Dictionary : English, Thai, Pali. Link : Lexitron, RoyDict, BudDict, ETipitaka, PpmDict, Longdo.
Search: สิ่ง , then สง, สิ่ง .

Royal Institute Thai-Thai Dict : สิ่ง, 1402 found, display 1-50
  1. เครื่องเครา : (ปาก) น. เครื่อง, สิ่ง, สิ่งของ.
  2. อย่าง : [หฺย่าง] น. วิธี, แบบ, เยี่ยง, เช่น ทำอย่างนี้ เขียนอย่างนั้น, ลักษณนาม บอกจำนวน หมายถึง ชนิด, สิ่ง, เช่น ทำกับข้าวไว้ ๒ อย่าง ทำงาน หลายอย่าง. ว. เหมือน เช่น อย่างใจ อย่างเคย, ใช้ประกอบคําวิเศษณ์ หมายความว่า โดยอาการที่ เช่น อย่างดี อย่างเข้มแข็ง.
  3. วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อม : น. ชื่อกระทรวงที่มีอํานาจ หน้าที่เกี่ยวกับการวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี การพลังงาน การควบคุม รักษาสภาพสิ่งแวดล้อมและการวิจัย.
  4. สง : ก. หย่งให้กระจายตัวหรือยกขึ้นให้นํ้าหรือของเล็ก ๆ ร่วงลง เช่น สงข้าว สงฟาง สงถั่วงอก สงเส้นบะหมี่. ว. สุกจัด, แก่จัด, (ใช้แก่หมาก) ในคำว่า หมากสง.
  5. ทุกสิ่งทุกอย่าง : ว. ทั้งหมด.
  6. มงคล, มงคล- : [มงคน, มงคนละ-] น. เหตุที่นํามาซึ่งความเจริญ เช่น มงคล ๓๘, สิ่ง ซึ่งถือว่าจะนำสิริและความเจริญมาสู่และป้องกันไม่ให้สิ่งที่เลวร้าย มากล้ำกราย, เรียกงานที่จัดให้มีขึ้นเพื่อความอยู่เย็นเป็นสุข เช่น งาน ทำบุญขึ้นบ้านใหม่ งานทำบุญวันเกิด ว่า งานมงคล; เรียกเครื่องราง ของขลังที่เชื่อว่าจะนำความสุขความเจริญเป็นต้นมาให้ หรือป้องกัน ภัยอันตรายต่าง ๆ ว่า วัตถุมงคล; สิ่งที่ทำเป็นวงด้วยด้ายเป็นต้น สำหรับสวมศีรษะเพื่อเป็นสิริมงคล นิยมใช้เฉพาะในเวลาชกมวยไทย หรือตีกระบี่กระบอง. (ป., ส.).
  7. คู่ลำดับ : (คณิต) น. สิ่งสิ่งที่จัดเข้าวงเล็บให้อยู่คู่กัน ซึ่งคํานึงถึง การเรียงลําดับก่อนหลังเป็นหลักสําคัญ โดยถือว่า (a, b) ต่างกับ (b, a).
  8. ประตูน้ำ : น. ประตูสําหรับควบคุมระดับนํ้าที่ไหลเข้าออก; (กฎ) สิ่ง ที่สร้างขึ้นในทางนํ้าเพื่อให้เรือแพผ่านทางนํ้าที่มีระดับนํ้าต่างกันได้.
  9. ปริกรรมนิมิต : [ปะริกำมะนิมิด] น. ''อารมณ์ในบริกรรม'' คือ สิ่ง ที่ใช้เพ่งหรือนึกเป็นอารมณ์ในเวลาบริกรรม. (ป. ปริกมฺมนิมิตฺต; ส. ปริกรฺม + นิมิตฺต).
  10. อุปัทวันตราย : [อุปัดทะวันตะราย, อุบปัดทะวันตะราย] น. สิ่ง อุบาทว์และอันตราย. (ป. อุปทฺทว + อนฺตราย).
  11. กกุธภัณฑ์ : [กะกุดทะ-] น. เครื่องหมายความเป็นพระราชาธิบดี ตามที่ แสดงไว้ในบรมราชาภิเษก ร. ๗ คือ ๑. พระมหาพิชัยมงกุฎ ๒. พระแสงขรรค์ชัยศรี ๓. ธารพระกร ๔. วาลวีชนี (พัดกับ แส้จามรี) ๕. ฉลองพระบาท รวมเรียกว่า เบญจราชกกุธภัณฑ์. (ป. กกุธ ว่า เครื่องหมายความเป็นพระราชา + ภณฺฑ ว่า ของ ใช้; ระบุไว้ในอภิธานัปปทีปิกา คาถาที่ ๓๕๘ ว่า พระขรรค์ ฉัตร อุณหิส ฉลองพระบาทวาลวีชนี คือ มีฉัตรแทนธารพระกร; ใน จดหมายเหตุบรมราชาภิเษก รัชกาลที่ ๒ มีทั้งฉัตรและธารพระกร พระแสงขรรค์ พระแสงดาบ วาลวีชนี พระมหาพิชัยมงกุฎ และ ฉลองพระบาท รวมเป็น ๗ สิ่ง. (รูปภาพ เบญจราชกกุธภัณฑ์) วาลวีชนี ที่ปรากฏวัตถุเป็นพัดกับแส้จามรีนั้น แต่ก่อนเป็นพัด ใบตาลอย่างที่เรียกว่า พัชนีฝักมะขาม ต่อมาท่านเห็นควรเป็น แส้จามรีจะถูกกว่า เพราะศัพท์ว่า วาลวีชนี หมายความเป็น แส้ขนโคชนิดหนึ่ง จึงสร้างแส้จามรีขึ้น แต่ก็ไม่อาจเลิกพัดใบตาล ของเก่า เป็นอันรวมไว้ทั้ง ๒ อย่างในเครื่องที่เรียกว่า วาลวีชนี).
  12. เครื่อง : [เคฺรื่อง] น. สิ่ง, สิ่งของ, สิ่งสําหรับประกอบกันหรือเป็นพวกเดียวกัน เช่น เครื่องนอน เครื่องปูลาดอาสนะ, สิ่งของสําหรับใช้การต่าง ๆ เช่น เครื่องรถ เครื่องเรือน เครื่องไฟฟ้า, ของที่เข้าสํารับกับสิ่งใดสิ่งหนึ่ง เช่น เครื่องแป้ง หมายถึงของที่เข้าสํารับกับแป้งเครื่องสําอาง, ของใช้ของกิน สำหรับเจ้านาย เช่น เครื่องทรง เครื่องเสวย.
  13. ยื่น : ก. กิริยาหรืออาการที่เหยียดหรือเหลื่อมลํ้าออกไป เช่น ยื่นมือ ยื่นซอง มุข ยื่นออกจากตัวอาคาร; เสนอ, ส่ง, มอบ, เช่น ยื่นเรื่องราว ยื่นบัญชี ยื่นฟ้อง; โดยปริยายหมายถึงกิริยาของผู้ที่เข้าไปเกี่ยวข้องกับเรื่องที่เขาไม่ต้องการ ให้พูดให้ทําว่า ยื่นปาก ยื่นหน้า. ว. เรียกสิ่งที่มีลักษณะคล้ายคลึงเช่นนั้น เช่น คางยื่น พุงยื่น.
  14. อัน : น. สิ่ง, ชิ้น; ทะลาย เช่น อันหมาก อันมะพร้าว; คําบอกลักษณะ สิ่งของซึ่งโดยปรกติมีลักษณะแบนยาวหรือเป็นชิ้นเป็นแผ่นเป็นต้น, ลักษณนามเรียกสิ่งที่มีลักษณะเช่นนั้น เช่น ไม้อันหนึ่ง ไม้ ๒ อัน; เวลากําหนดสําหรับชนไก่พักหนึ่ง ๆ. ส. คำใช้แทนนามหรือ ข้อความที่อยู่ข้างหน้า เช่น ความจริงอันปรากฏขึ้นมา. ว. อย่าง เช่น เป็นอันมาก เป็นอันดี, ใช้เป็นคำนำหน้านามที่เป็นประธาน หรือใช้ขึ้นต้นข้อความต่าง ๆ เช่น อันอายุความนั้น ถ้าไม่มีกฎหมาย บัญญัติไว้เป็นอย่างอื่น ท่านให้มีกำหนดสิบปี. (ประมวลกฎหมาย แพ่งและพาณิชย์ มาตรา ๑๖๔ ฉบับเก่า), ใช้ว่า อันว่า ก็มี เช่น อันว่า ทรัพย์นั้น โดยนิตินัยได้แก่วัตถุมีรูปร่าง. (ประมวลกฎหมายแพ่งและ พาณิชย์ มาตรา ๙๘ ฉบับเก่า).
  15. ส่ง : ก. ทําให้สิ่งใดสิ่งหนึ่งเคลื่อนพ้นจากที่หนึ่งไปยังอีกที่หนึ่ง เพื่อให้ถึง ผู้รับหรือเป้าหมายด้วยอาการต่าง ๆ กัน เช่น ส่งข้าม ส่งผ่าน ส่งต่อ; หนุน ดัน หรือเสริมให้สูงขึ้น เช่น คนอยู่ข้างล่างช่วยส่งก้นคนข้างบน ให้ปีนพ้นกำแพง ติดไม้ปั้นลมส่งหลังคาเรือน; แสดงอัธยาศัยในเมื่อ มีผู้จะจากไป เช่น ไปส่ง เลี้ยงส่ง; อาการที่ส่งเครื่องหมาย ข้อความ ข่าวสาร หรือภาพ เป็นต้นไปให้อีกฝ่ายหนึ่งโดยอาศัยกรรมวิธีต่าง ๆ เช่น ส่งสัญญาณ ส่งรหัส ส่งโทรเลข ส่งวิทยุ ส่งโทรภาพ.
  16. กง ๒ : น. วง, ส่วนรอบของล้อเกวียนหรือล้อรถม้าเป็นต้น, เรียกสิ่งที่มี ลักษณะคล้ายคลึงเช่นนั้น เช่น ขนมกง, บางทีก็ใช้เข้าคู่กับคํา วง ว่า เป็นวงเป็นกง; ไร่ล้มลุกที่ถางป่าเป็นหย่อม ๆ ตามเนื้อที่ และกั้นเป็นขอบเขตไว้. (กลอน) ก. แวดล้อม เช่น ม้ากันม้ากง. (ไทยสิบสองปันนาและสิบสองจุไทย กง ว่า ขอบเขตที่ล้อม เช่น ดินกง คือ ดินที่ล้อมเป็นขอบเขตไว้, ร่ายกง คือไร่ที่ล้อม เป็นขอบเขตไว้).
  17. กงจักร : น. สิ่งที่มีรูปเป็นวงกลม มีริมเป็นแฉก ๆ โดยรอบ.
  18. กฎหมู่ : น. อํานาจกดดันที่บุคคลจํานวนมากนํามาใช้บีบบังคับให้อีก ฝ่ายหนึ่งกระทําหรือเว้นกระทําสิ่งที่บุคคลจำนวนนั้นต้องการ (มักไม่เป็นไปตามตัวบทกฎหมาย).
  19. กดน้ำ : (ปาก) ก. ใช้กําลังกดสิ่งใดสิ่งหนึ่งให้มิดลงไปในน้ำ ในความว่า จับกดน้ำ จับหัวกดน้ำ.
  20. ก้นกบ : น. ปลายกระดูกสันหลังที่สุดลงมาข้างล่าง, พายัพเรียก ก้นหย่อน, โดยปริยายเรียกสิ่งที่มีลักษณะคล้ายคลึง เช่นนั้น เช่น ก้นกบว่าวจุฬา.
  21. ก้นบึ้ง : น. ส่วนสุดของสิ่งที่ลึก, ส่วนใต้สุด, โดยปริยายหมายถึง ลักษณะที่คล้ายคลึงเช่นนั้น เช่น ก้นบึ้งของหัวใจ.
  22. ก้นหอย : น. รอยเส้นขดวนเข้าหาศูนย์กลางอย่างรูปก้นหอยมีที่ นิ้วมือเป็นต้น, โดยปริยายเรียกสิ่งที่มีลักษณะคล้ายคลึงเช่นนั้น เช่น ม้วนผมแบบก้นหอย.
  23. กปณ : [กะปะนะ] ว. กําพร้า, อนาถา, ไร้ญาติ, ยากไร้, น่าสงสาร, (กลอน) เขียนเป็น กปนา ก็มี เช่น แม้มนุษยกปนาจํานง ขอสิ่งประสงค์ประสาททาน. (ม. คําหลวง มัทรี). (ป.).
  24. กปณา : [กะปะนา] ว. อนาถา, ไร้ญาติ, น่าสงสาร, เขียนเป็น กปนา ก็มี เช่น แม้มนุษยกปนาจำนง ขอสิ่งประสงค์ประสาททาน. (ม. คำหลวง มัทรี). (ป. กปณ)
  25. ก้มหน้าก้มตา : (สํา) ก. ทําโดยไม่มองดูสิ่งอื่น, ทําโดยตั้งใจ, เช่น ก้มหน้าก้มตาทําไปจนกว่าจะสําเร็จ.
  26. กรง : [กฺรง] น. สิ่งที่ทําเป็นซี่ ๆ สําหรับขังนกเป็นต้น ตั้งอยู่ กับที่หรือยกไปได้; ในบทกลอนใช้หมายความว่า เปล ก็มี เช่น ถนอมในพระกรงทอง. (เห่กล่อม). (เทียบมลายู กุรง; ข. ทฺรุง).
  27. กรด ๑ : [กฺรด] น. สารอย่างหนึ่ง มีรสเปรี้ยว โดยปรกติกัดหรือ ทําให้สิ่งอื่นแปรไป; (เคมี) มีความหมายหลายอย่าง สุดแล้วแต่ทฤษฎีที่ใช้เป็นหลักกําหนด คือ เป็นสารเคมี ที่ประกอบด้วยธาตุไฮโดรเจน และเมื่อสารนี้ละลาย น้ำเป็นสารละลายแล้ว ไฮโดรเจนที่มีอยู่ทั้งหมดหรือ บางส่วนต้องแปรสภาพออกมาเป็นไฮโดรเนียมไอออน (H3O+) สารละลายที่ได้มีรสเปรี้ยวเปลี่ยนสีลิตมัสสี น้ำเงินเป็นสีแดงได้; สารเคมีที่มีสมบัติจ่ายโปรตอนให้ แก่สารอื่นได้; สารเคมีที่มีสมบัติรับอิเล็กตรอนคู่หนึ่ง มาจากสารอื่นได้. (อ. acid).
  28. กรอง ๒ : [กฺรอง] ก. เอาของละเอียดออกจากของหยาบ เช่น กรองทราย, เอาฝุ่นละอองหรือของสกปรกออก เช่น กรองน้ำมัน กรองอากาศ, ใช้เครื่องกรองมีผ้าเป็นต้น คัดเอาผงหรือกากออกจากน้ำหรือสิ่ง ที่เป็นน้ำ เช่น กรองน้ำ กรองกะทิ.
  29. กรอบ ๑ : [กฺรอบ] น. สิ่งที่ประกอบตามริมวัตถุมีรูปภาพเป็นต้น, โดยปริยาย หมายความว่า ขอบเขตกําหนด เช่น ทํางานอยู่ในกรอบ.
  30. กระ ๓ : น. จุดดำ ๆ หรือจุดน้ำตาลขึ้นประปรายที่ผิวกายคน สัตว์ หรือสิ่งอื่น ๆ, ประ ก็ว่า.
  31. กระจัง ๑ : น. ชื่อลายอย่างหนึ่ง ใช้เป็นลวดลายสําหรับเครื่องประดับที่อยู่ บนชั้นหรือตามขอบของสิ่งบางอย่าง เช่น ชั้นฐานธรรมาสน์ กระจังมีหลายแบบ เช่น กระจังตาอ้อย กระจังเจิม กระจังปฏิญาณ, เครื่องประดับที่มีลวดลายชนิดนี้ เรียกว่า ตัวกระจัง ใช้ประดับหลัง เฟี้ยมลับแลและอื่น ๆ.
  32. กระจุก : น. สิ่งที่รวมกันอยู่เป็นกลุ่ม, ลักษณนามเรียกสิ่งที่มัดรวมกันเป็นกลุ่ม เช่น หอม ๒ กระจุก กระเทียม ๓ กระจุก. ก. รวมกันอยู่เป็นกลุ่ม เช่น ธุรกิจใหญ่ ๆ กระจุกกันอยู่ในตัวเมือง.
  33. กระโจม ๑ : น. สิ่งที่ตามปรกติมียอดเป็นลอมอย่างซุ้ม ใช้เป็นเครื่องกําบังแดดลม เป็นต้น, โดยปริยายหมายถึง (๑) สิ่งที่รวมกันเข้าเป็นลอม เช่น กระโจมปืน. (๒) สิ่งที่ผูกรวบยอดให้รวมกัน เช่น ปากผูกกระโจม. (๓) ผ้าที่ทําเป็นลอมเพื่อเข้าไปอยู่ให้เหงื่อออก เช่น เข้ากระโจม; กูบที่มีด้านเปิดโล่ง ๔ ด้าน, โจม ก็ว่า; (ถิ่น) เครื่องสวมศีรษะอย่างหนึ่ง เช่น กระจอนหูแปงประดับแก้วเครื่องเลิศอุดมกระโจมคำสุบเก้าเกษ. (ม. ภาคอีสาน นครกัณฑ์).
  34. กระด้าง ๓ : ว. ค่อนข้างแข็ง หมายถึงสิ่งที่มีลักษณะไม่อ่อน, ไม่นิ่มนวล, เช่น ลิ้นกระด้าง ข้าวกระด้าง; ขัดแข็ง หมายถึง กิริยาวาจา ไม่อ่อนตาม เช่น มีกิริยากระด้างขึ้น; เรียกน้ำที่ฟอกสบู่ ไม่เป็นฟองว่า น้ำกระด้าง.
  35. กระดาน ๑ : น. ไม้ซุงที่เลื่อยออกเป็นแผ่น ๆ; ลักษณนามเรียกการแข่งขันที่เดิน บนตากระดานซึ่งถึงที่สุดแล้ว เช่นว่าเล่นหมากรุกชนะ ๒ กระดาน; โดยปริยายหมายถึงสิ่งที่มีลักษณะอย่างกระดาน.
  36. กระดิ่ง : น. เครื่องทําเสียงสัญญาณทําด้วยโลหะ มีรูปคล้ายระฆัง แต่ขนาดเล็กกว่า มีตุ้มเล็ก ๆ อยู่ข้างใน สําหรับทําให้เกิดเสียง, โดยปริยายหมายถึงสิ่งที่มีลักษณะคล้ายคลึงเช่นนั้น เช่น กระดิ่งจักรยาน.
  37. กระเด็น : ก. เคลื่อนจากที่เดิมหรือแตกแยกจากที่เดิมออกไปโดยเร็ว เพราะกระทบสิ่งใดสิ่งหนึ่งโดยแรง.
  38. กระแดะ : (ปาก) ก. ดัดจริต, ทำในสิ่งที่ไม่น่าทำ.
  39. กระได : น. สิ่งที่ทําเป็นขั้น ๆ สําหรับก้าวขึ้นลง, บันได ก็ว่า.
  40. กระตุ้น : ก. ใช้มือหรือสิ่งใด ๆ กระแทกเบา ๆ ให้รู้ตัว, โดยปริยายหมายความว่า เตือนหรือหนุน เช่น กระตุ้นให้รีบทํางาน, ช่วยเร่ง เช่น ใช้กระแสไฟฟ้า กระตุ้นหัวใจที่หยุดเต้นให้เต้นต่อไป.
  41. กระทรวง ๒ : [-ซวง] (กฎ) น. ส่วนราชการหนึ่งในราชการบริหารส่วนกลาง ซึ่งมีรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเป็นหัวหน้า; (โบ) ส่วนราชการ ที่พอเทียบได้กับกรมหรือกระทรวงในปัจจุบัน เช่น ถ้าเป็น กระทรวงแพ่ง แลฝ่ายจำเลยนั้นเป็นกรม ฝ่ายนอกให้ส่งไป แพ่งกระเสมพิจารณา, ถ้ามีผู้ร้ายลักช้างม้าผู้คนโคกระบือ ทรัพยสิ่งใด ๆ เปนกระทรวงนครบาลได้ว่า. (สามดวง). (เทียบ ข. กรฺสวง; ไทยเหนือ ส่วง ว่า ข้าง, ฝ่าย).
  42. กระทุ้ง : ก. เอาสิ่งที่มีลักษณะยาวกระแทกให้แน่นหรือให้ออก, โดยปริยายหมายความว่า หนุนให้กระทําหรือกล่าวแสดงออกมา เช่น กระทุ้งให้ร้องเพลง, ทุ้ง ก็ว่า เช่น ชอบแต่ทุบถองทุ้งให้กุ้งกิน. (มณีพิชัย).
  43. กระเทือนใจ : ก. มีจิตใจหวั่นไหวอย่างแรงเพราะมีสิ่งใดสิ่งหนึ่ง มากระทบ (มักใช้ในทางที่ไม่ดี), สะเทือนใจ ก็ว่า.
  44. กระเทือนซาง : (ปาก) ก. มีจิตใจหวั่นไหวอย่างรุนแรงเพราะมีสิ่งใด สิ่งหนึ่งมากระทบใจ เช่น ว่าเท่าไร ๆ ก็ไม่กระเทือนซาง ถูกตำหนิ อย่างแรงทำให้รู้สึกกระเทือนซาง.
  45. กระบวนการ : น. ปรากฏการณ์ธรรมชาติที่ค่อย ๆ เปลี่ยนแปลงอย่างมีระเบียบ ไปสู่ผลอย่างหนึ่ง เช่น กระบวนการ เจริญเติบโตของเด็ก, กรรมวิธีหรือลําดับการกระทําซึ่งดําเนิน ต่อเนื่องกันไปจนสําเร็จลง ณ ระดับหนึ่ง เช่น กระบวนการเคมี เพื่อผลิตสิ่งใดสิ่งหนึ่ง (อ. process).
  46. กระเปาะ : น. รูปนูนกลม, เรียกสิ่งที่มีสัณฐานคล้ายคลึงเช่นนั้นว่า กระเปาะ เช่น กระเปาะไข่ กระเปาะดอกไม้; ฐานที่ฝังเพชรพลอยเป็น หัวแหวนหรือตุ้มหู; เก็จ (ดู เก็จ๒), (วิทยา) ส่วนของหลอดแก้ว ที่พองออก จะกลมหรือรีก็ตาม.
  47. กระพือ : ก. เอาสิ่งที่เป็นผืนแผ่นบาง ๆ โบกขึ้นลง, พัดหรือโบกด้วยอาการเช่นนั้น, โดยปริยายหมายถึง แพร่กระจาย เช่น ข่าวนี้กระพือไปอย่างรวดเร็ว.
  48. กระพุ่ม : น. ลักษณะของสิ่งที่เป็นพุ่มยอดแหลมอย่างดอกบัวตูม, (กลอน) พุ่ม เช่น ดอกพวงเผล็ดช่อ กระพุ่มห่อเกสร สลอนบุษบาบาน. (ลอ), สองถันกระพุ่มกาญจนแมนมาเลขา. (อนิรุทธ์).
  49. กระเพิง : น. เพิง, สิ่งที่ยื่นเป็นเพิง, เช่น บ้างก็เป็นกระพักกระเพิงกระพังพุ. (ม. ร่ายยาว กุมาร).
  50. กระเพื่อม : ก. อาการของสิ่งเหลวหรือนุ่มที่ไหวขึ้น ๆ ลง ๆ เช่น น้ำกระเพื่อม.
  51. [1-50] | 51-100 | 101-150 | 151-200 | 201-250 | 251-300 | 301-350 | 351-400 | 401-450 | 451-500 | 501-550 | 551-600 | 601-650 | 651-700 | 701-750 | 751-800 | 801-850 | 851-900 | 901-950 | 951-1000 | 1001-1050 | 1051-1100 | 1101-1150 | 1151-1200 | 1201-1250 | 1251-1300 | 1301-1350 | 1351-1400 | 1401-1402

(0.1195 sec)