามีนิมิตถูกต้องตามพระวินัย และประชุมทำในเขตสีมา ๔.กรรมวาจาสมบัติ กรรมวาจาถึงพร้อม สวดประกาศถูกต้องครบถ้วน (ข้อ ๔ อาจแยกเป็น ๒ ข้อ คือเป็น ๔ ญัตติสมบัติ ญัตติถึงพร้อม คือคำเผดียงสงฆ์ถูกต้อง ๕.อนุสาวนาสมบัติ อนุสาวนาถึงพร้อมคำหารือตกลงถูกต้อง รวมเป็นสมบัติ ๕); เทียบ วิบัติ
  46. สิคาลมาตา : พระมหาสาวิกาองค์หนึ่งเป็นธิดาเศรษฐีในพระนครราชคฤห์เจริญวัยแล้ว แต่งงาน มีบุตรคนหนึ่งชื่อ สิงคาลกุมาร วันหนึ่งได้ฟังธรรมีกถาของพระศาสดา มีความเลื่อมใส (คัมภีร์อปทานว่า ได้ฟังสิงคาลกสูตรที่พระพุทธเจ้าทรงแสดงแก่บุตรของนาง ซึ่งว่าด้วยเรื่องอบายมุข มิตรแท้ มิตรเทียม ทิศ ๖ เป็น และได้บรรลุโสดาปัตติผล) ขอบวชเป็นภิกษุณีต่อมาได้ไปฟังธรรมเทศนาที่พระศาสดาทรงแสดง นางคอยตั้งตาดูพระพุทธสิริสมบัติด้วยศรัทธาอันแรงกล้าพระพุทธองค์ทรงทราบกับอัธยาศัยของนาง นางส่งใจไปตามกระแสพระธรรมเทศนาก็ได้บรรลุพระอรหัต ได้รับยกย่องว่า เป็นเอตทัคคะในทางศรัทธาธิมุต, สิคาลกมาตา หรือ สิงคาลมาตา ก็เรียก
  47. อชาตศัตรู : โอรสของพระเจ้าพิมพิสารกับพระนางโกศลเทวี กษัตริย์แคว้นมคธ ขณะพระนางโกศลเทวีทรงครรภ์ ได้แพ้ท้องอยากเสวยโลหิตของพระเจ้าพิมพิสาร พระเจ้าพิมพิสารทรงทราบจึงเอาพระขรรค์แทงพระชานุ (เข่า) รองพระโลหิตให้พระนางเสวย โหรทำนายว่า พระโอรสที่อยู่ในครรภ์เกิดมาจะทำปิตุฆาต พระนางโกศลเทวีพยายามทำลายด้วยการให้แท้งเสีย แต่ไม่สำเร็จ ในที่สุดคิดจะรีด แต่พระเจ้าพิมพิสารทรงห้ามไว้ เมื่อครบกำหนดประสูติเป็นกุมาร จึงตั้งพระนามพระโอรสว่า อชาตศัตรู แปลว่า เป็นศัตรูตั้งแต่ยังไม่เกิด ในที่สุดเจ้าชายอชาตศัตรูก็คบคิดกับพระเทวทัตฆ่าพระราชบิดาตามที่โหรทำนายไว้ และได้ขึ้นครองราชสมบัติแคว้นมคธ ณ กรุงราชคฤห์ แต่ทรงสำนึกและกลับพระทัยได้ หันมาทรงอุปถัมภ์บำรุงพระพุทธศาสนา และได้เป็นพุทธศาสนูปถัมภก ในการสังคายนาครั้งที่ ๑ (คำ “อชาตศัตรู” บางท่านแปลใหม่ว่า มิได้เกิดมาเป็นศัตรู)
  48. อโศกมหาราช : พระราชาผู้ยิ่งใหญ่ที่สุดพระองค์หนึ่งของชมพูทวีป และเป็นพุทธศาสนูปถัมภกที่สำคัญยิ่ง เป็นกษัตริย์พระองค์ที่ ๓ แห่งราชวงศ์ โมริยะ ครองราชสมบัติ ณ พระนคร ปาฎลีบุตร ตั้งแต่ พ) ศ) ๒๑๘ ถึง พ) ศ) ๒๖๐ (นักประวัติศาสตร์ปัจจุบันส่วนมากกว่า พ) ศ) ๒๗๐-๓๒๑) เมื่อครองราชย์ได้ ๘ พรรษา ทรงยกทัพไปปราบแคว้นกลิงคะที่เป็นชนชาติเข้มแข็งลงได้ ทำให้อาณาจักรของพระองค์กว้างใหญ่ที่สุดในประวัติชาติอินเดีย แต่ในการสงครามนั้น มีผู้คนล้มตายและประสบภัยพิบัติมากมาย ทำให้พระองค์สลดพระทัย พอดีได้ทรงสดับคำสอนในพระพุทธศาสนา ทรงเลื่อมใสได้ทรงเลิกการสงคราม หันมาทำนุบำรุงพระศาสนาและความรุ่งเรืองในทางสงบของประเทศ ทรงสร้างมหาวิหาร ๘๔,๐๐๐ แห่ง ทรงอุปถัมภ์การสังคายนาครั้งที่ ๓ และการส่งศาสนทูตออกไปเผยแพร่พระพุทธศาสนาในนานาประเทศ เช่น พระมหินถเถระ ไปยังลังกาทวีป และพระโสณะพระอุตตระมายังสุวรรณภูมิ เป็นต้น ชาวพุทธไทยมักเรียกพระองค์ว่าพระเจ้าศรีธรรมาโศกราช
  49. อสูร : สัตว์กึ่งเทพหรือเทพชั้นต่ำพวกหนึ่ง ตำนานกล่าวว่า เดิมเป็นเทวดาเก่า (บุพเทวา) เป็นเจ้าถิ่นครอบครองดาวดึงสเทวโลก ต่อมาถูกเทวดาพวกใหม่ มีท้าวสักกะเป็นหัวหน้าแย่งถิ่นไป โดยถูกเทพพวกใหม่นั้นจับเหวี่ยงลงมาในระหว่างพิธีเลี้ยงเมื่อพวกตนดื่มสุราจนเมามาย ได้ชื่อใหม่ว่าอสูร เพราะเมื่อฟื้นคืนสติขึ้นระหว่างทางที่ตกจากดาวดึงส์นั้น ได้กล่าวกันว่า “พวกเราไม่ดื่มสุราแล้ว” (อสูรจึงแปลว่าผู้ไม่ดืมสุรา) พวกอสูรได้ครองพิภพใหม่ที่เชิงเขาสิเนรุ หรือเขาพระสุเมรุ และมีสภาพความเป็นอยู่ มีอายุ วรรณะ ยศ อิสริยสมบัติ คล้ายกันกับเทวดาชั้นดาวดึงส์ พวกอสูรเป็นศัตรูโดยตรงกับเทวดา และมีเรื่องราวขัดแย้งทำสงครามกันบ่อยๆ พวกอสูรออกจะเจ้าโทสะ จึงมักถูกกล่าวถึงในฐานะเป็นพวกมีนิสัยพาลหรือเป็นฝ่ายผิด
  50. อามิสทายาท : ทายาทแห่งอามิส, ผู้รับมรดกอามิส, ผู้รับเอาสมบัติทางวัตถุ เช่น ปัจจัย ๔ จากพระพุทธเจ้ามาเสพเสวย ด้วยอาศัยผลแห่งพุทธกิจ ที่ได้ทรงบำเพ็ญไว้; โดยตรง หมายถึง รับเอาปัจจัย ๔ มาบริโภค โดยอ้อมหมายถึง ทำกุศลที่นำไปสู่วัฏฏะเช่นให้ทานบำเพ็ญฌานสมาบัติ ด้วยมงหมายมนุษยสมบัติและเทวสมบัติ; พระพุทธเจ้าตรัสสอนภิกษุทั้งหลาย ให้เป็นธรรมทายาท มิให้เป็นอามิสทายาท เทียบ ธรรมทายาท
  51. [1-50] | 51-53

(0.0275 sec)