Dictionary : English, Thai, Pali. Link : Lexitron, RoyDict, BudDict, ETipitaka, PpmDict, Longdo.
Search: หนี , then หน, หนิ, หนี .

Royal Institute Thai-Thai Dict : หนี, 204 found, display 1-50
  1. หนี : ก. ไปเสียให้พ้น, หลีกไปให้พ้น, เช่น หนีภัย หนีทุกข์; หลีกเลี่ยง เช่น หนีภาษี หนีโรงเรียน.
  2. หนีร้อนมาพึ่งเย็น : (สำ) ก. หนีจากที่ที่มีความเดือดร้อนมาอาศัยอยู่ในที่ที่ มีความสงบสุข.
  3. หนีเสือปะจระเข้ : (สํา) ก. หนีภัยอันตรายอย่างหนึ่งแล้วต้องพบภัยอันตราย อีกอย่างหนึ่ง.
  4. หนีเสือ : น. ชื่อเพลงไทยทํานองหนึ่ง.
  5. หนีหน้า : ก. หลบไม่ยอมให้พบหน้า.
  6. หลบลี้หนีหน้า : ก. หลีกหนีไปไม่ยอมให้พบหน้า.
  7. หน : น. ทาง, ทิศ, เช่น หนเหนือ หนใต้; ครั้ง, คราว, เช่น กี่หน; ที่, สถานที่, เช่น ถึงยามค่ำน้ำค้างลงพร่างพร้อย น้องจะลอยลมบนไปหนใด. (นิราศอิเหนา), มักใช้เข้าคู่กับคำ แห่ง เป็น แห่งหน เช่น ไม่รู้ว่าเวลานี้ เขาอยู่แห่งหนตำบลใด.
  8. ขวัญบิน, ขวัญหนี, ขวัญหนีดีฝ่อ, ขวัญหาย : ก. ตกใจ, ใจหาย.
  9. แรงหนีศูนย์กลาง : (ฟิสิกส์) น. แรงที่กระทําต่อเทหวัตถุในขณะที่เทหวัตถุ นั้นเคลื่อนที่เป็นทางวงกลม แรงนี้มีแนวทิศออกจากจุดศูนย์กลางของทาง วงกลมนั้นและมีขนาดเท่ากับแรงสู่ศูนย์กลาง. (อ. centrifugal force).
  10. หน่ายหนี : ก. จากไปเพราะเบื่อหรือทนไม่ไหวเป็นต้น.
  11. อกสั่นขวัญแขวน, อกสั่นขวัญหนี, อกสั่นขวัญหาย : ก. ตกใจสุดขีด, ตกใจกลัวอย่างยิ่ง.
  12. เปิด : ก. ทําให้สิ่งที่ปิดอยู่เผยออก เช่น เปิดประตู, ทำให้เครื่องยนต์ กลไกทำงาน เช่น เปิดวิทยุ เปิดพัดลม, ตรงข้ามกับ ปิด; ทําพิธี เป็นประเดิมเพื่อดําเนินกิจการงานหรือให้ใช้ได้เป็นต้น เช่น เปิดร้านใหม่ เปิดถนน เปิดสมาคม; (ปาก) หนี เช่น ผู้ร้ายเปิด ไปไกลแล้ว.
  13. ก๊าน : (ถิ่น-พายัพ) ก. ค้าน, แพ้, สู้ไม่ได้, เช่น ก๊านพ่ายหนี.
  14. กำเลา : (แบบ) ว. โง่, อ่อน, ไม่รู้เท่าทัน, ไม่มีไหวพริบ, เช่น ดุจตักแตนเต้นเห็นไฟ บมิใฝ่หนีไกล กำเลากำเลาะหวังเขญ. (อนิรุทธ). (ข. กํเลา จาก เขฺลา).
  15. โกย : ก. อาการที่ใช้มือหรือสิ่งอื่นคุ้ยหรือกวาดสิ่งต่าง ๆ เช่น ข้าว ถ่าน มาทีละมาก ๆ, ขนหรือรวบเอาไปเป็นจํานวนมาก; (ปาก) วิ่งหนีไปโดยเร็ว.
  16. ขวัญ : [ขฺวัน] น. ผมหรือขนที่ขึ้นเวียนเป็นก้นหอย; มิ่งมงคล, สิริ, ความดี, เช่น ขวัญข้าว ขวัญเรือน; สิ่งที่ไม่มีตัวตน เชื่อกันว่ามีอยู่ประจําชีวิตของคน ตั้งแต่เกิดมา ถ้าขวัญอยู่กับตัวก็เป็นสิริมงคล เป็นสุขสบายจิตใจมั่นคง ถ้าคนตกใจหรือเสียขวัญ ขวัญก็ออกจากร่างไป ซึ่งเรียกว่า ขวัญหาย ขวัญหนี ขวัญบิน เป็นต้น ทําให้คนนั้นได้รับผลร้ายต่าง ๆ, เรียกผู้ตกใจ ง่ายคือ เด็กหรือหญิงซึ่งมักจะขวัญหายบ่อย ๆ ว่า ขวัญอ่อน, และอนุโลม ใช้ไปถึงสัตว์หรือสิ่งของบางอย่าง เช่น ช้าง ม้า ข้าว เรือน ฯลฯ ว่ามีขวัญ เช่นเดียวกับคนเหมือนกัน, โดยปริยายหมายความว่า ยอดกำลังใจเช่น ขวัญเมือง ว่า ยอดกําลังใจของเมือง; กําลังใจดี เช่น ขวัญดี; ผู้รู้พิธีทําขวัญ เรียกว่า หมอขวัญ; การทําพิธีเชิญขวัญหมายความว่า เรียกขวัญ มาอยู่กับตัว; การเสียเงินค่าปรับให้แก่ผู้ถูกทําร้ายหรือถูกหมิ่นประมาท เรียกว่า ทำขวัญ; เอาเส้นด้ายผูกข้อมือเด็กแล้วกล่าวเรียก ขวัญว่า ``ขวัญเอ๋ย มาอยู่กับเนื้อกับตัว'' แล้วกล่าวให้พรต่อไปตามควร เรียกว่า ผูกขวัญ; เรียกขวัญหรือเชิญขวัญ เรียกว่า รับขวัญ; ทําพิธี เช่น รดนํ้ามนตร์ให้ เสกเป่าให้ หรือกล่าวปลุกใจต่าง ๆ เพื่อให้ขวัญดีมีใจกล้าหาญ เรียกว่า บำรุงขวัญ; สิ่งของที่ให้แก่เจ้าของขวัญ เมื่อเสร็จพิธีทําขวัญแล้ว หรือสิ่งของที่ให้กันในเวลาอื่นเป็นการถนอมขวัญ หรือเพื่ออัธยาศัยไมตรี เรียกว่า ของขวัญ; ข้าวบายศรี เรียกว่า ข้าวขวัญ; ไข่ปอกที่เสียบไม้ปักไว้บนยอดบายศรี เรียกว่า ไข่ขวัญ, ไข่ข้าว ก็เรียก; ลูกคนที่รักมากที่สุด เรียกว่า ลูกขวัญ; ผู้ที่เป็นมิ่งขวัญอย่างยอดเยี่ยมหมายถึง หญิงที่รัก เรียกว่า จอมขวัญ; คำยกย่องเรียกภรรยาอันเป็นที่รักว่า เมียขวัญ; กําลังใจเสีย เรียกว่า เสียขวัญ.
  17. คลอก : [คฺลอก] ก. อาการที่ไฟล้อมเผาหนีออกไม่ได้ เช่น ถูกไฟคลอกตาย.
  18. จแจ้น : (แบบ) ว. แตกจากหมู่, กระจัดกระจาย, ในคําว่า หนีญญ่ายพายจแจ้น. (จารึกสยาม).
  19. จน ๑ : ว. อัตคัดขัดสน, ฝืดเคือง, มีเงินไม่พอยังชีพ. ก. แพ้ เช่น หมากรุกจน; หมดทาง เช่น จนใจ คือ ไม่มีทางที่จะทําได้อย่างคิด, จนตรอก คือ ไม่มีทางไป, จนแต้ม คือ ไม่มีทางเดินหรือไม่มีทางสู้, จนมุม คือ ไม่มีทางหนี.
  20. จัตวาทัณฑี : น. ชื่อโคลง ๔ ชนิดหนึ่ง ซึ่งบาท ๒ ใช้พยางค์ที่ ๔ สัมผัส เช่น ท้าวไทยนฤเทศข้า ขับหนี ลูกราชสีพีกลัว ไพร่ฟ้า พลเมืองบดูดี ดาลเดียด กระเหลียดลับลี้หน้า อยู่สร้างแสวงบุญ. (ชุมนุมตำรากลอน). จัตวาศก น. เรียกปีจุลศักราชที่ลงท้ายด้วยเลข ๔ เช่น ปีจอ จัตวาศก จุลศักราช ๑๓๔๔.
  21. จับ : ก. อาการที่ใช้มือแตะต้องสิ่งใดสิ่งหนึ่งตลอดจนกําไว้ยึดไว้; เกาะ เช่น นกจับคอน; ติด เช่น เขม่าจับก้นหม้อ; กินหรือกลืน ในความว่า คราส จับดวงอาทิตย์หรือดวงจันทร์; เริ่ม เช่น จับเรื่องตั้งแต่ตอนนั้นไป; เกาะ กุมตัวไว้ไม่ให้หนี เช่น จับผู้ร้าย, (กฎ) เกาะกุมตัวไว้โดยเจ้าพนักงานผู้มี อํานาจตามกฎหมาย, จับกุม ก็ว่า; กิริยาที่ทําขนมจีนให้เป็นหัว ๆ เรียกว่า จับขนมจีน, ลักษณนามของขนมจีนว่า จับ หรือ หัว เช่น ขนมจีน ๕ จับ หรือ ขนมจีน ๕ หัว.
  22. จับกุม : ก. เกาะกุมตัวไว้ไม่ให้หนี เช่น จับกุมผู้ร้าย, (กฎ) เกาะกุมตัวไว้โดย เจ้าพนักงานผู้มีอํานาจตามกฎหมาย, จับ ก็ว่า.
  23. แจว : น. เครื่องมือสำหรับพุ้ยนํ้าให้เรือเดิน ลักษณะคล้ายพาย แต่ด้ามยาวเรียว มีที่มือจับเรียกว่า หมวกแจว ใช้หูแจวคล้องเข้ากับหลักแจว. ก. เอาแจวพุ้ยนํ้าให้เรือเดิน; (ปาก) รีบหนีไป เช่น แจวอ้าว.
  24. ฉาก ๒ : (ปาก) ก. หลบ, เลี่ยง เช่น ฉากหนี.
  25. ญญ่าย : (แบบ) ว. แตกจากหมู่, กระจัดกระจาย, ในคําว่า หนีญญ่ายพ่ายจแจ้น. (จารึกสยาม).
  26. ดีฝ่อ : ว. ตกใจกลัวมาก, มักใช้เข้าคู่กับคํา ขวัญหนี เป็น ขวัญหนีดีฝ่อ.
  27. โดดร่ม : ก. โดดออกจากอากาศยานในขณะอยู่ในอากาศเพื่อลงสู่พื้นดิน โดยอาศัยร่มชูชีพ, กระโดดร่ม ก็ว่า; โดยปริยายหมายความว่า หนีงาน หนีโรงเรียน.
  28. โดยปริยาย : ว. โดยอ้อม, โดยผิดเพี้ยนไปจากความหมายเดิม, เช่น โดดร่ม ความหมายตรงว่า โดดจากเครื่องบินโดยมีร่มชูชีพเป็นเครื่องพยุง ความหมายโดยปริยายว่า หนีงาน, หนีโรงเรียน.
  29. ตะเพิด : ก. ตวาดให้หนีไป, ร้องให้ตกใจหนีไป, ไล่ส่งไป, โบราณเขียนเป็น กระเพลิด ก็มี.
  30. ท้วง : ก. พูดเป็นทํานองไม่เห็นด้วย; พยุง, ประคอง, พา, เช่น ท้วงตน หนีไปได้.
  31. ทิ้งขว้าง : ก. ไม่เอาใจใส่ดูแล, พรากหนีไป.
  32. แทรกแผ่นดิน : (สํา) ก. หลีกหนีไปให้พ้น ไม่อยากให้ใครพบหน้า เพราะอับอาย.
  33. นาฟางลอย : น. นาที่ปลูกข้าวชนิดหนึ่ง ซึ่งเรียกว่า ''ข้าวขึ้นน้ำ'' เนื่องจาก มีรากยาวสามารถหนีน้ำที่บ่ามาท่วมได้รวดเร็ว สามารถแตกแขนงตามข้อ และที่ข้อจะมีรากงอกออกมาสำหรับดูดหาอาหาร นิยมปลูกในท้องที่ซึ่งมี ระดับน้ำสูงตั้งแต่ ๑-๔ เมตร,นาเมือง ก็เรียก.
  34. บาก : ก. ใช้สิ่งมีคมเช่นมีดหรือขวานเป็นต้นฟันสิ่งใดสิ่งหนึ่งเช่นต้นไม้ ให้เป็นแผลเป็นรอยหรือเป็นทางเข้าไป, โดยปริยายหมายความว่า มุ่งหน้าไป เช่น อย่ารู้มากบากหนีแต่ที่ง่าย. (พาลีสอนน้อง).
  35. เบือน : ก. หันหน้าหนี ในคําว่า เบือนหน้า.
  36. ประลาต : [ปฺระลาด] ก. หนีไป. (ป. ปลาต).
  37. ปลาต : [ปะลาด] ก. หนีไป. (ป.).
  38. ปลายนาการ : [ปะลายะนากาน] ก. หนีไป. (ป.).
  39. ปลาสนาการ : [ปะลาดสะนากาน] ก. หนีไป. (ป.).
  40. ปิดประตูตีแมว : (สํา) ก. รังแกคนไม่มีทางสู้และไม่มีทางหนีรอดไปได้.
  41. พ่าย : ก. หนีไป, แพ้.
  42. พึ่ง ๑ : ก. อาศัย เช่น พึ่งบารมีคนอื่น, พักพิง เช่น ไปพึ่งเขาอยู่, ขอความ ช่วยเหลือ เช่น หนีร้อนมาพึ่งเย็น.
  43. เพ้ย : ว. คําขับไล่ที่เปล่งเสียงแรง ๆ ให้สัตว์เช่นไก่หนีไป; คํารับในเวลา พากย์โขน คนรับร้องเพ้ย. ก. ตะเพิด เช่น ถูกเพ้ย.
  44. เพิดเพ้ย : ก. เย้ยหยัน; ร้องเฮ้ย (ใช้เป็นคําขับไล่ให้หนีไป).
  45. มอญซ่อนผ้า : น. ชื่อการเล่นของเด็กอย่างหนึ่ง โดยผู้เล่นนั่งล้อมวง ผู้ซ่อนผ้าจะถือผ้าซึ่งมัก ฟั่นให้เป็นเกลียวเดินวนอยู่นอกวง เมื่อเห็นผู้ใดเผลอก็ทิ้งผ้านั้นไว้ข้างหลังและทำเสมือนว่า ยังไม่ได้ทิ้งผ้า แล้วเดินวนอีก ๑ รอบ ถ้าผู้ที่มีผ้าวางอยู่ข้างหลังยังไม่รู้สึกตัว ก็หยิบผ้านั้นขึ้นมาตี ผู้ถูกตีจะต้องลุกขึ้นวิ่งหนีไป ๑ รอบ แล้วกลับไปนั่งที่เดิมผู้ซ่อนผ้าก็จะเดินวนต่อไปหาทางทิ้งผ้า ให้ผู้อื่นใหม่ แต่ถ้าผู้นั้นรู้ตัวก่อนก็จะหยิบผ้าลุกขึ้นไล่ตีผู้ซ่อนผ้าให้วิ่งไป ๑ รอบ ผู้ซ่อนผ้าก็จะมานั่ง แทนที่ผู้ที่ไล่ตีนั้นก็จะเป็นผู้ซ่อนผ้าต่อไป.
  46. เมิน : ก. เบือนหน้าหนี, ไม่ยอมดู, ไม่ยอมแล.
  47. เมื่อพีเนื้อหอม เมื่อผอมเนื้อเหม็น : (สํา) น. เวลารวยคนมาห้อมล้อม ประจบประแจง เวลาจนคนพากันหน่ายหนี.
  48. ยุยง : ก. ยุหรือส่งเสริมให้ทำในสิ่งที่ไม่ดีหนักขึ้น เช่น ยุยงให้หนีโรงเรียน ยุยงให้เล่นการพนัน.
  49. รม : ก. อบด้วยควันหรือไอไฟ เช่น ใช้ควันรมปลากะพงให้หอม ใช้ควันอ้อย รมเป็ดให้หอม รมผึ้งให้หนีหรือให้เมา, ทำให้ควันไฟหรือไอไฟเป็นต้น เกาะติดอยู่ เช่น รมบาตร รมปลาย่างให้แห้ง.
  50. ระเสิดระสัง : ว. ซัดเซไป, โซเซไป, หนีซุกซ่อนไป.
  51. [1-50] | 51-100 | 101-150 | 151-200 | 201-204

(0.0646 sec)