Dictionary : English, Thai, Pali. Link : Lexitron, RoyDict, BudDict, ETipitaka, PpmDict, Longdo.
Search: สลัด , then สลด, สลัด .

Royal Institute Thai-Thai Dict : สลัด, 47 found, display 1-47
  1. สลัด : [สะหฺลัด] น. ชื่อยําชนิดหนึ่งตามแบบชาวตะวันตก ประกอบด้วย ผักสดหลายชนิด เช่น ผักกาดหอม หอมหัวใหญ่ มะเขือเทศ แตงกวา เป็นหลัก และอาจมีเนื้อสัตว์หรือไข่ด้วย ราดด้วยน้ำปรุงรสที่เรียกว่า น้ำสลัด สลัดมีหลายชนิด เช่น สลัดผัก สลัดเนื้อสัน สลัดแขก.
  2. สลัด : [สะหฺลัด] น. โจรที่ปล้นเรือในทะเล เรียกว่า โจรสลัด. (เทียบ ม. salat ว่า ช่องแคบ).
  3. สลัด : [สะหฺลัด] ก. ทำให้สิ่งใดสิ่งหนึ่งที่ติดอยู่ให้หลุดไปโดยวิธีสะบัด ซัด หรือกระพือ เป็นต้น เช่น สลัดรองเท้าให้หลุดจากเท้า เม่นสลัดขน เขาสลัดมีดสั้นไปที่คู่ต่อสู้ ไก่สลัดขนปีก, โดยปริยายหมายถึงอาการ ที่คล้ายคลึงเช่นนั้น เช่น สลัดรัก.
  4. สลัดผลไม้ : น. ชื่ออาหารชนิดหนึ่งตามแบบตะวันตก ทำด้วยผลไม้ หลายชนิด หั่นเป็นชิ้นเล็ก ๆ ราดด้วยน้ำเชื่อมหรือครีม หรือใช้ โรยหน้าไอศกรีม.
  5. สลัดอากาศ : น. โจรที่จี้หรือปล้นเครื่องบินในอากาศ.
  6. น้ำมันสลัด : น. นํ้ามันที่ได้จากพืชบางชนิดเช่นมะกอก ใช้คลุกกับ ส่วนผสมอื่น ๆ เพื่อปรุงรสและกลิ่นในการทำสลัด.
  7. ยำสลัด : น. ยำชนิดหนึ่งตามแบบตะวันตก ประกอบด้วยผักสดหลายชนิด เช่น ผักกาดหอม หอมหัวใหญ่ มะเขือเทศ แตงกวา เป็นหลัก และอาจมี เนื้อสัตว์หรือไข่ด้วย ราดด้วยน้ำปรุงรสที่เรียกว่า น้ำสลัด.
  8. สลด : [สะหฺลด] ก. สังเวชใจ, รู้สึกรันทดใจ; เผือด, ถอดสี, เช่น หน้าสลด; เฉา, เหี่ยว, (ใช้แก่ใบไม้ดอกไม้ซึ่งขาดนํ้าเลี้ยงหรือถูกความร้อน) เช่น ต้นไม้ถูกความร้อนมาก ๆ ใบสลด.
  9. กล้องสลัด : น. กล้องที่ใช้ใส่อาวุธซัดไป. (พิชัยสงคราม); กล้องส่องทางไกล มีตาเดียว.
  10. โจรสลัด : [โจนสะหฺลัด] น. โจรที่ปล้นเรือในทะเล.
  11. สะบัด : ก. เคลื่อนไหวหรือทําให้เคลื่อนไหวไปมาอย่างเร็วและแรง เพื่อให้ สิ่งที่ติดอยู่หลุดไป เช่น หมาสะบัดขนเพื่อให้นํ้าที่ติดอยู่หลุดกระเซ็น ไป หรือเพื่อให้หมดทางต่อสู้ดิ้นรน เช่น แมวคาบหนูสะบัดไปมา หรือเพื่อให้เข้าที่ ให้กลับเข้ารูปเดิม เป็นต้น เช่น เขาชอบสะบัดผม สะบัดแขนเสื้อ, เอาใบมีดโกนปัดไปปัดมาบนแผ่นหนังเป็นต้นเพื่อ ลับให้คม เรียกว่า สะบัดมีดโกน หรือ สะบัดมีด, เรียกอาการของสิ่ง เช่นธงเมื่อถูกลมพัดกระพือหรือถูกโบกไปมาเป็นต้นให้ปลิวพลิ้ว เกิดเป็นริ้ว ๆ ว่า ธงสะบัด, สลัด ปัด หรือ ฟัด ก็ใช้โดยอนุโลม; โดย ปริยายหมายความว่า อย่างมาก, อย่างยิ่ง, เช่น สวยสะบัดโกงสะบัด; (โบ) ฉ้อโกง, กระบัด ประบัด หรือ ตระบัด ก็ใช้.
  12. กระเดาะปาก : ก. ทําให้เกิดเสียงดังด้วยการใช้ลิ้นดันเพดาน เป็นต้นแล้วสลัดลง.
  13. ดีด ๑ : ก. สลัดออกไปโดยแรง เช่น ดีดนิ้ว, สลัดตัวออกไปโดยเร็ว เช่น กุ้งดีด; ยกขึ้นด้วยแม่แรงเป็นต้น เช่น ดีดเรือน; เอานิ้วมือหรือไม้สะกิดให้ดัง เช่น ดีดจะเข้, เอานิ้วมือแตะแล้วเขี่ยให้เลื่อนไป เช่น ดีดลูกคิด, เอานิ้วกดแล้ว ปล่อยทันที เช่น ดีดพิมพ์ ดีดเปียโน, เอานิ้วหัวแม่มือกดกับนิ้วอื่นให้แน่น แล้วสลัดให้ออกจากกันเป็นเสียงดัง เรียกว่า ดีดนิ้ว, โดยปริยายหมายถึง อาการที่ทําห่างเหินผู้ใหญ่ ไม่เข้าหน้า เช่น หมู่นี้ชักดีดไปไม่เข้าหน้า.
  14. ป่าผลัดใบ : น. ป่าไม้ที่ผลัดใบหรือสลัดใบในบางฤดู.
  15. เม่า ๒ : น. เรียกปลวกในระยะที่มีปีก ซึ่งบินออกผสมพันธุ์กัน ลําตัวขนาดต่างกัน ยาวตั้งแต่ ๕ มิลลิเมตร ถึง ๒.๗ เซนติเมตร มีปีก ๒ คู่ยาวกว่าลําตัว ลักษณะ เหมือนกันทั้งรูปทรงและเส้นปีก เมื่อหุบปีก ปีกจะแบนราบไปบนหลัง สลัดปีกได้ง่าย ลําตัวสีนํ้าตาล ว่า แมลงเม่า.
  16. สมุทรโจร : [สะหฺมุดทฺระ] น. โจรสลัด.
  17. สลดใจ : ก. รู้สึกเศร้าใจแกมสังเวช, รู้สึกหดหู่ใจ, เช่น ข่าวแผ่นดินไหว คนตายเป็นหมื่น ๆ ฟังแล้วสลดใจ เห็นสุนัขถูกรถทับตาย รู้สึกสลดใจ.
  18. จมูก : [จะหฺมูก] น. อวัยวะส่วนหนึ่งที่ยื่นออกมา อยู่เหนือปาก มีรู ๒ รู สําหรับ ว. ซีดเซียว, หงอยเหงา, สลด, เช่น หน้าจ๋อย. โดยปริยายเรียกสิ่งที่ยื่นออกมาคล้ายจมูก, เรียกสิ่งที่เจาะเป็นรู ๒ รูเพื่อ ร้อยเชือกเป็นต้น เช่น จมูกซุง. (ข.จฺรมุะ).
  19. ลื้น, ลื้น ๆ : ว. เจ็บอาย, เศร้า, สลด, เช่น ว่าแล้วหน้าไม่ลื้น; บวมหรือนูนน้อย ๆ เช่น แขนถูกแมลงต่อยผิวลื้นขึ้นมา เนื้อลื้น ๆ จะเป็นฝี.
  20. ศร้าสลด : ว. มีความรู้สึกรันทดใจ เช่น อุบัติเหตุตายหมู่ ทำให้ผู้ พบเห็นเศร้าสลด.
  21. โศกสลด : ว. เศร้ารันทดใจเพราะต้องพลัดพรากจากกัน เวลาพูดถึง มักจะทำให้น้ำตาไหล.
  22. หน้าสลด : น. หน้าแสดงความเศร้าเสียใจ.
  23. เหี่ยว : ว. ไม่สดชื่นเพราะขาดน้ำ เช่น ดอกไม้เหี่ยว, ค่อยแห้งไป เช่น ส้มโอเหี่ยว, ไม่เต่งตึง เช่น หนังเหี่ยว; สลด เช่น ใจเหี่ยว.
  24. กำลูน : (โบ) ว. น่ากรุณา, น่าเอ็นดู, น่าสงสาร, เช่น ครั้นเห็นยิ่งระทดกําลูน สลดชีวา. (ม. คําหลวง มัทรี). (ป. กลูน).
  25. กำสรด : [-สด] (แบบ) ก. สลด, แห้ง, เศร้า, เช่น จักคอยเห็นข้าโหยหา แต่องคเอกา จะแสนกำสรดลำเค็ญ. (สุธนู).
  26. ปลงสังเวช : ก. พิจารณาเห็นเป็นเรื่องน่าสลดใจหรือน่าสมเพช.
  27. ภาษาธรรม : น. ภาษาที่ใช้มีความหมายในทางธรรม ต่างกับความหมาย ที่ชาวบ้านใช้ เช่น คำว่า เวทนา ในภาษาธรรมหมายถึง การเสวยอารมณ์ ที่เป็นสุข เป็นทุกข์ หรือเฉย ๆ แต่ชาวบ้านใช้หมายถึง สงสารสลดใจ หรือคำว่า สงสาร ในภาษาธรรมหมายถึง การเวียนว่ายตายเกิด แต่ชาว บ้านใช้หมายถึง รู้สึกเห็นใจในความเดือดร้อนหรือความทุกข์ของผู้อื่น.
  28. ม่อย : ก. เคลิ้มหลับไปชั่วครู่ เช่น ม่อยไปหน่อยหนึ่ง. ว. เรียกอาการที่มีสีหน้าสลดแสดงว่า เสียใจว่า หน้าม่อย.
  29. ระทด : ก. สลดใจ, มีจิตใจหวั่นไหวเพราะความโศกสลด, มักใช้เข้าคู่กับคำอื่น เช่น ระทดท้อ ระทดใจ.
  30. รันทด : ก. สลดใจมาก มีจิตใจหวั่นไหวมากเพราะความโศกสลด, มักใช้เข้าคู่ กับคำอื่น เช่น รันทดสลดใจ รันทดท้อเสียใจไห้สะอื้น.
  31. เวทนา ๒ : [เวดทะ] ก. สังเวชสลดใจ เช่น เรามักเวทนาผู้เคราะห์ร้าย เด็กคนนี้น่าเวทนา.
  32. เศร้า : [เส้า] ก. สลด, ระทด, หมอง, ไม่เบิกบาน, เป็นทุกข์, เหี่ยวแห้ง, เช่น หน้าเศร้า ใจเศร้า ตามีแววเศร้า เรื่องเศร้า.
  33. เศร้าใจ : ว. มีความรู้สึกสลดหดหู่ใจ เช่น เห็นป่าถูกบุกรุกทำลาย แล้วเศร้าใจ.
  34. โศกนาฏกรรม : [โสกะนาดตะกํา, โสกกะนาดตะกํา] น. วรรณกรรม โดยเฉพาะประเภทละครที่ลงท้ายด้วยความเศร้าหรือไม่สมหวัง ตัวเอกในเรื่องจะตายในที่สุด เช่น เรื่องลิลิตพระลอ สาวเครือฟ้า โรเมโอจูเลียต, โดยปริยายหมายถึงเรื่องราวหรือเหตุการณ์ทั่ว ๆ ไปที่เป็นเรื่องเศร้าสลดใจ เช่น ชีวิตของเขาเป็นเหมือนโศกนาฏกรรม เกิดในตระกูลเศรษฐี แต่สุดท้ายต้องตายอย่างยาจก.
  35. สมเพช : [เพด] ก. สงสารสลดใจ, ควรได้รับความกรุณา, เช่น เห็นคนอนาถา แล้วอดสมเพชไม่ได้, มักใช้เข้าคู่กับคำ เวทนา เป็น สมเพชเวทนา. (ป., ส. สํเวชน ว่า สยดสยอง, สังเวช).
  36. สังเวคะ : น. ความสลด. (ป., ส. สํเวค).
  37. สังเวชนียสถาน : [สังเวชะนียะสะถาน] น. สถานที่ทางพระพุทธศาสนา อันเป็นที่ตั้งแห่งความสลดสังเวช มี ๔ แห่ง คือ ๑. สถานที่ที่พระพุทธเจ้า ประสูติ ได้แก่ สวนลุมพินีปัจจุบันได้แก่ รุมมินเด ในประเทศเนปาล ๒. สถานที่ที่พระพุทธเจ้าตรัสรู้ คือ ที่ควงพระศรีมหาโพธิ ปัจจุบัน ได้แก่ พุทธคยา ประเทศอินเดีย ๓. สถานที่ที่พระพุทธเจ้าทรงแสดง ปฐมเทศนา คือ ป่าอิสิปตนมฤคทายวัน แขวงเมืองพาราณสี ปัจจุบันไ ด้แก่ สารนาถ ประเทศอินเดีย ๔. สถานที่ที่พระพุทธเจ้าเสด็จดับขันธ ปรินิพพาน คือ ป่าสาลวัน เมืองกุสินารา ปัจจุบันได้แก่ เมืองกาเซีย ประเทศอินเดีย.
  38. สังเวช, สังเวช : [สังเวด, สังเวชะ] ก. รู้สึกเศร้าสลดหดหู่ต่อผู้ที่ได้รับทุกขเวทนา หรือต้องตายไป หรือต่อผู้ที่ตนเคารพนับถือซึ่งประพฤติตนไม่ เหมาะสมเป็นต้น เช่น เห็นผู้คนประสบอุบัติเหตุเครื่องบินตกแล้ว สังเวช พอรู้ข่าวว่าญาติผู้ใหญ่ของตนพัวพันคดีฉ้อราษฎร์บังหลวง ก็สังเวช. (ป., ส. สํเวชน).
  39. หดหู่ : ก. ห่อเหี่ยวไม่ชื่นบาน, สลดใจ, เช่น เห็นสภาพบ้านเมืองทรุดโทรม แล้วใจคอหดหู่. ว. อาการที่รู้สึกห่อเหี่ยวไม่ชื่นบาน เช่น วันนี้เขาพบแต่ เรื่องเศร้า ๆ จึงรู้สึกหดหู่.
  40. หน้าจ๋อย : ว. มีสีหน้าสลด, มีสีหน้าซีดเซียว, เช่น นักเรียนหน้าจ๋อยเพราะ ถูกครูตำหนิ.
  41. หน้าด้าน, หน้าทน, หน้าหนา : ว. มีสีหน้าไม่สลดทั้งที่ควรจะอายแต่ก็ ไม่อาย, โดยปริยายหมายความว่า ไม่มีความรู้สึกอายในสิ่งที่ควรอาย.
  42. หน้าม่อย : ว. มีสีหน้าสลดแสดงว่าเสียใจ เช่น เธอทำหน้าม่อยเพราะรีด เสื้อตัวสวยไหม้.
  43. ห่อเหี่ยว : ว. มีความรู้สึกหดหู่, สลดใจ, เช่น หมู่นี้อ่านหนังสือพิมพ์มีแต่ ข่าวร้าย ๆ ทำให้รู้สึกห่อเหี่ยว.
  44. อนาถ : [อะหฺนาด] ก. สงสาร, สังเวช, สลดใจ. (ป., ส. อนาถ ว่า ไม่มีที่พึ่ง).
  45. อเนจอนาถ : [อะเหฺน็ดอะหฺนาด] ก. สลดใจเป็นอย่างยิ่ง. (ป. อนิจฺจ ว่า ไม่เที่ยง + อนาถ ว่า ไม่มีที่พึ่ง).
  46. อำนาถ : [หฺนาด] ว. น่าสงสาร, น่าสังเวช, น่าสลดใจ. (แผลงมาจาก อนาถ).
  47. โอ ๔ : อ. คําที่เปล่งออกมาแสดงอาการว่านึกอะไรขึ้นมาได้ หรือแสดงว่า สลดใจเป็นต้น.
  48. [1-47]

(0.0770 sec)