Dictionary : English, Thai, Pali. Link : Lexitron, RoyDict, BudDict, ETipitaka, PpmDict, Longdo.
Search: หมอง .

Royal Institute Thai-Thai Dict : หมอง, 47 found, display 1-47
  1. หมอง : [หฺมอง] ว. ขุ่น, มัว, เช่น เครื่องแก้วหมอง เครื่องเงินหมอง, ไม่ผ่องใส, ไม่แจ่มใส, เช่น หน้าหมอง.
  2. หมองมัว : ว. ไม่แจ่มใส, ไม่เบิกบาน.
  3. หมองหม่น : ว. ไม่ผ่องใส, ไม่สบายใจ, ไม่เบิกบาน, หม่นหมอง ก็ว่า.
  4. เศร้า : [เส้า] ก. สลด, ระทด, หมอง, ไม่เบิกบาน, เป็นทุกข์, เหี่ยวแห้ง, เช่น หน้าเศร้า ใจเศร้า ตามีแววเศร้า เรื่องเศร้า.
  5. เศร้าหมอง : ว. หมองมัว, ไม่ผ่องใส, เช่น ผิวพรรณเศร้าหมอง หน้าตาเศร้าหมอง เครื่องนุ่งห่มเศร้าหมอง.
  6. หม่อง : น. คํานําหน้าชื่อผู้ชายพม่า (พม่า หม่อง ว่า น้อง); เรียกยาขี้ผึ้งชนิดหนึ่ง ใช้ทา นวด เป็นต้น ว่า ยาหม่อง.
  7. ขุ่นหมอง : ว. ไม่ผ่องใส.
  8. ช้าหมอง : น. ชื่อต้นไม้ใช้ทํายาได้. (พจน. ๒๔๙๓).
  9. มัวหมอง : ว. มีมลทิน, ไม่บริสุทธิ์.
  10. มลาน ๑ : [มะลาน] ว. เหี่ยว, แห้ง; อ่อน, อิดโรย; ตาย; โศกเศร้า, หมอง. (ส. มฺลาน).
  11. หม่นหมอง : ว. ไม่ผ่องใส, ไม่สบายใจ, ไม่เบิกบาน, เช่น หน้าตาหม่น หมอง จิตใจหม่นหมอง, หมองหม่น ก็ว่า.
  12. กบเต้นต่อยหอย : น. ชื่อกลบทชนิดหนึ่ง ตัวอย่างว่า คิดยิ่งแสนแค้น ยิ่งศรเสียบทรวงหมอง.
  13. กระแตไต่ไม้ ๑ : น. ชื่อกลบท ตัวอย่างว่า หมายหมองมาดสวาท น้องมาดหมองหมาย; ชื่อเพลง เดิมเป็นของชาวเหนือพวกกะเหรี่ยง บัดนี้ใช้เป็นเพลงโหมโรงหรือเพลงเสภา ทําตอนรื่นเริง.
  14. กิเลส, กิเลส- : [-เหฺลด, -เหฺลดสะ-] น. เครื่องทําใจให้เศร้าหมอง ได้แก่ โลภ โกรธ หลง เช่น ยังตัดกิเลสไม่ได้ กิเลสหนา; กิริยามารยาท ในคําว่า กิเลสหยาบ.
  15. เกลือก ๑ : [เกฺลือก] ก. กลิ้งหรือเสือกตัวไปมา เช่น เกลือกตม เกลือกฝุ่น, เอาสิ่งใดสิ่งหนึ่งทําเช่นนั้นเพื่อให้สิ่งอื่นติด เช่น เอาขนมเกลือกงา. เกลือกกลั้ว ก. คบหาสมาคม, คลุกคลี, เช่น เกลือกกลั้วกับคนพาล; ทําให้มัวหมอง, ทําให้มีมลทิน, เช่น ไม่มีอะไรมาเกลือกกลั้ว. เกลือกกลิ้ง ก. กลิ้งหรือเสือกตัวไปมา เช่น นอนเกลือกกลิ้งอยู่บนที่นอน, เกลือก ก็ว่า; พยายามกระเสือกกระสนไปตามมีตามได้หรือด้วย ความทุกข์ทรมาน เช่น นอนกลิ้งเกลือกไปมาด้วยความทุรนทุราย, กลิ้งเกลือก ก็ว่า.
  16. คาว : น. กลิ่นเหม็นอย่างหนึ่งอย่างกลิ่นปลาสดเนื้อสด; โดยปริยายหมายถึง ความเสื่อมเสีย ความมัวหมอง มลทิน เช่น ราคีคาว คนนั้นยังมีคาว; เรียกกับข้าวว่า ของคาว, คู่กับ ขนม ว่า ของหวาน.
  17. จตุรงคนายก : [จะตุรงคะ-] น. ชื่อกลอนกลบทโบราณ มีบังคับพิเศษคือ กลอนแต่ละวรรค แบ่งออกเป็น ๔ จังหวะ จังหวะละ ๒ คำ คำเริ่มต้นของ ทุกจังหวะใช้คำเดียวกันซ้ำตลอด คำที่ ๒ กับคำที่ ๔ ใช้เสียงพยัญชนะเดียวกัน และคำที่ ๖ กับคำที่ ๘ ใช้เสียงพยัญชนะเดียวกัน ตัวอย่างว่า จักกรีดจักกราย จักย้ายจักย่อง ไม่เมินไม่มองไม่หมองไม่หมาง งามเนื้องามนิ่มงามยิ้มงามย่าง ดูคิ้วดูคางดูปรางดูปรุง. (ชุมนุมตำรากลอน).
  18. แจ่ม : ว. กระจ่าง, ไม่มัวหมอง.
  19. ซึมเศร้า : ว. อาการที่รู้สึกเศร้าหมอง ว้าเหว่ ล้มเหลวหรือสิ้นหวัง, เศร้าซึม ก็ว่า; (จิตเวช) อาการที่มีอารมณ์เศร้า หดหู่ ว้าเหว่ ซึม มีความรู้สึกท้อถอย ล้มเหลว สิ้นหวัง เป็นต้น.
  20. ด่างพร้อย : ว. เป็นดวง ๆ จุด ๆ ทั่วไป, โดยปริยายหมายความว่า มีมลทิน, มัวหมอง, ไม่บริสุทธิ์, เช่น มีศีลด่างพร้อย.
  21. ตม- ๑, ตโม- : [ตะมะ-] น. ความมืด, ความเศร้าหมอง, ความเขลา. (ป.; ส. ตมสฺ).
  22. นิรมล : [ระมน] ว. ไม่มีมลทิน, ไม่มัวหมอง, ผ่องใส; โดยปริยาย หมายความว่า หญิงสวย, หญิงงาม. (ส.).
  23. บาป, บาป- : [บาบ, บาบปะ-] น. การกระทําผิดหลักคําสอนหรือข้อห้ามใน ศาสนา; ความชั่ว, ความมัวหมอง. ว. ชั่ว, มัวหมอง, เช่น คนใจบาป. (ป., ส. ปาป).
  24. แบเรียม : น. ธาตุลําดับที่ ๕๖ สัญลักษณ์ Ba เป็นโลหะ ลักษณะเป็นของแข็ง สีเงิน เนื้ออ่อน เมื่อถูกอากาศสีจะหมองลงอย่างรวดเร็ว หลอม ละลายที่ ๗๑๔?ซ. สารประกอบของแบเรียมใช้ในอุตสาหกรรม สีทา แก้ว และดอกไม้ไฟ. (อ. barium).
  25. ปลอบ, ปลอบโยน : [ปฺลอบ] ก. พูดเอาอกเอาใจให้คลายอารมณ์ขุ่นหมอง.
  26. เผือด : ว. จางไป, หมองไป, (ใช้แก่สีและผิว) เช่น หน้าเผือด สีเผือดไป ผิว ซีดเผือด.
  27. พิมล : [พิมน] ว. ปราศจากมลทิน, ปราศจากความมัวหมอง; ผ่องใส. (ป., ส. วิมล).
  28. มลทิน : [มนทิน] น. ความมัวหมอง, ความด่างพร้อย, ความไม่บริสุทธิ์. (ข. มนฺทิล).
  29. มลพิษ : [มนละพิด] น. พิษเกิดจากความมัวหมองหรือความสกปรกของสิ่งแวดล้อม เช่น ในอากาศหรือในน้ำเป็นต้น; (กฎ) ของเสีย วัตถุอันตราย และมลสารอื่น ๆ รวมทั้งกากตะกอน หรือสิ่งตกค้างจากสิ่งเหล่านั้นที่ถูกปล่อยทิ้งจากแหล่งกำเนิดมลพิษ หรือที่มีอยู่ในสิ่งแวดล้อม ตามธรรมชาติ ซึ่งก่อให้เกิดหรืออาจก่อให้เกิดผลกระทบต่อคุณภาพสิ่งแวดล้อม หรือภาวะที่เป็น พิษภัยอันตรายต่อสุขภาพอนามัยของประชาชนได้ และหมายความรวมถึงรังสี ความร้อน แสง เสียง กลิ่น ความสั่นสะเทือน หรือเหตุรำคาญอื่น ๆ ที่เกิดหรือถูกปล่อยออกจากแหล่งกำเนิด มลพิษด้วย. (อ. pollution).
  30. มล, มล- : [มน, มนละ-] น. ความมัวหมอง, ความสกปรก, ความไม่บริสุทธิ์; สนิม, เหงื่อไคล. ว. มัวหมอง, สกปรก, ไม่บริสุทธิ์. (ป., ส.).
  31. มลิน : [มะลิน] ว. ขุ่นมัว, มัวหมอง, ไม่บริสุทธิ์. (ป., ส.).
  32. มอม ๑ : ว. เปื้อนด้วยสีมัว ๆ ดํา ๆ เช่น หน้ามอม. ก. ทําให้เปื้อนด้วยสีมัว ๆ ดํา ๆ เช่น มอมหน้า; ทําให้เสียชื่อเสียง, ทําให้มัวหมอง; ทําให้เสีย สติด้วยของมึนเมามีเหล้าเป็นต้น เช่น มอมเหล้า มอมกัญชา.
  33. ราคี ๒ : น. ความมัวหมอง, มลทิน, เช่น หญิงคนนี้มีราคี. (ส. ราคินฺ).
  34. ลูขะ : (แบบ) ว. ปอน, เศร้าหมอง, เปื้อน. (ป.).
  35. สะเทือนอารมณ์ : ก. มีจิตใจหวั่นไหวอย่างแรงเพราะมีสิ่งใดสิ่งหนึ่ง มากระทบทำให้รู้สึกเศร้าหมอง เช่น นวนิยายสะเทือนอารมณ์ อ่าน เรื่องเศร้าแล้วสะเทือนอารมณ์.
  36. สังกิเลส : น. เครื่องทําให้ใจเศร้าหมอง. (ป.).
  37. หน้าดำ : น. ใบหน้าหมองคล้ำไม่มีราศีเพราะความทุกข์หรือต้องทำงาน กลางแจ้งเป็นต้น.
  38. หน้าดำคล้ำเครียด : น. ใบหน้าหมองคล้ำเพราะต้องคร่ำเครียดหมกมุ่นอยู่ กับงาน หรือต้องใช้ความคิดอย่างหนัก, หน้าดำคร่ำเครียด ก็ว่า.
  39. หมดราคี : ว. ไม่มีมลทิน, ไม่มัวหมอง.
  40. หมดราคีคาว : ว. ไม่มีความมัวหมองทางชู้สาว (มักใช้แก่ผู้หญิง).
  41. หมดราศี : ว. มีหน้าตาหมองคล้ำ เช่น พอหมดอำนาจก็หมดราศี.
  42. เหมือง : [เหฺมือง] น. บ่อ เช่น เหมืองถ่านหิน เหมืองแร่; ลําราง, ร่องนํ้าสําหรับชักนํ้า เข้าไปหล่อเลี้ยงพืชที่เพาะปลูก, เช่น ชักน้ำจากเหมืองเข้านา.
  43. อ่อง : ว. ใช้เข้าคู่กับคำ เอี่ยม เป็น เอี่ยมอ่อง หมายความว่า ใหม่, สดใส, ผุดผ่อง, เปล่งปลั่ง, ไม่หมองมัว.
  44. อับ ๒ : ว. ไม่มีลมเข้าออก, ไม่โปร่ง, เช่น อากาศอับ, ไม่เคลื่อนไหว เช่น ลมอับ; ไม่มีตาไป (ใช้แก่หมากรุก); โง่ เช่น ปัญญาอับ; ถึงที่อับจน, ถึงคราวชะตาตก, เช่น ตกอับ; มัวหมอง เช่น อับเศร้าหมองศรี; มืด เช่น อับทิศ คือ มืดทุกทิศ; อาการที่นกเขาซึ่งเคยขันแล้วกลับไม่ขัน; ลักษณะของกลิ่นซึ่งเกิดจากสิ่งที่ไม่มีอากาศผ่าน เช่น เหม็นอับ.
  45. อาพิล : [พิน] ว. ขุ่นมัว, เศร้าหมอง. (ป., ส. อาวิล).
  46. อุปกิเลส : [อุปะกิเหฺลด] น. เครื่องทําใจให้เศร้าหมอง มี ๑๖ อย่าง มี อภิชฌาวิสมโลภ เป็นต้น. (ป. อุปกฺกิเลส).
  47. เอี่ยมอ่อง : ว. ใหม่ผุดผ่อง เช่น เสื้อผ้าเอี่ยมอ่อง; สะอาดสดใส, ไม่หมองมัว, เช่น หน้าตาเอี่ยมอ่อง.
  48. [1-47]

(0.0065 sec)