Dictionary : English, Thai, Pali. Link : Lexitron, RoyDict, BudDict, ETipitaka, PpmDict, Longdo.
Search: สืบ , then สบ, สืบ .

Budhism Thai-Thai Dict : สืบ, 42 found, display 1-42
  1. คณะมหานิกาย : คณะสงฆ์ไทยเดิมทีสืบมาแต่สมัยสุโขทัย, เป็นชื่อที่ใช้เรียกในเมื่อได้เกิดมีคณะธรรมยุตขึ้นแล้ว; สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชิรญาณวโรรส ทรงให้ความหมายว่า พระสงฆ์อันมีเป็นพื้นเมือง (ของประเทศไทย-ผู้เขียน) ก่อนเกิด ธรรมยุติกนิกาย (การคณะสงฆ์ น.๙๐)
  2. จักกวัตติสูตร : ชื่อสูตรที่ ๓ แห่งทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค พระสุตตันตปิฎก พระพุทธเจ้าตรัสสอนภิกษุทั้งหลายให้พึ่งตน คือพึ่งธรรม ด้วยการเจริญสติปัฏฐาน ๔ ซึ่งจะทำให้ได้ชื่อว่าเป็นผู้ดำเนินอยู่ในแดนของตนเองที่สืบมาแต่บิดา จะมีแต่ความดีงามเจริญขึ้นไม่เปิดช่องให้แก่มาร เช่นเดียวกับพระเจ้าจักรพรรดิที่ทรงประพฤติตามหลักจักรวรรดิวัตร อันสืบกันมาแต่บรรพชนของพระองค์ ย่อมทำให้จักรรัตนะบังเกิดขึ้นมาเอง, จักรวรรดิวัตร นั้นมี ๔ ข้อใหญ่ ใจความว่า ๑.พระเจ้าจักรพรรดิเป็นธรรมาธิปไตย และจัดการคุ้มครองป้องกันโดยชอบธรรม แก่ชนทุกหมู่เหล่าในแผ่นดิน ตลอดไปถึงสัตว์ที่ควรสงวนพันธุ์ทั้งหลาย ๒.มิให้มีการอันอธรรมเกิดขึ้นในแผ่นดิน ๓.ปันทรัพย์เฉลี่ยให้แก่ผู้ไร้ทรัพย์ ๔.ปรึกษาสอบถามการดีชั่ว ข้อควรและไม่ควรประพฤติ กะสมณพราหมณ์ ผู้ประพฤติดี ปฏิบัติชอบ อยู่เสมอ; จักรวรรดิวัตร ๔ ข้อนี้ บางทีจัดเป็น ๕ โดยแยกข้อ ๑.เป็น ๒ ข้อ คือ เป็นธรรมาธิปไตย ถือธรรมเป็นใหญ่อย่างหนึ่ง กับจัดการคุ้มครองป้องกันอันชอบธรรม อย่างหนึ่ง, นอกจากนั้น สมัยต่อมา อรรถกถาจัดแบ่งซอยออกไป และเพิ่มเข้ามาอีก รวมเป็น ๑๒ ข้อ เรียกว่า จักรวรรดิวัตร ๑๒ ; พระสูตรนี้ถือว่าเป็นคำสอนแสดงหลักวิวัฒนาการของสังคมตามแนวจริยธรรม กล่าวถึงหลักการปกครอง และหลักความสัมพันธ์ระหว่างเศรษฐกิจกับจริยธรรม; เรื่องพระศรีอารยเมตไตรย ก็มีต้นเค้ามาจากพระสูตรนี้
  3. จิตตสันดาน : การสืบต่อมาโดยไม่ขาดสายของจิต; ในภาษาไทยหมายถึง พื้นความรู้สึกนึกคิดหรืออุปนิสัยใจคอที่ฝังอยู่ในส่วนลึกของจิตใจมาแต่กำเนิด (ความหมายนัยหลังนี้ มิใช่มาในบาลี)
  4. ฉายา : 1.เงา, อาการที่เป็นเงาๆ คือ ไม่ชัดออกไป, อาการเคลือบแฝง 2.ชื่อที่พระอุปัชฌายะตั้งให้แก่ผู้ขอบวชเป็นภาษาบาลี เรียกว่าชื่อฉายา ที่เรียกเช่นนี้เพราะเดิมเมื่อเสร็จการบวชแล้ว ต้องมีการวัดฉายาคือเงาแดดด้วยการสืบเท้าว่าเงาหดหรือเงาขยายแค่ไหน ชั่วกี่สืบเท้า การวัดเงาด้วยเท้านั้นเป็นมาตรานับเวลา เรียกว่า บาท เมื่อวัดแล้วจดเวลาไว้และจดสิ่งอื่นๆ เช่นชื่อพระอุปัชฌายะ พระกรรมวาจาจารย์ จำนวนสงฆ์ และชื่อผู้อุปสมบท ทั้งภาษาไทยและมคธ ลงในนั้นด้วย ชื่อใหม่ที่จดลงตอนวัดฉายานั้น จึงเรียกว่าชื่อฉายา
  5. ญาติสาโลหิต : พี่น้องร่วมสายโลหิต (ญาติ = พี่น้องที่ยังนับรู้กันได้, สาโลหิต = ผู้ร่วมสายเลือดคือญาติที่สืบสกุลมาโดยตรง)
  6. ติสรณคมนูปสัมปทา : อุปสมบทด้วยไตรสรณคมน์ เป็นวิธีบวชพระที่พระพุทธเจ้าทรงอนุญาตให้พระสาวกบวชกุลบุตรในครั้งต้นพุทธกาล ต่อมาเมื่อทรงอนุญาตการอุปสมบทด้วยญัตติจตุตถกรรมแล้ว ก็ทรงอนุญาตการบวชด้วยไตรสรณคมน์นี้ ให้เป็นวิธีบวชสามเณรสืบมา
  7. ไตรวัฏ : วัฏฏะ ๓, วงวน ๓ หรือวงจร ๓ ส่วนของปฏิจจสมุปบาท หมุนเวียนสืบทอดต่อๆ กันไป ทำให้มีการเวียนว่ายตายเกิด หรือวงจรแห่งทุกข์ ได้แก่ กิเลส กรรม และวิบาก (เรียกเต็มว่า ๑.กิเลสวัฏ ประกอบด้วย อวิชชา ตัณหา อุปาทาน ๒.กรรมวัฏ ประกอบด้วย สังขาร ภพ ๓.วิปากวัฏ ประกอบด้วย วิญญาณ นามรูป สฬายตนะ ผัสสะ เวทนา ชาติ ชรามรณะ โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส อุปายาส) คือ กิเลสเป็นเหตุให้ทำกรรม เมื่อทำกรรมก็ได้รับวิบากคือผลของกรรมนั้น อันเป็นปัจจัยให้เกิดกิเลสแล้วทำกรรมหมุนเวียนต่อไปอีก เช่น เกิดกิเลสอยากได้ของเขา จึงทำกรรมด้วยการไปลักของเขามา ประสบวิบากคือได้ของนั้นมาเสพเสวยเกิดสุข เวทนา ทำให้มีกิเลสเหิมใจอยากได้รุนแรงและมากยิ่งขึ้นจึงยิ่งทำกรรมมากขึ้น หรือในทางตรงข้ามถูกขัดขวาง ได้รับทุกขเวทนาเป็นวิบาก ทำให้เกิดกิเลส คือโทสะแค้นเคือง แล้วพยายามทำกรรมคือประทุษร้ายเขา เมื่อเป็นอยู่อย่างนี้ วงจรจะหมุนเวียนต่อไปไม่มีที่สิ้นสุด
  8. ไตรวัฏฏ์ : วัฏฏะ ๓, วงวน ๓ หรือวงจร ๓ ส่วนของปฏิจจสมุปบาท หมุนเวียนสืบทอดต่อๆ กันไป ทำให้มีการเวียนว่ายตายเกิด หรือวงจรแห่งทุกข์ ได้แก่ กิเลส กรรม และวิบาก (เรียกเต็มว่า ๑.กิเลสวัฏ ประกอบด้วย อวิชชา ตัณหา อุปาทาน ๒.กรรมวัฏ ประกอบด้วย สังขาร ภพ ๓.วิปากวัฏ ประกอบด้วย วิญญาณ นามรูป สฬายตนะ ผัสสะ เวทนา ชาติ ชรามรณะ โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส อุปายาส) คือ กิเลสเป็นเหตุให้ทำกรรม เมื่อทำกรรมก็ได้รับวิบากคือผลของกรรมนั้น อันเป็นปัจจัยให้เกิดกิเลสแล้วทำกรรมหมุนเวียนต่อไปอีก เช่น เกิดกิเลสอยากได้ของเขา จึงทำกรรมด้วยการไปลักของเขามา ประสบวิบากคือได้ของนั้นมาเสพเสวยเกิดสุข เวทนา ทำให้มีกิเลสเหิมใจอยากได้รุนแรงและมากยิ่งขึ้นจึงยิ่งทำกรรมมากขึ้น หรือในทางตรงข้ามถูกขัดขวาง ได้รับทุกขเวทนาเป็นวิบาก ทำให้เกิดกิเลส คือโทสะแค้นเคือง แล้วพยายามทำกรรมคือประทุษร้ายเขา เมื่อเป็นอยู่อย่างนี้ วงจรจะหมุนเวียนต่อไปไม่มีที่สิ้นสุด
  9. ทายาท : ผู้สืบสกุล, ผู้ควรรับมรดก
  10. เทโวโรหณะ : “การลงจากเทวโลก” หมายถึงการที่พระพุทธเจ้าเสด็จลงจากเทวโลก ตำนานเล่าว่าในพรรษาที่ ๗ แห่งการบำเพ็ญพุทธกิจ พระพุทธเจ้าเสด็จไปประทับจำพรรษาในดาวดึงสเทวโลก ทรงแสดงพระอภิธรรมโปรดพระพุทธมารดาพร้อมทั้งหมู่เทพ ณ ที่นั้น เมื่อถึงเวลาออกพรรษาในวันมหาปวารณา (วันขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๑๑) ได้เสด็จลงมาจากสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ กลับคืนสู่โลกมนุษย์ ณ ประตูเมืองสังกัสสะ โดยมีเทวดาและมหาพรหมทั้งหลายแวดล้อม ลงมาส่งเสด็จ ฝูงชนจำนวนมากมายก็ได้ไปคอยรับเสด็จ กระทำมหาบูชาเป็นการเอิกเกริกมโหฬารและพระพุทธเจ้าได้ทรงแสดงธรรม มีผู้บรรลุคุณวิเศษจำนวนมาก ชาวพุทธในภายหลังได้ปรารภเหตุการณ์พิเศษครั้งนี้ ถือเป็นกาลกำหนดสำหรับบำเพ็ญการกุศล ทำบุญตักบาตรคราวใหญ่แด่พระสงฆ์ เป็นประเพณีนิยมสืบมา ดังปรากฏในประเทศไทย เรียกกันว่า ตักบาตรเทโวโรหณะ หรือนิยมเรียกสั้นๆ ว่า ตักบาตรเทโว บางวัดก็จัดพิธีในวันออกพรรษา คือวันมหาปวารณา ขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๑๑ บางวัดจัดถัดจากนั้น ๑ วัน คือในวันแรม ๑ ค่ำ เดือน ๑๑
  11. ธัมมปฏิสัมภิทา : ปัญญาแตกฉานในธรรม, เห็นคำอธิบายพิสดาร ก็สามารถจับใจความมาตั้งเป็นหัวข้อได้ เห็นผลก็สืบสาวไปหาเหตุได้ (ข้อ ๒ ใน ปฏิสัมภิทา ๔)
  12. ปฏิสนธิจิตต์ : จิตที่สืบต่อภพใหม่, จิตที่เกิดทีแรกในภพใหม่
  13. ปักขคณนา : “การนับปักษ์”, วิธีคำนวณดิถีตามปักษ์ คือ คำนวณหาวันขึ้นแรมกี่ค่ำๆ ให้แม่นยำ ตรงตามการโคจรของดวงจันทร์อย่างแท้จริง เฉพาะอย่างยิ่งมุ่งให้ได้วันพระจันทร์เต็มดวงหรือวันเพ็ญ (ขึ้น ๑๔-๑๕ ค่ำ) วันพระจันทร์ดับ หรือวันดับ (แรม ๑๔-๑๕ ค่ำ) และวันพระจันทร์กึ่งดวง (ขึ้น ๘ ค่ำ และ แรม ๘ ค่ำ) ตรงกับวันที่ดวงจันทร์เป็นอย่างนั้นจริงๆ ซึ่งบางเดือนข้างขึ้นอาจมีเพียง ๑๔ วัน (วันเพ็ญ เมื่อขึ้น ๑๔ ค่ำ) ก็มีข้างแรมอาจมีเต็ม ๑๕ วันติดต่อกัน หลายเดือนก็มี ต้องตรวจดูเป็นปักษ์ๆ ไป จึงใช้คำว่าปักษ์ถ้วน ปักษ์ขาดไม่ใช่เพียงเดือนเต็ม เดือนขาด เป็นวิธีคำนวณที่สลับซับซ้อน ต่างจากปฏิทินหลวง หรือปฏิทินของราชการ ที่ใช้วิธีคำนวณเฉลี่ยให้ข้างขึ้นเต็ม ๑๕ วันเสมอไป ส่วนข้างแรม เดือนคู่มี ๑๕ วัน เดือนคี่เรียกว่าเดือนขาดมี ๑๔ วัน สลับกันไป (แม้จะคำนวณด้วยวิธีที่พิเศษออกไป แต่วันเดือนเพ็ญเดือนดับที่ตรงกันก็มาก ที่คลาดกันก็เพียงวันเดียว); ปักขคณนา นี้ พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าฯ ทรงค้นคิดวิธีคำนวณขึ้นใช้ในพระสงฆ์คณะธรรมยุต เพื่อเป็นเครื่องกำหนดวันสำหรับพระสงฆ์ทำอุโบสถ และสำหรับอุบาสกอุบาสิการักษาอุโบสถศีลฟังธรรมเป็นข้อปฏิบัติของคณะธรรมยุตสืบมา
  14. ปักษคณนา : การนับปักษ์, วิธีคำนวณดิถีตามปักษ์ คือ คำนวณหาวันขึ้นแรมกี่ค่ำๆ ให้แม่นยำ ตรงตามการโคจรของดวงจันทร์อย่างแท้จริง เฉพาะอย่างยิ่งมุ่งให้ได้วันพระจันทร์เต็มดวงหรือวันเพ็ญ (ขึ้น ๑๔-๑๕ ค่ำ) วันพระจันทร์ดับ หรือวันดับ (แรม ๑๔-๑๕ ค่ำ) และวันพระจันทร์กึ่งดวง (ขึ้น ๘ ค่ำ และ แรม ๘ ค่ำ) ตรงกับวันที่ดวงจันทร์เป็นอย่างนั้นจริงๆ ซึ่งบางเดือนข้างขึ้นอาจมีเพียง ๑๔ วัน (วันเพ็ญ เมื่อขึ้น ๑๔ ค่ำ) ก็มีข้างแรมอาจมีเต็ม ๑๕ วันติดต่อกัน หลายเดือนก็มี ต้องตรวจดูเป็นปักษ์ๆ ไป จึงใช้คำว่าปักษ์ถ้วน ปักษ์ขาดไม่ใช่เพียงเดือนเต็ม เดือนขาด เป็นวิธีคำนวณที่สลับซับซ้อน ต่างจากปฏิทินหลวง หรือปฏิทินของราชการ ที่ใช้วิธีคำนวณเฉลี่ยให้ข้างขึ้นเต็ม ๑๕ วันเสมอไป ส่วนข้างแรม เดือนคู่มี ๑๕ วัน เดือนคี่เรียกว่าเดือนขาดมี ๑๔ วัน สลับกันไป (แม้จะคำนวณด้วยวิธีที่พิเศษออกไป แต่วันเดือนเพ็ญเดือนดับที่ตรงกันก็มาก ที่คลาดกันก็เพียงวันเดียว); ปักขคณนา นี้ พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าฯ ทรงค้นคิดวิธีคำนวณขึ้นใช้ในพระสงฆ์คณะธรรมยุต เพื่อเป็นเครื่องกำหนดวันสำหรับพระสงฆ์ทำอุโบสถ และสำหรับอุบาสกอุบาสิการักษาอุโบสถศีลฟังธรรมเป็นข้อปฏิบัติของคณะธรรมยุตสืบมา
  15. ปุตตะ : เป็นชื่อนรกขุมหนึ่งของลัทธิพราหมณ์ พวกพราหมณ์ถือว่าชายใดไม่มีลูกชาย ชายนั้นตายไปต้องตกนรกขุม “ปุตตะ” ถ้ามีลูกชาย ลูกชายนั้นช่วยป้องกันไม่ให้ตกนรกขุมนั้นได้ ศัพท์ว่า บุตร จึงใช้เป็นคำเรียกลูกชาย สืบมา แปลว่า ลูกผู้ป้องกันพ่อจากขุมนรก ปุตตะ
  16. มคธ : 1.ชื่อแคว้นหนึ่งในบรรดา ๑๖ แคว้นใหญ่แห่งชมพูทวีปครั้งพุทธกาล ตั้งอยู่ฝั่งใต้ของแม่น้ำคงคาตอนกลาง เป็นแคว้นที่มีอำนาจมากแข่งกับแคว้นโกศล และเป็นที่พระพุทธเจ้าทรงประดิษฐานพระพุทธศาสนา ในสมัยพุทธกาล มคธมีนครหลวงชื่อ ราชคฤห์ ราชาผู้ปกครองพระนามว่าพิมพิสาร ตอนปลายพุทธกาล พระเจ้าพิมพิสาร ถูกโอรสชื่ออชาตศัตรูปลงพระชนม์และขึ้นครองราชย์สืบแทน ต่อมาในสมัยพระเจ้ากาลาโศก หรือก่อนนั้น เมืองหลวงของมคธ ย้ายไปตั้งที่เมืองปาฏลีบุตร บนฝั่งแม่น้ำคงคา เหนือเมืองราชคฤห์ขึ้นไป มคธรุ่งเรืองถึงที่สุดในสมัยพระเจ้าอโศกมหาราช ซึ่งแคว้นใหญ่อื่นทั้งหมดได้รวมเข้าอยู่ภายในมหาอาณาจักรของพระองค์ทั้งหมดแล้ว บัดนี้ บริเวณที่เคยเป็นแคว้นมคธในสมัยพุทธกาล เรียกว่า แคว้นพิหาร 2.เรียกภาษาที่ใช้พูดในแคว้นมคธ หรือภาษาของชาวแคว้นมคธว่า ภาษามคธ และถือกันว่า ภาษาบาลีที่ใช้รักษาพระพุทธพจน์สืบมา จนบัดนี้ คือ ภาษามคธ
  17. มหากัสสปะ : พระมหาสาวกองค์หนึ่ง เกิดที่หมู่บ้านพราหมณ์ชื่อมหาติตถะในแคว้นมคธ เป็นบุตรของกปิลพราหมณ์ มีชื่อเดิมว่าปิปผลิมาณพ เมื่ออายุ ๒๐ ปี ได้สมรสกับนางภัททกาปิลานี ตามความประสงค์ของมารดาบิดาแต่ไม่มีความยินดีในชีวิตครองเรือน ต่อมาทั้งสามีภรรยาได้สละเรือน นุ่งห่มผ้ากาสาวะออกบวชกันเอง เดินทางออกจากบ้านแล้วแยกกันที่ทาง ๒ แพร่ง ปิปผลิมาณพได้พบพระพุทธเจ้าที่พหุปุตตกนิโครธระหว่างเมืองราชคฤห์กับเมืองนาลันทา ได้อุปสมบทด้วยโอวาท ๓ ข้อ และได้ถวายผ้าสังฆาฏิของตนแลกกับจีวรเก่าของพระพุทธเจ้า แล้วสมาทานธุดงค์ ครั้นบวชล่วงไปแล้ว ๗ วัน ก็ได้บรรลุพระอรหัต เป็นผู้มีปฏิปทามักน้อย สันโดษ ได้รับยกย่องว่าเป็นเอตทัคคะ ในทางถือธุดงค์ เมื่อพระพุทธเจ้าปรินิพพานแล้ว ท่านได้เป็นผู้ริเริ่มและเป็นประธานในปฐมสังคายนา ท่านดำรงชีวิตสืบมาจนอายุ ๑๒๐ ปี จึงปรินิพพาน
  18. ยุพราช : พระราชกุมารที่ได้รับอภิเษกหรือแต่งตั้งให้อยู่ในตำแหน่งที่จะสืบราชสมบัติเป็นพระเจ้าแผ่นดินสืบไป
  19. รัชทายาท : ผู้จะสืบราชสมบัติ, ผู้จะได้ครองราชสมบัติสืบต่อไป
  20. ราชาภิเษก : พระราชพิธีในการขึ้นสืบราชสมบัติ
  21. รามัญนิกาย : นิกายมอญ หมายถึงพระสงฆ์ผู้สืบเชื้อสายมาจากรามัญประเทศ ส่วนมากเป็นมอญเองด้วยโดยสัญชาติ
  22. ลัทธิ : ความเชื่อถือ, ความรู้และประเพณี ที่ได้รับและปฏิบัติสืบต่อกันมา
  23. ศากยะ : ชื่อกษัตริย์พวกหนึ่ง ซึ่งสืบเชื้อสายมาจากพระเจ้าโอกกากราช ซึ่งเป็นผู้สร้างและครองกรุงกบิลพัสดุ์ พระพุทธเจ้าก็เป็นกษัตริย์วงศ์นี้; ศากยะ เป็นคำสันสกฤต เรียกอย่างบาลีเป็น สักกะบ้าง, สักยะบ้าง, สากิยะบ้าง, ศากยะ หรือสักกะนี้ ใช้เป็นคำเรียกชื่อถิ่นหรือแคว้นของพวกเจ้าศากยะด้วย ดู สักกชนบท
  24. สกทาคามิผล : ผลที่ได้รับจากการละสักกายทิฏฐิ วิจิกิจฉา สีลัพพตปรามาส กับทำราคะ โทสะ โมหะ ให้เบาบางลง ซึ่งสืบเนื่องมาแต่สกทาคามิมรรค, สกิทาคามิผล ก็เขียน
  25. สรณคมนอุปสัมปทา : วิธีอุปสมบทด้วยการเปล่งวาจาถึงพระพุทธเจ้า พระธรรม และพระสงฆ์ เป็นสรณะ เป็นวิธีที่พระพุทธเจ้าทรงอนุญาตให้พระสาวกใช้อุปสมบทกุลบุตรในตอนปฐมโพธิกาล ต่อมาเมื่อพระพุทธเจ้าทรงอนุญาตการอุปสมบทด้วยญัตติจตุตถกรรมแล้ว การบวชด้วยสรณคมน์ ก็ใช้สำหรับการบรรพชาสามเณรสืบมา ติสรณคมนูปสัมปทา ก็เรียก; ดู อุปสัมปทา
  26. สักกชนบท : ชื่อแคว้นหนึ่งในชมพูทวีปตอนเหนือ นครหลวงชื่อกบิลพัสดุ์ เป็นชาติภูมิของพระพุทธเจ้ามีการปกครองโดยสามัคคีธรรม มีประวัติสืบมาแต่สมัยพระเจ้าโอกกากราช บัดนี้อยู่ในเขตประเทศเนปาล
  27. สัทธา : ความเชื่อ; ในทางธรรม หมายถึง เชื่อสิ่งที่ควรเชื่อ, ความเชื่อที่ประกอบด้วยเหตุผล, ความมั่นใจในความจริงความดีสิ่งดีงามและในการทำความดีไม่ลู่ไหลตื่นตูมไปตามลักษณะอาการภายนอก ท่านแสดงสืบ ๆ กันมาว่า ๔ อย่างคือ ๑.กัมมสัทธา เชื่อกรรม ๒.วิปากสัทธา เชื่อผลของกรรม ๓.กัมมัสสกตาสัทธา เชื่อว่าสัตว์มีกรรมเป็นของตัว ทำดีได้ดี ทำชั่วได้ชั่ว ๔.ตถาคตโพธิสัทธา เชื่อปัญญาตรัสรู้ของพระตถาคต; เขียนอย่างสันสกฤตเป็นศรัทธา
  28. สันดาน : ความสืบต่อแห่งจิต คือกระแสจิตที่เกิดดับต่อเนื่องกันมา; ในภาษาไทยมักใช้ในความหมายว่าอุปนิสัยที่มีมาแต่กำเนิด, อัธยาศัยที่มีติดต่อมา
  29. สันตติ : การสืบต่อ คือ การเกิดดับต่อเนื่องกันไปโดยอาการที่เป็นปัจจัยส่งผลแก่กัน ในทางรูปธรรม ที่พอมองเห็นอย่างหยาบ เช่น ขนเก่าหลุดร่วง ไปขนใหม่เกิดขึ้นแทน ความสืบต่อแห่งรูปธรรม จัดเป็น อุปาทายรูป อย่างหนึ่ง; ในทางนางธรรม จิตก็มีสันตติ คือเกิดดับเป็นปัจจัยสืบเนื่องต่อกันไป
  30. สัมมาญาณะ : รู้ชอบ ได้แก่ผลญาณ คือ ญาณอันเป็นผลสืบเนื่องมาจากมรรคญาณ เช่น โสดาปัตติผล เป็นต้น และปัจจเวกขณญาณ (ข้อ ๙ ในสัมมัตตะ ๑๐)
  31. อนาคตังสญาณ : ญารหยั่งรู้ส่วนอนาคต, ปรีชากำหนดรู้คาดผลข้างหน้าอันสืบเนื่องจากเหตุในปัจจุบันหรือในอนาคตก่อนเวลานั้น (ข้อ ๒ ในญาณ ๓)
  32. อนุสนธิ : การติดต่อ, การสืบเนื่อง, ความ หรือเรื่องที่ติดต่อหรือสืบเนื่องกันมา
  33. อรหัตตผล : ผลคือการสำเร็จเป็นพระอรหันต์, ผลคือความเป็นพระอรหันต์, ผลที่ได้รับจากการละสังโยชน์ทั้งหมด อันสืบเนื่องมาจากอรหัตตมรรค ทำให้เป็นพระอรหันต์
  34. อริยวงศ์ : ปฏิปทาที่พระอริยบุคคลผู้เป็นสมณะ ปฏิบัติสืบกันมาไม่ขาดสาย, อริยประเพณี มี ๔ คือ ๑) สันโดษด้วยจีวร ๒) สันโดษด้วยบิณฑบาต ๓) สันโดษด้วยเสนาสนะ ๔) ยินดีในการบำเพ็ญกุศล ละอกุศล
  35. อัตถปฏิสัมภิทา : ปัญญาแตกฉานในอรรถ, ความแตกฉานสามารถอธิบายเนื้อความย่อของภาษิตโดยพิสดาร และความเข้าใจที่สามารถคาดหมายผลข้างหน้าอันจะเกิดสืบเนื่องไปจากเหตุ (ข้อ ๑ ในปฏิสัมภิทา ๔)
  36. อาถรรพณ์ : เวทมนตร์ที่ใช้เพื่อให้ดีหรือร้าย, วิชาเสกเป่าป้องกัน, การทำพิธีป้องกันอันตรายต่างๆ ตามพิธีพราหมณ์ เช่น พิธีฝังเสาหิน หรือ ฝังบัตรพลี เรียกว่า ฝังอาถรรพณ์ (สืบเนื่องมาจากพระเวทคัมภีร์ที่ ๔ คืออถรรพเวท หรือ อาถรรพณเวท) อาถรรพ์ ก็ใช้
  37. อาทิตยโคตร : ตระกูลพระอาทิตย์, เผ่าพันธุ์พระอาทิตย์, ตระกูลที่สืบเชื้อสายนางอทิติผู้เป็นชายาของพระกัศยปประชาบดี, ท่านว่าสกุลของพระพุทธเจ้าก็เป็นอาทิตยโคตร (โคตมโคตรกับอาทิตยโคตร มีความหมายอย่างเดียวกัน)
  38. อานนท์ : พระมหาสาวกองค์หนึ่ง เป็นเจ้าชายในศากยวงศ์ เป็นโอรสของพระเจ้าสุกโกทนะ ซึ่งเป็นพระเจ้าอาของเจ้าชายสิทธิตถะ ท่านออกบวชในพระพุทธศาสนาพร้อมกับอนุรุทธะและอุบาลีเป็นต้น และได้รับเลือกเป็นพระอุปัฏฐากประจำพระองค์ของพระพุทธเจ้า ได้รับยกย่องเป็นเอตทัคคะหลายด้านคือ เป็นพหูสูต เป็นผู้มีสติ มีคติ มีธิติ และเป็นอุปัฏฐาก ท่านบรรลุพระอรหัตหลังจากพระพุทธเจ้าปรินิพพานแล้ว ๓ เดือน เป็นกำลังสำคัญในคราวทำปฐมสังคายนา คือ เป็นผู้วิสัชนาพระสูตรและพระอภิธรรม ท่านดำรงชีวิตสืบมาจนอายุได้ ๑๒๐ ปี จึงปรินิพพานในอากาศ เหนือแม่น้ำโรหิณี ซึ่งเป็นเส้นกั้นแดนระหว่างแคว้นของพระญาติ ๒ ฝ่าย คือ ศากยะและโกลิยะ
  39. อุปสัมปทา : การบวช, การบวชเป็นภิกษุหรือภิกษุณี; วิธีอุปสมบทมีทั้งหมด ๘ อย่าง แต่เฉพาะที่ใช้เป็นหลักมี ๓ อย่างคือ ๑) เอหิภิกขุอุปสัมปทา การอุปสมบทด้วยพระวาจาว่า “จงเป็นภิกษุมาเถิด” เป็นวิธีที่พระพุทธเจ้าทรงบวชให้เอง ๒) ติสรณคมนูปสัมปทา หรือสรณคมนูปสัมปทา การอุปสมบทด้วยถึงไตรสรณะ เป็นวิธีที่ทรงอนุญาตให้พระสาวกทำในยุคต้นพุทธกาล เมื่อคณะสงฆ์ยังไม่ใหญ่นัก เมื่อทรงอนุญาตวิธีที่ ๓ แล้ว วิธีที่ ๒ นี้ก็เปลี่ยนใช้สำหรับบรรพชาสามเณร ๓) ญัตติจตุตถกัมมอุปสัมปทา การอุปสมบทด้วยญัตติจตุตถกรรม เป็นวิธีที่ทรงอนุญาตให้สงฆ์ทำ ในเมื่อคณะสงฆ์เป็นหมู่ใหญ่ขึ้นแล้วส และเป็นวิธีใช้สืบมาจนทุกวันนี้; วิธีอุปสมบทอีก ๕ อย่าง ที่เหลือเป็นวิธีที่ทรงประทานเป็นการพิเศษ จำเพาะบุคคลบ้าง ขาดตอนหมดไปแล้วบ้าง ได้แก่ (จัดเรียงลำดับใหม่ เอาข้อ ๓) เป็นข้า ๘) ท้ายสุด) ๓) โอวาทปฏิคคหณูปสัมปทา การอุปสมบทด้วยการรับโอวาท เป็นวิธีที่ทรงอนุญาตแก่พระมหากัสสปะ ๔) ปัญหาพยากรณูปสัมปทา การอุปสมบทด้วยการตอบปัญหาของพระพุทธองค์ เป็นวิธีที่ทรงอนุญาตแก่โสปากสามเณร ๕) ครุธรรมปฏิคคหณูปสัมปทา (หรือ อัฏฐครุธรรมปฏิคคหณูปสัมปทา) การอุปสมบทด้วยการรับครุธรรม ๘ ประการ เป็นวิธีที่ทรงอนุญาตแก่พระนางมหาปชาบดีโคตมี ๖) ทูเตนะ อุปสัมปทา การอุปสมบทด้วยทูต เป็นวิธีที่ทรงอนุญาตแก่นางคณิกา (หญิงโสเภณี) ชื่ออัฑฒกาสี ๗) อัฏฐวาจิกาอุปสัมปทา การอุปสมบทมีวาจา ๘ คือ ทำด้วยญัตติจตุตถกรรม ๒) ครั้งจากสงฆ์ทั้ง ๒ ฝ่ายคือจากภิกษุณีสงฆ์ครั้งหนึ่ง จากภิกษุสงฆ์ครั้งหนึ่ง ได้แก่การอุปสมบทของภิกษุณี ๘) ญัตติจตุตถกรรมอุปสัมปทา (ข้อ ๓) เดิม)
  40. อุปาทายรูป : รูปอาศัย, รูปที่เกิดสืบเนื่องจากมหาภูตรูป, อาการของมหาภูตรูป ตามหลักฝ่ายอภิธรรมว่า มี ๒๔ คือ ก) ประสาท หรือ ปสาทรูป ๕ ได้แก่ จักขุ ตา, โสต หู, ฆาน จมูก, ชิวหา ลิ้น, กาย, มโน ใจ, ข) โคจรรูป หรือ วิสัยรูป (รูปที่เป็นอารมณ์) ๕ ได้แก่ รูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ (โผฏฐัพพะ ไม่นับเข้าจำนวน เพราะตรงกับปฐวี เตโช วาโย ซึ่งเป็นมหาภูตรูป) ค) ภาวรูป ๒ ได้แก่ อิตถีภาวะ ความเป็นหญิง และปุริสภาวะ ความเป็นชาย ง) หทัยรูป ๑ คือ หทัยวัตถุ หัวใจ จ) ชีวิตรูป ๑ คือ ชีวิตินทรีย์ ภาวะที่รักษารูปให้เป็นอยู่ ฉ) อาหารรูป ๑ คือกวฬิงการาหาร อาหารที่กินเกิดเป็นโอชา ช) ปริจเฉทรูป ๑ คือ อากาศธาตุ ช่องว่าง ญ) วิญญัติรูป ๒ คือ กายวิญญัติ ไหวกายให้รู้ความ วจีวิญญัติ ไหววาจาให้รู้ความ คือพูดได้ ฎ) วิการรูป ๕ อาการดัดแปลงต่างๆ ได้แก่ ลหุตา ความเบา, มุทุตา ความอ่อน, กัมมัญญตา ความควรแก่งาน, (อีก ๒ คือ วิญญัติรูป ๒ นั่นเอง ไม่นับอีก) ฏ) ลักขณรูป ๔ ได้แก่ อุปจยะ ความเติบขึ้นได้, สันตติ สืบต่อได้, ชรตา ทรุดโทรมได้, อนิจจตา ความสลายไม่ยั่งยืน (นับโคจรรูปเพียง ๔ วิการรูป เพียง ๓ จึงได้ ๒๔); ดู มหาภูต ด้วย
  41. อักโกสวัตถุ : เรื่องสำหรับด่า มี ๑๐ อย่าง คือ ๑) ชาติ ได้แก่ชั้นหรือกำเนิดของคน ๒) ชื่อ ๓) โคตร คือตระกูลหรือแซ่ ๔) การงาน ๕) ศิลปะ ๖) โรค ๗) รูปพรรณสัณฐาน ๘) กิเลส ๙) อาบัติ ๑๐) คำสบประมาทอย่างอื่นๆ
  42. อุภยัตถะ : ประโยชน์ทั้ง ๒ ฝ่าย, ประโยชน์ร่วมกน, สิ่งที่เกื้อกูลแก่ส่วนรวมเป็นคุณแก่ชีวิตทั้งของตนเองและของผู้อื่นช่วยให้เป็นอยู่กันด้วยดีพากันประสบทิฏฐธัมมิกัตถะ สัมปรายิกัตถะ และปรมัตถะ ยิ่งขึ้นไป; ดู อัตถะ
  43. [1-42]

(0.0103 sec)