Dictionary : English, Thai, Pali. Link : Lexitron, RoyDict, BudDict, ETipitaka, PpmDict, Longdo.
Search: สวรรค์ , then สวรรค, สวรรค์ .

Budhism Thai-Thai Dict : สวรรค์, 50 found, display 1-50
  1. สวรรค์ : แดนอันแสนดีเลิศล้ำด้วยกามคุณทั้ง ๕, โลกของเทวดา ตามปกติหมายถึงกามาพจรสวรรค์ (สวรรค์ที่ยังเกี่ยวข้องกาม) ๖ ชั้น คือ จาตุมหาราชิกา ดาวดึงส์ ยามา ดุสิต นิมมานรดี ปรนิมมิตวสวัตดี
  2. ฉกามาพจรสวรรค์ : สวรรค์ที่ยังเกี่ยวข้องกาม ๖ ชั้น คือ ๑.จาตุมหาราชิกา ๒.ดาวดึงส์ ๓.ยามา ๔.ดุสิต ๕.นิมมานรดี ๖.ปรนิมมิตวสวัตดี
  3. จาตุมหาราชิกา : สวรรค์ชั้นที่ ๑ มีมหาราช ๔ องค์ เป็นประธาน ปกครอง ประจำทิศทั้ง ๔ ดู จาตุมหาราช
  4. ดาวดึงส์ : สวรรค์ชั้นที่ ๒ แห่งสวรรค์ ๖ ชั้น มีจอมเทพผู้ปกครองชื่อท้าวสักกะ แต่โดยทั่วไปเรียกว่าพระอินทร์
  5. ดุสิต : สวรรค์ชั้นที่ ๔ แห่งสวรรค์ ๖ ชัน มีท้าวสันดุสิตเทวราชปกครอง สวรรค์ชั้นนี้เป็นที่สถิตของพระโพธิสัตว์ ก่อนจุติลงมาสู่มนุษยโลกและตรัสรู้ในพระชาติสุดท้าย
  6. นิมมานรดี : สวรรค์ชั้นที่ ๕ มีท้าวสุนิมมิตเทวราชปกครอง เทวดาชั้นนี้ปรารถนาสิ่งหนึ่งสิ่งใด นิรมตเอาได้
  7. ปรนิมมิตวสวัตดี : สวรรค์ชั้นท ๖ มีท้าวปรนิมมิตวสวัตดีปกครอง เทวดาชั้นนี้ปรารถนาสิ่งใดสิ่งหนึ่งไม่ต้องนิรมิตเอง มีเทวดาอื่นนิรมิตให้อีกต่อหนึ่ง
  8. ยามะ : สวรรค์ชั้นที่ ๓ มีท้าวสุยามเทพบุตรปกครอง
  9. ยามา : สวรรค์ชั้นที่ ๓ มีท้าวสุยามเทพบุตรปกครอง
  10. สมบัติ : ๑ ความถึงพร้อม, สิ่งที่ได้ที่ถึงด้วยดี, เงินทองของมีค่า, สิ่งที่มีอยู่ในสิทธิอำนาจของตน, ความพรั่งพร้อมสมบูรณ์, สมบัติ ๓ ได้แก่ มนุษยสมบัติ สมบัติในขั้นมนุษย์ สวรรคสมบัติ สมบัติในสวรรค์ (เทวสมบัติ หรือทิพยสมบัติ ก็เรียก) และนิพพานสมบัติ สมบัติ คือนิพพาน
  11. กามภพ : ที่เกิดของผู้ที่ยังเกี่ยวข้องอยู่ในกาม, โลกเป็นที่อยู่อาศัยของผู้เสพกาม ได้แก่ อบายภูมิ ๔ มนุษยโลก และสวรรค์ ๖ ชั้น ตั้งแต่ชั้นจาตุมหาราชิกา ถึงชั้นปรนิมมิตสวัตดีรวมเป็น ๑๑ ชั้น - the sphere or state of existence dominated by sensual pleasure; Sensuous Existence; Sense-Sphere.
  12. กามสุคติภูมิ : กามาวจรภูมิที่เป็นสุคติ คือ มนุษย์และสวรรค์ ๖ (จะแปลว่าสุคติภูมิที่ยังเกี่ยวข้องกับกาม ก็ได้)
  13. โกสิยเทวราช : พระอินทร์, จอมเทพ ในสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ เรียกท้าวโกสีย์บ้าง ท้าวสักกเทวราชบ้าง
  14. คติ : 1.การไป, ทางไป, ความเป็นไป, ทางดำเนิน, วิธี, แนวทาง, แบบอย่าง 2.ที่ไปเกิดของสัตว์, ภพที่สัตว์ไปเกิด, แบบการดำเนินชีวิต มี ๕ คือ ๑.นิรยะ นรก ๒.ติรัจฉานโยนิ กำเนิดดิรัจฉาน ๓.เปตติวิสัย แดนเปรต ๔.มนุษย์ สัตว์มีใจสูงรู้คิดเหตุผล ๕.เทพ ชาวสวรรค์ตั้งแต่ชั้นจาตุมหาราชิกา ถึงอกนิฏฐพรหม (ท่านว่าในที่นี้ จัดอสูรเข้าในเปตตวิสัยด้วย) ๓ คติแรกเป็น ทุคติ (ที่ไปเกิดอันชั่วหรือแบบดำเนินชีวิตที่ไม่ดี) ๒ คติหลังเป็นสุคติ (ที่ไปเกิดอันดี หรือแบบดำเนินชีวิตที่ดี)
  15. ชนวสภสูตร : สูตรหนึ่งในคัมภีร์ทีฆนิกาย มหาวรรค สุตตันตปิฎก ว่าด้วยเรื่องที่พระเจ้าพิมพิสารซึ่งสวรรคตไปเกิดเป็นชนวสภยักษ์ มาสำแดงตนแก่พระพุทธเจ้า และพระอานนท์แล้วเล่าเหตุการณ์ที่พวกเทวดามาประชุมในสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ พากันชื่นชมข่าวดีที่เทวดามีจำนวนเพิ่มขึ้น เพราะคนประพฤติตามคำสอนของพระพุทธเจ้า
  16. ทิวงคต : ไปสู่สวรรค์, ตาย
  17. ทุลลภธรรม : สิ่งที่ได้ยาก, ความปรารถนาของคนในโลกที่ได้สมหมายโดยยาก มี ๔ คือ ๑.ขอโภคสมบัติจงเกิดมีแก่เราโดยทางชอบธรรม ๒.ขอยศจงเกดมีแก่เรากับญาติพวกพ้อง ๓.ขอเราจงรักษาอายุอยู่ได้ยืนนาน ๔.เมื่อสิ้นชีพแล้ว ขอเราจงไปบังเกิดในสวรรค์ ; ดู ธรรมเป็นเหตุให้สมหมาย ด้วย
  18. ทูเรนิทาน : เรื่องห่างไกล หมายถึงพุทธประวัติตั้งแต่เริ่มเป็นพระโพธิสัตว์บำเพ็ญบารมีเสวยพระชาติในอดีตมาโดยลำดับ จนถึงชาติสุดท้าย คือเวสสันดร และอุบัติในสวรรค์ชั้นดุสิต
  19. เทพ : เทพเจ้า, ชาวสรรค์, เทวดา; ในทางพระศาสนา ท่านจัดเป็น ๓ คือ ๑.สมมติเทพ เทวดาโดยสมมติ = เทวดาในสวรรค์และพรหมทั้งหลาย ๒.อุปปัติเทพ เทวดาโดยกำเนิด = เทวดาในสวรรค์และพรหมทั้งหลาย ๓.วิสุทธิเทพ เทวดาโดยความบริสุทธิ์ = พระพุทธเจ้า พระปัจเจกพุทธเจ้า และพระอรหันต์ทั้งหลาย
  20. เทพเจ้า : พระเจ้าบนสวรรค์ ลัทธิพราหมณ์ถือว่าเป็นผู้บันดาลสุขทุกข์ให้แก่มนุษย์
  21. เทพบุตร : เทวดาผู้ชาย, ชาวสวรรค์เพศชาย
  22. เทวดา : หมู่เทพ, ชาวสวรรค์ เป็นคำรวมเรียกชาวสวรรค์ทั้งเพศชายและเพศหญิง
  23. เทวบุตร : เทวดาผู้ชาย, ชาวสวรรค์เพศชาย
  24. เทวโลก : โลกของเทวดา, ที่อยู่ของเทวดา ได้แก่ สวรรค์กามาพจร ๖ ชั้น คือ ๑.จาตุมมหาราชิกา ๒.ดาวดึงส์ ๓.ยามา ๔.ดุสิต ๕.นิมมานรดี ๖.ปรนิมมิตวสวัตดี
  25. เทวะ : เทวดา, เทพ, เทพเจ้า (ชั้นสวรรค์และชั้นพรหม)
  26. เทโวโรหณะ : “การลงจากเทวโลก” หมายถึงการที่พระพุทธเจ้าเสด็จลงจากเทวโลก ตำนานเล่าว่าในพรรษาที่ ๗ แห่งการบำเพ็ญพุทธกิจ พระพุทธเจ้าเสด็จไปประทับจำพรรษาในดาวดึงสเทวโลก ทรงแสดงพระอภิธรรมโปรดพระพุทธมารดาพร้อมทั้งหมู่เทพ ณ ที่นั้น เมื่อถึงเวลาออกพรรษาในวันมหาปวารณา (วันขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๑๑) ได้เสด็จลงมาจากสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ กลับคืนสู่โลกมนุษย์ ณ ประตูเมืองสังกัสสะ โดยมีเทวดาและมหาพรหมทั้งหลายแวดล้อม ลงมาส่งเสด็จ ฝูงชนจำนวนมากมายก็ได้ไปคอยรับเสด็จ กระทำมหาบูชาเป็นการเอิกเกริกมโหฬารและพระพุทธเจ้าได้ทรงแสดงธรรม มีผู้บรรลุคุณวิเศษจำนวนมาก ชาวพุทธในภายหลังได้ปรารภเหตุการณ์พิเศษครั้งนี้ ถือเป็นกาลกำหนดสำหรับบำเพ็ญการกุศล ทำบุญตักบาตรคราวใหญ่แด่พระสงฆ์ เป็นประเพณีนิยมสืบมา ดังปรากฏในประเทศไทย เรียกกันว่า ตักบาตรเทโวโรหณะ หรือนิยมเรียกสั้นๆ ว่า ตักบาตรเทโว บางวัดก็จัดพิธีในวันออกพรรษา คือวันมหาปวารณา ขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๑๑ บางวัดจัดถัดจากนั้น ๑ วัน คือในวันแรม ๑ ค่ำ เดือน ๑๑
  27. บัณฑุกัมพลศิลาอาสน์ : แท่นหินมีสีดุจผ้ากัมพลเหลือง เป็นที่ประทับของพระอินทร์ในสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ (อรรถกถาว่า สีแดง)
  28. ปฐมสมโพธิกถา : ชื่อคัมภีร์แสดงเรื่องราวของพระพุทธเจ้า ตั้งแต่ประทับอยู่บนสวรรค์ชั้นดุสิต เทวดาอัญเชิญให้มาอุบัติในมนุษยโลก แล้วออกบวชตรัสรู้ประกาศพระศาสนา ปรินิพพาน จนถึงแจกพระธาตุ ต่อท้ายด้วยเรื่องพระเจ้าอโศกยกย่องพระศาสนา และการอันตรธานแห่งพระศาสนาในที่สุด
  29. ปาริฉัตตก์ : “ต้นทองหลาง”, ชื่อต้นไม้ประจำสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ อยู่ในสวนนันทวันของพระอินทร์ ; ปาริฉัตร หรือ ปาริชาต ก็เขียน
  30. พรหมบุญ : บุญอย่างสูง เป็นคำแสดงอานิสงส์ของผู้ชักนำให้สงฆ์สามัคคีปรองดองกัน ได้พรหมบุญจักแช่มชื่นในสวรรค์ตลอดกัปป์
  31. มณฑารพ : ดอกไม้ทิพย์ คือ ดอกไม้ในเมืองสวรรค์ที่ตกลงมาบูชาพระพุทธเจ้า ในวันปรินิพพาน ดาดาษทั่วเมืองกุสินารา และพระมหากัสสป ได้เห็นอาชีวกคนหนึ่งถืออยู่ขณะเดินทางระหว่างเมืองกุสินารา กับ เมืองปาวา จึงได้ถามข่าวเกี่ยวกับพระพุทธเจ้า และทราบการปรินิพพานจากอาชีวกนั้น เมื่อ ๗ วันหลังพุทธปรินิพพาน
  32. มาร : 1.สิ่งที่ฆ่าบุคคลให้ตายจากความดีหรือจากผลที่หมายอันประเสริฐ, ตัวการที่กำจัดหรือขัดขวางไม่ให้บรรลุความดี มี ๕ คือ ๑.กิเลสมาร มารคือกิเลส ๒.ขันธมาร มารคือเบญจขันธ์ ๓.อภิสังขารมาร มารคืออภิสังขารที่ปรุงแต่งกรรม ๔.เทวปุตตมาร มารคือเทพบุตร ๕.มัจจุมาร มารคือความตาย 2.พระยามารที่มีเรื่องราวปรากฏบ่อยๆ ในคัมภีร์ คอยมาแทรกแซงเหตุการณ์ต่างๆ ในพุทธประวัติ เช่น ยกพลเสนามาผจญพระมหาบุรุษในวันที่จะตรัสรู้ พระองค์ชนะพระยามารได้ด้วยทรงนึกถึงบารมี ๑๐ คือ ทาน ศีล เนกขัมมะ ปัญญา วิริยะ ขันติ สัจจะ อธิฏฐาน เมตตา อุเบกขา มารในกรณีเช่นนี้ บางทีท่านอธิบายออกชื่อว่าเป็นสวัตดีมาร ซึ่งครองแดนหนึ่งในสวรรค์ชั้นสูงสุด แห่งระดับกามาวจรคือปรนิมิตวสวัตดี เป็นผู้คอยขัดขวางเหนี่ยวรั้งบุคคลไว้มิให้ล่วงพ้นจากแดนกามซึ่งอยู่ในอำนาจครอบงำของตน อย่างไรก็ดี ผู้ศึกษาพึงพิจารณาเทียบจากมาร ๕ ในความหมายที่ 1.ด้วย
  33. มิตรแท้ : มิตรด้วยใจจริง มี ๔ พวก ได้แก่ ๑.มิตรอุปการะ มีลักษณะ ๔ คือ ๑.เพื่อนประมาท ช่วยรักษาเพื่อน ๒.เพื่อนประมาท ช่วยรักษาทรัพย์ของเพื่อน ๓.เมื่อมีภัย เป็นที่พึ่งพำนักได้ ๔.มีกิจจำเป็น ช่วยออกทรัพย์ให้เกินกว่าที่ออกปาก ๒.มิตรร่วมสุขร่วมทุกข์ มีลักษณะ ๔ คือ ๑.บอกความลับแก่เพื่อน ๒.ปิดความลับของเพื่อน ๓.มีภัยอันตรายไม่ละทิ้ง ๔.แม้ชีวิตก็สละให้ได้ ๓.มิตรแนะประโยชน์ มีลักษณะ ๔ คือ ๑.จะทำชั่วเสียหายคอยห้ามปรามไว้ ๒.คอยแนะนำให้ตั้งอยู่ในความดี ๓.ให้ได้ฟังได้รู้สิ่งที่ไม่เคยได้รู้ได้ฟัง ๔.บอกทางสุขทางสวรรค์ให้ ๔.มิตรมีน้ำใจ มีลักษณะ ๔ คือ ๑.เพื่อนมีทุกข์ พลอยทุกข์ด้วย ๒.เพื่อนมีสุข พลอยดีใจ ๓.เขาติเตียนเพื่อน ช่วยยับยั้งแก้ให้ ๔.เขาสรรเสริญเพื่อ ช่วยพูดเสริมสนับสนุน
  34. เมรุ : 1.ชื่อภูเขาที่เป็นศูนย์กลางของจักรวาล บางทีเรียกพระสุเมรุ ตามคติของศาสนาฮินดู ถือว่าเป็นบริเวณที่มีสวรรค์อยู่โดยรอบ เช่น สวรรค์ของพระอินทร์อยู่ทางทิศเหนือ ไวกูณฐ์แดนสถิตของพระวิษณุหรือพระนารายณ์อยู่ทางทิศใต้ ไกลาสที่สถิตของพระศิวะหรืออิศวรก็อยู่ทางทิศใต้เหนือยอดเขาพระสุเมรุนั้น คือ พรหมโลก เป็นที่สถิตของพระพรหม, ภูเขานี้เรียกชื่อเป็นภาษาบาลีว่า สิเนรุ และตามคติฝ่ายพระพุทธศาสนา ในชั้นอรรถกถา ยอดเขาสิเนรุเป็นที่ตั้งของสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ ซึ่งเป็นที่สถิตของพระอินทร์ เชิงเขาสิเนรุ ซึ่งหยั่งลึกลงไปในมหาสมุทรเป็นอสูรพิภพ สูงขึ้นไปกึ่งทางระหว่างแดนทั้ง๒นั้น เป็นสวรรค์ของท้าวจาตุมหาราช สวรรค์ชั้นอื่นๆ และโลกมนุษย์ เป็นต้น ก็เรียงรายกันอยู่สูงบ้างต่ำบ้าง รอบเขาสิเนรุนี้ (ในวรรณคดีบาลียุดหลัง เช่น จูฬวงส์ พงศาวดารลังกา เรียก เมรุ และสุเมรุ อย่างสันสกฤตก็มี) 2.ที่เผาศพ หลังคาเป็นยอด มีรั้วล้อมรอบ ซึ่งคงได้คติจากภูเขาเมรุนั้น
  35. ราหุล : พระมหาสาวกองค์หนึ่ง เป็นโอรสของเจ้าชายสิทธัตถะ คราวพระพุทธเจ้าเสด็จนครกบิลพัสดุ์ ราหุลกุมารเข้าเฝ้าทูลขอทายาทสมบัติตามคำแนะนำของพระมารดา พระพุทธเจ้าจะประทานอริยทรัพย์ จึงให้พระสารีบุตรบวชราหุลเป็นสามเณร นับเป็นสามเณรองค์แรกในพระพุทธศาสนา ต่อมาได้อุปสมบทเป็นภิกษุได้รับยกย่องว่าเป็นเอตทัคคะในทางเป็นผู้ใคร่ต่อการศึกษา อรรถกถาว่าพระราหุลปรินิพพานในสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ก่อนพุทธปรินิพพาน และก่อนการปรินิพพานของพระสารีบุตร
  36. โลก : แผ่นดินเป็นที่อาศัย, หมู่สัตว์ผู้อาศัย; โลก ๓ คือ ๑.สังขารโลก โลกคือสังขาร ๒.สัตวโลก โลกคือหมู่สัตว์ ๓.โอกาสโลก โลกคือแผ่นดิน; อีกนัยหนึ่ง ๑.มนุษยโลก โลกมนุษย์ ๒.เทวโลก โลกสวรรค์ ทั้ง ๖ ชั้น ๓.พรหมโลก โลกของพระพรหม
  37. วสวัดดี : ชื่อพระยามาร เป็นเทพในสวรรค์ชั้นสูงสุดแห่งระดับกามาวจร เป็นผู้คอยขัดขวางเหนี่ยวรั้งบุคคลไม่ให้ล่วงพ้นจากแดนกาม ซึ่งอยู่ในอำนาจครอบงำของตน ดู มาร 2เทวปุตตมาร
  38. วสวัตดี : ชื่อพระยามาร เป็นเทพในสวรรค์ชั้นสูงสุดแห่งระดับกามาวจร เป็นผู้คอยขัดขวางเหนี่ยวรั้งบุคคลไม่ให้ล่วงพ้นจากแดนกาม ซึ่งอยู่ในอำนาจครอบงำของตน ดู มาร 2เทวปุตตมาร
  39. สวรรคต : ไปสู่สวรรค์ คือ ตาย (ใช้สำหรับพระเจ้าแผ่นดิน สมเด็จพระราชินี สมเด็จพระบรมราชชนนี สมเด็จพระยุพราช สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชและพระบรมราชวงศ์ที่ทรงได้รับพระราชทานฉัตร ๗ ชั้น)
  40. สักกะ : ๑.พระนามจอมเทพ ในสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ เรียกกันว่า ท้าวสักกะหรือพระอินทร์; ดู วัตรบท๗ ๒.ชื่อดงไม้ที่อยู่ในชมพูทวีปตอนเหนือ แถบเขาหิมาลัยในเขตป่าหิมพานต์ ๓.ชื่อชนบทที่ตั้งอยู่ในดงไม้สักกะ ดู สักกชนบท
  41. สุขาวดี : แดนที่มีความสุข, เป็นชื่อสวรรค์ของพระอมิตาภพุทธ ฝ่ายมหายาน
  42. อนันตริยกรรม : กรรมหนัก, กรรมที่เป็นบาปหนักที่สุด ตัดทางสวรรค์ ตัดทางนิพพาน, กรรมที่ให้ผลคือ ความเดือดร้อนไม่เว้นระยะเลย มี ๕ อย่าง คือ ๑) มาตุฆาต ฆ่ามารดา ๒) ปิตุฆาต ฆ่าบิดา ๓) อรหันตฆาต ฆ่าพระอรหันต์ ๔) โลหิตุปบาท ทำร้ายพระพุทธเจ้าจนถึงยังพระโลหิตให้ห้อขึ้นไป ๕) สังฆเภท ทำสงฆ์ให้แตกกัน
  43. อนุปุพพิกถา : เทศนาที่แสดงไปโดยลำดับ เพื่อฟอกอัธยาศัยของสัตว์ให้หมดจดเป็นชั้นๆ จากง่ายไปหายากเพื่อเตรียมจิตของผู้ฟังให้พร้อมที่จะรับฟังอริยสัจ มี ๕ คือ ๑) ทานกถา พรรณนาทาน ๒) สีลกถา พรรณนาศีล ๓) สัคคกถา พรรณนาสวรรค์ คือ ความสุขที่พรั่งพร้อมด้วยกาม ๔) กามาทีนวกถา พรรณนาโทษของกาม ๕) เนกขัมมานิสังสกถา พรรณาอานิสงส์แห่งการออกจากกาม
  44. อวตาร : การลงมาเกิด, การแบ่งภาคมาเกิด, เป็นความหมายในศาสนาพราหมณ์หรือฮินดู เช่น พระนารายณ์อวตาร คือแบ่งภาคลงมาจากสวรรค์มาเกิดเป็นมนุษย์ เป็นต้น
  45. อวิทูเรนิทาน : เรื่องไม่ไกลนัก หมายถึงเรื่องราวความเป็นไปเกี่ยวกับพระพุทธเจ้า ตั้งแต่จุติการสวรรค์ชั้นดุสิต จนถึงตรัสรู้
  46. อินทร์ : ผู้เป็นใหญ่, ชื่อเทวราชผู้เป็นใหญ่ในสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ และจาตุมหาราช; ในบาลี นิยมเรียกว่า ท้าวสักกะ, ดู วัตรบท
  47. อุปปัตติเทพ : เทวดาโดยกำเนิด ได้แก่ พวกเทวดาในกามาพจรสวรรค์และพระพรหมทั้งหลาย (ข้อ ๒ ในเทพ ๓)
  48. เอกเสสนัย : อาการกำหนดด้วยเหลือศัพท์เดียว, เป็นวิธีการอย่างหนึ่งในไวยากรณ์บาลี กล่าวคือ บุคคล วัตถุ หรือภาวะบางอย่าง เป็นของควบคู่กันมาด้วยกันเสมอ เมื่อเห็นอย่างหนึ่งก็เป็นอันรู้ถึงอีกอย่างหนึ่งด้วย หรือเป็นของชุดเดียวกัน จำพวกเดียวกัน เมื่อเรียกอย่างหนึ่ง จะหมายถึงอย่างหนึ่งอย่างใดในชุดหรือในจำพวกนั้นก็ได้ ในกรณีเช่นนี้ บางทีท่านกล่าวถึงหรือออกชื่อไว้อย่างใดอย่างหนึ่ง แต่เพียงอันเดียวให้ผู้อ่านหรือผู้ฟังหมายรู้อีกอย่างหนึ่งด้วย หรือให้เข้าใจเอาเอง จากข้อความแวดล้อมว่า ในที่นั้น หมายถึงอย่างไหนข้อใดในชุดหรือในจำพวกนั้น จึงเรียกว่า เหลือไว้อย่างเดียว หรือเหลือไว้ศัพท์เดียว เช่น พูดอย่างคำบาลีว่า พระสารีบุตรทั้งหลาย ก็หมายถึง พระสารีบุตรและพระมหาโมคคัลลานะ หรือในหลักปฏิจจสมุปบาท คำว่า นามรูป เป็นเอกเสสหมายถึง นามหรือรูป หรือทั้งนามและรูป คำว่า สฬายตนะ ก็เป็นเอกเสส หมายถึง อายตนะที่ ๖ ก็ได้ อายตนะทั้ง ๖ ก็ได้ ดังนั้น เมื่อพูดว่านามรูปเป็นปัจจัยให้เกิดสฬายตนะ ถ้าหมายถึงอรูปภพก็ต้องแปลความว่า นามเป็นปัจจัยให้เกิดอายตนะที่ ๖ (คือมโน) อนึ่ง เมื่อสิ่งอื่นในชุดเดียวกัน มีคำเฉพาะระบุชัดอยู่แล้ว คำที่เป็นชื่อรวมๆ ของชุด ก็ย่อมหมายถึงสิ่งที่ยังไม่ถูกระบุด้วยคำอื่น เช่น ในคำว่า สุคติ (และ) โลกสวรรค์ สวรรค์เป็นสุคติ แต่มีคำเฉพาะระบุไว้แล้ว ดังนั้น คำว่าสุคติในกรณีนี้จึงหมายถึง โลกมนุษย์ ซึ่งเป็นสุคติอย่างเดียวที่เหลือนอกจากสวรรค์
  49. สงฆ์ทสวรรค : สงฆ์พวก ๑๐ คือ มีภิกษุ ๑๐ รูปขึ้นไป จึงจะครบองค์กำหนด ดู วรรค
  50. วรรค : หมวด, หมู่, ตอน, พวก ; กำหนด จำนวนภิกษุที่ประกอบเข้าเป็นสงฆ์ หมวดหนึ่งๆ ซึ่งเมื่อครบจำนวนแล้วจึงจะทำสังฆกรรมอย่างนั้นๆ ได้ มี ๔ พวก คือ ๑.สงฆ์จตุรวรรค (สงฆ์พวก ๔ คือ ต้องมีภิกษุ ๔ รูปขึ้นไป ทำกรรมได้ทุกอย่างเว้นปวารณาให้ผ้ากฐิน อุปสมบท และอัพภาน) ๒.สงฆ์ปัญจวรรค (สงฆ์พวก ๕ คือ ต้องมีภิกษุ ๕ รูปขึ้นไป ทำปวารณา ให้ผ้ากฐิน และอุปสมบทในปัจจันตชนบท) ๓.สงฆ์ทสวรรค (สงฆ์พวก ๑๐ คือต้องมีภิกษุ ๑๐ รูปขึ้นไป ให้อุปสมบทในมัธยมชนบทได้) ๔.สงฆ์วีสติวรรค (สงฆ์พวก ๒๐ คือต้องมีภิกษุ ๒๐ รูปขึ้นไป ทำอัพภานได้)
  51. [1-50]

(0.0226 sec)