Dictionary : English, Thai, Pali. Link : Lexitron, RoyDict, BudDict, ETipitaka, PpmDict, Longdo.
Search: สิ่งของ , then สงของ, สิ่งของ .

Royal Institute Thai-Thai Dict : สิ่งของ, 240 found, display 1-50
  1. กระยา : น. เครื่อง, สิ่งของ, เครื่องกิน, เช่น เทียนธูปแลประทีปชวาลา เครื่องโภชนกระยา สังเวยประดับทุกพรรณ. (ดุษฎีสังเวยกล่อมช้าง ของเก่า ครั้งกรุงเก่า), เขียนเป็น กรยา ก็มี เช่น พระไพรดมานโฉม นุบพิตรแลงผอง มนตรอัญสดุดิยฮอง กรยานุถกลทาบ. (ดุษฎีสังเวยกล่อมช้างของเก่า ขุนเทพกะวีแต่ง).
  2. ครัว ๒ : [คฺรัว] (ถิ่น-พายัพ) น. ของ, สิ่งของ, เครื่องใช้, เช่น พ่อค้าแม่ค้าขายครัว; ทรัพย์มรดก เช่น ลูกหล้าครัวรอม คือ ลูกคนสุดท้องจะได้รับทรัพย์มรดก มากกว่าผู้อื่น, ขายครัวมายาตัว คือ ขายทรัพย์มรดกเพื่อมารักษาตัว.
  3. เครื่อง : [เคฺรื่อง] น. สิ่ง, สิ่งของ, สิ่งสําหรับประกอบกันหรือเป็นพวกเดียวกัน เช่น เครื่องนอน เครื่องปูลาดอาสนะ, สิ่งของสําหรับใช้การต่าง ๆ เช่น เครื่องรถ เครื่องเรือน เครื่องไฟฟ้า, ของที่เข้าสํารับกับสิ่งใดสิ่งหนึ่ง เช่น เครื่องแป้ง หมายถึงของที่เข้าสํารับกับแป้งเครื่องสําอาง, ของใช้ของกิน สำหรับเจ้านาย เช่น เครื่องทรง เครื่องเสวย.
  4. ธรรม ๑, ธรรม, ธรรมะ : [ทํา, ทํามะ] น. คุณความดี เช่น เป็นคนมีธรรมะ เป็นคนมีศีลมีธรรม; คําสั่งสอนในศาสนา เช่น แสดงธรรม ฟังธรรม ธรรมะของพระพุทธเจ้า; หลักประพฤติปฏิบัติในศาสนา เช่น ปฏิบัติธรรม ประพฤติธรรม; ความจริง เช่น ได้ดวงตาเห็นธรรม; ความยุติธรรม, ความถูกต้อง, เช่น ความเป็นธรรมในสังคม; กฎ, กฎเกณฑ์, เช่น ธรรมะแห่งหมู่คณะ; กฎหมาย เช่น ธรรมะระหว่างประเทศ; สิ่งทั้งหลาย, สิ่งของ, เช่น เครื่องไทยธรรม. (ส. ธรฺม; ป. ธมฺม).
  5. จุดรวม : น. จุดกลางซึ่งเป็นที่รวมของคน สิ่งของ หรือความรู้สึกนึกคิด เป็นต้น, จุดศูนย์กลาง ก็ว่า.
  6. โฉลก : [ฉะโหฺลก] น. โชค, โอกาส; ลักษณะซึ่งมีทั้งส่วนดีและส่วนไม่ดี ถ้าดี เรียกว่า ถูกโฉลกถ้าไม่ดีเรียกว่า ไม่ถูกโฉลก มักกำหนดด้วยการดูลักษณะ วัดขนาด นับ จำนวน เป็นต้นของคน สัตว์ สิ่งของ ว่าเป็นมงคลหรือไม่เป็น มงคล, อีสานเรียก โสก; ชื่อเพลงไทยทำนองหนึ่ง, โฉลกแรก ก็ว่า.
  7. วิสามานยนาม : [วิสามานยะนาม] (ไว) น. คํานามที่เป็นชื่อเฉพาะ ตั้งขึ้นสําหรับ เรียกคน สัตว์ สิ่งของ และสถานที่ เพื่อให้รู้ชัดว่าเป็นใครหรืออะไร เช่น นายดํา ช้างเอราวัณ เรือสุพรรณหงส์ จังหวัดเชียงใหม่.
  8. สมนาคุณ : [สมมะนาคุน] ก. ตอบแทนบุญคุณด้วยทรัพย์ สิ่งของ หรือ แรงงาน เป็นต้นแล้วแต่กรณี เช่น ร้านค้ามีของสมนาคุณผู้ซื้อ ธนาคารให้ของ สมนาคุณแก่ลูกค้า, เรียกทรัพย์หรือสิ่งของเป็นต้นที่ให้ในลักษณะ เช่นนั้นว่า เงินสมนาคุณ ของสมนาคุณ.
  9. เครื่องเครา : (ปาก) น. เครื่อง, สิ่ง, สิ่งของ.
  10. วัตถุ : น. สิ่งของ. (ป.; ส. วสฺตุ).
  11. ตลาดน้ำ : น. ที่ชุมนุมเพื่อซื้อขายของต่าง ๆ ทางนํ้า มีเรือเป็นพาหนะบรรทุก สิ่งของ, ตลาดท้องนํ้า ก็ว่า.
  12. ภัณฑ–, ภัณฑ์ : น. สิ่งของ, เครื่องใช้. (ป.; ส. ภาณฺฑ).
  13. กรด ๒ : [กฺรด] ว. คมมีลักษณะที่กัดกร่อนหรือตัดสิ่งของได้ เช่น น้ำกรด = น้ำที่คม ลมกรด = ลมที่คม.
  14. กร้วม : ว. เสียงเคี้ยวสิ่งของที่เปราะให้แตก หรือเสียงของแข็ง กระทบกันอย่างแรง.
  15. กระดานเลียบ : น. ไม้กระดานแผ่นเดียวที่ปูไว้หน้าเรือน สําหรับนั่ง หรือวางสิ่งของต่าง ๆ, กราบเรือส่วนที่เป็นไม้กระดานที่ติดตรง แคมเรือไปตามแนวนอนสำหรับเดิน.
  16. กระไดแก้ว : น. ชั้นสําหรับวางพาดสิ่งของเช่นใบลาน หรืออาวุธเป็นต้น.
  17. กระแทกกระทั้น : ว. กระแทกเสียงหรือกระแทกสิ่งของให้รู้ว่าไม่พอใจหรือโกรธ.
  18. กระบะ : น. ภาชนะไม้ก้นแบนมีขอบ ใช้อย่างถาด, ใช้ว่า ตระบะ ก็มี; ชื่อรถชนิดหนึ่งใช้บรรทุกสิ่งของ ทําตัวถังเป็นรูปอย่างกระบะ เรียกว่า รถกระบะ.
  19. กระปุ่ม : (ถิ่น-อีสาน) น. เครื่องสานชนิดหนึ่ง ส่วนล่างใหญ่ ส่วนบนเล็ก รูปกลม มีฝาสวมลงลึก สําหรับใส่สิ่งของ พ่อค้าหาบเร่มักใช้.
  20. กระพา : (ถิ่น-อีสาน) น. เครื่องสานชนิดหนึ่ง สําหรับใส่สิ่งของบรรทุกไว้ ที่หลังคน มีสายรัดไขว้หน้าอก ใช้อย่างต่างใส่วัว แต่มีอันเดียว.
  21. กระลอม : (ถิ่น-อีสาน) น. เครื่องสานชนิดหนึ่ง สานด้วยตอกเป็นต้น ตาห่าง ๆ สำหรับใส่สิ่งของ, ชะลอม ก็ว่า.
  22. กล่อง : [กฺล่อง] น. ภาชนะใส่สิ่งของรูปกลมหรือเหลี่ยมมีฝาปิด, สิ่งที่ทําเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้าขนาดเล็ก มีลิ้นชักเข้าออกได้ สําหรับบรรจุไม้ขีดไฟ เรียกว่า กล่องไม้ขีดไฟ, กลักไม้ขีดไฟ ก็เรียก.
  23. ก้อนเส้า : น. ก้อนดิน ก้อนอิฐ หรือก้อนหินเป็นต้นที่เอามาตั้งต่างเตา; ชื่อดาวฤกษ์ภรณี มี ๓ ดวง. ก. เอามือ ๒ ข้างรวบสิ่งของเข้ามาจนนิ้วก้อยของมือชิดกันแล้วยกขึ้น. น. เรียกของที่กอบขึ้นครั้งหนึ่ง ๆ ว่า กอบหนึ่ง ๆ, ลักษณนามเรียกปริมาณของของที่กอบขึ้นมาเช่นนั้น เช่น ทรายกอบหนึ่ง ข้าวสาร ๒ กอบ.
  24. กอบ : ก. เอามือ ๒ ข้างรวบสิ่งของเข้ามาจนนิ้วก้อยของมือชิดกันแล้วยกขึ้น. น. เรียกของที่กอบขึ้นครั้งหนึ่ง ๆ ว่า กอบหนึ่ง ๆ, ลักษณนามเรียกปริมาณของของที่กอบขึ้นมาเช่นนั้น เช่น ทรายกอบหนึ่ง ข้าวสาร ๒ กอบ.
  25. กะแต่ว : ว. แสดงลักษณะของการร้องหรือการทวงสิ่งของบ่อย ๆ ว่า ร้องกะแต่ว ๆ.
  26. กะเทาะ : ก. ล่อนหลุดออกมาเป็นชิ้น ๆ หรือเป็นแผ่น ๆ, ทําให้ล่อนหลุดออก เช่น กะเทาะเม็ดบัว. น. สิ่งของหรือเปลือกไม้ที่หลุดล่อนออกมาจาก พื้นเดิมหรือจากต้น เช่น กะเทาะมะขาม.
  27. กัณฑ์เทศน์ : น. เครื่องไทยธรรมถวายพระผู้แสดงพระธรรมเทศนา, สิ่งของสําหรับถวายพระผู้แสดงพระธรรมเทศนา, เครื่องกัณฑ์ ก็ว่า; เรียกการเอาเงินติดเทียนบูชากัณฑ์เทศน์หรือเรียกการเอาเงินหรือ สิ่งของบูชาธรรมเนื่องในการเทศน์ว่า ติดกัณฑ์เทศน์.
  28. กัปปิยภัณฑ์ : น. สิ่งของที่ควรแก่ภิกษุ ได้แก่ ปัจจัย ๔ คือ จีวร อาหาร ที่อยู่อาศัย ยารักษาโรค และสิ่งอื่น ๆ เช่น ร่ม รองเท้า.
  29. กามโรค : น. โรคซึ่งติดต่อกันได้โดยการประกอบกามกิจหรือติดต่อกัน โดยใช้สิ่งของร่วมกับคนเป็นกามโรคเป็นต้น, เรียกเป็นสามัญว่า โรคบุรุษ หรือ โรคผู้หญิง.
  30. กาว ๑ : น. ของเหนียวที่เคี่ยวมาจากเอ็น หนัง กีบสัตว์ เป็นต้น สําหรับใช้ติดหรือผนึกสิ่งของ.
  31. กินสินบน : ก. รับเงินหรือสิ่งของต่าง ๆ เป็นต้นเพื่อให้ทำประโยชน์ แก่ผู้ให้ในทางมิชอบ.
  32. กี๋ : น. ฐานสําหรับรองสิ่งของหรือสำหรับนั่ง ทําด้วยวัตถุต่าง ๆ มีรูปต่าง ๆ กัน เช่น กี๋รองแจกัน กี๋รองกระถางต้นไม้; ภาชนะมีรูปต่าง ๆ สําหรับใส่เครื่องน้าชาแบบจีน เช่น กี๋ญวน.
  33. กุดัง : (ปาก) น. โรงเก็บสินค้าหรือสิ่งของเป็นต้น, โกดัง ก็เรียก; เรียกรถบรรทุกขนาดใหญ่ชนิดหนึ่งว่า รถกุดัง. (ม. gudang ว่า โรงงาน, โรงเก็บของ, ร้านขายของ).
  34. เก็บ ๑ : ก. เอาไปหรือเอามาจากที่ เช่น เก็บผ้า เก็บผลไม้, เอาเข้าที่ เช่น เอาหนังสือไปเก็บ เอารถไปเก็บ, เอาสิ่งของที่ตกหล่นอยู่ขึ้นมา เช่น เก็บของตก, รวบรวมไว้ เช่น เก็บคะแนน, เรียกเอา เช่น เก็บค่าเช่า เก็บค่าน้ำ, รักษาไว้ เช่น ห้องเก็บของ. ว. ถ้าประกอบหลังคํานามหมายความว่า ที่เก็บไว้ เช่น ของเก็บ = ของที่เก็บไว้, เงินเก็บ = เงินที่ออมเก็บไว้, เมียเก็บ = เมียที่เก็บไว้ไม่ออกหน้าออกตา, หมากเก็บ = สิ่งที่เป็นเม็ด เป็นก้อนแข็ง เด็กใช้โยนเก็บขึ้นไว้ในมือ เป็นการเล่นชนิดหนึ่งของเด็ก.
  35. โกดัง : น. โรงเก็บสินค้าหรือสิ่งของเป็นต้น, กุดัง ก็เรียก.
  36. ขน ๒ : ก. เอาสิ่งของเป็นต้นจํานวนมากจากที่หนึ่งไปยังอีกที่หนึ่งโดยบรรทุก หาบ หาม หรือด้วยวิธีอื่น.
  37. ขนอบ ๒ : [ขะหฺนอบ] น. ไม้ ๒ อันประกับเป็นขอบหรือกรอบของสิ่งของเพื่อ ให้แน่น เช่น ไม้ขนอบใบลาน.
  38. ขวัญ : [ขฺวัน] น. ผมหรือขนที่ขึ้นเวียนเป็นก้นหอย; มิ่งมงคล, สิริ, ความดี, เช่น ขวัญข้าว ขวัญเรือน; สิ่งที่ไม่มีตัวตน เชื่อกันว่ามีอยู่ประจําชีวิตของคน ตั้งแต่เกิดมา ถ้าขวัญอยู่กับตัวก็เป็นสิริมงคล เป็นสุขสบายจิตใจมั่นคง ถ้าคนตกใจหรือเสียขวัญ ขวัญก็ออกจากร่างไป ซึ่งเรียกว่า ขวัญหาย ขวัญหนี ขวัญบิน เป็นต้น ทําให้คนนั้นได้รับผลร้ายต่าง ๆ, เรียกผู้ตกใจ ง่ายคือ เด็กหรือหญิงซึ่งมักจะขวัญหายบ่อย ๆ ว่า ขวัญอ่อน, และอนุโลม ใช้ไปถึงสัตว์หรือสิ่งของบางอย่าง เช่น ช้าง ม้า ข้าว เรือน ฯลฯ ว่ามีขวัญ เช่นเดียวกับคนเหมือนกัน, โดยปริยายหมายความว่า ยอดกำลังใจเช่น ขวัญเมือง ว่า ยอดกําลังใจของเมือง; กําลังใจดี เช่น ขวัญดี; ผู้รู้พิธีทําขวัญ เรียกว่า หมอขวัญ; การทําพิธีเชิญขวัญหมายความว่า เรียกขวัญ มาอยู่กับตัว; การเสียเงินค่าปรับให้แก่ผู้ถูกทําร้ายหรือถูกหมิ่นประมาท เรียกว่า ทำขวัญ; เอาเส้นด้ายผูกข้อมือเด็กแล้วกล่าวเรียก ขวัญว่า ``ขวัญเอ๋ย มาอยู่กับเนื้อกับตัว'' แล้วกล่าวให้พรต่อไปตามควร เรียกว่า ผูกขวัญ; เรียกขวัญหรือเชิญขวัญ เรียกว่า รับขวัญ; ทําพิธี เช่น รดนํ้ามนตร์ให้ เสกเป่าให้ หรือกล่าวปลุกใจต่าง ๆ เพื่อให้ขวัญดีมีใจกล้าหาญ เรียกว่า บำรุงขวัญ; สิ่งของที่ให้แก่เจ้าของขวัญ เมื่อเสร็จพิธีทําขวัญแล้ว หรือสิ่งของที่ให้กันในเวลาอื่นเป็นการถนอมขวัญ หรือเพื่ออัธยาศัยไมตรี เรียกว่า ของขวัญ; ข้าวบายศรี เรียกว่า ข้าวขวัญ; ไข่ปอกที่เสียบไม้ปักไว้บนยอดบายศรี เรียกว่า ไข่ขวัญ, ไข่ข้าว ก็เรียก; ลูกคนที่รักมากที่สุด เรียกว่า ลูกขวัญ; ผู้ที่เป็นมิ่งขวัญอย่างยอดเยี่ยมหมายถึง หญิงที่รัก เรียกว่า จอมขวัญ; คำยกย่องเรียกภรรยาอันเป็นที่รักว่า เมียขวัญ; กําลังใจเสีย เรียกว่า เสียขวัญ.
  39. ของขวัญ : น. สิ่งของที่ให้แก่เจ้าของขวัญเมื่อเสร็จพิธีทําขวัญแล้ว; สิ่งของที่ให้กันในเวลาอื่นเป็นการถนอมขวัญหรือเพื่ออัธยาศัยไมตรี เช่น ของขวัญปีใหม่ ของขวัญวันเกิด.
  40. ของโจร : น. สิ่งของที่ถูกโจรกรรมมา.
  41. ขอทาน : ก. ขอเงินหรือสิ่งของเลี้ยงชีวิต, หากินทางขอสิ่งที่ผู้อื่นให้. น. เรียกบุคคลที่หาเลี้ยงชีพอย่างนั้นว่า ขอทาน.
  42. ขอประทาน : ก. ขอสิ่งของ, ขออนุญาต, (มักใช้นำหน้าคำที่พูดกับผู้ใหญ่).
  43. ขอพระราชทาน : ก. ขอสิ่งของ, ขออนุญาต, (ใช้กราบบังคมทูล พระเจ้าแผ่นดิน).
  44. ขอยืม : ก. ขอสิ่งของ เงิน เป็นต้นมาใช้ชั่วระยะเวลาหนึ่งแล้วคืนให้ หรือใช้คืน, นำของของผู้อื่นมาใช้เป็นของของตน เช่น ขอยืมคำในภาษา บาลีมาใช้ ขอยืมวัฒนธรรมตะวันตกมาใช้ ขอยืมความคิด, (คณิต) ในการ ลบเลข ถ้าเลขตัวตั้งในหลักใดน้อยกว่าเลขที่จะนำมาลบ ให้นำเลขจาก หลักสูงถัดไปมาเพิ่มเลขตัวตั้งเพื่อให้มากพอที่จะลบได้ เช่น ๔๓ - ๕ ใน ที่นี้ ๕ ลบจาก ๓ ไม่ได้ ๓ ต้องขอยืม ๔ ซึ่งเป็นหลักสิบมา ๑ รวมเป็น ๑๓ แล้วลบออกเสีย ๕ เหลือ ๘ ๔ เมื่อถูกขอยืมไป ๑ ก็เหลือ ๓ ผลลัพธ์ ๓๘, ยืม ก็ว่า.
  45. ขา ๑ : น. อวัยวะตั้งแต่ตะโพกถึงข้อเท้า สําหรับยันกายและเดินเป็นต้น (ไทยถิ่นอื่น ขา หมายความตั้งแต่ตะโพกถึงเข่า); สิ่งของซึ่งมีลักษณะ คล้ายขาสําหรับยันหรือรองรับสิ่งใดสิ่งหนึ่ง เช่น ขาโต๊ะ ขาเก้าอี้ ขาตั้ง; เรียกส่วนที่ยื่นออกไปจากส่วนใหญ่เหมือนรูปขา เช่น ขากางเกง.
  46. ข้าวของ : น. สิ่งของต่าง ๆ มีเครื่องใช้เครื่องประดับเป็นต้น.
  47. ข้าหลวงเดิม : น. คนใช้เก่าแก่ของเจ้านาย, คนที่พระเจ้าแผ่นดินเคย ใช้มาแต่เมื่อยังไม่ได้เป็นพระเจ้าแผ่นดิน, (ปาก) คนหรือสิ่งของที่ ใช้สอยถูกใจมาเป็นเวลานาน ๆ.
  48. เข็ม ๑ : น. เหล็กแหลมใช้เย็บผ้าเป็นต้นหรือกลัดสิ่งของ, ของอื่น ๆ ที่มีรูปร่าง คล้ายเข็ม เช่น เข็มนาฬิกา เข็มฉีดยา; ไม้ที่เสี้ยมให้แหลมหรือวัตถุอื่น ที่มีลักษณะเช่นนั้นสําหรับฝังเป็นรากสิ่งก่อสร้างกันทรุด, เสาเข็ม ก็ว่า; เครื่องประดับสําหรับกลัดเป็นเครื่องหมาย เช่น เข็มข้าหลวงเดิม; โดย ปริยายหมายความว่า จุดมุ่งหมาย เช่น ตั้งเข็มชีวิต.
  49. เขม้น : [ขะเม่น] ก. เพ่ง, จ้องดู, มุ่งโดยเฉพาะ เช่น ฝ่ายผู้ได้พิจารณาว่ากล่าว บางคนก็ลำเอียงไปว่าทรัพจะได้เปนหลวง เขม้นว่ากล่าวกันโชกข่มขี่ จเอาแต่ทรัพเปนหลวงจงได้. (สามดวง), มักใช้เข้าคู่กับคำ มอง เป็น เขม้นมอง หรือ มองเขม้น, (โบ) เขียนเป็น ขเม่น ก็มี เช่น ขเม่น, คือ คนฤๅสัตวแลดูสิ่งของใด ๆ เพ่งตาดูไม่ใคร่จะกพริบ. (ปรัดเล)
  50. เขิง : (ถิ่น-อีสาน) น. เครื่องสานสําหรับร่อนสิ่งของหรือช้อนกุ้งปลาเป็นต้น มีลักษณะเป็นรูปกลม ก้นลึก ช่องตาถี่, ภาคกลางเรียกว่า ตะแกรง.
  51. [1-50] | 51-100 | 101-150 | 151-200 | 201-240

(0.0611 sec)