Dictionary : English, Thai, Pali. Link : Lexitron, RoyDict, BudDict, ETipitaka, PpmDict, Longdo.
Search: สีหน้า , then สหนา, สีหน้า .

Royal Institute Thai-Thai Dict : สีหน้า, 46 found, display 1-46
  1. ชักสีหน้า : ก. ทำสีหน้าโกรธไม่พอใจ, ชักหน้า ก็ว่า.
  2. ปั้นสีหน้า : ก. แกล้งแสดงหน้าตาให้ผิดปรกติเพื่อลวงให้เขาหลงเชื่อ เช่น ไม่เจ็บแต่ปั้นสีหน้าให้เหมือนคนเจ็บ.
  3. กรุกกรัก : ก. ขลุกขลัก เช่น กรุกกรักประดักประเดิดเปิดฝาลุ้ง. (คาวี). ว. เสียงดังกุกกัก เช่น ได้ยินเสียงกรุกกรักก็ทักถาม. (ม. ร่ายยาว ชูชก). ว. เสียงนกเขาขันคู, จุ๊กกรู๊ ก็ว่า. [กฺรุง] น. เมืองหลวง, เมืองซึ่งเป็นที่ตั้งรัฐบาลกลาง, แต่ก่อนหมายถึงประเทศก็ได้ เช่น กรุงสยาม กรุงจีน; (โบ) กษัตริย์ เช่น จึ่งกรุงสุทโธทนเห็นอัศจรรย์ก็ทูลพลันด่งงนี้ฯ. (ม. คำหลวง ทศพร). [กฺรุ้งกฺริ่ง] ก. แสดงสีหน้า แววตา และท่าทางเจ้าชู้, กรุ้มกริ่ม ก็ว่า. [กฺรุงขะเหฺมา] น. ชื่อไม้เถาชนิด Cissampelos pareira L. var. hirsuta (Buch. ex DC.) Forman ในวงศ์ Menispermaceae ใบรูปสามเหลี่ยมปลายมน ผลกลม เมื่อสุกสีแดง.
  4. กรุ้งกริ่ง : [กฺรุ้งกฺริ่ง] ก. แสดงสีหน้า แววตา และท่าทางเจ้าชู้, กรุ้มกริ่ม ก็ว่า.
  5. กรุ้มกริ่ม : [กฺรุ้มกฺริ่ม] ก. แสดงสีหน้า แววตา และท่าทางเจ้าชู้ เช่น เห็นผู้หญิงเดินผ่านมาก็ทำกรุ้มกริ่มขึ้นมาทันที, กรุ้งกริ่ง ก็ว่า.
  6. กะโล่ : น. ภาชนะสานของโบราณ ทารัก รูปแป้น ปากคลุ่ม ใช้ใส่ของมีเครื่องตัดผมเป็นต้น; ภาชนะสานคล้ายกระด้ง มีหลายขนาด แต่ชนิดที่ทาชันเพื่อไม่ให้น้ารั่วออก สําหรับหมักขี้ไต้นั้น มีขนาดใหญ่กว่ากระด้งมาก; เรียกสีหน้าที่แสดงความดีใจหรือภาคภูมิใจมากว่า หน้าบานเป็นกะโล่; ชื่อหมวกกันแดดชนิดหนึ่ง ทรงคลุ่ม มีปีกแข็งโดยรอบ โครงทําด้วยไม้ฉําฉาหรือไม้ก๊อกเป็นต้น แล้วหุ้มผ้าหรือทําด้วยใบลาน เรียกว่า หมวกกะโล่. (รูปภาพ กะโล่)
  7. เก้อ : ว. แสดงสีหน้าเจื่อนเพราะรู้สึกผิดคาดหรือทําอะไรผิดพลาดไป เช่น ทําหน้าเก้อ, รู้สึกผิดคาดผิดหวัง เช่น ไปเก้อ คอยเก้อ, ผิดแผกไปจากผู้อื่นเขาหรือแต่งตัวรอจะไปงานแล้วไม่ได้ไป เช่น แต่งตัวเก้อ; กระดาก, อาย, เช่น ทําแก้เก้อ; ขัดเขินหรือค้างอยู่ เพราะไม่เข้ากัน ไม่รับกัน เช่น รําเก้อ เรือนหลังนี้ทําไม่ได้ส่วนดูเก้อ ข้อความที่เขียนไว้เก้อไม่รับกัน.
  8. งอ : ว. ลักษณะที่มีส่วนปลายหักโค้งเข้าหาตัวมันเองเช่นรูปอย่างขอ; เรียกหน้าซึ่งมีสีหน้าแสดงอาการโกรธ ไม่พอใจ หรือไม่ได้อย่างใจ เป็นต้นว่า หน้างอ. ก. ทําให้มีรูปหรือเป็นเช่นนั้น, เรียกอาการของ คนที่หัวเราะจนตัวงอว่า หัวเราะงอ.
  9. ง้ำ : ว. ยื่นออกไปเกินปรกติจนปลายโน้มลง, โน้มไปทางหน้า เช่น สวมชฎา งํ้าหน้า, เรียกหน้าที่มีสีหน้าแสดงอาการโกรธไม่พอใจหรือไม่ได้อย่างใจ เป็นต้นว่า หน้างํ้า.
  10. เง้า : ว. เรียกหน้าซึ่งมีสีหน้าแสดงอาการโกรธ ไม่พอใจหรือไม่ได้อย่างใจ เป็นต้น ว่า หน้าเง้า.
  11. ชักหน้า ๑ : ก. ทําสีหน้าโกรธไม่พอใจ เช่น นางนั่งก้มพักตร์ แล้วชักหน้า. (อิเหนา), ชักสีหน้า ก็ว่า.
  12. แช่มชื่น : ว. มีสีหน้าแจ่มใสเบิกบาน.
  13. น้ำขุ่นไว้ใน น้ำใสไว้นอก : (สํา) แม้จะไม่พอใจก็ยังแสดงสีหน้ายิ้มแย้ม.
  14. นิ่ว ๒ : ก. ทําหน้าย่นขมวดคิ้วแสดงความโกรธหรือเจ็บปวดเป็นต้น. ว. มีสีหน้า เช่นนั้น ในคําว่า หน้านิ่ว.
  15. เป๋อเหลอ : [-เหฺลอ] ว. เซ่อ, มีสีหน้าไม่รู้เรื่อง (ใช้แก่หน้า).
  16. ม่อย : ก. เคลิ้มหลับไปชั่วครู่ เช่น ม่อยไปหน่อยหนึ่ง. ว. เรียกอาการที่มีสีหน้าสลดแสดงว่า เสียใจว่า หน้าม่อย.
  17. หน้าเก้อ : ว. มีสีหน้าเจื่อนเพราะรู้สึกผิดคาดหรือทําอะไรผิดพลาดไป เช่น เด็กตีหน้าเก้อเมื่อถูกจับได้ว่าทำความผิด.
  18. หน้าเข้ม : ว. มีสีหน้าเครียดหรือขุ่นเคือง, หน้าตึง ก็ว่า.
  19. หน้าเขียว : ว. มีสีหน้าแสดงอาการโกรธจัด เช่น เขาโกรธจนหน้าเขียว; หน้าซึ่งแสดงอาการเจ็บปวดมากเพราะถูกบีบเป็นต้น, โดยปริยาย หมายความว่า ถูกบีบหรือบังคับหนัก.
  20. หน้างอ : ว. มีสีหน้าแสดงอาการโกรธ ไม่พอใจ หรือไม่ได้อย่างใจ เป็นต้น.
  21. หน้าจ๋อย : ว. มีสีหน้าสลด, มีสีหน้าซีดเซียว, เช่น นักเรียนหน้าจ๋อยเพราะ ถูกครูตำหนิ.
  22. หน้าจืด : ว. มีสีหน้าซีดหรือไม่เข้มคม.
  23. หน้าเฉย : ว. มีสีหน้าแสดงความไม่รู้สึกยินดียินร้าย หรือไม่สนใจใยดีต่อสิ่ง หรือเหตุการณ์ใด ๆ.
  24. หน้าชื่นตาบาน : ว. มีสีหน้าเบิกบานแจ่มใส.
  25. หน้าซีด : ว. มีสีหน้าไม่สดใสหรือไม่มีสีเลือดเพราะอดนอน ตกใจ หรือถูก จับได้ว่าทำผิดเป็นต้น.
  26. หน้าซื่อใจคด : (สํา) ว. มีสีหน้าดูซื่อ ๆ แต่มีนิสัยคดโกง.
  27. หน้าเซียว : ว. มีสีหน้าแสดงความอิดโรยไม่สดใสเพราะอดนอนมาก เป็นต้น.
  28. หน้าด้าน, หน้าทน, หน้าหนา : ว. มีสีหน้าไม่สลดทั้งที่ควรจะอายแต่ก็ ไม่อาย, โดยปริยายหมายความว่า ไม่มีความรู้สึกอายในสิ่งที่ควรอาย.
  29. หน้าตาขึงขัง : ว. สีหน้าที่แสดงว่าเอาจริงเอาจัง ดูน่ากลัว.
  30. หน้าตาตื่น, หน้าตื่น : ว. มีสีหน้าตื่นเต้นตกใจเป็นต้น เช่น เขาวิ่งหนีไฟ หน้าตาตื่นมา.
  31. หน้าตาย : น. หน้าเฉยเหมือนไม่มีความรู้สึก เช่น เธอเป็นคนหน้าตาย. ว. ตีสีหน้าทำเป็นไม่รู้ไม่ชี้ เช่น ตลกหน้าตาย.
  32. หน้าตึง : ว. มีสีหน้าเครียดหรือขุ่นเคือง, หน้าเข้ม ก็ว่า; มีสีหน้าแดงหรือ เข้มขึ้นเพราะเริ่มเมา.
  33. หน้าตูม : ว. มีสีหน้าแสดงอาการไม่พอใจ เช่น เธอโกรธใครมาหน้าตูม เชียว.
  34. หน้าถอดสี : ว. มีสีหน้าแสดงความผิดหวังหรือตกใจเป็นต้น, หน้าเผือด หรือ หน้าเผือดสี ก็ว่า.
  35. หน้านวล ๒ : ว. มีสีหน้าผุดผ่องเป็นน้ำเป็นนวล, คนโบราณเชื่อว่า หญิงที่มี ครรภ์ถ้ามีหน้านวลอยู่เสมอ แสดงว่า บุตรในครรภ์จะเป็นเพศหญิง.
  36. หน้าบอกบุญไม่รับ : ว. มีสีหน้าบึ้งตึง เช่น เขาผิดหวังอะไรมา ทำหน้า บอกบุญไม่รับ.
  37. หน้าบูด : ว. มีสีหน้าแสดงอาการเบื่อหน่ายหรือไม่พอใจ เช่น เขาทำหน้าบูด เพราะเจอเรื่องที่ไม่สบอารมณ์, หน้าบูดหน้าเบี้ยว หรือ หน้าเบี้ยวหน้าบูด ก็ว่า.
  38. หน้าเผือด, หน้าเผือดสี : น. หน้าไม่มีสีเลือด. ว. มีสีหน้าแสดงความผิดหวัง หรือตกใจเป็นต้น, หน้าถอดสี ก็ว่า.
  39. หน้าม่อย : ว. มีสีหน้าสลดแสดงว่าเสียใจ เช่น เธอทำหน้าม่อยเพราะรีด เสื้อตัวสวยไหม้.
  40. หน้าม้าน : ว. มีสีหน้าเผือดด้วยความละอายจนไม่กล้าสบตาคน.
  41. หน้ายุ่ง : ว. มีสีหน้าว่ามีความยุ่งยากลำบากใจเพราะมีงานมากเสียจนไม่รู้ จะทำอะไรก่อนอะไรหลังเป็นต้น.
  42. หน้าเสีย : ว. มีสีหน้าแสดงอาการพิรุธหรือตกใจ เสียใจเป็นต้น เช่น เขา หน้าเสียเพราะถูกจับได้ว่าทำความผิด.
  43. หน้าแห้ง : ว. มีสีหน้าไม่แจ่มใสเพราะความทุกข์เช่นผิดหวัง.
  44. ให้หูให้ตา : ก. แสดงท่าทีให้ทราบด้วยสีหน้าและสายตาว่าพอใจใคร่สืบ ความสัมพันธ์ต่อไป (ใช้แก่ผู้หญิง) เช่น กุลสตรีไม่ควรให้หู''ให้ตาใคร ๆ.
  45. ออกนอกหน้า : ว. แสดงความรู้สึกให้ปรากฏทางสีหน้า, แสดงอาการ ให้ปรากฏอย่างชัดแจ้ง.
  46. อ่าน : ก. ว่าตามตัวหนังสือ, ถ้าออกเสียงด้วย เรียกว่า อ่านออกเสียง, ถ้า ไม่ต้องออกเสียง เรียกว่า อ่านในใจ; สังเกตหรือพิจารณาดูเพื่อให้ เข้าใจ เช่น อ่านสีหน้า อ่านริมฝีปาก อ่านใจ; ตีความ เช่น อ่านรหัส อ่านลายแทง; คิด, นับ. (ไทยเดิม).
  47. [1-46]

(0.0643 sec)