Dictionary : English, Thai, Pali. Link : Lexitron, RoyDict, BudDict, ETipitaka, PpmDict, Longdo.
Search: สู้ .

Royal Institute Thai-Thai Dict : สู้, 107 found, display 1-50
  1. มีดต้องสู้ : น. มีดขนาดใหญ่ มีลักษณะคล้ายดาบ ปลายตัดเป็นหยัก ด้ามทำด้วยโลหะหรือไม้หุ้มโลหะ ปรกติสอดใบมีดไว้ในฝัก เป็นมีด ที่นิยมใช้กันในหมู่ชาวต้องสู้.
  2. ยิ้มสู้ : ก. ยิ้มพร้อมที่จะสู้กับอุปสรรคอันตรายใด ๆ โดยไม่ยอมถอย.
  3. หลังสู้ฟ้าหน้าสู้ดิน : (สำ) ว. ที่ต้องตรากตรำทำงานหนัก มักหมายถึง ชาวไร่ชาวนา ซึ่งในเวลาทำไร่ทำนาหลังต้องสู้กับแดด และหน้าต้อง ก้มลงดิน.
  4. ต้องสู้ : น. ชนชาติกะเหรี่ยงหรือยางพวกหนึ่ง.
  5. ต้อนรับขับสู้ : (สํา) ก. ต้อนรับอย่างแข็งขัน.
  6. แบ่งรับแบ่งสู้ : ก. รับบ้างปฏิเสธบ้าง, รับหรือปฏิเสธโดยมีเงื่อนไข, ภาคเสธ.
  7. รบ : ก. สู้กัน, ต่อสู้ในทางศึก, เช่น ไปรบกับข้าศึกที่ชายแดน, สู้ เช่น รบกับ หญ้าไม่ชนะ; เร้าจะเอาให้ได้ เช่น ลูกรบแม่ให้ซื้อตุ๊กตา.
  8. รบาญ : [ระบาน] ก. รบ, สู้.
  9. กด ๓ : น. ชื่อนกชนิดหนึ่ง เช่น นกกดอดทนสู้ พบงูเห่าเอาปีกบัง. (ประพาสธารทองแดง).
  10. กังก้า : ว. จังก้า, ลักษณะยืนถ่างขาตั้งท่าเตรียมสู้ เช่น ถกเขมรกังก้าเรียก ข้าไทย. (ขุนช้างขุนแผน-แจ้ง).
  11. ก๊าน : (ถิ่น-พายัพ) ก. ค้าน, แพ้, สู้ไม่ได้, เช่น ก๊านพ่ายหนี.
  12. กุลา ๒ : น. ชนชาติต้องสู้และไทยใหญ่, กุหล่า หรือ คุลา ก็ว่า; (ถิ่น-พายัพ) ใช้เรียกชนต่างประเทศ เช่น เรียกชนชาติฝรั่งว่า กุลาขาว, เรียก ชนชาติแขกว่า กุลาดํา.
  13. กุหล่า : [-หฺล่า] น. ชนชาติต้องสู้และไทยใหญ่, กุลา หรือ คุลา ก็ว่า.
  14. แก้มือ : ก. ขอสู้ใหม่, ทําสิ่งที่เสียแล้วเพื่อให้ดีขึ้น.
  15. ขนหย็อง : น. ขนหัวตั้งชัน ตัวลีบ หางตก เป็นอาการของไก่หรือนก ที่รู้สึกกลัวไม่กล้าสู้. ก. โดยปริยายใช้แก่คนที่ไม่กล้าสู้, กลัว.
  16. ข้อลำ : น. พละกำลัง เช่น ข้อลำอย่างนี้จะสู้งานหนักไหวหรือ.
  17. ขันสู้ : ก. แข่งเข้าสู้, กล้าสู้.
  18. ขายทอดตลาด : (กฎ) น. การขายทรัพย์สินที่กระทําโดยเปิดเผยแก่บุคคล ทั่วไปด้วยวิธีเปิดโอกาสให้ผู้ซื้อสู้ราคากัน ผู้ใดให้ราคาสูงสุดและผู้ทอด ตลาดแสดงความตกลงด้วยเคาะไม้หรือด้วยกิริยาอย่างอื่นตามจารีต ประเพณีในการขายทอดตลาด ผู้นั้นเป็นผู้ซื้อทรัพย์สินนั้น.
  19. ขีน : ก. ยั้งไว้หรือบังคับไว้ไม่ให้เป็นไปตาม เช่น ขืนตัว ขืนเรือ; ไม่ควรทํา แต่ยังกล้าทํา เช่น ขืนกิน ขืนสู้, ไม่ยอมทําตาม เช่น ขืนคําสั่ง.
  20. เข็ด ๒ : ก. กลัวจนไม่กล้าทําเช่นนั้นอีก เพราะเคยได้รับผลร้ายมาแล้ว, หลาบจํา, ไม่กล้าสู้, เช่นในคําว่า เข็ดข้อ เข็ดข้อเข็ดลํา เข็ดเขี้ยว.
  21. เข็ดข้อ, เข็ดข้อเข็ดลำ : ก. ไม่กล้าสู้เพราะคร้ามข้อคร้ามลํา.
  22. เข็ดเขี้ยว : ก. ไม่กล้าสู้เพราะเคยต่อสู้กัน แล้วสู้ไม่ได้.
  23. แข็งข้อ : ก. ไม่ยอมตาม, ตั้งข้อสู้.
  24. คร้าม : [คฺร้าม] ก. ขยาด, ไม่กล้าสู้, กลัวเกรง, มักใช้เข้าคู่กับคำ ครั่น เป็น ครั่นคร้าม หมายความว่า เกรงขาม, รู้สึกพรั่นพรึง, สะทกสะท้านด้วยความกลัว.
  25. คับขัน : ว. จําเป็นเฉพาะหน้าที่จะต้องทําหรือต้องสู้ซึ่งหลีกเลี่ยงไม่ได้, เข้าที่ลําบากหรือจําเป็น, ขับขัน ก็ว่า.
  26. คุลา : น. ชนชาติต้องสู้และไทยใหญ่, กุลา หรือ กุหล่า ก็ว่า.
  27. งอมืองอตีน : ก. เกียจคร้าน, ไม่สนใจขวนขวายทําการงาน, ไม่คิดสู้.
  28. จญ : (โบ; กลอน) ก. ประจญ, สู้รบ, เช่น คือนาคจญครุทธสรงง วิ่งเว้น. (ยวนพ่าย). (ข. ชล่).
  29. จน ๑ : ว. อัตคัดขัดสน, ฝืดเคือง, มีเงินไม่พอยังชีพ. ก. แพ้ เช่น หมากรุกจน; หมดทาง เช่น จนใจ คือ ไม่มีทางที่จะทําได้อย่างคิด, จนตรอก คือ ไม่มีทางไป, จนแต้ม คือ ไม่มีทางเดินหรือไม่มีทางสู้, จนมุม คือ ไม่มีทางหนี.
  30. จระบาน : [จะระ-] (กลอน) ก. สู้รบ.
  31. จอด : ก. หยุดอยู่หรือทําให้หยุด, หยุดอยู่ชั่วคราว, (ใช้แก่เรือรถเป็นต้น); (ปาก) พ่ายแพ้, ไม่มีทางสู้, ตาย; (กลอน) รัก เช่น มิตรใจเรียมจอดเจ้า จักคิด ถึงฤๅ. (นิ. นรินทร์).
  32. จังก้า : ว. ลักษณะยืนถ่างขาตั้งท่าเตรียมสู้, ลักษณะที่ตั้งปืนกลเป็นต้นเตรียม พร้อมที่จะยิง.
  33. จำนน : ก. แพ้, ไม่มีทางสู้. (แผลงมาจาก จน).
  34. ใจขาด : ว. จนสุดความสามารถ เช่น สู้ใจขาด.
  35. ใจดี : ว. มีใจเมตตากรุณา, ไม่โกรธง่าย; คุมใจไว้ให้มั่น เช่น ใจดีสู้เสือ.
  36. ใจนักเลง : น. มีใจกล้าสู้; มีใจกว้างขวางกล้าได้กล้าเสีย.
  37. ชี้ตาไม่กระพริบ : (สำ) ก. ดื้อมาก, สู้สายตาไม่ยอมแพ้, เช่น เหม่! ออนี่หนักหนา ชี้ตาไม่กระพริบเลย ว่าแล้วซิ ยังเฉยดื้อถือบุญ. (ม. ร่ายยาว กุมาร).
  38. ซื้อหน้า : ก. เสนอหน้า, สําแดงตัวออกมาให้เห็น, เช่น ครั้นตอบพี่มึงถึงแต้ม อีแสนแนมซื้อหน้าเข้ามาสู้. (ไกรทอง); กู้หน้า เช่น ยอมเสียเงิน เพื่อซื้อหน้า.
  39. ตรำ : [ตฺรํา] ว. ปล่อยทิ้งตากแดดตากฝนไว้นาน ๆ เช่น ตัดไม้ทิ้งตรําแดดตรําฝนไว้, สู้ทนลําบาก เช่น ทํางานตรําแดดตรําฝน ตรํางาน, กรํา ก็ว่า.
  40. ต่อ ๒ : ก. เพิ่มให้ยืดออกไป เช่น ต่อเวลาออกไป ต่อหนังสือสัญญา, เพิ่มให้ยาว ออกไป เช่น; ต่อเชือก ทําให้ติดกันเป็นอันเดียว เช่น ต่อสะพาน, เชื่อมให้ ติดต่อกัน เช่น ต่อคำ ต่อความ; เอาวัตถุเช่นไม้มาประกอบเข้าเป็นรูป เช่น ต่อกรง ต่อเรือ, เรียกเรือชนิดที่ทําด้วยไม้กระดานโดยนํามาต่อขึ้นเป็นรูป เรืออาศัยกงหรือมือลิงเป็นเครื่องยึด ตัวเรือป่อง หัวและท้ายเรือเรียวเชิด ขึ้นตามส่วนเช่นเรือสําปั้น เรือบด เรืออีแปะ ว่า เรือต่อ; ทําให้ติดอย่างไฟ เช่น ต่อไฟ; ต่อเทียน; ขอลดราคาให้น้อยลง เช่น ต่อราคา ต่อของ; ท้าพนัน โดยยอมลดเปรียบให้ เช่น ต่อให้, ฝ่ายเห็นว่าได้เปรียบเป็นฝ่ายต่อ ฝ่าย เห็นว่าสู้ได้เป็นฝ่ายรอง; นําสัตว์เลี้ยงไปล่อสัตว์ป่าในคำว่า ต่อนก ต่อไก่. น. เท่าตัว, เท่าทุน, เช่น กิน ๒ ต่อ ใช้ ๒ ต่อ, ทอด เช่น ขึ้นรถ ๒ ต่อ. ว. ลูกตอด ก็ว่า. สืบไป, ติดต่อกันไป, เช่น ต่อนี้ไป ต่อไป อ่านต่อ วิ่งต่อ, เพิ่มขึ้น เช่น เรียนต่อ; เรียกสัตว์เลี้ยงที่นําไปล่อสัตว์ป่า เช่น ไก่ต่อ นกต่อ ช้างต่อ; เรียกสิ่งที่เชื่อม เข้าด้วยกัน เช่น คําต่อ (คือ คําบุรพบทและคําสันธาน) ข้อต่อ. บ. เฉพาะ, ประจันหน้า, เช่น ต่อหน้า ยื่นต่ออําเภอ; เมื่อถึง เช่น มาต่อปีหน้า; แต่ละ, undefined แก่ศิษย์เป็นการเฉพาะ เช่น ครูต่อหนังสือให้ นักเรียนเพลงต่อเพลงให้ศิษย์, เรียนวิชาบางอย่างจากครูเป็นการเฉพาะ เช่น นักเรียนไปต่อหนังสือกับครู ศิษย์ไปต่อเพลงกับครูเพลง.
  41. ต่อกร : [-กอน] (ปาก) ก. สู้กัน.
  42. ต่อต้าน : ก. ปะทะไว้, ต้านทานไว้, สู้รบป้องกันไว้.
  43. ต้อนหมูเข้าเล้า : (สํา) ก. บังคับคนที่ไม่มีทางสู้.
  44. ต่อแย้ง : ก. เกี่ยงกันไว้, สู้รบขัดขืนไว้.
  45. ต่อสู้ : ก. สู้เฉพาะหน้า, รบกัน, ตีรันกัน.
  46. ถวายหัว : (สํา) ก. ยอมเสี่ยงชีวิตเพื่อชาติ, เอาชีวิตเป็นประกัน, ทําจนสุดความสามารถ, ยอมสู้ตาย.
  47. ถอยฉะ : ก. สู้พลางถอยพลาง, ถอยอย่างมีชั้นเชิง.
  48. ทรหด : [ทอระ-] ว. อดทน, บึกบึน, ไม่ย่อท้อ, (มักใช้แก่กริยาสู้).
  49. ท้อ, ท้อใจ : ก. ไม่มีกําลังใจจะสู้.
  50. ทะยาน : ก. เผ่นขึ้นไป เช่น เครื่องบินทะยานขึ้นสู่ฟ้า, โผนเข้าใส่ เช่น ทะยานเข้าสู้.
  51. [1-50] | 51-100 | 101-107

(0.0188 sec)