Dictionary : English, Thai, Pali. Link : Lexitron, RoyDict, BudDict, ETipitaka, PpmDict, Longdo.
Search: หัน , then หน, หนฺ, หัน .

Royal Institute Thai-Thai Dict : หัน, 174 found, display 1-50
  1. หัน : ก. ผันร่างไปทางใดทางหนึ่ง เช่น หันซ้าย คือ ผันร่างไปทางซ้าย หันขวา คือ ผันร่างไปทางขวา, ผินไปทางใดทางหนึ่ง เช่น นิยมสร้างโบสถ์หันหน้า ไปทางทิศตะวันออก, หมุน เช่น หันหน้ามาทางนี้; เปลี่ยนใจ เช่น หันไปเข้า กับศัตรู.
  2. หัน : (ถิ่น-พายัพ) ก. เห็น.
  3. หัน : น. อักษร ก คู่ ในหนังสือโบราณใช้แทนไม้หันอากาศตัวหนึ่ง เป็นตัวสะกดตัวหนึ่ง เช่น จกก = จัก หลกก = หลัก.
  4. หันกลับ : ก. เปลี่ยนไปสู่สภาพเดิม เช่น เขาทั้งสองหันกลับไปคืนดีกัน.
  5. หันหน้า : (สำ) ก. พึ่งพาอาศัย เช่น ไม่รู้จะหันหน้าไปหาใคร.
  6. หันหน้าเข้าหากัน : (สํา) ก. ปรองดองกัน, สมัครสมานกัน, เช่น ทุกฝ่าย จะต้องหันหน้าเข้าหากัน.
  7. หันหลัง : (สํา) ก. เลิก เช่น หันหลังให้อบายมุข.
  8. หันเหียน : ก. เปลี่ยนท่าทาง, พลิกแพลง, เช่น รำร่ายหันเหียนเวียนละวัน หมายมั่นเข่นฆ่าราวี. (อิเหนา), เหียนหัน ก็ว่า.
  9. หันอากาศ : น. เรียกเครื่องหมายรูปสระดังนี้ ?ว่า ไม้หันอากาศ ใช้แทน เสียงสระอะในกรณีที่มีตัวสะกด เช่น ก ะ ด = กัด, หางกังหัน หรือ ไม้ผัด ก็เรียก.
  10. หันข้าง : ก. ผินด้านข้างให้เพราะงอนหรือไม่พอใจเป็นต้น.
  11. หันรีหันขวาง : ก. อาการที่หันเหไปมา เก้ ๆ กัง ๆ ตัดสินใจไม่ถูกว่าจะทํา อย่างใด.
  12. หันหน้าเข้าวัด : (สำ) ก. มุ่งหน้าเข้าวัดเพื่อถือศีลฟังเทศน์เป็นต้น.
  13. หันหลังชนกัน : (สํา) ก. ร่วมมือร่วมใจกัน.
  14. หันหลังให้กัน : (สำ) ก. โกรธกัน, เลิกคบค้ากัน.
  15. บ่าย : น. เวลาในระหว่างเที่ยงกับเย็น. ก. คล้อย เช่น ตะวันบ่าย; หัน, ก้าว; เลี่ยงไป เช่น เฒ่าก็ประดิษฐ์ประดับกายเป็นปะขาวดาบส เบือน บ่ายจําแลงเพศ. (ม. ร่ายยาว ชูชก).
  16. ระเหหัน : ว. ซวดเซเหหันไปมา, วนเวียนไปมา.
  17. สะพานหัน : น. สะพานที่สร้างให้บางส่วนหันเบนออกไปทางซ้ายหรือ ขวา เพื่อปิดทางให้เรือแล่นผ่าน.
  18. เหียนหัน : ก. เปลี่ยนท่าทาง, พลิกแพลง, หันเหียน ก็ว่า.
  19. หน : น. ทาง, ทิศ, เช่น หนเหนือ หนใต้; ครั้ง, คราว, เช่น กี่หน; ที่, สถานที่, เช่น ถึงยามค่ำน้ำค้างลงพร่างพร้อย น้องจะลอยลมบนไปหนใด. (นิราศอิเหนา), มักใช้เข้าคู่กับคำ แห่ง เป็น แห่งหน เช่น ไม่รู้ว่าเวลานี้ เขาอยู่แห่งหนตำบลใด.
  20. ไม้หันอากาศ : น. ไม้ผัด.
  21. หื่นหรรษ์ : [-หัน] (กลอน) ก. เหิมใจ, ยินดี, ร่าเริง, ชื่นชม.
  22. ผัน ๒ : ก. หัน เช่น ผันหน้า, ผิน หรือ หิน ก็ว่า; ทำให้เปลี่ยนไปจากแนว หรือลักษณะเดิม เช่น ผันน้ำเข้านา.
  23. : พยัญชนะตัวที่ ๓๕ เป็นพวกอักษรตํ่า ใช้เป็นตัวสะกดในแม่กน, ถ้าเขียน ตัว ร ควบกัน ๒ ตัว เรียกว่า ร หัน ร ตัวหน้าทำหน้าที่เหมือนไม้หันอากาศ ร ตัวหลังเป็นตัวสะกด เช่น กรรไตร (กันไตฺร) ยรรยง (ยันยง) และเมื่อ สะกดพยัญชนะที่ไม่มีสระอื่นเกาะต้องอ่านเหมือนมีสระ ออ อยู่ด้วย เช่น กร (กอน) กุญชร (กุนชอน),ถ้าตามพยัญชนะอื่นแต่มิได้ทำหน้าที่เป็น ตัวสะกดและมีคำอื่นตามพยัญชนะที่อยู่หน้าตัว ร มักออกเสียง ออ และ ตัว รออกเสียง อะ เช่น จรลี (จอ–ระ–ลี) หรดี (หอ–ระ–ดี).
  24. เหียน ๑ : ก. หัน เช่น เหียนใบเรือ.
  25. หรรษ-, หรรษา : [หันสะ-, หันสา] น. ความรื่นเริง, ความยินดี. (ส. หรฺษ).
  26. ก็ ๑ : สัน. แล้ว, จึง, ย่อม, เช่น พอหันหน้ามาก็พบเขา ทำดีก็ได้ดี.
  27. กลับเนื้อกลับตัว : (สํา) ก. เลิกทําความชั่วหันมาทําความดี.
  28. กางเวียน : (โบ) น. เครื่องมือสำหรับเขียนวงกลม ส่วนโค้งของ วงกลม หรือกะระยะ ทำด้วยโลหะ มี ๒ ขา ปลายข้างหนึ่งแหลม ปลายอีกข้างหนึ่งมีดินสอเป็นต้น อีกแบบหนึ่งมีปลายแหลมทั้ง ๒ ข้าง แบบหลังนี้ใช้สำหรับเขียนบนโลหะก็ได้, วงเวียน หรือ กงเวียน ก็ว่า; การหมุนเวียนชนิดหนึ่ง เช่น แล้วจับเท้าทั้งสองหันเวียนไปดั่งบุคคล ทํากางเวียน. (กฎหมายเก่า).
  29. ขวา : [ขฺวา] ว. ตรงข้ามกับซ้าย, ถ้าหันหน้าไปทางทิศตะวันออก ด้านทิศใต้ เรียกว่า ด้านขวามือ ด้านทิศเหนือ เรียกว่า ด้านซ้ายมือ, ถ้าหันหลังไป ทางต้นนํ้าหรือยอดนํ้า ด้านขวามือเรียกว่า ฝั่งขวา ด้านซ้ายมือเรียกว่า ฝั่งซ้าย, คู่กับซ้าย แต่ใหญ่กว่าหรือสําคัญกว่า เช่น มเหสีฝ่ายขวา อัครสาวกฝ่ายขวา. (การเมือง) น. เรียกกลุ่มที่มีอุดมคติทางการเมืองการ เศรษฐกิจเป็นต้นโน้มไปทางอนุรักษนิยมว่า ฝ่ายขวา.
  30. เขื่อนเพชร : น. ตึกแถวมีผนังหลังตันหันออกมาข้างนอกในพระราชฐาน เฉพาะตรงที่แบ่งข้างหน้ากับข้างในต่อกัน.
  31. แจงรูป : น. วิธีเอาเถ้าถ่านและกระดูกศพที่เผาเสร็จแล้วบนกองฟอนมา เรียงลําดับเป็นอย่างรูปคน ให้หัวอยู่ทางทิศตะวันตกแล้วหันกลับมาทาง ทิศตะวันออก, แปรรูป หรือ แปรธาตุ ก็ว่า.
  32. ช่วงชัย : น. การเล่นพื้นเมืองอย่างหนึ่ง นิยมเล่นในเทศกาล เช่น สงกรานต์ มีผู้เล่นหลายคน แบ่งออกเป็น ๒ ฝ่าย ชายฝ่าย หนึ่ง หญิงฝ่ายหนึ่ง ยืนหันหน้าเข้าหากัน ห่างพอที่จะใช้ ลูกช่วงที่ทําด้วยผ้าขาวม้าเป็นต้นเป็นลูกกลม ๆ ผูกให้แน่น โยน หรือปาให้กัน ถ้าฝ่ายใดรับได้แล้วปาไปถูกคนใดคนหนึ่ง ของฝ่ายตรงข้าม ฝ่ายนั้นก็เป็นฝ่ายแพ้ มี ๓ ชนิด คือ ช่วงรํา ผู้แพ้ต้องออกไปรํา ช่วงใช้ ผู้แพ้ต้องไปอยู่อีกข้างหนึ่ง และ ช่วงขี้ข้า ผู้แพ้ต้องให้อีกฝ่ายหนึ่งขี่คอ.
  33. ซ้าย : ว. ตรงข้ามกับ ขวา, ถ้าหันหน้าไปทางทิศตะวันออก ด้านทิศเหนือ เรียกว่า ด้านซ้ายมือ ด้านทิศใต้ เรียกว่า ด้านขวามือ, ถ้าหันหลัง ไปทางต้นนํ้าหรือยอดนํ้า ด้านซ้ายมือ เรียกว่า ฝั่งซ้าย ด้านขวามือ เรียกว่า ฝั่งขวา; (การเมือง) เรียกกลุ่มที่มีอุดมคติทางการเมือง การเศรษฐกิจ เป็นต้น ที่นิยมการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วและรุนแรง ว่า ฝ่ายซ้าย, โดยทั่วไปใช้หมายถึงกลุ่มที่นิยมลัทธิสังคมนิยมและ คอมมิวนิสต์.
  34. ตบแผละ : [-แผฺละ] น. การเล่นชนิดหนึ่ง มีคนเล่น ๒ คน หันหน้าเข้าหากัน แต่ละฝ่ายตบเข่าและตบมือของตัวเองก่อน จึงใช้มือซ้ายตบมือซ้ายและ มือขวาตบมือขวาของอีกฝ่ายหนึ่งสลับกันกับตบมือและตบเข่า.
  35. ตะแคง : ก. เอาข้างลง เช่น นอนตะแคง, หันข้างเข้า เช่น ตะแคงตัวเข้าไป.
  36. ธรรมาภิมุข : [ทํามา] ว. หันหน้าเฉพาะธรรม, มุ่งแต่ยุติธรรม. (ส.; ป. ธมฺมาภิมุข).
  37. นิคหิต : [นิกคะหิด] (โบ) น. ชื่อเครื่องหมายรูปดังนี้ ? ในภาษาบาลีและสันสกฤต มีเสียงอ่านเหมือนตัว ง และ ม สะกด ในภาษาไทยก็อนุโลมใช้ตาม เช่น จํหัน อ่านว่า จังหัน ชุํนุํ อ่านว่า ชุมนุม, นฤคหิต หรือ หยาดนํ้าค้าง ก็เรียก. (ป. นิคฺคหีต; ส. นิคฺฤหีต).
  38. บ่ายหน้า : ก. หันหน้า เช่น บ่ายหน้าไปทางทิศเหนือ, มุ่ง เช่น บ่ายหน้ากลับบ้าน.
  39. บิดขวา : ว. เรียกอาการที่ห่มจีวรโดยม้วนชายด้านข้างทั้ง ๒ ให้เป็นลูกบวบหันเข้าทางขวาว่า ห่มบิดขวา.
  40. บิดซ้าย : ว. เรียกอาการที่ห่มจีวรโดยม้วนชายด้านข้างทั้ง ๒ ให้เป็นลูกบวบหันออกทางซ้ายว่า ห่มบิดซ้าย.
  41. เบือน : ก. หันหน้าหนี ในคําว่า เบือนหน้า.
  42. ประจัน : ก. กั้นเป็นส่วนสัด เช่น ฝาประจันห้อง; ประชัน, ประเชิญ, เผชิญ, เช่น หันหน้าประจันกัน; เรียกไม้ที่ใช้คํ้าแคมเรือที่เบิกได้ที่แล้วเพื่อ ไม่ให้หุบว่า ไม้ประจัน.
  43. แปรรูป : น. วิธีเอาเถ้าถ่านและกระดูกศพที่เผาเสร็จแล้วบนกองฟอน มาเรียงลําดับเป็นอย่างรูปคน ให้หัวอยู่ทางทิศตะวันตกแล้วหันกลับ มาทางทิศตะวันออก, แจงรูป หรือ แปรธาตุ ก็ว่า; เรียกไม้ซุงที่เลื่อย เปิดปีกแล้วทําเป็นแผ่นกระดานเป็นต้นว่า ไม้แปรรูป.
  44. ผิน : ก. หัน, ผัน หรือ หิน ก็ว่า; แปรพระพักตร์ (ใช้แก่พระพุทธรูป).
  45. มหรณพ, มหรรณพ, มหารณพ : [มะหอระนบ, มะหันนบ, มะหาระนบ] น. ทะเลใหญ่, ห้วงนํ้าใหญ่. (ส. มหรฺณว; ป. มหณฺณว).
  46. หันตโทษ : [มะหันตะโทด] น. โทษหนัก, คู่กับ ลหุโทษ = โทษเบา. (ป. มหนฺต + ส. โทษ).
  47. หันต-, มหันต์ : [มะหันตะ-, มะหัน] ว. ใหญ่, มาก, เช่น โทษมหันต์. (เมื่อเข้าสมาสกับศัพท์อื่น เป็น มห บ้าง มหา บ้าง เช่น มหัคฆภัณฑ์ คือ สิ่งของที่มีค่ามาก, มหาชน คือ ชนจำนวนมาก). (ป.).
  48. มหัล, มหัลกะ : [มะหัน, มะหันละกะ] น. ผู้ใหญ่, คนมีอายุมาก, คนแก่. ว. แก่, มีอายุมาก. (ป. มหลฺล, มหลฺลก).
  49. มา ๒ : ก. เคลื่อนออกจากที่เข้าหาตัวผู้พูด เช่น มานี่ มาหาฉันหน่อย, ตรงกันข้ามกับ ไป. ว. ใช้ประกอบคํากริยาแสดงอดีต เช่น นาน มาแล้ว ดังกล่าวมาแล้ว ไปมาแล้ว หรือ แสดงทิศทางเข้าหาตัวผู้พูด เช่น หันมาทางนี้ เอามานี่ หรือแสดงอาการที่ต่อเนื่องเรื่อยมาถึง ปัจจุบัน เช่น ความเป็นมา อยู่มาวันหนึ่ง ส่งจดหมายบอกข่าวมา.
  50. ไม้ผัด : น. เครื่องหมายสระ รูปดังนี้ ?, ไม้หันอากาศ ก็เรียก.
  51. [1-50] | 51-100 | 101-150 | 151-174

(0.0577 sec)