Dictionary : English, Thai, Pali. Link : Lexitron, RoyDict, BudDict, ETipitaka, PpmDict, Longdo.
Search: หว่าง , then หวาง, หว่าง .

Royal Institute Thai-Thai Dict : หว่าง, 31 found, display 1-31
  1. หว่าง : น. ช่องว่างจากจุดหนึ่งถึงอีกจุดหนึ่ง เช่น หว่างคิ้ว หว่างเขา.
  2. สับหว่าง : ว. เยื้องระหว่างแถว จะเป็น ๒ แถวหรือหลายแถวก็ได้ เช่น นั่งสับหว่าง ยืนสับหว่าง.
  3. กระจับ ๑ : น. ชื่อไม้น้ำชนิด Trapa bicornis Osbeck ในวงศ์ Trapaceae ขึ้นลอยอยู่ในน้ำโดยอาศัยก้านใบเป็นทุ่น ฝักแก่สีดําแข็ง มี ๒ เขา คล้ายเขาควาย เนื้อในขาว รสหวานมัน; ชื่อขวากมีรูปคล้ายกระจับ; เรียกพานขนาดเล็ก ปากเป็นรูปวงรี ทําเป็นรูปกลีบบัวคลี่ออกคล้ายฝัก กระจับ ว่า พานปากกระจับ; วัตถุที่มีรูปอย่างฝักกระจับสําหรับยันคาง ศพที่บรรจุโกศ; นวมหรือวัตถุรูปร่างคล้ายฝักกระจับใช้ใส่ป้องกัน อวัยวะที่หว่างขาเวลาชกมวยไทย.
  4. กระเบน : น. ชื่อปลากระดูกอ่อนพวกหนึ่ง มีหลายชนิด หลายสกุล และหลายวงศ์ ทั้งขนาดเล็กและขนาดใหญ่ ลําตัวแบนลงมาก ครีบอกแผ่ออกด้านข้าง บางชนิดแผ่ออกไปจดด้านหน้าและด้านท้าย เกือบเป็นวงกลมดูคล้ายจานหรือว่าว บางชนิดแผ่ยื่นด้านข้าง ออกไปเป็นปีกคล้ายนกหรือผีเสื้อ และบางชนิดครีบอกแผ่ ไปไม่ถึงส่วนหน้า ทำให้หัวแยกจากลำตัวและส่วนยื่นของหัว เป็นลอน มีเหงือก ๕ คู่ อยู่ด้านล่างของส่วนหัว บริเวณถัดจาก ส่วนท้ายของนัยน์ตามีรูเปิดข้างละช่อง ซึ่งด้านในติดต่อกับ โพรงเหงือกและปาก หางส่วนมากเรียว สั้นบ้างยาวบ้าง มักมีผิวหยาบหรือขรุขระ บางพวกมีเงี่ยงอยู่บนหางตอน ใกล้ลำตัว และมีต่อมน้ำพิษอยู่บริเวณโคนเงี่ยง เมื่อใช้เงี่ยงแทง จะปล่อยน้ำพิษออกมาด้วย ทำให้คนหรือสัตว์ที่ถูกแทงรู้สึกปวด; เรียกชายผ้านุ่งที่ม้วนแล้วสอดไปใต้หว่างขา ดึงขึ้นไปเหน็บ ขอบผ้านุ่งด้านหลังระดับบั้นเอว ว่า ชายกระเบน หรือ หางกระเบน; โคนหางช้าง เช่นผูกกระเบนสักหลาดถกล สัปทนแดงกางกั้ง. (กฐินพยุห).
  5. กะกร่อม : (ถิ่น-ปักษ์ใต้) น. เครื่องมือจับปูทะเล เป็นของชาวประมงตั้งแต่ จังหวัดชุมพรถึงสุราษฎร์ธานี, บางทีเรียกว่า กร่อม หรือ ตะกร่อม, ใช้ไม้ไผ่อันเดียวผ่าตอนปลายออกเป็น ๔ ซี่ และซี่เหล่านั้นเหลา ให้อ่อน จะเป็นรูปกลมหรือแบนก็ได้ เอาวงแหวนทําด้วยไม้ไผ่ หรือหวายหรือลวดใส่ในหว่างซี่เหล่านั้นเพื่อบังคับให้ถ่างออก.
  6. ขัดจังหวะ : ก. แทรกเข้ามาในระหว่างร้องรํา; ขวางเข้ามาเพื่อไม่ให้ ทําหรือพูดได้สะดวก.
  7. คร่อม : [คฺร่อม] ก. ยืนหรือนั่งแยกขาให้ของอยู่ใต้หว่างขา, ยงโย่ให้ของอยู่ใต้ตัว เช่น เอาตัวคร่อมไว้ นอนคร่อม, เอาสิ่งของเช่นโต๊ะเก้าอี้ตั้งในอาการ เช่นนั้น เช่น วางโต๊ะคร่อมกองหนังสือ, โดยปริยายหมายถึงลักษณะที่ คล้ายคลึงเช่นนั้น เช่น ปลูกเรือนคร่อมตอ สร้างสะพานคร่อมคลอง นั่งคร่อม ๒ ตำแหน่ง.
  8. ความคลาด : (แสง) น. ลักษณะที่แสงหักเหออกจากผิวเลนส์ และลักษณะที่แสงสะท้อน ออกจากผิวโค้งของกระจกแล้วไม่ตัดร่วม ณ จุดเดียวกัน หรือลักษณะที่แสง ขาวผ่านเลนส์แล้วเกิดการกระจายออกเป็นสีต่าง ๆ; (ดารา) ความแตกต่าง ระหว่างตําแหน่งของดาวฤกษ์หรือเทห์ฟากฟ้าที่สังเกตเห็นกับตําแหน่งจริง ของมันในขณะนั้น. (อ. aberration).
  9. แง ๑ : น. เรียกส่วนของหน้าตรงหว่างคิ้วว่า หน้าแง.
  10. โจงกระเบน : ก. ม้วนชายผ้านุ่งแล้วสอดไปใต้หว่างขา ดึงขึ้นไปเหน็บขอบ ผ้านุ่งด้านหลังระดับบั้นเอว, เรียกวิธีนุ่งผ้าเช่นนั้นว่า นุ่งผ้าโจงกระเบน.
  11. ชะวุ้ง : ว. เป็นคุ้ง, คด, อ้อม, เช่น หว่างเวิ้งชะวุ้งศิขร. (กุมารคําฉันท์).
  12. ชาย ๒ : น. ส่วนริมหรือปลายของสิ่งของบางอย่าง เช่น ชายผ้า ชายจีวร, ส่วนที่สุดเขต, ริม, เช่น ชายป่า ชายแดน ชายทะเล. ชายกระเบน น. ชายผ้านุ่งที่ม้วนแล้วสอดไปใต้หว่างขา ดึงขึ้นไปเหน็บขอบผ้านุ่งด้านหลังระดับบั้นเอว, หางกระเบน ก็เรียก.
  13. ชายทะเล : (ภูมิ) น. เขตระหว่างแนวนํ้าทะเลลงตํ่าสุดกับ แนวนํ้าทะเลขึ้นสูงสุด.
  14. ดุลอำนาจ : [ดุน-] น. การถ่วงอํานาจระหว่างประเทศให้มีพลังทางเศรษฐกิจ หรือทางทหารทัดเทียมกัน.
  15. ตะขาบ ๓ : น. เครื่องตีบอกจังหวะ; ไม้ไผ่ที่ผ่าขังปล้องแขวนไว้ตามยอดไม้สําหรับชัก ให้มีเสียงดังเพื่อไล่ค้างคาวเป็นต้น และที่พวกตลกลิเกละครเป็นต้นใช้ตี กันเล่น, จะขาบ ก็เรียก; ธงชนิดหนึ่งทําด้วยแผ่นผ้าเป็นชิ้น ๆ เย็บติดกัน ไปเป็นพืด มีไม้สอดระหว่างชิ้นทําให้มีลักษณะคล้ายตัวตะขาบ ขนาด กว้างยาวตามต้องการ มักแขวนไว้ยอดเสาหงส์ตามหน้าวัดเป็นพุทธบูชา.
  16. นุ่งผ้าโจงกระเบน : ก. นุ่งผ้าแล้วม้วนชายผ้านุ่งสอดไปใต้หว่างขา ดึงขึ้น ไปเหน็บขอบผ้านุ่งด้านหลังระดับบั้นเอว.
  17. เป็น ๑ : ก. คํากริยาสําหรับแสดงความสัมพันธ์ระหว่างคํากับคําเพื่อ ให้เห็นว่าคําหน้าและคําหลังมีภาวะ คือ ความมี ความเป็น เกี่ยวข้องกันอย่างไร เช่น ท่านเป็นเจ้า เขาเป็นนาย.
  18. เป้า ๒ : น. ชิ้นผ้าที่เย็บแทรกตะเข็บตรงรักแร้เสื้อหรือรอยต่อขากางเกงผ้า หรือกางเกงแพรเพื่อให้เคลื่อนไหวได้สะดวก; ส่วนของเสื้อที่อยู่ ใต้รักแร้หรือส่วนของกางเกงที่อยู่ใต้หว่างขา.
  19. ผ้านุ่ง : น. ผ้าสําหรับนุ่งชนิดหนึ่ง มีลักษณะเป็นสี่เหลี่ยมผืนผ้า เวลานุ่งม้วนให้เป็นชายกระเบนหรือหางกระเบนแล้วสอดไป ใต้หว่างขา ดึงขึ้นไปเหน็บขอบผ้าด้านหลังระดับบั้นเอวตอน ที่เรียกว่า กระเบนเหน็บ.
  20. ผ่าหมาก : ว. เรียกอาการเตะเข้าหว่างขาของคู่ต่อสู้ว่า เตะผ่าหมาก.
  21. ฟันปลา : น. เรียกสิ่งที่มีรูปอย่างฟันปลา, เรียกลักษณะที่สับหว่าง สลับเยื้องกันอย่างฟันปลาว่า สลับฟันปลา เช่น นั่งสลับฟันปลา ยืนสลับฟันปลา; ลายคดกริช รูปดังนี้ (รูปภาพ) เรียก ลายฟันปลา, ลายฟันเลื่อย ก็เรียก.
  22. ระดูทับไข้ : น. การมีระดูออกมาระหว่างเป็นไข้.
  23. สลับฟันปลา : ว. สับหว่างสลับเยื้องกันอย่างฟันปลา เช่น นั่งสลับ ฟันปลา ยืนสลับฟันปลา.
  24. สันปันน้ำ : น. แนวสันเขาหรือสันเนินซึ่งเป็นแนวเขตแบ่งระหว่างลุ่มน้ำ, สันเขาหรือบริเวณที่สูงซึ่งแบ่งนํ้าให้ไหลไปลงแม่นํ้าลําธารที่อยู่แต่ละ ด้านของสันเขาหรือบริเวณที่สูงนั้น มักปรากฏเป็นแนวตอนบนสุดของ ทิวเขาซึ่งแบ่งเขตระหว่างลุ่มนํ้าที่มีทิศทางการไหลตรงข้ามกัน.
  25. หนังสือราชการ : น. เอกสารที่เป็นหลักฐานในราชการ ได้แก่ หนังสือที่มี ไปมาระหว่างส่วนราชการ หนังสือที่ส่วนราชการมีไปถึงหน่วยงานอื่น ซึ่งไม่ใช่ส่วนราชการ หนังสือที่หน่วยงานอื่นซึ่งไม่ใช่ส่วนราชการหรือ ที่บุคคลภายนอกมีมาถึงส่วนราชการ เอกสารที่ทางราชการจัดทำขึ้นเพื่อ เป็นหลักฐาน และเอกสารที่ทางราชการจัดทำขึ้นตามกฎหมาย ระเบียบ หรือข้อบังคับ.
  26. หน้าแง : น. ส่วนของหน้าตรงหว่างคิ้ว เช่น นักมวยถูกชกหน้าแง.
  27. หางกระเบน : น. ชายผ้านุ่งที่ม้วนแล้วสอดไปใต้หว่างขา ดึงขึ้นไปเหน็บ ขอบผ้านุ่งด้านหลังระดับบั้นเอว, ชายกระเบน ก็เรียก.
  28. หางหงส์ ๑ : น. ชายผ้านุ่งที่จีบโจงแล้วไปเหน็บไว้ข้างหลัง ปล่อยให้จีบคลี่ ห้อยจากเอวเบื้องหลังลงมาถึงหว่างขาอย่างตัวพระแต่งในละครรํา; เรียก เครื่องประดับที่ทําเป็นรูปคล้ายหางหงส์ติดตั้งอยู่ปลายรวยระกา หรือปลาย ตะเข้สันหลังคาของโบสถ์และพระที่นั่งเป็นต้นตามแบบสถาปัตยกรรมไทย.
  29. เหว : [เหวฺ] น. ช่องลึกลงไปในภูเขา, ช่องลึกหว่างเขา.
  30. อินทรวิเชียร : [อินทฺระ] น. ชื่อฉันท์ ๑๑ แบบหนึ่ง หมายความว่า ฉันท์ที่มีลีลาอันรุ่งเรืองงดงามดุจสายฟ้าซึ่งเป็นอาวุธของพระอินทร์ วรรคหน้ามี ๕ คํา วรรคหลังมี ๖ คํา รวม ๒ วรรค เป็น ๑ บาท นับ ๒ บาท เป็น ๑ บท คําที่ ๓ ของวรรคหน้ากับคําที่ ๑ ที่ ๒ และที่ ๔ ของวรรคหลังเป็นลหุ นอกนั้นเป็นครุ คําสุดท้ายของวรรคที่ ๒ รับ สัมผัสกับคําสุดท้ายของวรรคที่ ๓ แต่เดิมไม่นิยมสัมผัสระหว่างคํา สุดท้ายของวรรคที่ ๑ กับคําที่ ๓ ของวรรคที่ ๒ เช่น (รูปภาพ สัมผัส) (อิลราช), แต่ต่อมานิยมสัมผัสระหว่างคำสุดท้ายของวรรคที่ ๑ กับคำที่ ๓ ของวรรคที่ ๒ อย่างเดียวกับกาพย์ยานี ๑๑ เพราะถือว่าไพเราะ เช่น (รูปภาพ สัมผัส)
  31. อุสุม : น. ไอ, ไออุ่น; ความร้อน; ฤดูร้อน, แผลงใช้เป็น อรสุม ก็มี เช่น อรสุมพล = กําลังไอนํ้า; ในไวยากรณ์เรียกเสียงพยัญชนะที่มี ลมเสียดแทรกออกมาระหว่างลิ้นกับฟัน ว่า มีเสียงอุสุม ได้แก่ เสียง ศ ษ ส. '' (ป.; ส. อุษฺมนฺ).
  32. [1-31]

(0.0553 sec)