Dictionary : English, Thai, Pali. Link : Lexitron, RoyDict, BudDict, ETipitaka, PpmDict, Longdo.
Search: หน .

Royal Institute Thai-Thai Dict : หน, 111 found, display 1-50
  1. หน : น. ทาง, ทิศ, เช่น หนหนือ หนใต้; ครั้ง, คราว, เช่น กี่หน; ที่, สถานที่, เช่น ถึงยามค่ำน้ำค้างลงพร่างพร้อย น้องจะลอยลมบนไปหนใด. (นิราศอิเหนา), มักใช้เข้าคู่กับคำ แห่ง เป็น แห่งหน เช่น ไม่รู้ว่าเวลานี้ เขาอยู่แห่งหนตำบลใด.
  2. หนนะ : [หะนะนะ] น. การฆ่า, การตี, การกําจัด. (ป., ส.).
  3. ครั้ง : [คฺรั้ง] น. คราว, หน, ที.
  4. คราว ๑ : [คฺราว] น. ครั้ง, หน, เช่น คราวหน้า คราวหลัง, รุ่น เช่น เด็ก ๒ คนนี้ อายุคราวเดียวกัน, ใช้เป็นลักษณนาม เช่น สินค้าชนิดนี้ส่งเข้ามา ๓ คราว.
  5. คาบ ๑ : น. ครั้ง, หน, ระยะเวลาเวียนรอบ, ช่วงเวลา. ก. กลั้นใจบริกรรม เวทมนตร์ครั้งหนึ่ง ๆ.
  6. ที ๑ : น. ครั้ง, คราว, หน, เช่น ทีละน้อย ทีละคน; ใช้เป็นลักษณนามบอก จํานวนครั้ง เช่น เฆี่ยน ๓ ที นาฬิกาตี ๕ ที.
  7. เทือ, เทื่อ, เทื้อ ๑ : ว. ครั้ง, หน, เตื้อ ก็ใช้.
  8. ปักษวาหน : [ปักสะวาหน] น. นก.
  9. มื้อ : น. เวลา, คราว, (ใช้เกี่ยวกับการกินอาหาร) เช่น อาหารมื้อเช้า อาหารมื้อกลางวัน อาหารมื้อเย็น กินอาหารให้เป็นมื้อเป็นคราว, ลักษณนามหมายถึง คราว, ครั้ง, หน, เช่น กินอาหารวันละ ๓ มื้อ.
  10. ระเหระหน, ระเหหน : ว. ซัดเซไปตามบุญตามกรรม, ไม่เป็นที่เป็นทาง, เร่ร่อนไป, อยู่ไม่เป็นที่, เช่น ผู้ลี้ภัยสงครามต้องระเหระหนไปเรื่อย ๆ.
  11. รู้หนหนือหนใต้ : ก. รู้ทิศทาง, รู้จักหนทาง, (มักใช้ในความปฏิเสธ) เช่น เดี๋ยวนี้บ้านเมืองเปลี่ยนแปลงไปมากแล้วไม่รู้หนหนือหนใต้, โดยปริยายหมายความว่า ไม่รู้เรื่อง เช่น ทำงานใหม่ ๆ ไม่รู้หนหนือ หนใต้, รู้เหนือรู้ใต้ ก็ว่า.
  12. วันพระไม่มีหนเดียว : (สํา) น. วันหน้ายังมีโอกาสอีก (มักใช้พูดเป็นเชิงอาฆาต).
  13. หั่น : ก. เอาของวางลงบนที่รองรับแล้วตัดให้เป็นชิ้นเล็ก ๆ, (ปาก) ตัด เช่น หั่นงบประมาณ.
  14. หื่น : ก. มีความอยากอย่างแรงกล้า (มักใช้ในทางกามารมณ์).
  15. หุ่น : น. รูป, รูปแบบ, รูปตุ๊กตา, รูปแบบที่จําลองจากของจริงต่าง ๆ; รูปปั้นหรือ แกะสลักที่ทําโกลนไว้เพื่อเป็นแบบชั่วคราว, (ปาก) รูปทรงของร่างกาย เป็นต้น เช่น คนนี้หุ่นดี; ชื่อการเล่นมหรสพที่ใช้รูปหุ่นแสดงเป็นเรื่องราว เช่น หุ่นกระบอก หุ่นจีน, โดยปริยายหมายถึงบุคคลที่กลายเป็นเครื่องมือ ของผู้อื่นโดยได้รับแต่งตั้งให้อยู่ในตำแหน่งบังคับบัญชา แต่ไม่มีอำนาจ อะไรอย่างแท้จริง เช่น เป็นหุ่นให้เขาเชิด รัฐบาลหุ่น.
  16. กาหล : [-หน] (แบบ) น. แตรงอน เช่น หมื่นกาหลวิชัยมีหน้าที่ประโคมแตรงอน. ว. เอะอะอื้ออึง เช่น แตกตื่นกันกาหลอลหม่าน, ยามพลบสยงกึกก้อง กาหล แม่ฮา. (กำสรวล).
  17. กุลาหล : [-หน] (กลอน) ว. โกลาหล เช่น สนั่นครั่นครื้นกุลาหล. (รามเกียรติ์ ร. ๑).
  18. โกลาหล : [-หน] น. เสียงกึกก้อง. ว. อื้ออึง, เอิกเกริก, วุ่นวาย, (โบ; กลอน) ใช้เป็น โกลา โกลี ก็มี เช่น เสียงโห่โกลาเกรียงไกร. (คําพากย์), พระกุมารโกรธใจเป็นโกลี. (ไชยเชฐ). (ป., ส.).
  19. กาล ๑, กาล- : [กาน, กาละ-] น. เวลา, คราว, ครั้ง, หน. (ป., ส.).
  20. ครา : [คฺรา] น. ครั้ง, คราว, หน.
  21. ทวิช, ทวิช- : [ทะวิด, ทะวิชะ-] (แบบ) น. นก; พราหมณ์. (ป., ส. ทฺวิช ว่า ผู้เกิด ๒ หน).
  22. ทวิชาติ : น. นก; พราหมณ์. (ส. ทฺวิชาติ ว่า ผู้เกิด ๒ หน).
  23. ทวิป : น. ช้าง. (ส. ทฺวิป ว่า ผู้ดื่ม ๒ หน คือ ด้วยงวงและด้วยปาก).
  24. ไม้ยมก : น. เครื่องหมายรูปดังนี้ ๆ สําหรับอ่านซํ้าความหรือซํ้าคําข้างท้าย ๒ หน.
  25. ยมก : [ยะมก] น. คู่, แฝด, ๒ ชั้น; เรียกเครื่องหมายรูปดังนี้ ๆ ว่า ไม้ยมก สําหรับ อ่านซํ้าความหรือซํ้าคําข้างหน้า ๒ หน. (ป., ส.).
  26. กฎธรรมดา : น. ข้อกําหนดระเบียบการปฏิบัติเนื่องจากธรรมดา วิสัยของมนุษย์และสังคม.
  27. กฎหมาย : (กฎ) น. กฎที่สถาบันหรือผู้มีอํานาจสูงสุดในรัฐตราขึ้น หรือ ที่เกิดขึ้นจากจารีตประเพณีอันเป็นที่ยอมรับนับถือ เพื่อใช้ใน การบริหารประเทศ เพื่อใช้บังคับบุคคลให้ปฏิบัติตาม หรือ เพื่อกําหนดระเบียบแห่งความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลหรือ ระหว่างบุคคลกับรัฐ. (โบ) ก. จดบันทึกไว้เป็นหลักฐาน เช่น สั่งให้นายอินกฎหมายผู้มีชื่อทั้งนี้ไว้. (พงศ. อยุธยา), ทําหนังสือ เป็นหลักฐาน เช่น อนึ่ง มีผู้ทําหนังสือร้องเรียนกฎหมายว่า.... (พระราชกําหนดเก่า); ออกหมายกําหนด เช่น ให้มหาดไทยกลาโหม กฎหมายบอกแก่ตระลาการ ถ้ากฎหมายมิทั่วจะเอาตัวผู้กฎหมาย ลงโทษ. (พระราชกําหนดเก่า); กฎหมายงานพระบรมศพครั้ง กรุงเก่า; ตราสั่ง เช่น จึ่งกฎหมายให้สามไป เดือนหนึ่งจอมไตร ดํารัสให้เร่งคืนมา. (พากย์); กําหนดขีดขั้น เช่น ให้ปลูกโรงรจนา ใน นอกหน้าศาลชัย ให้ตั้งพิกัดกฎหมาย. (พากย์).
  28. กฎหมายอาญา : (กฎ) น. กฎหมายที่กําหนดลักษณะของการกระทํา ที่ถือว่าเป็นความผิด และกําหนดบทลงโทษทางอาญาสําหรับ ความผิดนั้น. (อ. criminal law).
  29. กรมศักดิ์ : [กฺรมมะสัก] (กฎ; โบ) น. ชื่อกฎหมายลักษณะหนึ่ง ซึ่งกําหนดระวางโทษปรับตามศักดินา อายุ และความร้ายแรง หนักเบาของความผิดที่กระทํา. (สามดวง).
  30. กระกรับกระเกรียบ : (โบ; กลอน) ว. กระด้าง, หยาบ, เช่น หนงงหยาบสุรเสียงศัพท์ ดูก็กระกรับกระเกรียบ. (ม. คําหลวง กุมาร).
  31. กระโดดโลดเต้น : ก. อาการที่กระโดดขึ้นลงหลายครั้งหลายหน เพราะความดีอกดีใจเป็นต้น.
  32. กระบิ ๒ : น. หญ้าที่ซับซ้อนกันอยู่ในที่ลุ่มหรือในหนอง เช่น ตัดกระบิในหนองเป็นสองหน. (ไกรทอง).
  33. กระเหลียก : [-เหฺลียก] (โบ) ก. แลดู, เขียนเป็น กรลยก ก็มี เช่น สูวนนเจดีรสสมีกรลยกงามหนกกหนา. (จารึกสยาม หลัก ๒), เหลือบแล เช่น ครั้นเช้าไก่ขันเรียก ไก่กระเหลียกตาดู. (ลอ). (ข. กฺรเฬก ว่า เหลือบดู).
  34. กอดแข้งกอดขา, กอดมือกอดตีน : ก. ประจบประแจง. ว. เดิม, เริ่ม, ลําดับแรก, เช่น แต่ก่อน, ถ้าใช้ประกอบหลังคํานาม บอกเวลา หมายความว่า ล่วงมาแล้ว เช่น วันก่อน เดือนก่อน, ถ้าใช้ประกอบหน้าคํานามบอกเวลา หมายความว่า ยังไม่มาถึง เช่น ก่อนเที่ยง, ใช้ประกอบหลังคํากริยา บางกรณีหมายความว่า ให้ระงับยับยั้งไว้ชั่วคราว เช่น หยุดก่อน รอก่อน, บางกรณี หมายความว่า ล่วงหน้า เช่น ไปก่อน. น. คําบอกลักษณะของเล็ก ๆ ที่เกาะหรือติดรวมกันแน่น ไม่กําหนดรูปแน่นอน โดยมากมีลักษณะค่อนข้างกลม เช่น ข้าวเกาะกันเป็นก้อน, เรียกสิ่งที่มีลักษณะเช่นนั้น เช่น ก้อนข้าว; สิ่งที่แยกหรือแตกออกจากสิ่งใหญ่ ไม่กําหนดรูปแน่นอน โดยมากมีลักษณะค่อนข้างกลม เช่น ก้อนอิฐ ก้อนหิน ก้อนดิน; ลักษณนามเรียกของเช่นนั้น เช่น ข้าว ๓ ก้อน หิน ๒ ก้อน; โดยปริยายหมายถึง จํานวนรวม เช่น ได้เป็นเงินก้อน; (ถิ่น-ปักษ์ใต้) เงิน ๑ สลึง (ที่สงขลามีค่า = ๑๕ สตางค์).
  35. ก้อน : น. คําบอกลักษณะของเล็ก ๆ ที่เกาะหรือติดรวมกันแน่น ไม่กําหนดรูปแน่นอน โดยมากมีลักษณะค่อนข้างกลม เช่น ข้าวเกาะกันเป็นก้อน, เรียกสิ่งที่มีลักษณะเช่นนั้น เช่น ก้อนข้าว; สิ่งที่แยกหรือแตกออกจากสิ่งใหญ่ ไม่กําหนดรูปแน่นอน โดยมากมีลักษณะค่อนข้างกลม เช่น ก้อนอิฐ ก้อนหิน ก้อนดิน; ลักษณนามเรียกของเช่นนั้น เช่น ข้าว ๓ ก้อน หิน ๒ ก้อน; โดยปริยายหมายถึง จํานวนรวม เช่น ได้เป็นเงินก้อน; (ถิ่น-ปักษ์ใต้) เงิน ๑ สลึง (ที่สงขลามีค่า = ๑๕ สตางค์).
  36. แก้ววิเชียร : น. ชื่อโรคซางละอองเป็นฝ้าบาง ๆ ที่ขึ้นตามลิ้น หรือเพดานหรือกระพุ้งแก้ม สีขาวดั่งเนื้อในมะพร้าว มีอาการท้องอืด ลงท้องนับหนไม่ถ้วน. (แพทย์).
  37. เขียง : น. ไม้รองรับการสับ หั่น มักเป็นแผ่นกลม ๆ; กระทงจำลองสร้างไว้ บนบกสำหรับฝึกฝีพายที่พายเรือพระราชพิธี.
  38. เครื่องหมาย : น. สิ่งที่ทําขึ้นแสดงความหมายเพื่อจดจําหรือกําหนดรู้ เช่น เครื่องหมายดอกจัน.
  39. จรัล : [จะรัน] (กลอน) ก. เดิน เช่น แปดโสตรสี่ภักตร์ทรงพา หนหงษ์เหินคลา วิหาศจรัลผันผาย. (ดุษฎีสังเวย).
  40. จัก ๓ : ก. รู้, ทราบ, แจ้ง, จําได้, เช่น รู้จัก, ข้อยคูดนูแนบนิทรา รมย์ร่วมรถ พาหนห่อนจักสึกสมประดี. (สรรพสิทธิ์).
  41. จับตัววางตาย : (สํา) ก. กําหนดลงไปแน่นอนไม่เปลี่ยนแปลง, กําหนด ตัวบุคคลให้ประจําหน้าที่โดยเฉพาะ.
  42. จำนวน : น. ยอดรวมที่กําหนดนับไว้เป็นส่วน ๆ.
  43. แจกไพ่ : ก. แบ่งไพ่ให้แก่ผู้เล่นทุกคนตามกําหนดกฎเกณฑ์.
  44. ชา ๔ : ก. หมายไว้, กําหนดไว้, เช่น เอามีดสับชาไว้ที่ประมาณ ส่วนกลางลำอ้อยในการเล่นค่องอ้อย, ใช้ประกอบกับคํา กฎ เป็น กําหนดกฎชา, สังกัด เช่น แบ่งปันแผนกหมู่ชา. (พระอัยการบานแพนก), เด็กชา, เรือชา เช่น สรนุกนิเรียบ เรือชา. (สมุทรโฆษ).
  45. ชายสามโบสถ์ : (สํา) น. ผู้ที่บวชแล้วสึกถึง ๓ หน, ใช้พูด เป็นเชิงตําหนิว่าเป็นคนที่ไม่น่าคบ.
  46. ญาณ, ญาณ- : [ยาน, ยานะ-, ยานนะ-] น. ปรีชาหยั่งรู้หรือกําหนดรู้ที่เกิดจาก อํานาจสมาธิ, ความสามารถหยั่งรู้เป็นพิเศษ. (ป.; ส. ชฺ?าน).
  47. ดาม ๒ : ก. ด้อม, เดินประกับไป, มักใช้เข้าคู่กับคํา ด้อมว่า ดามด้อม เช่น มาอยู่ดาม ด้อมหน. (ม. คําหลวง มัทรี), ใช้ว่า ด้าม ก็มี เช่น เสือสางด้ามด้อมทาง. (ลอ).
  48. ตกปลัก : ก. อาการที่ปลาเป็นต้นมารวมกันอยู่ในบ่อหรือหนองที่นํ้า งวด, ตกคลัก ก็ว่า.
  49. ต้นหน : น. เจ้าหน้าที่ชี้ทิศทางเดินเรือทะเลหรือเดินอากาศยาน, (โบ) คนนําทาง เช่น ต้นหนบอกตําบล. (ลอ).
  50. ถนน : [ถะหฺนน] น. หนทางที่ทําขึ้น, ลักษณนามว่า สาย, สนน ก็ว่า, โบราณเขียนเป็น ถนล. (จารึกวัดป่ามะม่วง); (กฎ) ทางเดินรถ ทางเท้า ขอบทาง ไหล่ทาง ''ทางข้าม ตามกฎหมายว่าด้วยการ จราจรทางบก ตรอก ซอย สะพาน หรือ ถนนส่วนบุคคล ซึ่ง เจ้าของยินยอมให้ประชาชนใช้เป็นทางสัญจรได้. (ข. ถฺนล่).
  51. [1-50] | 51-100 | 101-111

(0.0204 sec)