Dictionary : English, Thai, Pali. Link : Lexitron, RoyDict, BudDict, ETipitaka, PpmDict, Longdo.
Search: หลบ , then หลบ, หลบา .

Royal Institute Thai-Thai Dict : หลบ, 49 found, display 1-49
  1. หลบ : [หฺลบ] ก. หลีก, เลี่ยงไม่ให้พบ, เลี่ยงไม่ให้ถูก เช่น หลบลูกปืน; แอบ เช่น หลบเข้าหลังตู้; กลับเข้าใน เช่น ไข้หลบ; ปกคลุมหลุบลงมา (ใช้เฉพาะ การมุงหลังคาตรงอกไก่).
  2. หลบฉาก : ก. หลบอย่างมีชั้นเชิง (ใช้ในกีฬามวย), โดยปริยายหมายความว่า หลีกหนีไม่ให้พบหน้า.
  3. หลบหน้า, หลบหน้าหลบตา : ก. หลบไปไม่เผชิญหน้า.
  4. หลบหนี้ : ก. หลบไม่ยอมพบเจ้าหนี้.
  5. หลบลี้หนีหน้า : ก. หลีกหนีไปไม่ยอมให้พบหน้า.
  6. หลบหลังคา : ก. ปิดหลังคาที่ตรงสันหลังคาให้มิดไม่ให้ฝนรั่วได้. น. เครื่อง มุงที่ใช้ปิดสันหลังคาให้มิดไม่ให้ฝนรั่วได้; วิธีสอยชายผ้าอย่างหนึ่ง.
  7. จากหลบ : น. ตับจากทำเป็นคู่ใช้ปิดหลังคาที่ตรงสันหลังคาให้มิดเพื่อ ไม่ให้ฝนรั่วได้.
  8. รู้หลบเป็นปีก รู้หลีกเป็นหาง : (สํา) ก. รู้จักเอาตัวรอดหรือปรับตัวให้เข้า กับเหตุการณ์.
  9. หลุมหลบภัย : น. หลุมที่ใช้สำหรับกําบังภัยทางอากาศ.
  10. แฝง : ก. หลบ แอบ ซ่อน เร้น โดยอาศัยสิ่งกําบัง. ว. เคลือบคลุม, ที่ซ่อนเร้น เช่น ความร้อนแฝง.
  11. กบดาน : ก. นอนพังพาบกับพื้นใต้น้ำ เป็นอาการของจระเข้, โดยปริยายหมายถึงหลบซ่อนตัวไม่ออกมา.
  12. กลมเป็นลูกมะนาว, กลิ้งเป็นลูกมะนาว : (สํา) ว. หลบหลีก ไปได้ คล่องจนจับไม่ติด (มักใช้ในทางไม่ดี).
  13. กลิ้งเป็นลูกมะนาว : (สํา) ว. หลบหลีกไปได้คล่องจนจับไม่ติด (มักใช้ในทางไม่ดี), กลมเป็นลูกมะนาว ก็ว่า.
  14. กุ้งดีด, กุ้งดีดขัน : น. ชื่อกุ้งขนาดเล็กหลายชนิดหลายสกุล เช่น สกุล Alpheus ในวงศ์ Alpheidae มีก้ามใหญ่ ๒ ข้าง โดยมีก้ามข้างหนึ่งโตกว่า สามารถงับก้ามทําให้เกิดเสียงดังโดยเฉพาะ เมื่อกระทบขันเสียงจะดังยิ่งขึ้น จึงได้ชื่อว่า กุ้งดีดขัน พบอาศัย หลบซ่อนอยู่ตามซอกวัสดุต่าง ๆ ริมฝั่งทั้งในน้ำเค็มและน้ำกร่อย ยกเว้นชนิด Alpheus microrhynchus ที่พบอยู่ในน้ำจืดด้วย, กระเตาะ ก็เรียก.
  15. ข้างควาย : น. เรียกไม้ขนาบใกล้สันหลังคา ๒ ข้างจากหลบ มีไม้ เสียบหนูยึดกลัดให้แน่น ว่า ไม้ข้างควาย.
  16. เคล่าคล่อง : [เคฺล่าคฺล่อง] (กลอน) ก. แคล่วคล่อง เช่น หลบหลีกเคล่าคล่อง ทํานองยุทธ. (รามเกียรติ์ ร. ๒).
  17. เค้า ๒ : น. ชื่อนกหลายชนิดในวงศ์ Strigidae ขนนุ่ม หัวใหญ่ ตาโต ตัวลาย ออกหากินเวลากลางคืน กลางวันหลบพักผ่อนตามต้นไม้ มีหลายชนิด เช่น เค้าเหยี่ยว (Ninox scutulata) เค้าแมว หรือ เค้าโมง (Glaucidium cuculoides), ฮูก ก็เรียก.
  18. ฉาก ๒ : (ปาก) ก. หลบ, เลี่ยง เช่น ฉากหนี.
  19. ชาปีไหน : น. ชื่อนกชนิด Caloenas nicobarica ในวงศ์ Columbidae ลําตัวสีเขียวเหลือบเทา ขนหางสีขาว มีสร้อยคอสีเขียวเห็น ได้ชัด ขี้อายมักเกาะหลบตามกิ่งไม้หนาทึบ พบตามหมู่เกาะ ทางภาคใต้ของประเทศไทยเช่น หมู่เกาะอ่างทอง สุราษฎร์ธานี, กะดง ก็เรียก.
  20. ซ่อน ๑ : ก. แอบ, แอบแฝง, ปิดบัง, หลบไว้ในที่ลับตา.
  21. ดำดิน : ก. หลบหายไป, หายไปโดยไม่มีร่องรอย.
  22. ถอยฉาก : ก. ถอยหลังพร้อมกับเบี่ยงตัวหลบทันที, หลบอย่างมีชั้นเชิง.
  23. บ่าง : น. ชื่อสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมชนิด Cynocephalus variegatus ในวงศ์ Cynocephalidae รูปร่างคล้ายกระรอก แต่มีหนังเป็นพังผืด ๒ ข้าง ของลําตัวตั้งแต่คอไปถึงปลายนิ้วตีนและปลายหางสําหรับใช้กาง ออกคล้ายปีก ถลาร่อนจากที่สูงมายังที่ตํ่าได้ค่อนข้างไกล ขนนุ่ม สีนํ้าตาลคลํ้าหรือนํ้าตาลจาง ๆ เป็นหย่อม ๆ เล็บโค้งแหลมใช้ปีน ป่ายต้นไม้ หากินในเวลากลางคืน กลางวันมักหลบอยู่ตามโพรงไม้ หรือเกาะห้อยอยู่ตามพุ่มทึบ, พุงจง หรือ พะจง ก็เรียก
  24. ไปอย่างน้ำขุ่น ๆ : (สํา) ก. พูดแก้ตัวหลบเลี่ยงไปอย่างข้าง ๆ คู ๆ.
  25. ไพล่ : [ไพฺล่] ก. ไขว้ เช่น เอามือไพล่หลัง, เอี้ยว, หลบไป, หลีกไป; แทนที่จะเป็นอย่างนี้กลับเป็นอีกอย่างหนึ่ง เช่น เคยทำอย่างนี้ ไพล่ไปทำอย่างนั้น.
  26. มุดหัว : (ปาก) ก. หลบ, ซ่อน, เช่น ไปมุดหัวอยู่ที่ไหน.
  27. ไม้ข้างควาย : น. ไม้ขนาบสันหลังคา ๒ ข้างจากหลบมีไม้เสียบหนูกลัดยึดให้แน่น.
  28. ไม้เสียบหนู ๑ : น. ไม้ที่เสียบขัดกับไม้ข้างควายที่ขนาบจากหลบหลังคาเรือน.
  29. รู้แกว : ก. รู้เบาะแส, รู้ระแคะระคาย, เช่น รู้แกวว่าจะมายืมเงินเลยหลบ หน้าไปก่อน.
  30. เร้น : ก. หลบให้ลับตาคน, แฝง, เช่น เร้นกายเข้าไปในความมืด เร้นเข้าไป ในถ้ำไม่ให้คนเห็น, หลีกให้พ้นจากผู้คนเพื่อหาความวิเวก เช่น พระภิกษุหลีกไปเร้นอยู่ในป่า.
  31. ละลอบละเล้า : ว. รู้หลบหลีก.
  32. ลัดเลาะ : ก. อาการที่เลียบทางไป เช่น เดินลัดเลาะไปตามตลิ่ง ขี่ม้า ลัดเลาะไปตามชายป่า, หลบเลี่ยงเพื่อไม่ต้องเผชิญกับสิ่งกีดขวาง หรืออันตราย เช่น เดินทางลัดเลาะหลบข้าศึก, เลาะลัด ก็ว่า.
  33. ลี้ ๑ : ก. หลีกหนีไป, หลบหนีไป.
  34. ลี้ภัย : ก. หลีกหนีภัย, หลบหนีภัย, เช่น ลี้ภัยการเมือง ลี้ภัยสงคราม.
  35. เล่นเอาเถิดเจ้าล่อ : (สำ) ก. อาการที่หลบไปมาเพื่อไม่ให้พบ เช่น ลูกหนี้เล่นเอาเถิดเจ้าล่อกับเจ้าหนี้.
  36. เลาะลัด : ก. อาการที่เลียบทางไป เช่น เดินเลาะลัดไปตามตลิ่ง ขี่ม้า เลาะลัดไปตามชายป่า, หลบเลี่ยงเพื่อไม่ต้องเผชิญกับสิ่งกีดขวาง หรืออันตราย เช่น เดินทางเลาะลัดหลบข้าศึก, ลัดเลาะ ก็ว่า.
  37. วูบ : ก. อาการที่เป็นไปอย่างรวดเร็ว เช่น ตะเกียงดับวูบ ร้อนวูบ เย็นวูบ, โดยปริยายหมายถึงลักษณะที่คล้ายคลึงเช่นนั้น เช่น หลบวูบ ใจหายวูบ.
  38. สมุน ๒ : [สะหฺมุน] น. จาก คา หรือใบไม้ที่ใช้มุงหลบหลังคา.
  39. หดหัว : ก. ชักหัวกลับ, โดยปริยายหมายความว่า กลัวหรือหลบไม่ยอม โผล่หน้าออกไป เช่น มัวหดหัวอยู่แต่ในบ้าน.
  40. หนีหน้า : ก. หลบไม่ยอมให้พบหน้า.
  41. หมก ๑ : ก. ซุกไว้ใต้ เช่น หมกดิน หมกโคลน หมกทราย, หลบหน้า เช่น ไปหมกหัว อยู่ที่ไหน, ทิ้งสุม ๆ ไว้ เช่น เสื้อผ้าใช้แล้วอย่าหมกไว้; เรียกวิธีทําอาหาร บางอย่างให้สุกด้วยการหมกไฟ เช่น หมกปลา หมกหัวมันเทศ.
  42. หลีก : ก. หลบสิ่งที่กีดขวาง, เลี่ยง, ขยับไปให้พ้นที่เดิม, ให้ทาง.
  43. หลุบ : [หฺลุบ] ก. ลู่ลงมา, ปกลงมา, เช่น ผมหลุบหน้า หนังตาหลุบ.
  44. หัวซุกหัวซุน : ว. อาการที่หลบหนีอย่างรีบร้อนโดยไม่หยุดยั้ง เช่น ผู้ร้าย หนีตำรวจหัวซุกหัวซุน.
  45. หายตัว : ก. ทำให้ไม่เห็นตัว เช่น บางคนเชื่อว่ามีเวทมนตร์ทำให้หายตัวได้, มักใช้คู่กับ ล่องหน เป็น ล่องหนหายตัว หมายความว่า ไม่ปรากฏตัวให้เห็น; โดยปริยายหมายความว่า หลบลี้หนีหน้า เช่น เผลอแผล็บเดียวเขาก็หายตัว ไปแล้ว, หายหน้า หรือ หายหัว ก็ว่า.
  46. หายหน้า : ก. ไม่ได้พบหน้ากัน เช่น ไม่ได้พบกันเสียนาน หายหน้าไปไหน มา, หลบลี้หนีหน้า เช่น ตั้งแต่ยืมเงินไปแล้ว เขาก็หายหน้าไปเลย, หายตัว ก็ว่า; บางทีก็ใช้เข้าคู่กับคำ หายตา เป็น หายหน้าหายตา, หายหัว ก็ว่า.
  47. หายหัว : ก. หายไปนาน เช่น ใช้ให้ไปซื้อของใกล้ ๆ แค่นี้ หายหัวไปไหน มา, หลบลี้หนีหน้า เช่น พอจะใช้ให้ทำงานก็หายหัวไปเลย, หายตัว หรือ หายหน้า ก็ว่า.
  48. เอาตัวรอด : ก. รักษาตัวให้พ้นจากความยากลำบาก, หลบหลีกปัญหา ยุ่งยากไปได้.
  49. เอาเถิดเจ้าล่อ ๒ : ก. อาการที่ตามจับหรือตามหาผู้ที่หลบหรือเลี่ยง กันไปมา เช่น ตำรวจเอาเถิดเจ้าล่อกับผู้ร้าย.
  50. [1-49]

(0.0704 sec)