Dictionary : English, Thai, Pali. Link : Lexitron, RoyDict, BudDict, ETipitaka, PpmDict, Longdo.
Search: สอบสวน .

Royal Institute Thai-Thai Dict : สอบสวน, 23 found, display 1-23
  1. สอบสวน : (กฎ) ก. รวบรวมพยานหลักฐานและดําเนินการอย่างอื่น ซึ่งพนักงานสอบสวนได้ทําไปเกี่ยวกับความผิดที่กล่าวหา เพื่อที่จะ ทราบข้อเท็จจริงหรือพิสูจน์ความผิด และเพื่อจะเอาตัวผู้กระทําผิด มาฟ้องลงโทษ.
  2. สอบสวนทวนพยาน : (สํา) ก. สอบพยาน.
  3. พนักงานสอบสวน : (กฎ) น. เจ้าพนักงานซึ่งกฎหมายให้มีอํานาจ และหน้าที่ทําการสอบสวน.
  4. พิจาร, พิจารณ์, พิจารณา : [พิจาน, พิจาระนา] ก. ตรวจตรา, ตริตรอง, สอบสวน. (ป., ส. วิจาร, วิจารณ, วิจารณา).
  5. กรรมาธิการ : [กํา-] น. บุคคลที่สภาผู้แทนราษฎรหรือวุฒิสภาเลือกและตั้ง เป็นคณะกรรมาธิการ เพื่อกระทำกิจการ พิจารณาสอบสวน หรือศึกษาเรื่องใด ๆ อันอยู่ในอำนาจหน้าที่ของแต่ละสภา แล้วรายงานต่อสภาคณะกรรมาธิการมี ๒ ประเภท คือ คณะกรรมาธิการสามัญ และคณะกรรมาธิการวิสามัญ คณะกรรมาธิการสามัญประกอบด้วยบุคคลซึ่งเป็นสมาชิก ของสภาล้วน ๆ คณะกรรมาธิการวิสามัญประกอบด้วยบุคคล ผู้เป็นสมาชิกและบุคคลที่มิได้เป็นสมาชิกของสภารวมกัน หรือ บุคคลที่มิได้เป็นสมาชิกของสภาทั้งหมดที่สภาเลือกและตั้งเป็น คณะกรรมาธิการวิสามัญ.
  6. กระบวนการยุติธรรม : (กฎ) น. วิธีดําเนินการให้ความคุ้มครอง สิทธิเสรีภาพ และให้ความเป็นธรรมในทางกฎหมายแก่บุคคล โดยบุคลากรและองค์กร หรือสถาบันต่าง ๆ ซึ่งมีหน้าที่บริหาร งานยุติธรรม ได้แก่ พนักงานฝ่ายปกครองหรือตํารวจ พนักงานสอบสวน พนักงานอัยการ ทนายความ ศาลกระทรวงยุติธรรม และกรมราชทัณฑ์.
  7. คำร้องทุกข์ : (กฎ) น. คํากล่าวหาที่ผู้เสียหายได้แจ้งต่อพนักงานสอบสวนว่า มีผู้กระทําความผิด ซึ่งกระทําให้เกิดความเสียหายแก่ผู้เสียหาย โดยเจตนา จะให้ผู้กระทําความผิดได้รับโทษ; เรื่องที่ผู้ร้องทุกข์ซึ่งได้รับความ เดือดร้อนหรือเสียหายเนื่องมาจากเจ้าหน้าที่ของรัฐ ยื่นต่อคณะกรรมการ วินิจฉัยร้องทุกข์ ตามกฎหมายว่าด้วยคณะกรรมการกฤษฎีกา.
  8. ชันสูตร : [ชันนะสูด] ก. ตรวจสอบเพื่อหาสาเหตุหรือหลักฐาน ข้อเท็จจริง เช่น ชันสูตรบาดแผล ชันสูตรพลิกศพ, สอบสวนโดยเหตุผล.
  9. ชี้ตัว : (กฎ) น. กระบวนการทางการสอบสวนเพื่อหาตัว ผู้กระทําผิดโดยให้ผู้เสียหายหรือพยานชี้ว่าผู้ใดเป็นผู้ต้องหา.
  10. ต่อปาก : ก. เล่าสืบกันมา; พูดยันกันเพื่อสอบสวนฝ่ายผิดฝ่ายถูก.
  11. ถามปากคำ : (กฎ) ก. ซักถามเพื่อให้บุคคลให้การ โดยพนักงาน สอบสวนหรือพนักงานอัยการ เช่น ถามปากคําพยาน ถามปากคํา ผู้ต้องหา, (ปาก) สอบปากคํา.
  12. ท้องที่ : น. พื้นที่หรือถิ่นที่แห่งใดแห่งหนึ่ง เช่น ท้องที่จังหวัด ท้องที่อําเภอ ท้องที่ที่เกิดเหตุ ท้องที่ที่มีภูมิลําเนา; (กฎ) พื้นที่ ภายในเขตการปกครองส่วนภูมิภาค ได้แก่ จังหวัด อําเภอ กิ่งอําเภอ ตําบล และหมู่บ้าน; พื้นที่ที่อยู่ในเขตอํานาจของ พนักงานสอบสวนหรือศาล.
  13. บันทึก : ก. จดข้อความเพื่อช่วยความทรงจําหรือเพื่อเป็นหลักฐาน, จดหรือ ถ่ายทําไว้เพื่อช่วยความจําหรือเพื่อเป็นหลักฐาน, เช่น บันทึกรายงาน การประชุม บันทึกภาพ บันทึกเสียง, จดย่อ ๆ ไว้เพื่อให้รู้เรื่องเดิม; ย่นย่อ, ทําให้สั้น, เช่น บันทึกมรรคา. น. ข้อความที่จดไว้เพื่อช่วย ความทรงจํา; หรือเพื่อเป็นหลักฐาน, ข้อความที่นํามาจดย่อ ๆ ไว้ เพื่อให้รู้เรื่องเดิม(กฎ) หนังสือที่พนักงานฝ่ายปกครองหรือตํารวจ จดไว้เป็นหลักฐานในการสอบสวนความผิดอาญา รวมทั้งบันทึก คําร้องทุกข์และคํากล่าวโทษด้วย.
  14. ใบไต่สวน : (กฎ) น. หนังสือแสดงการสอบสวนเพื่อออกโฉนด ที่ดิน และหมายความรวมถึงใบนำด้วย.
  15. ปล่อยชั่วคราว : (กฎ) ก. ปล่อยผู้ต้องหาหรือจำเลยจากการควบคุม หรือขังชั่วระยะเวลาหนึ่งในระหว่างการสอบสวนหรือระหว่างการ พิจารณาของศาล.
  16. ปิดสำนวน : (ปาก) ก. ยุติการสอบสวนข้อเท็จจริงเกี่ยวกับคดี.
  17. เปรียบเทียบ : ก. พิจารณาเทียบเคียงให้เห็นลักษณะที่เหมือนกันและ ต่างกัน. (กฎ) น. การที่พนักงานสอบสวนหรือพนักงานเจ้าหน้าที่ตาม กฎหมายกําหนดค่าปรับผู้กระทําผิดในคดีอาญา ซึ่งกฎหมายกําหนด ให้เปรียบเทียบปรับได้ เมื่อผู้กระทําผิดยินยอมเสียค่าปรับแล้ว คดีอาญา เป็นอันเลิกกัน; การที่นายอําเภอเรียกผู้ถูกร้องมาไกล่เกลี่ยให้เลิกแล้ว ต่อกันในคดีแพ่งที่มีทุนทรัพย์ที่พิพาทไม่เกิน ๒๐,๐๐๐ บาท ซึ่งมูล คดีเกิดในอําเภอนั้น หรือผู้ถูกร้องมีภูมิลําเนาอยู่ในอําเภอนั้น ตาม กฎหมายว่าด้วยลักษณะปกครองท้องที่.
  18. ผู้ชำนาญการพิเศษ : (กฎ) น. ผู้มีความชํานาญพิเศษในการใด ๆ เช่น ในทางวิทยาศาสตร์ศิลปะ ฝีมือ พาณิชยการ การแพทย์ หรือ กฎหมายต่างประเทศ ซึ่งความเห็นของผู้นั้นอาจมีประโยชน์ใน การวินิจฉัยคดีในการสอบสวน ไต่สวนมูลฟ้องหรือพิจารณาคดี อาญาไม่ว่าผู้นั้นจะมีอาชีพในการนั้นหรือไม่ก็ตาม.
  19. วิมังสา : น. การสอบสวน, ความไตร่ตรอง, ความพิจารณา. (ป. วีมํสา; ส. มีมําสา).
  20. สนะ : [สะหฺนะ] น. เสื้อ; เครื่องสอบสวน; หนัง. ก. เย็บ, ชุน, ปัก.
  21. สอบปากคำ : ก. ซักถามเพื่อให้บุคคลให้การโดยพนักงานสอบสวน หรือพนักงานอัยการ เช่น สอบปากคําพยาน สอบปากคําผู้ต้องหา, กฎหมายใช้ว่า ถามปากคํา.
  22. หมายขัง : (กฎ) น. หมายอาญาที่ศาลสั่งให้ขังผู้ต้องหาหรือจําเลยไว้ระหว่าง สอบสวนไต่สวนมูลฟ้องหรือพิจารณา.
  23. หมายเรียก : (กฎ) น. ในคดีอาญา หมายถึง หมายสั่งให้บุคคลใดบุคคลหนึ่ง มาที่พนักงานสอบสวน หรือมาที่พนักงานฝ่ายปกครองหรือตํารวจชั้น ผู้ใหญ่ หรือมาศาลเนื่องในการสอบสวน การไต่สวนมูลฟ้อง การพิจารณา คดีหรือการอย่างอื่น ตามบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณา ความอาญา, ในคดีแพ่ง หมายถึง หมายซึ่งศาลออกเรียกบุคคลเข้ามาเป็น คู่ความในคดีแพ่ง หรือเรียกบุคคลมาเป็นพยาน หรือให้ส่งพยานหลักฐาน ให้ศาล; หมายที่นายอําเภอออกเรียกบุคคลที่เป็นทหารกองเกินมาตรวจ เลือกเข้าเป็นทหารกองประจําการ.
  24. [1-23]

(0.0109 sec)