Dictionary : English, Thai, Pali. Link : Lexitron, RoyDict, BudDict, ETipitaka, PpmDict, Longdo.
Search: สัญลักษณ์ .

Royal Institute Thai-Thai Dict : สัญลักษณ์, 132 found, display 1-50
  1. สัญลักษณ์ : [สันยะ] น. สิ่งที่กําหนดนิยมกันขึ้นเพื่อให้ใช้หมายความแทนอีกสิ่งหนึ่ง เช่น ตัวหนังสือเป็นสัญลักษณ์แทนเสียงพูด H เป็นสัญลักษณ์แทนธาตุ ไฮโดรเจน + - x ? เป็นสัญลักษณ์เครื่องหมายทางคณิตศาสตร์. (อ. symbol).
  2. กำมะถัน : น. ธาตุสีเหลือง ติดไฟง่าย กลิ่นเหม็นฉุน ใช้ทํายา ทําดินปืน ฯลฯ, สุพรรณถัน ก็ว่า; (วิทยา) ธาตุลําดับที่ ๑๖ สัญลักษณ์ S เป็นอโลหะ ลักษณะเป็นของแข็ง มีอัญรูปหลายแบบ ใช้ประโยชน์ได้มากมาย เช่น ในอุตสาหกรรมทํากรดซัลฟิวริก อุตสาหกรรมยาง ทําหัวไม้ขีดไฟ ดินปืน ดอกไม้เพลิง และ ยารักษาโรค, ยาประเภทซัลฟาและประเภทเพนิซิลลินก็มีธาตุกํามะถันเป็น องค์ประกอบด้วย. (อ. sulphur).
  3. แกโดลิเนียม : น. ธาตุลําดับที่ ๖๔ สัญลักษณ์ Gd เป็นโลหะที่หายากมาก ลักษณะเป็นของแข็ง หลอมละลายที่๑๓๑๒? ซ. (อ. gadolinium).
  4. แกลลอน : [แกน-] น. หน่วยวัดปริมาตรของอังกฤษ ๑ แกลลอน = ๔.๕๔๖๐๙ ลิตร (British Imperial gallon), หน่วยวัดปริมาตรของสหรัฐอเมริกา [แกน-] น. ธาตุลําดับที่ ๓๑ สัญลักษณ์ Ga เป็นโลหะสีขาวคล้ายเงิน
  5. แกลเลียม : [แกน-] น. ธาตุลําดับที่ ๓๑ สัญลักษณ์ Ga เป็นโลหะสีขาวคล้ายเงิน ลักษณะเป็นของแข็ง หลอมละลายที่ ๒๙.๗๘ บซ เดือดที่ ๒๑๐๐ บซ. ใช้ทําเทอร์โมมิเตอร์ชนิดใช้วัดอุณหภูมิสูง ๆ สารประกอบแกลเลียม อาร์เซไนด์ใช้ประโยชน์เป็นวัตถุกึ่งตัวนํา. (อ. gallium).
  6. คริปทอน : น. ธาตุลําดับที่ ๓๖ สัญลักษณ์ Kr เป็นแก๊สเฉื่อย มีปรากฏเพียง ๑ ใน ๖๗๐,๐๐๐ ส่วนในบรรยากาศ. (อ. krypton).
  7. คลอรีน : [คฺลอ-] น. ธาตุลําดับที่ ๑๗ สัญลักษณ์ Cl เป็นอโลหะ ลักษณะเป็นแก๊ส สีเขียวแกมเหลือง มีกลิ่นฉุนชวนสําลัก เป็นแก๊สพิษ ใช้ประโยชน์ในการ ฆ่าเชื้อโรคในนํ้าในอุตสาหกรรมผลิตกรดเกลือในการผลิตผงฟอกจาง ยาฆ่าแมลงหลายชนิด เช่น ดีดีที มีคลอรีนเป็นองค์ประกอบสําคัญ. (อ. chlorine).
  8. คาร์บอน : น. ธาตุลําดับที่ ๖ สัญลักษณ์ C เป็นอโลหะ ลักษณะเป็นของแข็ง มีหลายอัญรูป เช่น เพชร แกรไฟต์ คาร์บอนเป็นธาตุองค์ประกอบ ที่สําคัญที่สุดธาตุหนึ่งของสิ่งที่มีชีวิต. (อ. carbon).
  9. คูเรียม : น. ธาตุลําดับที่ ๙๖ สัญลักษณ์ Cm เป็นธาตุกัมมันตรังสีที่นักวิทยาศาสตร์ สร้างขึ้น ไม่มีปรากฏในธรรมชาติ. (อ. curium).
  10. แคดเมียม : น. ธาตุลําดับที่ ๔๘ สัญลักษณ์ Cd เป็นโลหะ ลักษณะเป็นของแข็ง สีเงิน เนื้ออ่อน หลอมละลายที่ ๓๒๑ํซ. เป็นตัวดูดกลืนอนุภาคนิวตรอน ได้ดี จึงทําเป็นแท่ง เรียกว่า แท่งควบคุมในเครื่องปฏิกรณ์นิวเคลียร์. (อ. cadmium).
  11. แคลเซียม : [แคน-] น. ธาตุลําดับที่ ๒๐ สัญลักษณ์ Ca เป็นโลหะ ลักษณะเป็น ของแข็งสีขาว เนื้ออ่อน หลอมละลายที่ ๘๓๘ํซ. เป็นองค์ประกอบ สําคัญของกระดูก ฟัน หินอ่อน หินปูน. (อ. calcium).
  12. แคลิฟอร์เนียม : น. ธาตุลําดับที่ ๙๘ สัญลักษณ์ Cf เป็นธาตุกัมมันตรังสีที่นักวิทยาศาสตร์ สร้างขึ้น ไม่มีปรากฏในธรรมชาติ. (อ. californium).
  13. โคบอลต์ : น. ธาตุลําดับที่ ๒๗ สัญลักษณ์ Co เป็นโลหะแข็งสีเงิน หลอมละลายที่ ๑๔๙๕ํซ. ใช้ประโยชน์นําไปผสมกับโลหะอื่นให้เป็นโลหะเจือเพื่อให้มี สมบัติพิเศษบางประการ เช่น ผสมกับเหล็กทําให้มีความแข็งแกร่งยิ่งขึ้น และเมื่อนําไปทําเป็นแม่เหล็กก็จะได้แม่เหล็กที่มีกําลังมากเป็นพิเศษ ใน อุตสาหกรรมเครื่องแก้วและเครื่องดินเผาใช้สารประกอบของโคบอลต์ เป็นตัวให้สีนํ้าเงิน. (อ. cobalt).
  14. โครเมียม : น. ธาตุลําดับที่ ๒๔ สัญลักษณ์ Cr เป็นโลหะแข็งสีเงิน หลอม ละลายที่ ๑๘๗๕?ซ.ใช้ประโยชน์ในอุตสาหกรรมผลิตเหล็กกล้า ไม่เป็นสนิม อุตสาหกรรมผลิตเหล็กกล้าที่มีความแข็งแรงเป็น พิเศษเพื่อใช้ทําเครื่องมือช่าง และในอุตสาหกรรมชุบโลหะ ด้วยโครเมียม. (อ. chromium).
  15. เงิน : น. ธาตุลําดับที่ ๔๗ สัญลักษณ์ Ag เป็นโลหะสีขาว เนื้อค่อนข้างอ่อน หลอมละลายที่ ๙๖๐.๘?ซ. (อ. silver); วัตถุที่ใช้วัดราคาในการซื้อขาย แลกเปลี่ยนกัน, วัตถุที่มีตราของรัฐ ใช้ชําระหนี้ได้ตามกฎหมาย, ได้แก่ เหรียญกระษาปณ์และธนบัตร, เงินตรา ก็เรียก; โบราณใช้ว่า งึน เง็น หรือ เงือน ก็มี; (เศรษฐ) วัตถุที่กําหนดให้ใช้เป็นสื่อกลางในการแลกเปลี่ยน หรือชําระหนี้. (อ. money).
  16. เจอร์เมเนียม : น. ธาตุลําดับที่ ๓๒ สัญลักษณ์ Ge เป็นโลหะสีขาว เปราะ หลอมละลายที่ ๙๓๗.๔?ซ. มีสมบัติเป็นกึ่งตัวนํา สารประกอบแมกนีเซียมเจอร์เมเนต ใช้ประโยชน์ในหลอดวาวแสง (fluorescent lamp). (อ. germanium).
  17. ซาแมเรียม : น. ธาตุลําดับที่ ๖๒ สัญลักษณ์ Sm เป็นโลหะหายาก ลักษณะ เป็นของแข็ง หลอมละลายที่ ๑๐๗๒ํซ. (อ. samarium).
  18. ซิลิคอน : น. ธาตุลําดับที่ ๑๔ สัญลักษณ์ Si เป็นอโลหะ ลักษณะเป็นของแข็ง หลอมละลายที่ ๑๔๑๐บซ. เปลือกโลกประกอบด้วยธาตุนี้ประมาณ ร้อยละ ๒๕. (อ. silicon).
  19. ซีเซียม : น. ธาตุลําดับที่ ๕๕ สัญลักษณ์ Cs เป็นโลหะสีเงิน ไวต่อปฏิกิริยา เคมีมาก หลอมละลายที่ ๒๘.๗?ซ. (อ. caesium, cesium).
  20. ซีนอน : น. ธาตุลําดับที่ ๕๔ สัญลักษณ์ Xe เป็นแก๊สเฉื่อย มีปรากฏเพียง ๐.๐๐๖ ใน ๑ ล้านส่วนในบรรยากาศ. (อ. xenon).
  21. ซีเรียม : น. ธาตุลําดับที่ ๕๘ สัญลักษณ์ Ce เป็นโลหะสีเทา เนื้ออ่อน หลอมละลายที่ ๘๐๔?ซ. (อ. cerium).
  22. ซีลีเนียม : น. ธาตุลําดับที่ ๓๔ สัญลักษณ์ Se เป็นอโลหะ มีสมบัติทางเคมี คล้ายกับธาตุกํามะถัน ลักษณะเป็นของแข็ง หลอมละลายที่ ๒๑๗?ซ. ใช้ประโยชน์ทําเซลล์ไฟฟ้าชนิดที่ใช้พลังงานแสง. (อ. selenium).
  23. เซอร์โคเนียม : น. ธาตุลําดับที่ ๔๐ สัญลักษณ์ Zr เป็นโลหะหายาก ลักษณะเป็น ของแข็ง หลอมละลายที่ ๑๘๕๒บซ. (อ. zirconium).
  24. โซเดียม : น. ธาตุลําดับที่ ๑๑ สัญลักษณ์ Na เป็นโลหะสีขาวคล้ายโลหะเงิน เนื้ออ่อน หลอมละลายที่ ๙๗.๘บซ. สารประกอบสําคัญของธาตุนี้ ที่พบมาก คือ เกลือแกง. (อ. sodium).
  25. ดิสโพรเซียม : น. ธาตุลําดับที่ ๖๖ สัญลักษณ์ Dy เป็นโลหะ ลักษณะเป็นของแข็ง หลอม ละลายที่ ๑๔๐๗๐ซ. (อ. dysprosium).
  26. ดีบุก : น. ธาตุลําดับที่ ๕๐ สัญลักษณ์ Sn เป็นโลหะ ลักษณะเป็นของแข็งสีขาว คล้ายโลหะเงิน เนื้ออ่อน หลอมละลายที่ ๒๓๑.๙๐ซ. มี ๓ อัญรูป คือ ดีบุก สีเทา ดีบุกสีขาว และดีบุกรอมบิก ใช้ประโยชน์ฉาบผิวเหล็กเพื่อกันไม่ให้ เป็นสนิม ใช้ทําโลหะเจือ แผ่นดีบุกบาง ๆ ใช้สําหรับห่อของเพื่อกันชื้น. (ป. ติปุ; ส. ตฺรปุ; อ. tin).
  27. ตะกั่ว : น. แร่จําพวกโลหะ มีลักษณะอ่อน ละลายตัวง่าย มีหลายชนิดด้วยกัน ได้แก่ ตะกั่วเกรียบ คือ ตะกั่วกรอบ ตะกั่วนม คือ ตะกั่วอ่อน; (โบ) ดีบุก เช่น ตะกั่วทุ่ง ตะกั่วป่า (วิทยา) ธาตุลําดับที่ ๘๒ สัญลักษณ์ Pb เป็นโลหะสีขาวแกมนํ้าเงิน ลักษณะเป็นของแข็งเนื้ออ่อน หลอมละลายที่ ๓๒๗.๔?ซ. ใช้ประโยชน์ผสมกับ โลหะอื่นให้เป็นโลหะเจือ สารประกอบของตะกั่วใช้ในอุตสาหกรรมสีทา ตะกั่ว และสารประกอบของตะกั่วเป็นพิษต่อร่างกาย. (อ. lead).
  28. ทองคำ : น. ธาตุลําดับที่ ๗๙ สัญลักษณ์ Au เป็นโลหะ ลักษณะเป็น ของแข็งสีเหลือง หลอมละลายที่ ๑๐๖๓?ซ. เนื้ออ่อนมาก บุให้เป็น แผ่นจนมีความหนาน้อยกว่า ๐.๐๐๐๑ มิลลิเมตรได้ ใช้ทํารูปพรรณ ต่าง ๆ และทําเงินตรา ปัจจุบันกําหนดความบริสุทธิ์ของทองคําด้วย หน่วยกะรัต โดยกําหนดว่า ทองคํา ๒๔ กะรัตเป็นทองคําบริสุทธิ์ที่สุด, โบราณกําหนดคุณภาพของเนื้อ ตั้งแต่เนื้อสี่ถึงเนื้อเก้า โดยตั้งพิกัด ราคาตามเนื้อทอง เช่น ทองเนื้อหก คือ ทองหนัก ๑ บาท ราคา ๖ บาท ทองเนื้อเก้า คือ ทองหนัก ๑ บาท ราคา ๙ บาท. (ประกาศ ร. ๔), ทองเนื้อเก้านี้เป็นทองแท้เป็นทองบริสุทธิ์ เรียกว่า ทองธรรมชาติ ทองเนื้อแท้ ทองนพคุณ หรือบางทีเรียกว่า ทองชมพูนุท เช่นว่า ดังทองชมพูนุทเนื้อเก้า. (สังข์ทอง ตอนตีคลี). (อ. gold).
  29. ทองแดง ๑ : น. ธาตุลําดับที่ ๒๙ สัญลักษณ์ Cu เป็นโลหะ ลักษณะ เป็นของแข็งสีแดง หลอมละลายที่ ๑๐๘๓?ซ. เนื้ออ่อนบุให้เป็น แผ่นบางและรีดเป็นเส้นลวดได้ง่าย เป็นตัวนําความร้อนและไฟฟ้า ได้ดี. (อ. copper).
  30. ทอเรียม : น. ธาตุลําดับที่ ๙๐ สัญลักษณ์ Th เป็นโลหะ ลักษณะ เป็นของแข็งสีเทาเข้ม หลอมละลายที่ ๑๗๕๐?ซ. เป็น ธาตุกัมมันตรังสีใช้ประโยชน์นําไปผสมกับโลหะอื่นให้ เป็นโลหะเจือ. (อ. thorium).
  31. ทังสเตน : น. ธาตุลําดับที่ ๗๔ สัญลักษณ์ W เป็นโลหะ ลักษณะเป็นของแข็ง สีเทา หลอมละลายที่ ๓๔๑๐?ซ. ใช้ประโยชน์เป็นไส้หลอดไฟฟ้า ผสมกับโลหะอื่นให้เป็นโลหะเจือ, วุลแฟรม ก็เรียก. (อ. tungsten).
  32. ทูเลียม : น. ธาตุลําดับที่ ๖๙ สัญลักษณ์ Tm เป็นโลหะ ลักษณะเป็นของแข็ง หลอมละลายที่ ๑๕๔๕?ซ. (อ. thulium).
  33. เทคนีเชียม : น. ธาตุลําดับที่ ๔๓ สัญลักษณ์ Tc เป็นธาตุกัมมันตรังสีที่นัก วิทยาศาสตร์สร้างขึ้น ไม่มีปรากฏในธรรมชาติ. (อ. technetium).
  34. เทลลูเรียม : น. ธาตุลําดับที่ ๕๒ สัญลักษณ์ Te ลักษณะเป็นของแข็ง สีขาว คล้ายเงิน มีสมบัติทางเคมีคล้ายธาตุกํามะถัน หลอมละลายที่ ๔๔๙.๕?ซ. มีหลายอัญรูป ใช้ประโยชน์ผสมกับโลหะอื่นให้เป็น โลหะเจือ และใช้ในอุตสาหกรรมทําแก้วสี. (อ. tellurium).
  35. เทอร์เบียม : น. ธาตุลําดับที่ ๖๕ สัญลักษณ์ Tb เป็นโลหะ ลักษณะเป็นของแข็ง หลอมละลายที่ ๑๓๕๖?ซ. (อ. terbium).
  36. แทนทาลัม : น. ธาตุลําดับที่ ๗๓ สัญลักษณ์ Ta เป็นโลหะสีขาวแกมเทา ลักษณะ เป็นของแข็ง หลอมละลายที่ ๒๙๙๖?ซ. ใช้ประโยชน์เป็นไส้หลอด ไฟฟ้า ผสมกับโลหะอื่นให้เป็นโลหะเจือ. (อ. tantalum).
  37. แทลเลียม : น. ธาตุลําดับที่ ๘๑ สัญลักษณ์ Tl เป็นโลหะ ลักษณะเป็นของแข็ง สีขาว หลอมละลายที่ ๓๐๓?ซ. ใช้ประโยชน์นําไปผสมกับโลหะ อื่นให้เป็นโลหะเจือ. (อ. thallium).
  38. ไทเทเนียม : น. ธาตุลําดับที่ ๒๒ สัญลักษณ์ Ti เป็นโลหะ ลักษณะเป็นของแข็ง หลอมละลายที่ ๑๖๖๘?ซ. ใช้ประโยชน์นําไปผสมกับโลหะอื่นให้ เป็นโลหะเจือ. (อ. titanium).
  39. นิกเกิล : น. ธาตุลําดับที่ ๒๘ สัญลักษณ์ Ni เป็นโลหะ ลักษณะเป็นของแข็ง สีเงิน หลอมละลายที่ ๑๔๕๓?ซ. ใช้ประโยชน์นําไปผสมกับโลหะ อื่นให้เป็นโลหะเจือ ชุบฉาบผิวโลหะอื่นเป็นต้น. (อ. nickel).
  40. นีออน : น. ธาตุลําดับที่ ๑๐ สัญลักษณ์ Ne เป็นแก๊สเฉื่อย มีปรากฏเพียง ๑ ใน ๕๕,๐๐๐ ส่วนในบรรยากาศ. (อ. neon); (ปาก) เรียกหลอดไฟเรืองแสง ที่ให้ความสว่างหรือโฆษณาว่า หลอดนีออน.
  41. นีโอดิเมียม : น. ธาตุลําดับที่ ๖๐ สัญลักษณ์ Nd เป็นโลหะ ลักษณะเป็นของแข็ง สีเหลืองอ่อน ๆ หลอมละลายที่ ๑๐๒๔?ซ. (อ. neodymium).
  42. เนปทูเนียม : น. ธาตุลําดับที่ ๙๓ สัญลักษณ์ Np เป็นธาตุกัมมันตรังสีที่นักวิทยาศาสตร์ สร้างขึ้นไม่มีปรากฏในธรรมชาติ เป็นโลหะ ลักษณะเป็นของแข็งสีเงิน. (อ. neptunium).
  43. โนเบเลียม : น. ธาตุลําดับที่ ๑๐๒ สัญลักษณ์ No เป็นธาตุกัมมันตรังสีที่ นักวิทยาศาสตร์สร้างขึ้น ไม่มีปรากฏในธรรมชาติ. (อ. nobelium).
  44. ไนโตรเจน : น. ธาตุลําดับที่ ๗ สัญลักษณ์ N เป็นอโลหะ ลักษณะเป็นแก๊ส ไม่มีสี ไม่มีกลิ่น ไม่ไวต่อปฏิกิริยาเคมี มีปรากฏอยู่ประมาณร้อยละ ๘๐ ใน บรรยากาศ ธาตุนี้มีความสําคัญยิ่งต่อสิ่งมีชีวิต โดยเป็นองค์ประกอบ สําคัญของโปรตีนและกรดนิวคลิอิก. (อ. nitrogen).
  45. ไนโอเบียม : น. ธาตุลําดับที่ ๔๑ สัญลักษณ์ Nb เป็นโลหะหายาก ลักษณะเป็นของแข็ง สีเทา หลอมละลายที่ ๒๔๖๘?ซ. ใช้ประโยชน์นําไปเจือเหล็กกล้าไม่เป็น สนิม เพื่อทําให้มีสมบัติคงทนต่อการผุกร่อน และทนต่ออุณหภูมิสูง ๆ ได้ดี. (อ. niobium).
  46. บิสมัท : น. ธาตุลําดับที่ ๘๓ สัญลักษณ์ Bi เป็นโลหะ ลักษณะเป็นของแข็ง สีขาวอมแดง เปราะ หลอมละลายที่ ๒๗๑.๓?ซ. เป็นตัวนําความ ร้อนและไฟฟ้าที่เลว มีสมบัติพิเศษ คือ ขยายตัวเมื่อแข็งตัว ใช้ ประโยชน์นําไปผสมกับโลหะอื่นให้เป็นโลหะเจือ ซึ่งหลอมละลาย ที่อุณหภูมิตํ่า. (อ. bismuth).
  47. เบริลเลียม : น. ธาตุลําดับที่ ๔ สัญลักษณ์ Be เป็นโลหะ ลักษณะเป็นของแข็ง สีขาว หลอมละลายที่ ๑๒๗๗ ?ซใช้ประโยชน์นําไปผสมกับโลหะ อื่นให้เป็นโลหะเจือ ซึ่งทนทานต่อการผุกร่อน. (อ. beryllium).
  48. เบอร์คีเลียม : น. ธาตุลําดับที่ ๙๗ สัญลักษณ์ Bk เป็นธาตุกัมมันตรังสีที่ นักวิทยาศาสตร์สร้างขึ้น ไม่มีปรากฏในธรรมชาติ. (อ. berkelium).
  49. แบเรียม : น. ธาตุลําดับที่ ๕๖ สัญลักษณ์ Ba เป็นโลหะ ลักษณะเป็นของแข็ง สีเงิน เนื้ออ่อน เมื่อถูกอากาศสีจะหมองลงอย่างรวดเร็ว หลอม ละลายที่ ๗๑๔?ซ. สารประกอบของแบเรียมใช้ในอุตสาหกรรม สีทา แก้ว และดอกไม้ไฟ. (อ. barium).
  50. โบรมีน : น. ธาตุลําดับที่ ๓๕ สัญลักษณ์ Br เป็นอโลหะ ลักษณะเป็นของเหลว สีแดงเข้ม ระเหยเป็นไอได้ง่าย มีกลิ่นฉุนจัด เป็นพิษ ระคายเยื่อจมูก เดือดที่ ๕๘.๘ ?ซ. สารประกอบของโบรมีนใช้เป็นยาและใช้ในการ ถ่ายรูป. (อ. bromine).
  51. [1-50] | 51-100 | 101-132

(0.0263 sec)