Dictionary : English, Thai, Pali. Link : Lexitron, RoyDict, BudDict, ETipitaka, PpmDict, Longdo.
Search: สร้างปัญหา, สร้าง, ปัญหา , then บัญหา, ปญหา, ปญฺหา, ปัญหา, ศร้าง, สราง, สร้าง, สร้างปัญหา .

Budhism Thai-Thai Dict : สร้างปัญหา, 70 found, display 1-50
  1. ปัญหา : คำถาม, ข้อสงสัย, ข้อติดขัดอัดอั้น ข้อที่ต้องคิดแก้ไข
  2. สรรค์ : สร้าง
  3. รังสฤษฏ์ : สร้าง, แต่งตั้ง
  4. มิลินทปัญหา : คัมภีร์สำคัญ บันทึกคำสนทนาตอบปัญหาธรรมระหว่างพระนาคเสนกับพระยามิลินท์
  5. กบิลดาบส : ดาบสที่อยู่ในดงไม้สักกะ ประเทศหิมพานต์ พระราชบุตรและพระราชบุตรีของพระเจ้าโอกกากราชพากันไปสร้างพระนครใหม่ในที่อยู่ของกบิลดาบส จึงขนานนามพระนครที่สร้างใหม่ว่า กบิลพัสดุ์ แปลว่า ที่หรือที่ดินของกบิลดาบส
  6. กัปปมาณพ : ศิษย์คนหนึ่งในจำนวน ๑๖ คนของพราหมณ์พาวรี ที่ไปทูลถามปัญหากะพระศาสดา ที่ปาสาณเจดีย์
  7. กัปปิยภูมิ : ที่สำหรับเก็บเสบียงอาหารของวัด, ครัววัด มี ๔ อย่าง คือ อุสสาวนันติกา กัปปิยภูมิที่ทำด้วยการประกาศให้รู้แต่แรกสร้างว่าจะทำเป็นกัปปิยภูมิ คือพอเริ่มยกเสาหรือตั้งฝาก็ประกาศให้ได้ยินว่า กปฺปิยภูมึ กโรม แปลว่า เราทั้งหลายทำกัปปิยกุฎี ๑ โคนิสาทิกา กัปปิยภูมิขนาดเล็ก เคลื่อนที่ได้ ดุจเป็นที่โคจ่อม ๑ คหปติกา เรือนของคฤหบดีเขาสร้างถวายเป็นกัปปิยภูมิ ๑ สัมมติกา กัปปิยภูมิที่สงฆ์สมมติ ได้แก่ กุฎีที่สงฆ์เลือกจะใช้เป็นกัปปิยกุฎี แล้วสวดประกาศด้วยญัตติทุติยกรรม ๑
  8. กุฏิภัต : อาหารที่เขาถวายแก่ภิกษุผู้อยู่ในกุฎีอันเขาสร้าง
  9. โกศล : ความฉลาด, ความเชี่ยวชาญ มี ๓ คือ ๑.อายโกศล ความฉลาดในความเจริญ, รอบรู้ทางเจริญและเหตุของความเจริญ ๒.อปายโกศล ความฉลาดในความเสื่อม, รอบรู้ทางเสื่อมและเหตุของความเสื่อม ๓.อุปายโกศล ความฉลาดในอุบาย, รอบรู้วิธีแก้ไขเหตุการณ์และวิธีที่จะทำให้สำเร็จ ทั้งในการป้องกันความเสื่อมและในการสร้างความเจริญ
  10. โกสัลละ : ความฉลาด, ความเชี่ยวชาญ มี ๓ คือ ๑.อายโกศล ความฉลาดในความเจริญ, รอบรู้ทางเจริญและเหตุของความเจริญ ๒.อปายโกศล ความฉลาดในความเสื่อม, รอบรู้ทางเสื่อมและเหตุของความเสื่อม ๓.อุปายโกศล ความฉลาดในอุบาย, รอบรู้วิธีแก้ไขเหตุการณ์และวิธีที่จะทำให้สำเร็จ ทั้งในการป้องกันความเสื่อมและในการสร้างความเจริญ
  11. คันธกุฎี : กุฎีอบกลิ่นหอม, ชื่อเรียกพระกุฎีที่ประทับของพระพุทธเจ้า เช่น พระคันธกุฎีที่อนาถบิณฑิกเศรษฐีสร้างถวายที่พระเชตวัน ในนครสาวัตถี เป็นต้น พระกุฎีที่ประทับของพระพุทธเจ้าพระองค์อื่นๆ ก็เรียกว่าคันธกุฎีเช่นเดียวกัน (เช่น ขุ.อป.๓๒/๑๘/๘๕; ๑๗๒/๒๗๒; ๓๓/๑๓๑/๒๒๐) อย่างไรก็ตาม คำเรียกที่ประทับของพระพุทธเจ้าพระองค์ปัจจุบันว่าคันธกุฎีนั้น มีใช้แต่ในคัมภีร์ชั้นอรรถกถาลงมา (ไม่มีในพระไตรปิฎก)
  12. จูฬเวทัลลสูตร : ชื่อสูตรหนึ่งในมัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ แห่งพระสุตตันตปิฎก แสดงโดยพระธรรมทินนาเถรี เป็นคำตอบปัญหาที่วิสาขอุบาสกถาม
  13. เจ้าอธิการแห่งอาราม : ภิกษุผู้มีหน้าที่เกี่ยวกับงานวัด แยกเป็น ๓ คือ ผู้ใช้คนงานวัด (อารามิกเปสก) ผู้ใช้สามเณร (สามเณรเปสก) และผู้ดูแลปลูกสร้าง (นวกัมมิกะ)
  14. ชตุกัณณีมาณพ : ศิษย์คนหนึ่งในจำนวน ๑๖ คน ของพราหมณ์พาวรี ที่ไปทูลถามปัญหากะพระศาสดา ที่ปาสาณเจดีย์
  15. ติสสเถระ : ชื่อพระเถระองค์หนึ่งในเกาะลังกา เคยอุปการะพระเจ้าวัฏฏคามินีอภัย คราวเสียราชสมบัติแก่ทมิฬ ภายหลังทรงกู้ราชสมบัติคืนได้แล้ว ได้สร้างวัดอภัยคีรีวิหารถวาย
  16. ติสสเมตเตยยมาณพ : ศิษย์คนหนึ่งในจำนวน ๑๖ คน ของพราหมณ์พาวรี ที่ไปทูลถามปัญหากะพระศาสดาที่ปาสาณเจดีย์
  17. ตุมพสตูป : พระสถูปบรรจุทะนานทองที่ใช้ตวงแบ่งพระบรมสารีริกธาตุ โทณพราหมณ์เป็นผู้สร้าง
  18. โตเทยยมาณพ : ศิษย์คนหนึ่งในจำนวน ๑๖ คน ของพราหมณ์พาวรีที่ไปทูลถามปัญหากะพระศาสดา ที่ปาสาณเจดีย์
  19. ถาวรวัตถุ : สิ่งของที่มั่งคง ได้แก่ ของที่สร้างด้วยอิฐ ปูน หรือโลหะ เช่น โบสถ์ เจดีย์ วิหาร เป็นต้น
  20. โทณพราหมณ์ : พราหมณ์ผู้ใหญ่ซึ่งมีฐานะเป็นครูอาจารย์ เป็นที่เคารพนับถือของคนจำนวนมากในชมพูทวีป เป็นผู้แบ่งพระบรมสารีริกธาตุให้สำเร็จได้โดยสันติวิธี เป็นผู้สร้างตุมพสตูป บรรจุทะนานทองที่ใช้ตวงแบ่งพระบรมสารีริกธาตุ
  21. ธรรมปฏิสันถาร : การต้อนรับด้วยธรรม คือกล่าวธรรมให้ฟังหรือแนะนำในทางธรรม อย่างนี้เป็นธรรมปฏิสันถารโดยเอกเทศคือส่วนหนึ่งด้านหนึ่ง ธรรมปฏิสันถารที่บำเพ็ญอยู่อย่างบริบูรณ์ คือการต้อนรับโดยธรรม ได้แก่ เอาใจใส่ช่วยเหลือสงเคราะห์ แก่ไขปัญหาบรรเทาข้อสงสัย ขจัดปัดเป่าข้อติดขัดยากลำบากเดือนร้อนทั้งหลาย ให้เขาลุล่วงกิจอันเป็นกุศล พ้นความอึดอัดขัดข้อง เทียบ อามิสปฏิสันถาร
  22. โธตกมาณพ : ศิษย์คนหนึ่งในจำนวน ๑๖ คน ของพราหมณ์พาวรี ที่ไปทูลถามปัญหากะพระศาสดา ที่ปาสาณเจดีย์
  23. นวกัมมาธิฏฐายี : ผู้อำนวยการก่อสร้าง เช่น ที่พระโมคคัลลานะได้รับมอบหมายจากพระบรมศาสดาให้เป็นผู้อำนวยการสร้างบุพพารามที่นางวิสาขาบริจาคทุนสร้างที่กรุงสาวัตถี
  24. นันทมาณพ : ศิษย์คนหนึ่งในจำนวน ๑๖ คน ของพราหมณ์พาวรี ที่ไปทูลถามปัญหากะพระศาสดา ที่ปาสาณเจดีย์
  25. นาคเสน : พระอรหันตเถระผู้โต้วาทะชนะพระยามิลินท์ กษัตริย์แห่งสาคลประเทศ ดงมีคำโต้ตอบปัญหามาในคัมภีร์มิลินทปัญหา ท่านเกิดหลังพุทธกาลประมาณ ๔๐๐ ปี ที่หมู่บ้านกชังคละในหิมวันตประเทศ เป็นบุตรของพราหมณ์ชื่อโสณุตตระ ท่านเป็นผู้ชำนาญในพระเวทและต่อมาได้อุปสมบท โดยมีพระโรหะเป็นพระอุปัชฌาย์; ดู มิลินท์, มิลินทปัญหา
  26. นาถกรณธรรม : ธรรมทำที่พึ่ง, ธรรมสร้างที่พึ่ง, คุณธรรมที่ทำให้ตนได้ มี ๑๐ อย่าง คือ ๑.ศีล มีความประพฤติดี ๒.พาหุสัจจะ ได้เล่าเรียนสดับฟังมาก ๓.กัลยาณมิตตตา มีมิตรดีงาม ๔.โสวจัสสตา เป็นคนว่าง่าย ฟังเหตุผล ๕.กิงกรณีเยสุ ทักขตา เอาใจใส่กิจธุระของเพื่อนร่วมหมู่คณะ ๖.ธัมมกามตา เป็นผู้ใคร่ธรรม ๗.วิริยะ ความขยันหมั่นเพียร ๘.สันตุฏฐี มีความสันโดษ ๙.สติ มีสติ ๑๐.ปัญญา มีปัญญาเข้าใจสิ่งทั้งหลายตามความเป็นจริง
  27. นิโครธาราม : อาหารที่พระญาติสร้างถวายพระพุทธเจ้า อยู่ใกล้กรุงกบิลพัสดุ์
  28. บุพพาราม : วัดที่นางวิสาขาสร้างถวายพระพุทธเจ้าและภิกษุสงฆ์ที่กรุงสาวัตถี พระพุทธเจ้าประทับที่วัดนี้ รวมทั้งสิ้น ๖ พรรษา ดู วิสาขา
  29. ปฏิภาณปฏิสัมภิทา : ความแตกฉานในปฏิภาณได้แก่ไหวพริบ คือ โต้ตอบปัญหาเฉพาะหน้าได้ทันท่วงที หรือแก้ไขเหตุการณ์ฉุกเฉินได้ฉับพลันทันการ (ข้อ ๔ ในปฏิสัมภิทา ๔)
  30. ปฏิสันถาร : การทักทายปราศรัย, การต้อนรับแขก มี ๒ อย่างคือ ๑.อามิสปฏิสันถาร ต้อนรับด้วยธรรม คือ กล่าวแนะนำในทางธรรม อีกนัยหนึ่งว่า ต้อนรับโดยธรรม คือ การต้อนรับที่ทำพอดีสมควรแก่ฐานะของแขก มีการลุกรับเป็นต้น หรือช่วยเหลือสงเคราะห์ขจัดปัญหาข้อติดขัด ทำกุศลกิจให้ลุล่วง
  31. ประดิษฐ์ : ตั้งขึ้น, จัดทำขึ้น, สร้างขึ้น, คิดทำขึ้น
  32. ปาสาณเจดีย์ : เจดียสถานแห่งหนึ่งอยู่ในแคว้นมคธ มาณพ ๑๖ คนซึ่งเป็นศิษย์ของพราหมณ์พาวรี ได้เฝ้าพระศาสดาและทูลถามปัญหา ณ ที่นี้
  33. ปิงคิยมาณพ : ศิษย์คนหนึ่งในจำนวน ๑๖ คนของพราหมณ์พาวรี ที่ไปทูลถามปัญหากะพระศาสดา ที่ปาสาณเจดีย์
  34. ปุณณกมาณพ : ศิษย์คนหนึ่งในจำนวน ๑๖ คน ของพราหมณ์พาวรี ที่ไปทูลถามปัญหากะพระศาสดา ที่ปาสาณเจดีย์
  35. โปสาลมาณพ : ศิษย์คนหนึ่งในจำนวน ๑๖ คน ของพราหมณ์พาวรี ที่ไปทูลถามปัญหากะพระศาสดา ที่ปาสาณเจดีย์
  36. ผาติกรรม : การทำให้เจริญ หมายถึง การจำหน่ายครุภัณฑ์ เพื่อประโยชน์สงฆ์อย่างใดอย่างหนึ่ง โดยเอาของเลวแลกเปลี่ยนเอาของดีกว่าให้แก่สงฆ์ หรือเอาของตนถวายสงฆ์เป็นการทดแทนที่ตนทำของสงฆ์ชำรุดไป, รื้อของที่ไม่ดีออกทำให้ใหม่ดีกว่าของเก่า เช่น เอาที่วัดไปทำอย่างอื่นแล้วสร้างวัดถวายให้ใหม่; การชดใช้, การทดแทน
  37. พยากรณ์ : ทาย, ทำนาย, คาดการณ์; ทำให้แจ้งชัด, ตอบปัญหา
  38. พรหมายุ : ชื่อพราหมณ์คนหนึ่ง อายุ ๑๒๐ ปี เป็นผู้เชี่ยวชาญไตรเพท อยู่ ณ เมืองมิถิลา ในแคว้นวิเทหะ ได้ส่งศิษย์มาตรวจดูมหาบุรุษลักษณะของพระพุทธเจ้า ต่อมาได้พบกับพระพุทธเจ้า ทูลถามปัญหาต่างๆ มีความเลื่อมใส และได้บรรลุเป็นพระอนาคามี
  39. พาวรี : พราหมณ์ผู้เป็นอาจารย์ใหญ่ตั้งอาศรมสอนไตรเพทแก่ศิษย์อยู่ฝั่งแม่น้ำโคธาวรี ณ สุดเขตแดนแคว้นอัสสกะ ได้ส่งศิษย์ ๑๖ คนไปถามปัญหาพระศาสดา เพื่อจะทดสอบว่าพระองค์เป็นพระสัมมาสัมพุทธะจริงหรือไม่ ภายหลังได้รับคำตอบแล้ว ศิษย์ชื่อปิงคิยะซึ่งเป็นหลานของท่านได้กลับมาเล่าเรื่องและแสดงคำตอบปัญหาของพระศาสดา ทำให้ท่านได้บรรลุธรรมเป็นพระอนาคามี
  40. พุทธกิจ : กิจที่พระพุทธเจ้าทรงบำเพ็ญ, การงานที่พระพุทธเจ้าทรงกระทำพุทธกิจประจำวัน ๕ พุทธกิจที่พระพุทธเจ้าทรงบำเพ็ญเป็นประจำในแต่ละวัน มี ๕ อย่าง คือ ๑.ปุพฺพณฺเห ปิณฺฑปาตญฺจ เวลาเช้าเสด็จบิณฑบาต ๒.สายณฺเห ธมฺมเทสนํ เวลาเย็นทรงแสดงธรรม ๓.ปโทเส ภิกฺขุโอวาทํ เวลาค่ำประทานโอวาทแก่เหล่าภิกษุ ๔.อฑฺฒรตฺเต เทวปญฺหนํ เที่ยงคืนทรงตอบปัญหาเทวดา ๕.ปจฺจุสฺเสว คเต กาเล ภพฺพาภพฺเพ วิโลกนํ จวนสว่าง ทรงตรวจพิจารณาสัตว์ที่สามารถและที่ยังไม่สามารถบรรลุธรรมอันควรจะเสด็จไปโปรดหรือไม่ (สรุปท้ายว่า เอเต ปญฺจวิเธ กิจฺเจ วิโสเธติ มุนิปุงฺคโว พระพุทธเจ้าองค์พระมุนีผู้ประเสริฐทรงยังกิจ ๕ ประการนี้ให้หมดจด)
  41. ภัททา กุณฑลเกสา : พระมหาสาวิกาองค์หนึ่ง เป็นธิดาของเศรษฐีในพระนครราชคฤห์ เคยเป็นภรรยาโจรผู้เป็นนักโทษประหารชีวิต โจรคิดจะฆ่านางเพื่อเอาทรัพย์สมบัติ แต่นางใช้ปัญญาคิดแก้ไขกำจัดโจรได้ แล้วบวชในสำนักนิครนถ์ ต่อมาได้พบกับพระสารีบุตร ได้ถามปัญหากันและกัน จนนางมีความเลื่อมใสในพระพุทธศาสนา ต่อมาได้ฟังพระธรรมเทศนาที่พระศาสดาทรงแสดงได้สำเร็จพระอรหัต แล้วบวชในสำนักนางภิกษุณี ได้รับยกย่องว่าเป็นเอตทัคคะในทางขิปปาภิญญา คือ ตรัสรู้ฉับพลัน
  42. ภัทราวุธมาณพ : ศิษย์คนหนึ่งในจำนวน ๑๖ คน ของพราหมณ์พาวรี ที่ไปทูลถามปัญหากะพระศาสดา ที่ปาสาณเจดีย์
  43. มิจฉาวิมุตติ : พ้นผิด เช่นการระงับกิเลสบาปธรรมได้ชั่วคราว เพราะกลัวอำนาจพระเจ้าผู้สร้างโลก การระงับกิเลสนั้นดี แต่การระงับเพราะกลัวอำนาจพระเจ้าสร้างโลกนั้น ผิดทาง ไม่ทำให้พ้นทุกข์ได้จริง
  44. มุจจลินท์ : 1.ต้นจิก, ไม้จิก ตั้งอยู่ทิศตะวันออกเฉียงใต้ของต้นพระศรีมหาโพธิ พระพุทธเจ้าประทับนั่งเสวยวิมุตติสุขอยู่ใต้ต้นไม่นี้ ๗ วัน (สัปดาห์ ที่ ๓ ตามพระวินัย, สัปดาห์ที่ ๖ ตามคัมภีร์ชาดก) 2.ชื่อพระยานาคที่เข้ามาเฝ้าพระพุทธเจ้า ขณะที่ประทับเสวยวิมุตติสุขอยู่ใต้ต้นจิก (มุจจลินท์) เสวยวิมุตติสุขอยู่ใต้ต้นจิก (มุจจลินท์) ฝนตกพรำเจือด้วยลมหนาวตลอด ๗ วัน พระยามุจจลินทนาคราชจึงแผ่พังพานปกพระพุทธเจ้าเพื่อป้องกันฝนและลมมิให้ถูกต้องพระกาย นี่เป็นมูลเหตุของการสร้างพระพุทธรูปนาคปรก
  45. เมตตคูมานพ : ศิษย์คนหนึ่งในจำนวน ๑๖ คน ของพราหมณ์พาวรีที่ไปทูลถามปัญหากะพระศาสดา ณ ปาสาณเจดีย์
  46. โมฆราชมาณพ : ศิษย์คนหนึ่งในจำนวน ๑๖ คน ของพราหมณ์พาวรี ที่ไปทูลถามปัญหากะพระศาสดา ที่ปาสาณเจดีย์ ได้บรรลุพระอรหัตตผลแล้วอุปสมบทเป็นพระมหาสาวกองค์หนึ่ง และได้รับยกย่องเป็นเอตทัคคะในทางทรงจีวรเศร้าหมอง
  47. โมริยกษัตริย์ : กษัตริย์ผู้ครองเมืองปิปผลิวัน ส่งทูตมาไม่ทันเวลาแจกพระบรมสารีริกธาตุ จึงได้แต่พระอังคารไปสร้างอังคารสตูป ที่เมืองของตน
  48. รากขวัญ : ส่วนของร่างกายที่เรียกว่าไหปลาร้า; ตำนานกล่าวว่า ในบรรดาพระบรมสารีริกธาตุทั้งหลายนั้น พระรากขวัญเบื้องขวาขึ้นไปประดิษฐานอยู่ในจุฬามณีเจดีย์ ณ ดาวดึงสเทวโลก พระรากขวัญเบื้องซ้าย ขึ้นไปประดิษฐานอยู่ในทุสสเจดีย์ (เจดีย์ที่ฆฏิการพรหมสร้างขึ้นไว้ก่อนแล้ว ให้เป็นที่บรรจุพระภูษาเครื่องทรงในฆราวาสที่พระโพธิสัตว์สละในคราวเสด็จออกบรรพชา) ณ พรหมโลก
  49. วัฏฏคามณีอภัย : ชื่อพระเจ้าแผ่นดินแห่งเกาะลังกาพระองค์หนึ่ง ครองราชย์ประมาณ พ.ศ.๕๑๕-๕๒๗ ถูกพวกทมิฬแย่งชิงราชสมบัติ เสด็จไปซ่อนพระองค์อยู่ในป่า และได้รบความช่วยเหลือจากพระเถระรูปหนึ่ง ต่อมาพระองค์กู้ราชสมบัติคืนมา ได้ทรงสร้างอภัยคีรีวิหารและอาราธนาพระเถระรูปนั้นมาอยู่ครอง กับทั้งได้ทรงทำนุบำรุงพระพุทธศาสนาอีกเป็นอันมาก การสังคายนาครั้งที่ ๕ ที่จารึกพุทธพจน์ลงในใบลาน ก็จัดทำในรัชกาลนี้
  50. วิสุทธิมรรค : ปกรณ์พิเศษอธิบายศีล สมาธิ ปัญญา ตามแนววิสุทธิ ๗ พระพุทธโฆษาจารย์ พระอรรถกถาจารย์ชาวอินเดียเป็นผู้แต่งที่มหาวิหารในเกาะลังกา; พระพุทธโฆสาจารย์ผู้นี้เป็นบุตรพราหมณ์ เกิดที่หมู่บ้านแห่งหนึ่งใกล้พุทธคยา อันเป็นสถานที่ตรัสรู้ของพระพุทธเจ้า ในแคว้นมคธ เมื่อประมาณ พ.ศ.๙๕๖ เรียนจบไตรเพทมีความเชี่ยวชาญมาก ต่อมาพบกับพระเรวตเถระ ได้โต้ตอบปัญหากัน สู้พระเรวตเถระไม่ได้ จึงขอบวชเพื่อเรียนพุทธวจนะ มีความสามารถมาก ได้รจนาคัมภีร์ญาโณทัย เป็นต้น พระเรวตเถระจึงแนะนำให้ไปเกาะลังกา เพื่อแปลอรรถกถาสิงหฬ กลับเป็นภาษามคธ ท่านเดินทางไปที่มหาวิหาร เกาะลังกา เมื่อขออนุญาตแปลคัมภีร์ ถูกพระเถระแห่งมหาวิหารให้คาถามา ๒ บท เพื่อแต่งทดสอบความรู้ พระพุทธโฆส จึงแต่งคำอธิบายคาถาทั้ง ๒ นั้นขึ้นเป็นคัมภีร์วิสุทธิมรรค จากนั้นก็ได้รับอนุญาตให้ทำงาน แปลอรรถกถาได้ตามประสงค์ เมื่อทำงานเสร็จสิ้นแล้ว ท่านก็เดินทางกลับสู่ชมพูทวีป พระพุทธโฆสาจารย์ เป็นพระอรรถกถาจารย์ผู้ยิ่งใหญ่ที่สุด มีผลงานมากที่สุด
  51. [1-50] | 51-70

(0.0284 sec)