Dictionary : English, Thai, Pali. Link : Lexitron, RoyDict, BudDict, ETipitaka, PpmDict, Longdo.
Search: สัตว์ .

Royal Institute Thai-Thai Dict : สัตว์, 678 found, display 1-50
  1. สัตว, สัตว์ : [สัดตะวะ, สัด] น. สิ่งมีชีวิตซึ่งแตกต่างไปจากพรรณไม้ ส่วนมาก มีความรู้สึกและเคลื่อนไหวย้ายที่ไปได้เอง, ความหมายที่ใช้กันเป็น สามัญหมายถึง สัตว์ที่ไม่ใช่คน, เดรัจฉาน. (ส. สตฺตฺว; ป. สตฺต).
  2. สัตว์หิมพานต์ : [หิมมะ] น. สัตว์ในวรรณคดีที่เชื่อกันว่าอยู่ในป่า หิมพานต์ เช่น คชสีห์ กินนร นรสิงห์, รูปหุ่นที่ผูกเป็นรูปสัตว์ใน วรรณคดี ใช้บรรทุกผ้าไตรแห่เข้าขบวนพระบรมศพในสมัยโบราณ.
  3. ขนสัตว์ : น. เรียกผ้าที่ทอจากขนของสัตว์บางชนิดเช่นแกะว่า ผ้าขนสัตว์.
  4. ชันตุ : (แบบ) น. สัตว์เกิด, สัตว์, คน, ต้นไม้. (ป., ส.).
  5. ปราณี : [ปฺรานี] น. ผู้มีชีวิต, สัตว์, คน. (ส. ปฺราณิ, ปฺราณินฺ; ป. ปาณี).
  6. โปรดสัตว์ : ก. สงเคราะห์สัตว์, (ปาก) เรียกลักษณะที่พระออกรับ บิณฑบาตว่า พระไปโปรดสัตว์.
  7. โปรดสัตว์ได้บาป : (สํา) ก. ทําดีแต่กลับได้ชั่ว, มักพูดเข้าคู่กับ ทําคุณบูชาโทษ ว่า ทําคุณบูชาโทษ โปรดสัตว์ได้บาป.
  8. เรือรูปสัตว์ : น. เรือหลวง มีทั้งประเภทเรือที่ขุดขึ้นจากซุงทั้งต้นกับเรือ เสริมกราบ มีลักษณะพิเศษตรงศีรษะเรือต่อไม้ขึ้นไปแล้วสลักเป็นรูป สัตว์หิมพานต์ หรือรูปอมนุษย์ต่าง ๆ เช่น ครุฑ อสุรปักษา พญานาค ตอนท้ายเรือต่อไม้ทำเป็นทวนเชิดงอนไปล่ปลิวไปทางด้านหลัง เช่น เรือเอกไชยเหินหาว เรือพาลีรั้งทวีปเรือครุฑเหินระเห็จ เรืออสุรปักษี, บางทีเรียกว่า เรือกระบวนปิดทอง.
  9. ละครสัตว์ : น. การแสดงของสัตว์ต่าง ๆ ที่ฝึกไว้ดีแล้ว โดยมีการ แสดงของคณะกายกรรมประกอบด้วย.
  10. อสัญญีสัตว์ : น. พรหมพวกหนึ่งมีรูปแต่ไม่มีสัญญา ดังมีกล่าวไว้ ในไตรภูมิกถา. (ป. อส?ฺ??สตฺต).
  11. กระ ๓ : น. จุดดำ ๆ หรือจุดน้ำตาลขึ้นประปรายที่ผิวกายคน สัตว์ หรือสิ่งอื่น ๆ, ประ ก็ว่า.
  12. กลุ่ม : [กฺลุ่ม] น. คน สัตว์ หรือสิ่งต่าง ๆ ที่รวมกันเป็นหมู่ ๆ หรือเป็นกลุ่มก้อน เช่น กลุ่มคน กลุ่มมด กลุ่มดาว กลุ่มด้าย; อาการที่เข้ามารวมกันเช่นนี้ เรียกว่า จับกลุ่ม; ลักษณนามเรียก ของที่เป็นกลุ่ม เช่น ด้าย ๓ กลุ่ม.
  13. แกร็น : [แกฺร็น] ว. ไม่เจริญเติบโตตามปรกติ (ใช้แก่คน สัตว์ และพืช).
  14. โฉลก : [ฉะโหฺลก] น. โชค, โอกาส; ลักษณะซึ่งมีทั้งส่วนดีและส่วนไม่ดี ถ้าดี เรียกว่า ถูกโฉลกถ้าไม่ดีเรียกว่า ไม่ถูกโฉลก มักกำหนดด้วยการดูลักษณะ วัดขนาด นับ จำนวน เป็นต้นของคน สัตว์ สิ่งของ ว่าเป็นมงคลหรือไม่เป็น มงคล, อีสานเรียก โสก; ชื่อเพลงไทยทำนองหนึ่ง, โฉลกแรก ก็ว่า.
  15. ชื่อ : น. คําที่ตั้งขึ้นสําหรับเรียกคน สัตว์ สถานที่ และสิ่งของ โดยทั่ว ๆ ไปหรือโดยเฉพาะเจาะจง.
  16. ตกกระ : ว. มีลักษณะเป็นจุดดํา ๆ เล็กบ้างโตบ้างที่ผิวกาย คน สัตว์ หรือสิ่งอื่น ๆ.
  17. ตัว ๑ : น. รูป, ตน, ตนเอง, คําใช้เรียกแทนคน สัตว์ และสิ่งของบางอย่าง เช่น ตัวละคร ตัวหนังสือ; ลักษณนามใช้เรียกสัตว์และสิ่งของบางอย่าง เช่น ม้า ๕ ตัว ตะปู ๓ ตัว เสื้อ ๒ ตัว; ใช้เรียกผู้ที่ตนพูดด้วยในฐานะคนเสมอกันที่สนิทกัน เช่น ตัวจะไปไหม. ตัวกลั่น น. ผู้ที่เลือกสรรแล้ว. ตัวกลาง (วิทยา) น. สิ่งที่แสงหรือเสียงหรือคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าต้องเคลื่อนที่ผ่าน. ตัวการ น. ผู้ก่อเหตุ; (กฎ) ตามกฎหมายอาญา ตัวการหมายความถึงบุคคล ตั้งแต่ ๒ คนขึ้นไป ซึ่งร่วมกระทำความผิดด้วยกัน; ตามกฎหมายแพ่ง ตัวการหมายความถึงบุคคลซึ่งมอบอำนาจโดยตรงหรือโดยปริยายให้ บุคคลอีกคนหนึ่งทำการแทนตน. ตัวเก็ง น. ผู้ ตัว หรือสิ่งที่คาดหมายไว้อย่างมั่นใจ. ตัวโค น. ชื่อหนึ่งของดาวฤกษ์อารทรา มี ๑ ดวง, ดาวตาสําเภา ดาวอทระ หรือ ดาวอัททา ก็เรียก. ตัวใครตัวมัน ว. ต่างคนต่างเอาตัวรอดแต่ลําพัง. ตัวเงิน น. เงินสด. ตัวเงินตัวทอง (ปาก) น. เหี้ย. ตัวจักรใหญ่ (สํา) น. บุคคลซึ่งเป็นสมองหรือเป็นหัวหน้าในการดําเนินกิจการ. ตัวจำนำ น. ตัวแทนที่ให้อยู่เป็นประกันในความซื่อตรงมั่นคงของผู้เป็น หัวหน้าหรือประมุข. ตัวเชิด น. ผู้ที่ถูกใช้ให้ออกหน้าแทน. ตัวดี น. ตัวสําคัญ, ตัวต้นเหตุ, (มักใช้ในเชิงประชด). ตัวต่อตัว น. หนึ่งต่อหนึ่ง (มักใช้ในการต่อสู้). ตัวตั้ง ๑ (ปาก) น. คําตั้ง. ตัวตั้งตัวตี น. ผู้เป็นหัวเรี่ยวหัวแรงในการทํากิจกรรมต่าง ๆ, ผู้ที่ตั้งตัวเป็น หัวหน้าในการทํางานอย่างออกหน้าออกตา. ตัวตายตัวแทน (สํา) น. ผู้ที่รับช่วงทํางานติดต่อกันไปไม่ขาดตอน. ตัวเต็ง น. ตัวที่มีนํ้าหนักในการคาดหมายว่าจะชนะมากกว่าตัวอื่น ๆ. ตัวถัง น. ส่วนของรถยนต์ที่ใช้รับน้ำหนักบรรทุก มี ๒ ประเภท คือ ตัวถัง แบบมีโครงแชสซีและตัวถังแบบไม่มีโครงแชสซี. ตัวแทน (กฎ) น. บุคคลผู้มีอํานาจทําการแทนบุคคลอื่น; ชื่อสัญญาซึ่งให้ บุคคลคนหนึ่ง เรียกว่า ตัวแทน มีอํานาจทําการแทนบุคคลอีกคนหนึ่ง เรียกว่า ตัวการ และตัวแทนตกลงจะทําการนั้น. ตัวแทนค้าต่าง (กฎ) น. บุคคลซึ่งในทางค้าขาย ทําการซื้อ หรือขายทรัพย์สิน หรือรับจัดทํากิจการค้าอย่างอื่นในนามของตนเองต่างตัวการ. ตัวแทนช่วง (กฎ) น. บุคคลซึ่งได้รับแต่งตั้งจากตัวแทนอีกต่อหนึ่งให้กระทํา การแทนตัวการ. ตัวแทนเชิด (กฎ) น. ตัวแทนที่ไม่ได้รับแต่งตั้งจากตัวการโดยตรง แต่ถูก ตัวการเชิดให้เป็นตัวแทนของตน หรือตัวการรู้แล้วยอมให้ตัวแทนเชิดตัวเอง ออกแสดงเป็นตัวแทน. ตัวนาง น. ผู้แสดงละครรําหรือระบํา เข้าเครื่องละครรํา ใช้ลีลาท่ารําแบบ หญิง, นางเอกในเรื่องลิเก ละคร. ตัวนำ (ฟิสิกส์) น. สารที่กระแสไฟฟ้าหรือความร้อนผ่านไปได้ง่าย. ตัวประกอบ ๑ น. ผู้แสดงบทบาทไม่สําคัญในภาพยนตร์ ละคร เป็นต้น เพียง ประกอบบทบาทของตัวเอกเท่านั้น. ตัวประกัน น. บุคคลที่ถูกยึดหน่วงตัวไว้เพื่อใช้ต่อรอง. ตัวปลิง น. เหล็กที่ทำเป็นหมุดแหลมโค้งสำหรับตอกเพลาะกระดานยึดให้ แน่นสนิท, เขี้ยวตะขาบ ตะปลิง หรือ ปลิง ก็เรียก. ตัวเป็นเกลียว (สํา) ว. อาการที่ทำงานอย่างขยันขันแข็งมากจนไม่มีเวลาได้ พักผ่อน; แสดงกิริยาท่าทางด้วยความรู้สึกรุนแรง เช่น ครั้นได้ข่าวผัวตัวเป็น เกลียว. (ไกรทอง). ตัวเปล่า ว. ยังไม่มีครอบครัว เช่น ฉันยังตัวเปล่าอยู่, ตัวเปล่าเล่าเปลือย ก็ว่า, ลําพังตัวไม่ได้มีอะไรมาด้วย เช่น มาตัวเปล่า เดินตัวเปล่า. ตัวเปล่าเล่าเปลือย ว. ยังไม่มีครอบครัว เช่น เธอไม่ใช่คนตัวเปล่าเล่าเปลือยนะ, ตัวเปล่า ก็ว่า, ไร้ญาติขาดมิตร เช่น เขาเป็นคนตัวเปล่าเล่าเปลือย. undefined ตัวผู้ น. เพศผู้ (ใช้เฉพาะสัตว์และพืชบางชนิด) เช่น แมวตัวผู้; เรียกสิ่งของ บางอย่างที่มีรูปแหลมยาว เช่น เกลือตัวผู้, เรียกสิ่งที่มีเดือยสําหรับสอด เช่น กระเบื้องตัวผู้ นอตตัวผู้, เรียกต้นไม้ที่ไม่มีผลตลอดไป เช่น มะละกอตัวผู้. ตัวพระ น. ผู้แสดงละครรําหรือระบํา เข้าเครื่องละครรํา ใช้ลีลาท่ารําแบบชาย, พระเอกในเรื่องลิเก ละคร. ตัวพิมพ์ น. ตัวอักษรที่หล่อด้วยตะกั่วใช้เรียงพิมพ์ มีหลายชนิด เช่น ตัวโป้ง ตัวฝรั่งเศส; เรียกตัวพิมพ์ใหญ่ในภาษาอังกฤษ. ตัวเมีย น. เพศเมีย (ใช้เฉพาะสัตว์และพืชบางชนิด) เช่น แมวตัวเมีย; เรียก สิ่งของบางอย่างที่มีรูหรือขอรับให้สิ่งอื่นเกาะหรือสอดเข้าได้ เช่น กระเบื้อง ตัวเมีย นอตตัวเมีย. ตัวเมือง น. ย่านใจกลางเมือง มักมีแม่นํ้าหรือกําแพงล้อมรอบ. ตัวไม้ น. ไม้ที่แต่งไว้เพื่อคุมกันเข้าเป็นเรือนเป็นต้น. ตัวยืน น. ผู้ที่ถูกกําหนดให้เป็นตัวหลัก สําหรับให้คนอื่นมาเป็นคู่ชิงตําแหน่ง (ใช้แก่กีฬา); ผู้ที่เป็นหลักในการงานอย่างใดอย่างหนึ่ง, ตัวยืนโรง หรือ ตัวยืนพื้น ก็ว่า. ตัวร้อน น. อาการของร่างกายที่มีอุณหภูมิสูงกว่าปรกติ. ตัวละคร (วรรณ) น. ผู้มีบทบาทในวรรณกรรมประเภทละคร นวนิยาย เรื่องสั้น และเรื่องแต่งประเภทต่าง ๆ. ตัวสะกด น. พยัญชนะท้ายคําหรือพยางค์ที่ทําหน้าที่บังคับเสียงให้เป็นไป ตามมาตราต่าง ๆ เช่น น เป็นตัวสะกดในมาตรากน. ตัวสำคัญ (ปาก) น. ตัวร้าย เช่น เด็กคนนี้แหละตัวสำคัญนัก ชอบรังแกเพื่อน. ตัวหนังสือ น. สัญลักษณ์แทนเสียงหรือคําพูด. ตัวอย่าง น. สิ่งที่นํามาอ้างเพื่อแสดงให้เห็นลักษณะที่เป็นส่วนรวมทั้งหมด เช่น ยกตัวอย่าง. ว. ที่แสดงแบบอย่างหรือคุณภาพเป็นต้นแทนส่วนทั้งหมด ของสิ่งนั้น ๆ เช่น ของตัวอย่าง, ที่ทําให้เห็นเป็นแบบอย่างที่ดี เช่น ครูตัวอย่าง นาตัวอย่าง. ตัวเอ้ น. หัวโจก. ตัวเอก น. ผู้ที่มีบทบาทเด่นในเรื่องลิเก ละคร เป็นต้น.
  18. นาม, นาม : [นามมะ] น. ชื่อ, ราชาศัพท์ใช้ว่า พระนาม; คําชนิดหนึ่งในไวยากรณ์ สําหรับเรียกคน สัตว์ และสิ่งของต่าง ๆ; สิ่งที่ไม่ใช่รูป คือ จิตใจ, คู่กับ รูป. (ป.).
  19. น้ำมัน : น. ของเหลวที่มีลักษณะเป็นมันลื่น ไม่ละลายน้ำ สกัดจากพืช สัตว์ แร่บางชนิด เช่น ถ่านหิน, หรือที่สูบขึ้นมาจากแหล่งกำเนิด, โดย ปริยายหมายถึงสิ่งที่มีลักษณะคล้ายคลึงเช่นนั้น เช่น น้ำมันใส่ผม. (อ. oil).
  20. เนื้อร้าย ๒ : น. เนื้อเป็นโรค เกิดแก่ คน สัตว์ และต้นไม้ หรือแผลที่เป็น มะเร็ง มีอาการต่าง ๆ.
  21. ปศุ : [ปะสุ] น. สัตว์เลี้ยงสําหรับใช้แรงงาน เช่น ช้าง ม้า วัว ควาย บางทีก็รวมถึงสัตว์เลี้ยงที่ใช้เป็นอาหารด้วย เช่น แพะ แกะ หมู, มักใช้ประกอบคํา สัตว์ เป็น ปศุสัตว์. (ส.; ป. ปสุ).
  22. พวก : น. คน สัตว์ หรือสิ่งต่าง ๆ ที่รวมกันเข้าเป็นกลุ่มเป็นหมู่ตามอาชีพ หรือชนิดเป็นต้น เช่น พวกนักเรียน พวกพ่อค้า พวกกรรมกร พวก นก พวกกา พวกเครื่องมือ พวกเครื่องเขียน.
  23. ฟ้าผ่า : น. ปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นเนื่องจากอิเล็กตรอนจํานวนมาก เคลื่อนที่ระหว่างเมฆกับพื้นโลก เกิดพลังงานสูงมากจนสามารถ ทําลายสิ่งที่กีดขวาง เช่น คน สัตว์ ต้นไม้ บ้านเรือน; โดยปริยาย หมายความว่า คําสั่งด่วนที่ออกมาโดยไม่คาดหมายและไม่รู้เหตุผล.
  24. เภกะ, เภคะ : น. กบ (สัตว์). (ป., ส.).
  25. เภสัชเวท : [เพสัดชะเวด] น. วิทยาศาสตร์แขนงที่ว่าด้วยยาที่ได้จากพืช สัตว์ และแร่ธาตุโดยตรง หรือสารที่เกิดจากสิ่งเหล่านั้น, วิทยาศาสตร์ แขนงที่ว่าด้วยสมุนไพร.
  26. มณฑก ๑ : [-ทก] น. กบ (สัตว์), ใช้ว่า มัณฑุก หรือ มณฑุก ก็มี. (ป., ส. มณฺฑูก).
  27. มัณฑุก- : [มันทุกะ-] น. กบ (สัตว์). (ป., ส. มณฺฑูก).
  28. ยาสมุนไพร : (กฎ) น. ยาที่ได้จากพฤกษชาติ สัตว์ หรือแร่ ซึ่งมิได้ผสม ปรุง หรือแปรสภาพ.
  29. เยีย ๑ : น. เรียกไก่ตัวผู้ที่มีรูปร่างคล้ายไก่ตัวเมียว่า ไก่เยีย. (เทียบ ข. ญี ว่า สัตว์ ตัวเมีย).
  30. รท, รทนะ : [รด, ระทะนะ] น. ฟัน, งา, เช่น ทวิรท = สัตว์ ๒ งา คือ ช้าง. (ป., ส.).
  31. รักดป : [–ดบ] น. ปลิง (สัตว์). (ส. รกฺตป; ป. รตฺตป).
  32. รัตน–, รัตน์, รัตนะ : [รัดตะนะ–, รัด, รัดตะ–] น. แก้วที่ถือว่ามีค่ายิ่ง เช่น อิตถีรัตนะ คือ นางแก้ว หัตถิรัตนะ คือ ช้างแก้ว; คน สัตว์ หรือสิ่งของที่ถือว่าวิเศษ และมีค่ามาก เช่น รัตนะ ๗ ของพระเจ้าจักรพรรดิ ได้แก่ ๑. จักรรัตนะ –จักรแก้ว ๒. หัตถิรัตนะ–ช้างแก้ว ๓. อัสสรัตนะ–ม้าแก้ว ๔. มณิรัตนะ –มณีแก้ว ๕. อิตถีรัตนะ–นางแก้ว ๖. คหปติรัตนะ–ขุนคลังแก้ว ๗. ปริณายกรัตนะ–ขุนพลแก้ว; ของประเสริฐสุด, ของยอดเยี่ยม, เช่น รัตนะ ๓ คือ พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ เป็นแก้วอันประเสริฐสุด ของพุทธศาสนิกชน; ใช้ประกอบคําอื่นหมายถึงยอดเยี่ยมในพวกนั้น ๆ เช่น บุรุษรัตน์ นารีรัตน์ รัตนกวี. (ป. รตน; ส. รตฺน).
  33. ลำ ๑ : น. ตัวของคน สัตว์ หรือสิ่งต่าง ๆ ไม่นับส่วนที่เป็นแขนขาหรือกิ่งก้าน เช่น ลําตัว ลําต้น, เรียกสิ่งที่ยาวกลมหรือมีลักษณะคล้ายคลึงเช่นนั้น เช่น ลําแขน ลําคอ ลําอ้อย ลํานํ้า, ลักษณนามเรียกสิ่งเช่นนั้นหรือเรือ เช่น ไม้ไผ่ลําหนึ่ง อ้อย ๒ ลํา เรือ ๓ ลํา; ชั้นเชิง เช่น หักลำ.
  34. วิสามานยนาม : [วิสามานยะนาม] (ไว) น. คํานามที่เป็นชื่อเฉพาะ ตั้งขึ้นสําหรับ เรียกคน สัตว์ สิ่งของ และสถานที่ เพื่อให้รู้ชัดว่าเป็นใครหรืออะไร เช่น นายดํา ช้างเอราวัณ เรือสุพรรณหงส์ จังหวัดเชียงใหม่.
  35. สมุนไพร : [สะหฺมุนไพฺร] น. ผลิตผลธรรมชาติ ได้จาก พืช สัตว์ และ แร่ธาตุ ที่ใช้เป็นยา หรือผสมกับสารอื่นตามตํารับยา เพื่อบําบัดโรค บํารุง ร่างกาย หรือใช้เป็นยาพิษ เช่น กระเทียม นํ้าผึ้ง รากดิน (ไส้เดือน) เขากวางอ่อน กํามะถัน ยางน่อง โล่ติ๊น.
  36. สมุหนาม : (ไว) น. คํานามที่บอกลักษณะของคน สัตว์ และสิ่งของที่ รวมกันอยู่เป็นหมวด เป็นหมู่ เป็นพวก เช่น กอง หมู่ คณะ ฝูง พวก.
  37. สัตตะ ๒ : ก. ข้องอยู่, ติดอยู่, พัวพัน. น. สัตว์. (ป.).
  38. : พยัญชนะตัวที่ ๔๒ เป็นพวกอักษรตํ่า มักใช้ในคําไทยที่มาจากภาษาบาลี เช่น กีฬา จุฬา นาฬิกา, ตัว ฬ นี้ ในภาษาสันสกฤตไม่มีใช้ ในภาษาบาลีมีใช้ แต่ที่เป็นตัวตามหลัง เช่น จุฬา = มวยผม กีฬา = เล่น เขฬะ = นํ้าลาย, ใน ภาษาไทยแต่เดิมมีที่ใช้บ้าง เช่น ฬา (สัตว์) ฬ่อ (สัตว์) บาฬี บัดนี้ใช้เป็น ลา ล่อ บาลี หมดแล้ว ยังคงอยู่ก็แต่ที่ใช้เป็นตัวสะกดในแม่กน เช่น ทมิฬ ปลาวาฬ.
  39. อันโยนย, อันโยนยะ : [โยนยะ] (โบ) ว. ''กันและกัน''. (ส. อนฺโยนฺย; ป. อ?ฺ?ม?ฺ?); ในไวยากรณ์ใช้เรียกสรรพนามพวกหนึ่ง ซึ่งแทนชื่อคน สัตว์ หรือสิ่งของที่รวมกัน ได้แก่คําว่า ''กัน'' เช่น คนตีกัน เรียกว่า อันโยนยสรรพนาม.
  40. อาการนาม : [อาการะนาม] (ไว) น. คํานามที่บอกกิริยาอาการหรือ ความปรากฏเป็นต่าง ๆ ของคน สัตว์ และสิ่งของ ซึ่งมาจากคํากริยา หรือคําวิเศษณ์ที่มักมีคํา ''การ'' หรือ ''ความ'' นําหน้า เช่น การยืน การเดิน การอยู่ ความรัก ความดี ความสวย.
  41. ก้นปล่อง : น. ชื่อยุงในสกุล Anopheles วงศ์ Culicidae มีหลายชนิด ที่พบเป็นสามัญเช่น ชนิด A. minimus ยุงเหล่านี้เวลาเกาะ หรือดูดเลือดคนหรือสัตว์ หัวจะปักลง ก้นชี้ขึ้น ผนังด้านล่าง ของส่วนท้องไม่มีเกล็ด ตัวเมียมีรยางค์ที่ปากยาวออกมา ๑ คู่ เช่นเดียวกับตัวผู้ ทําให้เหมือนกับมีปากเป็นสามแฉก ตัวเมียดูดเลือดและบางชนิดเป็นพาหะในการนําโรคมาสู่คน และสัตว์ เช่น โรคมาลาเรีย ตัวผู้กินน้ำหรือน้ำหวานจากดอกไม้.
  42. กบ ๒ : น. ชื่อสัตว์สี่เท้าสะเทินน้ำสะเทินบกในวงศ์ Ranidae ไม่มีหาง ตีนแบนมีหนังติดเป็นพืด กระโดดได้ไกล ว่ายน้ำดําน้ำได้เร็ว มักวางไข่ในน้ำ เมื่อยังเป็นตัวอ่อนจะมีหาง อยู่ในน้ำเรียกว่า ลูกอ๊อด ภายหลังจึงงอกขา หางหดหายไป แล้วขึ้นอาศัยบนบก หน้าแล้งอยู่แต่ในรู ไม่ออกหาอาหารชั่วคราว เรียกว่า กบจําศีล มีหลายชนิด เช่น กบนา (Rana tigerina).
  43. กรรมชรูป : [กํามะชะรูบ] น. รูปของคนและสัตว์. (ส.; ป. กมฺมชรูป ว่า รูปที่เกิดแต่กรรม).
  44. กระจง : น. ชื่อสัตว์เคี้ยวเอื้องในวงศ์ Tragulidae ที่เล็กที่สุด รูปร่างคล้ายกวาง แต่ไม่มีเขา ตัวผู้มีเขี้ยวแหลมคมงอกออกมาซึ่งมีผู้นิยมใช้เป็นเครื่องราง มี ๒ ชนิด คือ กระจงควาย (Tragulus napu) สูงราว ๓๕ เซนติเมตร และกระจงเล็ก (T. javanicus) สูงราว ๒๕ เซนติเมตร, พายัพเรียก ไก้. (มลายู กันจิล).
  45. กระจ้อน ๑ : น. ชื่อสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมชนิด Menetes berdmorei ในวงศ์ Sciuridae เป็นสัตว์จำพวกกระรอก ตัวสีน้ำตาล มีลายสีดําและน้ำตาลอ่อนตามยาว ข้าง ๆ ตัว หางเป็นพวง วิ่งหากินตามพื้นดิน.
  46. กระดอ : น. อวัยวะสืบพันธุ์ของชายหรือสัตว์เพศผู้บางชนิด.
  47. กระดอง : น. ส่วนแข็งที่หุ้มตัวสัตว์บางชนิดเช่น เต่า ปู หรือแมงดาทะเล. (ทางเหนือว่า ออง).
  48. กระดานหก : น. เครื่องดักสัตว์อย่างหนึ่งทําด้วยไม้กระดาน หกได้; เครื่องเล่นสำหรับเด็กอย่างหนึ่ง เป็นแผ่นไม้กระดาน ระหว่าง กึ่งกลางความยาวของไม้มีขาซึ่งตรึงติดกับแผ่นไม้ ผู้เล่นนั่งที่ปลายไม้ ทั้ง ๒ ข้างผลัดกันกระดกไม้กระดานให้ขึ้นลง.
  49. กระดึง : น. เครื่องโลหะหรือเครื่องไม้มักมีรูปคล้ายกระดิ่ง มีลูกกระทบแขวนอยู่ภายในหรือห้อยกระหนาบอยู่ภายนอก มักใช้แขวนคอสัตว์เช่นวัวควาย เพื่อให้เกิดเสียงดัง, โปง ก็ว่า.
  50. กระตัก : (โบ; เลิก) น. ประตัก คือ ไม้ที่ฝังเหล็กแหลมข้างปลาย ใช้แทงสัตว์ พาหนะเช่นวัว เช่น ด่าตีกันด้วยเคียวไม้กระตัก. (ลักษณะธรรมนูญ).
  51. [1-50] | 51-100 | 101-150 | 151-200 | 201-250 | 251-300 | 301-350 | 351-400 | 401-450 | 451-500 | 501-550 | 551-600 | 601-650 | 651-678

(0.0268 sec)