Dictionary : English, Thai, Pali. Link : Lexitron, RoyDict, BudDict, ETipitaka, PpmDict, Longdo.
Search: หนุ่มน้อย, หนุ่ม, น้อย , then นอย, น้อย, หนม, หนมนอย, หนุ่ม, หนุ่มน้อย .

Royal Institute Thai-Thai Dict : หนุ่มน้อย, 744 found, display 1-50
  1. หนุ่มน้อย : น. ชายที่อยู่ในวัยรุ่น.
  2. หนุ่ม : น. ชายที่มีอายุพ้นวัยเด็ก นับตามความนิยมตั้งแต่ ๑๕-๓๐ ปี. ว. เรียกชาย ที่ยังดูไม่แก่ตามวัย เช่น ดูยังหนุ่มอยู่.
  3. น้อย : ว. ตรงข้ามกับ มาก, ไม่มาก, เช่น ฝนน้อย น้ำน้อย มีเงินน้อย พูดน้อย, ตรงข้ามกับ ใหญ่, ไม่ใหญ่, เช่น ข้าราชการชั้นผู้น้อย; โดยปริยายหมาย ถึงลักษณะที่ไม่สําคัญ เช่น ครูน้อยผู้น้อย เณรน้อย, เกี่ยวกับความรู้สึก เป็นไปในทางน่ารักน่าเอ็นดู เช่น เด็กน้อย น้องน้อย สาวน้อย หนูน้อย.
  4. น้อย : (ถิ่น–พายัพ) น. คําเติมหน้าชื่อแห่งผู้ที่ได้บวชเป็นสามเณรแล้ว, ถ้าได้ บวชเป็นภิกษุเติมหน้าชื่อว่า หนาน. (พงศ. ร. ๒).
  5. หนุ่มทั้งแท่ง : น. หนุ่มบริสุทธิ์.
  6. หนุ่มทั้งแท่งมากินแตงเถาตาย : (สำ) น. หนุ่มบริสุทธิ์ได้แม่ม่ายอายุมาก เป็นภรรยา.
  7. หนุ่มแน่น : ว. หนุ่มเต็มที่.
  8. หนุ่มเหน้า : [-เน่า] (โบ) ว. กําลังสาว, กําลังหนุ่ม.
  9. น้อยแง่ : ก. น้อยหน้า; ไม่มีเล่ห์เหลี่ยม.
  10. หนุ่มใหญ่ : น. ชายที่อยู่ในวัยกลางคน.
  11. กะริงกะเรียด : (โบ) ว. คําพ้อชนิดหนึ่งว่าทําเป็นหนุ่มเป็นสาวก่อนวัย คล้ายทําก้อร่อก้อติก เช่น เป็นหญิงเจ้าแม่อา อย่าทํากะริงกะเรียด ตัวเจ้ายังน้อยสักเท่าเขียด เจ้ามาวอนแม่จะมีผัว. (มโนห์รา).
  12. โฉมยง : น. รูปร่างงามสง่า เช่น หนุ่มน้อยโสภาน่าเสียดาย ควรจะนับว่าชาย โฉมยง. (อิเหนา), หญิงงามสง่า เช่น พระเพื่อนโฉมยงหย้อง อยู่เพี้ยงดวงเดือน. (ลอ).
  13. เลย : ก. พ้นหรือเกินจุดที่กำหนด เช่น เลยเวลาเที่ยงไปตั้งนาน รถเลยบ้าน ไปแล้ว อายุเลยวัยกลางคน. ว. ใช้ประกอบหน้ากริยาแสดงว่ากระทำ กริยาอีกอย่างหนึ่งต่อไป เช่น จะไปซื้อของแล้วเลยกินข้าวนอกบ้าน ผมเปียกแล้วเลยสระผมเสียด้วย; ใช้ประกอบหลังคำอื่นเพื่อเน้นความ ว่า ทันที, ทีเดียว, เช่น ออกจากนี่แล้วไปเลย ไม่ต้องแวะเวียนที่ไหน พอนั่งโต๊ะก็กินเลยไม่รอใคร อายุ ๗๐ แล้วยังดูหนุ่มอยู่เลย; โดยสิ้นเชิง, แม้แต่น้อย, เช่น ไม่เชื่อเลย ไม่เห็นด้วยเลย ซื้อของจนเงินหมดกระเป๋า เลย. สัน.จึง เช่น ทำถ้วยเขาแตกเลยต้องใช้เงินเขา รถเมล์จอดพ้นป้าย ไปมาก เลยต้องเดินย้อนกลับมาใหม่.
  14. อ้าย ๒ : น. คําประกอบคําอื่นบอกให้รู้ว่าเป็นเพศชายหรือสัตว์ตัวผู้ เช่น อ้ายหนุ่ม อ้ายด่าง, คําประกอบหน้าชื่อผู้ชายที่มีฐานะตํ่ากว่า อย่างนายเรียกคนใช้, คําประกอบหน้าชื่อเพื่อนฝูงแสดงว่ามี ความสนิทสนมมาก มักใช้กันในหมู่เด็กผู้ชาย, คําใช้ประกอบ หน้าชื่อผู้ชายแสดงความดูหมิ่นเหยียดหยาม, คําประกอบคํา บางคําที่ผู้ใหญ่ใช้เรียกเด็กผู้ชายหรือผู้ชายที่อายุน้อยกว่ามาก ด้วยความเอ็นดูหรือสนิทสนมเป็นกันเอง เช่น อ้ายหนู อ้าย น้องชาย, คําประกอบหน้าคําบางคําเพื่อเน้น เช่น อ้ายเราก็ไม่ดี อ้ายจะไปก็ไม่มีที่จะไป อ้ายจะอยู่หรือก็คับใจ, คำประกอบ หน้าชื่อสัตว์บางชนิดโดยไม่เน้นเพศ เช่น อ้ายเหลือม อ้ายทุย, คําประกอบหน้าคําบางคําเพื่อเน้นในเชิงบริภาษ เช่น อ้ายทึ่ม อ้ายโง่ อ้ายควาย, คําใช้แทนสิ่งที่กล่าวถึงและเป็นที่เข้าใจกัน เช่น อ้ายนั่น อ้ายนี่, เขียนเป็น ไอ้ ก็มี, (โบ) คํานําหน้าชื่อผู้ชาย มักใช้ในทางไม่ดี เช่น อ้ายดีผู้ร้ายรับเปนสัจให้การซัดพวก เพื่อนถึงอ้ายเชด อ้ายแสน อ้ายคง อ้ายมั้น. (สามดวง).
  15. ไอ้ : น. คําประกอบคําอื่นบอกให้รู้ว่าเป็นเพศชายหรือสัตว์ตัวผู้ เช่น ไอ้หนุ่ม ไอ้ด่าง, คําประกอบหน้าชื่อผู้ชายที่มีฐานะตํ่ากว่า อย่าง นายเรียกคนใช้, คําประกอบหน้าชื่อเพื่อนฝูงแสดงว่ามีความ สนิทสนมมาก มักใช้กันในหมู่เด็กผู้ชาย; คําใช้ประกอบหน้าชื่อ ผู้ชายแสดงความดูหมิ่นเหยียดหยาม, คําประกอบคําบางคําที่ ผู้ใหญ่ใช้เรียกเด็กผู้ชายหรือผู้ชายที่อายุน้อยกว่ามากด้วยความ เอ็นดูหรือสนิทสนมเป็นกันเอง เช่น ไอ้หนู ไอ้น้องชาย; คํา ประกอบหน้าคําบางคําเพื่อเน้น เช่น ไอ้เราก็ไม่ดี ไอ้จะไปก็ ไม่มีที่ไป ไอ้จะอยู่หรือก็คับใจ, คําประกอบหน้าคําบางคําเพื่อ เน้นในเชิงบริภาษ เช่น ไอ้ทึ่ม ไอ้โง่ ไอ้ควาย, คําใช้แทนสิ่งที่ กล่าวถึงและเป็นที่เข้าใจกัน เช่น ไอ้นั่น ไอ้นี่, เขียนเป็น อ้าย ก็มี.
  16. เขลาะ : [เขฺลาะ] ว. กําเลาะ, หนุ่ม, สาว. (ข. เขฺลาะ ว่า หนุ่ม).
  17. ตรุณ, ตรุณะ : [ตะรุน, ตะรุนะ] (แบบ) น. เด็กรุ่น. ว. ดรุณ, หนุ่ม, อ่อน, รุ่น, เพศหญิงใช้ว่า ตรุณี. (ป., ส.).
  18. ถึก : ว. เปลี่ยว, หนุ่ม, (ใช้แก่วัวควายตัวผู้) เช่น วัวถึก ควายถึก (ไทยเดิม ใช้หมายความว่า ตัวผู้, ถ้าตัวเมียใช้ แม่ เช่น ม้าแม่ หมาแม่).
  19. สะกอ : ว. ตะกอ, หนุ่ม, รุ่น, ในคำว่า หนุ่มสะกอ รุ่นสะกอ; รวมอยู่เป็น พวก ๆ. (ข. สรกอ ว่า รุ่นราวคราวเดียวกัน).
  20. เหน้า : [เน่า] ว. รุ่น, หนุ่ม, สาว, ใช้เข้าคู่กับคำ หนุ่ม เป็น หนุ่มเหน้า หมายถึง กำลังสาว, กำลังหนุ่ม.
  21. กองทัพน้อย : น. หน่วยทหารที่ประกอบด้วยทหารหลายกองพล มีจํานวนไม่แน่นอน เป็นการจัดตั้งขึ้นเฉพาะกิจอย่างใดอย่างหนึ่ง มีแม่ทัพน้อยเป็นผู้บังคับบัญชา.
  22. เก็บเล็กผสมน้อย : ก. เก็บไว้ทีละเล็กละน้อย.
  23. เครื่องทองน้อย : น. เครื่องบูชาชนิดหนึ่งสําหรับพระเจ้าแผ่นดินทรง ใช้บูชาเฉพาะวัตถุ เช่นพระบรมอัฐิ มีเชิงเทียน ๑ เชิง เชิงธูป ๑ เชิง กรวยปักดอกไม้ ๓ กรวย ตั้งในพานทองลงยาราชาวดี เรียกเต็มว่า เครื่องนมัสการทองน้อย.
  24. จ้อย ๑ : ว. เล็ก, น้อย, เช่น เรื่องจ้อย.
  25. จุ้ย : ว. เล็ก, น้อย, เช่น พระจอมจุ้ย.
  26. จุล- : [จุนละ-] ว. เล็ก, น้อย, (มักใช้นําหน้าคําสมาส) เช่น จุลศักราช จุลพน. (ป. จุลฺล).
  27. ฉลองพระกรน้อย : (ราชา) น. ชื่อเสื้อชั้นในที่แขนต่อแถบรัดคู่กับฉลอง พระองค์ทรงประพาส, พระกรน้อย ก็ว่า.
  28. ตรึก ๒ : [ตฺรึก] ก. หมด, สิ้น, เปลือง, น้อย, มักใช้ในความปฏิเสธว่า ไม่ตรึก, มิตรึก, เช่น จึงองค์มิสาระปันหยี จึงตอบว่าข้าจะให้ไก่ดีดี ของเรามีไม่ตรึกอย่า ร้อนใจ. (อิเหนา), ท่านก็ไม่ขัดสนจนพราย มากมายตามพรูอยู่มิตรึก แรกรักจะรําพันให้ครั่นครึก. (ขุนช้างขุนแผน), ฤๅจะใคร่ได้เมียสาว ๆ ขาว ๆ ดี ๆ มีไม่ตรึก. (มณีพิชัย).
  29. ต้อย ๑ : ว. จ้อย, เตี้ย, เล็ก, น้อย, เช่น ไก่ต้อย.
  30. ถูกน้อย : (โบ) ก. ถูกลักษณะอย่างวิ่งน้อย เป็นอาการของม้าวิ่งเรียบ ๆ ช้า ๆ. (อิเหนา).
  31. ทร- : [ทอระ-] คําอุปสรรค แปลว่า ชั่ว, ยาก, ลําบาก, น้อย, ไม่มี, เช่น ทรชน ทรลักษณ์ ทรพล. (ป. ทุ, ทุรฺ; ส. ทุสฺ).
  32. ทวดน้อย : น. เรียกคนชั้นน้องของทวดว่า ทวดน้อย.
  33. ทุร- : [ทุระ-] ว. คําประกอบหน้าคําศัพท์ หมายความว่า ชั่ว, ยาก, ลําบาก, น้อย, ไม่มี, เช่น ทุรค ว่า ที่ไปถึงยาก, ทางลําบาก. (ส.).
  34. ธงชัยพระครุฑพ่าห์น้อย : น. ชื่อธงมีลักษณะเป็นผ้าสีเหลืองรูปสี่เหลี่ยม มี ภาพครุฑที่กลางผืนธง คันธงท่อนบนทำด้วยเหล็ก ยอดเรียวแหลมคร่ำทอง ท่อนล่างทำด้วยไม้ชัยพฤกษ์ติดกาบโลหะจำหลักเป็นภาพครุฑจับนาค จำนวน ๔ กาบ มีหางนกยูงผูกเป็นแพนเสียบที่กาบ, ใช้เชิญนำกระบวน พยุหยาตรา และอัญเชิญประดิษฐานในพิธีมณฑลในการพระราชพิธีต่าง ๆ เข้าคู่กับ ธงชัยราชกระบี่ธุชน้อย หรือ ธงชัยราชกระบี่ยุทธ โดยธงชัย พระครุฑพ่าห์น้อยอยู่ทางด้านขวา และธงชัยราชกระบี่ธุชน้อยหรือธงชัย ราชกระบี่ยุทธอยู่ทางด้านซ้าย.
  35. ธงชัยราชกระบี่ธุชน้อย : น. ชื่อธงมีลักษณะเป็นผ้าสีแดงรูปสี่เหลี่ยม มี ภาพพระกระบี่คือหนุมานที่กลางผืนธง คันธงท่อนบนทำด้วยเหล็ก ยอด เรียวแหลมคร่ำทอง ท่อนล่างทำด้วยไม้ชัยพฤกษ์ติดกาบโลหะจำหลัก เป็นภาพหนุมานจำนวน ๔ กาบมีหางนกยูงเป็นแพนเสียบที่แผ่นกาบ มี อีกชื่อหนึ่งว่า ธงชัยราชกระบี่ยุทธ, ใช้เชิญนำกระบวนพยุหยาตราและ อัญเชิญประดิษฐานในพิธีมณฑลในการพระราชพิธีต่าง ๆ เข้าคู่กับ ธงชัยพระครุฑพ่าห์น้อยโดยธงชัยราชกระบี่ธุชน้อยอยู่ทางด้านซ้าย และธงชัยพระครุฑพ่าห์น้อยอยู่ทางด้านขวา.
  36. ธงราชินีน้อย : (กฎ) น. ธงสําหรับองค์สมเด็จพระราชินี มีลักษณะและสี อย่างเดียวกับธงมหาราชน้อย เว้นแต่ชายต่อเป็นสีแดง ธงนี้ถ้าชักขึ้นแทน ธงราชินีใหญ่ หมายความว่าทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้งดการยิงสลุต ถวายคํานับ.
  37. น้ำน้อยแพ้ไฟ : (สํา) น. ฝ่ายข้างน้อยย่อมแพ้ฝ่ายข้างมาก.
  38. บัน ๓ : ก. เบา, น้อย, เช่น มัวเมาไม่บัน. (ดึกดําบรรพ์).
  39. เบี้ยน้อยหอยน้อย : (สํา) ว. มีเงินน้อย, มีไม่มาก.
  40. ผู้น้อย : น. คนที่มีอายุน้อย, ผู้ที่ถือกันว่ามีสถานภาพด้อยกว่า, คนที่อยู่ใต้บังคับบัญชา.
  41. พระกรน้อย : (ราชา) น. ชื่อเสื้อชั้นในที่แขนต่อแถบรัดคู่กับฉลอง พระองค์ทรงประพาส, ฉลองพระกรน้อย ก็ว่า.
  42. มักน้อย : ก. ปรารถนาน้อย, สันโดษ.
  43. รากสาดน้อย : น. โรคติดเชื้อแบคทีเรีย Salmonella typhi มีอาการไข้สูง ปวดศีรษะ ซึมและทําให้ลําไส้อักเสบและเป็นแผล ถ้าร้ายแรง ลําไส้จะ ทะลุและมีเลือดออกมากับอุจจาระ,เรียกโรคที่เกิดจากการติดเชื้อดังกล่าว นี้ว่า ไข้รากสาดน้อย, เรียกโรคที่คล้ายกันแต่อาการรุนแรงน้อยกว่า เกิด จากเชื้อ Salmonella paratyphi ว่า ไข้รากสาดเทียม.
  44. รู้น้อยพลอยรำคาญ : (สํา) ก. รู้น้อยไม่เข้าใจ ทําให้เกิดความรําคาญใจ, มักพูดเข้าคู่กับ รู้มากยากนาน เป็น รู้มากยากนาน รู้น้อยพลอยรําคาญ.
  45. ลูกเมียน้อย : น. ลูกของเมียน้อยซึ่งมีสิทธิ์ด้อยกว่าลูกของเมียหลวง, โดยปริยายหมายถึงผู้มีฐานะไม่เทียมหน้าเทียมตาผู้อื่นหรือสิ่งอื่นที่ มีลักษณะคล้ายคลึงเช่นนั้น เช่น บางคนบ่นว่าสถาบันของตนเป็น ลูกเมียน้อย.
  46. เล็กน้อย : ว. นิดหน่อย เช่น เสียหายเล็กน้อย, ไม่สําคัญ เช่น เรื่อง เล็กน้อย.
  47. หมอน้อย : น. อุปกรณ์ที่ใช้ในการนวดเช่นนมไม้; เรียกตัวปลิงที่ใช้กอก เลือดว่า หมอน้อย.
  48. หย่อน : ก. ไม่ตึง, ผ่อนไม่ให้ตึง, ค่อย ๆ ผ่อนลงมาจากที่สูง; ถอย เช่น หย่อนกําลัง, คลาย เช่น หย่อนอารมณ์, ทุเลา เช่น ลดหย่อน; เบาลง, น้อย, ไม่เต็ม, เช่น กิโลหย่อนไป ๒ ขีด บาทหย่อนสลึง หย่อนสมรรถภาพ.
  49. หรัสว- : [หะรัดสะวะ-] ว. สั้น; เล็ก, น้อย; ตํ่า, เตี้ย. (ส.; ป. รสฺส).
  50. ใหญ่น้อย : ว. บรรดา, ทั้งหลาย, เช่น สัตว์ใหญ่น้อยวิ่งหนีไฟป่า.
  51. [1-50] | 51-100 | 101-150 | 151-200 | 201-250 | 251-300 | 301-350 | 351-400 | 401-450 | 451-500 | 501-550 | 551-600 | 601-650 | 651-700 | 701-744

(0.1644 sec)