Dictionary : English, Thai, Pali. Link : Lexitron, RoyDict, BudDict, ETipitaka, PpmDict, Longdo.
Search: สมอง .

Royal Institute Thai-Thai Dict : สมอง, 48 found, display 1-48
  1. สมอง : [สะหฺมอง] น. เรียกส่วนที่อยู่ภายในกะโหลกศีรษะ มีลักษณะนุ่ม ๆ หยุ่น ๆ เป็นลูกคลื่น เป็นที่รวมประสาทให้เกิดความรู้สึก ฯลฯ ว่า มันสมอง; โดยปริยายหมายความว่า ปัญญาความคิด เช่น เขาเป็น คนสมองดี, หัวสมอง ก็ว่า, (ปาก) ขมอง.
  2. สมองฝ่อ : น. เนื้อสมองน้อยลงเนื่องจากมีการเสื่อมสลายของเซลล์ ประสาทและเนื้อเยื่อของสมองหรืออย่างใดอย่างหนึ่ง. (อ. cerebral atrophy).
  3. สมองตาย : ว. สภาวะที่สมองถูกทําลายจนสูญเสียการทํางานโดยสิ้นเชิง ถือว่าสิ้นชีวิตแล้ว.
  4. หัวสมอง : (ปาก) น. ปัญญาความคิด เช่น เด็กคนนี้มีหัวสมองดี, สมอง ก็ว่า.
  5. ขึ้นสมอง : ก. นิยมมาก เช่น เขาชอบกีฬาจนขึ้นสมอง.
  6. เบาสมอง : ว. ที่ทําให้สมองปลอดโปร่ง, ที่ไม่ต้องคิดมาก.
  7. เปิดสมอง : ก. พักผ่อนหย่อนใจให้สมองปลอดโปร่ง, เปิดหัว ก็ว่า.
  8. พักสมอง : ก. หยุดทำงานที่ทำจำเจหรือหมกมุ่นอยู่ไปทำอย่างอื่น ชั่วคราวเพื่อผ่อนคลายสมอง.
  9. ยุ่งสมอง : ก. ทำให้ความคิดสับสน เช่น อย่าเอาเรื่องนี้มาคิดให้ยุ่งสมอง.
  10. โรคสมอง : น. โรคที่ก่อให้เกิดความผิดปรกติใด ๆ แก่สมอง. (อ. cerebropathy).
  11. หนักสมอง : ว. ที่ต้องใช้ความคิดมาก เช่น ปัญหาเศรษฐกิจเป็นปัญหา หนักสมอง, หนักหัว ก็ว่า.
  12. มันสมอง : น. เรียกส่วนที่อยู่ภายในกะโหลกศีรษะ มีลักษณะนุ่ม ๆ หยุ่น ๆ เป็นลูกคลื่น เป็นที่รวมประสาทให้เกิดความรู้สึก.
  13. ลับสมอง : ก. ฝึกฝนใช้สติปัญญา.
  14. ขมอง : [ขะหฺมอง] (ปาก) น. สมอง เช่น ปวดขมอง. (ข. ขฺมง ว่า ไขในกระดูก).
  15. บวมน้ำ : น. ภาวะที่มีนํ้าระหว่างเซลล์หรือภายในเซลล์มากเกินปรกติ อย่างใดอย่างหนึ่ง หรือทั้ง ๒ อย่าง, โดยทั่วไปหมายถึงภาวะที่มีนํ้า อยู่ใต้ผิวหนังมากเกินปรกติ และอาจพบได้ในอวัยวะอื่น เช่น สมอง ปอด. (อ. edema, oedema).
  16. กะโหลก : [-โหฺลก] น. ส่วนแข็งที่หุ้มเนื้อมะพร้าวหรือตาลเป็นต้น เรียกว่า กะโหลกมะพร้าว กะโหลกตาล, ภาชนะที่ทําด้วยกะโหลก มะพร้าวโดยตัดทางตาออกพอเป็นช่องกว้างเพื่อใช้ตักน้ำ; กระดูกที่ หุ้มมันสมอง; โดยปริยายหมายความถึงวัตถุที่มีลักษณะเช่นนั้น เช่น กะโหลกหุ่นหัวโขน; เรียกพรรณไม้บางชนิด เช่น ลําไย ลิ้นจี่ ที่มีผลโต เนื้อหนากว่าปรกติ เช่น ลําไยกะโหลก ลิ้นจี่กะโหลก.
  17. กิริยาสะท้อน : น. การเคลื่อนไหวอย่างฉับพลันของกล้ามเนื้อที่ ไม่อยู่ในอํานาจสั่งงานของสมอง เพื่อตอบสนองสิ่งกระตุ้น เป็นการหลีกเลี่ยงอันตรายหรือสิ่งรบกวน เช่นหดมือเมื่อถูกของร้อน.
  18. ไข้กาฬ : ดู ไข้ผื่น. ไข้กาฬนกนางแอ่น, ไข้กาฬหลังแอ่น น. ไข้ติดเชื้อเฉียบพลันของเยื่อหุ้มสมอง มีอาการไข้ ซึม คอแข็ง หลังแอ่น และมีผื่นชนิดตกเลือดใต้ผิวหนัง ต่อมาสีของ ผื่นจะเปลี่ยนเป็นคลํ้า.(อ. meningococcal meningitis).
  19. ความเครียด : น. (ฟิสิกส์) อัตราส่วนระหว่างขนาดที่เปลี่ยนไปเนื่องจากความเค้นกับ ขนาดเดิมของเทหวัตถุ. (อ. strain); ลักษณะอาการที่สมองไม่ได้ผ่อนคลาย เพราะคร่ำเคร่งอยู่กับงานจนเกินไป, ลักษณะอาการที่จิตใจมีอารมณ์ บางอย่างมากดดันความรู้สึกอย่างรุนแรง.
  20. คอมพิวเตอร์ : น. เครื่องอิเล็กทรอนิกส์แบบอัตโนมัติ ทําหน้าที่เสมือนสมองกล ใช้สําหรับแก้ปัญหาต่าง ๆ ทั้งที่ง่ายและซับซ้อน โดยวิธีทาง คณิตศาสตร์. (อ. computer).
  21. เคร่งเครียด : ก. เคร่งมากไม่หย่อนคลาย, อาการที่สมองไม่ได้พักผ่อน เพราะคร่ำเคร่งอยู่กับงานจนเกินไป.
  22. เครียด : [เคฺรียด] ว. จัด เช่น ตึงเครียด, อาการที่สมองไม่ได้ผ่อนคลายเพราะ ครํ่าเคร่งอยู่กับงานจนเกินไป เช่น หน้าเครียด อารมณ์เครียด.
  23. จาวมะพร้าว : น. (๑) มันจาวมะพร้าว. (ดู มันเสา ที่ มัน๑). (๒) ชื่อเห็ดชนิด Clavatia craniformis Coker et Couch ในวงศ์ Lycoperdaceae ขึ้นตามพื้นดิน ดอกเห็ดเป็นก้อนกลมใหญ่สีขาวแล้วเปลี่ยนเป็นสีนํ้าตาล โคนสอบ เมื่ออ่อนอยู่กินได้ เมื่อโตเต็มที่ผิวบนย่นหยักคล้ายสมอง.
  24. เดิน : ก. ยกเท้าก้าวไป; โดยปริยายหมายความว่า เคลื่อนไปด้วยกําลังต่าง ๆ เช่น นาฬิกาเดิน รถเดิน, ทําให้เคลื่อนไหว เช่น เดินเครื่อง, ทําให้เคลื่อนไป เช่น เดินหมากรุก, คล่องไม่ติดขัด เช่น รับประทานอาหารเดิน สมองเดินดี, นําไปส่ง เช่น เดินข่าว เดินหนังสือ เดินหมาย, ประกอบกิจการขนส่ง เช่น เดินรถ เดินเรือ เดินอากาศ. (ข. เฎีร).
  25. ตัน ๑ : ว. ไม่กลวง, ไม่ทะลุตลอด, เช่น คลองตัน ตรอกตัน ท่อตัน; โดยปริยายหมายความว่า ติด ขัด, ไม่มีทางออก, เช่น ตําแหน่งตัน, ไม่ปลอดโปร่ง เช่น สมองตัน. ตันคอหอย (ปาก) ก. พูดไม่ออกด้วยความดีใจหรือเสียใจ. ตันปัญญา ก. จนปัญญา, คิดอะไรไม่ออก. ตันอกตันใจ ก. อึดอัดใจ, ตัดสินใจไม่ถูก.
  26. ตัว ๑ : น. รูป, ตน, ตนเอง, คําใช้เรียกแทนคน สัตว์ และสิ่งของบางอย่าง เช่น ตัวละคร ตัวหนังสือ; ลักษณนามใช้เรียกสัตว์และสิ่งของบางอย่าง เช่น ม้า ๕ ตัว ตะปู ๓ ตัว เสื้อ ๒ ตัว; ใช้เรียกผู้ที่ตนพูดด้วยในฐานะคนเสมอกันที่สนิทกัน เช่น ตัวจะไปไหม. ตัวกลั่น น. ผู้ที่เลือกสรรแล้ว. ตัวกลาง (วิทยา) น. สิ่งที่แสงหรือเสียงหรือคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าต้องเคลื่อนที่ผ่าน. ตัวการ น. ผู้ก่อเหตุ; (กฎ) ตามกฎหมายอาญา ตัวการหมายความถึงบุคคล ตั้งแต่ ๒ คนขึ้นไป ซึ่งร่วมกระทำความผิดด้วยกัน; ตามกฎหมายแพ่ง ตัวการหมายความถึงบุคคลซึ่งมอบอำนาจโดยตรงหรือโดยปริยายให้ บุคคลอีกคนหนึ่งทำการแทนตน. ตัวเก็ง น. ผู้ ตัว หรือสิ่งที่คาดหมายไว้อย่างมั่นใจ. ตัวโค น. ชื่อหนึ่งของดาวฤกษ์อารทรา มี ๑ ดวง, ดาวตาสําเภา ดาวอทระ หรือ ดาวอัททา ก็เรียก. ตัวใครตัวมัน ว. ต่างคนต่างเอาตัวรอดแต่ลําพัง. ตัวเงิน น. เงินสด. ตัวเงินตัวทอง (ปาก) น. เหี้ย. ตัวจักรใหญ่ (สํา) น. บุคคลซึ่งเป็นสมองหรือเป็นหัวหน้าในการดําเนินกิจการ. ตัวจำนำ น. ตัวแทนที่ให้อยู่เป็นประกันในความซื่อตรงมั่นคงของผู้เป็น หัวหน้าหรือประมุข. ตัวเชิด น. ผู้ที่ถูกใช้ให้ออกหน้าแทน. ตัวดี น. ตัวสําคัญ, ตัวต้นเหตุ, (มักใช้ในเชิงประชด). ตัวต่อตัว น. หนึ่งต่อหนึ่ง (มักใช้ในการต่อสู้). ตัวตั้ง ๑ (ปาก) น. คําตั้ง. ตัวตั้งตัวตี น. ผู้เป็นหัวเรี่ยวหัวแรงในการทํากิจกรรมต่าง ๆ, ผู้ที่ตั้งตัวเป็น หัวหน้าในการทํางานอย่างออกหน้าออกตา. ตัวตายตัวแทน (สํา) น. ผู้ที่รับช่วงทํางานติดต่อกันไปไม่ขาดตอน. ตัวเต็ง น. ตัวที่มีนํ้าหนักในการคาดหมายว่าจะชนะมากกว่าตัวอื่น ๆ. ตัวถัง น. ส่วนของรถยนต์ที่ใช้รับน้ำหนักบรรทุก มี ๒ ประเภท คือ ตัวถัง แบบมีโครงแชสซีและตัวถังแบบไม่มีโครงแชสซี. ตัวแทน (กฎ) น. บุคคลผู้มีอํานาจทําการแทนบุคคลอื่น; ชื่อสัญญาซึ่งให้ บุคคลคนหนึ่ง เรียกว่า ตัวแทน มีอํานาจทําการแทนบุคคลอีกคนหนึ่ง เรียกว่า ตัวการ และตัวแทนตกลงจะทําการนั้น. ตัวแทนค้าต่าง (กฎ) น. บุคคลซึ่งในทางค้าขาย ทําการซื้อ หรือขายทรัพย์สิน หรือรับจัดทํากิจการค้าอย่างอื่นในนามของตนเองต่างตัวการ. ตัวแทนช่วง (กฎ) น. บุคคลซึ่งได้รับแต่งตั้งจากตัวแทนอีกต่อหนึ่งให้กระทํา การแทนตัวการ. ตัวแทนเชิด (กฎ) น. ตัวแทนที่ไม่ได้รับแต่งตั้งจากตัวการโดยตรง แต่ถูก ตัวการเชิดให้เป็นตัวแทนของตน หรือตัวการรู้แล้วยอมให้ตัวแทนเชิดตัวเอง ออกแสดงเป็นตัวแทน. ตัวนาง น. ผู้แสดงละครรําหรือระบํา เข้าเครื่องละครรํา ใช้ลีลาท่ารําแบบ หญิง, นางเอกในเรื่องลิเก ละคร. ตัวนำ (ฟิสิกส์) น. สารที่กระแสไฟฟ้าหรือความร้อนผ่านไปได้ง่าย. ตัวประกอบ ๑ น. ผู้แสดงบทบาทไม่สําคัญในภาพยนตร์ ละคร เป็นต้น เพียง ประกอบบทบาทของตัวเอกเท่านั้น. ตัวประกัน น. บุคคลที่ถูกยึดหน่วงตัวไว้เพื่อใช้ต่อรอง. ตัวปลิง น. เหล็กที่ทำเป็นหมุดแหลมโค้งสำหรับตอกเพลาะกระดานยึดให้ แน่นสนิท, เขี้ยวตะขาบ ตะปลิง หรือ ปลิง ก็เรียก. ตัวเป็นเกลียว (สํา) ว. อาการที่ทำงานอย่างขยันขันแข็งมากจนไม่มีเวลาได้ พักผ่อน; แสดงกิริยาท่าทางด้วยความรู้สึกรุนแรง เช่น ครั้นได้ข่าวผัวตัวเป็น เกลียว. (ไกรทอง). ตัวเปล่า ว. ยังไม่มีครอบครัว เช่น ฉันยังตัวเปล่าอยู่, ตัวเปล่าเล่าเปลือย ก็ว่า, ลําพังตัวไม่ได้มีอะไรมาด้วย เช่น มาตัวเปล่า เดินตัวเปล่า. ตัวเปล่าเล่าเปลือย ว. ยังไม่มีครอบครัว เช่น เธอไม่ใช่คนตัวเปล่าเล่าเปลือยนะ, ตัวเปล่า ก็ว่า, ไร้ญาติขาดมิตร เช่น เขาเป็นคนตัวเปล่าเล่าเปลือย. undefined ตัวผู้ น. เพศผู้ (ใช้เฉพาะสัตว์และพืชบางชนิด) เช่น แมวตัวผู้; เรียกสิ่งของ บางอย่างที่มีรูปแหลมยาว เช่น เกลือตัวผู้, เรียกสิ่งที่มีเดือยสําหรับสอด เช่น กระเบื้องตัวผู้ นอตตัวผู้, เรียกต้นไม้ที่ไม่มีผลตลอดไป เช่น มะละกอตัวผู้. ตัวพระ น. ผู้แสดงละครรําหรือระบํา เข้าเครื่องละครรํา ใช้ลีลาท่ารําแบบชาย, พระเอกในเรื่องลิเก ละคร. ตัวพิมพ์ น. ตัวอักษรที่หล่อด้วยตะกั่วใช้เรียงพิมพ์ มีหลายชนิด เช่น ตัวโป้ง ตัวฝรั่งเศส; เรียกตัวพิมพ์ใหญ่ในภาษาอังกฤษ. ตัวเมีย น. เพศเมีย (ใช้เฉพาะสัตว์และพืชบางชนิด) เช่น แมวตัวเมีย; เรียก สิ่งของบางอย่างที่มีรูหรือขอรับให้สิ่งอื่นเกาะหรือสอดเข้าได้ เช่น กระเบื้อง ตัวเมีย นอตตัวเมีย. ตัวเมือง น. ย่านใจกลางเมือง มักมีแม่นํ้าหรือกําแพงล้อมรอบ. ตัวไม้ น. ไม้ที่แต่งไว้เพื่อคุมกันเข้าเป็นเรือนเป็นต้น. ตัวยืน น. ผู้ที่ถูกกําหนดให้เป็นตัวหลัก สําหรับให้คนอื่นมาเป็นคู่ชิงตําแหน่ง (ใช้แก่กีฬา); ผู้ที่เป็นหลักในการงานอย่างใดอย่างหนึ่ง, ตัวยืนโรง หรือ ตัวยืนพื้น ก็ว่า. ตัวร้อน น. อาการของร่างกายที่มีอุณหภูมิสูงกว่าปรกติ. ตัวละคร (วรรณ) น. ผู้มีบทบาทในวรรณกรรมประเภทละคร นวนิยาย เรื่องสั้น และเรื่องแต่งประเภทต่าง ๆ. ตัวสะกด น. พยัญชนะท้ายคําหรือพยางค์ที่ทําหน้าที่บังคับเสียงให้เป็นไป ตามมาตราต่าง ๆ เช่น น เป็นตัวสะกดในมาตรากน. ตัวสำคัญ (ปาก) น. ตัวร้าย เช่น เด็กคนนี้แหละตัวสำคัญนัก ชอบรังแกเพื่อน. ตัวหนังสือ น. สัญลักษณ์แทนเสียงหรือคําพูด. ตัวอย่าง น. สิ่งที่นํามาอ้างเพื่อแสดงให้เห็นลักษณะที่เป็นส่วนรวมทั้งหมด เช่น ยกตัวอย่าง. ว. ที่แสดงแบบอย่างหรือคุณภาพเป็นต้นแทนส่วนทั้งหมด ของสิ่งนั้น ๆ เช่น ของตัวอย่าง, ที่ทําให้เห็นเป็นแบบอย่างที่ดี เช่น ครูตัวอย่าง นาตัวอย่าง. ตัวเอ้ น. หัวโจก. ตัวเอก น. ผู้ที่มีบทบาทเด่นในเรื่องลิเก ละคร เป็นต้น.
  27. ทึบ : ว. มีลมอากาศหรือแสงสว่างเข้าออกไม่ได้หรือไม่เพียงพอ เช่น ห้องทึบ ผนังทึบ ตู้ทึบ ป่าทึบ, ไม่โปร่งแสง เช่น เป็นแท่งทึบ; ไม่โปร่ง, หนาแน่น, เช่น ลายทึบ; โดยปริยายหมายความว่า โง่มาก เช่น ปัญญาทึบ สมองทึบ.
  28. ประสาท ๑, ประสาท- ๑ : [ปฺระสาด, ปฺระสาทะ-] น. ส่วนของร่างกาย มีลักษณะคล้าย เส้นใย มีหน้าที่นําคําสั่งและความรู้สึกไปสู่หรือออกจากสมอง หรืออวัยวะส่วนอื่นของร่างกาย, โดยปริยายหมายความว่า จิตใจ, ความรู้สึก. (ส. ปฺรสาท; ป. ปสาท).
  29. เปรื่อง : [เปฺรื่อง] ก. เชี่ยวชาญ, ปรุโปร่ง, แตกฉาน, เช่น ปัญญาเปรื่อง สมองเปรื่อง. ว. เสียงดังอย่างเสียงถ้วยชามกระทบกันหรือตกแตก.
  30. เปิดหัว ๒ : ก. เปิดสมอง.
  31. โปร่ง : [โปฺร่ง] ว. มีลักษณะว่างหรือเปิดเป็นช่อง, ไม่ทึบ, เช่น ใต้ถุนโปร่ง ที่โปร่ง ป่าโปร่ง; แจ่มใสไม่อึดอัด เช่น สมองโปร่ง.
  32. พิษสุนัขบ้า : น. โรคติดเชื้อไวรัสของระบบประสาท ติดต่อจาก นํ้าลายของสุนัขหรือแมวที่เป็นโรคนี้ ผู้ป่วยมีอาการเนื่องจาก สมองอักเสบ มีไข้ เอะอะ ซึม กลืนอาหารลําบากโดยเฉพาะนํ้า ถึงตายเกือบทุกรายในระยะเวลาประมาณ ๑ สัปดาห์, โรคกลัวนํ้า ก็เรียก.
  33. พิษสุราเรื้อรัง : น. ชื่อโรคชนิดหนึ่ง ซึ่งสมองและประสาทเสื่อม เนื่องจากดื่มสุรามากเป็นเวลานาน มีอาการมือสั่น เดินเซ สติปัญญาเสื่อม บางครั้งชักแบบลมบ้าหมู.
  34. มัตถลุงค์ : [มัดถะลุง] น. มันสมอง. (ป.).
  35. มึน : ก. เมาอ่อน ๆ, รู้สึกวิงเวียน เช่น มึนศีรษะ, รู้สึกตื้อในสมอง เช่น อ่านหนังสือมากชักมึน, มึนหัว ก็ว่า.
  36. มึนหัว : ก. รู้สึกตื้อในสมอง, มึน ก็ว่า.
  37. ยัด : ก. บรรจุหรือใส่สิ่งใดสิ่งหนึ่งโดยอัดดันหรือผลักดันเข้าไป เช่น ยัดที่นอน, บรรจุหรือใส่สิ่งที่ระบุไว้ด้วยอาการเช่นนั้น เช่น ยัดนุ่น ยัดกระสอบ ยัดเข้า ห้องขัง, โดยปริยายหมายถึงบรรจุ ใส่ หรือ ให้ โดยอาการคล้ายคลึงเช่นนั้น เช่น เอาเงินยัดให้เป็นสินบน ยัดความรู้ที่ให้โทษเข้าไปในสมอง; (ปาก) ใช้ แทนคําว่า กิน (ใช้ในลักษณะกินอย่างตะกรุมตะกราม ถือว่าเป็นคำหยาบ).
  38. รก ๑ : ว. ที่กระจัดกระจายอยู่เกลื่อนกลาดไม่เป็นระเบียบเรียบร้อย เช่น ทิ้ง กระดาษไว้รกบ้าน, ที่งอกหรือขึ้นรวมกันอยู่อย่างยุ่งเหยิงไม่เป็นระเบียบ เรียบร้อย เช่น หญ้ารก ป่ารก, น่ารําคาญเพราะไม่เป็นระเบียบ เช่น รกตา รกหู รกสมอง.
  39. โรคระบบประสาท : น. โรคของสมองและไขสันหลัง มิได้เกี่ยวข้อง กับจิตใจ เช่น เนื้องอกในสมอง เส้นเลือดในสมองตีบตันหรือแตก โรคเหล่านี้ก่อให้เกิดภาวะวิกลจริตได้ในบางครั้งบางคราว.
  40. ล้า ๑ : ว. หย่อนแรงหรือกำลัง เช่น เดินขึ้นเขามาก ๆ เข่าล้า ยกของมาก จนแขนล้า สมองล้า, ย่อหย่อน เช่น จิตใจล้า.
  41. ลิ่มเลือด : น. เลือดซึ่งแปรรูปคล้ายวุ้น มีทั้งประโยชน์และโทษ ที่มีประโยชน์เกิดนอกร่างกาย เช่นเวลาเป็นแผลมีเลือดออกแล้ว แข็งเป็นลิ่ม เลือดก็จะหยุดไหล ที่มีโทษเกิดภายในร่างกายซึ่งเกิด จากการผิดปรกติบางอย่างของร่างกาย อาจทำให้เกิดอันตราย ร้ายแรงได้โดยไปอุดตามหลอดเลือดฝอยเช่นที่สมอง ทำให้เป็น อัมพาต ที่หัวใจ ทำให้หัวใจวาย.
  42. แล่น ๑ : ก. เคลื่อนไปด้วยเครื่องยนต์หรือแรงลมเป็นต้น เช่น รถยนต์แล่นเร็ว เรือใบแล่นช้า, โดยปริยายหมายถึงอาการที่คล้ายคลึงเช่นนั้น เช่น สมองกำลังแล่น ความคิดไม่แล่น; เชื่อมถึงกัน เช่น นอกชานแล่น ถึงกัน. น. ชื่อวัยของเด็กถัดจากวัยจูง เรียกว่า วัยแล่น.
  43. วุ่น : ก. ยุ่ง, ก้าวก่าย, เช่น คุณไม่ควรไปวุ่นกับเรื่องของคนอื่นเขา, สับสน เช่น งานมากทําให้สมองวุ่นไปหมด, อาการที่ต้องทําอะไรหลาย ๆ อย่างในขณะเดียวกัน เช่น เขาต้องวุ่นอยู่กับงานสารพัดตลอดเวลา, ชุลมุน เช่น มีแขกมามากทําให้วุ่นกันไปทั้งบ้าน. วุ่นเป็นจุลกฐิน [จุนละกะถิน] (สํา) ก. อาการที่ต้องทํางานอย่าง ชุลมุนวุ่นวายเพื่อให้เสร็จทันเวลาอันจํากัด.
  44. หงึกหงัก : ว. ติด ๆ ขัด ๆ เช่น วันนี้สมองตื้อ จะเขียนอะไรก็ติดหงึกหงักไปหมด.
  45. หนักหัว : ว. ที่ต้องใช้ความคิดมาก เช่น ปัญหาเศรษฐกิจเป็นปัญหาหนักหัว, หนักสมอง ก็ว่า; (ปาก) เป็นภาระของ, เป็นเรื่องของ, เช่น ถึงจะสุกคาขั้ว ก็ไม่หนักหัวใคร. (เพลงพื้นบ้าน), หนักกบาล หนักกบาลหัว หนักกะลาหัว หรือ หนักหัวกบาล ก็ว่า.
  46. หัวคิด : น. การใช้สมองคิด, สติปัญญา.
  47. หุ่นยนต์ : น. หุ่นที่ทำเป็นรูปคนมีเครื่องกลไกภายใน สามารถทำงาน หลายอย่างแทนมนุษย์ได้, โดยปริยายหมายถึงผู้ที่ทำงานตามที่ถูกสั่ง โดยไม่ต้องใช้สมองและไม่มีชีวิตจิตใจดุจเป็นเครื่องจักรกล.
  48. เหล้าแห้ง : (ปาก) น. ยาเสพติดชนิดหนึ่งประเภทกดประสาทสมอง เป็น ยานอนหลับจําพวกบาร์บิทูเรต ซึ่งผลิตออกมาในรูปของโซเดียม เซโคบาร์บิทาล และเรียกกันสั้น ๆ ว่า เซโคนัล ทางแพทย์ใช้เป็น ยานอนหลับประเภทออกฤทธิ์ระยะสั้น.
  49. [1-48]

(0.0183 sec)